Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Elderly

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของโปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการต่อความเหนื่อยล้าหลังผ่าตัดของผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก (The Effect Of Integrative Management Program On Postoperative Fatigue Of Orthopedic Elderly Patients), พัชราภรณ์ ศรีคะชินทร์, จิราพร เกศพิชญวัฒนา Jan 2013

ผลของโปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการต่อความเหนื่อยล้าหลังผ่าตัดของผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก (The Effect Of Integrative Management Program On Postoperative Fatigue Of Orthopedic Elderly Patients), พัชราภรณ์ ศรีคะชินทร์, จิราพร เกศพิชญวัฒนา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการต่อความเหนื่อยล้าหลังผ่าตัดของผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง \nวิธีดำเนินการวิจัย: โดยใช้แนวคิด Piper's Integrated Fatigue Model ของ Piper (1987) และ แนวทางการลดความเหนื่อยล้าของ Robinson et al. (2003) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการ ผ่าตัดใหญ่ทางศัลยกรรมกระดูก ณ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 40 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน จับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในด้านอายุ เพศ ชนิดของการผ่าตัด ยาระงับความรู้สึก ชนิดของโรคเรื้อรัง และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการซึ่งประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับความเหนื่อยล้าในวันก่อนผ่าตัด การจัดกิจกรรมเพื่อลดการใช้พลังงานและสะสม พลังงาน การจัดการกับความเจ็บปวด และจัดกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียดหลังผ่าตัด เครื่องมือที่ ใช้ในการทดลองได้แก่ 1) โปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการ ประกอบด้วย แผนการสอนและคู่มือเรื่อง ความเหนื่อยล้าหลังผ่าตัดกระดูก 2) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความเหนื่อยล้า ซึ่งผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.91 และ ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที่ \nผลการวิจัย: \n1. การรับรู้ความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก ภายหลังได้รับโปรแกรม การจัดการแบบบูรณาการน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกำลัง แรงบีบมือภายหลังได้รับโปรแกรมฯ มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n2. การรับรู้ความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูกกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่กำลังแรงบีบมือไม่แตกต่างกัน \nสรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการสามารถลดความเหนื่อยล้าของผู้ป่วย สูงอายุผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก อย่างไรก็ตามควรมีการนำโปรแกรมดังกล่าวประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย ศัลยกรรมอื่น ๆ ด้วย