Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Veterinary Medicine

PDF

1994

กระดูกอ่อน สุนัข ฮัยเปอร์พาราธัยรอยด์สม

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

อุบัติการของโรคกระดูกอ่อนและการรักษาโรค Nutritional Secondary Hyperparathyroidism ในสุนัข, สุภัทรา ยงศิริ, อชิรญา เหล่าวณิชยวิทย์, กมล สกุลวิระ, มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์ Dec 1994

อุบัติการของโรคกระดูกอ่อนและการรักษาโรค Nutritional Secondary Hyperparathyroidism ในสุนัข, สุภัทรา ยงศิริ, อชิรญา เหล่าวณิชยวิทย์, กมล สกุลวิระ, มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาอุบัติการของโรคกระดูกอ่อนในสุนัขพันธุ์ใหญ่ ที่มารับบริการตรวจรักษาและ ฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากสุนัขที่ตรวจ 31 ตัว พบเป็นโรคกระดูกอ่อน 21 ตัว (67.7%) ในจำนวนนี้เป็นโรค nutritional secondary hyperparathyroidism (NSH) 18 ตัว (85.7%) และ retained enchondral cartilage core ที่กระดูก ulna 3 ตัว (14.3%) พบมากที่สุดในพันธุ์ร้อตไวเลอร์ 8 ตัว (38.1%) สุนัข ป่วยอายุน้อยกว่า 6 เดือน 15 ตัว (71.4%) ระหว่าง 6-12 เดือน 4 ตัว (19.0%) และมาก กว่า 12 เดือน 2 ตัว (9.5%) เป็นเพศผู้ 15 ตัว (71.4%) และเพศเมีย 6 ตัว (28.6%) การ รักษาโรค NSH ในสุนัข 4 ตัวด้วยสารประกอบแคลเซี่ยมคาร์บอเนต เปรียบเทียบกับการ ใช้สารประกอบที่มีแคลเซี่ยมต่อฟอสฟอรัส อัตราส่วน 4 ต่อ 1 ในสุนัข 3 ตัว พบว่าสาร ประกอบแคลเซี่ยมฟอสฟอรัสไม่สามารถปรับอัตราส่วนแคลเซี่ยมต่อฟอสฟอรัสในซีรั่ม ในขณะที่แคลเซี่ยมคาร์บอเนตสามารถปรับอัตราส่วนของแคลเซี่ยมต่อฟอสฟอรัสในซีรั่ม ให้สูงอย่างเห็นได้ชัดภายหลังรักษา 2 สัปดาห์ ซึ่งแตกต่างจากก่อนการรักษาอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่สัปดาห์ที่ 3 และ 4