Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 26 of 26

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การกระตุ้นเอนไซม์เอ็มเอ็มพี-3 (สโตรมีไลซิน-1) ในเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเอ็นยึดปริทันต์โดยการเพิ่มระดับของแคลเซียมอิออนและไซขลิกเอเอ็มพีภายในเซลล์, นิรดา ธเนศวร, ประสิทธิ์ ภวสันต์ Sep 1998

การกระตุ้นเอนไซม์เอ็มเอ็มพี-3 (สโตรมีไลซิน-1) ในเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเอ็นยึดปริทันต์โดยการเพิ่มระดับของแคลเซียมอิออนและไซขลิกเอเอ็มพีภายในเซลล์, นิรดา ธเนศวร, ประสิทธิ์ ภวสันต์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การทดลองครั้งนี้ทําเพื่อศึกษาถึงบทบาทของตัวกลางในการส่งสัญญาณเข้าสู่เซลล์สองชนิด คือ แคลเซียมอิออน และไซขลิกเอเอ็มพี ในการควบคุมการสร้างเอนไซม์เอ็มเอ็มพี 3 ในเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเอ็นยึดปริทันต์ วัสดุและวิธีการ เซลล์จากเนื้อเยื่อเอ็นยึดปริทันต์ถูกเพาะเลี้ยง และกระตุ้นด้วยสารกระตุ้นชนิดต่าง ๆ คือ แคลเซียม ไอโอโนฟอร์ แคลเซียมคลอไรด์ ฟอร์สโคลิน และ กรดอะมิโนลําดับที่ 1-34 ของพาราไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นเวลา 48 ชั่วโมง อาหารเลี้ยงเซลล์จะถูกเก็บในอีก 24 ชั่วโมงถัดมา และระดับของเอนไซม์เอ็มเอ็มพี 3 จะถูกวิเคราะห์โดยเทคนิคไซโมกราฟฟี และคอท-บลอท อนาไลซิส ผลการทดลองและสรุป ผลของการกระตุ้นการเพิ่มระดับของแคลเซียมอิออน และไซลิกเอเอ็มพี่ภายในเซลล์ จะ ทําให้ปริมาณของเอนไซม์เอ็มเอ็มพี 3 ที่พบในอาหารเลี้ยงเซลล์เพิ่มสูงขึ้น


การเปรียบเทียบการรักษารอยวิการของกระดูกเบ้าฟัน ระหว่างการใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับการใช้วัสดุปลูกกระดูกกับการใช้แผ่นยางกันน้ำลาย เป็นแผ่นกั้นเพียงอย่างเดียว, ชนกพรรณ สุคนธ์พันธ์, นวลฉวี หงษ์ประสงค์ Sep 1998

การเปรียบเทียบการรักษารอยวิการของกระดูกเบ้าฟัน ระหว่างการใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับการใช้วัสดุปลูกกระดูกกับการใช้แผ่นยางกันน้ำลาย เป็นแผ่นกั้นเพียงอย่างเดียว, ชนกพรรณ สุคนธ์พันธ์, นวลฉวี หงษ์ประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดูผลการรักษารอยวิการของกระดูกเบ้าฟันหลาย ๆ รอยโรคด้วยวิธี จีทีอาร์ โดยใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้น และเปรียบเทียบผลการใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นเพียงอย่างเดียว กับใช้วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วยในเวลา 6 เดือน วัสดุและวิธีการ ผู้ร่วมโครงการเป็นผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ หญิง 4 คน ซึ่งได้รับการรักษาเบื้องต้น แล้วยังมีรอยโรคปริทันต์ที่มีความลึกของร่องลึกปริทันต์ เท่ากับหรือมากกว่า 5 มม. ในทั้งสองข้างของขากรรไกร เดียวกัน 10 ตําแหน่ง เลือกการรักษาด้วยการใช้แผ่นยางกันน้ําลายอย่างเดียว 5 ตําแหน่ง จํานวน 19 รอยโรค และใช้แผ่นยางกันน้ําลายร่วมกับการปลูกกระดูก 5 ตําแหน่ง จํานวน 32 รอยโรค โดยการสุ่ม วัดค่าทางคลินิกคือ ความลึกของร่องลึกปริทันต์ ระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ระดับการรุ่นของเหงือกและการถ่ายภาพรังสีโดย ทําการบันทึก ก่อนการรักษา และหลังการรักษา 3 เดือน และ 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Paired t-test ใน กลุ่มเดียวกัน และ Unpaired t-test ในระหว่างกลุ่มที่ P = 0.05 ผลการศึกษา พบว่าค่าความลึกของร่องลึกปริทันต์และระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ที่ 3 เดือน และ 6 เดือน ส่วนเหงือกรุ่นจะเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อย และระดับความสูงของกระดูกเพิ่มขึ้นเมื่อตรวจดูทาง x-ray ซึ่งผลการรักษาของทั้งสองกลุ่มมีลักษณะเช่นเดียวกัน และเมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาทั้งสองกลุ่มพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติสรุป สรุปได้ว่าแผ่นยางกันน้ําลายสามารถใช้ เป็นแผ่นกั้นในขบวนการ จีทีอาร์ และให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกันระหว่างใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นอย่างเดียวหรือใช้วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วย


ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพรังสีของนิสิตในคลินิกวิทยาเอ็นโดดอนต์, เจนจิรา ธนศรีวนิชชัย, ศิริศักดิ์ เอกพิศุทธิ์สุนทร Sep 1998

ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพรังสีของนิสิตในคลินิกวิทยาเอ็นโดดอนต์, เจนจิรา ธนศรีวนิชชัย, ศิริศักดิ์ เอกพิศุทธิ์สุนทร

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อสํารวจปริมาณการใช้ฟิล์มของนิสิตโดยเฉลี่ยในการรักษาคลองรากฟัน 1 ปี และในแต่ละขั้นตอน การทํางาน และวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ของนิสิตที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพรังสีในคลินิกวิทยาเอ็นโดดอนต์ วิธีการ สํารวจจากใบเบิกฟิล์มในแฟ้มประวัติการรักษาคลองรากฟันของผู้ป่วย ที่นิสิตเป็นผู้รักษาและจัดทําแบบสอบถาม ผลการศึกษา ปริมาณการใช้ฟิล์มในการรักษาคลองรากฟัน 1 ซี่ มีค่าเฉลี่ย 8.7 ฟิล์ม ปริมาณการใช้ฟิล์มในแต่ ละขั้นตอนการรักษามีค่าเฉลี่ย 1.12 ฟิล์มในขั้นตอนการถ่ายภาพรังสีก่อนการรักษา 2.66 ฟิล์ม ในขั้นตอนการหา ความยาวฟัน 2.49 ฟิล์มในขั้นตอนการลองกัตตาเปอร์ชาแท่งเอก และ 2.33 ฟิล์มในขั้นตอนการอุดคลองรากฟัน จากแบบสอบถามพบว่าสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพเป็นปัญหาที่นิสิตพบมาก และต้องการให้แก้ไขมากที่สุด นิสิตมีปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนการรักษาต่างๆ ที่ทําให้ต้องถ่ายภาพรังสีใหม่ในระดับ ปานกลาง โดยปัญหาที่พบมากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ การใส่กัตตาเปอร์ชาแท่งเอกได้สั้นกว่าความยาวทํางาน การถ่ายภาพรังสีเพื่อแยกคลองรากฟันที่บังซ้อนกันออก และการล้างฟิล์มที่เข้มหรือจางเกินไป นิสิตมีความเห็นว่า กระบวนการเรียนการสอนทั้งในระดับพรีคลินิกและคลินิก ช่วยทําให้นิสิตมีความรู้และทักษะในการถ่ายภาพรังสีในผู้ป่วยจริงได้ในระดับปานกลาง


การบําบัดความวิการบริเวณง่ามรากฟันระดับสาม ในฟันกรามล่างโดยกระบวนการจีทีอาร์ : ใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับวัสดุปลูกกระดูก, พาณี วานิชวัฒนรำลึก, นวลฉวี หงษ์ประสงค์ Sep 1998

การบําบัดความวิการบริเวณง่ามรากฟันระดับสาม ในฟันกรามล่างโดยกระบวนการจีทีอาร์ : ใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับวัสดุปลูกกระดูก, พาณี วานิชวัฒนรำลึก, นวลฉวี หงษ์ประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การผ่าตัดโดยใช้หลักการเหนี่ยวนําให้เกิดเนื้อเยื่อใหม่ (จีทีอาร์) จําเป็นต้องใช้แผ่นกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในรอยโรคและขณะเดียวกันช่วยให้เซลล์ที่มีหน้าที่ในการสร้างอวัยวะปริทันต์มีโอกาสทํางานได้เต็มที่มากขึ้น การศึกษาครั้งนี้ทําเพื่อต้องการดูผลการรักษาความวิการของกระดูกบริเวณง่ามรากฟันระดับ ที่สามด้วยวิธีจีทีอาร์ โดยใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับการใช้วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วย วัสดุและวิธีการ ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ 6 ราย เป็นอาสาสมัครในการทําวิจัยครั้งนี้ ผู้ป่วยได้รับการ รักษาโรคปริทันต์เบื้องต้นด้วยการเกลารากฟันให้เรียบ และสามารถควบคุมอนามัยในช่องปากได้เป็นอย่างดีแล้ว และ 5 มม. ร่วมด้วย มีฟันกรามล่างซึ่งมีความวิการของกระดูกบริเวณช่องรากฟันระดับที่สามและมีร่องลึกปริทันต์อย่างน้อย โดยผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีการ จีทีอาร์ โดยใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับการใส่วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วย วัดค่าทางคลินิก คือค่าร่องลึกปริทันต์ ระดับการยึดเกาะทางคลินิก และการรุ่นของเหงือก ก่อนและหลังการผ่าตัด 6 6 และ 12 เดือน รวมทั้งถ่ายภาพรังสีด้วย มีการเปิดเหงือกเข้าไปดูรอยโรคหนึ่งราย การวิเคราะห์การ เปลี่ยนแปลงของค่าทางคลินิกใช้ paired t-test ที่ p = 0.05 ผลการศึกษา พบว่าค่าของร่องลึกปริทันต์ และค่าของระดับการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ทางคลินิกลดลงอย่างมีนัย สําคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนการผ่าตัด และมีระดับการยึดเกาะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.33 + 1.74 มม. มีระดับกระดูก เพิ่มขึ้นระดับหนึ่งแต่ไม่เต็มรอยวิการ ทางคลินิกบริเวณง่ามรากมีการปิดของเนื้อเหงือกแน่นและแข็งแรงทําให้ทําความ สะอาดได้ดีขึ้น และเมื่อเปิดเข้าไปดูพบว่า มีการสร้างของกระดูกเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ไม่เต็มถึงยอดของง่ามรากฟัน สรุป สามารถใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นในกระบวนการจีทีอาร์ ใช้ง่าย และให้ผลดีถึงแม้มีการสร้างกระดูก เพียงบางส่วนไม่เต็มรอยวิการของกระดูกบริเวณง่ามรากฟันระดับสามก็ตาม


สถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุไทย, ประกล พิบูลย์โรจน์, ชาญชัย โห้สงวน, วรางคณา เวชวิธี Sep 1998

สถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุไทย, ประกล พิบูลย์โรจน์, ชาญชัย โห้สงวน, วรางคณา เวชวิธี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ วัสดุและวิธีการ ข้อมูลในการศึกษาวิจัยนี้ ได้จากการสํารวจคุณภาพชีวิตด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 1,102 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลระดับความรู้สึกเป็นสุขและสถานภาพในช่องปากที่ได้ จากการประเมินด้วยตนเองของผู้สูงอายุกระทําการตรวจสภาวะช่องปาก เพื่อบันทึกลักษณะการใช้งานของฟัน โรค ฟันผุ โรคปริทันต์ อนามัยของช่องปาก การใส่ฟันปลอม รวมถึงแผลหรือรอยโรคอื่นๆ ของเนื้อเยื่ออ่อนภายใน ช่องปากประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุไทยเพื่อควบคุมปัจจัยร่วมต่างๆ ให้คงที่ ผล หลังจากที่ได้ควบคุมปัจจัยร่วมต่างๆ ให้คงที่แล้ว พบว่าปัจจัยในช่องปากที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญกับ ความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุมีดังนี้ ปัญหาการเคี้ยว ปัญหากลิ่นปาก ปัญหาเกี่ยวกับฟันปลอม จํานวนฟันปลอมที่ใส่ จํานวนฟันโยกใช้งานไม่ได้ และการมีฟันผุที่รากฟัน สําหรับปัจจัยภายนอกช่องปากที่มีความสัมพันธ์ด้วย ได้แก่ อายุ อาชีพค้าขาย รายได้ และการมีความผิดปกติทางร่างกาย สรุป สถานภาพในช่องปากที่มีบทบาทต่อการใช้งานในการดํารงชีวิตประจําวันมีผลกระทบต่อความรู้สึกเป็นสุขใน ผู้สูงอายุ


คาโพซิซาร์โคมาในช่องปากและการรักษาด้วยการฉีดยาวินบลาสทีนเข้ารอยโรค, ปรเมศร์ พิทักษ์อรรณพ Sep 1998

คาโพซิซาร์โคมาในช่องปากและการรักษาด้วยการฉีดยาวินบลาสทีนเข้ารอยโรค, ปรเมศร์ พิทักษ์อรรณพ

Chulalongkorn University Dental Journal

คาโพซิซาร์โคมาเป็นเนื้องอกที่มีจุดกําเนิดจากหลอดเลือด ซึ่งพบได้บ่อยร่วมการติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเอดส์ประมาณครึ่งหนึ่งมีคาโพซิซาร์โคมาในช่องปาก โดยเพดานปากเป็นตําแหน่งที่พบได้บ่อยที่สุด ลักษณะคาโพซิซาร์โคมาในช่องปากเป็นได้ตั้งแต่จุดราบไปจนถึงปุ่มขนาดเล็ก สีแดงปนน้ำเงิน ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาจะพบเซลล์รูปกระสวยสานกันไปมา แอ่งหลอดเลือดรูปร่างไม่แน่นอน เม็ดเลือดแดงอยู่นอกหลอดเลือดและเซลล์อักเสบเรื้อรัง การรักษาคาโพซิซาร์โคมามีหลายวิธีขึ้นกับลักษณะของรอยโรค การทําศัลยกรรมเหมาะกับรอยโรคที่จํากัดเฉพาะที่ รังสีรักษาเหมาะกับรอยโรคที่ลุกลามเป็นบริเวณกว้าง และเคมีบําบัดเหมาะกับรอยโรคที่แพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น วินบลาสทีนเป็นยาที่นิยมเลือกใช้ในการรักษาด้วยวิธีเคมีบําบัดสําหรับคาโพซิซาร์โคมาทั้งในผู้ป่วยที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวี นักวิจัยหลายกลุ่มพบว่าการฉีดยาในบลาสทีนเข้ารอยโรคมีประสิทธิภาพที่จะรักษาหรือร่วมรักษาคาโพซิซาร์โคมาในช่องปากได้วิธีการหนึ่ง


Pleomorphic Adenoma: Review Literature, Kittipong Dhanuthai Sep 1998

Pleomorphic Adenoma: Review Literature, Kittipong Dhanuthai

Chulalongkorn University Dental Journal

Pleomorphic adenoma is the most common benign salivary gland neoplasm of both the major and minor salivary glands. This review article describes the clinical features, the histopathology, the immunohistochemical markers of both the epithelial and myoepithelial components, the differential diagnosis and the treatment. The histopathology of this tumor can display diverse morphological patterns, but it traditionally presents with ducts or tubules lined by inner ductal cells and outer myoepithelial cells arranged in a variety of matrix.


การยึดอยู่ และความแนบบริเวณขอบของครอบฟัน เมื่อใช้ซีเมนต์ชนิดต่างกัน, มรกต ตันติประวรรณ Sep 1998

การยึดอยู่ และความแนบบริเวณขอบของครอบฟัน เมื่อใช้ซีเมนต์ชนิดต่างกัน, มรกต ตันติประวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการยึดอยู่ (Retention) และความแนบบริเวณขอบของครอบฟัน (Marginal seating) เมื่อใช้ซีเมนต์ชนิดซิงก์ฟอสเฟต (Zinc phosphate cement) ซีเมนต์ชนิดกลาสไอโอโนเมอร์ (Glass ionomer cement) และซีเมนต์ชนิดเรซิน (Resin cement) เป็นตัวยึดครอบฟัน วัสดุและวิธีการ แบ่งฟันกรามน้อย 30 ซี่ ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ซี่ กรอแต่งฟันแต่ละซี่ให้มีลักษณะ เหมือนกันโดยควบคุม ความสูง พื้นที่หน้าตัด และความเอียงของผนังตามแกน (Axial walls) ด้วยหัวกรอและ เครื่องควบคุมความขนาน (Milling machine) พิมพ์ฟันซี่ที่กรอแต่งมาทําครอบฟันด้วยโลหะเงินผสมเพลลิเดียม วัด ความสูงของครอบฟันโดยใช้เครื่อง Digimatic Indicator ยึดครอบฟันโลหะด้วยซีเมนต์ชนิดต่างกัน โดยกลุ่มที่ 1 ใช้ซิงก์ฟอสเฟต กลุ่มที่ 2 ใช้ กลาสไอโอโนเมอร์ และกลุ่มที่ 3 ใช้เรซิน วัดความสูงของครอบฟันหลังยึดด้วยซีเมนต์ และวัดแรงดึงสูงสุดที่ทําให้ครอบฟันหลุดจากตัวฟันด้วยเครื่อง Lloyd universal testing machine ผลการทดลอง ค่าเฉลี่ยความแตกต่างความสูงของครอบฟันก่อนและหลังซีเมนต์ (ไมโครเมตร) กลุ่มที่ 1 = 36.0 = 16.6 กลุ่มที่ 2 = 14.7 + 7.4 กลุ่มที่ 3 = 45.5 + 21.3 ค่าเฉลี่ยแรงดึงสูงสุด (นิวตัน) กลุ่มที่ 1 = 343.98 + 46.21 กลุ่มที่ 2 = 482.0 + 33.08 กลุ่มที่ 3 = 522.88 …


การตรวจไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ผลิตจากเชื้อจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่องลึกปริทันต์จํานวน 33 ชนิดโดยวิธีแรพปิดเทสท์, จินตกร คูวัฒนสุชาติ May 1998

การตรวจไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ผลิตจากเชื้อจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่องลึกปริทันต์จํานวน 33 ชนิดโดยวิธีแรพปิดเทสท์, จินตกร คูวัฒนสุชาติ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ : ต้องการหาวิธีตรวจหา H2S ที่ทําได้ง่ายและสะดวก และบอกผลได้รวดเร็ว วัสดุและวิธีการ : ใช้สารอาหารพวกซัลเฟอร์ที่ใช้ในการผลิต H2S ของเชื้อจุลินทรีย์ เช่นพวก L-cysteine ผสมกับ L-methionine และ glutathione ใส่รวมกับ inactivated horse serum โดยมี Lead acetate paper strips เป็น indicator สรุปผล : Rapid test เป็นวิธีที่ใช้ในการตรวจหา H2S ที่ผลิตจากเชื้อจุลินทรีย์พวกที่อาศัยอยู่ในร่องลึกปริทันต์ได้ดี ที่สุด เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก สามารถบอกผลได้เร็ว เพียงแค่ใช้เวลา 4 ชั่วโมง ก็สามารถบอกได้อย่างคร่าว ๆ ว่าเชื้อจุลินทรีย์ตัวนั้นผลิต H2S ออกมาได้หรือไม่ และสามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าเชื้อจุลินทรีย์ตัวนั้นผลิต H2S ออกมาได้มากหรือน้อยเพียงใช้เวลาแค่ 24 ชั่วโมงเท่านั้น


พื้นผิวของวัสดุรากเทียมและอิทธิพลของลักษณะพื้นผิวต่อการเหนี่ยวนําการเกาะติดของเซลล์กระดูก, มงคล แตปรเมศามัย, วิเชฏฐ์ จินดาวณิค May 1998

พื้นผิวของวัสดุรากเทียมและอิทธิพลของลักษณะพื้นผิวต่อการเหนี่ยวนําการเกาะติดของเซลล์กระดูก, มงคล แตปรเมศามัย, วิเชฏฐ์ จินดาวณิค

Chulalongkorn University Dental Journal

วัสดุพื้นผิวของชิ้นรากเทียมมีได้หลายชนิด แต่ในรายงานนี้จะกล่าวถึงชิ้นรากเทียมที่ทําด้วยโลหะไททาเนียมบริสุทธิ์ ซึ่งโดยธรรมชาติจะมีชั้นออกไซด์ของโลหะไททาเนียมเคลือบที่ผิวชิ้นรากเทียม ความสําเร็จของงานทันตกรรมรากเทียมส่วนหนึ่งขึ้นกับการเกาะติดของเซลล์กระดูกกับผิวชิ้นรากเทียม ปัจจัยหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกาะติดของเซลล์กระดูกกับผิวชิ้นรากเทียม ได้แก่สมบัติจําเพาะที่พื้นผิวของชิ้นรากเทียมซึ่งหมายความถึง ความสะอาดและปราศจากเชื้อ และพลังงานพื้นผิวของชิ้นรากเทียม การตรวจสอบพลังงานที่พื้นผิวของวัตถุอาจทําได้โดยวิธีการหรือเทคนิคต่าง ๆ เช่น การใช้แท่งผลึก เจอมาเนียม การหาค่ามุมสัมผัสของหยดของเหลวบนผิวชิ้นรากเทียม เพื่อเปรียบเทียบพลังงานพื้นผิวของชิ้นรากเทียม เมื่อผ่านกระบวนการปรับสภาพพื้นผิวในแบบต่าง ๆ การใช้วิธี เอลิปโซเมตรีในการวิเคราะห์ความหนาของแผ่นฟิล์มที่เคลือบบนวัตถุ การใช้กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด ร่วมกับการวิเคราะห์ส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ บนพื้นผิวส่วนบนสุดของวัตถุ โดยใช้วิธีดูการกระจายพลังงานของรังสีเอ็กซ์ เพื่อตรวจสอบสารต่าง ๆ ที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 11 ขึ้นไป วิธีนี้นํามาใช้ศึกษาแผ่นฟิล์มบาง ๆ ที่ปรากฏบนพื้นผิวโลหะซึ่งจะให้ข้อมูลมากกว่าการวิเคราะห์ด้วย กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราดเพียงอย่างเดียว เป็นต้น ด้วยเหตุที่โลหะมีคุณสมบัติที่มีการเกิดชั้นออกไซด์ที่พื้นผิวเป็นธรรมชาติที่สําคัญ ดังนั้นเมื่อพิจารณาการเกาะประสานของกระดูกกับชิ้นรากเทียมจะเป็นการเกาะประสานของกระดูกกับชั้นออกไซด์ของโลหะที่พื้นผิวไม่ใช่เนื้อโลหะบริสุทธิ์โดยตรงโลหะที่นิยมใช้ทําชิ้นรากเทียมในปัจจุบันได้แก่ ไททาเนียม ซึ่งจะให้คุณสมบัติหลายอย่างตามที่ต้องการ จากข้อมูล ที่รวบรวมมาพบว่า การทําความสะอาดและการทําให้ปราศจากเชื้อแบบเดิมด้วยวิธีอบไอน้ําภายใต้ความดันพบการปนเปื้อนบนผิววัตถุและพลังงานที่พื้นผิวยังอยู่ในระดับต่ำคือมีค่าประมาณ 20 ดายน์/ซม. แต่วิธีการใช้คลื่นความถี่วิทยุจะทําให้พื้นผิวสะอาดมากขึ้นและเพิ่มพลังงานที่พื้นผิวได้ถึง 50-70 ดายน์/ซม. ซึ่งผลของการเพิ่มพลังงานที่พื้นผิวให้มีค่าสูงขึ้นนั้นจะมีผลในการเหนี่ยวนําให้เซลล์กระดูกมาเกาะติดกับผิวชิ้นรากเทียมได้เร็วขึ้น


ผลการเรียนของนิสิตทันตแพทย์ เมื่อใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นสื่อประกอบการสอนในวิชาครอบและสะพานฟัน, มรกต ตันติประวรรณ May 1998

ผลการเรียนของนิสิตทันตแพทย์ เมื่อใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นสื่อประกอบการสอนในวิชาครอบและสะพานฟัน, มรกต ตันติประวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อวัดผลคะแนนทดสอบของนิสิตชั้นปีที่ 4 ภายหลังการเรียนการสอน โดยใช้สื่อประกอบการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เปรียบเทียบกับการใช้แผ่นใสและภาพนิ่ง ในวิชาครอบและสะพานฟัน หัวข้อเรื่อง ฟันปลอมชนิดติดแน่นที่รองรับด้วยรากเทียม วัสดุและวิธีการ กลุ่มที่ 1 นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2539 จํานวน 101 คน เข้ารับการเรียน การสอน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อประกอบการสอน ตามตารางการสอนของวิชาครอบและสะพาน ฟัน ประจําปีการศึกษา 2539 กลุ่มที่ 2 นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2540 เข้ารับการเรียนการสอน โดยใช้แผ่นใสและภาพนิ่งเป็นสื่อประกอบการสอน ตามตารางการสอนของวิชาครอบและสะพานฟัน ประจําปีการศึกษา 2540 จํานวน 100 คน นิสิตทั้ง 2 กลุ่ม ทําแบบทดสอบก่อนการเรียนใช้เวลา 10 นาที จากนั้นอาจารย์ผู้สอน บรรยายประกอบสื่อการสอน และตอบข้อซักถามเป็นเวลา 40 นาที นิสิตทําแบบทดสอบหลังการเรียนการสอน (เนื้อหา เหมือนกับแบบทดสอบก่อนการเรียนการสอน) ใช้เวลา 10 นาที บันทึกคะแนนสอบและแต้มเฉลี่ยสะสมของนิสิต ทั้ง 2 กลุ่ม นําผลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติที (t-test) ในโปรแกรม SPSS for windows ที่ระดับนัยสําคัญทาง สถิติ p < 0.01 ประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และทัศนคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ในกลุ่มที่ 1 โดยใช้แบบสอบถามผล ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแต้มเฉลี่ยสะสม และของคะแนนทดสอบก่อนการเรียนการสอนของนิสิต กลุ่มที่ 1 และ 2 มีค่า 2.79 + 0.40, 2.83 + 0.47 และ 11.66 + 2.20, 12.43 + 2.27 ตามลําดับ ไม่พบความ แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติของแต้มเฉลี่ยสะสม และผลคะแนนสอบก่อนการเรียนการสอน ระหว่างกลุ่มที่ 1 และ 2 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนทดสอบภายหลังการเรียนการสอนของนิสิตกลุ่มที่ 1 และ 2 มีค่า 24.09 + 2.68 และ 22.26 + 2.29 ตามลําดับ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.01) ของ คะแนนสอบภายหลังการเรียนการสอน ระหว่างกลุ่มที่ 1 และ 2 นิสิตร้อยละ 95 พอใจกับวิธีการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ สรุป การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทําให้นิสิตมีความตั้งใจ สนใจ และเข้าใจ ในบทเรียน มากกว่าการเรียนการสอนโดยใช้แผ่นใสและภาพนิ่งเป็นสื่อประกอบการสอน


โรคฮิสติโอไซโตซิส เอ็กซ์ : รายงานผู้ป่วยและบทความปริทัศน์, กิตตพงษ์ ดนุไทย, วิจิตร ธรานนท์ May 1998

โรคฮิสติโอไซโตซิส เอ็กซ์ : รายงานผู้ป่วยและบทความปริทัศน์, กิตตพงษ์ ดนุไทย, วิจิตร ธรานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

โรคในกลุ่มของฮิสติโอไซโตซิส เอ็กซ์ ประกอบด้วย 3 โรคคือ อีโอซิโนฟิลิค แกรนูโลม่า โรคแฮนด์ ซูลเลอร์ คริสเตียน และ โรคเลทเทอเรอร์ ไซวี โรคในกลุ่มนี้มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยและมีลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาคือ มีการเพิ่มจํานวนของแลงเกอฮานเซลล์รวมถึงการรวมตัวของพวกอีโอซิโนฟิล ลักษณะของภาพถ่ายทางรังสีจะพบเงาดําวงเดียวหรือหลายวงที่มีขอบเขตชัดเจนหรือลักษณะของฟันลอยอยู่ในอากาศในกรณีที่มีความรุนแรงมาก เนื่องจากลักษณะอาการแสดงในช่องปากที่หลากหลายซึ่งอาจนําไปสู่ปัญหาในการวินิจฉัยโรค บทความนี้จึงเน้นเกี่ยวกับบทบาทของการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางจุลพยาธิวิทยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพบแลงเกอฮานเซลล์ การผ่าตัดเป็นการรักษาที่นิยมทํากันโดยเฉพาะรอยโรคในกระดูกขากรรไกรในขณะที่การใช้รังสีรักษาและเคมีบําบัดควรจะสงวนไว้ใช้ ในกรณีที่รอยโรคมีเป็นจํานวนมากหรือไม่สามารถเข้าไปทําการผ่าตัดได้ บทความนี้เป็นการรายงานถึงผู้ป่วยชายอายุ 22 ปีซึ่งมีปัญหาเหงือกบวมและฟันโยก นอกจากนี้ยังพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณใต้ขากรรไกรล่างมีขนาดใหญ่ขึ้น ภาพถ่ายทางรังสีพบรอยโรคในกระดูกหลายชิ้น ชิ้นเนื้อที่ตัดไปตรวจทางจุลพยาธิวิทยาแสดงให้เห็นถึงกลุ่มของแลงเกอฮานเซลล์ที่อยู่ปะปนกับอีโอซิโนฟิล แลงเกอฮานเซลล์ย้อมติดสีเมื่อใช้เทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคมีสําหรับเอส-หนึ่งร้อยการรักษาในผู้ป่วยรายนี้กระทําโดยใช้การผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษา


ความชุกของโรคฟันผุของเด็กอายุ 2-12 ปี ที่มารับการรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2536 เปรียบเทียบกับปี 2513 - 2531, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์, พรรณิภา ศรีวณิชย์, สุภัทรา ชมรูปสวย May 1998

ความชุกของโรคฟันผุของเด็กอายุ 2-12 ปี ที่มารับการรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2536 เปรียบเทียบกับปี 2513 - 2531, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์, พรรณิภา ศรีวณิชย์, สุภัทรา ชมรูปสวย

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด และความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด ของฟันน้ํานม และฟันถาวร กับอายุและเพศของเด็กที่มารับการรักษาที่ภาควิชาทันตกรรมสําหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2536 เปรียบเทียบกับการศึกษาใน ปี พ.ศ. 2513, 2518, 2523, 2528 และ 2531 วิธีการ บันทึกค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด ของเด็กอายุ 2-6 ปี และอายุ 7-12 ปี จํานวน 274 คนที่เข้ามารับการตรวจ ทางคลินิก และได้รับการถ่ายภาพรังสีชนิดไบท์วิ่ง ที่ภาควิชาทันตกรรมสําหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2536 เป็นการศึกษาต่อเนื่องทุก 5 ปี ผลการศึกษาและสรุปผล ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดในปี พ.ศ. 2536 ของฟันน้ํานมมีค่า 6.44 ซี่ คน และ 14.53 ด้าน/คน ฟันถาวรมีค่า 2.69 คน และ 4.09 ด้าน/คน ความแตกต่างระหว่างเพศกับค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด ของ ฟันน้ํานมและฟันถาวร เมื่อทดสอบ ค่าสถิติด้วย t-test พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05) ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด เป็นซี่/คน ด้าน/คน ของฟันน้ํานม เด็กอายุ 2-6 ปี และฟันถาวรเด็กอายุ 7-12 ปี จะมีค่า ลดลงจากการทําวิจัยผู้ป่วยเด็กที่มารับการรักษาในปีพ.ศ. 2513, 2518 และ 2523 แต่มีค่าสูงกว่าในปี พ.ศ. 2528 …


การเปรียบเทียบความพึงพอใจของการรับรสระหว่างคนสูงอายุและคนหนุ่มสาว, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม May 1998

การเปรียบเทียบความพึงพอใจของการรับรสระหว่างคนสูงอายุและคนหนุ่มสาว, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม

Chulalongkorn University Dental Journal

การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และลดจํานวนเซลล์ของต่อมรับรสจะเกิดขึ้นเมื่อคนมีอายุมากขึ้นซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของการรับรสอาหาร วัตถุประสงค์ และคนหนุ่มสาว การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของความพึงพอใจในการรับรสระหว่างคนสูงอายุ วิธีการศึกษา การศึกษากระทําในกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพสมบูรณ์ 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่ม คนสูงอายุ จํานวน 41 คน และกลุ่มคนหนุ่มสาว จํานวน 40 คน เข้ารับการทดลองชิมสารละลายที่มีรสหวาน เค็ม และเปรี้ยว ที่ความเข้มข้น ต่าง ๆ กัน 5 ระดับ ด้วยวิธีจิบและบ้วน แล้วนําข้อมูลมาวิเคราะห์หาความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจรส ระหว่างกลุ่มคนสูงอายุและกลุ่มคนหนุ่มสาวด้วยการทดสอบ ที (t-test)ผลการทดลองและสรุป ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลุ่มคนสูงอายุ และกลุ่มคนหนุ่มสาวรู้สึกพึงพอใจรสหวาน เค็ม และเปรี้ยว เมื่อความเข้มข้นของสารละลายซูโครส โซเดียมคลอไรด์ และกรดซิตริก เป็น 10.0 0.16 และ 0.32 กรัม% และ 5.0 0.16 และ 0.008 กรัม% ตามลําดับ อย่างไรก็ตามความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจ ระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งสองเป็นไปอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) เฉพาะรสหวานและรสเปรี้ยวเท่านั้น นอกจาก นี้ยังพบว่าความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในรสต่าง ๆ ระหว่างชายและหญิงเป็นไปอย่างไม่มีนัยสําคัญ ทางสถิติเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสรุปได้ว่าการรับรสจะเปลี่ยนไปเมื่ออายุมากขึ้น แต่เพศไม่มีอิทธิพลต่อการรับรส


การเปรียบเทียบวิธีการสอน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับการใช้ ภาพนิ่ง แผ่นใส และเอกสาร ประกอบการสอน, มรกต ตันติประวรรณ May 1998

การเปรียบเทียบวิธีการสอน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับการใช้ ภาพนิ่ง แผ่นใส และเอกสาร ประกอบการสอน, มรกต ตันติประวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 2 เรื่องชนิดและส่วนประกอบของฟันปลอม โดยการสอน 3 วิธีคือ 1. การสอนโดยใช้ภาพนิ่ง แผ่นใส และเอกสาร เป็นสื่อประกอบการสอน 2. การสอนโดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์เป็นสื่อประกอบการสอน 3. การเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยตนเอง วัสดุและวิธีการ แบ่งนิสิตอาสาสมัคร ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2539 จํานวน 69 คน ตามแต้มเฉลี่ยสะสม ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 23 คน กลุ่มที่ 1 เรียนโดยใช้แผ่นใส ภาพนิ่ง และเอกสาร เป็นสื่อประกอบการสอน กลุ่มที่ 2 เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อประกอบการสอน กลุ่มที่ 3 นิสิตเรียนด้วยตนเองโดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทั้ง 3 กลุ่มใช้เวลาในการเรียน 30 นาที จากนั้นทําแบบทดสอบ 20 นาที ใช้ค่าสถิติการ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) วิเคราะห์คะแนนสอบที่ระดับนัยสําคัญ p<0.05 กลุ่มที่ 2 และ 3 ทําแบบทดสอบเพื่อประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และทัศนคติที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผล ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนสอบในกลุ่มที่ 1 2 และ 3 คือ 20.39 + 3.27 21.17 : 2.57 และ 20.91 + 3.42 ตามลําดับ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติของคะแนนสอบระหว่างกลุ่ม (p = 0.6871) นิสิตร้อยละ 95 ของกลุ่มที่ 2 และ 3 พอใจการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และต้องการ ให้มีบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มขึ้น สรุป การเรียนการสอนในหัวข้อเรื่อง ชนิดและส่วนประกอบของฟันปลอม พบว่านิสิตชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยมีบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อประกอบการสอน ให้ผลคะแนนสอบไม่แตกต่างจากการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรียนด้วยตนเอง กับการใช้แผ่นใส ภาพนิ่ง และเอกสารเป็นสื่อประกอบการสอน นิสิตส่วนใหญ่สนใจและพอใจกับ วิธีการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


การรักษารอยโรคปริทันต์โดยการเหนี่ยวนําเนื้อเยื่อ ด้วยแผ่นยางกันน้ำลายร่วมกับวัสดุปลูกกระดูก : รายงานผู้ป่วย 2 ราย, อภิชาติ ศิลปอาชา, นวลฉวี หงษ์ประสงค์ May 1998

การรักษารอยโรคปริทันต์โดยการเหนี่ยวนําเนื้อเยื่อ ด้วยแผ่นยางกันน้ำลายร่วมกับวัสดุปลูกกระดูก : รายงานผู้ป่วย 2 ราย, อภิชาติ ศิลปอาชา, นวลฉวี หงษ์ประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

การรักษาโรคปริทันต์ด้วยการผ่าตัดโดยการใช้กระบวนการเหนี่ยวนําเนื้อเยื่อให้สร้างอวัยวะปริทันต์ขึ้นใหม่ในบริเวณรอยโรค (จีทีอาร์) จําเป็นต้องใช้แผ่นกั้นเพื่อป้องกันเซลล์ที่ไม่ต้องการให้เข้าไปบริเวณผิวฟัน และเปิดโอกาสให้เซลล์ที่ต้องการได้แก่เซลล์ของเอ็นยึดปริทันต์และเซลล์ของกระดูกเบ้าฟันที่เป็นตัวอ่อนได้เข้าในยังบริเวณผิวรากฟัน สร้างเนื้อเยื่อปริทันต์ในบริเวณที่สูญเสียไป แผ่นกั้นที่ใช้แบ่งเป็นแผ่นกั้นชนิดที่ไม่สลายและสามารถละลายได้เองทั้งสองชนิดได้ผลิตขายในท้องตลาดมีลักษณะตามรอยโรคที่ต้องการใช้ ใช้ได้ผลดี และเมื่อใช้ร่วมกับวัสดุปลูกกระดูกจะให้ผลดียิ่งขึ้น แต่เนื่องจากมีราคาสูงมาก โดยเฉพาะในรอยโรคที่อยู่ติดกันหลาย ๆ รอยโรคจะต้องใช้แผ่นกั้นหลายชิ้นเย็บต่อเนื่อง นอกจากราคาแพงแล้วยังยุ่งยากและอาจให้ผลดีไม่เท่าที่ควร ดังนั้นแผ่นยางกันน้ำลายจึงถูกนํามาใช้แทนแผ่นกั้นในท้องตลาด ซึ่งพบว่าสามารถใช้เป็นแผ่นกั้นได้ดี ทําให้เกิดกระบวนการเหนี่ยวนําเนื้อเยื่อให้สร้างอวัยวะปริทันต์ขึ้นใหม่ได้เหมือนกับการใช้แผ่นกั้นในท้องตลาด ในรายงานนี้เป็นรายงานการผ่าตัดแบบจีทีอาร์ ใน ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งมีรอยโรคหลาย ๆ รอยโรคในบริเวณเดียวกัน 2 ราย โดยใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นและได้ตามผลการรักษามาแล้วเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งพบว่าการหายของรอยโรคดีและคงสภาพได้ เช่นเดียวกับผู้ป่วยซึ่งใช้แผ่นกั้นในท้องตลาดในการผ่าตัดแบบเดียวกัน


การเพิ่มขึ้นของแคลเซียมไอออนในอาหารเลี้ยงเซลล์กระตุ้นการสร้างไฟโบรเนกทินในเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์, ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ, ประสิทธิ์ ภวสันต์ May 1998

การเพิ่มขึ้นของแคลเซียมไอออนในอาหารเลี้ยงเซลล์กระตุ้นการสร้างไฟโบรเนกทินในเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์, ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ, ประสิทธิ์ ภวสันต์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน โดยในส่วนแรกทําขึ้นเพื่อศึกษาว่าการเพิ่มขึ้นของการสร้างไฟโบรเนกทิน โดยเซลล์เพาะเลี้ยงจากเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ในสภาวะที่มีเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ จําเป็นต้องมีการสัมผัสโดยตรงระหว่างเซลล์กับไฮดรอกซีอาปาไทต์หรือไม่ และในส่วนที่สอง เราทําการศึกษาถึงผลของการเพิ่มของแคลเซียมไอออน ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีต่อการสร้างไฟโบรเนกทิน วัสดุและวิธีการ เราได้ทําการเลี้ยงเซลล์ในสภาวะต่าง ๆ คือ 1 สภาวะที่มีเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ 2 เลี้ยงในอาหาร เลี้ยงเซลล์ที่แช่ไฮดรอกซีอาปาไทต์ และ 3 เติมสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ 5 มิลลิโมลาร์ หรือ อีจี ทีเอ 1 มิลลิโมลาร์ หรือ ไอโอโนฟอร์ 500 นาโนโมลาร์ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง แล้วทําการวิเคราะห์ปริมาณไฟโบรเนกบินโดยเทคนิก เวสเทอร์นอนาไลซิส ผลการศึกษา เซลล์ที่เลี้ยงในสภาวะที่มีเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ หรือในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่แช่ไฮดรอกซีอาปาไทต์ จะสร้างไฟโบรเนกทินเพิ่มขึ้น 1.5 และ 1.9 เท่าตามลําดับ เซลล์ที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่เติมสารละลายแคลเซียม คลอไรด์ จะสร้างไฟโบรเนกทินเพิ่มมากขึ้นประมาณ 1.5 เท่า เช่นเดียวกับเซลล์ที่เลี้ยงในแคลเซียมไอโอโนฟอร์ ใน ขณะที่สารละลายอีจีทีเอจะทําให้การสร้างไฟโบรเนกทินลดลง สรุป การตอบสนองของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ต่อเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์โดยการเพิ่มการสร้างไฟโบรเนกบินไม่จําเป็นต้องมีการสัมผัสโดยตรงระหว่างเซลล์กับเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ แต่เกิดจากสารที่ละลายออกจากไฮดรอกซีอาปาไทต์ นอกจากนี้ การสร้างไฟโบรเนกทินยังเพิ่มขึ้นในสภาวะที่มีแคลเซียมไอออนในอาหารเลี้ยงเซลล์มากขึ้น ดังนั้นผล ของการกระตุ้นการสร้างไฟโบรเนกทินของไฮดรอกซีอาปาไทต์น่าจะเกิดจากการละลายของแคลเซียมไอออนจากไฮดรอกซีอาปาไทต์และทําให้ระดับของแคลเซียมไอออนในอาหารเลี้ยงเซลล์เพิ่มสูงขึ้น


Peroxidase Activity In Unstimulated Whole Saliva In Periodontitis Patients, Em-On Benjavongkulchai, Janpen Bunmongkolruksa, Wipavee Kosalathip May 1998

Peroxidase Activity In Unstimulated Whole Saliva In Periodontitis Patients, Em-On Benjavongkulchai, Janpen Bunmongkolruksa, Wipavee Kosalathip

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To compare total peroxidase activity in whole saliva between periodontitis patients and perio- dontal healthy control by using more reliable and specific assay of 5-thio-2-nitrobenzoic acid (Nbs). Materials and methods Unstimulated whole saliva samples from periodontitis patients and periodontal healthy subjects (n = 15) were collected by expectoration. Flow rate was determined and pH was measured by pH paper. Total protein concentration and peroxidase activity were determined by Coomassie Brilliant Blue G250 and Nbs, respectively.Results and conclusions Mean values of flow rate, pH and total protein concentration in both groups were similar to each other. However, total peroxidase activity …


รอยโรคฮิสโตพลาสโมซิสในผู้ป่วย โรคเอสแอลอี - รายงานผู้ป่วย, ลาวัณย์ บุณยมานนท์, สมศรี โรจนวัฒน์ศิริเวช Jan 1998

รอยโรคฮิสโตพลาสโมซิสในผู้ป่วย โรคเอสแอลอี - รายงานผู้ป่วย, ลาวัณย์ บุณยมานนท์, สมศรี โรจนวัฒน์ศิริเวช

Chulalongkorn University Dental Journal

ฮิสโตพลาสโมซิสเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราฮิสโตพลาสมา แค็ปสุลาตุ้ม รอยโรคฮิสโตพลาสโมซิสในช่องปากพบได้ในผู้ป่วยที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกกดหรือได้รับยาสเตอรอยด์ ในรายงานนี้ผู้ป่วยหญิงอายุ 37 ปีมีประวัติเป็นโรคเอสแอลอี ได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยาเพร็ดนิโซโลนมาเป็นเวลา 6 ปี ร่วมกับรักษาวัณโรคปอดมาแล้วกว่า 6 เดือน ในช่องปากพบรอยโรคลักษณะเป็นแผลที่บริเวณเพดานปาก และเหงือกบริเวณด้านหลังของฟันกรามข้างซ้าย จากการวินิจฉัยทางจุลพยาธิวิทยาพบว่าเป็นรอยโรคฮิสโตพลาสโมซิส ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษารอยโรคในช่องปากด้วยยาอิตร้าโคนาโซลหรือสปอร์รอล หลังจากการใช้ยาชนิดนี้รับประทานในขนาด 400 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลา 1 เดือนพบว่า รอยโรคในบริเวณดังกล่าวดีขึ้นโดยแผลส่วนใหญ่หายไป และแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อที่ยังมีสีแดงของการอักเสบ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาด้วยยานี้ต่อไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน


การศึกษาซิลิโคนที่ใช้ทําแบบพิมพ์หูสําหรับผู้ป่วยหูพิการ, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, รศนา เกตุทัต, ลัดดาวัลย์ สัมพันธ์ศิริกุล, นพวรรณ เจือณรงค์ฤทธิ์ Jan 1998

การศึกษาซิลิโคนที่ใช้ทําแบบพิมพ์หูสําหรับผู้ป่วยหูพิการ, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, รศนา เกตุทัต, ลัดดาวัลย์ สัมพันธ์ศิริกุล, นพวรรณ เจือณรงค์ฤทธิ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ แบบพิมพ์หูที่ใช้ร่วมกับเครื่องช่วยฟัง สําหรับผู้ป่วยหูพิการ มีความสําคัญ โดยนําเสียงจากลําโพง เข้าสู่ช่องหู ยึดลําโพงให้ติดกับรูหูของผู้ป่วยแต่ละคน ไม่มีการรั่วของเสียงจากลําโพงสู่ภายนอก ควรมีคุณสมบัติยืดหยุ่น ดี ไม่ทําให้เจ็บ มีความทนทานต่อการฉีกขาดไม่มีรูพรุน นําคลื่นเสียงได้ดีวิธีการผลิตไม่ยุ่งยาก น้ําหนักเบา ใส และ สวยงามวัสดุที่ใช้ทําแบบพิมพ์หูในปัจจุบันยังขาดคุณสมบัติบางประการ งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณสมบัติทางกลของวัสดุ 6 ชนิด ที่จะนํามาใช้ทําแบบพิมพ์หู วัสดุและวิธีการ ศึกษาและเปรียบเทียบคุณสมบัติทางกลอันได้แก่ ความต้านทานต่อการฉีกขาด ความแข็งผิว การ แข็งตัว ความใส และความพรุน ของซิลิโคน 6 ชนิด คือ SILICON-MICROFLEX BIOPOR PSE30 PSE70 A999 และ A595 ผลการวิจัยและสรุป จากการเปรียบเทียบปรากฏว่า PSE30 มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับคุณสมบัติในอุดมคติของวัสดุ ที่ใช้ทําแบบพิมพ์หู มากกว่าซิลิโคนอื่น ๆ ซึ่งควรจะนํามาศึกษาคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก ก่อนจะนํามาใช้งานในทางคลินิก


การตรวจวิเคราะห์ชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่พบในร่องลึกปริทันต์ของผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์อักเสบในคนไทย, จินตกร คูวัฒนสุชาติ, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน Jan 1998

การตรวจวิเคราะห์ชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่พบในร่องลึกปริทันต์ของผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์อักเสบในคนไทย, จินตกร คูวัฒนสุชาติ, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ : การวิจัยครั้งนี้ต้องการตรวจวิเคราะห์หาชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่พบในร่องลึกปริทันต์ของผู้ป่วยด้วย โรคปริทันต์อักเสบในคนไทย วัสดุและวิธีการ : ทําการเก็บตัวอย่างคราบจุลินทรีย์จากร่องลึกปริทันต์ของผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์อักเสบที่ได้มาจาก ภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จํานวนทั้งสิ้น 16 ราย รวมตัวอย่างที่เก็บ มาทั้งหมด 32 ตัวอย่าง โดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อทั้งพวก Non selective media กับพวก Selective media ทําการ เพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ สรุป : ผลการวิจัย ได้แสดงให้เห็นว่าเชื้อที่ตรวจพบในร่องลึกปริทันต์ของฟันผู้ป่วยด้วย โรคปริทันต์อักเสบในคนไทย ส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อพวกกรมลบชนิดแท่งที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโต


อุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบ-การศึกษาทางคลินิก, ชัยวัฒน์ ปิ่นน้อย, ไมตรี แสงนาค Jan 1998

อุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบ-การศึกษาทางคลินิก, ชัยวัฒน์ ปิ่นน้อย, ไมตรี แสงนาค

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทางคลินิกถึงอุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบและสาเหตุที่ทําให้เกิดภายหลังการถอนฟัน ในผู้ป่วยคนไทยกลุ่มหนึ่งที่มารับการถอนฟันที่ภาควิชาศัลยศาสตร์คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงเวลา 2 ปี วัสดุและวิธีการ ศึกษาจากผู้ป่วย 912 คน ที่มารับการถอนฟันทั้งฟันธรรมดาและฟันคุด บันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่มี อาการปวดร้าวรุนแรงอย่างต่อเนื่องภายหลังการถอนฟัน ตรวจ และให้การวินิจฉัยว่าเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบหรือไม่ นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติต่อไป ผลการศึกษา พบอุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบ 2.8% ในการถอนฟัน 1181 ซี่ จากผู้ป่วย 912 คน พบว่า อุบัติการการเกิดสูงสุด ในช่วงอายุ 20-29 ปีของทั้งสองเพศ คิดเป็น 43% พบอุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบ ในเพศหญิงมากกว่าในเพศชาย แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05) ความชุกในการเกิดกระดูก และแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเบ้าฟันอักเสบพบภายหลังการถอนฟันยากมากกว่าการถอนฟันธรรมดา (p<0.05) พบอุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบในขากรรไกรล่างมากกว่าในขากรรไกรบนคิดเป็น 90% และ 10% ตามลําดับพบว่าส่วนใหญ่เกิดภายหลังการถอนฟันคุด 60.6% และเป็นฟันคุดชนิดที่ไม่มีฝาเหงือกอักเสบมาก ที่สุดคิดเป็น 48.5% และพบว่าจะเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบในวันที่สองภายหลังการถอนฟันมากที่สุดคิดเป็น 85% อาการปวดจะหายไปหลังจากได้รับการรักษา 2-4 ครั้ง สรุป พบว่าการถอนฟันยากซึ่งทําให้เกิดการบอบช้ํา (Trama) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบและ พบด้วยว่าการติดเชื้อ (Infection) ก็เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งด้วย ซึ่งผลที่ได้นี้สนับสนุนงานวิจัยของผู้อื่นที่เสนอ ไว้ในคำนำ


การเปรียบเทียบการรั่วซึมของวัสดุบูรณะฟันชั่วคราว 3 แบบ, ปิยาณี พาณิชย์วิสัย, ชุติมา ระติสุนทร, ลิขนา มักอุส่าห์, พจมาลย์ โตเทียม Jan 1998

การเปรียบเทียบการรั่วซึมของวัสดุบูรณะฟันชั่วคราว 3 แบบ, ปิยาณี พาณิชย์วิสัย, ชุติมา ระติสุนทร, ลิขนา มักอุส่าห์, พจมาลย์ โตเทียม

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการรั่วซึมของวัสดุบูรณะฟันชั่วคราว 3 แบบ คือ Caviton, IRM และ Caviton ร่วมกับ IRM วัสดุและวิธีการ โดยใช้ฟันกรามใหญ่ล่างแท้ซึ่งปลายรากปิดทั้งหมด จํานวน 36 ซี่ โดยฟัน 33 ซี่ ทําการกรอ ช่องเปิดเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในพื้นที่ด้านบดเคี้ยว-ใกล้กลาง (Occluso mesial) และอุดด้วยวัสดุที่ต้องการทดสอบกลุ่มละ 10 ซี่ ส่วนอีก 3 ซี่ อุดด้วยกัตตาเปอร์ซาเป็นกลุ่มควบคุมที่ให้ผลบวก และ 3 ที่เหลือซึ่งไม่ได้กรอช่องเปิดเข้าสู่ โพรงเนื้อเยื่อในฟันเป็นกลุ่มควบคุมที่ให้ผลลบ จากนั้นทายาทาเล็บ 3 ชั้นที่ผิวฟันนํามาแช่น้ําลายเทียมที่อุณหภูมิ 37 °C เป็นเวลา 1 วัน นํามาทํา thermocycling ที่อุณหภูมิ 5 ± 2 °C เป็นเวลา 30 วินาที และที่อุณหภูมิ 55 #2 °C เป็นเวลา 30 วินาที ทําซ้ํา 90 รอบ แล้วนําฟันมาแช่ในน้ําลายเทียมที่อุณหภูมิ 37 °C ต่ออีก 6 วัน เมื่อ ครบกําหนดนําฟันไปแช่ในสารละลาย methylene blue ความเข้มข้นร้อยละ 2 เป็นเวลา 7 วัน นําฟันไปตัดโดย เครื่องตัดฟัน ในแนวใกล้กลาง-ไกลกลาง (mesio-distal) แล้วนํามาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ (stereo microscope) เพื่อวัดระดับการรั่วซึมของสี ผลการทดลอง การรั่วซึมของสีบนด้านบดเคี้ยว ของกลุ่มที่อุดด้วย Caviton และกลุ่มที่อุดด้วย Caviton ร่วมกับ IRM มีการรั่วซึมน้อยกว่ากลุ่มที่อุดด้วย IRM อย่างมีนัยสําคัญ (p<0.01) การรั่วซึมของสีในกลุ่มที่อุดด้วย Caviton ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญจากกลุ่มที่อุดด้วย Caviton ร่วมกับ IRM ส่วนการรั่วซึมของสีทางด้านข้าง มีการรั่วซึมเข้าถึงระดับโพรงฟันไม่แตกต่างกันทั้ง 3 กลุ่ม สรุป การอุดด้วย Caviton หรือ Caviton ร่วมกับ IRM ใน Cavity Class II จะสามารถป้องกันการรั่วซึมได้ ดีกว่าการบูรณะชั่วคราวด้วย IRM เพียงอย่างเดียว


เหงือกบวมในผู้ป่วยโรคลมชัก, อรนุช บุญรังสิมันตุ์ Jan 1998

เหงือกบวมในผู้ป่วยโรคลมชัก, อรนุช บุญรังสิมันตุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยหญิงหนึ่งราย ซึ่งมีเหงือกบริเวณหน้าบนและล่างบวมมาก เนื่องจากได้รับยาไดแลนทีนในการรักษาโรคลมชักที่โรงพยาบาลระยอง ผลข้างเคียงของยาไดแลนทีนทางทันตกรรม คือ การทําให้เหงือกบวมโตได้โดยเฉพาะผู้ที่มีอนามัยช่องปากไม่ดี ดังนั้นในการรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ ทันตแพทย์ควรตระหนักถึง การเน้นให้ผู้ป่วยดูแลอนามัยช่องปากเป็นสําคัญ


Clinical Evaluation Of Attachment In Mandibular Furcation, Varunee Kerdvongbundit, Piyawat Phankosol Jan 1998

Clinical Evaluation Of Attachment In Mandibular Furcation, Varunee Kerdvongbundit, Piyawat Phankosol

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The healing response of non- molar sites, molar flat surface sites and molar furcation sites was investigated in 21 adult periodontitis patients following a periodontal therapy of plaque control, scaling and root planing Material and methods A total of 270 sites were monitored by recordings of plaque index, gingival index, gingival recession, probing depth, and probing attachment loss at 3 months and every 6 th month for 2 years.Results and conclusion The results demonstrated that in sites with initial probing depth of 4.0 mm or greater, molar furcation sites responded less favorably to the therapy as compared to molar …


การเปรียบเทียบการรั่วซึมของวัสดุบูรณะฟันชั่วคราว 3 แบบ ภาค 2, ปิยาณี พาณิชวสัย, ชุติมา ระติสุนทร, เฌอมาลย์ เรืองวิไลรัตน์, ศิริรัตน์ ลิ่มบริบูรณ์ Jan 1998

การเปรียบเทียบการรั่วซึมของวัสดุบูรณะฟันชั่วคราว 3 แบบ ภาค 2, ปิยาณี พาณิชวสัย, ชุติมา ระติสุนทร, เฌอมาลย์ เรืองวิไลรัตน์, ศิริรัตน์ ลิ่มบริบูรณ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการรั่วซึมของวัสดุบูรณะฟันชั่วคราว 3 แบบ คือ การใช้ CAVIT-G ร่วมกับ CAVIT,CAVIT-G ร่วมกับ KETAC-SILVER และ Caviton ร่วมกับ IRM วัสดุและวิธีการ โดยใช้ฟันกรามใหญ่ล่างแท้ที่ไม่ผุและปลายรากปิด จํานวน 36 ปี ทําการกรอช่องเปิดเข้าสู่โพรง เนื้อเยื่อในฟันเป็นลักษณะ class II cavity occluso mesial ในฟัน 33 ซี่ แล้วอุดด้วยวัสดุที่ต้องการทดสอบ กลุ่ม ละ 10 ซี่ ส่วนกลุ่มควบคุมที่ให้ผลบวก อุดด้วยกัตตาเปอร์ชา 3 ซี่ และกลุ่มควบคุมที่ให้ผลลบซึ่งไม่ได้กรอช่องเปิด เข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในฟันอีก 3 ซี่ จากนั้นทายาทาเล็บชนิดใส 3 ชั้นเคลือบผิวฟัน นําฟันมาแช่น้ําลายเทียมที่อุณหภูมิ 37°C เป็นเวลา 1 วัน แล้วนํามาทํา thermocycling ที่อุณหภูมิ 5 ±2°C เป็นเวลา 30 วินาที และที่อุณหภูมิ 55 ± 2°C เป็นเวลา 30 วินาที ทําซ้ำ 90 รอบ จากนั้นนํามาแช่ในน้ำลายเทียมที่อุณหภูมิ 37°C ต่ออีก 6 วัน ต่อ มาแช่ในสารละลายเมทธิลีนบลู ความเข้มข้นร้อยละ 2 ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน เมื่อครบกําหนดนําฟันมาตัด ตามยาวในแนวใกล้กลาง-ไกลกลาง (mesio-distal) แล้วนํามาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอชนิดดูด้วยแสงเพื่อวัดระดับการรั่วซึมของสี ผลการทดลอง การรั่วซึมของสีบนด้านบดเคี้ยว (occlusal) มีการรั่วซึมไม่แตกต่างกันทั้ง 3 กลุ่ม การรั่วซึมของสี บนด้านข้าง (proximal) ของกลุ่มที่อุดด้วย CAVIT-G ร่วมกับ CAVIT มีการรั่วซึมน้อยกว่ากลุ่มที่อุดด้วย CAVIT- …