Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

1991

Discipline
Institution
Keyword
Publication

Articles 301 - 305 of 305

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การศึกษานอกร่างกายถึงกลไกการขนส่งฟลูออไรด์ ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข, จีรศักดิ์ นพคุณ, ศานตี เตชาภิประณัย, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์ Jan 1991

การศึกษานอกร่างกายถึงกลไกการขนส่งฟลูออไรด์ ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข, จีรศักดิ์ นพคุณ, ศานตี เตชาภิประณัย, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

การดูดซึมฟลูออไรด์เกิดได้ทั้งในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก แต่กลไกการขนส่งฟลูออไรด์ผ่าน ชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ได้ทำการทดลองแสดงถึงอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลง สภาวะกรดด่างของสารละลาย และการเปลี่ยนแปลงปริมาณโซเดียม และคลอไรด์ไอออนที่อยู่ในสารละลาย ด้านผิวดูดซึม ต่อการขนส่งฟลูออไรด์ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข โดยชั้นเซลล์ดูดซึมจะได้รับการแยก จากส่วนที่เป็นชั้นกล้ามเนื้อ และนำมาใส่ในเครื่องมือศึกษาการดูดซึมภายนอกร่างกาย สารละลายที่สัมผัสกับ ผิวเซลล์ดูดซึมจะได้รับการปรับสภาวะกรดด่างที่ 6.0 7.0 และ 8.0 ส่วนสารละลายที่สัมผัสด้านหลอดเลือด จะคงสภาวะกรดด่างที่ 7.5 ฟลูออไรด์จะถูกเติมลงไปในสารละลายด้านเซลล์ดูดซึม เพื่อให้ได้ความเข้มข้น 0.25 0.5 และ 1.0 มิลลิโมล หลังจากนั้น 30 นาทีจะนำสารละลายด้านหลอดเลือดไปหาปริมาณฟลูออไรด์ ผลการทดลองพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาวะกรดด่างระหว่าง 6.0-8.0 ไม่มีผลต่อการขนส่งของ ฟลูออไรด์ผ่านเซลล์ผนังลําไส้เล็ก การลดลงในความเข้มข้นของโซเดียมไอออนในสารละลายด้านดูดซึม และการเติมวาเบน (ouabain) ลงไปในสารละลายด้านหลอดเลือด จะมีผลให้การดูดซึมฟลูออไรด์ลดลง แต่ การขนส่งฟลูออไรด์เพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณคลอไรด์ไอออนในสารละลายด้านดูดซึมลดลง ผลการทดลองไม่มี ข้อมูลสนับสนุนสมมุติฐานที่มีผู้เสนอว่าการดูดซึมฟลูออไรด์ในลําไส้เล็กเกิดขึ้นในรูปการแพร่กระจายของ ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ แต่ข้อมูลที่ได้จากการทดลองชี้ให้เห็นว่าการดูดซึมของฟลูออไรด์จากลำไส้เล็ก น่าจะเกิดจากการแพร่กระจายของฟลูออไรด์ไอออน


ภาวะโรคปริทันต์และการรักษาที่จำเป็นในนักเรียนประถมศึกษาอายุ 12 ปี สังกัดกรุงเทพมหานคร, สุคนธ์ บรมธนรัตน์, วารุณี อารีราษฎร์ Jan 1991

ภาวะโรคปริทันต์และการรักษาที่จำเป็นในนักเรียนประถมศึกษาอายุ 12 ปี สังกัดกรุงเทพมหานคร, สุคนธ์ บรมธนรัตน์, วารุณี อารีราษฎร์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อประเมินภาวะโรคปริทันต์และการรักษาที่จําเป็นโดยใช้ดัชนี CPITN ในเด็กนักเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร อายุ 12 ปีด้วยดัชนี CPITN จำนวน 720 คน (หญิง 356 คน ชาย 364 คน) เป็นนักเรียนในเขตรอบนอก 412 คน และเป็นนักเรียนในเขตรอบใน 308 คน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นโรคปริทันต์ร้อยละ 100 โดยร้อยละ 92.5 มีภาวะโรคปริทันต์ สูงสุดที่ระดับ 2 (มีหินน้ำลาย) ร้อยละ 6.53 มีภาวะโรคปริทันต์สูงสุดที่ระดับ 1 (มีเลือดออก) ร้อยละ 0.97 มีภาวะโรคปริทันต์สูงสุดที่ระดับ 3 (ร่องลึกปริทันต์ลึก 4-5 มม.) และไม่พบภาวะโรคปริทันต์สูงสุดที่ระดับ 4 (ร่องลึกปริทันต์ลึกมากกว่า 6 มม.) ในนักเรียนทุกคน เมื่อเปรียบเทียบการเกิดโรคปริทันต์ ระหว่างนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ทุกภาวะโรคปริทันต์ แต่เมื่อเปรียบเทียบการเกิดโรคปริทันต์ระหว่างนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่รอบนอกและ เขตพื้นที่รอบใน พบว่านักเรียนในเขตพื้นที่รอบนอก มีภาวะโรคปริทันต์ระดับ 3 มากกว่านักเรียนในเขตพื้นที่รอบใน (P<0.05) ส่วนความจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาโรคปริทันต์ พบว่านักเรียนทั้งหมดต้องได้รับการแนะนำการรักษา อนามัยช่องปาก และร้อยละ 93.44 จำเป็นต้องได้รับการขูดหินน้ำลาย


ค่ามุมแนวเคลื่อนคอนดายล์ในผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง, ยาหยีศรีเฉลิม ศิลปบรรเลง Jan 1991

ค่ามุมแนวเคลื่อนคอนดายล์ในผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง, ยาหยีศรีเฉลิม ศิลปบรรเลง

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเบื้องต้นในการหาค่าเฉลี่ยมุมแนวเคลื่อนคอนดายล์ในผู้ป่วยไทยกลุ่มหนึ่ง จากภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างของผู้ป่วย 64 ราย อายุ 20-40 ปี ได้ทำการสำรวจและวัดมุมแนวเคลื่อนคอนดายล์ซึ่งเกิดจากความเอียงของแอ่งกลิ่นอยด์ทำกับระนาบแฟรงเฟิร์ต พบว่า ค่าเฉลี่ยมุมแนวเคลื่อนคอนดายล์ ในผู้ป่วยที่ทำการศึกษาเท่ากับ 60.88 ± 7.88 องศา ซึ่งแตกต่างจากค่าเฉลี่ยของชาวตะวันตกที่กำหนดไว้ คือ 30-40 องศา


โอดอนโทเจนนิกเคอราโทซิสต์ที่เกิดหลายแห่ง ในกระดูกขากรรไกร : รายงานผู้ป่วย, สิทธิพร กาญจนพล Jan 1991

โอดอนโทเจนนิกเคอราโทซิสต์ที่เกิดหลายแห่ง ในกระดูกขากรรไกร : รายงานผู้ป่วย, สิทธิพร กาญจนพล

Chulalongkorn University Dental Journal

ผู้ป่วยเด็กชายอายุ 11 ปีมารับการรักษาที่โรงพยาบาลปทุมธานี ด้วยอาการมีหนองไหลจากขอบ เหงือกของฟันซี่ # 33 หลังจากเคยได้รับการรักษาโอดอนโทเจนิกเคอราโทซิสต์ในกระดูกขากรรไกรบนขวา ด้วยวิธีมาร์ซูเปียไลเซชัน เมื่อ 3 ปีที่แล้ว จากภาพถ่ายรังสี และผลการตรวจจุลพยาธิวิทยา สามารถวินิจฉัย เป็นโอดอนโทเจนิกเคอราโทซิสต์ในกระดูกขากรรไกรบนที่เกิดใหม่หลังจากการรักษา ส่วนกระดูกขากรรไกรล่างเป็นโอดอนโทเจนิกเคอราโทซิสต์เช่นเดียวกัน ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีการควักออกหมดในกระดูก ขากรรไกรบน และวิธีมาร์ซูเปียไลเซชันในกระดูกขากรรไกรล่าง ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจภายหลังจาก ติดตามผู้ป่วยนาน 2 ปี


การติดเชื้อบริเวณช่องว่างเท็มพอรอล, เกษมศักดิ์ แก้วอิ่ม Jan 1991

การติดเชื้อบริเวณช่องว่างเท็มพอรอล, เกษมศักดิ์ แก้วอิ่ม

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วย 1 ราย อายุ 35 ปี ที่มีอาการติดเชื้อบริเวณช่องว่างเท็มพอรัลภายหลังการถอนฟันกรามบนซี่สุดท้าย พร้อมอธิบายขั้นตอนการวินิจฉัยและการรักษา