Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

1989

Chulalongkorn University Dental Journal

Articles 1 - 13 of 13

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

เนื้องอกอดีโนมาตอยด์ โอดอนโตเจนิก (Adenomatoid Odontogenic Tumor) : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สุจินต์ ขัตติยะมาน Jan 1989

เนื้องอกอดีโนมาตอยด์ โอดอนโตเจนิก (Adenomatoid Odontogenic Tumor) : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สุจินต์ ขัตติยะมาน

Chulalongkorn University Dental Journal

เนื้องอกอดีโนมาตอยด์ โอดอนโตเจนิก เป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งที่เกิดจากเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่สร้างฟัน ซึ่งเคยมี รายงานไว้ในวารสารต่างประเทศแต่ในประเทศไทยเคยมีรายงานไว้นานมาแล้วเพียงรายเดียว สำหรับรายงานผู้ป่วยรายนี้ เป็นชายอายุ 21 ปี ที่มารับการตรวจพิเคราะห์ และบำบัดรักษาจากโรงพยาบาลจังหวัดนครสวรรค์ ลักษณะของรอย โรคมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีอาการเจ็บเมื่อถูกกด ทันตแพทย์ได้ทำการวินิจฉัย แยกโรคออกจากกลุ่มโรคที่มีลักษณะ เป็นถุงน้ำและมีฟันฝังร่วมอยู่ด้วย และได้ให้การรักษาโรคโดยวิธีการทางศัลยกรรม และติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 3 ปี ไม่พบว่ามีการกลับเป็นโรคใหม่อีก การหายของแผลและกระดูก รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพการใช้งาน ปรากฏผล น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง


การใช้ไดเฟนไฮดรามีนเป็นยาชาเพื่อถอนฟันผู้ป่วยโรคภูมิแพ้, เชวงเกียรติ แสงศิรินาวิน, สุทัศ รักประสิทธิกูล, สายฝน แสงศิรินาวิน Jan 1989

การใช้ไดเฟนไฮดรามีนเป็นยาชาเพื่อถอนฟันผู้ป่วยโรคภูมิแพ้, เชวงเกียรติ แสงศิรินาวิน, สุทัศ รักประสิทธิกูล, สายฝน แสงศิรินาวิน

Chulalongkorn University Dental Journal

ไดเฟนไฮดรามีนไฮโดรคลอไรด์ (DPH) เป็นแอนตี้ฮีสตามีน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นยาชา ได้ศึกษาประสิทธิ ภาพการเป็นยาชาของ DPH เพื่อถอนฟัน ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ พบว่าการเริ่มออกฤทธิ์ระยะเวลานานและความลึก ของการชาด้อยกว่าลิโดเคน ผู้ป่วย 33 รายที่ถูกถอนฟันโดยใช้ DPH ร้อยละ 60.6 ให้ผลดี ร้อยละ 27.3 ให้ ผลเป็นที่พอใจ ส่วนอีกร้อยละ 12.1 ให้ผลการชาไม่ดี ความดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจก่อนและหลังฉีด DPH ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบผลเสียที่รุนแรงหรือการแพ้ยา ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า DPH สามารถ ใช้เป็นยาชาทดแทนเพื่อการถอนฟันในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อย่างได้ผลและปลอดภัย


การศึกษาเกี่ยวกับระยะของการอ้าปากกว้างมากที่สุด, วันทนี มุทิรางกูร, ยสนันท์ จันทรเวคิน, สุรวุฒน์ พงษ์ศิริเวทย์, ธำรงค์ ตีระนทีกุลชัย Jan 1989

การศึกษาเกี่ยวกับระยะของการอ้าปากกว้างมากที่สุด, วันทนี มุทิรางกูร, ยสนันท์ จันทรเวคิน, สุรวุฒน์ พงษ์ศิริเวทย์, ธำรงค์ ตีระนทีกุลชัย

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษาเกี่ยวกับระยะของการอ้าปากกว้างมากที่สุด ในนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 3 อายุระหว่าง 18-26 ปี (เฉลี่ย 20.5 ปี) จำนวน 71 คน แบ่งเป็นชาย 26 คน หญิง 45 คน เพื่อ (1) เปรียบเทียบการวัดค่าระยะของการอ้าปากกว้างมากที่สุด โดยวิธีวัดจุดที่ทำขึ้นที่ปลายคาง และวิธีวัดโดยตรงจาก ขอบปลายฟันตัดซี่กลางบนและล่าง (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอ้าปากกว้างมากที่สุด และ (3) ศึกษาการเบี่ยงเบน ของกระดูกขากรรไกรล่างในการอ้าปากกว้างมากที่สุด พบว่า ค่าเฉลี่ยของระยะของการอ้าปากกว้างมากที่สุด จากการหาโดยวิธีแรก มีค่าเท่ากับ 43.07 ± 6.98 มม. (48.03 ± 6.97 มม. ในเพศชาย และ 40.20 ± 5.20 มม. ในเพศหญิง) ค่าเฉลี่ยฯ ที่หาโดยวิธีวัดโดยตรงวิธีที่สอง มีค่าเท่ากับ 48.79 ± 6.60 มม. (53.58 ± 4.98 มม. ในเพศชาย และ 46.02 ± 5.82 มม. ในเพศหญิง) จาก การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับการอ้าปากกว้างมากที่สุด พบว่า ปัจจัยที่น่าจะมีผลต่อระยะของการ อ้าปากกว้างมากที่สุดได้แก่ เพศ ส่วนสูง น้ําหนัก ระยะในแนวดิ่งระหว่างจุดสูงสุดของกะโหลกศีรษะถึงจุดต่ำสุด ของคาง ระยะระหว่างคอนไดล์ถึงมุมของขากรรไกรล่าง และระยะระหว่างแนวแกนหมุนของข้อต่อกระดูกขากรรไกร ถึงอินไซซัล พอยท์ และพบว่าการเบี่ยงเบนของกระดูกขากรรไกรล่างในการอ้าปากมากที่สุดมีค่าอยู่ในช่วงเบี่ยงเบน ไปทางซ้าย 7 มม. ถึงเบี่ยงเบนไปทางขวา 2 มม. โดยที่ผู้ที่นำมาศึกษาส่วนใหญ่มีการเบี่ยงเบนไปทางซ้าย


การประเมินวิธีจัดสรรการเรียนการสอนต่อการปฏิบัติงาน คลินิกปริทันตวิทยาของนิสิตทันตแพทย์, ชนินทร์ เตชะประเสริฐ Jan 1989

การประเมินวิธีจัดสรรการเรียนการสอนต่อการปฏิบัติงาน คลินิกปริทันตวิทยาของนิสิตทันตแพทย์, ชนินทร์ เตชะประเสริฐ

Chulalongkorn University Dental Journal

การปรับปรุงหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต โดยให้นิสิตฝึกปฏิบัติงานคลินิกใน 3 ชั้นปีสุดท้าย นิสิตปีที่ 6 ได้รับผลกระทบจากการจัดสรรเวลามากกว่านิสิตปีที่ 5 และ 4 เพราะถูกกําหนดให้ปฏิบัติงานคลินิกปริทันตวิทยา เฉพาะวันอังคารและพฤหัสบดี เพียงครึ่งปีการศึกษา นิสิตส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยทุกคนที่อยู่ในความดูแลให้ เสร็จสิ้นสมบูรณ์ประมาณร้อยละ 50 อีกทั้งจํานวนของผู้ใช้บริการทันตกรรมลดลง ผู้ป่วยผิดนัด และมาสายเพิ่มขึ้นตาม เศรษฐภาวะ ดังนั้น คณะทันตแพทยศาสตร์ และภาควิชาปริทันตวิทยาควรแก้ไขวิธีจัดสรรการเรียนการสอน เพิ่มการ ประชาสัมพันธ์ และจัดหาผู้ป่วยใหม่ ให้นิสิตทุกคนได้ปฏิบัติงานคลินิก เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา และทักษะการบําบัด รักษาโรคปริทันต์


การวิเคราะห์หาปริมาณไวตามินซีในเนื้อเหงือกคนไข้โรคปริทันต์อักเสบ, นวลฉวี หงษ์ประสงค์, Clarke N.G., Mcintosh G.H. Jan 1989

การวิเคราะห์หาปริมาณไวตามินซีในเนื้อเหงือกคนไข้โรคปริทันต์อักเสบ, นวลฉวี หงษ์ประสงค์, Clarke N.G., Mcintosh G.H.

Chulalongkorn University Dental Journal

เป็นที่ยอมรับกันมานานแล้วว่า ไวตามินซีมีความเกี่ยวข้องในการเกิดโรคปริทันต์ชนิดหนึ่ง แต่ความเกี่ยวข้อง นี้ยังไม่ทราบแน่นอนว่าเกิดจากคุณสมบัติข้อใดของไวตามินซี รวมทั้งไม่มีรายงานว่าเนื้อเหงือกมีไวตามินซีสะสมอยู่สูง เช่นเดียวกับอวัยวะอื่น ๆ ที่มีความต้องการไวตามินนี้สูง ดังนั้น การทดลองนี้จึงต้องการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณ ไวตามินซีในเนื้อเหงือก ซึ่งได้จากการทำศัลยปริทันต์ 65 ครั้ง ในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบในคนไข้ที่มีร่องลึก ปริทันต์ลึก 5-10 มม. จํานวน 37 ราย เก็บน้ําเหลืองเลือดได้ 27 ราย และบันทึกทางโภชนาการ 25 รายจากคน ไข้ที่ให้ความร่วมมือ พบว่า ปริมาณ ไวตามินซีในเนื้อเหงือกมี 10.32 ± 3.70 มล% ไม่แตกต่างกันระหว่างเพศ และ สูงกว่าไวตามินซีในน้ำเหลืองเลือดซึ่งเท่ากับ 1.36 ± 0.5 มล% ประมาณแปดเท่า ปริมาณไวตามินซีในเนื้อเหงือก ตําแหน่งฟันหน้าและฟันหลังไม่แตกต่างกัน แต่พบว่าปริมาณไวตามินซีในเนื้อเหงือกจากร่องลึกปริทันต์ที่ลึก มากกว่า 7 มม. ต่ำกว่าปริมาณไวตามินซีในเนื้อเหงือกจากร่องลึกปริทันต์ที่ตื้นกว่า 7 มม. อย่างมีนัยสำคัญ ทั้ง ๆ ที่ ระดับไวตามินซีในน้ำเหลืองเลือดปกติจากผลการทดลองนี้แสดงว่า เนื้อเหงือกเป็นอวัยวะที่ต้องการไวตามินซีสูง จึง สะสมไวตามินซีมาก และขณะที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบ ความต้องการไวตามินซีสูงจึงทําให้ปริมาณไวตามินซีใน เนื้อเหงือกลดต่ำลง ความต้องการไวตามินซีนี้อาจจะเกี่ยวกับการสร้างเนื้อเยื่อคอลาเจน และการทำงานของเม็ดเลือดขาว


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุรองพื้น 3 ชนิด ที่ช่วยต้านการรั่วซึมตามขอบของแควิตีที่บูรณะด้วยคอมโพสิตเรซิน, วาสนา พัฒนพีระเดช, ศุภวรรณ เตชัสวรารักษ์, เพ็ญพิศ ชาญชัยวานิช, พีรศุษม์ รอดอนันต์ Jan 1989

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุรองพื้น 3 ชนิด ที่ช่วยต้านการรั่วซึมตามขอบของแควิตีที่บูรณะด้วยคอมโพสิตเรซิน, วาสนา พัฒนพีระเดช, ศุภวรรณ เตชัสวรารักษ์, เพ็ญพิศ ชาญชัยวานิช, พีรศุษม์ รอดอนันต์

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษาประสิทธิภาพของวัสดุรองพื้น 3 ชนิด คือ ไดแคลชนิดแข็ง กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ และ แบริเออร์เดนทิน โดยใช้เป็นวัสดุรองพื้นในแควิธีคลาส V ก่อนที่จะบูรณะด้วยคอมโพสิตเรซินชนิดแข็งตัวด้วยแสง ที่มองเห็นได้ หลังจากนั้นนำฟันที่บูรณะแล้วมาทดสอบการรั่วซึมตามขอบโดยวิธีแช่ลงในน้ำลายสังเคราะห์ที่ผสมสี เมธิลีนบลู 1% เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ตรวจดูการซึมเข้าของสีด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบ 3 มิติพบว่าไดแคลจะช่วย ต้านการรั่วซึมตามขอบได้ดีกว่าวัสดุรองพื้นอีก 2 ชนิดที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้


การรักษาโรคปริทันต์แนวใหม่, จินตกร คูวัฒนสุชาติ Jan 1989

การรักษาโรคปริทันต์แนวใหม่, จินตกร คูวัฒนสุชาติ

Chulalongkorn University Dental Journal

โรคปริทันต์เป็นโรคที่นำความสูญเสียทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสุขภาพจิตมาสู่ประชากรในแต่ละประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย การรักษาโรคปริทันต์ชนิดรุนแรงมักจะรักษาด้วยวิธีทำศัลยกรรมแผ่นพับปริทันต์ ซึ่งปรากฏว่าบางครั้ง ก็ได้ผล แต่บางครั้งก็ประสพกับความล้มเหลว จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ พบว่าถ้าสาเหตุของโรคปริทันต์เกิด จากคราบจุลินทรีย์ที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์พวกที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการเจริญอย่างเดียว การใช้ยาเตตร้าซัยคลิน หรือเมโทรนิดาโซลรักษาร่วมไปกับการขูดล้างหินน้ำลายและการเกลารากฟัน จะให้ผลออกมาอย่างน่าพอใจ แต่ถ้า สาเหตุของโรคปริทันต์มีปัจจัยอื่นเข้ามาร่วมด้วย การรักษาโดยวิธีทำศัลยกรรมแผ่นพับปริทันต์ยังมีความจำเป็นอยู่ และในกรณีนี้ ถ้าให้ยาปฏิชีวนะพวกเตตร้าซัยคลินหรือเมโทรนิดาโซลร่วมไปด้วย จะยิ่งช่วยให้ผลในการรักษาดียิ่งขึ้น


การรั่วตามขอบของวัสดุบูรณะฟัน : อมัลกัมและคอมโพสิตเรซิน, ชโณทัย เฮงตระกูล, สายใจ มธุราสัย Jan 1989

การรั่วตามขอบของวัสดุบูรณะฟัน : อมัลกัมและคอมโพสิตเรซิน, ชโณทัย เฮงตระกูล, สายใจ มธุราสัย

Chulalongkorn University Dental Journal

การรั่วตามขอบ (Microleakage) เป็นสาเหตุที่สําคัญที่ทำให้เกิดการอักเสบและการตายของประสาทฟัน หลังจากใช้วัสดุต่าง ๆ เพื่อบูรณะฟันไปแล้วจะเกิดการรั่วตามขอบขึ้น แต่จะเกิดมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ ของวัสดุ และความชำนาญของทันตแพทย์ผู้ใช้ การป้องกันหรือลดการรั่วตามขอบเป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้น กับประสาทฟันได้วิธีหนึ่ง


Electromyography: Equipment And Techniques, พิชาญ ชำนาญนิธิอรรถ Jan 1989

Electromyography: Equipment And Techniques, พิชาญ ชำนาญนิธิอรรถ

Chulalongkorn University Dental Journal

เครื่องมือบันทึกการทำงานของกล้ามเนื้อ (Electromyograph) เป็นเครื่องมือที่ใช้บันทึกการทำงาน ของกล้ามเนื้อโดยบันทึกคลื่นไฟฟ้า (action potential) ที่เกิดขึ้น มีประโยชน์อย่างมากทั้งในการแพทย์และทันตแพทย์ เพื่อพิเคราะห์ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและระบบประสาท บทความนี้ได้บรรยายถึงอุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องบันทึกการทำงานของกล้ามเนื้อคือ อิเลคโตรด การขยายสัญญาณ ไฟฟ้า และชนิดของการบันทึกของสัญญาณไฟฟ้า


ปกิณกะ Jan 1989

ปกิณกะ

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


การศึกษาเปรียบเทียบส่วนประกอบของน้ำลายจากต่อมพาโรติด ระหว่างคนปกติกับผู้ป่วยโรคเหงือกอักเสบชาวไทย, เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย, กัญจน์ จันทร์ขจร, เควิน จิมากร, โดม ลิ่วลมวิบูลย์ Jan 1989

การศึกษาเปรียบเทียบส่วนประกอบของน้ำลายจากต่อมพาโรติด ระหว่างคนปกติกับผู้ป่วยโรคเหงือกอักเสบชาวไทย, เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย, กัญจน์ จันทร์ขจร, เควิน จิมากร, โดม ลิ่วลมวิบูลย์

Chulalongkorn University Dental Journal

การทดลองนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของส่วนประกอบของน้ำลายจากต่อมพาโรติดระหว่างคนปกติกับผู้ป่วยโรคเหงือกอักเสบในคนไทย โดยเก็บน้ำลายจากต่อมพาโรติดในสภาวะกระตุ้นแล้วหาปริมาณของแคลเซียม ฟอสเฟท ฟลูออไรด์ คลอไรด์ กลูโคส โซเดียม โปตัสเซียม แมกนีเซียม และโปรตีน พบว่ามีความแตกต่างอย่างมี นัยสําคัญในปริมาณของแคลเซียม ฟอสเฟท ฟลูออไรด์และคลอไรด์ ระหว่างคนปกติกับผู้ป่วยโรคเหงือกอักเสบ


บทบาทของเมโทรนิดาโซลที่มีต่อโรคปริทันต์, จินตกร คูวัฒนสุชาติ Jan 1989

บทบาทของเมโทรนิดาโซลที่มีต่อโรคปริทันต์, จินตกร คูวัฒนสุชาติ

Chulalongkorn University Dental Journal

เมโทรนิดาโซลถูกนำมาใช้ในประเทศอังกฤษทั้งทางด้านอายุรกรรมและทางด้านทันตกรรมเป็นเวลาถึง 25 ปีมาแล้ว จากรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยมของยานี้ ทำให้ได้เปรียบต่อยาต่อต้านจุลินทรีย์ตัวอื่น ๆ และ การดื้อต่อยาของจุลินทรีย์ซึ่งยานี้สามารถฆ่าได้ที่ตามมาภายหลังแทบจะไม่มีเลย เนื่องจากฤทธิ์ของเมโทรนิดาโซลที่มีต่อจุลินทรีย์พวกที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการเจริญ รวมทั้งมีรายงานเกี่ยวกับการใช้เมโทรนิดาโซลรักษาโรคปริทันต์ อย่างได้ผลออกมามากมาย จึงเป็นยาที่น่าสนใจอย่างมากตัวหนึ่งในการนํามาใช้ร่วมในการรักษาโรคปริทันต์


โรคทาคายาสุกับการรักษาทางทันตกรรม : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, บังอร จิระเกียรติ์, ช่อแก้ว กฤตย์พงษ์, โสพิศสุดา สุวรรณรุ่งเรือง, สุรัชกร สิริพิพัฒน์, ศึกษา เทพอารีย์, รพีพรรณ โชคสมบัติชัย Jan 1989

โรคทาคายาสุกับการรักษาทางทันตกรรม : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, บังอร จิระเกียรติ์, ช่อแก้ว กฤตย์พงษ์, โสพิศสุดา สุวรรณรุ่งเรือง, สุรัชกร สิริพิพัฒน์, ศึกษา เทพอารีย์, รพีพรรณ โชคสมบัติชัย

Chulalongkorn University Dental Journal

เด็กชายไทยอายุ 8 ปี ป่วยเป็นโรคทาคายาสุ ซึ่งมีความผิดปกติของเส้นเลือด มีความดันสูงอย่างรุนแรง และ เป็นวัณโรคที่ปอด ถูกส่งมาพบทันตแพทย์เนื่องจากมีฟันผุหลายซี่ในปาก และปวดฟัน # 75 รายงานผู้ป่วยรายนี้อธิบาย ถึงปัญหาทางการแพทย์ของผู้ป่วย ตลอดจนยาที่ผู้ป่วยรับประทาน เพื่อรักษาโรคนี้อยู่ ซึ่งอาจเกิดปัญหาในการรักษาทาง ทันตกรรม ได้หากไม่ได้ป้องกันและทราบวิธีแก้ไขปัญหาล่วงหน้าโดยปรึกษากับแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างใกล้ชิด ใช้ เวลาในการรักษาทางทันตกรรม 2 อาทิตย์ ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ โรคทาคายาสุนี้น่าสนใจเพราะมีอาการทางระบบหลายชนิด และมีการรักษาทางการแพทย์หลายอย่าง ผู้อ่าน สามารถประยุกต์วิธีการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไปใช้ในการรักษาทางทันตกรรม กับผู้ป่วยที่เป็นโรคอื่น ๆ ที่มีอาการ และการรักษาที่คล้ายคลึงกับผู้ป่วยรายนี้