Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

อาการวิตกกังวล

Publication Year

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลอาการวิตกกังวลซึ่งเป็นอุปนิสัย กับอาการวิตกกังวล ขณะเผชิญของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Relationships Between Personal Factors, Trait Anxiety And State Anxiety Of Pregnants With Hyperemesis Gravidarum.), ปิยภรณ์ ปัญญาวชิร, พรทิพย์ วงศ์วิเศษสิริกุล Jan 2001

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลอาการวิตกกังวลซึ่งเป็นอุปนิสัย กับอาการวิตกกังวล ขณะเผชิญของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Relationships Between Personal Factors, Trait Anxiety And State Anxiety Of Pregnants With Hyperemesis Gravidarum.), ปิยภรณ์ ปัญญาวชิร, พรทิพย์ วงศ์วิเศษสิริกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัว ความสามารถในการเบิกค่ารักษา อาการวิตกกังวลซึ่งเป็นอุปนิสัย และ อาการวิตกกังวลขณะเผชิญ ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง และได้เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสูติกรรม 3 คณะแพทย ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในระหว่างเดือนมีนาคม 2541 ถึง มีนาคม 2543 เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. FW Version 7.5 ผลการวิจัยพบว่า ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัว ความสามารถในการเบิกค่ารักษาพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการวิตกกังวล ซึ่งเป็นอุปนิสัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาการวิตกกังวลซึ่งเป็นอุปนิสัยมีความสําคัญทางบวกกับอาการ วิตกกังวลขณะเผชิญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับอาการวิตกกังวล ซึ่งเป็นอุปนิสัยและระดับการศึกษา สามารถร่วมกันทำนายอาการวิตกกังวลขณะเผชิญได้ร้อยละ 14.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัย ครั้งนี้พยาบาลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง โดยการ ให้ข้อมูลกับหญิงตั้งครรภ์เพื่อลดอาการวิตกกังวล และสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้อย่างมีความสุข


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร กับอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์ (Relationships Between Selected Factors, Anxiet And Depression After Pregnancy Loss), พรทิพย์ วงศ์วิเศษสิริกุล, นงลักษณ์ วิจิตรพันธุ์ Sep 2000

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร กับอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์ (Relationships Between Selected Factors, Anxiet And Depression After Pregnancy Loss), พรทิพย์ วงศ์วิเศษสิริกุล, นงลักษณ์ วิจิตรพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ รายได้ครอบครัว จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ อายุครรภ์ ประวัติการสูญเสียบุตรในอดีต กับอาการวิตกกังวล และซึมเศร้าภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์ รวมทั้งความสามารถในการทำนายอาการวิตกกังวลและซึมเศร้า จากปัจจัยคัดสรร กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากสูติแพทย์ว่าต้องสิ้นสุด การตั้งครรภ์เพื่อการรักษา เนื่องจากการตั้งครรภ์ไม่มีตัวอ่อน ตัวอ่อนหรือทารกตายในครรภ์ การแท้งค้าง ทารกพิการ หรือมารดาเป็นโรคร้ายแรงที่ไม่สามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้ จำนวน 113 ราย ซึ่งมา รับการรักษาที่หอผู้ป่วยสูติกรรม 3 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนมกราคม ถึง กันยายน 2542 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคัดสรรไม่มีความสัมพันธ์ กับอาการวิตกกังวลภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์ แต่อายุ รายได้ครอบครัว อายุครรภ์ มีความสัมพันธ์ กับอาการซึมเศร้า ภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อายุครรภ์และรายได้ครอบครัว สามารถร่วมกันทำนายอาการซึมเศร้าภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 12.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01