Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Sports Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2021

Articles 1 - 22 of 22

Full-Text Articles in Sports Sciences

การรับรู้รูปแบบเนื้อหาเชิงการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์และความไว้วางใจต่อผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดออกกำลังกายผ่านเฟซบุ๊คของคนไทย, พลอยชมพู นาคสุรพันธุ์ Jan 2021

การรับรู้รูปแบบเนื้อหาเชิงการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์และความไว้วางใจต่อผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดออกกำลังกายผ่านเฟซบุ๊คของคนไทย, พลอยชมพู นาคสุรพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้รูปแบบเนื้อหาเชิงการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์และความไว้วางใจต่อผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดออกกำลังกายผ่านเฟซบุ๊คของคนไทย วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ที่สนใจซื้อชุดออกกำลังกายผ่านเฟซบุ๊ค ทั้งที่มีประสบการณ์และไม่มีประสบการณ์ซื้อสินค้า จำนวน 424 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างค่าคำถามกับวัตถุประสงค์ พบว่าค่าที่ได้คือ 0.83 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.87 ผู้วิจัยเก็บแบบสอบถามออนไลน์จาก กลุ่มของเฟซบุ๊คแฟนเพจที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย 5 เพจ โดยผู้วิจัยโพสลงในกลุ่มของเฟซบุ๊ค ได้แก่ 1)เพจชุมชนคนสร้างซิกแพ็ค sixpackclub.net 2)เพจBebe Fit Routine 3)เพจForcejun 4)เพจFitnumgun 5)เพจFit Kab Dao วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติในการทดสอบสมมติฐาน ใช้ค่าสถิติสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ โดยตั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05 ผลการวิจัย เมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า เนื้อหาเชิงการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ ด้านเนื้อหาสร้างแรงบันดาลใจ ด้านเนื้อหาที่ให้คำแนะนำหรือความรู้ ด้านเนื้อหาที่ให้แนวคิด และด้านเนื้อหาที่สร้างอารมณ์ / บันเทิง เป็นเนื้อหา ภาพการ สื่อสาร ด้วยภาพเสียงที่ต่อเนื่อง ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดออกกำลังกายของคนไทย และ ความสามารถทำตามที่ตกลงกับลูกค้า มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีและรวดเร็วกับลูกค้า จำนวนผู้ติดตามของผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจบนสื่อสังคมออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊ค สามารถเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงิน และการมีบริการหลังการขาย ทำให้ท่านเกิดความไว้วางใจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดออกกำลังกายผ่านเฟซบุ๊คของคนไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และด้านเนื้อหาที่บอกแนวทางแก้ไขปัญหาและการเปิดเผยความคิดเห็นของลูกค้าที่ซื้อไปอย่างตรงไปตรงมา ไม่ส่งผลต่อ การตัดสินใจซื้อชุดออกกำลังกายผ่านเฟซบุ๊คของคนไทย สรุปผลการวิจัย ด้านเนื้อหาสร้างแรงบันดาลใจ ด้านเนื้อหาที่ให้คำแนะนำหรือความรู้ ด้านเนื้อหาที่ให้แนวคิด และด้านเนื้อหาที่สร้างอารมณ์ / บันเทิง เป็นเนื้อหา ภาพการ สื่อสาร ด้วยภาพเสียงที่ต่อเนื่อง และสามารถทำตามที่ตกลงกับลูกค้า ปฏิสัมพันธ์ที่ดีและรวดเร็วกับลูกค้า จำนวนผู้ติดตามของผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจบนสื่อสังคมออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊ค สามารถเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงิน และการมีบริการหลังการขาย ทำให้ท่านเกิดความไว้วางใจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดออกกำลังกายผ่านเฟซบุ๊คของคนไทย


A Decision Making Model For Horse Transportation, Siengsaw Lertratanachai Jan 2021

A Decision Making Model For Horse Transportation, Siengsaw Lertratanachai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study developed a mathematical model to select the most appropriate mode of equestrian horse transportation, which balanced between the costs of transportation and horse welfare. The study was divided into two stages. The first stage compared the stress level of transported horses using cortisol as well as heart rate, while the second stage developed a mathematical model that balanced horse health and transportation cost. This research used six horses that were transported by different types of vehicles, i.e., air-conditioned or non-air-conditioned, with or without space, trucks, and trailers with or without space. The horses were transported for 5 hours, …


Effects Of Blood Flow Restriction Training Combined With Rehabilitation Program On Neuromuscular Function And Balance In Athletes With Chronic Ankle Instability, Phurichaya Werasirirat Jan 2021

Effects Of Blood Flow Restriction Training Combined With Rehabilitation Program On Neuromuscular Function And Balance In Athletes With Chronic Ankle Instability, Phurichaya Werasirirat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Blood flow restriction (BFR) training has been advocated as an alternative approach for improving muscle strength in patients undergoing clinical musculoskeletal rehabilitations. However, to our knowledge, no evidence examining the effectiveness of BFR training combined with rehabilitation (R) program on clinical outcome measures in athletes with CAI has been found. Therefore, this study aimed to evaluate the effects of supervised rehabilitation program with and without BFR on muscle strength, cross-sectional area (CSA), EMG activity, dynamic balance, and functional performance in athletes suffering from CAI. A total of 28 collegiate athletes with CAI (male and female) voluntarily participated in this study. …


ผลของเครื่องดื่มกีฬาไฮโปโทนิกและไอโซโทนิกต่อความสามารถทางแอโรบิกและภาวะน้ำในร่างกายในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ, ชัยพฤกษ์ สุวรรณจักร์ Jan 2021

ผลของเครื่องดื่มกีฬาไฮโปโทนิกและไอโซโทนิกต่อความสามารถทางแอโรบิกและภาวะน้ำในร่างกายในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ, ชัยพฤกษ์ สุวรรณจักร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อเปรียบเทียบผลของเครื่องดื่มกีฬาไฮโปโทนิกและไอโซโทนิกต่อความสามารถทางแอโรบิกและภาวะน้ำในร่างกายในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเพศชายที่ออกกำลังกายเป็นประจำ จำนวน 17 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี โดยแบ่งการออกกำลังกายออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ การออกกำลังกายแบบหนักสลับเบา จากนั้นผู้เข้าร่วมจะได้รับเครื่องดื่มแบบสุ่มในปริมาณ 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวที่หายไปหลังการออกกำลังกายที่ 1 และพักเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นจะทำการทดสอบการออกกำลังกายระดับสูงสุด โดยจะแบ่งเครื่องดื่มออกเป็นทั้งหมด 3 ชนิดได้แก่ เครื่องดื่มหลอก เครื่องดื่มไอโซโทนิก และเครื่องดื่มไฮโปโทนิก โดยที่ผู้เข้าร่วมจะต้องเข้ารับการออกกำลังกายทั้งหมด 3 ครั้ง แต่ละครั้งมีระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรหลังออกกำลังกายได้แก่ ตัวแปรด้านสรีรวิทยาและข้อมูลพื้นฐาน ตัวแปรด้านการหายใจและใช้พลังงาน ตัวแปรด้านการทำงานของหัวใจ ตัวแปรด้านสมรรถภาพความทนทาน ตัวแปรกลุ่มชีวเคมีในเลือด นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรของการทดลองในแต่ละครั้งโดยทดสอบการเปรียบเทียบแบบรายคู่โดยใช้ Fisher’s Least Significant Difference Test (LSD) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p<0.05) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของเครื่องดื่มทั้ง 3 ชนิดที่ส่งผลความสามารถทางแอโรบิกและภาวะน้ำในร่างกาย พบว่าค่าความเข้มข้นภายในเลือด (Plasma Osmolality) ในช่วงที่ได้รับเครื่องดื่มก่อนเริ่มการออกกำลังกายที่ 2 ความเข้มข้นของเลือดในเครื่องดื่มไอโซโทนิกมีค่าสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องดื่มหลอก และเครื่องดื่มไฮโปโทนิกมีค่าต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มไอโซโทนิก ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างกันของความเข้มข้นของเลือดระหว่างเครื่องดื่มหลอกและเครื่องดื่มไอโปโทนิก ปริมาณน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .05 เมื่อดื่มเครื่องดื่มไอโซโทนิก เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มหลอกและเครื่องดื่มไฮโปโทนิกในช่วงการก่อนการออกกำลังกายที่ 2 ค่าระดับโซเดียมและคลอไรด์ในเลือดในระหว่างการดื่มเครื่องดื่มไอโซโทนิกมีค่าสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก่อนและหลังการออกกำลังกายที่ 2 เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มอีก 2 ชนิด ปริมาณการเปลี่ยนแปลงของค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ของเครื่องดื่มไฮโปโทนิกในช่วงก่อนและหลังการออกกำลังกายที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มหลอกและเครื่องดื่มไอโซโทนิก (P<.05) แต่ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างเครื่องดื่มหลอกและเครื่องดื่มไอโซโทนิก จากผลการศึกษาวิจัยนั้นพบว่าเครื่องดื่มไฮโปโทนิกนั้นทำหน้าที่ทดแทนน้ำได้ดีโดยจะเน้นไปที่การทดแทนสารน้ำให้กับร่างกายหลังจากการออกกำลังกาย สามารถออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูงซ้ำได้โดยที่ไม่ส่งผลให้หัวใจและปอดทำงานหนักขึ้นกว่าปกติ อีกทั้งยังคงรักษาระดับอิเล็กโทรไลท์รวมถึงสารชีวเคมีในเลือดต่างๆให้อยู่ในระดับปกติโดยที่ไม่ต้องดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลและแคลอรี่สูง


ผลของการงีบหลับระยะสั้นภายหลังภาวะอดนอนที่มีต่อสมรรถภาพความตั้งใจและการตอบสนองทางการเคลื่อนไหวของนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับมหาวิทยาลัย, สุนิสา ราชิวงค์ Jan 2021

ผลของการงีบหลับระยะสั้นภายหลังภาวะอดนอนที่มีต่อสมรรถภาพความตั้งใจและการตอบสนองทางการเคลื่อนไหวของนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับมหาวิทยาลัย, สุนิสา ราชิวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการงีบหลับระยะสั้นเป็นเวลา 10 นาที และ 30 นาทีที่มีต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพความตั้งใจ การตอบสนองทางการเคลื่อนไหว และรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าสมองภายหลังอดนอนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักบาสเกตบอล เพศชาย จำนวน 12 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อายุระหว่าง 18-25 ปี ซึ่งกลุ่มตัวอย่างแต่ละคนต้องอดนอนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง การเก็บข้อมูลตัวแปร ได้แก่ 1) สมรรถภาพความตั้งใจและความสามารถทางการเคลื่อนไหว; เวลาปฏิกิริยา เวลาในการเคลื่อนที่ ความเร็วสูงสุดของการเอื้อมมือ เวลาในการทดสอบ ความผิดพลาดในการทดสอบ 2) รูปแบบคลื่นไฟฟ้าสมอง; คลื่นเดลต้า คลื่นธีต้า คลื่นอัลฟา และคลื่นเบต้า 3) ทักษะที่เกี่ยวข้องกับกีฬา; แรงสูงสุดของการกระโดด โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินใน 5 สภาวะ คือ (1) ค่าพื้นฐานก่อนอดนอน (2) หลังอดนอน 24 ชั่วโมง (3) หลังไม่ได้งีบหลับ (4) หลังงีบหลับ 10 นาที และ (5) หลังงีบหลับ 30 นาที จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วยความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำและความแปรปรวนสองทางชนิดวัดซ้ำ ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี ใช้ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า การงีบหลับ 10 นาที ภายหลังอดนอนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง สามารถฟื้นฟูค่าเฉลี่ยเวลาปฏิกิริยา ลดเวลาในการเคลื่อนที่ และเพิ่มความเร็วสูงสุดของการเอื้อมมือ นอกจากนี้มีการลดลงของคลื่นเดลต้าและคลื่นธีต้า มีการเพิ่มขึ้นของคลื่นอัลฟาและคลื่นเบต้า รวมถึงมีค่าเฉลี่ยแรงสูงสุดของการกระโดดดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับภายหลังอดนอนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง และดีกว่าเมื่อเทียบกับการงีบหลับ 30 นาที และการไม่งีบหลับเลย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การงีบหลับระยะสั้นเป็นวิธีการที่มีศักยภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพความตั้งใจ ความสามารถทางการเคลื่อนไหว รูปแบบของคลื่นไฟฟ้าสมอง และการแสดงทักษะที่เกี่ยวข้องกับกีฬาที่เกิดจากภาวะอดนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การงีบหลับ 10 นาทีมีประสิทธิภาพในการลดผลกระทบของภาวะอดนอน ในขณะที่การงีบหลับ 30 นาทีส่งผลให้เกิดความเฉื่อยในการนอนหลับที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงหลังจากตื่นนอน


ผลฉับพลันของการฝึกเอกเซ็นตริกอย่างเดียว คอนเซ็นตริกอย่างเดียว และเอกเซ็นตริกตามด้วยคอนเซ็นตริกที่มีต่อความสามารถในการกระโดดและการสปริ๊นท์ในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย, ญาดา ศิริไชย Jan 2021

ผลฉับพลันของการฝึกเอกเซ็นตริกอย่างเดียว คอนเซ็นตริกอย่างเดียว และเอกเซ็นตริกตามด้วยคอนเซ็นตริกที่มีต่อความสามารถในการกระโดดและการสปริ๊นท์ในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย, ญาดา ศิริไชย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลฉับพลันของการฝึกเอกเซ็นตริกอย่างเดียว เอกเซ็นตริกอย่างเดียว และเอกเซ็นตริกตามด้วยคอนเซ็นตริกที่มีต่อความสามารถในการกระโดดและการสปริ๊นท์ในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนักกีฬารักบี้ชาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 18-25 ปี (ค่าเฉลี่ยอายุ 22.10±3.17 ปี น้ำหนัก 85.09±15.93 กก. ส่วนสูง 173.70±5.59 ซม. ความแข็งแรงสัมพัทธ์ 1.79±0.14เท่าของน้ำหนักตัว) จำนวน 10 คน ใช้วิธีถ่วงดุลลำดับ ทำการจับสลากแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับการกระตุ้นจำนวน 5 ครั้ง 1 เซต ด้วยการฝึกทั้ง 3 รูปแบบ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทำการทดสอบพลังสูงสุด ความเร็วของบาร์เบลสูงสุด แรงปฏิกิริยาสูงสุด และความเร็วที่ระยะ 10 และ 20 เมตร ก่อนการทดลองเพื่อเป็นค่าเริ่มต้น และหลังจากได้รับการกระตุ้นการจากฝึก วิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำโดยการจัดคอลัมน์ กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า การฝึกทั้ง 3 รูปแบบ มีค่าพลังสูงสุดและความเร็วของบาร์เบล แตกต่างจากค่าเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 การฝึกเอกเซ็นตริกตามด้วยคอนเซ็นตริก มีค่าพลังสูงสุด ความเร็วบาร์เบลสูงสุด อัตราการพัฒนาแรงที่เวลา 100 และ 250 แตกต่างจากการฝึกอีก 2 รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 การฝึกเอกเซ็นตริกอย่างเดียวและคอนเซ็นตริกอย่างเดียว มีค่าแรงปฏิกริยาสูงสุดแตกต่างจากการฝึกเอกเซ็นตริกตามด้วยคอนเซ็นตริกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และไม่พบความแตกต่างของความเร็ว ของค่าเริ่มต้นและการฝึกทั้ง 3 รูปแบบ สรุปผลการวิจัย การฝึกเอกเซ็นตริกตามด้วยคอนเซ็นตริกพัฒนาพลังสูงสุดและความเร็วบาร์เบลสูงสุดได้ดีที่สุด อีกทั้งยังช่วยพัฒนาอัตราการพัฒนาแรงได้ ดังนั้นการฝึกเอกเซ็นตริกตามด้วยคอนเซ็นตริกพัฒนาความสามารถการกระโดดในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลได้


ผลของการฝึกด้วยแรงต้านแบบแบ่งเซตย่อยที่มีต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและการทรงตัวในผู้สูงอายุ, ธเนศ จินดา Jan 2021

ผลของการฝึกด้วยแรงต้านแบบแบ่งเซตย่อยที่มีต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและการทรงตัวในผู้สูงอายุ, ธเนศ จินดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกด้วยแรงต้านแบบแบ่งเซตย่อยและแบบดั้งเดิมที่มีต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและการทรงตัวในผู้สูงอายุ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง อายุเฉลี่ย 62.64±2.46 ปี จำนวน 29 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านแบบดั้งเดิม จำนวน 14 คน (ชาย 2 คน) และกลุ่มฝึกด้วยแรงต้านแบบแบ่งเซตย่อย จำนวน 15 คน (ชาย 2 คน) โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น แบ่งตามอายุ เพศ และการทดสอบ ยืน-นั่ง บนเก้าอี้ 30 วินาที ทั้งสองกลุ่มทำการฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยกลุ่มฝึกด้วยแรงต้านแบบดั้งเดิม ฝึกที่ความหนักร้อยละ 50 ถึง 80 ของความแข็งแรงสูงสุด จำนวนครั้ง : 10 ถึง 14 ครั้ง จำนวนเซต : 3 เซต และพักระหว่างเซต : 120 วินาที กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านแบบแบ่งเซตย่อย ฝึกที่ความหนักร้อยละ 50 ถึง 80 ของความแข็งแรงสูงสุด จำนวนครั้ง : 14 (7, 7), 12 (6, 6), 10 (5, 5) ครั้ง จำนวนเซต : 3 เซต พักระหว่างการออกแรง : 20 วินาที และพักระหว่างเซตการฝึก : 100 วินาที ก่อนและหลังการฝึก 12 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยา องค์ประกอบของร่างกาย ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ ความสามารถในการทรงตัวทั้งขณะอยู่นิ่งและขณะเคลื่อนไหว นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้โปรแกรม …


ผลของการฝึกสปีดแลดเดอร์ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและสมรรถนะการทำกิจกรรมในผู้สูงอายุ, ธีรศักดิ์ จันทร์ประโคน Jan 2021

ผลของการฝึกสปีดแลดเดอร์ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและสมรรถนะการทำกิจกรรมในผู้สูงอายุ, ธีรศักดิ์ จันทร์ประโคน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการฝึกสปีดแลดเดอร์ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและสมรรถนะการทำกิจกรรมในผู้สูงอายุ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง อายุ 60-70 ปี จำนวน 36 คน อายุเฉลี่ย 63.94±2.90 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกสปีดแลดเดอร์จำนวน 18 คน (ชาย 1 คน) และกลุ่มควบคุมจำนวน 18 คน (ชาย 1 คน) โดยทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามช่วงอายุ เพศ และความสามารถในก้าวเท้าเป็นสี่เหลี่ยม (Four square step test) กลุ่มฝึกสปีดแลดเดอร์ (Speed ladder group) ทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุม (Control group) ให้ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ ก่อนและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปร ทางสรีรวิทยาทั่วไป ความคล่องแคล่วว่องไว เวลาปฏิกิริยา ความเร็วในการเดิน การทรงตัว สมรรถภาพทางกายและสมรรถนะในการทำกิจกรรม ใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มที่ฝึกสปีดแลดเดอร์ และกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการฝึกของแต่ละกลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ [Two-way ANOVA repeated measurement (2x2)] และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีทดสอบของแอลเอสดี (LSD) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย: หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มฝึกสปีดแลดเดอร์มีความความคล่องแคล่วว่องไว เวลาปฏิกิริยา ความสามารถทางแอโรบิก ความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อรยางค์บนและล่าง ความเร็วในการเดิน การทรงตัวขณะอยู่นิ่งขณะยืนสองขาและยืนขาเดียว การทรงตัวขณะเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวขณะพัก เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีความความคล่องแคล่วว่องไว เวลาปฏิกิริยา ความเร็วในการเดิน การทรงตัวขณะอยู่นิ่งขณะยืนสองขาและยืนขาเดียว การทรงตัวขณะเคลื่อนไหว ความสามารถทางแอโรบิก …


ผลของการได้รับคาเฟอีนระหว่างการวิ่ง ต่อสมรรถภาพความอดทนในนักวิ่งฮาล์ฟมาราธอนชาย, นัฐพงษ์ สีพิกา Jan 2021

ผลของการได้รับคาเฟอีนระหว่างการวิ่ง ต่อสมรรถภาพความอดทนในนักวิ่งฮาล์ฟมาราธอนชาย, นัฐพงษ์ สีพิกา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการได้รับคาเฟอีนต่อสมรรถภาพความอดทน การตอบสนองของสารชีวเคมีในร่างกาย และอาการของระบบทางเดินอาหารในนักกีฬาวิ่งฮาล์ฟมาราธอนชาย นักกีฬาวิ่งฮาล์ฟมาราธอนชายที่ฝึกฝนมาอย่างดีจำนวน 8 คนเข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ การศึกษานี้เป็นการทดลองแบบไขว้ อำพรางฝ่ายเดียว และสุ่มลำดับ กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการสุ่มลำดับการทดสอบ 3 เงื่อนไข ได้แก่ 1) ดื่มเครื่องดื่ม 150 มล. ที่มีส่วนผสมคาเฟอีนปริมาณ 6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. 60 นาที ก่อนการวิ่ง และดื่มอีกครั้งในปริมาณ 3 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ในนาทีที่ 45 ระหว่างการวิ่ง (รับคาเฟอีนก่อนและระหว่างการวิ่ง), 2) ดื่มเครื่องดื่ม 150 มล. ที่มีส่วนผสมคาเฟอีนปริมาณ 6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. 60 นาที ก่อนการวิ่ง และในนาทีที่ 45 ระหว่างการวิ่งได้รับยาหลอก (รับคาเฟอีนก่อนวิ่งเพียงครั้งเดียว) และ 3) ดื่มเครื่องดื่ม 150 มล. ที่เป็นยาหลอกทั้งก่อนและระหว่างการวิ่ง (ยาหลอก) กลุ่มตัวอย่างทดสอบการวิ่งจนถึงระยะเวลาเหนื่อยหมดแรงบนลู่กลไฟฟ้าเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสมรรถภาพความอดทน การตอบสนองของสารชีวเคมีในร่างกาย และอาการของระบบทางเดินอาหาร โดยระดับคาเฟอีนในเลือด ระดับกรดไขมันอิสระในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับกรดแลคติกในเลือด อาการของระบบทางเดินอาหาร และระดับการรับรู้ความรู้สึกเหนื่อย วิเคราะห์ผลด้วยด้วยวิธีทดสอบความแปรปรวนแบบเกี่ยวข้องกันแบบสองทาง ระยะเวลาของการออกกำลังกายจนเหนื่อยหมดแรง และปริมาณการสูญเสียน้ำ วิเคราะห์ผลด้วยด้วยวิธีทดสอบแบบเกี่ยวข้องกันแบบทางเดียว กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย การรับคาเฟอีนก่อนวิ่งเพียงครั้งเดียว (6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.) มีผลทำให้ระยะเวลาของการวิ่งจนเหนื่อยหมดแรงยาวนานกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก (2.29%) การรับคาเฟอีนก่อนและระหว่างการวิ่งมีผลต่อระดับกรดไขมันอิสระในเลือด โดยพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก ระดับของกรดแลคติกในเลือด และอาการของระบบทางเดินอาหารของกลุ่มที่ได้รับคาเฟอีนก่อนและระหว่างการวิ่ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับคาเฟอีนก่อนการวิ่งเพียงครั้งเดียวและกลุ่มยาหลอก และการรับรู้ความรู้สึกเหนื่อย ระดับน้ำตาลในเลือด และปริมาณการสูญเสียน้ำ ทุกกลุ่มไม่แตกต่างกัน สรุปผลวิจัย การได้รับคาเฟอีน 6 มก. …


ผลของการเพ่งความตั้งใจที่มีต่อความสามารถในการสพรินต์ของนักปั่นจักรยานประเภทถนน, พงษ์เทพ นามศิริ Jan 2021

ผลของการเพ่งความตั้งใจที่มีต่อความสามารถในการสพรินต์ของนักปั่นจักรยานประเภทถนน, พงษ์เทพ นามศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพ่งความตั้งใจเป็นสิ่งที่บรรดานักกีฬาและนักวิจัยสนใจ และ ได้มีการศึกษาวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบผลของการเพ่งความตั้งใจที่มีต่อความสามารถในการสพรินต์ของนักปั่นจักรยานประเภทถนน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นอาสาสมัครนักกีฬาจักรยานประเภทถนนจำนวน 17 ราย มีอายุเฉลี่ย 39.76 ± 7.10 ปี มีประสบการณ์การปั่นจักรยานประเภทถนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.24 ± 1.52 ปี และมีค่าสมรรถนะใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) เฉลี่ยอยู่ที่ 53.41 ± 9.97 มิลิลิตรต่อน้ำหนักตัวกิโลกรัมต่อนาที กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการทดสอบการสพรินต์จักรยานด้วยความเร็วสูงสุด 30 วินาที ด้วยวิธีวินเกต ภายใต้การเพ่งความตั้งใจ 3 แบบ ได้แก่ แบบควบคุม แบบเพ่งความตั้งใจภายใน และแบบเพ่งความตั้งใจภายนอก นำตัวแปรตามที่วัดได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนข้อมูลโดยใช้ One-way ANOVA with repeated measures กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05 และใช้วิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบรายคู่ด้วยวิธีแบบบอนเฟอโรนี ผลการวิจัยพบว่า การเพ่งความตั้งใจแบบภายนอกส่งผลให้ตัวแปรตามคือ ความเร็วสพรินต์เฉลี่ย ความเร็วรอบขาสพรินต์เฉลี่ย พาวเวอร์เฉลี่ย และ ระยะทางของการสพรินต์ 30 วินาที ดีกว่าการเพ่งความตั้งใจแบบภายใน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = 0.01 หากแต่ตัวแปร ระดับความสามารถอยู่ในความตั้งใจของการทดสอบ ระดับความล้า แรงกดบันได อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างวิธีการเพ่งความตั้งใจภายนอกและภายใน สรุปผลการวิจัยได้ว่า การเพ่งความตั้งใจแบบภายนอกสามารถส่งเสริมให้สามารถในการสพรินต์ในช่วง 30 วินาทีดีกว่าแบบภายใน ซึ่งนักกีฬาจักรยานและผู้ฝึกสอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกและการแข่งขันจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การเปรียบเทียบตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ของการชกหมัดตรงระหว่างการชกด้วยท่ายืนแบบเท้านำเท้าตามและแบบเท้าขนานกันในนักมวย, ภุชงค์ ศรีเพียงจันทร์ Jan 2021

การเปรียบเทียบตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ของการชกหมัดตรงระหว่างการชกด้วยท่ายืนแบบเท้านำเท้าตามและแบบเท้าขนานกันในนักมวย, ภุชงค์ ศรีเพียงจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ของการชกหมัดตรงระหว่างการชกหมัดตรงด้วยท่ายืนแบบเท้านำเท้าตามและแบบเท้าขนานกันในนักมวย วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักกีฬามวยไทยและมวยสากลจากค่ายมวยในสังกัดกรุงเทพมหานคร อายุ 17 – 25 ปี น้ำหนัก 52 – 64 กิโลกรัม ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ผู้เข้าร่วมการวิจัยจะทำการทดสอบการชกหมักตรงด้วยแรงชกสูงสุด ในรูปแบบการชกทั้ง 4 รูปแบบ ประกอบด้วย 1. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้าขนานกันไม่บิดลำตัว 2. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้านำเท้าตามไม่บิดลำตัว 3. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้าขนานกันบิดลำตัว และ 4. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้านำเท้าตามบิดลำตัว โดยเรียงลำดับการชกด้วยวิธีการสุ่ม ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยจะต้องทำการชกรูปแบบละ 5 ครั้ง ข้อมูลจากการวิจัยจะถูกนำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way repeated measures ANOVA with post-hoc Bonferroni) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .05 ผลการวิจัย แรงชกหมัดตรงที่ได้จากการชกทั้ง 4 รูปแบบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) โดยสามารถเรียงลำดับของแรงชกได้ดังนี้ 1. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้านำเท้าตามบิดลำตัว 2. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้าขนานกันบิดลำตัว 3. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้านำเท้าตามไม่บิดลำตัว และ 4. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้าขนานกันไม่บิดลำตัว จากผลการวิจัยพบว่าการบิดลำตัวมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างแรงชกหมัดตรง สรุปผลการวิจัย การชกหมัดตรงที่ทรงประสิทธิภาพ มีกลไกการส่งแรงเป็นไปตามหลักการห่วงโซ่คิเนติกส์ ที่กล่าวว่าแรงชกจะเกิดจากการส่งแรงจากข้อเท้าก่อนที่จะถูกส่งผ่านข้อเข่า สะโพก ไหล่ ศอก มือ และส่งไปเป็นแรงชกหมัดตรง โดยมีการหมุนของกระดูกเชิงกรานและการบิดลำตัวเป็นกลไกที่สำคัญในการแรงชกจากรยางค์ส่วนล่างไปยังรยางค์ส่วนบน


การตอบสนองฉับพลันของการผสมผสานการฝึกพลัยโอเมตริกและยางยืดที่มีต่อพลัง ความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไว ขณะทำการอบอุ่นร่างกายในนักกีฬาฟุตซอลชาย, รวิกานต์ สุขแท้ Jan 2021

การตอบสนองฉับพลันของการผสมผสานการฝึกพลัยโอเมตริกและยางยืดที่มีต่อพลัง ความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไว ขณะทำการอบอุ่นร่างกายในนักกีฬาฟุตซอลชาย, รวิกานต์ สุขแท้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการตอบสนองฉับพลันของการผสมผสานการฝึกพลัยโอเมตริกและยางยืดที่มีต่อพลัง ความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไว ขณะทำการอบอุ่นร่างกายในนักกีฬาฟุตซอลชาย กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาฟุตซอลชายจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 9 คน (อายุ=20.78±1.34 ปี, น้ำหนัก=67.59±5.15 กิโลกรัม, น้ำหนักไร้ไขมัน=56.80±2.74 กิโลกรัม, ส่วนสูง=173.22±4.52 เซนติเมตร, ความยาวขา=88.11±2.26 เซนติเมตร) โดยให้กลุ่มตัวอย่างทำการกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วย การฝึกด้วยพลัยโอเมตริก การฝึกด้วยยางยืด การฝึกด้วยยางยืดตามด้วยการฝึกพลัยโอเมตริก และการฝึกด้วยพลัยโอเมตริกร่วมกับยางยืด โดยใช้วิธีถ่วงดุลลำดับ ทำการทดสอบ พลังสูงสุด แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุด ความเร็วของบาร์เบลสูงสุด ความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไว การทดสอบห่างกัน 1 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำและความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำโดยการจัดคอลัมน์ กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยพลังสูงสุดและค่าเฉลี่ยความเร็วของบาร์เบลสูงสุด ของการกระตุ้นด้วยการฝึกทั้ง 4 รูปแบบแตกต่างกับค่าเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ไม่แตกต่างระหว่าง 4 รูปแบบ ส่วนค่าเฉลี่ยเวลาในการทดสอบความเร็ว และค่าเฉลี่ยความคล่องแคล่วว่องไวของการกระตุ้นทั้ง 4 รูปแบบ ไม่แตกต่างกับค่าเริ่มต้น สรุปผลการวิจัย การกระตุ้นด้วยการฝึกทั้ง 4 รูปแบบนั้น สามารถพัฒนาพลัง จากความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อ เหมาะกับการนำไปปรับใช้ระหว่างการอบอุ่นร่างกายสำหรับกีฬาที่ต้องการพลังและความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพก


ผลของชุดกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการใช้สหประสาทความรู้สึกต่อการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิตในเด็กออทิสติกสเปกตรัม, สุบิน สาวะธรรม Jan 2021

ผลของชุดกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการใช้สหประสาทความรู้สึกต่อการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิตในเด็กออทิสติกสเปกตรัม, สุบิน สาวะธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการใช้สหประสาทความรู้สึกต่อการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิตในเด็กออทิสติกสเปกตรัม กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กออทิสติกสเปกตรัมที่มีปัญหาด้านการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหว จำนวน 20 คน แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม ซึ่งได้รับการเรียนรู้ตามปกติ จำนวน 10 คน และกลุ่มทดลอง ซึ่งได้รับการฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการใช้สหประสาทความรู้สึก จำนวน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ จำนวน 10 คน ประเมินผลด้านการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหว และคุณภาพชีวิตก่อนและหลังเข้าร่วมการวิจัย 12 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า ภายหลัง 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนด้านการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้นและมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มควบคุมมีคะแนนคุณภาพชีวิตต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มทดลองมีคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการใช้สหประสาทความรู้สึกช่วยเพิ่มทักษะด้านการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหว ทั้งยังส่งเสริมทำให้คุณภาพชีวิตของเด็กออทิสติกสเปกตรัมที่มีปัญหาด้านการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้นอีกด้วย


การเปรียบเทียบผลของการฝึกคอนทราสต์และการฝึกเชิงซ้อนที่มีต่อพลังของกล้ามเนื้อขา ความเร็ว และความสามารถในการกระโดดในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย, สุรพศ ไกรเกตุ Jan 2021

การเปรียบเทียบผลของการฝึกคอนทราสต์และการฝึกเชิงซ้อนที่มีต่อพลังของกล้ามเนื้อขา ความเร็ว และความสามารถในการกระโดดในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย, สุรพศ ไกรเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบผลของการฝึกคอนทราสต์และการฝึกเชิงซ้อนที่มีต่อพลังของกล้ามเนื้อขา ความเร็ว และความสามารถในการกระโดดในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลชาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 18-25 ปี จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน ด้วยวิธีการกำหนดกลุ่มแบบจับคู่ จากความแข็งแรงสัมพัทธ์ในท่าบาร์เบล แบค สควอท โดยกลุ่มที่ 1 ฝึกคอนทราสต์ และกลุ่มทที่ 2 ฝึกเชิงซ้อน ทำการฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ ใช้ระยะเวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบพลังของกล้ามเนื้อ ความเร็ว และความสามารถในการกระโดด ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติเปรียบเทียบภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ One-way analysis of variance with repeated measures และ Kruskal-Wallis เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ตามวิธีของ Bonferroni และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test และ Mann-Whitney t ผลการวิจัย พบว่า 1.หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 พบว่ากลุ่มที่ฝึกคอนทราสต์มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงสัมพัทธ์ พลังของกล้ามเนื้อ ความเร็ว แตกต่างจากก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 พบว่ากลุ่มที่ฝึกเชิงซ้อนมีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงสัมพัทธ์ พลังของกล้ามเนื้อ แตกต่างจากก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. หลังจากการฝึก 8 สัปดาห์ ทั้งสองกลุ่มไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความแข็งแรงสัมพัทธ์ พลังของกล้ามเนื้อ ความเร็ว และความสามารถในการกระโดด สรุปได้ว่าการฝึกคอนทราสต์และการฝึกเชิงซ้อนสามารถพัฒนาพลังของกล้ามเนื้อ ความเร็ว และความสามารถในการกระโดดในนักกีฬาบาสเกตบอลชายได้ในระยะเวลา 8 สัปดาห์


ผลของการฝึกวินยาสะโยคะต่อความเครียดในวัยทำงาน, ธนิสร สินพิเชธกร Jan 2021

ผลของการฝึกวินยาสะโยคะต่อความเครียดในวัยทำงาน, ธนิสร สินพิเชธกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกวินยาสะโยคะต่อความเครียด และผลของการฝึกวินยาสะโยคะต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและอัตราการแปรผันของการเต้นของหัวใจในวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลวัยทำงานอายุระหว่าง 18 - 35 ปี เพศชายและเพศหญิง มีระดับความเครียดต่ำถึงปานกลาง 6 - 26 คะแนน จากแบบทดสอบการรับรู้ความเครียด (Perceived Stress Scale; PSS) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน คือกลุ่มทดลองที่ฝึกวินยาสะโยคะ 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกใด เก็บข้อมูลตัวแปรการรับรู้ความเครียด ปริมาณคอร์ติซอลในน้ำลาย ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ คุณภาพการนอนหลับ คุณภาพชีวิต และตัวแปรสมรรถภาพทางกายแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองด้วยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 การวิจัยพบว่ากลุ่มฝึกวินยาสะโยคะมีอัตราส่วนระหว่างความแปรปรวนของอัตรากรเต้นของหัวใจความถี่ต่ำต่อความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่สูง (LF/HIF ratio) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปริมาณฮอร์โมนคอร์ติซอลในน้ำลาย การรับรู้ความเครียด มีแนวโน้มลดลงแต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่สมรรถภาพทางกายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง สำหรับกลุ่มควบคุมไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ของตัวแปรใดๆ โดยสรุปการวิจัยนี้พบว่าการฝึกวินยาสะโยคะเป็นเวลา 8 สัปดาห์ช่วยปรับสมดุลการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติและเพิ่มสมรรถภาพทางกายในวัยทำงาน แต่ไม่ส่งผลเปลี่ยนแปลงความเครียดและคุณภาพชีวิต


Effects Of 4-Week Neuromuscular Training On Contralateral Pelvic Drop And Running Economy In Recreational Female Runners, Venus Dokchan Jan 2021

Effects Of 4-Week Neuromuscular Training On Contralateral Pelvic Drop And Running Economy In Recreational Female Runners, Venus Dokchan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study was to investigate the effects of 4-weeks neuromuscular training programs on contralateral pelvic drop (CPD) and running economy (RE) in female runners. Thirty-two female runners who experienced CPD volunteered for the study. The study was divided into 2 parts. The first part investigated the effectiveness of four neuromuscular training programs during four weeks. The purpose of the first part was to find which neuromuscular training program was most effective in correcting CPD. The second part examined the retention effects of the four neuromuscular training programs for another four weeks. In this study, the participants were …


ผลของการฝึกพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการทรงตัวและความสามารถในการทำงานสองชนิดพร้อมกันของนักกีฬาฟุตซอลชายระดับมหาวิทยาลัย, ณัฐฐาพร อะวิลัย Jan 2021

ผลของการฝึกพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการทรงตัวและความสามารถในการทำงานสองชนิดพร้อมกันของนักกีฬาฟุตซอลชายระดับมหาวิทยาลัย, ณัฐฐาพร อะวิลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาผลของการฝึกพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการทรงตัวและความสามารถในการทำงานสองชนิดพร้อมกัน แบ่งเป็นสองการศึกษา โดยศึกษาการทำงานสองชนิดที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อน พร้อมกับว่านักกีฬามีความแตกต่างจากประชาชนทั่วไปหรือไม่ประการใด แล้วจึงทำการศึกษาผลการฝึกพิลาทิสที่มีต่อการทำงานสองชนิดพร้อมกันเปรียบเทียบในนักกีฬาฟุตซอล ดังนั้นในการศึกษาที่1 เป็นการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการทำงานเดี่ยว และการทำงานสองชนิดพร้อมกัน ระหว่างกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มนักกีฬาฟุตซอล อายุ 18-25 ปี ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กลุ่มละ 24 คน โดยได้รับการทดสอบความสามารถในการทำงานเดี่ยว 3 รูปแบบ ได้แก่ ดัชนีการเซ ผลการลบเลขถอยหลังทีละ7 และผลการโยนบีนแบ็ค และความสามารถในการทำงานสองชนิดพร้อมกัน 2 รูปแบบ ได้แก่การทำงานสองชนิดที่เป็นงานกลไกพร้อมกับงานใช้ความคิด โดยวัดดัชนีการเซในการยืนขาเดียวพร้อมผลการลบเลข และการทำงานสองชนิดที่ทั้งสองงานเป็นงานกลไก โดยวัดดัชนีการเซในการยืนขาข้างเดียวพร้อมผลการโยนบีนแบ็ค ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ Independent sample t-test พบว่า การทำงานสองชนิดที่ทั้งสองงานเป็นงานกลไกเท่านั้น ที่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเป็นนักกีฬามีผลต่อความสามารถในการทำงานสองชนิดที่เป็นงานกลไก ในการศึกษาที่ 2 ศึกษาผลของการฝึกโปรแกรมพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการทรงตัว ความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความสามารถในการทำงานเดี่ยว และความสามารถในการทำงานสองชนิดพร้อมกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอลเพศชายจำนวน 26 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 13 คน; กลุ่มที่ 1 กลุ่มฝึกฟุตซอลตามโปรแกรมปกติ สัปดาห์ละ 3-4 ครั้งๆละ 2 ชั่วโมง และกลุ่มที่ 2 กลุ่มฝึกพิลาทิสเสริมร่วมกับฝึกซ้อมฟุตซอลตามปกติ โดยฝึกพิลาทิสเสริมสัปดาห์ละ 2 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง แล้วทำการศึกษาตัวแปรด้านความสามารถในการทำงานเดี่ยว ได้แก่ ดัชนีการเซ การลบเลขถอยหลังทีละ7 และการโยนบีนแบ็ค และความสามารถในการทำงานสองชนิดที่เป็นงานกลไกพร้อมกับงานใช้ความคิด โดยวัดดัชนีการเซในการยืนทรงตัวพร้อมลบเลขถอยหลัง และการทำงานสองชนิดที่ทั้งสองงานเป็นงานกลไก โดยวัดดัชนีการเซในการยืนทรงตัวพร้อมการโยนบีนแบ็ค ความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และความสมดุลของกล้ามเนื้อ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (Independent T-test) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และ Paired T-test ภายในกลุ่ม พบว่าภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 กลุ่มฝึกพิลาทิสเสริม มีกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่มีความแข็งแรงขึ้น สามารถรักษาสมดุลการทรงตัวได้ดี ความสามารถในการทำงานสองชนิดที่เป็นงานกลไกพร้อมกับงานใช้ความคิดในการลบเลขถูกต้อง และการทำงานสองชนิดที่ทั้งสองงานเป็นงานกลไก ค่าดัชนีการเซในการทรงตัว และผลการโยนบีนแบ็คเข้าเป้าหมาย แตกต่างจากกลุ่มฝึกฟุตซอลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 …


ผลของการเพ่งความตั้งใจที่ส่งผลต่อความแม่นยำในการเล่นลูกพิทช์ในกีฬากอล์ฟ, พัชรี นุตรพิบูลมงคล Jan 2021

ผลของการเพ่งความตั้งใจที่ส่งผลต่อความแม่นยำในการเล่นลูกพิทช์ในกีฬากอล์ฟ, พัชรี นุตรพิบูลมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการเพ่งความตั้งใจแบบภายในและการเพ่งความตั้งใจแบบภายนอกที่ส่งผลต่อความแม่นยำในการเล่นลูกพิทช์ ความเร็วของหัวไม้ขณะเข้าปะทะลูกกอล์ฟ สแมชแฟคเตอร์ องศาการทำงานของข้อมือ และระดับการเพ่งความตั้งใจของการทำงานของข้อมือและหัวไม้กอล์ฟในการเล่นลูกพิทช์ในกีฬากอล์ฟ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ได้แก่นักกอล์ฟสมัครเล่นเพศชาย ที่มีแต้มต่ออยู่ระหว่าง 0 – 24 จำนวน 24 คน เข้ารับการทดสอบการพิทช์ลูกกอล์ฟที่ระยะ 50 หลา ในเงื่อนไขการเพ่งความตั้งใจแบบภายใน (IN) การเพ่งความตั้งใจแบบภายนอก (EX) และเงื่อนไขควบคุม (CON) โดยใช้วิธีการถ่วงดุลลำดับ วิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติของค่าเฉลี่ยของความแม่นยำ ความเร็วหัวไม้กอล์ฟ สแมชแฟคเตอร์ และองศาข้อมือด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเมื่อมีการวัดซ้ำ (One way ANOVA with repeated measure) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า ระดับความแม่นยำในการตีลูกเข้าหาเป้าหมายที่กำหนดภายใต้การเพ่งความตั้งใจแบบภายในและการเพ่งความตั้งใจแบบภายนอกนั้นมากกว่าเงื่อนไขควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความแตกต่างกันของระดับความแม่นยำระหว่างการเพ่งความตั้งใจแบบภายในและการเพ่งความตั้งใจแบบภายนอก ในขณะที่ความเร็วของหัวไม้กอล์ฟขณะเข้าปะทะลูกกอล์ฟ สแมชแฟคเตอร์ และองศาการทำงานของข้อมือซ้ายไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้ง 3 เงื่อนไข เมื่อเปรียบเทียบความแม่นยำระหว่างชุดการตี ในเงื่อนไขการเพ่งความตั้งใจแบบภายในที่ชุดการตีที่ 3 มีความแม่นยำเพิ่มขึ้นจากชุดการตีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างในการเพ่งความตั้งใจแบบภายนอกและเงื่อนไขควบคุม สรุปผลการวิจัย การกำหนดตำแหน่งให้เพ่งความตั้งใจในขณะทำการพิทช์ที่ระยะ 50 หลา ช่วยเพิ่มระดับความแม่นยำในการตีลูกเข้าหาเป้าหมายได้ โดยลักษณะของคำในคำสั่งที่ใช้ในช่วงก่อนเริ่มต้นการทดสอบส่งผลต่อตำแหน่งของการเพ่งความตั้งใจ และยิ่งผ่านการฝึกซ้อม การเพ่งความตั้งใจแบบภายในมีแนวโน้มที่จะช่วยพัฒนาระดับทักษะให้ดียิ่งขึ้นได้ ดังนั้นทั้งโค้ชและนักกีฬาจึงควรนำเทคนิคการเพ่งความตั้งใจไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม


ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร, ศิษฏ์ เกตุเอี่ยม Jan 2021

ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร, ศิษฏ์ เกตุเอี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามตัวแปรเพศและรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง วิธีดําเนินการวิจัย ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบ “ที” (t-test) และสถิติทดสอบ “เอฟ”(F-test) ในกรณีที่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s) ผลการวิจัย 1) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารในระดับปานกลาง มีทัศนคติในการบริโภคอาหารในระดับที่ดี และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในระดับปานกลาง 2) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครเพศชายและเพศหญิง มีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่แตกต่างกัน 3) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครที่มีรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครองที่แตกต่างกันมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครมีความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารในระดับปานกลาง แต่มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารในระดับดี นอกจากนี้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครที่มีเพศ และรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครองที่แตกต่างกันมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่แตกต่างกัน


การวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อรยางค์ขาขณะลงน้ำหนักบางส่วนในนักกีฬาแบดมินตัน, สรวุฒิ รัตนคูณชัย Jan 2021

การวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อรยางค์ขาขณะลงน้ำหนักบางส่วนในนักกีฬาแบดมินตัน, สรวุฒิ รัตนคูณชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลังขณะลงน้ำหนักบางส่วนในนักกีฬาแบดมินตันและเพื่อเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลังขณะเดินด้วยความเร็วต่ำและความเร็วสูงในนักกีฬาแบดมินตัน วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาแบดมินตันของโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด จำนวน 15 คน อายุระหว่าง 15-21 ปี ทำการติดตั้งตัววัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) บริเวณกล้ามเนื้อต้นขา 5 มัดที่ขาข้างขวา ได้แก่ Rectus femoris, Vastus medialis, Vastus lateralis, Bicep femoris, Semitendinosus and Semimembranosus วิเคราะห์อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อสูงสุดขณะทำการเคลื่อนไหวด้วยการเดิน และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุดด้วยความตั้งใจ (EMG max / MVC) อัตราส่วนพื้นที่ใต้กราฟของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อกลุ่มเป้าหมายขณะมีการเคลื่อนไหวด้วยการเดิน และพื้นที่ใต้กราฟของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุดด้วยความตั้งใจ (Integrated EMG /MVC) ในขณะที่นักกีฬาเดินบนลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วงเดินช้าที่ความเร็ว 0.69 เมตรต่อวินาทีและที่เดินเร็วที่ความเร็ว 1 เมตรต่อวินาที ในสองภาวะน้ำหนักคือ ลงน้ำหนักตัวเต็มที่ 100% และภาวะที่มีการพยุงน้ำหนักร่างกายจนเหลือ 60% วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Two Way repeated ANOVA กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value 0.05 ผลการวิจัย : ผลการวิเคราะห์ EMG max / MVC และ Integrated EMG / MVC ของกล้ามเนื้อเกือบทุกมัดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value 0.05) ในทุกสภาวะ ยกเว้นที่กล้ามเนื้อ Bicep femoris ที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทุกสภาวะ สรุปผลการวิจัย : จากการที่คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะเดินบนลู่วิ่งต้านแรงถ่วงในกล้ามเนื้อ Bicep femoris ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกสภาวะ ผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่า การออกกำลังกายบนลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วง สามารถใช้กับนักกีฬาที่ต้องการออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาในขณะที่อยู่ในสภาวะที่ต้องลดแรงสะท้อนต่อข้อเข่า


The Effects Of Service Quality On Customer’S Satisfaction In Low-Cost Fitness Center In Semarang, Indonesia, Suyatman - Jan 2021

The Effects Of Service Quality On Customer’S Satisfaction In Low-Cost Fitness Center In Semarang, Indonesia, Suyatman -

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to analyze the level and the effects of service quality on customer satisfaction. The research was designed as a quantitative study with a quota sampling technique (non-probability sampling). A total of 420 respondents were collected from 14 fitness centers. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and regression analysis. The results revealed that assurance, empathy, reliability, and responsiveness of perceived service quality had a higher value than expected service quality. On the other hand, tangible was the only dimension fell short of customers’ expectation. The results indicate a positive relationship between service quality and overall satisfaction. …


ผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบเฉพาะเจาะจงด้วยขาทีละข้างที่มีต่อความสามารถในการกระโดดขึ้นฟาดในนักกีฬาเซปักตะกร้อเยาวชนชาย, นุจรินทร์ วาระสิทธิ์ Jan 2021

ผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบเฉพาะเจาะจงด้วยขาทีละข้างที่มีต่อความสามารถในการกระโดดขึ้นฟาดในนักกีฬาเซปักตะกร้อเยาวชนชาย, นุจรินทร์ วาระสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกเชิงซ้อนแบบเฉพาะเจาะจงด้วยขาทีละข้างต่อความสามารถของการกระโดดขึ้นฟาดในนักกีฬาเซปักตะกร้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาเซปักตะกร้อ ตำแหน่งตัวฟาดเยาวชน เพศชาย อายุ 16-18 ปี จำนวน 24 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ12 คน กลุ่มที่ 1 ฝึกตามรูปแบบการฝึกเชิงซ้อนแบบเฉพาะเจาะจงด้วยขาทีละข้าง และกลุ่มที่ 2 ฝึกเชิงซ้อนแบบเฉพาะเจาะจงด้วยขาทั้งสองข้าง ทำการฝึก 85% ของความหนักสูงสุด จำนวน 6 ครั้ง 4 ชุด ฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฝึก ทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พลังของกล้ามเนื้อ ความสูงในการกระโดดฟาด และการทรงตัว จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแตกต่างภายในกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Pair samples t-test) และความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent sample t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึก 6 สัปดาห์ กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พลังกล้ามเนื้อ และความสูงในการกระโดดฟาดเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มที่ 1 มีการทรงตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบหลังการฝึก 6 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่ 1 มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงความสูงในการกระโดดในแนวดิ่งด้วยขาคู่ และขาข้างที่ไม่ถนัดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับกลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย โปรแกรมการฝึกเชิงซ้อนแบบเฉพาะเจาะจงด้วยขาทีละข้าง มีประสิทธิภาพสามารถพัฒนาความสามารถในการกระโดดขึ้นฟาดในนักกีฬาเซปักตะกร้อเยาวชนชายได้