Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Dental Journal

Dental caries

Publication Year

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Dentistry

ความสัมพันธ์ของความรู้และการปฏิบัติงานด้านทันตสุขภาพของแม่ต่อลูกวัย 3 ปี กับสภาวะโรคฟันผุ ของลูกในเขตกรุงเทพมหานคร, นาถนรินทร์ หอสัจจกุล Sep 1996

ความสัมพันธ์ของความรู้และการปฏิบัติงานด้านทันตสุขภาพของแม่ต่อลูกวัย 3 ปี กับสภาวะโรคฟันผุ ของลูกในเขตกรุงเทพมหานคร, นาถนรินทร์ หอสัจจกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติด้านทันตสุขภาพของแม่ที่มีต่อลูกกับสภาวะโรคฟันผุของลูก กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอนุบาลอายุ 3 ปี จํานวน 340 คนและมารดา ภายหลังการตรวจสภาวะโรคฟันผุในเด็กเหล่านี้แล้ว ให้มารดาตอบแบบสอบถามเพื่อวัดความรู้และการปฏิบัติด้านทันตสุขภาพของมารดาต่อลูก แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.) ข้อมูลทางเศรษฐกิจสังคมของแม่ 2.) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพในเด็ก 3.) การปฏิบัติด้านทันตสุขภาพที่แม่มีต่อลูก ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของโรคฟันผุในเด็กกลุ่มนี้ ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 4.47 ที่ต่อคน แม่มีคะแนนความรู้ด้านทันตสุขภาพเฉลี่ย 5.38 ± 1.42 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน มีคะแนนการปฏิบัติด้านทันตสุขภาพเฉลี่ย 8.8 ± 2.2 คะแนน จากคะแนน เต็ม 13 คะแนน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยวิธีการของ Kendall's tau b และการแจกแจงความถี่แบบหลายทางและทดสอบไคสแควร์ พบว่า ความรู้สาเหตุของฟันผุ การดื่มน้ำอัดลม การรับประทานของว่างระหว่างมื้อข้าววันละมากกว่า 3 มื้อ การแปรงฟันวันละ 2-3 ครั้ง มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุ นอกจากนี้ยังพบว่า วุฒิการศึกษาและรายได้ต่อเดือนของแม่มีความสัมพันธ์กับสภาวะฟันผุของลูก


ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะฟันผุกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างและการดูแลอนามัยในช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, จารุวรรณ ตันกุรานันท์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล May 1996

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะฟันผุกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างและการดูแลอนามัยในช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, จารุวรรณ ตันกุรานันท์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

การวิจัยนี้เป็นการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะโรคฟันผุกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่าง การดูแลอนามัยในช่องปาก ของเด็กนักเรียนประถมปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 592 คน จาก 18 โรงเรียนพบว่ามีอัตราชุกของโรคฟันผุร้อยละ 82.9 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดเป็นซี่ ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (mean DMFT + SD) = 2.84 ± 2.21 จํานวนเงินที่ใช้ซื้ออาหารว่างมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ จํานวนเงินที่ได้รับมาโรงเรียนและความถี่ของการบริโภคอาหารว่าง (r = 0.5730, 0.1629 ที่ p< .001 ตามลําดับ) ค่าฟันผุถอนอุดเป็นด้าน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับจํานวนเงินที่ได้รับมาโรงเรียน และจํานวนเงินที่ใช้ซื้ออาหารว่าง (r = ที่ p < 0.05 ตามลําดับ) คะแนนการแปรงฟันมีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกับความถี่ของการบริโภคอาหารว่างและ จํานวนเงินที่ใช้ซื้ออาหารว่าง (r = 0.1036, -0.0918 ที่ p<0.05 ตามลําดับ) เมื่อจําแนกนักเรียนตามกลุ่มการแปรงฟัน และความถี่ของการบริโภคอาหารว่าง พบว่า นักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนการแปรงฟันต่ำที่สุดและความถี่ ของการบริโภคอาหารว่างสูงที่สุดมีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดสูงที่สุด (mean DMFS = 6.18) ในขณะที่นักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนการแปรงฟันสูงที่สุดและความถี่ของการบริโภคอาหารว่างต่ำที่สุด มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดต่ำที่สุด (mean DMFS = 3.50) แสดงว่าเด็กนักเรียนที่มีความถี่ของการบริโภคอาหารว่างสูงและคะแนนการแปรงฟันต่ำ มีแนวโน้มของการเป็นโรคฟันผุสูงกว่าเด็กนักเรียนที่มีความถี่ของการบริโภคอาหารว่างต่ำและคะแนนการแปรงฟันสูง และควรทําการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป เพื่อให้ได้ผลชัดเจนมากขึ้น


การกระจายของโรคฟันผุและสภาพความรุนแรงของโรคปริทันต์ ในประชากรมีอายุ 30-70 ปี ของจังหวัดสกลนคร, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร Jan 1996

การกระจายของโรคฟันผุและสภาพความรุนแรงของโรคปริทันต์ ในประชากรมีอายุ 30-70 ปี ของจังหวัดสกลนคร, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการสุ่มสํารวจประชากรที่อยู่ในหมู่บ้านอําเภอรอบนอกของจังหวัดสกลนคร อายุ 30-70 ปี เพื่อหาความชุกของโรคฟันผุจําแนกตามซี่ฟันและสถานะของโรคปริทันต์ โดยตําแหน่งของฟัน จํานวน 165 คน, เป็นเพศหญิง 96 คน (58.18%) พบว่า 93.90% ของ periodontal sextant มีหินปูนเกาะรอบคอฟัน, ตําแหน่ง ฟัน #11 มีความชุกของการเกิดหินปูนเกาะสูงกว่าตําแหน่งอื่น (89.31%) ในแง่ของความต้องการบริการรักษา 36% ของประชากรศึกษาต้องการการบําบัดที่ค่อนข้างซับซ้อน ค่าเฉลี่ยของฟันผุ ถอน อุด เท่ากับ 5.48 ต่อคน โดยฟันกรามล่างซี่สุดท้าย มีเปอร์เซ็นต์การผุมากที่สุด (16.97%) และฟันกรามซี่สุดท้ายมีเปอร์เซ็นต์การถอนมากที่สุด (22.12%) ฟันกรามบนซี่แรกจะมีเปอร์เซ็นต์การผุมากกว่าฟันกรามล่างซี่แรก ค่าเฉลี่ยของความต้องการอุด และถอน เท่ากับ 2.93 ที่ต่อคน ฟันกรามโดยทั่วไปของคนกลุ่มนี้จะพบฟันสึกจนถึงชั้นเนื้อฟันทุกคน


สภาวะโรคฟันผุของเด็กนักเรียนอายุ 12 ปี ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538, จารุวรรณ ตันกุรานันท์ Sep 1995

สภาวะโรคฟันผุของเด็กนักเรียนอายุ 12 ปี ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538, จารุวรรณ ตันกุรานันท์

Chulalongkorn University Dental Journal

การสํารวจภาคตัดขวางเพื่อศึกษาสภาวะโรคฟันผุของนักเรียนอายุ 12 ปี ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 18 โรง จํานวน 338 คน พบว่า มีอัตราชุกของโรคฟันผุร้อยละ 82.8 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดเป็นซี่ ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.94±2.20 ต่ำกว่าผลการสํารวจในปี พ.ศ. 2534 โดยกองทันตสาธารณสุข สํานักอนามัยกรุงเทพมหานคร แสดงว่าผลการดําเนินงานทันตสาธารณสุขของกองทันตสาธารณสุข สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร ประสบความสําเร็จในระดับหนึ่ง แต่อัตราฟันผุถอนอุดของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งยังคงสูงมาก คือ ปริมาณฟันผุถอนอุดของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งบนขวา ฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งบนซ้าย ฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งล่างซ้าย และฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง ล่างขวา เท่ากับร้อยละ 46.5, 47.9, 63.0 และ 65.4 ตามลําดับ ดังนั้นจึงแนะนําให้ใช้สารเคลือบหลุมร่องฟัน ป้องกันการผุของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งเป็นมาตรการหนึ่งของการดําเนินงานทันตสาธารณสุขในกลุ่มเป้าหมายคือเด็กนักเรียนประถมศึกษาของกองทันตสาธารณสุข สํานักอนามัย เพื่อให้ประสบความสําเร็จดียิ่งขึ้น


การผุของฟันแท้ของนักเรียน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, โอบเอื้อ เจริญทรัพย์, ระวีวรรณ ปัญญางาม Jan 1982

การผุของฟันแท้ของนักเรียน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, โอบเอื้อ เจริญทรัพย์, ระวีวรรณ ปัญญางาม

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการสํารวจทันตสุขภาพนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร อายุ 6-12 ปี จํานวน 728 คน ชายและหญิงเท่า ๆ กัน พบอัตราความชุกของโรคฟันผุในฟันแท้ของเด็กกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 73.9 รอยผุจะเริ่มปรากฏในกลุ่มฟันกราม ฟันกรามน้อยและฟันหน้าเมื่อเด็กอายุ 6, 7 และ 8 ปีตามลําดับ โดยอัตราความชุกของโรคฟันผุในกลุ่มฟันกรามเป็นร้อยละ 25.4, 35.31, 44.42, 55.04, 52.49, 50.41 และ 47.47 ในเด็กกลุ่มอายุ 6,7,8,9,10,11 และ 12 ปีตามลําดับ ซึ่งสูงกว่าอัตราดังกล่าวของกลุ่มฟันกรามน้อย และกลุ่มฟันหน้าของเด็กทุกกลุ่มอายุ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอายุของเด็กกับตัวแปรตามอื่น ๆ ได้แก่ จํานวนเฉลี่ยของฟันที่ขึ้นในช่องปาก ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดคิดเป็นซี่ต่อคนและด้านต่อคน โดยวิธีของเปียร์สัน พบว่าเป็นไปอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.001) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายสูงถึง 0.99, 0.93 และ 0.94 ตามลําดับ เมื่อจําแนกค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด คิดเป็นซี่ต่อคนของเด็ก อายุตั้งแต่ 6-12 ปีเฉพาะกลุ่มฟันกราม พบว่ามีค่าเท่ากับ 0.62, 1.31, 1.75, 2.24, 2.21, 2.46 และ 3.00 ตามลําดับ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยดังกล่าวเฉพาะกลุ่มฟันกรามน้อยมีค่าเท่ากับ 0.00, 0.04, 0.06, 0.27, 0.25, 0.22 และ 0.26 และค่าเฉลี่ยดังกล่าวเฉพาะกลุ่มฟันหน้ามีค่าเท่ากับ 0.00, 0.00, 0.06, 0.10, 0.12, 0.17 0.14 ตามลําดับ และเมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเหล่านี้เฉพาะในเด็กแต่ละกลุ่มอายุทีละคู่ด้วยวิธีทดสอบคู่-ที พบว่าค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดของกลุ่มฟันกรามสูงกว่ากลุ่มฟันกรามน้อย และกลุ่มฟันหน้าของเด็กทุก ๆ กลุ่มอายุ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.01) ในขณะที่ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดังกล่าว ระหว่างกลุ่มฟันกรามน้อยกับกลุ่มฟันหน้าของเด็กแต่ละกลุ่มอายุมีเพียงเล็กน้อย และไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ