Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 27 of 27

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ศึกษาการบริหารการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยในยุคภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โรงพยาบาลศูนย์ (A Study Of Nursing Management Of Head Nurses In The Economic Crisis Situation, Regional Hospitals And Medical Centers), สุมาลี จักรไพศาล, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Sep 1999

ศึกษาการบริหารการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยในยุคภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โรงพยาบาลศูนย์ (A Study Of Nursing Management Of Head Nurses In The Economic Crisis Situation, Regional Hospitals And Medical Centers), สุมาลี จักรไพศาล, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยในยุคภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โรงพยาบาลศูนย์ ในด้านการวางแผน การจัดระบบงาน การอํานวยการ และ การควบคุมงาน เปรียบเทียบการบริหารการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยในยุคภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โรงพยาบาลศูนย์ จําแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในตำแหน่งบริหาร การได้รับการอบรม ทางการบริหาร และภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาล ศูนย์ 14 แห่ง จำนวน 287 คน ตอบแบบสอบถามการบริหารการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยใน ยุคภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 861 คน ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของหัวหน้า หอผู้ป่วย ดังกล่าวมาอย่างน้อย 1 ปี ตอบแบบสอบถามภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย เลือกกลุ่ม ตัวอย่างโดยวิธี การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามการบริหาร การพยาบาลของ หัวหน้าหอผู้ป่วยในยุคภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และแบบสอบถามภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหา และทดสอบความเที่ยงด้วยวิธีของครอนบาค มีค่าความเที่ยง 98 และ 96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สถิติทดสอบเอฟ สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบครุสคัล-วอลลิส ผลการวิจัยพบว่า การบริหารการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยในยุคภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ในด้านการวางแผน การ จัดระบบงาน การอำนวยการ และการ ควบคุม ต้องคำนึงถึงคุณภาพการบริการพยาบาล การประหยัด ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า คำนึงถึงความจำเป็น เป็นหลัก การบริหารการพยาบาลของหัวหน้า หอผู้ป่วยในยุคภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ใน ระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการ วางแผน การจัดระบบงาน การอำนวยการ และ การควบคุมงาน อยู่ในระดับมากเช่นกัน หัวหน้าหอ ผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ปฏิบัติการบริหารการพยาบาลในยุคภาวะวิกฤต เศรษฐกิจมากกว่าหัวหน้าหอผู้ป่วยที่มีระดับการ ศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หัวหน้าหอผู้ป่วย จำแนกตามประสบการณ์ในตำแหน่งบริหาร การได้รับ การอบรมทางการบริหาร และระดับภาวะ ผู้นำที่แตกต่างกัน ปฏิบัติการบริหารการพยาบาลในยุคภาวะ วิกฤตเศรษฐกิจไม่แตกต่างกัน


ปัญหาการนอนของผู้สูงอายุ, พวงเพ็ญ เจียมปัญญารัช Sep 1999

ปัญหาการนอนของผู้สูงอายุ, พวงเพ็ญ เจียมปัญญารัช

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


เทคนิคการเฝ้าระวังเพื่อการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย : บทบาทพยาบาล, สุกัญญา แสงมุกข์ Sep 1999

เทคนิคการเฝ้าระวังเพื่อการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย : บทบาทพยาบาล, สุกัญญา แสงมุกข์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เพื่อการเรียนการสอน, อนิรุทธ์ สติมั่น Sep 1999

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เพื่อการเรียนการสอน, อนิรุทธ์ สติมั่น

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ปกิณกะ : หลวงพระบางรำลึก, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Sep 1999

ปกิณกะ : หลวงพระบางรำลึก, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


Katanyu Katavedi And Caregiving For Frail Elderly Parents: The Perspectives Of Thai Families In Metropolitan Bangkok, Thailand, จิราพร เกศพิชญวัฒนา Sep 1999

Katanyu Katavedi And Caregiving For Frail Elderly Parents: The Perspectives Of Thai Families In Metropolitan Bangkok, Thailand, จิราพร เกศพิชญวัฒนา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

This study aimed to explicate and define Thai traditional cultural value of katanyu \nkatavedi in relation to caregiving for frail elderly parents from the perspectives of Thai families in Metropolitan Bangkok. A qualitative method, social setting analysis (Lofland & Lofland, 1995) was used by interviewing and observing 15 adult children who took care of \ntheir frail elderly parents. The concept of katanyu katavedi in relation to caregiving for elderly parents is structured by three dimensions which included bun khun of parents: total \nbenefits of parents have bestowed upon children, katanyu the sense of gratitude towards \nparents, and katavedi : the …


Conceptual And Methodological Issues In Family Research, ชนกพร หาญชาญชัยกุล Sep 1999

Conceptual And Methodological Issues In Family Research, ชนกพร หาญชาญชัยกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การศึกษากิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ของสถานบริการสาธารณสุข เขตกรุงเทพมหานคร (A Study Of Nursing Services Activities In Chronically Ill Patients For Continuing Care At Home Of Health Services Institutes, Bangkok Metropolitan Area), ประนอม รอดคำดี, ยุพิน เนียมแสง Sep 1999

การศึกษากิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ของสถานบริการสาธารณสุข เขตกรุงเทพมหานคร (A Study Of Nursing Services Activities In Chronically Ill Patients For Continuing Care At Home Of Health Services Institutes, Bangkok Metropolitan Area), ประนอม รอดคำดี, ยุพิน เนียมแสง

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมการพยาบาลเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน สําหรับผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติหรือความพิการของหัวใจแต่กำเนิด ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยทารกแรกเกิดที่มี ความผิดปกติของหัวใจและหน่วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต จํานวน 90 คน จากโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 7 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร และบิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็กจำนวน 10 คน ที่นำเด็กมารับการตรวจตามนัดที่คลินิกโรคหัวใจ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลวชิรพยาบาล และจากการสังเกต สัมภาษณ์บิดามารดาหรือผู้ดูแลเด็กที่บ้าน จำนวน 9 ราย เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบทดสอบพัฒนาการเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ


การให้การปรึกษา : บทบาทที่ท้าทายพยาบาลวิชาชีพ, วาสินี วิเศษฤทธิ์ May 1999

การให้การปรึกษา : บทบาทที่ท้าทายพยาบาลวิชาชีพ, วาสินี วิเศษฤทธิ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ปกิณกะ : ประสบการณ์การฝึกอบรมพยาบาลในแขวงจEปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ May 1999

ปกิณกะ : ประสบการณ์การฝึกอบรมพยาบาลในแขวงจEปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


Social Support In Pregnancy: A Concept Synthesis, สุกัญญา แสงมุกข์ May 1999

Social Support In Pregnancy: A Concept Synthesis, สุกัญญา แสงมุกข์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ และการประยุกต์ใช้ในการพยาบาล, ยุพิน อังสุโรจน์ May 1999

วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ และการประยุกต์ใช้ในการพยาบาล, ยุพิน อังสุโรจน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การหย่าร้าง, ชฎาภา ประเสริฐทรง May 1999

การหย่าร้าง, ชฎาภา ประเสริฐทรง

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


Managing Stress For Nursing Student, สุวรรณา อนุสันติ May 1999

Managing Stress For Nursing Student, สุวรรณา อนุสันติ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาและการตัดสินใจทำแท้ง, สุชาดา รัชชกูล May 1999

การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาและการตัดสินใจทำแท้ง, สุชาดา รัชชกูล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การทำแท้งในสังคมไทยเป็นการกระทําที่ไม่ได้รับการยอมรับทั้งทางกฎหมาย ศีลธรรม และ ทางสังคม แต่มีหญิงตั้งครรภ์จำนวนมากลักลอบทำแท้งโดยยอมเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต เสี่ยงต่อการถูก \nจับและเสี่ยงต่อการถูกประณามจากสังคม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคำอธิบายเกี่ยวกับเงื่อนไขที่นําไปสู่การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาและกระบวนการตัดสินใจทำแท้ง วิธีการศึกษาใช้การสัมภาษณ์ ระดับลึกจากหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 58 ราย เป็นหญิงที่ตัดสินใจทำแท้ง 38 ราย และหญิงที่ ตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อไป 20 ราย ผลการศึกษาโดยสรุป ค่านิยมและบรรทัดฐานทางสังคมไทยในเรื่อง มาตรฐานซ้อนทางเพศและความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่เสมอภาคระหว่างชายหญิง เป็นเงื่อนไขสำคัญ นำไปสู่การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนา หากผู้หญิงพิจารณาแล้วว่าการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อ ชีวิตให้ได้รับความเสียหายมากกว่าผลดี ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจเลือกทำแท้งมากกว่าตั้งครรภ์ต่อไป


ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการด้านกิจการนักศึกษา และด้านสภาพแวดล้อมของวิทยาลัย กับความสุขสมบูรณ์ ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, รัชชนก กลิ่นชาติ, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ May 1999

ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการด้านกิจการนักศึกษา และด้านสภาพแวดล้อมของวิทยาลัย กับความสุขสมบูรณ์ ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, รัชชนก กลิ่นชาติ, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขสมบูรณ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข หาความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการด้านกิจการนักศึกษา และด้าน สภาพแวดล้อมของวิทยาลัยกับความสุขสมบูรณ์ของนักศึกษาพยาบาลและศึกษาตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ ความสุขสมบูรณ์ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลจำนวน 604 คน ได้จากการ สุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามการดําเนินการด้านกิจการนักศึกษา แบบสอบถาม สภาพแวดล้อมของวิทยาลัย และแบบวัดความสุขสมบูรณ์ของนักศึกษา ได้รับข้อมูลในการวิเคราะห์ ร้อยละ 97.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ \nผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสุขสมบูรณ์โดยรวมและรายด้านของนักศึกษา พยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง งานวินัยนักศึกษา งานกิจกรรมนักศึกษา งานบริการหอพักนักศึกษา สภาพแวดล้อมที่มีชีวิต สภาพแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต และสภาพทางจิตสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวก กับความสุขสมบูรณ์โดยรวมของนักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตัวแปรที่ร่วม กันพยากรณ์ความสุขสมบูรณ์ของนักศึกษาพยาบาลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีความสำคัญตาม ลำดับดังนี้ สภาพแวดล้อมทางจิตสังคม และสภาพแวดล้อมที่มีชีวิต โดยร่วมกันพยากรณ์ ความสุข สมบูรณ์ของนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 11.70


ได้เวลาแล้วที่ต้องพัฒนา ระบบการควบคุมคุณภาพการศึกษาพยาบาล, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร May 1999

ได้เวลาแล้วที่ต้องพัฒนา ระบบการควบคุมคุณภาพการศึกษาพยาบาล, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ผู้หญิงกับ Hiv, สมมาตร ทรอย May 1999

ผู้หญิงกับ Hiv, สมมาตร ทรอย

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การนำทฤษฎีการดูแลมนุษย์ของวัทสันไปใช้ในการเรียนการสอนทางการพยาบาล, อารี ชีวเกษมสุข Jan 1999

การนำทฤษฎีการดูแลมนุษย์ของวัทสันไปใช้ในการเรียนการสอนทางการพยาบาล, อารี ชีวเกษมสุข

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ศึกษาความต้องการการสนับสนุนของผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในเขตกรุงเทพมหานคร (A Study Of Supporting Needs Of Caregivers Of Hiv Infected Person In Bangkok Metropolitan), พวงเพ็ญ ชุณหปราณ, สุรีพร ธนศิลป์, สัจจา ทาโต Jan 1999

ศึกษาความต้องการการสนับสนุนของผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในเขตกรุงเทพมหานคร (A Study Of Supporting Needs Of Caregivers Of Hiv Infected Person In Bangkok Metropolitan), พวงเพ็ญ ชุณหปราณ, สุรีพร ธนศิลป์, สัจจา ทาโต

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการสนับสนุน ด้านความรู้ ด้านเศรษฐกิจ ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านทรัพยากร ด้านแหล่งสนับสนุนและปัญหา การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี จํานวน 60 คน เลือกโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เทปและเครื่องบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จากคําสัมภาษณ์ที่ได้จากการถอดเทป เป็นรายบรรทัด เปรียบเทียบข้อความอย่างต่อเนื่อง จัดหมวดหมู่ข้อมูลไว้เป็นพวก ๆ เชื่อมโยง อธิบายความหมายของข้อความและสิ่งที่เกิดขึ้น และเสนอข้อความที่มีความหมาย ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ \nผู้ดูแลต้องการการสนับสนุนด้านความรู้ในเรื่องเชื้อที่ทําให้เกิดโรค อาการในระยะต่าง ๆ การ รักษา การติดต่อของโรค การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพราะความรู้ที่ผู้ดูแลมีอยู่นั้นผิวเผิน ผู้ดูแลต้องการ ให้มีการให้ความรู้โดยการ ใช้สื่อโทรทัศน์และวิทยุ เพราะส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ความต้องการการสนับสนุนทางเศรษฐกิจ พบว่าผู้ดูแลทั้งหมดมีหนี้สินจากการดูแล และต้องการการ สนับสนุนค่ายาจากกองทุนและสังคมสงเคราะห์ ความต้องการการสนับสนุนด้านจิตใจและอารมณ์ ผู้ดูแลต้องการเปิดเผยความลับกับใครคนหนึ่งที่ไว้ใจได้ แต่ต้องการปกปิดเพื่อนบ้าน ผู้ร่วมงาน ต้องการไม่ให้คนรังเกียจ ให้กําลังใจ ปลอบใจ อย่าซ้ําเติม ให้คำปรึกษาและมาเยี่ยมเยียน ความต้องการการสนับสนุนด้านทรัพยากรพบว่า ผู้ดูแลต้องการน้ํายาฆ่าเชื้อแอลกอฮอล์ ผงโออาร์เอส ยาทาแผล ต้องการคนมาสับเปลี่ยนและต้องการเวลาเป็นของตัวเองบ้าง ความต้องการการสนับสนุนด้าน แหล่งสนับสนุน ผู้ดูแลต้องการทราบแหล่งสนับสนุน เช่น คลินิกนิรนาม ฮอทไลน์ ศูนย์ดูแลผู้ติดเชื้อ เอชไอวีในชุมชน ต้องการแหล่งกองทุนช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ต้องการให้เพิ่มเตียงในการรับ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลให้มากขึ้น ต้องการให้โรงพยาบาลทุกแห่งยินดีรับผู้ติดเชื้อที่อาการ หนักและต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อย ๆ และไม่ต้องรอการเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินนานเกินไป สิ่งที่พบเพิ่มเติมคือ ความต้องการการสนับสนุนด้านจิตวิญญาณ ผู้ดูแลต้องการการสนับสนุนจากศาสนา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เพื่อทําให้เกิดความหวังและพลังใจ ปัญหาการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี คือ ไม่มีความ รู้เพียงพอ ทําให้กลัวการติดเชื้อจากผู้ป่วย ปัญหาการเป็นหนี้สิน กลัวการถูกรังเกียจ ความยากลำบาก ในการหาเตียงให้ผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาล สุขภาพทรุดโทรม ขาดรายได้ หมดแรง มีปัญหา ดานเพศสัมพันธ์กับคู่สมรส ความคับข้องใจในการเก็บความลับ


การใช้ดนตรีบำบัดกับผู้ป่วยที่ถูกผูกมัด (Music Therapy With Restrained Patients), มนสภรณ์ วิทูรเมธา Jan 1999

การใช้ดนตรีบำบัดกับผู้ป่วยที่ถูกผูกมัด (Music Therapy With Restrained Patients), มนสภรณ์ วิทูรเมธา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


วิดิโอคอนเฟอเรนซ์ : นวัตกรรมการจัดการศึกษาทางไกลในยุคโลกาภิวัฒน์, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร Jan 1999

วิดิโอคอนเฟอเรนซ์ : นวัตกรรมการจัดการศึกษาทางไกลในยุคโลกาภิวัฒน์, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


เรียนรู้เกี่ยวกับผู้ร่วมงาน, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Jan 1999

เรียนรู้เกี่ยวกับผู้ร่วมงาน, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


กลยุทธ์ในการบริหารเวลา, โสภี อุณรุท Jan 1999

กลยุทธ์ในการบริหารเวลา, โสภี อุณรุท

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะชีวิต ต่อพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร, นรลักขณ์ เอื้อกิจ, วรัตนา สุขวัฒนานันท์ Jan 1999

ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะชีวิต ต่อพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร, นรลักขณ์ เอื้อกิจ, วรัตนา สุขวัฒนานันท์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ใน วัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 101 คน แบ่งออกเป็นกลุ่ม ทดลอง 51 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 50 คน นักเรียนในกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการพัฒนา ทักษะชีวิต 5 แผน โดยประยุกต์แนวคิดทักษะชีวิตขององค์การอนามัยโลก และ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยกำหนดสถานการณ์จำลองและใช้เทคนิคกระบวนการกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย การบรรยายนำสั้น ๆ การระดมสมอง การอภิปรายกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ การแสดงบทบาทสมมติ การฝึกทักษะ การสาธิต เพื่อให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเรื่องความรู้ ความเข้าใจเกี่ยว กับการมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม ความตระหนักในตนเอง ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการ แก้ปัญหา ทักษะการปฏิเสธ ตลอดจนการมีพฤติกรรมการป้องกันตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการมีเพศ สัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Student's t-test และ Paired samples t-test พบว่าภายหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม ความตระหนักในตนเอง ทักษะการ ตัดสินใจ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการปฏิเสธ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงการ มีเพศสัมพันธ์สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงควรพิจารณานำโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนไป ประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนร่วมกับการจัดกิจกรรมเสริมอื่นๆ


การจัดทำวารสารทางวิทยาศาสตร์ (A Scientific Editing), ศักดา ประจุศิลป Jan 1999

การจัดทำวารสารทางวิทยาศาสตร์ (A Scientific Editing), ศักดา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


Father's Roles During Pregnancy And Childbirth, สุกัญญา แสงมุกข์ Jan 1999

Father's Roles During Pregnancy And Childbirth, สุกัญญา แสงมุกข์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.