Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 27 of 27

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปกิณกะ : เยือนซิดนีย์, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Sep 2000

ปกิณกะ : เยือนซิดนีย์, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


Children's Anxiety/Fear: Cross-Cultural And Difference, วราภรณ์ ชัยวัฒน์ Sep 2000

Children's Anxiety/Fear: Cross-Cultural And Difference, วราภรณ์ ชัยวัฒน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


รูปแบบของความวิตกกังวลของมารดา ในระหว่างตั้งครรภ์และผลต่อทารกแรกเกิด (Pattern Of Maternal Anxiety And Its Impact On Infant Health Status), ชมพูนุช โสภาจารีย์ Sep 2000

รูปแบบของความวิตกกังวลของมารดา ในระหว่างตั้งครรภ์และผลต่อทารกแรกเกิด (Pattern Of Maternal Anxiety And Its Impact On Infant Health Status), ชมพูนุช โสภาจารีย์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การบริหารคุณภาพบริการสุขภาพทั่วทั้งองค์การ, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร Sep 2000

การบริหารคุณภาพบริการสุขภาพทั่วทั้งองค์การ, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การวิจัยทางการศึกษาพยาบาล, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Sep 2000

การวิจัยทางการศึกษาพยาบาล, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ความเครียดในการทำงาน, ชฎาภา ประเสริฐทรง Sep 2000

ความเครียดในการทำงาน, ชฎาภา ประเสริฐทรง

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


The Internet For The Beginners: How To Uses?, อนิรุทธิ์ สติมั่น Sep 2000

The Internet For The Beginners: How To Uses?, อนิรุทธิ์ สติมั่น

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


สาเหตุแห่งความเครียดของบุคคลในครอบครัว ที่ทำหน้าที่ให้การดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยโรคเอดส์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ Sep 2000

สาเหตุแห่งความเครียดของบุคคลในครอบครัว ที่ทำหน้าที่ให้การดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยโรคเอดส์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร กับอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์ (Relationships Between Selected Factors, Anxiet And Depression After Pregnancy Loss), พรทิพย์ วงศ์วิเศษสิริกุล, นงลักษณ์ วิจิตรพันธุ์ Sep 2000

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร กับอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์ (Relationships Between Selected Factors, Anxiet And Depression After Pregnancy Loss), พรทิพย์ วงศ์วิเศษสิริกุล, นงลักษณ์ วิจิตรพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ รายได้ครอบครัว จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ อายุครรภ์ ประวัติการสูญเสียบุตรในอดีต กับอาการวิตกกังวล และซึมเศร้าภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์ รวมทั้งความสามารถในการทำนายอาการวิตกกังวลและซึมเศร้า จากปัจจัยคัดสรร กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากสูติแพทย์ว่าต้องสิ้นสุด การตั้งครรภ์เพื่อการรักษา เนื่องจากการตั้งครรภ์ไม่มีตัวอ่อน ตัวอ่อนหรือทารกตายในครรภ์ การแท้งค้าง ทารกพิการ หรือมารดาเป็นโรคร้ายแรงที่ไม่สามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้ จำนวน 113 ราย ซึ่งมา รับการรักษาที่หอผู้ป่วยสูติกรรม 3 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนมกราคม ถึง กันยายน 2542 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคัดสรรไม่มีความสัมพันธ์ กับอาการวิตกกังวลภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์ แต่อายุ รายได้ครอบครัว อายุครรภ์ มีความสัมพันธ์ กับอาการซึมเศร้า ภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อายุครรภ์และรายได้ครอบครัว สามารถร่วมกันทำนายอาการซึมเศร้าภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 12.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


การพยาบาลผู้ป่วย Cushing's Syndrome : กรณีศึกษา, หฤทัย อาจปรุ, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Sep 2000

การพยาบาลผู้ป่วย Cushing's Syndrome : กรณีศึกษา, หฤทัย อาจปรุ, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Cushing's syndrome is a condition in which hyperfunction of the adrenal cortex produce excessive amount of cortisol or ACTH. Cortisol hormones effect fat, protein and glucose metabolism. Cushing's syndrome caused by, first from benign or malignant tumors of adrenal cortex, second from pituitary, hypothalamus disorder, bronchogenic or lung carcinoma. Third from iatrogenic cause. The last cause is the most common cause. Patients with Cushing's syndrome will have physical, emotion, social, spiritual and body image changes. In Additional it has impacts on economic and family pattern. This case report describes a Thai female who has Cushing's syndrome caused by excessive use …


การส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทย : อีกทางเลือกในการดูแลตนเอง, ภารดี นานาศิลป์ May 2000

การส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทย : อีกทางเลือกในการดูแลตนเอง, ภารดี นานาศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ศึกษามโนทัศน์ ทฤษฎี และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความผูกพัน ระหว่างมารดาและทารกในวิทยานิพนธ์สาขาวิชาทางการพยาบาล (A Study Of Concepts, Theories, And Instruments Using In Assessment Of Maternal-Infant Attachment Of Master Thesis In Nursing), สุกัญญา แสงมุกข์ May 2000

ศึกษามโนทัศน์ ทฤษฎี และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความผูกพัน ระหว่างมารดาและทารกในวิทยานิพนธ์สาขาวิชาทางการพยาบาล (A Study Of Concepts, Theories, And Instruments Using In Assessment Of Maternal-Infant Attachment Of Master Thesis In Nursing), สุกัญญา แสงมุกข์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ (Management Information System), อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย May 2000

ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ (Management Information System), อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การวิจัยเชิงผลลัพธ์เพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (Outcome Research For Hospital Quality Development), ยุพิน อังสุโรจน์ May 2000

การวิจัยเชิงผลลัพธ์เพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (Outcome Research For Hospital Quality Development), ยุพิน อังสุโรจน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ปกิณกะ : คุณค่าของชีวิต, ชลีกร บุญประเสริฐ May 2000

ปกิณกะ : คุณค่าของชีวิต, ชลีกร บุญประเสริฐ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ปกิณกะ : การประชุมพยาบาลนานาชาติ The New Nursing: Converging Conversation Of Education, Research And Practice ณ Madison, Wisconsin ประเทศสหรัฐอเมริกา, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ May 2000

ปกิณกะ : การประชุมพยาบาลนานาชาติ The New Nursing: Converging Conversation Of Education, Research And Practice ณ Madison, Wisconsin ประเทศสหรัฐอเมริกา, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ผลของการใช้มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อความพึงพอใจของผู้ป่วย และจํานวนวันนอนในโรงพยาบาล : โรงพยาบาลสมุทรสาคร (Effects Of Using The Standard Of Nursing Care For Diabetes Mellitus Patients' Satisfaction And Length Of Stay, Samut Sakhon Hospital), จุฬามณี คุณวุฒิ, ยุพิน อังสุโรจน์ May 2000

ผลของการใช้มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อความพึงพอใจของผู้ป่วย และจํานวนวันนอนในโรงพยาบาล : โรงพยาบาลสมุทรสาคร (Effects Of Using The Standard Of Nursing Care For Diabetes Mellitus Patients' Satisfaction And Length Of Stay, Samut Sakhon Hospital), จุฬามณี คุณวุฒิ, ยุพิน อังสุโรจน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการพยาบาลที่ ได้รับและจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลก่อนและหลังการใช้มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย โรคเบาหวาน \nประชากร คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับไว้รักษา ณ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง และหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมุทรสาคร จำนวนทั้งสิ้น 75 คน (ก่อนการใช้มาตรฐานการพยาบาล 50 คน และหลังการใช้ มาตรฐานการพยาบาล 25 คน) การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเฉพาะเจาะจง \nเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชุด ได้แก่ มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบบสังเกตกิจกรรมการพยาบาล แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการพยาบาล และแบบบันทึก จํานวนวันนอนในโรงพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยงแล้ว \nผลการวิจัยพบว่า \n1. ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการพยาบาล หลังการใช้มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงกว่าก่อนการใช้มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญ \nทางสถิติที่ระดับ .05 \n2. จํานวนวันนอนในโรงพยาบาลลดลง หลังการใช้มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย โรคเบาหวาน แต่ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การจัดการความปลอดภัยในการทำงาน ของหัวหน้างานกับการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (Relationships Among Personal Factors, Work Safety Management Of Head Nurses, And Adaptation Of Professional Nurses After Being Assaulted, Emergency Department Regional Hospital And Medical Centers), ทองศุกร์ บุญเกิด, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ May 2000

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การจัดการความปลอดภัยในการทำงาน ของหัวหน้างานกับการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (Relationships Among Personal Factors, Work Safety Management Of Head Nurses, And Adaptation Of Professional Nurses After Being Assaulted, Emergency Department Regional Hospital And Medical Centers), ทองศุกร์ บุญเกิด, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัว ภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การจัดการความปลอดภัยในการทำงานของหัวหน้างานกับการปรับตัวภายหลังถูกทำร้าย ของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์ รวมทั้งศึกษาตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ การปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและ ฉุกเฉินโรงพยาบาลศูนย์ จำนวน 210 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การจัดการความปลอดภัยในการทำงานของหัวหน้างาน และแบบสอบถามการปรับตัวภายหลังถูกทำร้าย ของพยาบาลวิชาชีพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาแล้ว และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 และ.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์และทดสอบทางสถิติ โดยการ ทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน \nผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ \n1. ค่าเฉลี่ยการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์ โดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของ พยาบาลวิชาชีพด้านการทำหน้าที่ในสังคม ด้านขวัญกำลังใจ และด้านภาวะสุขภาพ อยู่ในระดับดี \n2. การอบรมการป้องกันตัวและการจัดการความปลอดภัยในการทํางานของหัวหน้างาน มีความสัมพันธ์ กับการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 \n3. ตัวแปรที่พยากรณ์การปรับตัวภายหลังถูกทําร้ายของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การจัดการความปลอดภัยในการ ทำงานของหัวหน้างาน สามารถพยากรณ์การปรับตัวภายหลังถูกทําร้ายของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 29.9 (R2 = .299) \nได้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ \nการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ = .546 การจัดการความปลอดภัยในการทำงานของหัวหน้างาน


บรรยากาศในการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาล กรณีศึกษาฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (Organization Climate Of Health Personnel In Department Of Nursing Teaching Hospital), สมสมัย สุธีรศานต์, นวลตา อาภาคัพภะกุล Jan 2000

บรรยากาศในการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาล กรณีศึกษาฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (Organization Climate Of Health Personnel In Department Of Nursing Teaching Hospital), สมสมัย สุธีรศานต์, นวลตา อาภาคัพภะกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

ทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์การเป็นอย่างยิ่ง เพราะทรัพยากรมนุษย์ มีส่วนในการพัฒนาองค์การให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ การดูแลทรัพยากรมนุษย์ใน องค์การจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารองค์การต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะขวัญกำลังใจ ความรู้สึกต่อองค์การที่ตน ทำงานอยู่ รวมทั้งบรรยากาศในการทำงานของบุคลากรในองค์การด้วย ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การบริหาร จัดการให้เหมาะสม ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ \nการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นต่อ บรรยากาศองค์การของฝ่ายบริการพยาบาลโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อบรรยากาศ ด้านการทํางานเป็นทีม การให้บริการ การเปลี่ยนแปลงงาน การปรับปรุงระบบงาน เป้าหมายใน การทำงานร่วมกัน และความพึงพอใจที่มีต่อการทำงานในองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานผู้ช่วยการพยาบาล เสมียน คนงาน และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวนทั้งสิ้น 600 ราย วิธีการเก็บข้อมูล โดยแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวนทั้งสิ้น 55 ข้อ ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยประมาณ 32 ปี มีระยะ เวลาในการปฏิบัติงานประมาณ 11 ปี มีโอกาสได้รับการอบรมเฉลี่ย 1 ครั้ง ตลอดช่วงระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในฝ่ายบริการพยาบาล (2) ความคิดเห็นต่อบรรยากาศองค์การด้านความสามารถใน การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน การทำงานเป็นทีมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การให้ความหมายของ คุณภาพ การตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย/ลูกค้า เป้าหมายและอุดมการณ์ร่วมกัน และ ความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางมาก ส่วนความสัมพันธ์ของผู้ป่วยใน และ การปรับปรุงระบบงานค่อนไปทางน้อย ดังนี้ 6.16 6.24 6.10 7.05 6.75 6.09 6.22 5.84 และ 4.80 (3) เมื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นต่อบรรยากาศในการทำงาน โดยการวิเคราะห์สมการ ถดถอย พบว่า ระดับการศึกษาและโอกาสที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับ Hospital accreditation มีผลต่อ ความรู้สึกต่อบรรยากาศในการทำงาน (beta.132 และ beta.126,p<.05) (4) ผลของการเปรียบเทียบ ความคิดเห็นต่อบรรยากาศองค์การของผู้ที่ทำงานในระดับพยาบาลประจำการ ผู้ช่วยพยาบาล พนักงาน ช่วยเหลือการพยาบาล เสมียน และคนงาน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปร พบว่า มีความแตกต่างกันในด้านการปรับปรุงระบบงาน เป้าหมายและอุดมการณ์ร่วมกันของบุคลากร อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการทํางานเป็นทีม การใช้ความคิดสร้างสรรค์ การให้ความหมาย ของคุณภาพ การตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วย และความพึงพอใจ ต่อการทํางาน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ในส่วนของข้อคำถาม ปลายเปิด คณะผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม Ethnograph 4.0 พบว่า ก) ส่วนใหญ่ต้องการ เห็นภาพของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ในสายตาของผู้รับบริการว่าเป็นโรงพยาบาลที่มีคุณภาพ การบริการที่ดี บุคลากรมีความสามารถ และมีเครื่องมือทันสมัย รวมทั้งค่าบริการไม่แพงนัก ข) ในด้าน อุปสรรค พบว่า มีอุปสรรคที่นโยบายการบริหาร บรรยากาศในการทํางานไม่เอื้ออํานวย ซึ่งมีทั้งจาก บุคลากร การได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และนโยบายขององค์การ ค) สิ่งที่น่าจะได้พัฒนาและ นําไปสู่ความสําเร็จของการทํางานที่มีประสิทธิภาพ คือ การส่งเสริมด้านวิชาการ การส่งเสริมความสามัคคี การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหน่วยงาน ปลูกจิตสํานึกในการทํางานและรักงานของบุคลากรทุกระดับ การได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงาน ไม่มีการแบ่งระดับ และผู้บริหารควรยอมรับฟังปัญหา


ปกิณกะ : ทฤษฎีความเครียดในงานวิจัยทางการพยาบาลและจิตสังคม (Stress Theory In Nursing And Psychological Research), สุกัญญา แสงมุกข์ Jan 2000

ปกิณกะ : ทฤษฎีความเครียดในงานวิจัยทางการพยาบาลและจิตสังคม (Stress Theory In Nursing And Psychological Research), สุกัญญา แสงมุกข์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ผลของการใช้ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา ต่อความเครียดในบทบาทของผู้ดูแล (Effects Of Using Dependent Elderly Caring Model On Role Stress Of Caregivers.), สุดา เทพศิริ, พิชญาภรณ์ มูลศิลป์ Jan 2000

ผลของการใช้ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา ต่อความเครียดในบทบาทของผู้ดูแล (Effects Of Using Dependent Elderly Caring Model On Role Stress Of Caregivers.), สุดา เทพศิริ, พิชญาภรณ์ มูลศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้อง พึ่งพาและเปรียบเทียบความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาระหว่างก่อนและหลัง การใช้ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาที่เข้ารับ การรักษาเป็นผู้ป่วยสามัญในแผนกอายุรกรรม สถาบันประสาทวิทยา แผนกอายุรกรรมและอายุรกรรม ประสาท โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และอยู่ในช่วงวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยแห่งละ 15 คน จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและดำเนินการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่ม โดยวัดก่อนทดลอง และหลังทดลอง (The one group pretest-posttest design) ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเครียด ในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาก่อนการใช้ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาอยู่ในระดับ ปานกลาง (X = 2.52) ระดับความเครียดในบทบาทของผู้ดูแล ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาหลังการใช้ตัวแบบ การดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาอยู่ในระดับต่ำ (X = 1.51) ความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ ต้องพึ่งพาหลังการใช้ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาทั้งรายด้านและโดยรวมน้อยกว่าก่อนการใช้ ตัวแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการศึกษาเสนอแนะว่าควรนําตัวแบบการดูแล ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพามาใช้ในการเตรียมสภาพจิตใจของผู้ดูแลโดยการลดความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา และนำตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพามาใช้เป็นเครื่องมือในกระบวนการ วางแผนจำหน่าย จะทำให้การจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องพึ่งพามีประสิทธิภาพมากขึ้น


การรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสงขลา (Aids Perceptions Of Upper Level Secondary School Students In Songkhla Provice), ทศวร มณีศรีขำ, ชฎาภา ประเสริฐทรง Jan 2000

การรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสงขลา (Aids Perceptions Of Upper Level Secondary School Students In Songkhla Provice), ทศวร มณีศรีขำ, ชฎาภา ประเสริฐทรง

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องการรับรู้เรื่องโรคเอดส์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย จังหวัดสงขลา โดยจําแนกตามเพศ อายุ ระดับชั้นที่ศึกษา สถานที่ตั้งของสถานศึกษา รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง และพฤติกรรมทางเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย จังหวัดสงขลา ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2538 จำนวน 965 คน ที่ได้มาจาก การสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากประชากรจํานวน 12,929 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบทดสอบ วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบที่ การทดสอบเอฟ การหาความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการทดสอบความแตกต่าง ของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ ภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยวิธีของนิวแมน-คูลส์ \nผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ \n1. นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และมีเจตคติต่อผู้ป่วย โรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีการป้องกันและ การปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n2. นักเรียนที่มีอายุต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ มีเจตคติต่อผู้ป่วยโรคเอดส์หรือ ผู้ติดเชื้อเอดส์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ สำหรับการป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อ หลีกเลี่ยงโรคเอดส์ นักเรียนที่มีอายุต่างกัน มีการป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายคู่พบว่า นักเรียนที่มีอายุ 16-18 ปี มีการป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ดีกว่านักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี และ นักเรียนที่มีอายุสูงกว่า 18 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n3. นักเรียนในระดับชั้นที่ศึกษาต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ มีเจตคติต่อผู้ป่วย โรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ มีการป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายคู่ พบว่าความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ดีกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เจตคติต่อผู้ป่วยโรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีเจตคติต่อผู้ป่วย โรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ดีกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 6 การป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีการป้องกันและ การปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ดีกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 …


ปกิณกะ : โครงการสื่อสักการะ : กรณีศึกษา โรงพยาบาลอินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี, ดวงดาว วีระนะ Jan 2000

ปกิณกะ : โครงการสื่อสักการะ : กรณีศึกษา โรงพยาบาลอินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี, ดวงดาว วีระนะ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ปกิณกะ : โพนโฮงรำลึก : การฝึกอบรมพยาบาลระดับต้นในแขวงเวียงจันทน์, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Jan 2000

ปกิณกะ : โพนโฮงรำลึก : การฝึกอบรมพยาบาลระดับต้นในแขวงเวียงจันทน์, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของบุคคล คุณลักษณะส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อม ในหน่วยงานกับสมรรถนะของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลตามการรับรู้ของตนเอง โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (Relationships Between Personal Background, Personal Trait And Workplace Environment With Competencies Of Nurse Directors As Perceived By Themselves, Community Hospitals Under The Jurisdiction Of The Ministry Of Public Health.), สุพรรณี วงคำจันทร์, ยุพิน อังสุโรจน์ Jan 2000

ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของบุคคล คุณลักษณะส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อม ในหน่วยงานกับสมรรถนะของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลตามการรับรู้ของตนเอง โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (Relationships Between Personal Background, Personal Trait And Workplace Environment With Competencies Of Nurse Directors As Perceived By Themselves, Community Hospitals Under The Jurisdiction Of The Ministry Of Public Health.), สุพรรณี วงคำจันทร์, ยุพิน อังสุโรจน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนโดยรวมและรายด้านตามการรับรู้ของตนเอง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลัง ของบุคคล คุณลักษณะส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมในหน่วยงาน กับสมรรถนะของหัวหน้า ฝ่ายการพยาบาลตามการรับรู้ของตนเอง โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษา คือ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 262 คน \nเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่สอบถามเกี่ยวกับภูมิหลังของบุคคล คุณลักษณะส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในหน่วยงาน และแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้า ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .98 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์ ค่าไค-สแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน \nผลการวิจัยพบว่า \n1. หัวหน้าฝ่ายการพยาบาลมีสมรรถนะโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีสมรรถนะ ด้านภาวะผู้นำสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาล และสมรรถนะด้านการฝึกอบรม อยู่ในระดับสูง ส่วนสมรรถนะด้านการบริหารงาน สมรรถนะด้านการตลาด สมรรถนะด้านการสนับสนุนงาน การสาธารณสุขมูลฐาน สมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีทันสมัย อยู่ในระดับปานกลาง และสมรรถนะ ด้านวิชาการและการวิจัย อยู่ในระดับต่ำ\n2. ภูมิหลังของบุคคลด้านอายุ ประสบการณ์ในการทำงาน ประสบการณ์ในตำแหน่ง และประสบการณ์ในการศึกษาอบรมเฉพาะตำแหน่ง ไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะโดยรวมของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล \n3. ภูมิหลังของบุคคลด้านระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะโดยรวมของ \nหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n4. คุณลักษณะส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับสมรรถนะ \nโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n5. สภาพแวดล้อมในหน่วยงาน ด้านลักษณะและสภาพการทํางานในหน่วยงาน โอกาส ในการแสดงความสามารถ และการมีพี่เลี้ยง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง กับสมรรถนะ โดยรวมของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n6. สภาพแวดล้อมในหน่วยงาน ด้านขนาดของโรงพยาบาล และการก้าวหน้าในตำแหน่ง ตามบันไดอาชีพไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะโดยรวมของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล


มโนมติและการวัดการนอนหลับ (Conceptual And Measurement Of Sleep), ชนกพร จิตปัญญา Jan 2000

มโนมติและการวัดการนอนหลับ (Conceptual And Measurement Of Sleep), ชนกพร จิตปัญญา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อม การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ของอาจารย์พยาบาล ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก (Teaching Activities And Teaching Environment In Clinical Setting In Gerontological Nursing Of Nursing Instructors, Nursing College Under The Jurisdiction Of Prabaromarajchanok Institute), วาสนา ฉัตรเวทิน, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Jan 2000

การจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อม การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ของอาจารย์พยาบาล ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก (Teaching Activities And Teaching Environment In Clinical Setting In Gerontological Nursing Of Nursing Instructors, Nursing College Under The Jurisdiction Of Prabaromarajchanok Institute), วาสนา ฉัตรเวทิน, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมการเรียนการ สอนภาคปฏิบัติวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ของอาจารย์พยาบาล ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำแนกตาม อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการสอน และการได้รับการฝึกหรืออบรมเกี่ยวกับการพยาบาลผู้สูงอายุ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คืออาจารย์ พยาบาลซึ่งเป็นผู้จัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่ผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาและมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 \nผลการวิจัยพบว่าอาจารย์พยาบาลจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาการ พยาบาลผู้สูงอายุในขั้นวางแผน ขั้นดำเนินการ และขั้นประเมินผล อยู่ในระดับสูง ( X = 4.25, 4.05, 4.10 ตามลำดับ) สภาพแวดล้อมการเรียนการสอนทางกายภาพอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.31) และ สภาพแวดล้อมทางจิตใจและสังคมอยู่ในระดับสูง (X = 3.90) การจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อม การเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุของอาจารย์พยาบาล จำแนกตามอายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการสอน และการได้รับการศึกษาหรืออบรมเกี่ยวกับการพยาบาลผู้สูงอายุไม่แตกต่างกัน การจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อม การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สามารถอธิบายได้ดังนี้ ในขั้นวางแผน อาจารย์พยาบาลมีการประชุมปรึกษาและศึกษาถึงลักษณะวิชา วัตถุประสงค์ของวิชา พร้อมทั้งวางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ และประสานงานกับแหล่งฝึกภาคปฏิบัติ ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ในขั้นดำเนินการ พบว่าอาจารย์พยาบาลใช้วิธีการสอนหลาย วิธีผสมผสานกัน และมีการกำหนดให้นักศึกษาจัดกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุหรือสถานสงเคราะห์ เพื่อ ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ในขั้นการประเมินผล พบว่าเกณฑ์การประเมินผลและวิธีการประเมินผล ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของอาจารย์พยาบาล สําหรับ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ พบว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในโรงพยาบาล ขาดอุปกรณ์ที่ เอื้อต่อการพยาบาลผู้สูงอายุ แต่ภายในสถานสงเคราะห์มีความเหมาะสมมากกว่า และสภาพแวดล้อม ทางจิตใจและสังคม พบว่าอาจารย์พยาบาล พยาบาลประจําการและนักศึกษาพยาบาลมีสัมพันธภาพที่ดี ต่อกัน