Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 36

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การใช้เทคนิค การปฏิสนธินอกร่างกายเพื่อตรวจสอบความสามาถในการปฏิสนธิของพ่อพันสุกรพันธุ์, มงคล เตชะกำพุ, วิชัย ทันตศุภารักษ์, วันเพ็ญ อดุลยานุภาพ Dec 1999

การใช้เทคนิค การปฏิสนธินอกร่างกายเพื่อตรวจสอบความสามาถในการปฏิสนธิของพ่อพันสุกรพันธุ์, มงคล เตชะกำพุ, วิชัย ทันตศุภารักษ์, วันเพ็ญ อดุลยานุภาพ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อนำวิธีการปฏิสนธินอกร่างกายมาทดสอบความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อ สุกรนำน้ำเชื้อที่รีดจากพ่อสุกรพันธุ์ดูร็อค ลาร์จไวท์ และแลนด์เรซ ที่ใช้อยู่ในฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์ จำนวน สายพันธุ์ละ 3 ตัว มาปฏิสนธิกับโอโอไซต์ที่เก็บมาจากรังไข่ของสุกรสาวและนำมาเลี้ยงไว้เพื่อให้พร้อมปฏิสนธิ โดยเลี้ยงรวมกันนาน 18 ชม. ที่อุณหภูมิ 39 °C ในบรรยากาศ 5% คาร์บอนไดออกไซด์ แล้วนำตัวอ่อนที่ได้ไป เลี้ยงในน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อนชนิดที่ซีเอ็ม 199 ผสมกับ 20% ฟิตัล คาล์ฟ ซีรั่ม นาน 5 วัน เพื่อตรวจดูการแบ่ง ตัวของตัวอ่อน จากการศึกษาพบว่าพ่อพันธุ์สุกรแต่ละตัวในแต่ละพันธุ์ มีอัตราความสำเร็จในการปฏิสนธิ คือ อัตราการแบ่งตัวและอัตราการพัฒนาของตัวอ่อนเป็นระยะมอรูล่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.001 และ P<0.05 ตามลำดับ) ในกรณีที่ไม่พบความแตกต่างของอัตราการแบ่งตัวในระยะแรกระหว่างพ่อสุกรแต่ละตัว อัตราการพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะมอรูล่าใช้แยกความแตกต่างของคุณภาพน้ำเชื้อได้ ผลการทดลองนี้สรุปได้ว่าสามารถประยุกต์เทคนิคการปฏิสนธินอกร่างกายมาใช้เพื่อทดสอบความสามารถในการปฏิสนธิของพ่อสุกรพันธุ์ได้


Small Intestinal Adenocarcinoma In A Dog: A Case Report, Saroj Chanyapat, Saravuth Konboon, Anudep Rungsipipat, Roongroje Thanawongnuwech Dec 1999

Small Intestinal Adenocarcinoma In A Dog: A Case Report, Saroj Chanyapat, Saravuth Konboon, Anudep Rungsipipat, Roongroje Thanawongnuwech

The Thai Journal of Veterinary Medicine

A9-year-old female Shih Tzu dog was presented with a 3-day history of anorexia, depression, vomiting, and watery diarrhea. The clinical symptoms progressed continuously until the dog died, 3 days after admission. At necropsy numerous white nodules of various sizes were found in the small intestine, particularly the ileum. Microscopically, the mass revealed diffused, infiltrative growth of a well-differentiated adenocarcinoma invading the submucosa and muscular layers of the small intestinal wall. The mass was characterized by an acinar or tubular pattern with mucin in the lumen. The tumor cells were atypical cuboidal pleomorphic columnar epithelial cells with hyperchromatic round medium-sized nuclei …


รายงานสัตว์ป่วย : ภาวะต่อมหมวกไตส่วนนอกทำงานเกินร่วมกับการเกิดเบาหวานและตัววายในสุนัข, ชลลดา บูรณกาล, อนุศักดิ์ กิจถาวรรัตน์, ไพวิภา กมลรัตน์, อัจฉริยา ไศละสูต Dec 1999

รายงานสัตว์ป่วย : ภาวะต่อมหมวกไตส่วนนอกทำงานเกินร่วมกับการเกิดเบาหวานและตัววายในสุนัข, ชลลดา บูรณกาล, อนุศักดิ์ กิจถาวรรัตน์, ไพวิภา กมลรัตน์, อัจฉริยา ไศละสูต

The Thai Journal of Veterinary Medicine

รายงานการเกิดภาวะ Cushing's syndrome ในสุนัขพันธุ์พุดเดิลขนาดเล็ก เพศเมีย อายุ 7 ปี ซึ่งมา รักษาที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากการตรวจพบว่าสุนัขมีช่อง ท้องขยายใหญ่และมีขนร่วง 2 ข้างของลำตัว สุนัขแสดงอาการปัสสาวะและดื่มน้ำมาก จากการตรวจนับเม็ด เลือดพบว่า เม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte และ eosinophil ลดลง การตรวจทางชีวเคมีในเลือดพบเอนไซม์ alanine aminotransferase และ alkaline phosphatase เพิ่มขึ้นร่วมกับการเพิ่มขึ้นของกลูโคส คลอเรสเตอรอล และปริมาณโซเดียม จากการตรวจโดยการเอกซเรย์ช่องท้องพบมีการขยายใหญ่ของตับ การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ พบมีการขยายใหญ่ของต่อมหมวกไตทั้ง 2 ข้าง สุนัขได้รับการทดสอบโดยการฉีด dexamethazone ขนาดต่ำและสูงตามลำดับ เพื่อเป็นการทดสอบและแยกภาวะ Cushing syndrome ว่ามีสาเหตุมาจากต่อมใต้ สมองหรือจากต่อมหมวกไตเอง จากผลการทดลองชี้แนะว่าสุนัขเป็น Cushing's syndrome ชนิดที่มีความผิด ปกติของต่อมใต้สมอง (pituitary dependent adrenocorticism) สุนัขเสียชีวิต 1 เดือน ภายหลังจากที่ได้รับการ รักษาที่โรงพยาบาล และได้ทําการชันสูตร ผลจากการตรวจทางจุลพยาธิวิทยา พบว่าต่อมหมวกไตทั้ง 2 ข้าง มีการเจริญขยายใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ยังพบพยาธิสภาพที่อวัยวะอื่น ๆ รวมทั้งตับและตับอ่อน ซึ่งพยาธิสภาพ ดังกล่าวพบในสุนัขที่เป็น canine Cushing's syndrome


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Dec 1999

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Defence Mechanisms And The Modulation Of Immune Responses In The Bovine Udder, Chaidate Inchaisri Dec 1999

Defence Mechanisms And The Modulation Of Immune Responses In The Bovine Udder, Chaidate Inchaisri

The Thai Journal of Veterinary Medicine

เต้านมอักเสบในโคเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การตอบสนองของภูมิคุ้มกันเป็นขบวนการในการป้องกันตนเองที่สำคัญต่อการรุกรานของจุลินทรีย์ที่เข้ามา ในเต้านม โดยทั่วไปกลไกการป้องกันตนเองของเต้านม ประกอบด้วย ลักษณะทางกายวิภาคของเต้านม ระบบภูมิคุ้ม กันชนิดเซลล์ และระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่เกี่ยวข้องกับเซลล์โดยตรง ลักษณะรูหัวนม และการรีดนมออกเป็นขบวนการ ป้องกันที่สามารถลดการติดเชื้อที่เต้านม เซลล์แมคโครเฟจ และ นิวโทรฟิลล์สามารถเก็บกินเชื้อที่ก่อโรคในเต้านม นอกจากนั้น ในระบบภูมิคุ้มกันเซลล์แมคโครเฟจยังสามารถหลั่งสารสื่ออักเสบ และ ถ่ายทอดสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับ แอนติเจนให้กับเซลล์อื่นๆ ลิมโฟไซด์ ทั้ง บีเซลล์ และ ทีเซลล์ มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันในเต้านมเช่นเดียว กัน ระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่เกี่ยวข้องกับเซลล์โดยตรง ได้แก่ แอนติบอดี แลคโตเฟอริน ไลโซไซม์ ระบบคอมพลิเมนท์ และระบบเอนไซม์แลคโตเปอร์ออกซิเดส/ไธโอไซยาเนท/ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น ระบบป้องกันตนเองของเต้า นมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ในช่วงแรกหลังระยะพักนม และในช่วงคลอดที่มีการกดของระบบภูมิคุ้มกัน ในช่วงเหล่า นี้จึงเป็นช่วงที่มีความไวต่อการติดเชื้อเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันการป้องกันเต้านมอักเสบยังไม่มีวิธีใดที่สามารถลดปัญหา นี้ได้ การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในเต้านม เช่น โดยการใช้วัคซีน ไซโตคีนส์ โสม หรือ กลูแคน อาจลดปัญหาเหล่านี้


Ultrasound Diagnosis, Phiwipha Kamonrat Dec 1999

Ultrasound Diagnosis, Phiwipha Kamonrat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


การศึกษาความชุกของการเกิดภาวะโลหิตจางที่มีผลมาจากภูมิคุ้มกันในสุนัขในประเทศไทย, รสมา ภู่สุนทรธรรม, คณิศักดิ์ อรวะกุล, สุภัทรา ยงศิริ, ศริยา วิโรจน์รัตน์, สุวิชา จุฑาเทพ, ธีวัฒน์ สว่างจันทร์อุทัย Dec 1999

การศึกษาความชุกของการเกิดภาวะโลหิตจางที่มีผลมาจากภูมิคุ้มกันในสุนัขในประเทศไทย, รสมา ภู่สุนทรธรรม, คณิศักดิ์ อรวะกุล, สุภัทรา ยงศิริ, ศริยา วิโรจน์รัตน์, สุวิชา จุฑาเทพ, ธีวัฒน์ สว่างจันทร์อุทัย

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ทำการศึกษาความชุกของการเกิดภาวะโลหิตจางที่มีผลมาจากภูมิคุ้มกันในสุนัขในประเทศไทยโดยทำการศึกษาย้อนหลังจากค่าโลหิตวิทยาของสุนัขซึ่งมีประวัติแสดงอาการโลหิตจาง และมีค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่น ต่ำกว่าร้อยละ 29 ที่เข้ามารับการรักษา ณ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลินิกและโรงพยาบาล สัตว์เอกชน ในระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงกันยายน 2541 จำนวน 55 ตัวและทําการศึกษาไปข้างหน้า ในสุนัขที่สงสัย ภาวะโลหิตจางเนื่องจากภูมิคุ้มกันในระหว่างเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม 2541 จำนวน 13 ตัว ผลการศึกษาพบว่าความ ชุกของการเกิดภาวะโลหิตจางที่มีผลมาจากภูมิคุ้มกันในสุนัขกลุ่มที่ 1 เท่ากับ 5.45% เนื่องจากตรวจพบเซลล์เม็ดเลือด Spherocyteและพบการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดงในน้ำเกลือ พันธุ์สุนัขที่ตรวจพบว่ามีภาวะโลหิตจางมากที่สุด คือพันธุ์ผสม 70.90% (40/55) โดยมีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1.6:1 ช่วงอายุที่พบมากในสุนัขกลุ่มนี้คือ ระหว่าง 2-8 ปี พบ 30.19% (17/55) ส่วนในกลุ่มที่ 2 ทำการศึกษาไปข้างหน้า พบว่าความชุกของการเกิดภาวะโลหิต จางที่มีผลมาจากภูมิคุ้มกันในสุนัขที่ให้ผลบวกต่อการทดสอบด้วยวิธีปาเป็น 76.92% (10/13) พันธุ์ที่พบมากที่สุดคือ สุนัขพันธุ์ผสม 50% (5/10) โดยมีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1.5.1 สำหรับช่วงอายุที่พบมากในสุนัขกลุ่มนี้คือ 2-8 ปี พบ 80% (8/10) อาการทางคลินิกพบว่า สุนัขทั้งหมด ซึม เบื่ออาหาร เยื่อเมือกซีด อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ อ่อนแรง 80% (8/10) ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ 80% (6/10) อาเจียน 50% (5/10) มีไข้ 40% (4/10) และหายใจเร็ว 40% (4/10) เมื่อนำสุนัขในกลุ่มที่ 2 นี้จำนวน 5 ตัวมาทำการทดสอบด้วยวิธีคูม ได้ผลบวกจำนวน 2 ตัวบ่งชี้ถึงการเกิดภาวะโลหิตจางเนื่องจากภูมิคุ้มกันในสุนัข


Ecg Ouiz, Chollada Buranakarl, Kris Angkanaporn, Phiwipa Kamonrat Dec 1999

Ecg Ouiz, Chollada Buranakarl, Kris Angkanaporn, Phiwipa Kamonrat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


ผลของความถี่ในการรีดเก็บน้ำเชื้อต่อคุณภาพน้ำเชื้อสุนัขไทยหลังอาน, เตือนตา ชาญศิลป์, สมชาย โอฬารกนก Dec 1999

ผลของความถี่ในการรีดเก็บน้ำเชื้อต่อคุณภาพน้ำเชื้อสุนัขไทยหลังอาน, เตือนตา ชาญศิลป์, สมชาย โอฬารกนก

The Thai Journal of Veterinary Medicine

สุนัขพ่อพันธุ์ไทยหลังอานอายุ 18- 24 เดือน จำนวน 5 ตัว ถูกรีดเก็บน้ำเชื้อด้วยการกระตุ้นด้วยนิ้วมือรวม 80 ครั้ง โดยการรีดเก็บน้ำเชื้อแบ่งเป็น 4 ช่วงเวลา ๆ ละ 20 ครั้ง คือ รีดเก็บน้ำเชื้อทุกวัน ทุก 2 วัน ทุก 3 วัน และทุก 4 วัน พบว่าช่วงเวลาของความถี่ในการรีดเก็บน้ำเชื้อมีอิทธิพลต่อคุณภาพน้ำเชื้อเกือบทุกลักษณะ (P<0.05) ยกเว้น ปริมาตร การรีดเก็บน้ำเชื้อทุก 2 วัน มีผลทำให้ความเข้มข้นของตัวอสุจิและจำนวนตัวอสุจิ / การหลั่งน้ำเชื้อมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 0.153 ± 0.221 x 10 ตัว / มล. และ 1884.45 ± 1994.50 x 10 ตัว ตามลำดับ ส่วนความผิดปกติ ของตัวอสุจิและเปอร์เซ็นต์ตัวตายของตัวอสุจิพบน้อยที่สุดที่ช่วงเวลาการรีดเก็บน้ำเชื้อทุก 3 วัน โดยมีค่าเฉลี่ยความผิด ปกติของตัวอสุจิ และเปอร์เซ็นต์ตัวตายของตัวอสุจิเท่ากับ 6.18 ± 2.68 และ 5.20 ± 3.03% ตามลำดับ สำหรับอัตรา การเคลื่อนไหวเฉพาะตัวของตัวอสุจิ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) ระหว่างการรีดเก็บทุก 2 วัน และทุก 3 วัน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 87.75 ± 4.72 และ 87.75 ± 4.13 % ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ช่วงเวลา ของความถี่ในการรีดเก็บน้ำเชื้อมีผลต่อคุณภาพน้ำเชื้อโดยช่วงเวลาที่เหมาะสมของความถี่ในการรีดเก็บน้ำเชื้อสุนัขไทยหลังอานคือ รีดเก็บน้ำเชื้อทุก 2-3 วัน


ผลของระยะเวลาในการเก็บรักษาน้ำเชื้อที่อุณหภูมิ 15 ⁰C และ 5 ⁰C ต่อความสำเร็จในการปฏิสนธินอกร่างกายของสุกร, จงกลวรรณ มุสิกทอง, มงคล เตชะกำพุ, จินดา สิงห์ลอ Sep 1999

ผลของระยะเวลาในการเก็บรักษาน้ำเชื้อที่อุณหภูมิ 15 ⁰C และ 5 ⁰C ต่อความสำเร็จในการปฏิสนธินอกร่างกายของสุกร, จงกลวรรณ มุสิกทอง, มงคล เตชะกำพุ, จินดา สิงห์ลอ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ต้องการนำเทคนิคการปฏิสนธินอกร่างกายมาใช้เพื่อเปรียบเทียบอัตรา ความสำเร็จในการปฏิสนธิโดยใช้น้ำเชื้อสดซึ่งเก็บที่อุณหภูมิ 15 °C และ 5 °C เป็นระยะเวลา 0, 2, 4, 6 วัน โดยทําการรีดน้ำเชื้อจากพ่อสุกรพันธุ์ 2 ตัว ที่มีน้ำเชื้อคุณภาพดี (สุกร เอ สายพันธุ์ดูร็อคและสุกร บี สายพันธุ์ ลาร์จไวท์) เพื่อนำไปปฏิสนธิภายนอกร่างกายกับโอโอไซต์ที่เก็บจากรังไข่ของสุกรสาว แล้วนำตัวอ่อนประมาณ 10% ของกลุ่มที่ได้จากการปฏิสนธิด้วยน้ำเชื้อที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 15 °C และ 5 °C ตามระยะเวลาต่าง ๆ มา ย้อมสีอาซิโต-ออซิน เพื่อสังเกตอัตราการปฏิสนธิ ส่วนตัวอ่อนที่เหลือนำมาเลี้ยงในน้ำเพาะเลี้ยงเพื่อตรวจดู อัตรา การแบ่งตัวของตัวอ่อน ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเก็บรักษาน้ำเชื้อที่อุณหภูมิ 15 °C อัตราการแบ่งตัวของ ตัวอ่อนลดลงตามระยะเวลาที่เก็บรักษาน้ําเชื้อ (P<0.05, P<0.01 และ P<0.001) โดยอัตราการแบ่งตัวของ ตัวอ่อนเมื่อใช้น้ำเชื้อจากพ่อสุกร บี มีแนวโน้มสูงกว่าเมื่อใช้น้ำเชื้อจากสุกร เอ แต่ผลนี้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการใช้น้ำเชื้อของพ่อสุกร บี พบว่าอัตราการแบ่งตัวของตัวอ่อนของน้ําเชื้อเก็บที่ อุณหภูมิ 5 °C เป็นระยะเวลา 0, 2, 4, 6 วัน มีค่าต่ำกว่าของน้ำเชื้อไว้ที่อุณหภูมิ 15 °C (P< 0.01) โดยระยะ เวลาในการเก็บน้ำชื้อไม่มีผลกระทบต่ออัตราการแบ่งตัวของตัวอ่อนเมื่อเก็บน้ำเชื้อไว้ที่อุณหภูมิ 5 °C ผลการ วิจัยนี้แสดงว่าระยะเวลาการเก็บน้ำเชื้อของสุกรที่อุณหภูมิ 15 °C มีผลต่ออัตราการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย แต่ผลดังกล่าวไม่พบในกรณีที่เก็บน้ําเชื้อไว้ที่อุณหภูมิ 5°C


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Sep 1999

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


การแยกเชื้อยูเรียพลาสมาจากน้ำเชื้อและน้ำยาล้างหนังหุ้มลึงค์พ่อโค, ทิพา ตันติเจริญยศ, มุขดา รัตนภาสกร, อภัสสรา วรราช, วัชรชัย ณรงค์ศักดิ์ Sep 1999

การแยกเชื้อยูเรียพลาสมาจากน้ำเชื้อและน้ำยาล้างหนังหุ้มลึงค์พ่อโค, ทิพา ตันติเจริญยศ, มุขดา รัตนภาสกร, อภัสสรา วรราช, วัชรชัย ณรงค์ศักดิ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

เพาะเชื้อยูเรียพลาสมาจากน้ำชะล้างหนังหุ้มลึงค์น้ำเชื้อสดและน้ำเชื้อที่ใส่ยาปฏิชีวนะของพ่อพันธุ์ โคนมด้วย Taylor-Robinson (TR) medium พบว่าตัวอย่างที่มีเชื้อยูเรียพลาสมาจะเปลี่ยนสีของ phenol red ใน TR broth จากสีส้มเป็นสีแดงหรือชมพู ปริมาณที่วัดได้เป็น colour changing unit (CCU/ml) โคโลนีของ เชื้อยูเรียพลาสมา จาก TR agar มีลักษณะใสและขนาดเล็ก เมื่อย้อมด้วยสารละลายแมงกานีสคลอไรด์ (MnCl2) โคโลนีของยูเรียพลาสมาจะเป็น dust-liked colony ติดสีน้ำตาล-ดำ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของ U. diversum ผลการตรวจเชื้อยูเรียพลาสมาจากน้ำชะล้างหนังหุ้มลึงค์ของพ่อโคพบ 75% ในน้ำเชื้อสด 94% ค่าพิสัย 10 - 100 CCU/ml และ 10 - 10 CCU/ml ตามลำดับ แต่ในน้ำเชื้อที่ใส่ยาปฏิชีวนะพบว่าเหลือเพียง 30% ค่าพิสัย 10 - 10 CCU/ml ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดโรค


การเปรียบเทียบผลในการระงับปวดของ Bupivacaine Hci ภายหลังการผ่าตัดช่องอกสุนัข, ปรีณัน จิตะสมบัติ, มาริษศักษ์ กัลล์ประวิทธ์, อติชาติ พรหมาสา Sep 1999

การเปรียบเทียบผลในการระงับปวดของ Bupivacaine Hci ภายหลังการผ่าตัดช่องอกสุนัข, ปรีณัน จิตะสมบัติ, มาริษศักษ์ กัลล์ประวิทธ์, อติชาติ พรหมาสา

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การเปรียบเทียบผลในการระงับปวดของ 0.5% bupivacaine HCI ภายหลังการผ่าตัดช่องอกระหว่าง ซี่โครงที่ 4 และ 5 ในสุนัขเพศผู้ จำนวน 20 ตัว โดยแบ่งสุนัขออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับการฉีดยาชา bupivacaine HCI 0.5 มิลลิลิตร และกลุ่มที่สองได้รับการฉีดยาชา bupivacaine HCl 1.0 มิลลิลิตร บริเวณ intercostal nerves ที่ 2, 3, 4, 5 และ 6 ทันทีภายหลังเย็บปิดช่องอก สังเกตพฤติกรรมของสุนัข ตรวจวัด อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจและความดันโลหิตในหลอดเลือดแดง ก่อนและภายหลังการผ่าตัดที่ 0, 2, 4, 6, 8, 10 และ 24 ชั่วโมง เพื่อนำมาคิดเป็นคะแนนแสดงความเจ็บปวด (pain score) ตรวจวัด blood gas ที่ 2 และ 6 ชั่วโมง และวัดอุณหภูมิของร่างกายทุกช่วงเวลาของการวัดความดันโลหิตภายหลังการผ่าตัด กลุ่มที่ได้รับ 1.0 มิลลิลิตรมี pain score เฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับ 0.5 มิลลิลิตร แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ทุกช่วงเวลาที่ทำการวัด อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตในหลอดเลือดแดง PaO2, PaCO2, HCO3 และ pH ของเลือดสุนัขทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ที่ทุกช่วงเวลาของการวัด ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของอัตราการหายใจของกลุ่มที่ได้รับ bupivacaine HCI 0.5 มิลลิลิตร สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ ยา 1.0 มิลลิลิตร อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ภายหลังการผ่าตัด 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามพบ hypoxemia 26.6% และ 30% จากการตรวจวัด PaO2 20 ครั้งในกลุ่มที่ได้รับ bupivacaine 1.0 มิลลิลิตร และ 0.5 มิลลิลิตร ตามลำดับ


Ecg Ouiz, Chollada Buranakarl, Kris Angkanaporn, Phiwipa Kamonrat Sep 1999

Ecg Ouiz, Chollada Buranakarl, Kris Angkanaporn, Phiwipa Kamonrat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอรโรนในซีรั่มและน้ำเลี้ยงอสุจิของสุนัขหลังการทำหมันโดยวิธีตัดหลอดนำน้ำอสุจิ, กัลยาณี ตันศฤงฆาร, ชัยณรงค์ โลหชิต, ประโยชน์ ตันติเจริญยศ, จินดา สิงห์ลอ, เบญจภรณ์ รุ่งพิทักษ์ไชย Sep 1999

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอรโรนในซีรั่มและน้ำเลี้ยงอสุจิของสุนัขหลังการทำหมันโดยวิธีตัดหลอดนำน้ำอสุจิ, กัลยาณี ตันศฤงฆาร, ชัยณรงค์ โลหชิต, ประโยชน์ ตันติเจริญยศ, จินดา สิงห์ลอ, เบญจภรณ์ รุ่งพิทักษ์ไชย

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ทำหมันสุนัขลูกผสมพื้นเมืองเพศผู้จำนวน 12 ตัว ด้วยวิธีตัดหลอดนำน้ําอสุจิ พบว่าระดับฮอร์โมน เทสโทสเตอโรนในซีรั่ม และในน้ำเลี้ยงอสุจิไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต เมื่อเปรียบเทียบ กับก่อนทำหมัน และพบว่าระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในซีรั่ม มีค่าสูงกว่าในน้ำเลี้ยงอสุจิในระดับ 30-70 เท่า และนอกจากนี้ยังพบว่าการทำหมันด้วยวิธีนี้ ไม่ทําให้สุนัขมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและไม่ทำให้พฤติกรรม ของสุนัขเปลี่ยนไป


Random Amplified Polymorhic Dna (Rapd) Technology As Useful Tool For Bacterial Typing, Niwat Chansiripornchai, Piyart Subhachalat Sep 1999

Random Amplified Polymorhic Dna (Rapd) Technology As Useful Tool For Bacterial Typing, Niwat Chansiripornchai, Piyart Subhachalat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Traditional and molecular genetic typing techniques have been used for discriminating the clonal relationships of bacterial strains. Traditional typing techniques based on phenotypic characteristics such as serotyping are being increasingly replaced by the use of DNA-based methods. The polymerase chain reaction (PCR) has led to typing techniques based on DNA amplification. Randomly amplified polymorphic DNA (RAPD) typing (Arbitrarily Primed-Polymerase Chain Reaction, APPCR) is one of the techniques which is being used increasingly to type micro-organisms, especially during clinical outbreaks. The theoretical aspects and the critical parameters that affect typing and results of RAPD typing are discussed in the text.


Ultrasound Diagnosis, Phiwipha Kamonrat Sep 1999

Ultrasound Diagnosis, Phiwipha Kamonrat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


รายงานการตรวจพบเชื้อ Circovirus ในสุกรในประเทศไทย, รชฏ ตันติเลิศเจริญ, วิจิต เกียรติพัฒนสกุล, รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช Sep 1999

รายงานการตรวจพบเชื้อ Circovirus ในสุกรในประเทศไทย, รชฏ ตันติเลิศเจริญ, วิจิต เกียรติพัฒนสกุล, รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช

The Thai Journal of Veterinary Medicine

สุกรอายุ 7 ถึง 9 สัปดาห์จากฟาร์มแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ป่วยแสดงอาการหายใจกระแทก ถ่ายเหลว ซูบผอม ถูกส่งเพื่อชันสูตรโรค ณ โรงพยาบาลปศุสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พบรอยโรคต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกายขยายใหญ่ 3 ถึง 4 เท่าจากปกติ ลำไส้อักเสบ ปอดอักเสบ แบบ cranioventral pneumonia และ multifocal to diffuse interstitial pneumonia และพบการเสื่อมสลาย ของเนื้อเยื่อน้ำเหลืองร่วมกับการตรวจพบ intracytoplasmic inclusion bodies จำนวนมากในเซลล์ macro-phage ในต่อมทอนซิล ต่อมน้ำเหลือง และ Peyer's patch ในลำไส้ ซึ่งพบว่าเป็นอนุภาคคล้ายไวรัสขนาด 14-18 นาโนเมตรโดยการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นเชื้อ porcine circovirus ด้วยวิธีการทางอิมมูโนฮีสโตเคมี ซึ่งเป็นการพบหลักฐานการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ในสุกรเป็นครั้งแรกในประเทศไทย


การใช้เยื่อหุ้มไข่ขาวเย็บเปิดแผลหลุมลึกที่กระจกตาสุนัข, ภาสกร พฤกษะวัน, เธียร ทองก้อนใหญ่, ฐิติวัฒน์ จันทวร, กัมปนาท สุนทรวิภาต, นลินี ตันติวนิช, ปราณี ตันติวนิช Jun 1999

การใช้เยื่อหุ้มไข่ขาวเย็บเปิดแผลหลุมลึกที่กระจกตาสุนัข, ภาสกร พฤกษะวัน, เธียร ทองก้อนใหญ่, ฐิติวัฒน์ จันทวร, กัมปนาท สุนทรวิภาต, นลินี ตันติวนิช, ปราณี ตันติวนิช

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาผลของการใช้เยื่อหุ้มไข่ขาวเย็บปิดแผลหลุมลึกที่กระจกตาในสุนัขทดลอง 5 ตัวที่ถูกทำให้ เกิดแผลหลุมลึกที่กระจกตาด้วย trephine ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.45 เซนติเมตร แล้วนำเยื่อหุ้มไข่ขาวมา เย็บติดกับกระจกตาด้วยวิธี simple interrupted และ figure of eight ทำการตรวจตาสุนัขทุกสัปดาห์เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าสุนัขทุกตัวมีการอักเสบของเยื่อตาขาว มีน้ำตาไหล มีเส้นเลือดมาเลี้ยงที่ กระจกตา กระจกตาขุ่น กลัวแสง เยื่อหุ้มไข่ขาวหลุดออกจากกระจกตาระหว่างสัปดาห์ที่ 3-6 กระจกตาหายเป็นปกติและสัตว์สามารถมองเห็นได้ภายใน 6-10 สัปดาห์หลังผ่าตัด


การรักษาโรคเยื่อตาขาวและกระจกตาอักเสบชนิดแห้ง (โรคกระจกตาแห้ง) ในสุนัข, นลินี ตันติวนิช, กัมปนาท สุนทรวิภาต, ทัศริน ศิวเวชช, ปราณี ตันติวนิช Jun 1999

การรักษาโรคเยื่อตาขาวและกระจกตาอักเสบชนิดแห้ง (โรคกระจกตาแห้ง) ในสุนัข, นลินี ตันติวนิช, กัมปนาท สุนทรวิภาต, ทัศริน ศิวเวชช, ปราณี ตันติวนิช

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การรักษาโรคเยื่อตาขาวและกระจกตาอักเสบชนิดแห้ง (โรคกระจกตาแห้ง) ในสุนัข จำนวน 27 ตัว ทุกตัวมีอาการกลัวแสง เยื่อตาขาวและกระจกตาอักเสบ กระจกตาขุ่น มีขี้ตาขาว-เหลือง หรือสีเขียวที่ขอบตา มีเส้นเลือดมาที่กระจกตา บางตัวกระจกตามีเม็ดสีดำหรือน้ำตาลมาเกาะ บางตัวมีแผลหลุมตื้นที่กระจกตา สุนัขทุกตัวได้รับการรักษาโดยหยอดตาด้วยเจนต้ามายซิน ส่วนผสมของนีโอมายซิน โพลีมิกซิน และ เด็กซ่า เมทาโซล น้ำตาเทียม พิโลคาร์ปืน และ ไซคโลสโปริน เอ พร้อมทั้งให้กินวิตามินเอ และแอสไพริน หลังจาก ให้การรักษานานประมาณ 3-12 เดือน ปริมาณของน้ำตาที่เพิ่มขึ้นมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.005) สุนัขทุกตัวมีอาการหายเป็นปกติ ยกเว้นเม็ดสีดำหรือน้ำตาลที่เกาะที่กระจกตา


The Development Of Embryo Technogies For Swam Buffalo Reproduction In Thailand, Mongkol Techakumphu Jun 1999

The Development Of Embryo Technogies For Swam Buffalo Reproduction In Thailand, Mongkol Techakumphu

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The objectives of embryo technologies development is to conserve the high genetic value swamp buffalo. Various fields of researches such as superovulation by gonadotropin hormone stimulation,. preimplantation embryonic development, embryo collection and transfer techniques, induction of twinning, cryopreservation of swamp buffalo embryos, follicular stimulation in prepubertal swamp buffalo calves and in vitro fertilization were well developped. Future studies in vitrification, embryo bank establishment, ovum pick up by ultrasounography and cloning technology are the field of interest in this species.


ระดับฮอร์โมนและความสมบูรณ์พันธุ์ในโคนมพันธุ์ผสม : สเตียรอยด์ และธัยรอยด์ฮอร์โมนระหว่างวงจรการเป็นสัดก่อนและหลังการผสทเทียม, ดวงนฤมล ประชันคดี, ประคอง ตังประพฤทธิ์กุล, อรรถยา เกียรติสุนทร, พรรณพิไล เสกสิทธิ์ Jun 1999

ระดับฮอร์โมนและความสมบูรณ์พันธุ์ในโคนมพันธุ์ผสม : สเตียรอยด์ และธัยรอยด์ฮอร์โมนระหว่างวงจรการเป็นสัดก่อนและหลังการผสทเทียม, ดวงนฤมล ประชันคดี, ประคอง ตังประพฤทธิ์กุล, อรรถยา เกียรติสุนทร, พรรณพิไล เสกสิทธิ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการวัดระดับในซีรั่มของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (P4) เอสตราไดออล (E2) คอร์ติซอล (C) ธัยรอกซิน (T4) และไตรไอโอโดธัยโรนีน (T3) ด้วยวิธีเรดิโออิมมิวโนเอสเสย์ ในวันที่ 0 (วันที่โคมีอาการเป็นสัด และได้รับการผสมเทียม) วันที่ 4 8 12 และ 16 ของวงจรการเป็นสัดก่อนและหลังการผสมเทียม ในโคนม พันธุ์ผสมกลุ่มผสมติดและกลุ่มผสมไม่ติด (จำนวนโค 5 ตัว ในแต่ละกลุ่มก่อนการผสมเทียม หลังการผสม เทียมโคกลุ่มผสมติดมีจำนวน 5 ตัว โคกลุ่มผสมไม่ติด มีจำนวน 2 ตัว) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ และ ปฏิกิริยาร่วมทางสถิติด้วยเจนเนอรัล ลิเนียร์ โมเดล และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยอีสท์สแควร์ พบว่าโคทั้งสอง กลุ่มมีระดับของโปรเจสเตอโรนต่ำสุด (P<0.01) ในวันที่ 0 ซึ่งไม่ต่างจากวันที่ 4 แต่โคกลุ่มผสมติดมีระดับ โปรเจสเตอโรนในวันที่ 8 12 และ 16 สูงกว่า โคกลุ่มผสมไม่ติด (P<0.01) โคกลุ่มผสมไม่ติดมีระดับของ เอสตราไดออลสูงกว่า (P<0.01) และระดับคอร์ติซอลมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าโคกลุ่มผสมติด โคทั้งสองกลุ่มมี ระดับของธัยรอกซิน (P<0.01) และไตรไอโอโดธัยโรนีนสูงสุดในวันที่โคมีอาการเป็นสัด


Ecg Ouiz, Chollada Buranakarl, Kris Angkanaporn, Phiwipa Kamonrat Jun 1999

Ecg Ouiz, Chollada Buranakarl, Kris Angkanaporn, Phiwipa Kamonrat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Ultrasound Diagnosis, Phiwipha Kamonrat Jun 1999

Ultrasound Diagnosis, Phiwipha Kamonrat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Jun 1999

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Streptococcuus Suis Isolated From Pigs In The Central Region Of Thailand, Indhira Kramomtong, Jira Kongkrong, Tarika Pramoolsinsap Jun 1999

Streptococcuus Suis Isolated From Pigs In The Central Region Of Thailand, Indhira Kramomtong, Jira Kongkrong, Tarika Pramoolsinsap

The Thai Journal of Veterinary Medicine

A total of 54 Streptococcus suis (S. suis) strains were isolated from 48 deceased pigs submitted for routine post mortem examination at the National Institute of Animal Health over a period of 1992-1995. The most isolations were from cases of meningitis and the less frequent ones were from septicemia, pneumonia, meningitis associated with pneumonia and abortion. A few strains were found in cases of arthritis, vaginitis, and abcessation. The age of pigs with meningitis was predominantly 4 - 8 weeks, while pigs with pneumonia were 5- 12 weeks old. Septicemia cases were usually seen in pigs aged 2 -14 weeks. …


Sevoflurane : ยาดมสลบที่น่าสนใจ, ปิยะรัตน์ ศุภชลัสถ์ สพ. ญ. ดร. Jun 1999

Sevoflurane : ยาดมสลบที่น่าสนใจ, ปิยะรัตน์ ศุภชลัสถ์ สพ. ญ. ดร.

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม Thai Industrial Standard มอก. 7001-2540 Cac/Rcp 38-1993, บรรณาธิการ Mar 1999

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม Thai Industrial Standard มอก. 7001-2540 Cac/Rcp 38-1993, บรรณาธิการ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


การแก้ปัญหาการผสมซ้ำในโคนมโดยวิธีล้างมดลูกด้วยน้ำเกลือผสมยาปฏิชีวนะ, สันติ ประสิทธิผล, ปราจีน วีรกุล, จันทร์เพ็ญ สุวิมลธีระบุตร Mar 1999

การแก้ปัญหาการผสมซ้ำในโคนมโดยวิธีล้างมดลูกด้วยน้ำเกลือผสมยาปฏิชีวนะ, สันติ ประสิทธิผล, ปราจีน วีรกุล, จันทร์เพ็ญ สุวิมลธีระบุตร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการชะล้างมดลูกด้วยน้ําเกลือผสมยาปฏิชีวนะอ๊อกซี่เตตร้า ซัยคลิน และผลต่ออัตราการผสมติดหลังการรักษาเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่าในฟาร์มโคนมรายย่อย โคนมผสมซ้ำที่ได้รับการรักษาโดยวิธีนี้ สามารถติดตั้งท้องภายหลังการผสมเทียมแล้ว 3 ครั้งมากกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กล่าวคือ โคกลุ่มรักษา จำนวน 39 ตัว ตั้งท้อง 22 ตัว (56.4%) และโคกลุ่มควบคุม จำนวน 39 ตัว ตั้งท้อง 12 ตัว (30.8%) ผลการทดลองแก้ไขการผสมซ้ำใน ฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ พบว่าให้ผลการรักษาได้ดี กล่าวคือในโคนมที่มีปัญหาผสมซ้ำ 12 ใน 19 ตัว (63.2%) พบว่าตั้งท้องภายหลังการรักษาแล้วเฉลี่ย 47 วัน (พิสัย 5-157 วัน) โดย 6 ตัว ติดตั้งท้องจากการผสมครั้งแรก การตรวจแยกเชื้อในมดลูกโคผสมซ้ำ 59 ตัวพบเชื้อแบคทีเรียในโค 48 ตัว (81.4 %) จำนวน 56 strains ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียที่ไม่ทำให้เกิดโรค (non-pathogenic) และไม่น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาการ ผสมซ้ำในโคนม ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงว่าการรักษาโคนมที่มีปัญหาผสมซ้ำโดยวิธีการชะล้างมดลูก ด้วยน้ำเกลือผสมยาปฏิชีวนะ สามารถแก้ไขให้โคนั้นติดตั้งท้องได้ดีในระยะเวลาสั้นภายหลังที่ได้รับการผสมเทียม และควรอบรมและส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่และนายสัตวแพทย์นำวิธีการนี้ไปปฏิบัติภาคสนาม


Ecg Ouiz, Chollada Buranakarl, Kris Angkannaporn, Phiwipa Kamonrat Mar 1999

Ecg Ouiz, Chollada Buranakarl, Kris Angkannaporn, Phiwipa Kamonrat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.