Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing Administration Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Publication Year

Articles 1 - 8 of 8

Full-Text Articles in Nursing Administration

การศึกษาการจัดบริการทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ, กัณฐิกา สายปัญญา Jan 2022

การศึกษาการจัดบริการทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ, กัณฐิกา สายปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดบริการทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ในการรวบรวมฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า ประกอบด้วย 7 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการวางแผนการจัดบริการ หัวหน้าพยาบาลเป็นผู้กำหนดแผนการจัดบริการทางการพยาบาลและถ่ายทอดนโยบายมาสู่พยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและผู้จัดการพยาบาล ในการคัดเลือกสถานที่ จัดเตรียมเอกสาร เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ 2) ด้านการจัดการโครงสร้าง หัวหน้าพยาบาลเป็นผู้จัดโครงสร้างขององค์การ โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และจัดอัตรากำลังโดยผู้จัดการพยาบาล รวมถึงมีการจัดโครงสร้างของหอผู้ป่วยเฉพาะกิจโดยพยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 3) ด้านการบริหารจัดการบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ประกอบด้วย การให้ความรู้และฝึกอบรม การมอบหมายหน้าที่ การปฐมนิเทศ และการจัดสวัสดิการและจูงใจการทำงานให้แก่บุคลากรทางการพยาบาล 4) ด้านการควบคุมกำกับการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย การควบคุมกำกับการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยหัวหน้าทีมการพยาบาล การควบคุมกำกับและป้องกันการติดเชื้อในการปฏิบัติงานโดยผู้จัดการพยาบาล และการควบคุมกำกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการพยาบาลโดยหัวหน้าทีมการพยาบาล 5) ด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงาน ประกอบด้วย การติดต่อภายใน และภายนอกหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 6) ด้านการรายงาน ผู้จัดการพยาบาลเป็นผู้รายงานสถานการณ์ปัญหาและยอดผู้ป่วยในแต่ละวันให้หัวหน้าพยาบาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ 7) ด้านงบประมาณ หัวหน้าพยาบาลมีการบริหารจัดการให้มีค่าเสี่ยงภัย และจัดสรรเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอและพร้อมใช้


ประสบการณ์ของพยาบาลในการดูแลผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยวิกฤต, ชุติมาพร โกมล Jan 2022

ประสบการณ์ของพยาบาลในการดูแลผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยวิกฤต, ชุติมาพร โกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยวิกฤต โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ร่วมกับการบันทึกเทป การสังเกต การจดบันทึกภาคสนาม จำนวน 15 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์เนื้อหาตาม van Manen (1990) ผลการศึกษา ประสบการณ์ของพยาบาลในการดูแลผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยวิกฤต พบมี 5 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การดูแลผู้ที่ติดเชื้อด้วยความรู้สึกหลากหลายเพราะโควิดเป็นโรคอุบัติใหม่ ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 1.1) เหมือนอยู่ในสมรภูมิรบ 1.2) เป็นความเครียด มีความกดดัน เพราะเป็นการดูแลที่ไม่คุ้นเคย 1.3) กลัวติดเชื้อจากผู้ป่วย 1.4) รู้สึกหดหู่ใจเพราะผู้ป่วยตายทุกวัน 1.5) ตื่นเต้น วุ่นวายในการช่วยชีวิตผู้ป่วย 1.6) เหนื่อยกายหลังให้การดูแลแต่มีใจสู้ต่อ และ 1.7) ภูมิใจในตนเองที่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ 2) การดูแลด้วยประสบการณ์เดิมผสานกับความรู้ใหม่ ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 2.1) การดูแลผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจในท่านอนคว่ำ 2.2) เฝ้าระวังอาการและภาวะการหายใจ หากเปลี่ยนไปรายงานแพทย์ทันที 2.3) ป้องกันข้อต่อเครื่องช่วยหายใจไม่ให้เลื่อนหลุด 2.4) สังเกตน้ำยาล้างไตและสารน้ำที่ให้ผ่านเครื่อง Monitor และ 2.5) ใช้ Defibrillator แทนการ CPR เมื่อผู้ป่วยใส่ ECMO 3) การดูแลเอาใจใส่ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 3.1) การดูแลด้วยความเข้าใจ/ใช้สติ ให้กำลังใจและถามไถ่ความรู้สึก 3.2) เป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้ป่วยและสมาชิกครอบครัว และ 3.3) วาระสุดท้ายต้องดูแลให้ได้ตามมาตรฐานและตอบสนองความต้องการของครอบครัว 4) ปัญหาและอุปสรรคของการดูแลผู้ป่วย ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 4.1) ข้อจำกัดด้านการสื่อสารในทีมสุขภาพ และ 4.2) ข้อจำกัดด้านการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและครอบครัว 5) บทเรียนรู้ที่ได้รับจากการดูแลผู้ป่วย ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 5.1) เกิดการเรียนรู้นำสู่การปรับปรุงตน 5.2) ผลของงานเกิดจากความทุ่มเทของทีม 5.3) ความรับผิดชอบในวิชาชีพและคุณค่าของการเป็นพยาบาลวิกฤติ และ …


ประสบการณ์การเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในยุคใหม่ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง, ดุสิต กล่ำถึก Jan 2022

ประสบการณ์การเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในยุคใหม่ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง, ดุสิต กล่ำถึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินยุคใหม่โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และมีความยินดีเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการบันทึกเทป ร่วมกับการบันทึกภาคสนาม และนำข้อมูลที่ได้มาถอดเทปแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีของ Crist and Tanner ผลการศึกษา ประสบการณ์การเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินยุคใหม่โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง แบ่งเป็น 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. ภูมิหลังและการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานใน ER ประกอบด้วยประเด็นย่อยดังนี้ 1.1) หลากหลายเหตุผลที่เข้ามาทำงานใน ER 1.2) เริ่มทำงาน เกิดความไม่มั่นใจต้องใช้เวลาในการปรับตัว และ 1.3) การเตรียมความรู้ในการดูแลผู้ป่วย 2. การปฏิบัติงานของพยาบาลในหน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ประกอบด้วยประเด็นย่อยดังนี้ 2.1) คัดกรองผู้ป่วยด้วยทักษะที่หลากหลาย 2.2) ดูแลผู้ป่วยในห้องสังเกตการ 2.3) ช่วยฟื้นคืนชีวิตโดยปฏิบัติตามเทคนิคที่ถูกต้อง 2.4) บริการรับและส่งต่อผู้ป่วย 2.5) ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน 2.6) บริการงานสาธารณภัย พร้อมโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นและ 2.7) บริการความรู้แก่สังคมเพื่อประโยชน์แห่งตนและผู้อื่น 3. ปัญหาหน้างาน บริหารจัดการโดยหัวหน้าเวร ประกอบด้วยประเด็นย่อยดังนี้ 3.1) บริหารอัตรากำลังให้เหมาะสม หากมีผู้ป่วยจำนวนมาก 3.2) สื่อสารให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจหากต้องรอตรวจนาน 3.3) ป้องกันความผิดพลาดการดูแล จึงต้องมีการตรวจสอบและทวนซ้ำและ 3.4) ระงับเหตุการณ์วุ่นวาย ต้องอาศัยหลายฝ่ายร่วมกัน 4. ผลของการปฏิบัติงานใน ER ประกอบด้วยประเด็นย่อยดังนี้ 4.1) เครียดจากการบริหารจัดการในงานยุคใหม่ 4.2) ขาดสมดุลระหว่างชีวิตกับงานที่ต้องปฏิบัติ และ 4.3) ความสุขเกิดขึ้นได้จากผู้ร่วมงานที่ดีและเต็มที่กับการดูแลผู้ป่วยจนปลอดภัย การวิจัยนี้ทำให้เข้าใจการเป็นพยาบาลหน่วยอุบัติและฉุกเฉินที่ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยและการบริหารจัดการ ซึ่งผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคนและพัฒนางานของหน่วยอุบัติและฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ประสบการณ์ชีวิตของพยาบาลวิชาชีพที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, จุฑาทิพย์ คะชะวะโร Jan 2022

ประสบการณ์ชีวิตของพยาบาลวิชาชีพที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, จุฑาทิพย์ คะชะวะโร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อบรรยายประสบการณ์ชีวิตของพยาบาลวิชาชีพที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลวิชาชีพที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากการปฏิบัติงาน โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง จำนวน 15 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การบันทึกเทป และการบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ Colaizzi ผลการศึกษาประสบการณ์ชีวิตของพยาบาลวิชาชีพที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วยประเด็นหลัก และประเด็นย่อยดังต่อไปนี้ 1. สภาพการทำงานที่มีภาวะเสี่ยง ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) มีโอกาสสัมผัสจากเชื้อโรค ไม่ได้มีการป้องกันทุกขั้นตอน และ 1.2) ละเลยการใช้อุปกรณ์การป้องกัน 2. เริ่มมีอาการ แจ้งหน่วยงานเข้าระบบการรักษา ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) มีอาการนำก่อนมาโรงพยาบาล 2.2) เข้ารับการตรวจตามระบบเพื่อยืนยันการติดเชื้อโควิด 2.3) เลือกสถานที่เข้ารับการรักษา และ 2.4) ได้รับการรักษาตามอาการ 3. ความรู้สึกหลากหลายในช่วงเวลากักตัวและรับการรักษา ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ 3.1) กลัวและกังวลใจจะทำให้คนอื่นติดเชื้อโควิด 3.2) เครียด กลัว กังวล สุขภาพของตนในระยะยาว 3.3) เบื่อกับการอยู่ในพื้นที่จำกัดทำกิจวัตรซ้ำๆ เดิม และ 3.4) รู้สึกดีที่ได้รับกำลังใจจากคนรอบข้าง 4. อาการที่หลงเหลืออยู่หลังการรักษา ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 4.1) อาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มอิ่ม และ 4.2) ไอ มีน้ำมูกและเจ็บคอ 5. การทำงานของพยาบาลมีความเสี่ยงตลอดเวลา ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 5.1) ป้องกันการติดเชื้อ เพื่อไม่ให้มีการติดซ้ำ และ 5.2) ใส่ใจสุขภาพ ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ผลการวิจัยนี้ ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 …


ประสบการณ์การปฎิบัติงานของพยาบาลในหอผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19, พิมพ์วิมล ยงใจยุทธ Jan 2021

ประสบการณ์การปฎิบัติงานของพยาบาลในหอผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19, พิมพ์วิมล ยงใจยุทธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เชื้อโควิด 19 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 และมีความยินดีเข้าร่วมการวิจัย โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง จำนวน 15 คนเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการบันทึกเทป ร่วมกับการบันทึกภาคสนาม และนำมาข้อมูลที่ได้มาถอดเทปแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการของ van Manen ผลการศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลในหอผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 แบ่งเป็น 6 ประเด็นหลักและประเด็นย่อย ดังนี้ 1. ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิด ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย1.1) สวมอุปกรณ์ป้องกันก่อนเข้าห้องผู้ป่วย 1.2) วางแผนให้การพยาบาลแบบเบ็ดเสร็จตามรอบเวลา1.3) เสร็จสิ้นการทำงาน ถอดชุดป้องกันอย่างถูกวิธี และ 1.4) ทำความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนชุดใหม่ก่อนลงเวรหรือกลับบ้าน 2. ดูแลด้วยใจ เอาใจใส่ให้ความช่วยเหลือทุกเรื่อง ประกอบด้วย 7 ประเด็นย่อย2.1) ดูแลด้านร่างกายให้สุขสบาย 2.2) ติดตามอาการที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา 2.3) ให้กำลังใจในการรักษา 2.4) สิ่งใดที่ปรารถนา เต็มใจจัดหามาให้ 2.5) ใส่ใจตรวจสอบและประสานสิทธิ์การรักษา 2.6) เมื่อผู้ป่วยมีปัญหา ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 2.7) จัดการช่วยเหลือผู้ป่วยจนถึงวาระสุดท้าย 3. มีปัญหาต้องแก้ไข เพื่อให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย 3.1) บริหารจัดการเตียงให้เพียงพอกับผู้ป่วยโควิดแต่ละประเภท 3.2) อัตรากำลังพยาบาลไม่เพียงพอ ขออัตรากำลังเสริมเข้าช่วย 3.3) ต่างชาติต่างภาษา เจรจาวุ่นวาย หาตัวช่วยคลี่คลาย สื่อสารจนเข้าใจ และ 3.4) อึดอัดใจ ทีมไม่เข้าดูคนไข้ เจรจาให้เข้าใจทำงานกันได้ราบรื่น 4. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 4.1 ผู้บริหารเห็นความสำคัญ สร้างขวัญและกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน 4.2 เพื่อนร่วมงานให้กำลังใจ ช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี 4.3 ผู้ป่วยและญาติ ให้กำลังใจและให้การสนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์ 4.4 บุคคลภายนอกให้กำลังใจในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม และ 4.5 การได้บรรจุเป็นข้าราชการและเงินค่าเสี่ยงภัย เป็นขวัญกำลังใจที่สำคัญ …


การศึกษาสมรรถนะของพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น, ณณัญปภัสร์ แสนประเสริฐ Jan 2021

การศึกษาสมรรถนะของพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น, ณณัญปภัสร์ แสนประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น โดยใช้เทคนิค EDFR กลุ่มตัวอย่าง คือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ประกอบด้วย พยาบาลผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่นจำนวน 7 คน คณะทำงานโครงการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่นจำนวน 5 คน นักวิชาการด้านสุขภาพจำนวน 4 คน และนักกฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการบริการสุขภาพ จำนวน 3 คน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์เกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญสมรรถนะของพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น และรอบที่ 3 นำข้อมูลมาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และจัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นเพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น ประกอบด้วย 7 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านบริการพยาบาล ประกอบด้วย การรักษา การส่งเสริมและป้องกันสุขภาพ การฟื้นฟูสุขภาพและการเข้าถึงชุมชน 2) ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ ประกอบด้วย การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ การตลาดและการเงิน-การบัญชี 3) ด้านการจัดการความปลอดภัยและความเสี่ยงของคลินิก ประกอบด้วย ความเสี่ยงในการดูแลรักษา สิ่งแวดล้อม การร้องเรียนและสิทธิผู้ป่วย และเทคโนโลยี 4) ด้านการพัฒนาคุณภาพบริการ ประกอบด้วย พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการอย่างรวดเร็วและทันท่วงที และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาสนับสนุนการให้บริการ5) ด้านการจัดทำระบบจัดเก็บอุปกรณ์ทางการแพทย์ ประกอบด้วย การจัดทำระบบบัญชียาและวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเป็นระบบ 6) ด้านกฎหมายและจริยธรรม ประกอบด้วย การตัดสินใจเชิงจริยธรรมการบริหารจัดการคลินิกและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ 7) ด้านการสื่อสาร ประกอบด้วย การสร้างสัมพันธภาพ และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ


ประสบการณ์ของผู้บริหารทางการพยาบาลในการบริหารจัดการพยาบาลผู้ป่วยโควิด 19, มณฑนรรห์ ดิษฐสุวรรณ Jan 2021

ประสบการณ์ของผู้บริหารทางการพยาบาลในการบริหารจัดการพยาบาลผู้ป่วยโควิด 19, มณฑนรรห์ ดิษฐสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของผู้บริหารทางการพยาบาลในการบริหารจัดการพยาบาลผู้ป่วยโควิด 19 โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารทางการพยาบาลที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพยาบาลผู้ป่วยโควิด 19 ทั้งหมด 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การบันทึกเทป การสังเกต และการบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ Colaizzi ผลการศึกษาประสบการณ์ของผู้บริหารทางการพยาบาลในการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ประกอบด้วยประเด็นใหญ่และย่อยดังนี้ 1. การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด 19 ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) จัดหาพื้นที่และปรับโครงสร้างหน่วยงานสำหรับรองรับผู้ป่วยโควิด 19 1.2) จัดหาบุคลากรพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 และ 1.3) เตรียมความพร้อมของพยาบาลและจัดหาอุปกรณ์การป้องกัน 2. บริหารจัดการขับเคลื่อนงานดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) กำหนดนโยบาย สร้างแนวปฏิบัติ ควบคุมกำกับ ติดตามทีม 2.2) เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของทุกคน 2.3) สื่อสารเรื่องราว บอกเล่าความจริง ให้บุคลากรรับทราบ และ 2.4) จัดพี่เลี้ยงสอนงานให้กับพยาบาลที่มาช่วยงานในหอผู้ป่วยโควิด 19 3. จัดการกับปัญหานานาประการเพื่อให้งานดำเนินต่อไป ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย ได้แก่ 3.1) จัดการกับอารมณ์และความรู้สึกทางลบของพยาบาล 3.2) จัดการกับความเครียดจากการปฏิบัติงานของตนเอง 3.3) เพิ่มทักษะการดูแลผู้ป่วยโควิด 19ในภาวะวิกฤต 3.4) อุปกรณ์ป้องกันขาดแคลน ต้องมีแผนการแก้ไข และ 3.5) อัตรากำลังพยาบาลไม่พอ ต้องขอกำลังเสริมจากทุกหน่วยงาน 4. สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานช่วงสถานการณ์โควิด ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 4.1) ผู้บริหารลงหน้างาน ให้คำปรึกษา และร่วมแก้ไขปัญหา และ 4.2) ผลักดันการเพิ่มค่าตอบแทนและสวัสดิการอื่นๆให้ผู้ปฏิบัติงาน 5. ผลลัพธ์การบริหารจัดการในสถานการณ์โควิด 19 ประกอบก้วย 2 ประเด็นย่อย 5.1) เกิดความร่วมแรงร่วมใจ จึงควบคุมสถานการณ์โควิด 19 …


การศึกษาการจัดบริการพยาบาลคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น, วัลภา อรัญนะภูมิ Jan 2021

การศึกษาการจัดบริการพยาบาลคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น, วัลภา อรัญนะภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดบริการพยาบาลของคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น โดยใช้เทคนิค EDFR กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มคณะทำงานโครงการพัฒนารูปแบบคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์เป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 5 คน 2) กลุ่มผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น 5 คน 3) กลุ่มนิติกรที่เชี่ยวชาญกฎหมายด้านสาธารณสุข 3 คน และ 4) กลุ่มอาจารย์พยาบาล/นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดบริการพยาบาล 4 คน สัมภาษณ์เฉพาะรอบที่ 1 วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการเก็บข้อมูล 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างเป็นแบบสอบถาม ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญ และรอบที่ 3 นำข้อมูลจากรอบที่ 2 มาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จากนั้นนำแบบสอบถามส่งให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปผลการศึกษาการจัดบริการพยาบาลคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น ผลการวิจัยพบว่าการจัดบริการพยาบาลคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการให้บริการในคลินิก ประกอบด้วย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ตามกลุ่มวัย ป้องกันโรค ตามความเสี่ยงกลุ่มวัย รักษาพยาบาลเบื้องต้น และบริการฟื้นฟูสภาพ 2) ด้านการให้บริการในชุมชน ประกอบด้วย กิจกรรมการเยี่ยมบ้านผู้รับบริการกลุ่มต่างๆ 3) ด้านบริการส่งต่อผู้ป่วย ประกอบด้วยการประสานงานกับหน่วยบริการเครือข่ายระดับต่างๆ เพื่อส่งต่อไปรับการบำบัด 4) ด้านการให้บริการผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย การนำ application มาช่วยในกิจกรรมการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพและการติดตามเยี่ยมบ้าน การส่งข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการ และ บันทึกข้อมูลการให้บริการด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) ด้านการให้บริการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อที่บ้านและชุมชนของผู้รับบริการ ประกอบด้วยการวางแผนป้องกันและควบคุมการติดเชื้อตามปัญหาของผู้รับบริการ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติของผู้รับบริการ และรายงานสถานการณ์การระบาด ผลการวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงการจัดบริการพยาบาลคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่นที่มีความชัดเจน เพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดบริการพยาบาลที่มีมาตรฐานและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ