Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2016

Chulalongkorn University

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Keyword

Articles 1 - 30 of 36

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้สมาธิต่ออาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, มณฑา ทองตำลึง, สุรีพร ธนศิลป์ Sep 2016

ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้สมาธิต่ออาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, มณฑา ทองตำลึง, สุรีพร ธนศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้สมาธิต่ออาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่อยู่ในอำเภอพุนพิน และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 ราย และกลุ่มทดลอง 20 ราย โดยจัดให้แต่ละกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันด้านเพศ และระดับความรุนแรงของโรค กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้สมาธิ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินประสบการณ์เกี่ยวกับอาการกำเริบเฉียบพลัน 2) การให้ความรู้ในการจัดการกับอาการกำเริบเฉียบพลัน 3) การฝึกทักษะในการจัดการกับอาการกำเริบเฉียบพลัน 4) การปฏิบัติในการจัดการกับอาการกำเริบเฉียบพลัน และ 5) การประเมินผลการจัดการกับอาการกำเริบเฉียบพลัน ประเมินอาการกำเริบเฉียบพลันโดยการวัดอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออก (Peak Expiratory Flow Rate: PEFR) โดยใช้ Wright Peak Flow Meter วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย และสถิติทดสอบที\n\nผลการวิจัย:\n1) ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้สมาธิมีอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออกดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\n2.) ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มทดลองมีอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออกเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: โปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้สมาธิ สามารถลดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้


สมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม, ธิดาพร ผลฉัตร, ยุพิน อังสุโรจน์ Sep 2016

สมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม, ธิดาพร ผลฉัตร, ยุพิน อังสุโรจน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม\n \nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบบรรยาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าหอผู้ป่วยทุกคนที่มีประสบการณ์เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 182 คน ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 40 แห่ง โดยศึกษาในประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน หาค่าความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .97 วิเคราะห์ตัวประกอบด้วยวิธีสกัดตัวประกอบหลัก และหมุนแกนตัวประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ \n\nผลการวิจัย: ตัวประกอบสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมมีทั้งหมด 10 ด้าน ประกอบด้วย 66 สมรรถนะ ดังนี้ 1) ด้านคุณลักษณะพยาบาลทหาร 2) ด้านการบริหารจัดการ 3) ด้านการปฏิบัติการพยาบาล 4) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5) ด้านการควบคุมตนเองและเข้าใจผู้อื่น 6) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม 7) ด้านการบริหารงานคุณภาพ 8) ด้านการแก้ปัญหา 9) ด้านการวิจัย และ 10) ด้านการประสานงาน โดยมีค่าความแปรปรวนรวมกันร้อยละ 62.04\n\n


อิทธิพลส่งผ่านของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยระหว่างการรับรู้ความรุนแรงในความเจ็บป่วยของบุตร ระดับการศึกษาและการสนับสนุนทางสังคม กับความวิตกกังวลของบิดามารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต, มณีรัตน์ หม้ายพิมาย, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, อาภาวรรณ หนูคง Sep 2016

อิทธิพลส่งผ่านของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยระหว่างการรับรู้ความรุนแรงในความเจ็บป่วยของบุตร ระดับการศึกษาและการสนับสนุนทางสังคม กับความวิตกกังวลของบิดามารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต, มณีรัตน์ หม้ายพิมาย, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, อาภาวรรณ หนูคง

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลส่งผ่านของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยระหว่างการรับรู้ความรุนแรงในความเจ็บป่วยของบุตร ระดับการศึกษาและการสนับสนุนทางสังคม กับความวิตกกังวลของบิดามารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ บิดาหรือมารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต ภายใน 3 วันแรก จำนวน 118 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความวิตกกังวลขณะเผชิญ 3) แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย4) แบบสอบถามความรุนแรงในความเจ็บป่วยของบุตร และ 5) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม มีค่าสัมปสิทธิ์อัลฟาครอนบาคของแบบสอบถามที่ 2, 3, 5 เท่ากับ .88, .79, และ .89 ตามลำดับ ทดสอบอิทธิพลส่งผ่านด้วยวิธีการของ Baron and Kenny (1986) โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ\n \nผลการวิจัย: ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยมีอิทธิพลส่งผ่านระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับความวิตกกังวลของบิดามารดา อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยไม่มีอิทธิพลส่งผ่านระหว่างการรับรู้ความรุนแรงในความเจ็บป่วยของบุตร ระดับการศึกษา กับความวิตกกังวลของบิดามารดา\n \nสรุป: พยาบาลควรมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมการพยาบาลที่ช่วยลดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ซึ่งจะช่วยลดความวิตกกังวลให้แก่บิดามารดาได้ \n


การกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง: สถานการณ์และแนวทางการป้องกัน, สุดาพร สถิตยุทธการ Sep 2016

การกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง: สถานการณ์และแนวทางการป้องกัน, สุดาพร สถิตยุทธการ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การกลับเป็นซ้ำเป็นปัญหาที่พบได้มากในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังแม้ว่าผู้ป่วยจิตเภทจะได้รับการรักษาจนอาการทางจิตสงบแต่ก็ยังเกิดการกลับเป็นซ้ำได้ สถานการณ์การกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การเกิดการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทเป็นปัญหาที่สำคัญทำให้เกิดความผิดปกติของสมองและเกิดอาการทางจิตรุนแรงขึ้นได้ง่าย ส่งผลต่อการตอบสนองต่อการรักษาและการฟื้นหาย ก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงและการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกเป็นภาระการดูแลของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งยังทำให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่นับเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปีของประเทศ ดังนั้นการเรียนรู้สาเหตุและแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังซึ่งประกอบด้วย การประเมินความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการกลับเป็นซ้ำ การตรวจสอบอาการเตือนก่อนการกลับเป็นซ้ำ การพัฒนาแผนการปฏิบัติการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การเตรียมการเพื่อปฏิบัติตามแผนการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ และการบูรณาการแผนปฏิบัติการป้องกันการกลับเป็นซ้ำสู่ครอบครัวและชุมชน ซึ่งแผนปฏิบัติการในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำดังกล่าวจะส่งผลให้บุคลากรทางสุขภาพและผู้ดูแลมีสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาลซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันและลดการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเภท รวมทั้งการดูแลและฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยจึงต้องมีความรู้และเข้าใจในสถานการณ์และแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มุ่งเน้นความต้องการของผู้ป่วยส่งผลต่อประสิทธิผลในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังต่อไป


การจัดการความมั่นคงทางอาหาร ภาวะโภชนาการ และภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร, ปัทมา พรมมิ, เบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ Sep 2016

การจัดการความมั่นคงทางอาหาร ภาวะโภชนาการ และภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร, ปัทมา พรมมิ, เบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์และวิธีการจัดการความมั่นคงทางอาหารของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบบรรยาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขแห่งหนึ่ง จำนวน 12 คน อายุ 16-19 ปี อายุครรภ์ 8-20 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและบันทึกภาคสนาม แบบบันทึกอาหารที่รับประทานในระยะเวลา 3 วัน แบบบันทึกภาวะโภชนาการและภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์พลังงานและสารอาหารโดยใช้โปรแกรม INMUCAL-Nutrients V.3\n\nผลการวิจัย: พบว่า ประสบการณ์ความมั่นคงทางอาหารของผู้ให้ข้อมูลมี 4 ประเด็นหลัก คือ ด้านคุณภาพและความเชื่อของอาหาร ปริมาณอาหาร ความปลอดภัยของอาหาร ความกังวลเรื่องอาหารและวิธีการจัดการความมั่นคงทางอาหารมี 4 ประเด็นหลัก คือ การจัดการด้านอาหาร ด้านการเงิน ด้านสุขภาพ และการจัดการโดยใช้แหล่งสนับสนุนทางสังคม ส่วนภาวะโภชนาการ จากการบันทึกอาหารที่รับประทานของผู้ให้ข้อมูล 11 คน พบว่าจำนวน 9 คนได้รับพลังงานไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และทุกคนได้รับสารอาหารบางชนิดไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายคือ โปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็กและ วิตามิน ผู้ให้ข้อมูล 4 คน มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนภาวะสุขภาพพบว่า ผู้ให้ข้อมูล 5 คน มีภาวะโลหิตจาง ทั้งหมดไม่พบภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์\n\nสรุป:ผลการศึกษาครั้งนี้ใช้เป็นแนวทางสำหรับทีมสุขภาพในการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งการสร้างเครื่องมือเพื่อคัดกรองความมั่นคงทางอาหารของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น เพื่อให้สามารถวางแผนและให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ผลของการดูแลทางจิตวิญญาณเชิงพุทธต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของ ผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้าย, ปัณณธร รัตนิล, จิราพร เกศพิชญวัฒนา Sep 2016

ผลของการดูแลทางจิตวิญญาณเชิงพุทธต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของ ผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้าย, ปัณณธร รัตนิล, จิราพร เกศพิชญวัฒนา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการดูแลทางจิตวิญญาณเชิงพุทธต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้าย\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดแบบอนุกรมเวลา\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้ายทุกชนิด เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชน ระดับตติยภูมิ ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ การดูแลทางจิตวิญญาณเชิงพุทธตามคู่มือในการดำเนินกิจกรรม โดยดำเนินกิจกรรมทุก 2 วัน ครั้งละ 20-30 นาที รวม 7 ครั้ง เป็นเวลาทั้งหมด 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำและการเปรียบเทียบรายคู่\n\nผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยคะแนนความผาสุกทางจิตวิญญาณระหว่างดำเนินโปรแกรมการดูแลทางจิตวิญญาณเชิงพุทธและหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: โปรแกรมการดูแลทางจิตวิญญาณเชิงพุทธส่งผลให้ผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้ายมีความผาสุกทางจิตวิญญาณมากขึ้น โดยมีความผาสุกทางจิตวิญญาณมากขึ้นตั้งแต่อยู่ระหว่างการเข้าร่วมโปรแกรมฯ


ประสบการณ์การรับรู้และการจัดการปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วย เพศชายโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ชัชวาล วงค์สารี Sep 2016

ประสบการณ์การรับรู้และการจัดการปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วย เพศชายโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ชัชวาล วงค์สารี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อบรรยายการรับรู้และการจัดการปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยเพศชายโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม \n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยา\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ คัดเลือกแบบเจาะจงจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการบันทึกเทป ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์เนื้อหาตามขั้นตอนของ Diekelmann ใส่รหัสข้อมูลโดยดึงเนื้อหาสำคัญ\n\nผลการวิจัย: ประสบการณ์การรับรู้และการจัดการปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) ชะตาตกเมื่อเจ็บป่วย ซวยที่สุด คือ นกเขาไม่ขัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเด็นย่อย 1.1) ชะตาตกเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคที่รักษาไม่หาย 1.2) เหนื่อยกับการเดินทาง เครียด กังวลเกี่ยวกับการรักษาจนกระทบเรื่องเพศสัมพันธ์ 1.3) ภาวะแทรกซ้อนที่แย่ที่สุด คือ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว 2) ปัญหาทางกายที่ว่าแย่หรือจะเท่าปัญหาที่เกิดทางใจ 3) ปัญหาเศรษฐกิจครอบครัวส่งผลต่อเพศสัมพันธ์ และ 4) เพศสัมพันธ์ชีวิตคู่ต้องจัดการและทำความเข้าใจ \n\nสรุป: ผลการวิจัยนี้ ทำให้เกิดความเข้าใจผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเกี่ยวกับการรับรู้และการจัดการปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วย สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปฏิบัติการพยาบาล เป็นแนวทางในการวิจัยทางการพยาบาลและพัฒนาองค์ความรู้ด้านปัญหาเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยที่บุคลากรสุขภาพอาจมองข้ามไป


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย: กรณีศึกษาผู้สูงอายุวัยกลางในจังหวัดสมุทรปราการ, กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ Sep 2016

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย: กรณีศึกษาผู้สูงอายุวัยกลางในจังหวัดสมุทรปราการ, กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ตามกรอบแนวคิด PRECEDE PROCEED Model\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทำนาย (Predictive research)\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุวัยกลางตำบลบางเพรียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 276 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบวัดความรู้ในการดูแลสุขภาพ แบบสอบถามทัศนคติในการดูแลสุขภาพ การรับรู้คุณค่าในตนเอง การดื่มแอลกอฮอล์ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรสาธารณสุข และแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: พบว่า มีตัวแปร 6 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 27.0 โดยตัวแปรการรับรู้คุณค่าในตนเองเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด (Beta = .266) รองลงมา คือ การดื่มแอลกอฮอล์ (Beta = - .229) ความรู้ในการดูแลสุขภาพ (Beta = .218) สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย (Beta =.174) ทัศนคติในการดูแลสุขภาพ (Beta =.158) และแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (Beta = .116) ทั้งนี้ แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรสาธารณสุข พบว่า ไม่สามารถทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุได้\n\nสรุป: ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะกระทำพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพดีขึ้นหากมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ มีทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพ มีการรับรู้คุณค่าในตนเอง ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ มีสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่ดี และได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว บุคลากรสาธารณสุขสามารถนำทั้ง 6 ปัจจัยมากำหนดเป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุได้\n


ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน, ปนิตา จันทร์ทองสุข, นพวรรณ เปียซื่อ, จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย Sep 2016

ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน, ปนิตา จันทร์ทองสุข, นพวรรณ เปียซื่อ, จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชน\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ \n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการที่แผนกตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง จำนวน 420 ราย คัดเลือกแบบสะดวกตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามและการประเมินภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบฟิชเชอร์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบไบซีเรียล\n\nผลการวิจัย: 1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ และประวัติการเจ็บป่วย ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพ 2) พฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นด้านอาหารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (p = .006) และไขมันสะสมในร่างกาย (p = .021) 3) พฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นด้านการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (p = .029) และ 4) พฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นด้านการรักษา/การดูแลตนเองเบื้องต้น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (p = .024) และความดันโลหิตซิสโทลิค (p = .022) \n\nสรุป: ทีมสุขภาพควรพิจารณาเลือกใช้โมบายแอพพลิเคชั่นสุขภาพเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพให้แก่ผู้ใช้บริการแผนกตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชน\n


การพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชน จังหวัดเชียงราย, ขนิษฐา พิศฉลาด, ฉันทนา แรงสิงห์, เกศมณี มูลปานันท์ Sep 2016

การพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชน จังหวัดเชียงราย, ขนิษฐา พิศฉลาด, ฉันทนา แรงสิงห์, เกศมณี มูลปานันท์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับกลุ่มเสี่ยงก่อนเบาหวานในชุมชน จังหวัดเชียงราย และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการตนเอง ดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) และการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบ pretest-posttest control group design\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชน ผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 30 คน กลุ่มบุคลากรทางด้านสุขภาพ 10 คน และกลุ่มตัวแทนจากชุมชน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อพัฒนาเป็นรูปแบบการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาผลของรูปแบบการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและดัชนีมวลกาย ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามรูปแบบการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติที\n\nผลการวิจัย: รูปแบบการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) กิจกรรมการคัดกรองค้นหากลุ่มเสี่ยงเบาหวานและกิจกรรมให้ความรู้ 2) กิจกรรมการจัดการตนเอง และ 3) กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน ซึ่งภายหลังได้รับรูปแบบการป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีดัชนีมวลกายน้อยกว่าก่อนการทดลองและน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่แตกต่างจากควบคุม\n\nสรุป: ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดบริการเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว สถานบริการสุขภาพ และชุมชน\n


การพัฒนาโปรแกรมการจำหน่ายผู้ป่วยตามแนวคิดแบบลีนร่วมกับแนวคิดการวางแผนจำหน่ายในหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, สำเนียง วสันต์ชื่น, กัญญดา ประจุศิลป Sep 2016

การพัฒนาโปรแกรมการจำหน่ายผู้ป่วยตามแนวคิดแบบลีนร่วมกับแนวคิดการวางแผนจำหน่ายในหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, สำเนียง วสันต์ชื่น, กัญญดา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วย ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่จำหน่ายตามปกติ และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการจำหน่ายผู้ป่วยตามแนวคิดแบบลีน ร่วมกับแนวคิดการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังทางอายุรกรรมที่ได้รับการจำหน่ายให้กลับบ้าน หอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จำนวน 40 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการจำหน่ายตามปกติ และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการจำหน่ายตามแนวคิดแบบลีนร่วมกับแนวคิดการวางแผนการจำหน่ายกลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการจำหน่ายผู้ป่วยตามแนวคิดแบบลีนร่วมกับแนวคิดการวางแผนการจำหน่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดย 1) แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วย 2) แบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมการจำหน่าย3) แบบบันทึกปริมาณเวลาที่ใช้ในกิจกรรมการจัดการการจำหน่ายผู้ป่วย 4) แบบวัดความรู้เรื่องแนวคิดแบบลีนและ M-E-T-H-O-D เครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที\nผลการวิจัย: ความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการจำหน่ายผู้ป่วยตามแนวคิดแบบลีนดีกว่าความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยที่จำหน่ายตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ .05\n\nสรุป: โปรแกรมการจำหน่ายผู้ป่วยตามแนวคิดแบบลีนส่งผลให้ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในบริการมากกว่าการจำหน่ายตามปกติ\n


ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับสุคนธบำบัดต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแลในครอบครัวในระหว่างรอผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกสมอง, สมรพรรรณ ไตรภูธร, สุรีพร ธนศิลป์ Sep 2016

ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับสุคนธบำบัดต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแลในครอบครัวในระหว่างรอผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกสมอง, สมรพรรรณ ไตรภูธร, สุรีพร ธนศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกสมองระหว่างกลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมทันทีและหลังได้รับโปรแกรม 1 วัน \n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ดูแลในครอบครัวที่มารอผู้ป่วยทำผ่าตัดเนื้องอกสมอง หน่วยงานห้องผ่าตัด สถาบันประสาทวิทยา จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่าง 20 คนแรกจัดเข้าเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ 20 คนหลังจัดเป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลขณะผ่าตัด ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับสุคนธบำบัด เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับสุคนธบำบัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความวิตกกังวล มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที \n\nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลภายหลังได้รับโปรแกรมทันทีของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลภายหลังได้รับโปรแกรม 1 วัน ของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน (p > .05)\n\nสรุป: โปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับสุคนธบำบัดสามารถลดความวิตกกังวลของผู้ดูแลในครอบครัวขณะรอผู้ป่วยทำผ่าตัดเนื้องอกสมองหลังได้รับโปรแกรมทันที แต่ไม่สามารถลดความวิตกกังวลได้ในระยะหลังผ่าตัด\n\n


ปัจจัยทำนายการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างผู้ปกครองและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, ปัฐมาพร กลับทับลังค์, รุจา ภู่ไพบูลย์, ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล May 2016

ปัจจัยทำนายการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างผู้ปกครองและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, ปัฐมาพร กลับทับลังค์, รุจา ภู่ไพบูลย์, ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างผู้ปกครองกับบุตรในเรื่องวิธีการสื่อสารและความถี่\nในการสื่อสาร และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างผู้ปกครองกับบุตร\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองที่มีบุตรกำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 355 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้\nแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร การรับรู้ความสามารถของตนเอง เจตคติ และพฤติกรรมการสื่อสารเรื่องเพศ โดยแบบสอบถามมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1, .90, .87, และ .83 ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .86, .93, .70, .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: วิธีการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรที่ผู้ปกครองใช้เป็นอันดับแรกคือ การพูดคุยโดยตรง อันดับสอง คือ การยกตัวอย่าง ส่วนการสื่อสารเรื่องการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมตามเพศ จะใช้วิธีพูดคุยโดยตรงเป็นอันดับแรก และอันดับรองลงมาใช้วิธีห้ามปราม ปัจจัยที่สามารถทำนายการสื่อสารเรื่องเพศได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประกอบด้วย ระดับการศึกษา การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร การรับรู้ความสามารถ เจตคติของผู้ปกครอง โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 19.6 ทั้งนี้ปัจจัยที่ไม่สามารถทำนายการสื่อสารเรื่องเพศได้ คือ อายุของผู้ปกครอง เพศของผู้ปกครอง เพศของบุตร\n \nสรุป: พยาบาลควรสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ปกครองรับรู้ความสามารถของตนเองในการสื่อสารเรื่องเพศมากขึ้น ควรให้ข้อมูลข่าวสารและเสริมสร้างเจคติที่ดีในเรื่องเพศ แก่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรมากขึ้น และหาวิธีการให้ผู้ปกครองที่มีการศึกษาสูงสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรมากขึ้น\n


คุณลักษณะผู้นำนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป, แพรวา พานทอง, สุชาดา รัชชุกูล May 2016

คุณลักษณะผู้นำนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป, แพรวา พานทอง, สุชาดา รัชชุกูล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป\n\nแบบแผนงานวิจัย: แบบบรรยาย โดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ ที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารองค์การพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร การพยาบาลระดับต้น ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการในสถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและ การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้นำนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามคุณลักษณะผู้นำนวัตกรรมของ หัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นเกี่ยวกับระดับความน่าจะเป็นของ คุณลักษณะผู้นำนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย และขั้นตอนที่ 3 นำความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมา คำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างคลอไทล์ และให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความเห็นอีกครั้ง แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการยืนยันมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อสรุปผลการวิจัย\n\nผลการวิจัย: พบว่า คุณลักษณะของผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป ทื่ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อย 36 ข้อ จำแนกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านความคิดสร้างสรรค์ (7 ข้อ) ด้านความเป็นผู้นำนวัตกรรม (8 ข้อ) ด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์การ (6 ข้อ) ด้านการพัฒนาตนเอง (7 ข้อ) และด้านบุคลิกภาพ (8 ข้อ)\n\nสรุป: ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการพัฒนาหัวหน้าหอผู้ป่วยให้ เกิดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม เพี่อส่งเสริมและสร้างบรรยากาศให้บุคลากรมีความคิดสร้างสรรค์\n


ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการมีส่วนร่วมของมารดาต่อความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน, กัญญาวีร์ เกิดมงคล, วราภรณ์ ชัยวัฒน์ May 2016

ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการมีส่วนร่วมของมารดาต่อความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน, กัญญาวีร์ เกิดมงคล, วราภรณ์ ชัยวัฒน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการมีส่วนร่วมของมารดากับกลุ่มที่ได้รับข้อมูลตามปกติ\n\nแบบแผนงานวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนอายุ 3-6 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ที่ต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำครั้งแรก จำนวน 40 คน จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการสุ่มกลุ่มละ 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับข้อมูลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการมีส่วนร่วมของมารดา เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ การให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการมีส่วนร่วมของมารดา ประกอบด้วยพยาบาลเล่านิทานเกี่ยวกับสถานการณ์การได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำให้ผู้ป่วยเด็กฟัง โดยพยาบาลใช้อุปกรณ์การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำประกอบการเล่านิทาน มารดาร่วมกระตุ้นให้เด็กสนใจนิทานและสัมผัสอุปกรณ์การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและสาธิตวิธีการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำแก่เด็ก ความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน ประเมินได้จากแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .90 และค่าความเที่ยงของการสังเกต เท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติทดสอบที\n\nผลการวิจัย: เด็กวัยก่อนเรียนกลุ่มที่ได้รับข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการมีส่วนร่วมของมารดามีความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำน้อยกว่าเด็กวัยก่อนเรียนกลุ่มที่ได้รับข้อมูลตามปกติ อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: การให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการมีส่วนร่วมของมารดาสามารถลดความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียนได้\n


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางภาษาในเด็กวัยเตาะแตะ, วรรณศิริ พรมวิชัย, นุจรี ไชยมงคล, ยุนี พงศ์จตุรวิทย์ May 2016

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางภาษาในเด็กวัยเตาะแตะ, วรรณศิริ พรมวิชัย, นุจรี ไชยมงคล, ยุนี พงศ์จตุรวิทย์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางภาษาในเด็กวัยเตาะแตะ\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองที่นำเด็กวัยเตาะแตะมารับบริการที่คลินิกเด็กดีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชลบุรี คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 97 ราย\nเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพื้นอารมณ์ของเด็ก และแบบคัดกรองพัฒนาการทางภาษาของเด็กวัยเตาะแตะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบ\nไค-สแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก\n\nผลการวิจัย: เพศของเด็ก (ชาย) และจำนวนชั่วโมงเฉลี่ยที่เด็กดูโทรทัศน์ วีดิโอ หรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางภาษาล่าช้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (x2 = 18.50, p < .001 และ x2 = 6.48, p < .05) และเด็กชายมีโอกาสพัฒนาการทางภาษาล่าช้าเป็น 6 เท่าเมื่อเทียบกับเด็กหญิงในวัยเดียวกัน (OR = 6.26, CI = 2.38 - 16.47)\n\nสรุป: การที่เด็กวัยเตาะแตะมีโอกาสพัฒนาการทางภาษาล่าช้ากว่าเด็กหญิงในวัยเดียวกัน โดยเฉพาะ\nอย่างยิ่งในเด็กที่ดูโทรทัศน์ วีดิโอ หรือเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์นาน 2 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป พยาบาลและผู้มีหน้าที่ดูแลสุขภาพเด็กควรให้คำแนะนำผู้ปกครองในการเลี้ยงดูในการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาเหมาะสมโดยเน้นในเด็กเพศชาย\n


การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองสำหรับนิสิตนักศึกษาพยาบาล, วงเดือน สุวรรณคีรี, อรพิน จุลมุสิ, ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช May 2016

การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองสำหรับนิสิตนักศึกษาพยาบาล, วงเดือน สุวรรณคีรี, อรพิน จุลมุสิ, ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองสำหรับนิสิตนักศึกษาพยาบาล เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ได้รับการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ และเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยจำลองความเหมือนจริงของผู้ป่วยผ่านการใช้หุ่นมนุษย์จำลองที่สามารถควบคุมอาการ และอาการแสดงได้โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์ต่างๆ ของนิสิตนักศึกษาพยาบาล ภายใต้สิ่งแวดล้อมในคลินิกที่จำลองให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด การจัดการเรียนรู้ในลักษณะดังกล่าวทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ที่เหมือนจริงในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อการเรียนรู้ และผู้ป่วย นิสิตนักศึกษาสามารถปฏิบัติการพยาบาลซ้ำได้จนกว่าจะมีทักษะที่ต้องการ และสามารถจัดให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ที่เหมือนกันได้ทุกคน การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองให้มีประสิทธิภาพเป็นบทบาทสำคัญของผู้สอน ซึ่งต้องมีความรู้ความข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง และขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง


สมรรถนะพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์, กฤตยา อุบลนุช, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร May 2016

สมรรถนะพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์, กฤตยา อุบลนุช, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ \n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายโดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ Delphi\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ จำนวน 20 คน ประกอบด้วย รังสีแพทย์ (เวชศาสตร์นิวเคลียร์) 4 คน นักฟิสิกส์การแพทย์ 3 คน นักรังสีการแพทย์ 5 คน และพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ 8 คน การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลที่ปฏิบัติงานใน หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างแบบสอบถาม สมรรถนะพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นเกี่ยวกับ ระดับความน่าจะเป็นของสมรรถนะ และขั้นตอนที่ 3 นำความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณค่า มัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างคลอไทล์ และให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความเห็นอีกครั้ง แล้วนำข้อมูลที่ได้จาก การยืนยันมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อสรุปผลการวิจัย\n\nผลการวิจัย: สมรรถนะพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน รวมทั้งหมด 31 ข้อ ดังนี้ ด้านการสอนและให้การปรึกษาแนะนำ (3 ข้อ) ด้านการจัดการความปลอดภัย ในการทำงาน (5 ข้อ) ด้านการพยาบาลและการดูแล (14 ข้อ) ด้านการบริหารสารกัมมันตรังสี/สารเภสัชรังสี (2 ข้อ) ด้านการบริหารจัดการ (3 ข้อ) และด้านคุณลักษณะเชิงวิชาชีพ (4 ข้อ)\n\nสรุป: ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลที่ปฏิบัติ งานในหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามบทบาทความรับผิดชอบได้อย่างมี ประสิทธิภาพและผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย\n


ผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านม ด้วยตนเองของสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเป็นก้อนที่เต้านม, นวลลออ ทวิชศรี, สุรีพร ธนศิลป์ May 2016

ผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านม ด้วยตนเองของสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเป็นก้อนที่เต้านม, นวลลออ ทวิชศรี, สุรีพร ธนศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเป็นก้อนที่เต้านม\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเป็นก้อนที่เต้านม อายุ 20-59 ปี ที่เป็นญาติสายตรงเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านม หรือเคยตรวจพบสิ่งผิดปกติที่เต้านม หรือเคยเป็นมะเร็งเต้านม และรับการรักษาที่ห้องตรวจโรคศัลยกรรม โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 60 ราย จับคู่ให้มีความคล้ายคลึงกันในเรื่อง อายุ และระดับการศึกษา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการให้ความรู้ตามปกติโดยพยาบาล กลุ่มทดลองที่ 1 ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการให้ความรู้ โดยพยาบาลร่วมกับใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง มะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และแบบทดสอบความรู้เที่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ขี่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89 และ KR-20 เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติทดสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว\n\nผลการวิจัย: 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีกลุ่มเสี่ยงสูง ต่อการเป็นก้อนที่เต้านม ภายหลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n2. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีกลุ่มเสี่ยงสูง ต่อการเป็นก้อนที่เต้านม ระหว่างกลุ่มที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มที่ได้รับการให้ความรู้ โดยพยาบาลร่วมกับใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และกลุ่มที่ได้รับการให้ความรู้ตามปกติโดยพยาบาล ไม่แตกต่างกัน\n\nสรุป: บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง มะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ส่งผลให้สตรี กลุ่มเส่ยงสูงต่อการเป็นก้อนที่เต้านม มีการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเองสูงขึ้น แต้ไม่ แตกต่างจากการให้ความรู้ตามปกติ\n


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพ กับการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว เขตจังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย, ศิริพร แสงศรีจันทร์, สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง, พัชรินทร์ ไชยบาล May 2016

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพ กับการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว เขตจังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย, ศิริพร แสงศรีจันทร์, สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง, พัชรินทร์ ไชยบาล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการรับรู้และการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพกับการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ \n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานต่างด้าว ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย จำนวน 400 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามการรับรู้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพและแบบสอบถามการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและทดสอบความความเที่ยงด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค มีค่าเท่ากับ.74 และ .89 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n\nผลการวิจัย: 1)การรับรู้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว อยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 2.31, SD = .19) และการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว อยู่ในระดับน้อยที่สุด(x̄ = 1.36, SD = .13)\n2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ทักษะการสื่อสารภาษาไทย อาชีพ ระยะเวลาการทำงานในประเทศไทยและพฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย มีความสัมพันธ์กับการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n3) การรับรู้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05\n\nสรุป: ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายและแผนเพื่อเพิ่มการรับรู้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพและการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ\n


รูปแบบการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดเชียงราย, เกศมณี มูลปานันท์, ขนิษฐา พิศฉลาด, วรรณา จำปาทิพย์ May 2016

รูปแบบการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดเชียงราย, เกศมณี มูลปานันท์, ขนิษฐา พิศฉลาด, วรรณา จำปาทิพย์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในจังหวัดเชียงราย\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) บิดามารดา หรือผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 20 คน 2) ครูหรือหรือผู้ดูแลประจำศูนย์เด็กเล็ก จำนวน 10 คน 3) บุคลากรสุขภาพที่ทำหน้าที่ดูแลเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์เด็กเล็กที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพชุมชน จำนวน 5 คน และ 4) กลุ่มผู้นำชุมชน ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ข้าวต้ม จำนวน 5 คน การดําเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมการ เป็นการศึกษาบริบทการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก วัยก่อนเรียน ระยะที่ 2 การดําเนินการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เนื้อหา และระยะที่ 3 การสร้างรูปแบบการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์สําหรับเด็ก วัยก่อนเรียน\n \nผลการวิจัย: รูปแบบการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก\nโดยการปฐมนิเทศ และให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์แก่บิดามารดา ผู้ดูแล และเตรียมความพร้อมเด็กโดยให้เด็กมาร่วมกิจกรรมกับเด็กในศูนย์ วันละ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้\nเด็กมีความคุ้นเคย และปรับตัวเข้ากับเด็กคนอื่น ระยะที่ 2 ระยะเข้าอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน\nโดยเด็กจะเข้ารับการดูแลในศูนย์เต็มเวลา และได้รับการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ จากการทํา กิจกรรมประจําวัน การเล่น การเล่านิทาน และติดตามผลการดําเนินการผ่านการพูดคุย และสื่อสารผ่าน คู่มือ และระยะที่ 3 ระยะประเมินผลการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์เด็กก่อนวัยเรียน โดยใช้แบบ ประเมินความฉลาดทางอารมณ์สําหรับเด็กอายุ 3-6 ปี ของกรมสุขภาพจิต กรณีที่ประเมินและพบความ ผิดปกติ จะส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และติดตามผลการดําเนินงานร่วมกับการเยี่ยมบ้าน\n \nสรุป: รูปแบบที่สร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้แก่เด็กก่อนวัยเรียน และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยให้บริการสุขภาพและชุมชน \n


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมสุขภาพ ความเสี่ยงทางสุขภาพ กับสุขภาวะของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร, สายพิน จันทรังศรี, ยุพิน อังสุโรจน์, พิชญาภรณ์ มูลศิลป์ May 2016

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมสุขภาพ ความเสี่ยงทางสุขภาพ กับสุขภาวะของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร, สายพิน จันทรังศรี, ยุพิน อังสุโรจน์, พิชญาภรณ์ มูลศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับสุขภาวะของพยาบาลประจำการ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมสุขภาพ ความเสี่ยงทางสุขภาพ กับสุขภาวะของพยาบาลประจำการ และศึกษาตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์สุขภาวะของพยาบาลประจำการ\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชน\nเขตกรุงเทพมหานคร มีขนาดเตียงตั้งแต่ 200 เตียงขึ้นไป จำนวน 395 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม ปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมสุขภาพ ความเสี่ยงทางสุขภาพ และสุขภาวะของพยาบาลประจำการ แบบสอบถามทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ความเสี่ยงทางสุขภาพ และสุขภาวะ เท่ากับ .95, .84, และ .93 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ \n\nผลการวิจัย: 1. สุขภาวะของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับดี (x̄ = 3.74, SD = 0.47)\n2. พฤติกรรมสุขภาพ อายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะของพยาบาลประจำการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .580, และ .277) ความเสี่ยงทางสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาวะของพยาบาลประจำการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.401)\n3. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์สุขภาวะของพยาบาลประจำการ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ พฤติกรรมสุขภาพโดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 34.10 (R2 = .341)\n\nสรุป: ผู้บริหารควรส่งเสริมให้พยาบาลมีสุขภาวะในระดับดีมาก โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของพยาบาล มีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม\n


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการดื่มแอลกอฮอล์ของประชากร เพศชายวัยผู้ใหญ่ กรุงเทพมหานคร, ทิฆัมพร อ่อนละออ, นรลักขณ์ เอื้อกิจ May 2016

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการดื่มแอลกอฮอล์ของประชากร เพศชายวัยผู้ใหญ่ กรุงเทพมหานคร, ทิฆัมพร อ่อนละออ, นรลักขณ์ เอื้อกิจ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับการดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรเพศชายวัยผู้ใหญ่ กรุงเทพมหานคร\n\nแบบแผนงานวิจัย: การศึกษาแบบบรรยายเชิงสหสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใหญ่อายุระหว่าง 20 - 59 ปี ที่พักในกรุงเทพมหานคร\nจำนวน 120 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ ความคาดหวังเชิงลบในผลลัพธ์ของการดื่มแอลกอฮอล์ ความคาดหวังเชิงบวกในผลลัพธ์ของการดื่มแอลกอฮอล์ และการดื่แอลกอฮอล์ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน หาความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .91, .85 และ .79 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n\nผลการวิจัย: 1. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กลุ่มตัวอย่างชายไทยวัยผู้ใหญ่นิยมดื่มมากที่สุด คือ เบียร์ คิดเป็นร้อยละ 40.70 โดยดื่มนานๆ ครั้ง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.33 และดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 1 ขวด คิดเป็น ร้อยละ 40.70 สาเหตุของการดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรก ส่วนใหญ่ดื่มแอลกอฮอล์เพราะอยากทดลองดื่ม รองลงมา คือ เพื่อนชักชวน คิดเป็นร้อยละ 41.87 และ 33.62 ตามลําดับ บุคคลที่ดื่มแอลกอฮอล์ด้วย ส่วนใหญ่ คือ เพื่อน คิดเป็นร้อยละ 72.10 และดื่มแอลกอฮอล์เมื่อไปงานสังคม ดื่มในช่วงเทศกาล และ เที่ยวกับเพื่อน คิดเป็นร้อยละ 38.37\n2. อายุ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ และความคาดหวังเชิงลบ ในผลลัพธ์ของการดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์ทางลบกับการดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรเพศชายวัยผู้ใหญ่ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -0.18, -0.54, และ -0.35 ตามลําดับ)\n3. ประวัติการมีบุคคลในครอบครัวดื่มแอลกอฮอล์ และความคาดหวังเชิงบวกในผลลัพธ์ของ การดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรเพศชายวัยผู้ใหญ่ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.19 …


ปัจจัยทำนายความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ ของวัยรุ่นหญิงตอนต้น, สุนันต์ทา วงษ์ซารี, วราภรณ์ ชัยวัฒน์ May 2016

ปัจจัยทำนายความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ ของวัยรุ่นหญิงตอนต้น, สุนันต์ทา วงษ์ซารี, วราภรณ์ ชัยวัฒน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิงตอนต้น\n \nรูปแบบงานวิจัย: แบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 อายุ 12-15 ปี โรงเรียนสายสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 432 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ต่อการละเว้น เพศสัมพันธ์ การรับรู้อุปสรรคต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์การรับรู้ความสามารถของตนต่อการละเว้น เพศสัมพันธ์ อิทธิพลของพ่อแม่ต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ อิทธิพลของเพื่อนต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์และความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .86, .95, .89, .89, .80 และ .80 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิอัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .93, .92, .92, .90, .94 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: 1) วัยรุ่นหญิงตอนต้นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 89.6) มีความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง 2) ปัจจัยที่สามารถทำนายความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิงตอนต้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ อิทธิพลของพ่อแม่ (β = .359) การรับรู้ความสามารถของตน (β = .218) การรับรู้ประโยชน์ของการละเว้นเพศสัมพันธ์(β = .107) และการรับรู้อุปสรรคของการละเว้นเพศสัมพันธ์(β = -.082) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ ได้ร้อยละ 34.6 (R2 = .346)\n\nสรุป: ปัจจัยด้านอิทธิพลของพ่อแม่มีประสิทธิภาพในการทำนายความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ ของวัยรุ่นหญิงตอนต้นได้สูงสุด พยาบาลควรนำปัจจัยดังกล่าวมาใช้ในการส่งเสริมวัยรุ่นหญิงตอนต้นให้ เป็นผู้มีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ\n


บทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉิน, ชัชวาล วงค์สารี, ธนันต์นิภา ภัคศุขนิธิวัฒน์ Jan 2016

บทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉิน, ชัชวาล วงค์สารี, ธนันต์นิภา ภัคศุขนิธิวัฒน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

อุบัติเหตุในระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุอันดับแรกของสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับสูติกรรมที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต หญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่าง ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จะส่งเสริมการช่วยเหลือให้มีประสิทธิภาพดีที่สุดต่อมารดาและทารกในครรภ์ การช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉินต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยพยาบาลต้องรู้จักบทบาทที่ตนเองสามารถปฏิบัติได้ทั้งในบทบาทอิสระและกึ่งอิสระภายใต้ขอบเขตกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพกำหนด บทความนี้จึงมุ่งเสนอบทบาทของพยาบาลในการจัดการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉินโดยรวม 4 บทบาทหลัก ดังนี้ 1) บทบาทการประเมินสภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉิน 2) บทบาทการช่วยเหลือเบื้องต้นในหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉิน 3) บทบาทการช่วยกู้ชีพในหญิงตั้งครรภ์ที่หัวใจหยุดเต้นในที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉิน และ 4) บทบาทการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในหญิงตั้งครรภ์


การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตามวิถีวัฒนธรรมสุขภาพลุ่มแม่น้ำโขง (หมู่บ้านซะซอม) จังหวัดอุบลราชธานี, สุรีย์ ธรรมิกบวร, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา Jan 2016

การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตามวิถีวัฒนธรรมสุขภาพลุ่มแม่น้ำโขง (หมู่บ้านซะซอม) จังหวัดอุบลราชธานี, สุรีย์ ธรรมิกบวร, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพตามวิถีวัฒนธรรมสุขภาพลุ่มแม่น้ำโขงสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: พื้นที่ศึกษา คือ บ้านซะซอม ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วย สมาชิกกลุ่ม "กินข้าวเซาเฮือน" จำนวน 14 คน คณะกรรมการกลุ่มโฮมสเตย์บ้านซะซอม จำนวน 12 คน ผู้สูงอายุบ้านซะซอม จำนวน 8 คน และนักท่องเที่ยวสูงอายุที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 28 คน การดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาบริบทชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจวิถีชุมชน และแบบสัมภาษณ์การรับรู้สุขภาวะของนักท่องเที่ยวสูงอายุ ระยะที่ 2 กระบวนการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุตามวิถีชาวบ้านลุ่มแม่น้ำโขง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวทางการสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ระยะที่ 3 การศึกษาผลการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามวิถีวัฒนธรรมสุขภาพลุ่มแม่น้ำโขง แบบสอบถามความสุขและความพึงพอใจในการเข้าร่วมโปรแกรมการท่องเที่ยว แบบประเมินศักยภาพของชุมชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย\n\nผลการวิจัย: ด้านบริบทชุมชน บ้านซะซอม ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี สภาพภูมิศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยว และชุมชนมีศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุมีความสุขและความพึงพอใจจากเข้าร่วมโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในระดับมาก และมากที่สุด ร้อยละ 93.8 และ 93.8 องค์ประกอบโมเดล รูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพตามวิถีวัฒนธรรมสุขภาพลุ่มแม่น้ำโขง (ซะซอมโมเดล) ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ 1 กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม องค์ประกอบที่ 2 ทุนทางสังคม องค์ประกอบที่ 3 การบริหารจัดการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง องค์ประกอบที่ 4 การส่งเสริมสุขภาพเหมาะสมกับวัย\n \nสรุป: จากผลการศึกษาดังกล่าว มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ หน่วยงานด้านการท่องเที่ยว หน่วยงานด้านการปกครอง สถาบันการศึกษาร่วมกับชุมชนที่มีความพร้อมมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จัดการท่องเที่ยวเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยรูปแบบการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุ ควรเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพเป็นองค์รวม ลักษณะกิจกรรมสอดคล้องกับวัย และใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ โดยมีระบบการจัดการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง\n


การสร้างเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน ในผู้สูงอายุหลังผ่าตัด, กานต์ ปรีชาธีรศาสตร์, จิราพร เกศพิชญวัฒนา Jan 2016

การสร้างเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน ในผู้สูงอายุหลังผ่าตัด, กานต์ ปรีชาธีรศาสตร์, จิราพร เกศพิชญวัฒนา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อออกแบบ สร้าง และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการ\nเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุหลังผ่าตัด\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมินความเสี่ยงต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและการทบทวนข้อมูลย้อนหลังภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดของผู้สูงอายุจากบันทึกทางการพยาบาล และบันทึกอาการ ได้ปัจจัยเสี่ยง 7 ข้อ คือ อายุที่เพิ่มขึ้น ประวัติติดสุรา ภาวะซึมเศร้าก่อนผ่าตัด การได้รับยากลุ่ม Benzodiazepines, Anticholinergics ความผิดปกติของเชาวน์ปัญญา การคิด การรับรู้ ระดับอิเล็กโตรไลท์ในเลือดไม่สมดุล และระดับฮีโมโกลบิน ฮีมาโตรคริตที่ผิดปกติ จากนั้น จึงจัดทำเครื่องมือ ตรวจสอบความตรงจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ผลค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.0 ระยะที่ 2 การตรวจสอบแบบประเมินความเสี่ยงต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดสำหรับผู้สูงอายุ โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่เข้ารับการผ่าตัดทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิเขตกรุงเทพฯ จำนวน 300 คน\n \nผลการวิจัย: ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างแบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดสำหรับผู้สูงอายุและเครื่องมือมาตรฐานมีความสัมพันธ์กันสูง (r = .84) และมีค่า z = 0.2 และ z1= 0.33 แสดงว่าความสามารถในการทดสอบของเครื่องมือทั้งสองชนิดไม่มีความแตกต่างกัน ได้ค่าความไวร้อยละ 88.46 - 92.0 ค่าความเฉพาะร้อยละ 100 แสดงว่าเครื่องมือที่สร้างขึ้นใหม่นี้สามารถค้นหา และคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสับสนเฉียบพลันได้\n\nสรุป:แบบประเมินความเสี่ยงต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดสำหรับผู้สูงอายุเป็นเครื่องมือที่มีความไวและค่าความเฉพาะที่ดีสามารถคัดกรองภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุได้ \n


ผลการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวดและการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม ต่อความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในเด็กวัยก่อนเรียน, เติมสุข รักษ์ศรีทอง, วราภรณ์ ชัยวัฒน์ Jan 2016

ผลการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวดและการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม ต่อความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในเด็กวัยก่อนเรียน, เติมสุข รักษ์ศรีทอง, วราภรณ์ ชัยวัฒน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวด กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวดร่วมกับการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม\n \nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมพิเศษและสามัญ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำเป็นครั้งแรก จำนวน 80 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 4 กลุ่มๆ ละ 20 คน ประเมินความกลัวโดยแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .82 และค่าความเที่ยงของการสังเกตเท่ากับ .98 วิเคราะห์คะแนนพฤติกรรมความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียนโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ANOVA\n\nผลการวิจัย: 1) ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวด มีความกลัวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n2) ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม มีความกลัวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n3) ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวดร่วมกับการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม มีความกลัวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวด กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: การพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวดร่วมกับการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนมีความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวด กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n


ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับโยคะต่อความเหนื่อยล้าในพระภิกษุสงฆ์อาพาธด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ณภัค จุมพลพงษ์, จรรยา ฉิมหลวง Jan 2016

ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับโยคะต่อความเหนื่อยล้าในพระภิกษุสงฆ์อาพาธด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ณภัค จุมพลพงษ์, จรรยา ฉิมหลวง

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับโยคะต่อความเหนื่อยล้าในพระภิกษุสงฆ์อาพาธโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม\n \nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พระภิกษุสงฆ์อาพาธโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แผนกไตเทียม โรงพยาบาลสงฆ์ จำนวน 36 รูป คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด ทำการจับคู่ด้าน อายุ และระยะเวลาที่รักษาด้วยการฟอกเลือด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับโยคะเป็นเวลา 6 สัปดาห์ กลุ่มละ 18 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย แผนการให้ความรู้ คู่มือการให้ความรู้ และคู่มือการฝึกโยคะ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินความเหนื่อยล้า ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที\n \nผลการวิจัย: 1) คะแนนความเหนื่อยล้าของพระภิกษุสงฆ์อาพาธโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกลุ่มทดลอง ภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับโยคะ ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2) คะแนนความเหนื่อยล้าของพระภิกษุสงฆ์อาพาธโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับโยคะ ต่ำกว่าพระภิกษุสงฆ์อาพาธโรคไตวายเรื้อรังฯ ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)\n\nสรุป: โปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับโยคะส่งผลให้ความเหนื่อยล้าของพระภิกษุสงฆ์อาพาธโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมลดลงและลดลงดีกว่าการพยาบาลตามปกติ\n


ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, นาตยา จิรัคคกุล, จิราพร เกศพิชญวัฒนา Jan 2016

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, นาตยา จิรัคคกุล, จิราพร เกศพิชญวัฒนา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังของการเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง\n \nแบบแผนงานวิจัย: กาวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีระดับความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับ 2-3 จำนวน 40 คน ที่มารับการรักษาแผนกตรวจผู้ป่วยนอก หน่วยโรคปอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน จับคู่ในด้าน เพศ อายุ ระดับความรุนแรงของโรค และชนิดของยารักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเองที่สร้างขึ้นโดยใช้แนวคิดการจัดการตนเองของ Bourbeau (2008) ประกอบด้วย แผนการสอน คู่มือการจัดการตนเอง และวีดิทัศน์การบริหารการหายใจและการออกกำลังกาย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องตรวจสมรรถภาพปอด วัดความเร็วสูงสุดของลมหายใจออก (Peak expiratory flow rate: PEFR) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที\n \nผลการวิจัย: 1) สมรรถภาพปอดของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n2) สมรรถภาพปอดของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังภายหลังการทดลอง กลุ่มที่ได้รับ\nโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n \nสรุป: โปรแกรมจัดการตนเองส่งผลให้ผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีสมรรถภาพปอดดีขึ้นและดีกว่าการพยาบาลตามปกติ\n