Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Chulalongkorn University

2019

Keyword
Publication
Publication Type

Articles 1 - 30 of 65

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Health Management Of Diabetes Risk Group In Ban Muang Whan : A Qualitative Research Perspective(การจัดการสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านม่วงหวาน : มุมมองจากการศึกษาเชิงคุณภาพ), Arissara Sukwatjanee, Anchaleeporn Amatayakul Sep 2019

Health Management Of Diabetes Risk Group In Ban Muang Whan : A Qualitative Research Perspective(การจัดการสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านม่วงหวาน : มุมมองจากการศึกษาเชิงคุณภาพ), Arissara Sukwatjanee, Anchaleeporn Amatayakul

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purpose: To explore health management of diabetes risk group Design: Qualitative researchMethods: The research participants comprised of 75 people, including people, who were diabetes risk group and their families, sub-district health promoting hospital staff, community leaders, village health volunteers, monks, teachers and food vendors in Ban Muang Whan community. The research instruments included 1) the in depth-interviewed guideline, 2) the group discussion guideline, 3) the brain storm guideline, 4) the observation guideline, and 5) the field note. Data were analyzed using content analysis method. Findings: People, who were diabetes risk group, provided self-care including controlled diet, controlled body weight, exercise, …


The Effect Of Self-Care Enhancement Program On Post-Bariatric Surgery Self-Care Behaviors Among Morbid Obese Patients(ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักของผู้ป่วยโรคอ้วน), Sipaphan Lavasut, Rungrawee Navicharern Sep 2019

The Effect Of Self-Care Enhancement Program On Post-Bariatric Surgery Self-Care Behaviors Among Morbid Obese Patients(ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักของผู้ป่วยโรคอ้วน), Sipaphan Lavasut, Rungrawee Navicharern

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purpose: 1) To study the self-care behaviors post-bariatric surgery among morbid obese patients who received the self-care enhancement program. 2) To compared the self-care behaviors post-bariatric surgery among the control group and the experimental group.Design: Quasi-experimental research.Methods: The 30 patients were male and female with morbid obese patients, aged between 18-59 years old, receiving post-bariatric surgery at King Chulalongkorn Memorial Hospital. They were hospitalized and assigned to the control and the experimental group (15 persons in each group), and matched pair by gender, age and type of operation. The experimental group received the self-care enhancement program based on Orem's self-care, …


Prevention Of Mental Illness In Chronic Disease Patients: Role Of Psychiatric Nurses In Community(การป้องกันการเจ็บป่วยทางจิตในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : บทบาทพยาบาลจิตเวชในชุมชน), Aungsana Khlaisuk Sep 2019

Prevention Of Mental Illness In Chronic Disease Patients: Role Of Psychiatric Nurses In Community(การป้องกันการเจ็บป่วยทางจิตในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : บทบาทพยาบาลจิตเวชในชุมชน), Aungsana Khlaisuk

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Several studies have shown that chronic disease lead to mental illness especially in patients with cardiovascular disease, stroke, diabetes and cancer. People with chronic disease suffering from mental illness may effect on motivation in self - care and lead to more severity of chronic disease that likely to difficult and complex to treatment. Therefore, the mental illness prevention are important and challenging to psychiatric nurse in community. The purpose of this article is present the role of community psychiatric nurse in preventing mental illness that consist of primary prevention, secondary prevention and tertiary prevention.(การศึกษาวิจัยจำนวนมากพบว่าการป่วยด้วยโรคเรื้อรังทางกายส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยทางจิตใจ โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เมื่อผู้ป่วยเหล่านี้มีการเจ็บป่วยทางจิตใจ ก็ขาดแรงจูงใจและขาดศักยภาพในการดูแลตนเอง …


The Effect Of Empowerment Program On Late Phase Postoperative Recovery Among Post Lumbar Spine Surgery Patients(ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดระยะท้ายในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว), Rattiya Toeysri, Pachanut Nanthaitaweekul Sep 2019

The Effect Of Empowerment Program On Late Phase Postoperative Recovery Among Post Lumbar Spine Surgery Patients(ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดระยะท้ายในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว), Rattiya Toeysri, Pachanut Nanthaitaweekul

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purpose: To study the effects of empowerment program on late phase postoperative recovery among post lumbar spine surgery patients.Design: Quasi-experimental researchMethods: The participants were 46 patients aged 30-59 years old, under postoperative lumbar spine surgery were admitted into the Neurosurgery ward at Prasat Neurological Institute. Randomly selected and assigned into either experimental and control group comprised 23 patients in each group with matching technique for age, pain scale, and level of lumbar spine surgery. The research instruments consisted of the empowerment program base on the concept of Gibson, notebook with activity, and postoperative recovery profile for lumbar spine surgery patients. …


Selected Factors Related To Physical Functional Abilityamong Stroke Older Persons(ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง), Boontarika Maneechot, Siriphan Sasat Sep 2019

Selected Factors Related To Physical Functional Abilityamong Stroke Older Persons(ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง), Boontarika Maneechot, Siriphan Sasat

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purpose: 1) To study the physical functional ability of stroke older persons and 2) To study relationships between gender, age, depression, social support, cognition, and physical functional ability of stroke older persons.Research Design: Descriptive correlational researchMethodology: The participants were 121 men and women with stroke, aged over 60, who visited the out-patient department of the 2 tertiary hospitals. They came from purposive sampling. The questionnaire was applied to collect data. The instruments were the demographic questionnaire, Social supports assessment, Thai Geriatric Depression Scale, cognition assessment using MMSE-Thai 2002, and Barthel ADL Index. The content validity is .92 and the reliability …


The Effect Of Enhancing Family Cargiving Abilty Program On Autistic Symptoms Among Autistic Preschoolers(ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัว ต่ออาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียน), Suchawalee Punphong, Jintana Yunibhand, Sunisa Suktrakul Sep 2019

The Effect Of Enhancing Family Cargiving Abilty Program On Autistic Symptoms Among Autistic Preschoolers(ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัว ต่ออาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียน), Suchawalee Punphong, Jintana Yunibhand, Sunisa Suktrakul

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purpose: 1) to compare autistic symptoms among autistic preschoolers before and after using the enhancing family caregiving ability program, and 2) to compare autistic symptoms among autistic preschoolers using the enhancing family caregiving ability program and those received usual nursing care.Design: Quasi-experimental research Methods: Research sample consisted of forty Autistic children, aged 3-6 and family receiving services in the outpatient clinic of Yuwaprasartwaithayopathum hospital, selected by inclusion criteria, were matched pair by sex of autistic children and type of medicine which autistic children received in the same type, then, equally randomly assigned to an experimental group and a control group …


The Factors Related To Hiv Prevention Behavior Among Myanmarese Youth Migrant Workers(ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของเยาวชนแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา), Ekkalak Faksook, Pregamol Rutchanagul, Wanalada Thongbai Sep 2019

The Factors Related To Hiv Prevention Behavior Among Myanmarese Youth Migrant Workers(ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของเยาวชนแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา), Ekkalak Faksook, Pregamol Rutchanagul, Wanalada Thongbai

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purpose: To investigate factors related to HIV preventive behaviors among Myanmarese youth migrant workers. Design: descriptive correlation research studyMethod: The sampling consisted of 120 young Myanmar migrant workers Visited to the hospital under the Department of Medical Services, Bangkok area between October and November 2018. Data were collected using a set of questionnaires. The questionnaires included questionnaires about personal information, knowledge, attitude toward HIV infection, perceived susceptibility to HIV infection, self-efficacy for HIV prevention and HIV prevention behavior. Data were analyzed using descriptive and inferential statistics. Correlations were identified using the Pearson product-moment correlation coefficient, and the point biserial correlation …


Nursing Care For Adolescents With Cancer Relapse Receiving Palliative Care(การพยาบาลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งกลับเป็นซ้ำที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง), Thipkasorn Wannaphak Sep 2019

Nursing Care For Adolescents With Cancer Relapse Receiving Palliative Care(การพยาบาลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งกลับเป็นซ้ำที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง), Thipkasorn Wannaphak

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

This article is aimed at providing nursing care for adolescents with cancer relapse receiving palliative care due to their physical and mental suffering. The relapse is considered a severe condition as the cancer cell has spread to other organs which are often incurable, depending on the patients' health. Adolescents with cancer relapse often encountered late effects from the previous treatment as well as side effects from chemotherapy in the new treatment which results in deterioration in health. Intensive treatment for patients in this group is difficult to success and also decrease the quality of patient's life. Palliative care as patients …


Factors Related To Quality Of Life In Older People With Hepatocellular Carcinoma Undergoing Transarterial Chemoembolization Therapy(ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภําพชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง), Nattakarn Hongmalai, Tassana Choowattanapakorn May 2019

Factors Related To Quality Of Life In Older People With Hepatocellular Carcinoma Undergoing Transarterial Chemoembolization Therapy(ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภําพชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง), Nattakarn Hongmalai, Tassana Choowattanapakorn

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purpose: To study the quality of life in older people with hepatocellular carcinoma undergoing transarterial chemoembolization therapy and to study the relationships between factors; fatigue, pain, insomnia, stress and quality of life in older people with hepatocellular carcinoma undergoing transarterial chemoembolization therapy.Design: Correlation researchMethods: One hundred and twenty inpatient aged over 60 years old of King Chulalongkorn Memorial Hospital and Ramathibodi Hospital who had been diagnosis of hepatocellular carcinoma. The instruments were composed of Demographic information, Piper fatigue scale-12, Numerical rating scales, Insomnia severity index, Percieved stress scale, functional assessment of cancer therapy - hepatobiliary (FACT-Hep). The reliabilities of these …


The Development Of Competencies Of Caregivers In Caring Stroke Patients(การพัฒนาความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง), Arissara Sukwatjanee, Anchaleeporn Amatayakul May 2019

The Development Of Competencies Of Caregivers In Caring Stroke Patients(การพัฒนาความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง), Arissara Sukwatjanee, Anchaleeporn Amatayakul

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purpose: To study development of care competencies and experience of caregivers in caring stroke patientsDesign: Pre-experimental researchMethods: A sample comprised 38 stroke patients' caregivers. The research instruments used in the study included 1) a personal information form and 2) care competencies of caregivers in caring stroke patient questionnaires. Knowledge and skills in caring stroke patients were provided to the caregivers through an intensive training for four days prior to patient discharge. Data of personal information and numbers of caregivers who have ability in caring activities of their patients were analyzed with Descriptive Statistics. The differences between the mean scores of …


Factors Related To Sexual Risk Behaviors Of Adolescents With Visual Impairment(ปัจจัยที่มีคววามสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นที่มีความพิการทางการเห็น), Chakkkrich Pidjadee, Rutja Phuphaibul, Penchan Pradubmook Sherer May 2019

Factors Related To Sexual Risk Behaviors Of Adolescents With Visual Impairment(ปัจจัยที่มีคววามสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นที่มีความพิการทางการเห็น), Chakkkrich Pidjadee, Rutja Phuphaibul, Penchan Pradubmook Sherer

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purpose: The study aimed to examine the level of sexual risk behaviors and relationships between predisposing factors, reinforcing factors, enabling factors and sexual risk behaviors of adolescents with visual impairment.Design: Descriptive correlational research.Methods: The subjects were 99 adolescents with visual impairment who studied in 3 schools for the students with visual impairment. Purposive sampling was used. Data were collected using seven Braille's questionnaires, including 1) demographic characteristics, 2) sexual knowledge, 3) sexual attitude, 4) self-esteem, 5) influence from friends, 6) sexual media accessibility and 7) sexual risk behaviors of adolescent with visual impairment. All questionnaires had content validity. Their Cronbach's …


Health Security Of Ethnics Pre-School Children: A Challenge To Nursing Roles(ความมั่นคงด้านสุขภาพของเด็กกลุ่มชาติพันธุ์: ประเด็นท้าทายบทบาทพยาบาล), Katemanee Moonpanane, Jintana Thepsaw May 2019

Health Security Of Ethnics Pre-School Children: A Challenge To Nursing Roles(ความมั่นคงด้านสุขภาพของเด็กกลุ่มชาติพันธุ์: ประเด็นท้าทายบทบาทพยาบาล), Katemanee Moonpanane, Jintana Thepsaw

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

The concept of health security is to encourage people to maintain both physical and mental health. This includes being safe from threats and non-communicable diseases, especially as it relates to ethnic children—a vulnerable population with lower health security than other population segments. Nursing professionals are therefore faced with the great challenge of establishing health security for ethnic children by providing care, education, and training in the context of differences in beliefs, language, and culture. However, the process of promoting health security cannot be achieved by a single individual or organization. There is a need for nurses to cooperate with other …


Factors Predicting Sleep Quality Of Secondary School Students In Bangkok, Thailand(ปัจจัยทํานายคุณภาพการนอนหลับของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย), Rung Piboonworakulkij, Chuanrudee Kongsaktrakul, Sermsri Santati May 2019

Factors Predicting Sleep Quality Of Secondary School Students In Bangkok, Thailand(ปัจจัยทํานายคุณภาพการนอนหลับของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย), Rung Piboonworakulkij, Chuanrudee Kongsaktrakul, Sermsri Santati

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purpose: To explore sleep quality and factors predicting sleep quality of secondary school students in Bangkok, Thailand.Design: Descriptive and predictive researchMethods: The samples consisted of 312 Mathayomsuksa 1-6 students who were studying at schools under the supervision of the Secondary Educational Service Area Office, Bangkok. They were selected by multi-stage sampling. The research instruments were the general information questionnaire, the Suanprung Stress Test, the assessment form on adolescents' sleep hygiene practices, the questionnaire on electronic device using behavior, and the Pittsburgh Sleep Quality Index. The data were analyzed by using frequency distribution, percentage, mean, and logistic regression.Findings: 46.20% of secondary …


Health-Related Quality Of Life In Women With Polycystic Ovary Syndrome(คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ), Wiraporn Theerawut, Rungrawee Naweecharoen May 2019

Health-Related Quality Of Life In Women With Polycystic Ovary Syndrome(คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ), Wiraporn Theerawut, Rungrawee Naweecharoen

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purpose: To study the health-related quality of life (HR-QOL) in women with polycystic ovary syndrome (PCOS).Design: Descriptive researchMethods: Descriptive research was designed and conducted with 157 women with PCOS, aged 18-44 years, who received treatment at the out-patient departments of Gynecology at King Chulalongkorn Memorial Hospital, Siriraj Hospital and Rajavithi Hospital, and all of them were selected by using multi-stage sampling technique. Data were collected using a personal characteristic form and the HR-QOL questionnaire whose content validity was examined by 5 experts and their Cornbrash's alpha coefficients was at .88. The data were analyzed later using frequency, percentage, mean and …


The Effects Of A Planned Behavior Program On The Eating And Physical Activity Behaviorof Overweight Late Primary School-Aged Children(ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแผนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการทํากิจกรรมทางกายของเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน), Supalux Srithanya, Wanalada Thongbai, Jeeraporn Kummabutr May 2019

The Effects Of A Planned Behavior Program On The Eating And Physical Activity Behaviorof Overweight Late Primary School-Aged Children(ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแผนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการทํากิจกรรมทางกายของเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน), Supalux Srithanya, Wanalada Thongbai, Jeeraporn Kummabutr

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purpose: To examine the effects of a planned behavior program on the eating behavior and physical activity behavior in late primary school-aged children with overweight.Method: Quasi - experimental designDesign: This study employed the theory of Planned Behavior as the framework. Simple random sampling was used in order to select a sample of children aged 10 to 12 years studying in the public school in, Saraburi, Thailand. The sample group was selected in accordance with the criteria and randomly chosen to be in the experimental group and control group. Thirty-five children in the experimental group were assigned to the 6-week behavioral …


The Effect Of Group Experiential Learning For Parents On Aggressive Behaviors Of Children With Attention - Deficit /Hyperactivity Disorder(ผลของโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดาต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น), Jirapan Saboonma, Branom Rodcumdee, Sunisa Suktrakul May 2019

The Effect Of Group Experiential Learning For Parents On Aggressive Behaviors Of Children With Attention - Deficit /Hyperactivity Disorder(ผลของโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดาต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น), Jirapan Saboonma, Branom Rodcumdee, Sunisa Suktrakul

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purposes: to compare aggressive behaviors of children with ADHD before and after using the group experiential learning for parents program and to compare aggressive behavior of children with ADHD using the group experiential learning for parents program and those who received regular caring activities.Design: Quasi-experimental researchMethods: Forty children with ADHD receiving services in outpatient department Rajanukul Institute, who met the inclusion criteria, were paired up and then randomly assigned to experimental group and control group; 20 subjects in each group. The experimental group received the group experiential learning for parents program for 6 weeks whereas the control group received regular …


Lived Experiences Of Sons Being Caregiver For Dependent Elderly Parents(ประสบการณ์ชีวิตของบุตรชายที่เป็นผู้ดูแลบิดา มารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง), Angkana Srisuk, Jiraporn Kespichayawattana May 2019

Lived Experiences Of Sons Being Caregiver For Dependent Elderly Parents(ประสบการณ์ชีวิตของบุตรชายที่เป็นผู้ดูแลบิดา มารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง), Angkana Srisuk, Jiraporn Kespichayawattana

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purpose: To describe the lived experiences of a son being the caregiver for dependent elderly parents.Design: The phenomenological research methodology was employed based on the concept of Heidegger.Methods: The participants were sons with experience as the caregiver for dependent elderly in Bangkok. Data were collected using interview guidelines with in-depth interview. Data were analyzed by using Van Manen's method and audio recording and until saturated data with the 12 informants.Findings: The lived experiences of the son being caregiver for dependent elderly parents were categorized into 5 main aspects: 1) Changes in life. It is a way of life-changing working style. …


The Effect Of The Coaching Program In Health Behaviors Modification On Hba1c Of Persons With Pre-Diabetes(ผลของโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน), Jintipa Sirikunwiwat, Rungrawee Navicharern May 2019

The Effect Of The Coaching Program In Health Behaviors Modification On Hba1c Of Persons With Pre-Diabetes(ผลของโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน), Jintipa Sirikunwiwat, Rungrawee Navicharern

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Purpose: To study the effect of the coaching program in health behaviors modification of persons with pre-diabetes.Design: Quasi-experimental researchMethods: The subjects were 60 persons with prediabetes in out-patient clinic, Medicine Department of Phrachomklao hospital, Phetchaburi province. Thirty persons with prediabetes per group were matched by sex, age and use of Metformin. The control group received the normal nursing care whereas the experimental group received the coaching program in health behaviors modification. The research instrument were the coaching program in health behaviors modification based on the concept of Haas (1992), The data were collected by demographic data, HbA1C level and health …


ภาวะผู้นำของหัวหน้าพยาบาล สู่ความเป็นเลิศระดับสากลขององค์การพยาบาลโรงพยาบาลตติยภูมิ, อนัญญา ภาเจริญสิริ Jan 2019

ภาวะผู้นำของหัวหน้าพยาบาล สู่ความเป็นเลิศระดับสากลขององค์การพยาบาลโรงพยาบาลตติยภูมิ, อนัญญา ภาเจริญสิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This descriptive study is about leadership of nursing director towards international nursing service excellence at tertiary hospitals. The Delphi Technique was used. Subjects were 19 experts, including two administrators at tertiary hospitals where are certified by international standards, five hospital quality assurance inspectors, eight nursing directors in tertiary hospitals where are certified by international standards, and four nursing educators of nursing administration. The Delphi Technique consisted of 3 steps. Step 1, Integrate information from review literature to scope the question and interview the experts about leadership of nursing director towards international nursing service excellence at tertiary hospitals. Step 2, interviewed …


ผลของการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่ออาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า, เพียงฝัน ยอดดี Jan 2019

ผลของการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่ออาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า, เพียงฝัน ยอดดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่ออาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จำนวน 40 คน โดยจับคู่อายุ และระดับภาวะซึมเศร้า แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละจำนวน 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) การให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม 2) แบบประเมินความรุนแรงของอาการนอนไม่หลับ เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2 มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราคเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าหลังการได้รับการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าของกลุ่มได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง, ฐิติมา ยิ่งหาญ Jan 2019

ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง, ฐิติมา ยิ่งหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดหลังการทดลองมีกลุ่มเปรียบเทียบ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังทั้งเพศชายและเพศหญิงที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยในอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี ที่มีความร่วมมือในการใช้ยาระดับต่ำ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 40 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน โดยจับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน (matched pair) ในด้านอายุและระดับการศึกษา กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพ เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ตรวจสอบความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน โดยใช้สถิติ Inter-rater reliability แบบบันทึกความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าซี ผลการวิจัยพบว่า สัดส่วนของความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน, บุญรัตน์ ปัญศิริ Jan 2019

ผลของโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน, บุญรัตน์ ปัญศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการตอบสนองความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตของ มอลเตอร์และเลสเก กลุ่มตัวอย่างคือ ครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยถึงปานกลางที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน คัดเลือกแบบเจาะจง โดยการจับคู่ให้มีลักษณะใกล้เคียงกันเรื่องเพศของครอบครัวและระดับความรุนแรงการบาดเจ็บที่ศีรษะของผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความวิตกกังวล 3) แบบประเมินความพึงพอใจ และ4) แบบประเมินความต้องการ โดยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ.93, .96, .93ตามลำดับ และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์สถิติที ผลการวิจัยสรุปว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของครอบครัวหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัว อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของครอบครัวหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวต่ำกว่าหลังได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของครอบครัวหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวสูงกว่ากลุ่มหลังได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวสามารถตอบสนองตามความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยได้มากขึ้นจึงส่งผลให้เกิดความพึงพอใจสูงขึ้นและลดความวิตกกังวลได้


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด, ปรียานันท์ ธนาคุณ Jan 2019

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด, ปรียานันท์ ธนาคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัดของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ดัชนีมวลกาย การได้รับยาบรรเทาอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด การนอนไม่หลับ ความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าและกิจกรรมทางกายกับอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 และ 3 อายุระหว่าง 30-59 ปี ที่เข้ารับยาเคมีบำบัด ณ แผนกให้ยาเคมีบำบัดของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 176 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด แบบสอบถามความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามกิจกรรมทางกาย แบบสอบถามการนอนไม่หลับและแบบสอบถามความเหนื่อยล้า ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .85, .72, .74, .78 และ .74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของอีต้า ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด ด้านระบบประสาทรับความรู้สึกมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 13.69(SD = 4.42) อาการที่พบมากที่สุด คือ รู้สึกชาที่นิ้วมือหรือมือ ร้อยละ 73.30 รองลงมา คือ อาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด ด้านระบบประสาทสั่งการ คะแนนเฉลี่ย 10.29(SD = 2.70) อาการที่พบมากที่สุด คือ มีความลำบากในการขึ้นบันไดและลุกจากเก้าอี้เนื่องจากขาอ่อนแรง ร้อยละ 33 และอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด ด้านระบบประสาทอัตโนมัติน้อยที่สุด คะแนนเฉลี่ย 2.50(SD = .85) อาการที่พบมากที่สุด คือ รู้สึกวิงเวียนศีรษะเมื่อเปลี่ยนท่า ร้อยละ 27.80 2. การนอนไม่หลับ ความเหนื่อยล้า อายุ ความวิตกกังวล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .44, .26, .20 และ .16 ตามลำดับ) และการได้รับยาบรรเทาอาการมีความสัมพันธ์กับอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด …


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, พรทิพย์ อ่อนเพชร Jan 2019

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, พรทิพย์ อ่อนเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ทั้งเพศชายและหญิง อายุตั้งแต่ 31-59 ปี เข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 21 คน ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่อง เพศ อายุ และประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน แบบสัมภาษณ์ความเชื่อมั่นของตนเองในการเคลื่อนไหวร่างกาย แบบบันทึกกิจกรรมและการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดภายหลังออกจากโรงพยาบาล ค่าความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์ความเชื่อมั่นของตนเองในการเคลื่อนไหวร่างกาย เท่ากับ .78 และ .87 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจกลุ่มได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ, รสริน ยิ้มอยู่ Jan 2019

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ, รสริน ยิ้มอยู่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลประจำการหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลตติยภูมิที่มีประสบการณ์ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จำนวน 387 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์องค์ประกอบตัวบ่งชี้สมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองและรายการสมรรถนะย่อย สร้างเครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วยสมรรถนะ 9 ด้าน ข้อรายการสมรรถนะย่อย 50 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.86 และหาความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีการสกัดตัวประกอบหลัก ระยะที่ 2 สร้างแบบประเมินสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพ แบบรูบริค ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ความเหมาะสมของระดับเกณฑ์การประเมินแบบรูบริค จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวประกอบสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตติยภูมิ มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ บรรยายด้วย 50 ตัวแปร มีค่าความแปรปรวนคิดเป็นร้อยละ 69.41 ได้แก่ 1) ด้านการดูแลแบบประคับประคองและการจัดการความปวด สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 59.508 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 13 ตัวแปร 2) ด้านการจัดการความรู้ จริยธรรมและกฏหมาย จิตวิญญาณศาสนา และการประสานงานส่งต่อ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 4.415 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 13 ตัวแปร 3) ด้านการสื่อสารและการดูแลภาวะโศกเศร้า สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 2.928 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 13 ตัวแปร 4) ด้านการเตรียมความพร้อมในระยะใกล้ตายและการดูแลหลังเสียชีวิต สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 2.565 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 11 ตัวแปร 2. แบบประเมินที่สร้างขึ้นแบ่งระดับสมรรถนะการดูแลเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ 3 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพมีสรรถนะด้านการดูแลแบบประคับประคองในระดับชำนาญการ/ดีเยี่ยมสามารถสอนนิเทศงานได้ …


ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน, วราภรณ์ กันธิยะ Jan 2019

ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน, วราภรณ์ กันธิยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ ประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประวัติดื่มแอลกอฮอล์ ระยะเวลาการต้องโทษ การเห็นคุณค่าในตนเอง การตีตราตนเอง การเผชิญความเครียด และการสนับสนุนทางสังคม กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีนเพศชายและหญิง อายุ 18 - 59 ปี ซึ่งถูกดำเนินคดีเข้ามาอยู่ในความควบคุมของเรือนจำ/ทัณฑสถาน เขตภาคเหนือตอนบน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 165 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบคัดกรองสารเสพติด (V.2) 2) แบบประเมินอาการทางจิต (BPRS) 3) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 4) แบบสอบถามวัดการเผชิญความเครียด 5) แบบสอบถามวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง 6) แบบสอบถามวัดการตีตราตนเอง 7) แบบสอบถามวัดการสนับสนุนทางสังคม และ 8) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า (BDI-IA) เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2 และ 4 - 8 มีค่าความเที่ยง สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .82, .87, .86, .82, .83 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสหสัมพันธ์เพียร์สัน สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1. ผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีนส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 33.9 มีภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาภาพรวมพบว่ามีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง มาก และรุนแรง สูงถึงร้อยละ 52 2. การเผชิญความเครียด แบบมุ่งจัดการกับปัญหาโดยใช้ความสามารถของตนเอง แบบมุ่งจัดการกับปัญหาโดยอาศัยแหล่งสนับสนุนอื่น ๆ และแบบหลีกเลี่ยงปัญหา มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน (c2= 94.23; p<.05) 3. ระยะเวลาการต้องโทษ และการตีตราตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน (r = .446 และ .340; p<.05 ตามลำดับ) 4. อายุ การเห็นคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน (r = -.292, -.404 และ -.396; p<.05 ตามลำดับ) ส่วน เพศ ประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประวัติดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน


ผลของการจัดการความเครียดแบบกลุ่มต่ออาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภท, วิลาสินี กำลังมาก Jan 2019

ผลของการจัดการความเครียดแบบกลุ่มต่ออาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภท, วิลาสินี กำลังมาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้เป็นการศึกษาแบบสองกลุ่มวัดผลสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบอาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภท ระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่ม และ 2) เพื่อเปรียบเทียบอาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 24 คน ซึ่งได้รับการจับคู่เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่ม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การจัดการความเครียดแบบกลุ่มของผู้ป่วยจิตเภท 2) แบบประเมินอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภท ฉบับภาษาไทย ซึ่งได้ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบราคเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตินอนพาราเมตริก ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) อาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่ม ต่ำกว่าก่อนได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) อาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่ม ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาล, สุจิตรา ฟังเร็ว Jan 2019

ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาล, สุจิตรา ฟังเร็ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาล ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18-59 ปี ณ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุ เพศ และระดับการศึกษา แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มการทดลองกลุ่มละ 21 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามกิจกรรมทางกาย เครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.74 แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน เครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1, 0.93 และ 0.78 ตามลำดับ และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95, 0.98 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาลในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาลในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้าย, อัจฉรา วงศ์คณิตย์ Jan 2019

ผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้าย, อัจฉรา วงศ์คณิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The pretest-posttest control group design) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้าย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้าย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน รวม 40 คน โดยวิธีการจับคู่ (Matched pair) กำหนดให้แต่ละคู่มี ลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องช่วงอายุ เพศ สถานภาพการสมรสความรุนแรงของโรค ระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตที่พัฒนาโดย Ando (2010) ตามแนวคิดการทบทวนชีวิตของ Butler (1963) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai 2002) แบบสอบถามความต้องการด้านจิตวิญญาณ แบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณ (The Geriatric Spiritual Well Being Scale: GSWS-Thai) มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .875 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .854 นำเสนอข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. ความผาสุกทางจิตวิญญาณภายหลังได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตมีความผาสุกทางจิตวิญญาณสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. ความผาสุกทางจิตวิญญาณในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตมีความผาสุกทางจิตวิญญาณสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร, อาทิตา เย็นท่าเรือ Jan 2019

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร, อาทิตา เย็นท่าเรือ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ประสบการณ์การมีอาการ ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า อายุ18-59 ปี จำนวน 135 คน ที่มารับบริการทำความสะอาดแผล ณ คลินิกศัลกรรม หอผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ และโรงพยาบาลวชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก ประกอบด้วย ค่าระดับน้ำตาลสะสม ภาวะแทรกซ้อน และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า แบบสอบถามประสบการณ์การมีอาการ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.77,0.72,0.77 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสเปียร์แมน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.36, SD = 0.38) 2. พฤติกรรมการดูแลตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ประสบการณ์การมีอาการ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด และการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า