Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 61

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Pharmacokinetic, Safety And Tolerability Studies After Single And Multiple Oral Administration Of Phenethyl Isothiocyanate In Nutri Jelly, Narueporn Sutthisawad, Dunyaporn Trachootham, Aroonwan Lam-Ubol, Thitima Wattanavijitkul Nov 2015

Pharmacokinetic, Safety And Tolerability Studies After Single And Multiple Oral Administration Of Phenethyl Isothiocyanate In Nutri Jelly, Narueporn Sutthisawad, Dunyaporn Trachootham, Aroonwan Lam-Ubol, Thitima Wattanavijitkul

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Phenethyl isothiocyanate (PEITC) is a dietary phytochemical with anticancerproperties. Recently, it was added to Nutri Jelly, a nutritious geldeveloped for cancer patients with eating and swallowing problems.Objectives : To evaluate pharmacokinetics, safety and tolerability of isothiocyanatesafter single- and multiple-oral administrations of 40 mg of PEITC in NutriJelly in healthy volunteers.Methods : This was an open-label, single- and multiple-dose study. Ten subjectsreceived a single dose of 40 mg of PEITC in Nutri Jelly and continued withthis dose once daily for 5 days. Serial plasma samples at various timesafter the administration on day 1 and 5 were collected to determine …


Prevalence Of Potassium, Phosphate And Acid-Base Abnormalities Among Ckd Patients In Central Northeast Of Thailand, Kamonwan Tangvoraphonkchai Nov 2015

Prevalence Of Potassium, Phosphate And Acid-Base Abnormalities Among Ckd Patients In Central Northeast Of Thailand, Kamonwan Tangvoraphonkchai

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Hyperkalemia, hyperphosphatemiaand metabolic acidosis arecommon complications among chronic kidney disease (CKD)patients. However, there were several reports of hypokalemia inpopulation resides in the northeast of Thailand. The prevalence ofelectrolyte imbalance in CKD patients in this region was still unknown.Objective : To study the prevalence of potassium, phosphate and acid-baseimbalance in CKD patients in the central northeast of Thailand.Design : Cross-sectional descriptive studySetting : Roi-et, Mahasarakham, Khonkaen and Kalasin Provincial publichealth offices.Material and Method : We used specific My SQL query command for retrieving laboratorydata between Jan 1st - Dec 31st, 2014 from the databases of fourprovincial public health offices …


ดรรชนีบทความจุฬาลงกรณ์เวชสาร 2015, N/A Nov 2015

ดรรชนีบทความจุฬาลงกรณ์เวชสาร 2015, N/A

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


ดรรชนีผู้แต่งจุฬาลงกรณ์เวชสาร 2015, N/A Nov 2015

ดรรชนีผู้แต่งจุฬาลงกรณ์เวชสาร 2015, N/A

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Clinical Success Rate Of Percutaneous Management In The Thrombosed Hemodialysis Graft At King Chulalongkorn Memorial Hospital, Nisachon Chatangam, Nutcha Pincharoen Nov 2015

Clinical Success Rate Of Percutaneous Management In The Thrombosed Hemodialysis Graft At King Chulalongkorn Memorial Hospital, Nisachon Chatangam, Nutcha Pincharoen

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Percutaneous thrombolysis can be the effective method fortreatment of the hemodialysis graft.Objective : To retrospectively determine the clinical success rate ofpercutaneous management in thrombosed hemodialysis graft,the primary and secondary patency periods of graft afterpercutaneous management and complication at KingChulalongkorn Memorial Hospital from 1 January, 2007 to 30November, 2014.Materials and Methods : Twenty-nine PTFE grafts in 29 patients were referred to InterventionRadiology Unit for the percutaneous management of thrombosedhemodialysis graft. Angiographic reports and hospital medicalrecords were analyzed for the clinical success rate, proceduralrecord, angiographic finding, complication, and patency periodof the graft after treatment. Clinical success rate was determinedby complete …


Skin-Only Closure For Surgical Closure Of The Difficult Abdomen With Massive Visceral Edema :A Case Report, Wisuttiluk Satawathananont Nov 2015

Skin-Only Closure For Surgical Closure Of The Difficult Abdomen With Massive Visceral Edema :A Case Report, Wisuttiluk Satawathananont

Chulalongkorn Medical Journal

A 51-year-old woman presented with anemia and cholangitis. Abdominal computedtomography scan was done; the result revealed a periampullary mass and distal obstructionof the common bile duct. Exploratory laparotomy was performed and an unresectableperiampullary tumor that invaded the branches of the mesenteric vein was found. Accidentally,intra–abdominal bleeding from the branches of the mesenteric vein occurred during theoperation; the bleeding was stopped by suturing. The patient received a large amount offluids resuscitation and bowel edema also developed so much that the fascia could not beclosed. The skin-only closure was performed as an alternative method of abdominal wallclosure. Postoperatively, the patient did not …


Blood Types Of Minorities In Bangkok: A Study In Thai Sikhs And The Burmese Blood Donors, Kallaya Kerdkaewngam, Issarang Nuchprayoon, Phuraya Ovataga, Dussadee Pooreekul, Nootchanat Premprayoon, Udom Tingtoy Nov 2015

Blood Types Of Minorities In Bangkok: A Study In Thai Sikhs And The Burmese Blood Donors, Kallaya Kerdkaewngam, Issarang Nuchprayoon, Phuraya Ovataga, Dussadee Pooreekul, Nootchanat Premprayoon, Udom Tingtoy

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Blood types are unique to each ethnic groups. In Thailand, Sikhsare one of established ethnic minorities. They are known to havecertain rare blood types which have not been systematicallystudied. Therefore, we studied nine blood group systems ofthe Sikh and Burmese blood donors in Bangkok, Thailand.Objectives : To assess the proportion of alleles of nine blood group antigensamong Thai Sikhs and Burmese blood donors.Materials and Methods : A total of 122 samples of Thai Sikhs blood donors at Sri GuruSingh Association Mobile Unit and 189 samples of the Burmeseand Mons blood donors at Jia Hong Garment Factory Mobile Unitwere …


การผ่าตัดปลูกถ่ายมือ, ภพ เหลืองจามีกร, ประวิทย์ กิติดำรงสุข Nov 2015

การผ่าตัดปลูกถ่ายมือ, ภพ เหลืองจามีกร, ประวิทย์ กิติดำรงสุข

Chulalongkorn Medical Journal

การผ่าตัดปลูกถ่ายมือ (Hand transplantation, Vascularized Composite Allotransplantation)ประสบความสำเร็จตั้งแต่ ปี 1998 ปัจจุบันทั่วโลกมีการผ่าตัดปลูกถ่ายมือไปแล้วถึง 89 ครั้ง ซึ่งผลการรักษาที่ยาวนานที่สุดถึง 14 ปี โดยผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดยังสามารถใช้งานมือที่ปลูกถ่ายได้เป็นอย่างดีจนถึงปัจจุบัน โดยเฉลี่ยการผ่าตัดปลูกถ่ายมือมีอัตราความสำเร็จสูงมาก (5-year survivalของมือที่ปลูกถ่าย มากกว่าร้อยละ 90) และการใช้งานของมือที่ปลูกถ่ายก็สามารถใช้งานได้มากถึงร้อยละ65-75 ของมือปรกติ นอกจากนั้นข้อได้เปรียบที่ชัดเจนของการผ่าตัดปลูกถ่ายมือเทียบกับการใช้มือเทียมคือผู้ป่วยสามารถรับความรู้สึกได้ด้วยมือข้างที่ปลูกถ่ายแม้การผ่าตัดปลูกถ่ายมือจะประสบความสำเร็จมามากกว่า 10 ปี แต่ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดชนิดนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ถึงความคุ้มค่าในการผ่าตัดกับความเสี่ยงที่ต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันในระยะยาว เนื่องจากการผ่าตัดปลูกถ่ายมือนั้นเป็นการผ่าตัดเพื่อ “ เพิ่มคุณภาพชีวิต “ ซึ่งแตกต่างจากการผ่าตัดเปลี่ยน solid organ เช่น หัวใจ ตับ ไต ซึ่งเป็นการผ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตของผู้ป่วยทำให้แพทย์บางกลุ่มยังลังเลกับการรักษาด้วยวิธีนี้อยู่จนถึงปัจจุบัน.


การสั่งหยุดยา Psychostimulantsในวันหยุดในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นของกุมารแพทย์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กในประเทศไทย, ศศิธร ปรีชาวุฒิเดช, วัลย์ฐิภา วิทยาศัย Nov 2015

การสั่งหยุดยา Psychostimulantsในวันหยุดในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นของกุมารแพทย์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กในประเทศไทย, ศศิธร ปรีชาวุฒิเดช, วัลย์ฐิภา วิทยาศัย

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : โรคสมาธิสั้นเป็นโรคจิตเวชเด็กที่พบได้บ่อย ปัจจุบันมีการใช้ยาpsychostimulantsในการรักษามากขึ้น และมีการหยุดยาในช่วงวันหยุด (drug holidays) เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ลดผลข้างเคียงจากยา เป็นต้น แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับการสั่งหยุดยาดังกล่าวในช่วงวันหยุดวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งหยุดยาpsychostimulants ในช่วงวันหยุด รวมถึงเจตคติของแพทย์ต่อการใช้ยาดังกล่าวในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ผู้วิจัยพัฒนาแบบสอบถาม เกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหยุดยาในช่วงวันหยุด โดยส่งแบบสอบถามทาง e-mailและไปรษณีย์ไปยังกลุ่มเป้าหมายทุกคนรวม 106 คน ประกอบด้วยกุมารแพทย์สาขาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก 91 คน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก 15 คน ตั้งแต่1 ธันวาคม 2557 จนถึง 30 พฤศจิกายน 2558 ได้รับการตอบกลับแบบสอบถามรวม 76 คน (ร้อยละ 71.7) ทำการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลทางสถิติผลการศึกษา : ส่วนใหญ่แพทย์พิจารณาหยุดยาในช่วงวันหยุดเป็นราย ๆ แล้วแต่กรณีจำนวน 54 คน (ร้อยละ 71.1), ให้กินยาต่อเนื่องทุกวัน 20 คน(ร้อยละ 26.3) แนะนำให้หยุดยาในวันหยุด 2 คน (ร้อยละ 2.6), โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจหยุดยา 5 อันดับแรกได้แก่ความรุนแรงของอาการโรคสมาธิสั้น, ปัญหาสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับสมาชิกครอบครัวจากอาการโรคสมาธิสั้น,การมี oppositional defiant disorder,conduct disorder เป็นโรคร่วม, ความร่วมมือของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมร่วมในการรักษา เจตคติต่อการใช้ยาค่อนข้างเป็นไปในทางบวก ซึ่งผลการศึกษาบางส่วนมีความแตกต่างจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นสรุป : กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรมเด็กส่วนใหญ่พิจารณาหยุดยาpsychostimulants เป็นราย ๆ แล้วแต่กรณีในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้น อย่างไรก็ตามยังมีความคิดเห็นหลากหลายเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการสั่งหยุดยา ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาข้อมูลสรุปผล พัฒนาเป็นแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนต่อไป.


ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมทางหน้าท้อง ณ. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วิลาสินี พิพัฒน์ผล, โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ Nov 2015

ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมทางหน้าท้อง ณ. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วิลาสินี พิพัฒน์ผล, โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการวิจัย : ปัญหาทางสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีโรคทางกายรุนแรง แต่ยังมีการศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักภายหลังผ่าตัดเปิดทวารเทียมทางหน้าท้องในประชากรไทยน้อยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมทางหน้าท้อง ณ.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่ได้รับการผ่าตัดเปิดทวารเทียมทางหน้าท้อง จำนวน 80 ราย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามทั้งหมด 4 ส่วนด้วยตนเอง ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านการรักษา 2) แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม (The Personal ResourceQuestionnaire, PRQ 85 Part II) 4) แบบวัดภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า Thai Hospital anxiety and depression scale (Thai-HADS) การวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-Square test สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson Correlation) และ Multivariate LogisticRegression analysis.ผลการศึกษา : พบว่ามีความชุกของภาวะวิตกกังวล ร้อยละ 35 และความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 10 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการเจ็บป่วยระยะเวลาที่มีทวารเทียม ภาวะแทรกซ้อนที่ผู้ป่วยหรือกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในเรื่องการเข้าสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ได้แก่ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม และมีปัจจัยที่ทำนายภาวะวิตกกังวลได้แก่ อายุตั้งแต่ 60 ปี (OR = 5.07; 95%CI = 1.57 - 16.42) ระยะเวลาในการเจ็บป่วยน้อยกว่า 6 เดือน (OR = 5.19; 95%CI = 1.14 -23.64) ระยะเวลาที่มีทวารเทียมน้อยกว่า 3 เดือน (OR = 4.96,95%CI = 1.58 - 15.58) แต่ไม่สามารถหาปัจจัยทำนายของภาวะซึมเศร้าได้ เนื่องจากไม่ตรงตามเงื่อนไขที่มีผู้ป่วย 8 รายเท่านั้นสรุป : ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับการผ่าตัดทวารเทียมทางหน้าท้อง ร้อยละ 35 มีภาวะวิตกกังวลและร้อยละ 10 มีภาวะซึมเศร้า และพบว่าความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าดังนั้นการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม อาจจะช่วยลดภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า.


การศึกษาการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกที่นำเด็กมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ณ สถาบันราชานุกูล, ศรสลัก นิ่มบุตร, อลิสา วัชรสินธุ Nov 2015

การศึกษาการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกที่นำเด็กมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ณ สถาบันราชานุกูล, ศรสลัก นิ่มบุตร, อลิสา วัชรสินธุ

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : มารดาเด็กออทิสติกได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ตลอดจนเศรษฐกิจสังคม ดังนั้นการดูแลบุตรออทิสติกมารดาจึงต้องมีการปรับตัวและได้รับการสนับสนุนทางสังคม ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกเพื่อให้หน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเด็กออทิสติกและมารดาต่อไปวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก และความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาโดยศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : สถาบันราชานุกูล กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการ : มารดาเด็กออทิสติก อายุ 3 - 7 ปี ที่นำเด็กมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกณ สถาบันราชานุกูล จำนวน 92 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของมารดาและบุตร 2) แบบสอบถามการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกสร้างขึ้นโดยประพา หมายสุขตามหลักแนวคิดของ Roy & Andrew และ Bobak & Jensen3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม The Personal Resource Questionnaire : PRQ Part II ของ Brand and Weinert แปลเป็นฉบับภาษาไทย โดยสุภาพ ชุณวิรัตน์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัว และปัจจัยพยากรณ์ โดยใช้สถิติPearson correlation, Independent samples t-test, One way ANOVAและ Multiple linear regression.ผลการศึกษา : การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกอยู่ในระดับปานกลาง(68.5%) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกคือ อายุของบุตรออทิสติก และอายุของมารดา โดยพบว่ามารดาที่มีบุตรอายุที่อายุ 6 ปี ขึ้นไป มีค่าคะแนนเฉลี่ยของการปรับตัวโดยรวม และด้านความสามารถในการเลี้ยงดูเด็กมากกว่าอายุของบุตรออทิสติกที่อายุมากกว่า 4 ปี – น้อยกว่า 6 ปี (p <0.05) และมารดาที่มีบุตรอายุ 6 ปี ขึ้นไป มีการปรับตัวด้านการยอมรับต่อสภาพบุตรมากกว่ามารดาที่มีบุตรอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 ปี (p <0.05) และมารดาที่มีอายุมากกว่า 30 –น้อยกว่า 40 ปี มีการปรับตัวด้านการรับผิดชอบต่ออนาคตบุตรมากกว่ามารดาที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี(p <0.05) การสนับสนุนทางสังคมของมารดาเด็กออทิสติกมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก (p <0.01) และการสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การปรับตัวของมารดา ซึ่งสามารถพยากรณ์ได้ ร้อยละ 17 (p <0.05)สรุป : จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของอายุบุตรและมารดารวมทั้งการสนับ สนุนทางสังคมที่มีผลต่อการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติและงานวิจัยต่อไป.


ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ, นิรัชรา ศศิธร, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย Nov 2015

ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ, นิรัชรา ศศิธร, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งมักพบว่ามี ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต การสนับสนุนทางสังคมและการมีส่วนร่วมในชุมชน ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาภาวะซึมเศร้า และปัจจัยทางจิตสังคม เพื่อที่จะเข้าใจภาวะซึมเศร้า และช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพวัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุกของภาวะซึมเศร้า และศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : ชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48นาควัชระอุทิศ จำนวน 240 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม5 แบบสอบถาม ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความเศร้า ในผู้สูงอายุของไทย (Thai Geriatric Depression Scale -TGDS) 3) แบบสอบถามเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตในช่วง 1 ปี(1 – Year Life Event Questionnaire) 4) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม (Social Support Questionnaire) และ 5) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับภาวะซึมเศร้า โดยใช้การทดสอบไคสแควร์และวิเคราะห์ความถดถอยแบบลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าผลการศึกษา : ความชุกของภาวะซึมเศร้า พบได้ร้อยละ 15.4 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า มี 6 ปัจจัย ได้แก่ สถานภาพสมรสโสด/หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ ความไม่เพียงพอของรายได้ ประวัติโรคทางจิตเวชเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับสูง การสนับสนุนทางสังคมระดับต่ำและการมีส่วนร่วมในชุมชนระดับต่ำและพบว่าปัจจัยที่ทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ มี 4 ปัจจัย ได้แก่ สถานภาพโสด/หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ ประวัติโรคทางจิตเวช เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับสูง และการมีส่วนร่วมในชุมชนระดับต่ำสรุป : ความชุกของภาวะซึมเศร้าในการศึกษานี้ ใกล้เคียงกับผลการศึกษาอื่น ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าได้แก่ เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต การสนับสนุนทางสังคม และการมีส่วนร่วมในชุมชน การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในชุมชน เช่น การเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุ น่าจะมีส่วนช่วยในการลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ.


คำขอบคุณ, N/A Nov 2015

คำขอบคุณ, N/A

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Suspicious Calcifications In Bi-Rads 4 And 5 Breast Lesions:Digital Mammographic-Pathologic Correlation, Kitirat Rattanathawornkiti, Jenjeera Prueksadee Sep 2015

Suspicious Calcifications In Bi-Rads 4 And 5 Breast Lesions:Digital Mammographic-Pathologic Correlation, Kitirat Rattanathawornkiti, Jenjeera Prueksadee

Chulalongkorn Medical Journal

Background : The calcifications are commonly observed in mammographicfeature of breast cancer. The assessment of combined descriptorsof calcification may help predict the risk of malignancy.Objective : To study the correlation and assess the accuracy of suspiciouscalcifications in BI-RADS 4 and 5 detected on digital mammographyand pathology.Design : Retrospective reviewMaterial and Methods : Of 176 breasts with suspicious calcifications in BI-RADS 4 and 5were reviewed the descriptors for morphology, distribution andother associated findings by using final category assessment byBI-RADS 5th edition. The definition was compared withhistopathology from core needle biopsy or surgery.Setting : Department of Radiology, King Chulalongkorn Memorial Hospital.Results : …


Outcomes Of Primary Valve Ablation In Posterior Urethral Valves Patients, Dutsadee Sowanthip, Chanatee Bunyaratavej Sep 2015

Outcomes Of Primary Valve Ablation In Posterior Urethral Valves Patients, Dutsadee Sowanthip, Chanatee Bunyaratavej

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Posterior urethral valves (PUVs) are the most common cause ofobstructive uropathy in male children that in long-term can leadto ESRD.Objectives : The aim of the study was to report outcomes of primary valveablation in patients with posterior urethral valves.Design : Descriptive study.Setting : King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok, Thailand.Materials and Methods : We retrospectively reviewed every medical record of patientsdiagnosed with posterior urethral valves and treated withprimary valve ablation or other modalities at King ChulalongkornMemorial Hospital from January 2002 to December 2012.Patient’s demographic data, age of presentation, imaged finds,presenting signs and symptoms, complications, and long-termoutcomes were recorded.Results : …


พฤติกรรมการสั่งหยุดยา Psychostimulant ในวันหยุดของจิตแพทย์และแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่นในประเทศไทยในการรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น, ตติมา กล่อมจันทร์, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร Sep 2015

พฤติกรรมการสั่งหยุดยา Psychostimulant ในวันหยุดของจิตแพทย์และแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่นในประเทศไทยในการรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น, ตติมา กล่อมจันทร์, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : โรคสมาธิสั้นเป็นโรคทางจิตเวชเด็กที่พบได้บ่อย และยากลุ่มpsychostimulant ได้รับการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพดี ปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับในการรักษาโรคสมาธิสั้นมานาน ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่บอกถึงแนวทางการบริหารยานี้ในช่วงวันหยุดเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด แพทย์จึงยังมีความเห็นและการปฏิบัติในการสั่งยากลุ่มนี้แตกต่างกันวัตถุประสงค์ : งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาพฤติกรรมการสั่งหยุดยาในช่วงวันหยุดปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ รวมถึงเจตคติของแพทย์ต่อการใช้ยากลุ่มpsychostimulant ในการรักษาผู้ป่วยสมาธิสั้นรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ผู้วิจัยคิดแบบสอบถามเพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มเป้าหมายทุกคนที่สามารถติดต่อได้รวม 182 คนประกอบด้วยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น 164 คน และแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชเด็ก และวัยรุ่น 18 คน ทำการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลทางสถิติผลการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 132 คน แบ่งเป็น จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น114 คน และแพทย์ประจำบ้าน 18 คน ผลการวิจัยพบว่าแพทย์116 คน (ร้อยละ 87.9) มีเจตคติด้านบวกต่อการใช้ยา แพทย์ 27 คน(ร้อยละ 20.5) ให้ผู้ป่วยทุกรายรับประทานยาต่อเนื่องทุกวัน, 4 คน(ร้อยละ 3.0) ให้ผู้ป่วยทุกรายหยุดยาในช่วงวันหยุด และ 101 คน(ร้อยละ 76.5) พิจารณาการสั่งหยุดยาในวันหยุดเป็นบางกรณี โดยปัจจัยสำคัญที่แพทย์ให้น้ำหนักจากคะแนนเต็ม 5 คะแนนในการพิจารณาคือ ผลข้างเคียงเรื่องการเบื่ออาหาร (4.2 ± 0.95) ความรุนแรงของอาการสมาธิสั้น (4.1 ± 1.15) และผลข้างเคียงทั่วไปอื่น ๆ จากการใช้ยา (4.1 ± 1.12) และพบว่าปัจจัยด้านสถานศึกษาของแพทย์มีผลต่อพฤติกรรมการสั่งหยุดยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มแพทย์ประจำบ้าน (p = 0.007) และอยู่ในระดับคาบเกี่ยวที่จะมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น (p = 0.058)สรุป : แม้ว่ายังไม่พบข้อสรุปที่ชัดเจนเรื่องความเหมาะสมในการบริหารยาในช่วงวันหยุด แต่พบปัจจัยที่ควรได้รับการศึกษาต่อเพื่อหาข้อสรุปและแนวทางการปฏิบัติร่วมกันในการบริหารยา psychostimulant ในช่วงวันหยุดของกลุ่มผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้นในประเทศไทย.


Randomized Double-Blind Comparison Trial Among I-Gel™, Lma-Proseal™ And Tracheal Intubation With Manual In-Line Stabilization In Patients With Simulated Cervical Spine Movement Limitation By Rigid Cervical Collar Immobilization, Tee Chularojmontri, Phatthanaphol Engsusophon, Pichaya Deeprasertvit Sep 2015

Randomized Double-Blind Comparison Trial Among I-Gel™, Lma-Proseal™ And Tracheal Intubation With Manual In-Line Stabilization In Patients With Simulated Cervical Spine Movement Limitation By Rigid Cervical Collar Immobilization, Tee Chularojmontri, Phatthanaphol Engsusophon, Pichaya Deeprasertvit

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Tracheal intubation with manual in-line stabilization (TT-MILS) isthe standard management in patients with cervical spine injury.The procedure of which is not practical for inexperienced personnel.Supraglottic airway device has a role in difficult airway managementand been proved to be easy for new users. It may be effective forairway management in the setting of limited cervical spinemovement.Objective : To compare airway management by i-gel, LMA-ProSeal™ andTT-MILS in anesthetized, paralyzed patients with simulated difficultairway by rigid cervical collar.Research design : A randomized, double-blind comparison study.Setting : In the operating rooms and surgical wards, King ChulalongkornMemorial Hospital, a tertiary hospital with 1500 …


Reliability And Validity Of The Thai Version Of Eq-5d-5l Questionnaire On Patients With Chronic Disease, Nontapat Sonsa-Ardjit, Phantipa Sakthong Sep 2015

Reliability And Validity Of The Thai Version Of Eq-5d-5l Questionnaire On Patients With Chronic Disease, Nontapat Sonsa-Ardjit, Phantipa Sakthong

Chulalongkorn Medical Journal

Background : The EuroQoL Group’s 5-dimension, 5-level (EQ-5D-5L) is a frequentlyused questionnaire on generic health-related quality of life (HRQoL);however, studies on its psychometric properties in Thailand are rare,especially on patients with chronic diseases.Objective : To evaluate the reliability and validity of the EQ-5D-5L questionnaireon patients with chronic diseases.Research design : Cross-sectional study.Setting : King Chulalongkorn Memorial Hospital.Methods : Four hundred outpatients with chronic disease at King ChulalongkornMemorial Hospital between July 2014 and February 2015 weresurveyed. The psychometric properties of EQ-5D-5L were evaluatedin terms of practicality (administration time and ceiling effect), reliabilityand validity (known-groups validity and convergent validity).Results : The average …


ภาวะความผิดปกติของไตหลังถูกผึ้ง ต่อและแตนต่อย, กมลวรรณ ตั้งวรพงศ์ชัย Sep 2015

ภาวะความผิดปกติของไตหลังถูกผึ้ง ต่อและแตนต่อย, กมลวรรณ ตั้งวรพงศ์ชัย

Chulalongkorn Medical Journal

ปัญหาการถูกผึ้ง ต่อและแตนต่อยยังคงพบได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะเขตพื้นที่ต่างจังหวัด แม้ว่าอาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้นโดยมากจะเป็นเพียงอาการแสดงทางผิวหนังเฉพาะที่ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่มักมีประสบการณ์ในการดูแลรักษา แต่บางครั้งผู้ป่วยก็อาจมาด้วยอาการแพ้พิษรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกหรือเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องและทันท่วงที ภาวะไตวายเฉียบพลันที่เกิดจากผึ้ง ต่อและแตนต่อยเป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่มีความสำคัญที่แพทย์พึงตระหนักและเฝ้าระวังเพื่อให้การรักษาได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่การดำเนินโรคจะรุนแรงถึงขั้นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต ในบทความนี้จึงจะได้กล่าวถึงภาวะแทรกซ้อนทางไตที่เกิดจากผึ้ง ต่อและแตนต่อย รวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง.


ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภควัต วงศ์ไทย, ชัยชนะ นิ่มนวล Sep 2015

ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภควัต วงศ์ไทย, ชัยชนะ นิ่มนวล

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การเรียนการสอนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นิสิตจะต้องใช้ความสามารถทั้งด้านศิลปะ และวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์แบบ และในระหว่างที่กำลัง ศึกษายังมีเรื่องของเวลา คณาจารย์และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของคณะเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลต่อความเครียดของนิสิตวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยในเรื่องการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่การทำการศึกษา : ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 - 5 ปีการศึกษา 2557จำนวนทั้งสิ้น 323 คน โดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปและแบบวัดความเครียด สถิติที่ใช้ได้แก่ Descriptive Statistic, Chi-Square Testและ Multiple Logistic Regression Analysisผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (39.7%) มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยคะแนน ความเครียดรวมเท่ากับ 65.8 และค่า S.D. เท่ากับ31.1 เมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ได้พบปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ จำนวนงานที่ได้รับมอบหมาย ในแต่ละรายวิชาที่มาก (OR = 2.16, 95%C.I.= 1.23 - 3.80, p <0.01), จำนวนครั้งของ การตรวจแบบกับอาจารย์ประจำกลุ่มที่น้อย (OR = 0.61,95%C.I.= 0.38 - 0.98, p = 0.04) และอายุที่เพิ่มขึ้นของนิสิต(OR = 1.34, 95%C.I. = 1.11-1.60, p <0.01) ตามลำดับสรุป : นิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนมากมีความเครียดรวมในระดับปานกลาง และระดับความเครียดสัมพันธ์กับจำนวนงานที่ได้รับมอบหมายที่มากจำนวนการตรวจแบบกับอาจารย์ที่น้อย และอายุของนิสิตที่เพิ่มขึ้น.


ผลของโปรแกรม B.A.S.E. ประยุกต์ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเด็กอนุบาล, วิวรรณ สุจริต, ปริชวัน จันทร์ศิริ Sep 2015

ผลของโปรแกรม B.A.S.E. ประยุกต์ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเด็กอนุบาล, วิวรรณ สุจริต, ปริชวัน จันทร์ศิริ

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : โปรแกรม B.A.S.E. ช่วยลดปัญหาพฤติกรรมในเด็กอนุบาล ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อปัญหาพฤติกรรมในระยะยาว โปรแกรมนี้ยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาโปรแกรม B.A.S.E. ประยุกต์ขึ้นมาวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม B.A.S.E. ประยุกต์ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเด็กอนุบาลรูปแบบการวิจัย : เป็นการศึกษาเชิงทดลอง Quasi experimental study : แบบ Pre-postcomparison in one groupสถานที่ทำการศึกษา : โรงเรียนสมาคมสตรีไทย กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบ Quasi experimental study (Pre-postcomparison in one group) กลุ่มตัวอย่างคือเด็กอนุบาลอายุ 4 - 6 ปีที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสมาคมสตรีไทย ปีการศึกษา2557 ซึ่งได้รับโปรแกรม B.A.S.E. ประยุกต์ ครั้งละ 20 - 30 นาทีห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์จำนวน 20 ครั้งมีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) โดยแบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) ประเมินโดยครูและผู้ปกครอง 3 ครั้งคือก่อนทำโปรแกรม หลังทำโปรแกรมสัปดาห์ที่ 12 และหลังทำโปรแกรมเสร็จสิ้นผลการศึกษา : จากการประเมินโดยครูพบว่าเมื่อเปรียบเทียบคะแนนปัญหาพฤติกรรมเกเร ระหว่างก่อนทำโปรแกรมและหลังทำโปรแกรมเสร็จสิ้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) เช่นเดียวกับคะแนนปัญหาพฤติกรรมความสัมพันธ์กับ เพื่อน ระหว่างก่อนทำโปรแกรมและหลังทำโปรแกรมเสร็จสิ้น ส่วนคะแนนปัญหาพฤติกรรมความสัมพันธ์กับเพื่อนระหว่างก่อนทำโปรแกรม และหลังทำโปรแกรมสัปดาห์ที่ 12 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอย่างสูง (p <0.01) คะแนนจุดแข็งด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ระหว่างก่อนทำโปรแกรมและหลังทำโปรแกรมสัปดาห์ที่ 12 มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01)ส่วนการประเมินโดยผู้ปกครองพบว่าการเปลี่ยนแปลงของคะแนนรวมปัญหาพฤติกรรมด้านอารมณ์ พฤติกรรมเกเร พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งและพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน ระหว่างก่อนทำโปรแกรมและหลังทำโปรแกรมเสร็จสิ้นมีคะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p <0.05)สรุป : โปรแกรม B.A.S.E. ประยุกต์ มีแนวโน้มที่จะช่วยลดปัญหาพฤติกรรมในเด็กอนุบาล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการป้องกันพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในเด็กอนุบาล และสามารถขยายเป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ การรับรู้และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นของเด็กในระบบการเรียนการศึกษาต่อไปได้.


การแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เรียนกวดวิชาชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เขตกรุงเทพมหานคร, นิชนันท์ เนตรสง่า, ปริชวัน จันทร์ศิร Sep 2015

การแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เรียนกวดวิชาชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เขตกรุงเทพมหานคร, นิชนันท์ เนตรสง่า, ปริชวัน จันทร์ศิร

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การใช้เวลาเรียนที่มากเกินไปของเด็กที่อยู่ในช่วงวัยประถมศึกษาตอนปลายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของเด็กซึ่งมีการแสดงออกผ่านพฤติกรรม ดังนั้น จึงได้ทำการศึกษาการแสดงออกด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กโดยทำการศึกษาในเด็กที่เรียนกวดวิชาและไม่เรียนกวดวิชาวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กประถมศึกษาตอนปลาย ศึกษาความแตกต่างของการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เรียนกวดวิชากับเด็กที่ไม่เรียนกวดวิชา รวมถึงศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เรียนกวดวิชาชั้นประถมศึกษาตอนปลายรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาศึกษา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)เขตกรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการ : ประชากรที่ศึกษาคือ เด็กที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 422 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการกวดวิชาและแบบประเมินการแสดงออกทางพฤติกรรม (The strengths and difficultiesquestionnaire (SDQ) ฉบับภาษาไทย) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้Pearson correlation, independent t-test, one way ANOVA และMultiple Regression Analysis ตามความเหมาะสมผลการศึกษา : จากการประเมินการแสดงออกทางพฤติกรรม (The strengthsanddifficulties questionnaire: SDQ) โดยผู้ปกครองและเด็กพบความชุกของปัญหาพฤติกรรมร้อยละ 17.5 และ 25.8 ตามลำดับ เมื่อใช้เกณฑ์การเรียนกวดวิชาพบว่าเด็กที่เรียนกวดวิชากับเด็กที่ไม่เรียนกวดวิชามีปัญหาพฤติกรรมไม่แตกต่างกัน และพบว่าความชุกของปัญหาพฤติกรรมมีค่าใกล้เคียงกับความชุกของปัญหาพฤติกรรมในเด็กทั่วไป แสดงให้เห็นว่าการเรียนกวดวิชาไม่ได้เป็นปัจจัยทีสำคัญของการเกิดปัญหาพฤติกรรมในเด็ก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมจากการประเมินของเด็ก ได้แก่ เพศ (p <0.05) และผลการเรียน (p <0.05) จากการประเมินของผู้ปกครอง ได้แก่ สถานภาพสมรสของบิดามารดา (p <0.01) การศึกษาของบิดามารดา (p <0.01) และผลการเรียน (p<0.01)สรุป : ปัญหาพฤติกรรมของเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายโดยรวมอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปัญหาพฤติกรรมของเด็กทั่วไป และเด็กที่เรียนกวดวิชากับเด็กที่ไม่เรียนกวดวิชามีปัญหาพฤติกรรมที่ไม่แตกต่างกัน โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ เพศ สถานภาพสมรสของบิดามารดาการศึกษาของบิดามารดาและผลการเรียน.


ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย, กีรติ ผลิรัตน์, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร Jul 2015

ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย, กีรติ ผลิรัตน์, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การเรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยส่งผลให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเกิดความเครียด ขึ้น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่สังคมไทยปัจจุบันเผชิญอยู่ปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น เพศ ความคาดหวังต่อตนเองความคาดหวังของผู้ปกครอง ระยะเวลาการเรียนพิเศษ แผนการเรียน ฯลฯปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจส่งผลต่อความเครียดของนักเรียนได้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความเครียดและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาโดยศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : อาคารวรรณสรณ์ ซึ่งเป็นอาคารแหล่งรวมสถาบันกวดวิชาที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่บริเวณแยกถนนพญาไท กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการ : เป็นการศึกษาในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งเพศหญิงและชาย อายุ16 - 18 ปี จำนวน 384 คน ในภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2557 โดยใช้แบบสอบถามส่วนบุคคล จำนวน 10 ข้อ และแบบประเมินความเครียดสวนปรุง (SPST-20) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการหาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แสดงค่าสถิติเป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตความถี่ ร้อยละและใช้ค่า Mean ± SD และใช้สถิติเชิงอนุมานในการหาข้อมูลสถิติเชิงลักษณะในการเปรียบเทียบปัจจัยที่อาจจะมีผลต่อความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนพิเศษ โดยใช้สถิติIndependent sample t-test, One-way ANOVA, multiple linearregression, regression analysis and Pearson correlationผลการศึกษา : พบว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร ที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับสูง(ร้อยละ 48.2) มีความคาดหวังต่อตนเอง (ร้อยละ 70.3) สำหรับความคาดหวังของผู้ปกครองต่อนักเรียน (ร้อยละ 68.5) อยู่ในระดับปานกลางสรุป : นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนกวดวิชาเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความเครียดอยู่ในระดับสูงนักเรียนมีความคาดหวังต่อตนเองและผู้ปกครองมีความคาดหวังต่อตัวนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง.


คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ, เพ็ญภพ พันธุ์เสือ, สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์ Jul 2015

คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ, เพ็ญภพ พันธุ์เสือ, สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์

Chulalongkorn Medical Journal

การปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นอีกหนึ่งในรูปแบบการรักษาที่มีการค้นคว้าพัฒนา และประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมากว่าครึ่งศตวรรษ จากความสำเร็จดังกล่าวการปลูกถ่ายอวัยวะจึงกลายเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญทางการรักษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาชีวิต และทำให้ผู้เข้ารับการปลูกถ่ายสามารถกลับไปใช้ชีวิตของเขาอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ผลพวงอีกประการจากความก้าวหน้าในการปลูกถ่ายคือ ความต้องการอวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายมีมากขึ้นจนเกิดความไม่พอเพียง ถึงแม้หน่วยงานต่าง ๆ จะพยายามแก้ไขปัญหาโดยการเปิดศูนย์รับบริจาค ก็ยังพบว่าอวัยวะที่ได้จากการบริจาคไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นการปลูกถ่ายในทุก ๆ ครั้งจึงมีความสำคัญอย่างมากจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลทางลบต่อผลการปลูกถ่ายที่สำคัญปัจจัยหนึ่งคือการเกิดภาวะซึมเศร้า ที่แม้จะมีหลายงานวิจัยที่เน้นย้ำถึงอันตรายของภาวะซึมเศร้าที่มีต่อผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะทั้งในช่วงก่อนการปลูกถ่ายและหลังการปลูกถ่าย แต่กลับพบว่ามีงานวิจัยส่วนน้อยที่กล่าวถึงวิธีการจัดการหรือการบำบัดอย่างเป็นขั้นตอนที่มุ่งเน้นเพื่อลดภาวะซึมเศร้า และจากการสืบค้นยังไม่พบการศึกษาดังกล่าวในประเทศไทย ดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความร่วมมือในการรักษา มีอัตราการตายลดลง ทำให้การปลูกถ่ายแต่ละครั้งเกิดผลประโยชน์สูงสุด และมีความคุ้มค่ามากที่สุดการบำบัดหรือสร้างกระบวนการ เพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยปลูกถ่ายจึงมีความสำคัญ.


Iron Deficiency Anemia Masking Hemoglobin H Disease:A Case Report, Somchai Insiripong, Watcharin Yingsitsiri, Juree Boondumrongsagul Jul 2015

Iron Deficiency Anemia Masking Hemoglobin H Disease:A Case Report, Somchai Insiripong, Watcharin Yingsitsiri, Juree Boondumrongsagul

Chulalongkorn Medical Journal

Hemoglobin H disease (Hb H) in adult patients can be diagnosed by identifying theband of Hb H with or without Hb Bart on Hb electrophoresis, and probably confirmed bygenotyping study. However, Hb H may be suppressed by some acquired factors includingiron deficiency anemia. Herein, we report a case of a 55-year-old woman was recognized ashaving chronic anemia since childhood. She was treated with occasional transfusions, oneor two units a year. Her first Hb electrophoresis showed: HbA2A, HbA2 2.1%, while her Hbwas 5.1 d/dL, her ferritin 6.2 ng/mL, and transferrin saturation 13.2%. She was diagnosed ashaving iron deficiency anemia and treated …


Relationships Between Dengue Virus Infection In Mosquito Vector, (Aedes Aegypti), Dengue Cases And Weather Conditions In Samut Sakhon Province, Thailand, Veerayuth Kittichai, Prakaikaew Montriwat, Jakkrawarn Chompoosri, Payu Bhakdeenuan, Theerakamol Pengsakul, Apiwat Tawatsin, Usavadee Thavara, Padet Siriyasatien Jul 2015

Relationships Between Dengue Virus Infection In Mosquito Vector, (Aedes Aegypti), Dengue Cases And Weather Conditions In Samut Sakhon Province, Thailand, Veerayuth Kittichai, Prakaikaew Montriwat, Jakkrawarn Chompoosri, Payu Bhakdeenuan, Theerakamol Pengsakul, Apiwat Tawatsin, Usavadee Thavara, Padet Siriyasatien

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Dengue is commonly found in the tropical and subtropical regions.The disease is still affecting the population of the world especially inSoutheast Asia. The current increase in both morbidity and mortalityrates was associated with the potentiality of the viral transmission.Surveillance focusing on the virus infection in principal dengue vector,weather conditions and number of dengue cases should be evaluatedto develop an effective control approach, therefore reducethe emergence of dengue disease within the endemic and/or new areas.Objectives : To characterize the transmission pattern of dengue virus in the mosquitovector (Aedes aegypti) according to the seasons and to determinethe relationship between dengue …


Effects Of Oral Sodium Phosphate Solution, As A Colon Preparation Agent, On The Serum Potassium Level In Patients Undergoing Colonoscopy At A Secondary Care Community Hospital, Samart Phuwapraisirisan, Panuwat Lertsithichai Jul 2015

Effects Of Oral Sodium Phosphate Solution, As A Colon Preparation Agent, On The Serum Potassium Level In Patients Undergoing Colonoscopy At A Secondary Care Community Hospital, Samart Phuwapraisirisan, Panuwat Lertsithichai

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Colonoscopy is the gold standard investigation for assessing of the intra-luminal colorectal pathology. Effective bowel preparation contributed efficient visualizing of the colon. Osmotic laxatives such as sodium phosphate (NaP) are commonly used for colonic preparation for colonoscopy. A meta-analysis suggested that NaP offered a more effective and more readily completed preparation than PEG-based regimes. However, the use of sodium phosphate solution has been shown to significantly reduce the serum potassium level which is likely to affect cardiac rhythm in particular by prolonging the QT interval. But this affect was not clinically meaningful in most of patients. Sodium phosphate …


Surgical Site Infection In Patients Undergoing Urgent Abdominal Surgery, Ong-Orn Jaichaiyaphum, Kusuma Khuwatsamrit, Nirobol Kanogsunthornrat Jul 2015

Surgical Site Infection In Patients Undergoing Urgent Abdominal Surgery, Ong-Orn Jaichaiyaphum, Kusuma Khuwatsamrit, Nirobol Kanogsunthornrat

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Surgical site infection (SSI), is a major problem and the most common complication of surgery. It was considered an essential indicator for a quality of care of hospital. SSI affects patients suffer from increasing morbidity and mortality, prolongs length of stay, delay recovery, decreases quality of life, and increases medical costs. Although urgent abdominal surgery is a significant treatment for patients with life-threatening intraabdominal conditions, it is usually associated with increased risk of SSI. Factors related to SSI need to be explored to help improve healthcare services and surveillance program in high-risk patients. Objective : To study SSI …


การรักษาตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน, ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช, ภูรีพัทธ์ อรรถเวชกุล, จีรวัชร์ เอื้อวงศ์ศิน, ฐิตา เจียสกุล, สมบัติ ตรีประเสริฐสุข Jul 2015

การรักษาตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน, ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช, ภูรีพัทธ์ อรรถเวชกุล, จีรวัชร์ เอื้อวงศ์ศิน, ฐิตา เจียสกุล, สมบัติ ตรีประเสริฐสุข

Chulalongkorn Medical Journal

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันเป็นโรคที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติทั่วไป ซึ่งมักได้รับการดูแลรักษาโดยอายุรแพทย์ ในปี พ.ศ. 2556 นี้ได้มีการทบทวนคำนิยามและการจัดหมวดหมู่ของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันและภาวะแทรกซ้อนหลังจากการทบทวนครั้งที่แล้วเมื่อ 20 ปีก่อน ซึ่งได้แบ่งระดับความรุนแรงของตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันออกเป็นระดับที่รุนแรงน้อย รุนแรงปานกลางและรุนแรงมากโดยประมาณร้อยละ 80 จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันชนิดที่รุนแรงน้อย ปัจจุบันพบว่ามีปัจจัยหลายอย่างทั้งทางคลินิก ทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และทางการตรวจทางรังสีวิทยาที่ใช้ทำนายระดับความรุนแรงของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน แต่ไม่ว่าตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันจะมีระดับความรุนแรงใด การรักษาประคับประคองยังคงเป็นการรักษาที่สำคัญที่สุดเสมอ ซึ่งหมายถึงการดูแลผู้ป่วยให้มีการไหลเวียนโลหิตที่ดีและมีระดับออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อเพียงพอ, ลดอาการปวดของผู้ป่วย, ให้สารอาหารอย่างเพียงพอ, และเฝ้าติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดในหออภิบาลผู้ป่วยหนักในกรณีที่เป็นผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบระดับรุนแรงมาก โดยผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉพาะที่ อันได้แก่ การคั่งของของเหลวรอบตับอ่อน, ซิสต์เทียมของตับอ่อน, เนื้อตายของตับอ่อนในระยะเฉียบพลัน และเนื้อตายของตับอ่อนที่มีผนังล้อมรอบ ทั้งชนิดติดเชื้อหรือปลอดเชื้อ โดยในผู้ป่วยเหล่านี้หากมีอาการคงที่หรือดีขึ้น สามารถให้การรักษาด้วยการประคับประคองต่อได้ แต่หากภาวะแทรกซ้อนนั้นก่อให้เกิดอาการหรือผู้ป่วยมีอาการแย่ลงมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาภาวะแทรกซ้อนนั้นด้วยการทำหัตถการเพิ่มเติมที่มีทั้งวิธีทางการส่องกล้อง, ทางการเจาะผ่านผิวหนัง หรือทางการผ่าตัด โดยบทความนี้จะได้กล่าวถึงการรักษาในปัจจุบันดังจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป.


ความปลอดภัยและประสิทธิผลของการสลายต้อกระจก 2 ตาต่อเนื่องกันทันทีในคราวเดียวกันกับการผ่าตัดต่างคราวกัน, ณัฐกุล สุธนเสรีพร, ณัฐพงษ์ เดชบุญทวีสุข, ณัฐพร ทรงโบรัศมี, ณัฐพัฒน์ ตั้งจิตเจริญ, ณัฐภา ณัฐภา กิริยาพงษ์, ณัฐวุฒิ พงศ์ลีรัตนขจร, ณิชา ซึงสนธิพร, ทศพล โลหะวิจารณ์, ทศพล สุรวัฒนาวงศ์, ทิฆัมพร ส่งสกุลรุ่งเรือง, ทินกร ราศรีปลั่ง, ทิพย์ประไพ มหาศักดิ์ศิริ, วสี ตุลวรรธนะ Jul 2015

ความปลอดภัยและประสิทธิผลของการสลายต้อกระจก 2 ตาต่อเนื่องกันทันทีในคราวเดียวกันกับการผ่าตัดต่างคราวกัน, ณัฐกุล สุธนเสรีพร, ณัฐพงษ์ เดชบุญทวีสุข, ณัฐพร ทรงโบรัศมี, ณัฐพัฒน์ ตั้งจิตเจริญ, ณัฐภา ณัฐภา กิริยาพงษ์, ณัฐวุฒิ พงศ์ลีรัตนขจร, ณิชา ซึงสนธิพร, ทศพล โลหะวิจารณ์, ทศพล สุรวัฒนาวงศ์, ทิฆัมพร ส่งสกุลรุ่งเรือง, ทินกร ราศรีปลั่ง, ทิพย์ประไพ มหาศักดิ์ศิริ, วสี ตุลวรรธนะ

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ในปัจจุบันการผ่าตัดกระจกทั้งสองข้างในวันเดียวกันยังไม่ได้เป็นมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อกระจกของตาทั้งสองข้างเนื่องด้วยแพทย์ยังมีความกังวลถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นโดยเฉพาะภาวะติดเชื้อในลูกตาทั้งสองข้าง ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่สามารถให้ข้อสรุปที่ชัดเจนวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการผ่าตัดต้อกระจกทั้งสองข้างในวันเดียวกัน กับการผ่าตัดต้อกระจกแยกวันในตาแต่ละข้าง ในด้านการเกิดภาวะแทรกซ้อนและประสิทธิภาพของการผ่าตัดรูปแบบการวิจัย : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานสถานที่ทำการวิจัย : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : คณะผู้จัดทำคัดเลือกวรรณกรรมทั้งประเภท Randomized controlledtrial และ Non-randomized controlled trial รวมถึง Observationalstudy ที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นจึงให้ผู้ทบทวนวรรณกรรม 2 คนแยกกันพิจารณาวรรณกรรมที่คัดเลือกได้ โดยมีผลลัพธ์ของการศึกษาคือผลข้างเคียงทั้งระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด และความสามารถในการเห็นก่อนและหลังผ่า ผู้จัดทำใช้ l² ในการประเมิน heterogeneityและคำนวณ Odd ratio ร่วมกับ 95% interval สำหรับข้อมูลทวิภาคผลการศึกษา : จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบค้นพบวรรณกรรมทั้งสิ้น8 วรรณกรรม ได้แก่ Randomized controlled trial 3 วรรณกรรม Nonrandomizedcontrolled trial 2 วรรณกรรม และ Case series 3วรรณกรรม ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง 2161 คนในกลุ่ม ISBP และ933 คนในกลุ่ม DSBP โดยภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัดที่พบคือเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังฉีกขาด ส่วนภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ได้แก่โรคม่านตาอักเสบ ความดันลูกตาสูง และจุดรับภาพตรงกลางบวมโดยไม่พบอุบัติการณ์ของภาวะติดเชื้อในลูกตาเลยในแต่ละวรรณกรรมส่วนด้านความสามารถในการเห็นแต่ละงานวิจัยมีความแตกต่างในเรื่องมาตรวัดและค่ากลางทางสถิติ จึงไม่สามารถนำผลงานวิจัยมาเปรียบเทียบระหว่างกันได้ อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มสรุป : ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการผ่าตัดทั้งสองวิธีทั้งด้านภาวะแทรกซ้อนและความสามารถในการเห็น.