Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

โรคฮิสติโอไซโตซิส เอ็กซ์ : รายงานผู้ป่วยและบทความปริทัศน์, กิตตพงษ์ ดนุไทย, วิจิตร ธรานนท์ May 1998

โรคฮิสติโอไซโตซิส เอ็กซ์ : รายงานผู้ป่วยและบทความปริทัศน์, กิตตพงษ์ ดนุไทย, วิจิตร ธรานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

โรคในกลุ่มของฮิสติโอไซโตซิส เอ็กซ์ ประกอบด้วย 3 โรคคือ อีโอซิโนฟิลิค แกรนูโลม่า โรคแฮนด์ ซูลเลอร์ คริสเตียน และ โรคเลทเทอเรอร์ ไซวี โรคในกลุ่มนี้มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยและมีลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาคือ มีการเพิ่มจํานวนของแลงเกอฮานเซลล์รวมถึงการรวมตัวของพวกอีโอซิโนฟิล ลักษณะของภาพถ่ายทางรังสีจะพบเงาดําวงเดียวหรือหลายวงที่มีขอบเขตชัดเจนหรือลักษณะของฟันลอยอยู่ในอากาศในกรณีที่มีความรุนแรงมาก เนื่องจากลักษณะอาการแสดงในช่องปากที่หลากหลายซึ่งอาจนําไปสู่ปัญหาในการวินิจฉัยโรค บทความนี้จึงเน้นเกี่ยวกับบทบาทของการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางจุลพยาธิวิทยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพบแลงเกอฮานเซลล์ การผ่าตัดเป็นการรักษาที่นิยมทํากันโดยเฉพาะรอยโรคในกระดูกขากรรไกรในขณะที่การใช้รังสีรักษาและเคมีบําบัดควรจะสงวนไว้ใช้ ในกรณีที่รอยโรคมีเป็นจํานวนมากหรือไม่สามารถเข้าไปทําการผ่าตัดได้ บทความนี้เป็นการรายงานถึงผู้ป่วยชายอายุ 22 ปีซึ่งมีปัญหาเหงือกบวมและฟันโยก นอกจากนี้ยังพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณใต้ขากรรไกรล่างมีขนาดใหญ่ขึ้น ภาพถ่ายทางรังสีพบรอยโรคในกระดูกหลายชิ้น ชิ้นเนื้อที่ตัดไปตรวจทางจุลพยาธิวิทยาแสดงให้เห็นถึงกลุ่มของแลงเกอฮานเซลล์ที่อยู่ปะปนกับอีโอซิโนฟิล แลงเกอฮานเซลล์ย้อมติดสีเมื่อใช้เทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคมีสําหรับเอส-หนึ่งร้อยการรักษาในผู้ป่วยรายนี้กระทําโดยใช้การผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษา


Identification Of Fetal Dna And Cells In Skin Lesions From Women With Systemic Sclerosis, Carol M. Artlett, J. Bruce Smith, Sergio A. Jimenez Apr 1998

Identification Of Fetal Dna And Cells In Skin Lesions From Women With Systemic Sclerosis, Carol M. Artlett, J. Bruce Smith, Sergio A. Jimenez

Selected Works of Sergio Jiménez, MD, MACR

BACKGROUND: Systemic sclerosis is a disease of unknown origin which often occurs in women after their childbearing years. It has many clinical and histopathological similarities to chronic graft-versus-host disease. Recent studies indicate that fetal stem cells can survive in the maternal circulation for many years post partum. This finding suggests that fetal cells persisting in the maternal circulation or tissues could be involved in the pathogenesis of systemic sclerosis by initiating a graft-versus-host reaction.

METHODS: We used the polymerase chain reaction (PCR) to identify Y-chromosome sequences in DNA extracted from peripheral-blood cells and skin lesions from women with systemic sclerosis …