Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Sciences

2019

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 86

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ค่าทำนายผลลบของการตรวจหาอินเตอร์เฟียรอนแกมมาโดยวีธีอิไลสปอทในการวินิจฉัยการแพ้ยาต้านวัณโรค, อธิษฐ์ วุฒิสารวัฒนา Jan 2019

ค่าทำนายผลลบของการตรวจหาอินเตอร์เฟียรอนแกมมาโดยวีธีอิไลสปอทในการวินิจฉัยการแพ้ยาต้านวัณโรค, อธิษฐ์ วุฒิสารวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การรักษาวัณโรคด้วยยามีโอกาสแพ้ยาสูง ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานข้อมูลในการตรวจอิไลสปอทในการช่วยวินิจฉัยแพ้ยาในกลุ่มนี้ วัตถุประสงค์: เพื่อหาค่าทำนายผลลบของการตรวจหาอินเตอร์เฟียรอนแกมมาโดยวีธีอิไลสปอทในการวินิจฉัยการแพ้ยาต้านวัณโรค วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้ส่งตรวจการแพ้ยาโดยวิธีอิไลสปอท จากสาขาวิชาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างเดือนมกราคม 2555 - เมษายน 2562 จำนวน 29 ราย ผลการศึกษา: การตรวจหาอินเตอร์เฟียรอบแกมมาโดยวิธีอิไลสปอทในการวินิจฉัยการแพ้ยาวัณโรคให้ความไวร้อยละ 13.79 ความจำเพาะร้อยละ 96.77 ค่าทำนายผลบวกร้อยละ 66.67 ค่าทำนายผลลบร้อยละ 70.59 โดยการศึกษาไม่พบว่าปัจจัยอื่นๆ มีผลต่อการตรวจดังกล่าว สรุปผล: การตรวจหาอินเตอร์เฟียรอนแกมมาโดยวิธีอิไลสปอท ให้ค่าทำนายผลบวกและทำนายผลลบที่ไม่สูงมาก ผลการตรวจหากเป็นลบจะมีผลต่อการเปลี่ยนความน่าจะเป็นของการแพ้ยาเพียงเล็กน้อย แต่จะช่วยทำนายการแพ้ยาได้ดีขึ้นหากตรวจได้เป็นบวกในคนไข้กลุ่มแพ้ยารุนแรง อย่างไรก็ตามการศึกษานี้มีจำนวนข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์น้อยจึงยังอาจไม่พบความสัมพันธ์ที่อาจมีต่อผลการตรวจได้ ควรมีการศึกษาในระยะยาวเพื่อหาปัจจัยที่ช่วยให้การตรวจได้ประโยชน์มากที่สุด


ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของลักษณะทางพันธุกรรมของยีนโอซีทีวันกับภาวะข้างเคียงของระบบทางเดินอาหารจากยาเมทฟอร์มินของผู้ป่วยโรคเบาหวานชาวไทย, ปิยนุช ปิยสาธิต Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของลักษณะทางพันธุกรรมของยีนโอซีทีวันกับภาวะข้างเคียงของระบบทางเดินอาหารจากยาเมทฟอร์มินของผู้ป่วยโรคเบาหวานชาวไทย, ปิยนุช ปิยสาธิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา ยาเมทฟอร์มินนิยมใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวานในปัจจุบัน แต่มีผู้ป่วยบางส่วนที่รับประทานยาเมทฟอร์มินแล้วเกิดผลข้างเคียงของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ปวดท้อง ท้องอืด เป็นต้น ทำให้เกิดภาวะข้างเคียงของระบบทางเดินอาหารขึ้นจนไม่สามารถรับประทานยาเมทฟอร์มินได้ตามเป้าหมาย หรือเรียกว่า metformin intolerance ซึ่งกลไกหลักเชื่อว่าเกิดจากความเข้มข้นของยาเมทฟอร์มินในทางเดินอาหารสูงขึ้น โดย organic cation transporter 1 (OCT1) เป็นโปรตีนขนส่งหลักในการนำยาเมทฟอร์มินเข้าสู่เซลล์ผนังลำไส้ ดังนั้นหากมีความหลากหลายทางพันธุกรรมของ OCT1 ที่ทำให้ OCT1 ทำงานลดลงจะทำให้ยาเมทฟอร์มินคั่งในทางเดินอาหารและเกิดผลข้างเคียงระบบทางเดินอาหาร วัตถุประสงค์ ศึกษาความสัมพันธ์ของความหลากหลายทางพันธุกรรมของโอซีทีวันที่ตำแหน่ง rs628031 รวมถึงตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ rs12208357, rs72552763 และ rs1867351 กับภาวะข้างเคียงของระบบทางเดินอาหารจากการใช้ยาเมทฟอร์มิน วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษานี้มีผู้ป่วยทั้งหมด 107 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่ม metformin tolerance 64 คน และ metformin intolerance 43 คน เก็บตัวอย่างเลือดและทำการตรวจหาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนโอซีทีวันด้วยวิธี Direct DNA sequencing (Sanger sequencing) ผลการวิจัย ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนโอซีทีวันที่ตำแหน่ง rs628031 (c.1222A>G; p.Met408Val) มีความสัมพันธ์กับผลข้างเคียงทางเดินอาหารจากยาเมทฟอร์มินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value=0.005) โดยพบว่าจีโนไทป์ GG มีโอกาสเกิด metformin intolerance มากกว่าจีโนไทป์ AG และ AA เท่ากับ 5.4 และ 1.7 เท่าตามลำดับ และพบว่าอัลลีล G เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด metformin intolerance มากกว่าอัลลีล A เท่ากับ 2.65 เท่า (95%CI=1.39-5.15, P-value=0.001) ส่วนความหลากหลายทางพันธุกรรมของโอซีทีวันที่ตำแหน่ง rs12208357, rs72552763 และ rs1867351 ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะข้างเคียงของระบบทางเดินอาหารจากการใช้ยาเมทฟอร์มิน สรุปผล การมีความหลากหลายทางพันธุกรรมของโอซีทีวันที่ตำแหน่ง rs628031 …


การศึกษาผลของการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้าต่อผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์ที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ปิยภรณ์ ศิริสัณฐิติ Jan 2019

การศึกษาผลของการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้าต่อผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์ที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ปิยภรณ์ ศิริสัณฐิติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและความสำคัญ: ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้าในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์ในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์ที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ที่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้ามีการตายดี กว่าผู้ที่ไม่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้าหรือไม่ วิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาโดยการสังเกตแบบไปข้างหน้า ในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศึกษาประเมินโดยการสัมภาษณ์เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต และการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้าทุก 3 เดือน ติดตามจนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต และเก็บข้อมูลวาระสุดท้ายของชีวิตเพื่อประเมินว่าตายดีหรือไม่ โดยนิยามของตายดี ประกอบด้วย (1.) ผู้ตายยอมรับได้พร้อมที่จะจากไป ได้มีการวางแผนถึงสภาวะแวดล้อมขณะเสียชีวิต (2.) การตายที่ไม่เจ็บปวด ไม่ทุกข์ทรมาน และ (3.) ได้รับการดูแลทางอารมณ์และจิตวิญญาณตามความต้องการ การศึกษาจะประเมินญาติผู้ดูแลเรื่องความทุกข์ และการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้าต่อผู้ป่วยด้วย ผลการศึกษา: ตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 มีผู้ป่วย 20 รายเข้าร่วมการศึกษา ได้รับการรักษาด้วย hypomethylating agents 14 ราย, cytoreductive agents 4 รายและ novel agents 2 ราย ไม่มีผู้ป่วยถูกส่งปรึกษาทีมเชี่ยวชาญดูแลระยะสุดท้าย ผู้ป่วย 2 รายไม่ทราบการวินิจฉัย ค่ามัธยฐานระยะเวลาติดตามอาการ 4 เดือน มีผู้ป่วยเพียง 7 ราย (ร้อยละ 35) ที่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า มีผู้ป่วย 13 รายเสียชีวิตระหว่างติดตามค่ามัธยฐานระยะเวลารอดชีวิต 10.3 เดือน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 92 เสียชีวิตในโรงพยาบาล ค่ามัธยฐานจำนวนวันที่นอนรักษาในโรงพยาบาล 7.5 วัน สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่คือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์เอง 11 ราย (ร้อยละ 84.7) ผู้ป่วยที่ได้รับการทำหัตถการกู้ชีพ เช่นใส่ท่อช่วยหายใจ, ส่องกล้องหลอดลม, ได้รับยากระตุ้นหัวใจและหลอดเหลือด และ leukapharesis จำนวน 3 รายซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ไม่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้าทั้งหมด ในบรรดาผู้เสียชีวิต กลุ่มที่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า 5 รายได้รับการประเมินว่าตายดีทั้งหมด เปรียบเทียบกับ กลุ่มที่ไม่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า 8 …


อัตราการได้รับยาเคมีบำบัดตามกำหนดในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงปานกลาง/สูง ที่ได้รับการประเมินและรักษาตามหลักการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุแบบองค์รวม, มนุพล ใหม่คามิ Jan 2019

อัตราการได้รับยาเคมีบำบัดตามกำหนดในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงปานกลาง/สูง ที่ได้รับการประเมินและรักษาตามหลักการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุแบบองค์รวม, มนุพล ใหม่คามิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: ผู้สูงอายุที่เป็นมะเร็งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อได้รับยาเคมีบำบัดไม่ครบตามกำหนด ปัจจุบันมีเครื่องมือคัดกรอง Geriatric 8 (G8) ที่ช่วยประเมินถึงความพร้อมต่อการรักษาโรคมะเร็งรวมถึงเคมีบำบัด โดยผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงจากการใช้เครื่องมือคัดกรอง G8 ควรได้รับประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวม(comprehensive geriatric assessment, CGA) เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงปัญหาและรักษาปัญหานั้น อย่างไรก็ตามผลของการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมต่ออัตราการได้รับยาเคมีบำบัดครบตามกำหนดนั้น ยังมีการศึกษาไม่มากนัก วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงประโยชน์ของการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมและให้การรักษาตามปัญหาที่พบต่อการเพิ่มอัตราการได้รับยาเคมีบำบัดครบตามกำหนด วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบเปิดและสุ่ม ในผู้สูงอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65ปีที่ดีรับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งก้อนทูม ต้องคัดกรองด้วยเครื่องมือG8แล้วเข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยง(น้อยกว่าหรือเท่ากับ 14คะแนน) และต้องมีแผนการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเท่านั้น สุ่มประชากรเป็น 2กลุ่มคือกลุ่มที่ได้รับการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมและกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติ วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาคืออัตราการได้รับขนาดยาเคมีบำบัดครบตามกำหนด นอกจากนี้ยังศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับยาเคมีบำบัดครบตามกำหนดด้วย ผลการศึกษา: ตั้งแต่มิถุนายน พ.ศ. 2562 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2562 มีผู้สูงอายุมะเร็งทั้งหมด 52 คนโดยสุ่มไปในแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 26คน อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 72ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 59.6 วินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40.4 ข้อมูลพื้นฐานในทั้งสองกลุ่มสมดุลกัน พบว่าจากการวิเคราะห์แบบper protocol อัตราการได้รับยาเคมีบำบัดครบตามกำหนดในกลุ่มที่ได้รับการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(ร้อยละ 57.1 เทียบกับร้อยละ 50, OR 1.33; 95%Cl 0.42-4.24; p=0.62) และพบว่าปัจจัยที่ส่งผลเพิ่มอัตราการได้รับยาเคมีบำบัดครบตามกำหนดคือ อายุน้อยกว่า 75ปี ค่าดัชนีมวลกายที่มากกว่า 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ประเมินคะแนนด้วยเครื่องมือคัดกรองG8อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงปานกลาง และค่าแอลบูมินในเลือดที่มากกว่า 4 กรัมต่อเดซิลิตร สรุปผลการศึกษา: ผลการศึกษานี้พบว่าการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมและให้การรักษาตามปัญหาที่พบไม่สามารถเพิ่มอัตราการได้รับยาเคมีบำบัดครบตามกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การศึกษานำร่องประสิทธิภาพของการใช้ Hirsuit G2b ในการฟื้นฟูผมสีเทาให้กลับมามีสีธรรมชาติ, วรภัทร ลิ้มสุทธิวันภูมิ Jan 2019

การศึกษานำร่องประสิทธิภาพของการใช้ Hirsuit G2b ในการฟื้นฟูผมสีเทาให้กลับมามีสีธรรมชาติ, วรภัทร ลิ้มสุทธิวันภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: ผมขาวเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามวัย (chronological aging) โดยไม่ขึ้นกับเพศ และเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียความมั่นใจในตัวเอง แต่ปัจจุบันงานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการรักษาผมขาวมีจำกัด การรักษาหลัก คือการย้อมผม วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ HIRSUIT G2B ในการฟื้นฟูผมสีเทาให้กลับมามีสีธรรมชาติในผู้ชาย วิธีการศึกษา: อาสาสมัครเพศชายที่มีปริมาณผมขาวบริเวณขมับอย่างน้อยร้อยละ 30 จำนวน 24 คน ทาผลิตภัณฑ์วิจัย HIRSUIT G2B บริเวณขมับ 2 ข้าง วันละ 2 ครั้ง 24 สัปดาห์ ประเมินผลการรักษาโดย ดูการเปลี่ยนแปลงจำนวนผมสีขาวไปเป็นสีเทา หรือ สีดำ ด้วยเครื่อง FotoFinder Trichovision®, วัดค่าดัชนีความสว่าง ด้วยเครื่อง Chroma meter และ การประเมินผลการตอบสนองทางคลินิกในภาพรวม โดยใช้ Investigator Photographic Assessment Questionnaire (IPAQ) โดยเปรียบเทียบรูปภาพที่บันทึกจากกล้องดิจิตอล กับ เครื่อง VISIA® Complexion Analysis (โหมดมาตรฐาน และยูวี) เก็บข้อมูลก่อน และหลังการรักษาที่ 4, 8, 12 และ 24 สัปดาห์ ผลการศึกษา: จากผลการศึกษาพบว่า จำนวนผมขาวเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 18.39 ± 12.9 เป็น 17 ± 12.7 เส้น ที่ 24 สัปดาห์ (P < .001) การวิเคราะห์กลุ่มย่อย พบ กลุ่มอาสาสมัครที่ตอบสนองดี (จำนวนผมสีขาวเฉลี่ยลดลง มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 10) มีระยะเวลาเฉลี่ยที่มีภาวะผมขาว เท่ากับ 6.6 ปี น้อยกว่า กลุ่มอาสาสมัครที่ตอบสนองไม่ดี (จำนวนผมสีขาวเฉลี่ยลดลง น้อยกว่า ร้อยละ 10) ที่มีระยะเวลาเฉลี่ยที่มีภาวะผมขาว เท่ากับ 11.58 ปี แต่ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอายุเฉลี่ยที่เริ่มมีภาวะผมขาว ในกลุ่มอาสาสมัครที่ตอบสนองดี กับ กลุ่มอาสาสมัครที่ตอบสนองไม่ดี ไม่แตกต่างกัน, ค่าเฉลี่ยดัชนีความสว่างลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 24 สัปดาห์ โดยลดลง 6.37 จากค่าเริ่มต้นที่ 26.89 ± 8.66 ([95% CI, -8.03 ถึง -4.71]; P <0.001) ขณะที่ investigator photographic assessment questionnaire พบว่าค่า median (range) ของคะแนนที่ 24 สัปดาห์ เท่ากับ 1+ (0 – 2+) เพิ่มขึ้นจากที่ 4 สัปดาห์ ซึ่งเท่ากับ 0 (0 – 1+) อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p < .001) นอกจากนี้ สัดส่วนของผู้ที่ตอบสนองต่อการรักษา (คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 1+) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45.5 ที่ 4 สัปดาห์ เป็นร้อยละ 81.8 ที่ 24 สัปดาห์ แต่ไม่มีผู้ตอบสนองต่อการรักษาระดับดีมาก (คะแนนเท่ากับ 3+) ในแง่ความปลอดภัย หลังจากใช้ยาไป 4 สัปดาห์ พบว่าอาสาสมัครมีอาการคัน 2 คน, ระคายเคือง 2 คน โดยอาการเป็นชั่วคราว หายเอง ไม่ต้องรับการรักษา อย่างไรก็ตามเมื่อติดตามไปจนถึงสัปดาห์ที่ 24 ไม่พบอาสาสมัครที่มาอาการคัน หรือ ระคายเคือง สรุปผล: การทาผลิตภัณฑ์วิจัย HIRSUIT G2B ทำให้เส้นผมสีเข้มขึ้น โดยจำนวนผมขาวจะกลายเป็นสีดำมากขึ้น หากระยะเวลาที่มีผมขาวไม่นาน นอกจากนี้ หากระยะเวลาการทานานขึ้น อาจจะเห็นผลการรักษามากขึ้น และ ไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง


ประสิทธิผลของการใช้แป้งผงโรยตัวในการป้องกันผื่นที่ขาหนีบในทหารเกณฑ์, สลีลา วิวัฒนิวงศ์ Jan 2019

ประสิทธิผลของการใช้แป้งผงโรยตัวในการป้องกันผื่นที่ขาหนีบในทหารเกณฑ์, สลีลา วิวัฒนิวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภูมิหลังการศึกษา : ผื่นที่ขาหนีบจากโรคกลากที่ขาหนีบ(Tinea cruris) Intertrigo Erythrasma Candidiasis เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในทหาร แม้ผื่นที่ขาหนีบจะไม่ใช่โรคที่มีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตแต่ก็ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการฝึกและคุณภาพชีวิตของทหาร ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาประสิทธิผลของแป้งป้องกันผื่นที่ขาหนีบในบุคคลากรทหาร วัตถุประสงค์ : 1.) เพื่อเปรียบเทียบอัตราอุบัติการณ์ของผื่นที่ขาหนีบระหว่างทหารเกณฑ์กลุ่มที่ใช้แป้งผงโรยตัว (กลุ่มทดลอง)และกลุ่มที่ใช้แป้งในท้องตลาด (กลุ่มควบคุม) และ2) เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในทหารเกณฑ์จากการใช้แป้งทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีการ : การทดลองแบบสุ่มทั้งกลุ่มและมีกลุ่มควบคุม (cluster randomized controlled trial) ในหน่วยฝึกทหาร 11 หน่วยในกรุงเทพมหานคร โดยมีหน่วยฝึกทหารจำนวน 7 และ 4 หน่วย (ซึ่งมีทหารเกณฑ์จำนวน 937 และ 911 คนที่เข้าเกณฑ์และเข้าร่วมการศึกษา) ถูกจัดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทหารเกณฑ์ใช้แป้งเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ โดยที่นายสิบพยาบาลในแต่ละหน่วยฝึกจะช่วยประเมินการเกิดผื่นที่ขาหนีบในทหารเกณฑ์ทุก 2 สัปดาห์ ทหารเกณฑ์ที่มีผื่นที่ขาหนีบจะถูกส่งไปตรวจและรักษาจากแพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนังที่แผนกโรคผิวหนังโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ผลการศึกษา : พบว่าในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเกิดผื่นที่ขาหนีบ 217 และ 276 คนตามลำดับ โดยมีอัตราอุบัติการณ์ 23.16 และ 30.30 รายต่อ 100 คนต่อ 10 สัปดาห์ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) วิเคราะห์ค่า adjusted rate ratio (ช่วงความเชื่อมั่น 95%) โดยวิเคราะห์สถิติแบบ Multi-level Poisson regression เท่ากับ 0.76 (0.68 , 0.84) p = 0.001 นอกจากนี้อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นนั้นพบได้ไม่บ่อยในกลุ่มทดลองเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม สรุป : แป้งผงโรยตัวป้องกันผื่นมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดผื่นที่ขาหนีบในทหารเกณฑ์ในประเทศไทย


การศึกษาลักษณะและอัตราการเกิดซ้ำของผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นเร็วจากการหมุนเวียนไฟฟ้าภายในต่อมอะตริโอเวนตริคูลาร์ ภายหลังการรักษาด้วยวิธีจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ, กวีวรรษ ฮันตระกูล Jan 2019

การศึกษาลักษณะและอัตราการเกิดซ้ำของผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นเร็วจากการหมุนเวียนไฟฟ้าภายในต่อมอะตริโอเวนตริคูลาร์ ภายหลังการรักษาด้วยวิธีจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ, กวีวรรษ ฮันตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา : ภาวะหัวใจเต้นเร็วจากการหมุนเวียนไฟฟ้าภายในต่อมอะตริโอเวนตริคูลาร์ หรือภาวะ atrioventricular nodal reentrant tachycardia (AVNRT) พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ ในปัจจุบันทางเลือกหลักของการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำคือการจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ จุดประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อต้องการศึกษาลักษณะของผู้ป่วย ภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการ และอัตราการเกิดซ้ำของภาวะ AVNRT ภายหลังการรักษาด้วยวิธีจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ และมีการศึกษาตัวแปรต่างๆ ที่อาจพยากรณ์การเกิดซ้ำของภาวะ AVNRT ในอนาคต วิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยอายุมากกว่า 18 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะ typical AVNRT จากการรตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2558 จนถึง พ.ศ. 2560 เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลจากการทำหัตถการ การเกิดภาวะแทรกซ้อน และข้อมูลการเกิดซ้ำของภาวะ AVNRT จากเวชระเบียน ศึกษาตัวแปรที่อาจพยากรณ์การเกิดซ้ำของโรค โดย univariate regression analysis ผลการศึกษา : หัตถการการจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุสำหรับภาวะ typical ANRT มีอัตราความสำเร็จ 99.2% โดยในผู้ที่ได้รับการทำหัตถการสำเร็จ 226 คน เป็นผู้หญิง 154 คน (68.1%) อายุเฉลี่ย 47.2 ปี พบภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย 9 คน (4.0%) พบผู้ป่วยที่มีการเกิดซ้ำของภาวะ AVNRT จำนวน 19 คน (8.4%) จาก univariate regression analysis พบว่าการที่ไม่พบ junctional rhythm ขณะการทำหัตถการ, การพบ dual AV node physiology ภายหลังการทำหัตถการ, และการพบ single echo beat ภายหลังการทำหัตถการ สัมพันธ์กับการเกิดซ้ำของภาวะ AVNRT ที่มากขึ้น (p<0.05) สรุปผล : หัตถการการจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุสำหรับภาวะ typical ANRT มีอัตราความสำเร็จสูงและปลอดภัย การที่ไม่พบ junctional rhythm ขณะการทำหัตถการ, การพบ dual AV node physiology ภายหลังการทำหัตถการ, และการพบ single echo beat ภายหลังการทำหัตถการ สัมพันธ์กับการเกิดซ้ำของภาวะ AVNRT ที่มากขึ้น


Association Of Hypoxia Measured By Oxygen Desaturation Index (Odi) In Osa With Delis-Kaplan Executive Function System (D-Kefs) Tests In Middle-Aged And Older Adults, Anthipa Chokesuwattanaskul Jan 2019

Association Of Hypoxia Measured By Oxygen Desaturation Index (Odi) In Osa With Delis-Kaplan Executive Function System (D-Kefs) Tests In Middle-Aged And Older Adults, Anthipa Chokesuwattanaskul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective: This study aims to study the cognitive profile, in particular, executive function, and structural changes of the brain in obstructive sleep apnea (OSA) with regards to the degree of hypoxia and the characteristics of hypoxia in middle-aged and older adults. Method: Newly diagnosed moderate or severe OSA patients from King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thailand were recruited. Respiratory parameters from the polysomnography, neuropsychological test results, and MRI brain of each participant were obtained. Results: Seventeen OSA patients were included in the study, 8 (47%) men and 9 (53%) women. The median age was 57 years and the median AHI was …


การศึกษาภาวะซึมเศร้า คุณภาพชีวิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลและผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องในประเทศไทย, สังวาลย์ พงษ์ศร Jan 2019

การศึกษาภาวะซึมเศร้า คุณภาพชีวิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลและผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องในประเทศไทย, สังวาลย์ พงษ์ศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแล และผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องในประเทศไทย เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) ศึกษาในผู้ดูแลหลักและผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ภายใต้โครงการ Peritoneal Dialysis Outcomes and Practice Patterns Study Thailand: PDOPPS. ที่มารับบริการในแผนกล้างไตทางช่องท้อง ของโรงพยาบาล 10 แห่ง ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2563 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ StataCorp Stata MP 14.0 คำนวณค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Fisher’s exact test, Independent sample t-test และ McNemar’s test ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมจำนวน 295 คู่ พบภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลและผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ซึ่งใช้เครื่องมือวัด 2 ตัว คือ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า The 10-item Center for the Epidemiological Studies of Depression Short Form (CES-D-10) ในผู้ดูแลพบภาวะซึมเศร้าร้อยละ 22.0 และผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องพบภาวะซึมเศร้าร้อยละ 39.0 ส่วนแบบประเมินภาวะซึมเศร้าฉบับภาษาไทย(Beck depression inventory II: BDI-II Thai version)พบภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลร้อยละ 19.7 และผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องร้อยละ 41.0 ในส่วนของคุณภาพชีวิตซึ่งแบ่งเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติสุขภาพกายและมิติสุขภาพใจ ซึ่งผู้ดูแลพบว่าคุณภาพชีวิตมิติด้านสุขภาพกายอยู่ในเกณฑ์คนไทยปรกติสุขภาพดีในเพศและอายุเดียวกันขึ้นไปร้อยละ 90.5 และมิติด้านสุขภาพใจพบว่าอยู่ในเกณฑ์คนไทยปรกติสุขภาพดีในเพศและอายุเดียวกันขึ้นไปร้อยละ 91.2 ส่วนของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง คุณภาพชีวิตมิติด้านสุขภาพกายพบว่าอยู่ในเกณฑ์คนไทยปรกติสุขภาพดีในเพศและอายุเดียวกันขึ้นไปร้อยละ 85.1 และมิติด้านสุขภาพใจพบว่า อยู่ในเกณฑ์คนไทยปรกติสุขภาพดีในเพศและอายุเดียวกันขึ้นไป ร้อยละ 91.9 …


บทบาทของ Growth Differentiation Factor 15 (Gdf-15) ในการวินิจฉัยการปฏิเสธเนื้อเยื่อในผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายหัวใจ, นิธิ โตควณิชย์ Jan 2019

บทบาทของ Growth Differentiation Factor 15 (Gdf-15) ในการวินิจฉัยการปฏิเสธเนื้อเยื่อในผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายหัวใจ, นิธิ โตควณิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: Growth differentiation factor 15 (GDF15) เป็นดัชนีทางชีวภาพตัวใหม่ที่เพิ่งมีการค้นพบขึ้นโดยสารตัวนี้จะถูกหลั่งออกมาจากเซลล์เพื่อตอบสนองต่อภาวะการอักเสบและการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ มีการศึกษาถึงประโยชน์ของสาร GDF15 ในการพยากรณ์โรคต่างๆอาทิ เช่น โรคหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation และ โรคลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดปอด แต่ยังไม่มีการศึกษาในผู้ป่วยหลังเปลี่ยนหัวใจ วัตถุประสงค์: การศึกษาวิจัยนี้ถูกจัดทำเพื่อประเมินหาความสัมพันธ์ของระดับ GDF 15 ในเลือดกับการเกิดการต่อต้านเนื้อเยื่อหัวใจในผู้ป่วยหลังเปลี่ยนหัวใจ (acute cardiac allograft rejection) โดยการวินิจฉัยจากการตัดชิ้นเนื้อ วิธีการวิจัย: จำนวนชิ้นเนื้อที่สามารถเก็บรวบรวมได้ทั้งหมด 115 ชิ้นจากผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนหัวใจ 37 คนในระยะเวลาระหว่างเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2019 ถึงธันวาคม ค.ศ. 2019 วิธีการเก็บเลือดเพื่อหาค่า GDF 15 นั้นจะทำก่อนการตัดชิ้นเนื้อหัวใจ สาร GDF15 จะถูกนำไปแช่แข็งและวิเคราะห์โดยวิธี Elecsys® assay (บริษัทโรช ประเทศเยอรมันดี) ชิ้นเนื้อหัวใจ 112 ชิ้นจากทั้งหมดถูกนำมาเปรียบเทียบกับสาร GDF15 ในเลือด สำหรับเกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะต่อต้านเนื้อเยอะแบบเฉียบพลันนั้นทางผู้วิจัยได้ใช้เกณฑ์มาตรฐานจากสมาคมเปลี่ยนถ่ายหัวใจและปอดปี 2004 และจากชิ้นเนื้อทั้งหมด 112 ชิ้น มี 60 ชิ้นได้จากผู้ป่วยใหม่ท่ได้รับการเปลี่ยนหัวใจ นอกจากนี้ทางผู้วิจัยยังได้เก็บตัวอย่าง GDF15 ก่อนการเปลี่ยนหัวใจของผู้ป่วยจำนวน 9 คน อีกด้วย ผลการวิจัย: จากตัวอย่างจำนวน 112 ตัวอย่าง ค่าเฉลี่ยของสาร GDF15 ในเลือดคือ 1,818 pg/ml (IQR: 510-100000 pg/ml) ระยะเวลาเฉลี่ยในการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อยู่ที่18 สัปดาห์ (IQR: 1-267 สัปดาห์) จากผลชิ้นเนื้อทั้งหมด มีชิ้นเนื้อที่มีการต่อต้านเนื้อเยื่อแบ่งตามระดับความรุนแรงดังนี้ 0R = 92 (83%), 1R= 18 (16%) และ 2R = 1 (1%) …


Electrocardiographic Qtc Interval Prolongation In Aging Thai Hiv Infected Population After Receiving Antiretroviral Therapy: Ecg Thai-Haart Study, Nonthikorn Theerasuwipakorn Jan 2019

Electrocardiographic Qtc Interval Prolongation In Aging Thai Hiv Infected Population After Receiving Antiretroviral Therapy: Ecg Thai-Haart Study, Nonthikorn Theerasuwipakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: the QTc interval prolongation is commonly found in HIV infected patients with some controversial data showed the association between ART and this condition. To date, there is no data of the QTc interval prolongation in the aging HIV infected patients with the usage of current HAART regimens. Method: we collected the data of the aging, 50 years old or more, ART-experience HIV infected patients in the HIV Netherland Australia Thailand research collaboration (HIV-NAT) who had digital ECG recorded to find the prevalence as a primary objective. The secondary objective is to find the associating factors of the QTc interval …


Characterization Of Mait Tcr Repertoire Of Gastrointestinal Tract And Peripheral Blood Mait Cells, Thidarat Kongkaew Jan 2019

Characterization Of Mait Tcr Repertoire Of Gastrointestinal Tract And Peripheral Blood Mait Cells, Thidarat Kongkaew

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Mucosal-associated invariant T (MAIT) cells are an innate-like T cell that rapidly respond to infection. MAIT cells are αβ T cells that possess a Vα7.2 (TRAV1-2) TCR with mostly pairing to TRAJ33, TRAJ20 or TRAJ12 and predominantly TRBV20-1, TRBV6-1 and TRBV6-4. MAIT T cell receptors (TCR) repertoire have been previously studied in peripheral blood. However, data on MAIT TCR repertoire in gastrointestinal tract are lacking. We studied 2 individuals who are underwent esophagogastroduodenoscopy (EGD) and colonoscopy. Blood and biopsies were obtained. PBMCs were isolated from blood and LPLs were isolated from biopsies. Due to the low number of MAIT cells …


Identification Of Probiotic Bacteria With Anticancer Activity Against Colorectal Cancer In Vitro, Patcharin Prakobwat Jan 2019

Identification Of Probiotic Bacteria With Anticancer Activity Against Colorectal Cancer In Vitro, Patcharin Prakobwat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Colorectal cancer is the third most common cause of cancer death worldwide. It is ranked third for new cancer patients in Thailand. Colorectal cancer is associated with multifactorial risk factors including the imbalance of gut microbiota. This project aimed to identify Lactobacillus strains isolated from Thai healthy populations that have anticancer activities against colorectal cancer in vitro. Lactobacillus cultured media (LCM) obtained from thirty-nine Lactobacillus strains, previously shown to have anti-inflammatory activity, were selected and used at different concentrations and/or pH adjustment to determine the anti-proliferative effect on HT-29 and Caco-2 colon cancer cells at 24, 48, and 72 h. …


Effect Of Oxidative Stress On Microglial Activation And Iron Accumulation, Rattanakorn Suntawalimp Jan 2019

Effect Of Oxidative Stress On Microglial Activation And Iron Accumulation, Rattanakorn Suntawalimp

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Microglia are the glial cell in the central nervous system. They function as resident immune cells in the brain. Microglial activation was an increase in the normal aged brain and also more found in the aged brain with neurodegenerative disease. Activated microglial were found iron accumulation leading to increase ROS generation via the Fenton reaction. Therefore, the increase of microglial activation and iron accumulation is vulnerable to neuronal survival. However, the cause of iron accumulation in the activated microglia still unknown. This study hypothesized that oxidative stress which increases in the aged and neurodegenerative disease brain may cause microglial activation …


Effect Of Jak2 Gene Mutations On Erythropoiesis Using Human Induced Pluripotent Stem Cells, Nungruthai Nilsri Jan 2019

Effect Of Jak2 Gene Mutations On Erythropoiesis Using Human Induced Pluripotent Stem Cells, Nungruthai Nilsri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Activating mutations affecting the JAK-STAT signal transduction is the genetic driver of myeloproliferative neoplasms (MPNs) which comprise polycythemia vera (PV), essential thrombocythemia (ET) and myelofibrosis. The JAK2p.V617F mutation can produce both erythrocytosis in PV and thrombocytosis in ET, while JAK2 exon 12 mutations cause only erythrocytosis. We hypothesized that these two mutations activated different intracellular signals. In this study, the induced pluripotent stem cells (iPSCs) were used to model JAK2-mutated MPNs. Normal iPSCs underwent lentiviral transduction to overexpress JAK2p.V617F or JAK2p.N542_E543del (JAK2exon12) under a doxycycline-inducible system. The modified iPSCs were differentiated into erythroid cells. Compared with JAK2V617F-iPSCS, JAK2exon12-iPSCs yielded more …


Alteration Levels Of Monoamine Neurotransmitter Related With Non-Motor Symptoms And Their Fluctuation Patterns During On/Off Periods In Parkinson’S Patients, Patsorn Wichit Jan 2019

Alteration Levels Of Monoamine Neurotransmitter Related With Non-Motor Symptoms And Their Fluctuation Patterns During On/Off Periods In Parkinson’S Patients, Patsorn Wichit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Parkinson’s disease (PD) is the second most common neurodegenerative disorder. This study consisted of two parts. The purpose of part I was to investigate the difference in concentrations of DA, NE, 5-HT and their metabolites (3-methoxytyramine (3-MET), homovanillic acid (HVA), normetanephrine (NM), vanillylmandelic acid (VMA) and 5-hydroxyindoleacetic acid (5-HIAA)) in peripheral body fluids between control and PD groups. In addition, the correlation between these neurotransmitter levels and NMSs were evaluated. The purpose of part II was to investigate the fluctuation of plasma DA, NE and 5-HT concentrations during medication ON/OFF periods in advanced-PD patients. In part I, the control and …


Qualitative And Quantitative Morphological Study Of Flexor Hallucis Longus Implicated In Tendon Harvesting And Transfer, Perin Wan-Ae-Loh Jan 2019

Qualitative And Quantitative Morphological Study Of Flexor Hallucis Longus Implicated In Tendon Harvesting And Transfer, Perin Wan-Ae-Loh

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Flexor hallucis longus (FHL) transfer is a widely used technique for reconstruction of Achilles tendinopathies, but the complications such as neurovascular injury and functional loss of toes have been reported. This study aimed to evaluate the morphology of FHL musculotendinous junction (MTJ), location of MKH in reference to the landmarks in foot, type and morphometry of tendinous interconnection between FHL and flexor digitorum longus (FDL) tendons and FHL tendon length in single incision, double incision and minimally invasive techniques. The dissection was performed in 104 embalmed and 62 soft cadaveric feet. The result showed type 1 (87.3%) and type 3 …


Serum Microrna Profile And Serum Neuron Specific Enolase, S-100, And Interleukin-6 Level As Biomarkers For Differentiating Acute Vertigo Between Cerebellar Or Brainstem Infarction And Peripheral Vertigo, Naruchorn Kijpaisalratana Jan 2019

Serum Microrna Profile And Serum Neuron Specific Enolase, S-100, And Interleukin-6 Level As Biomarkers For Differentiating Acute Vertigo Between Cerebellar Or Brainstem Infarction And Peripheral Vertigo, Naruchorn Kijpaisalratana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background and PurposeAcute vertigo is a common presentation of inner ear disease. However, it can also be caused by more serious conditions, especially posterior circulation stroke. Differentiation between these 2 conditions by clinical presentations and imaging studies during acute phase can be challenging. This study aims to evaluate the serum microRNA profile and serum neuron specific enolase (NSE), S-100, and interleukin-6 (IL-6) level as potential biomarkers to differentiate between patients with central vertigo due to cerebellar or brainstem infarction and peripheral vertigo.MethodsIn the discovery phase, miRNA expression profiling was performed by Nanostring nCounter Technology in serum of patients with central …


Predictive Factors For Invasive Fungal Rhinosinusitis In Diabetic Patients, Thwe Phyo Kan Nyunt Jan 2019

Predictive Factors For Invasive Fungal Rhinosinusitis In Diabetic Patients, Thwe Phyo Kan Nyunt

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภูมิหลัง ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสที่จะเกิดโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานได้ง่ายกว่าผู้ป่วยปกติ ซึ่งอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ในผู้ป่วยเบาหวานมีความหลากหลายค่อนข้างสูงในแต่ละการศึษา วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่จะทำนายอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกราน วิธีการศึกษา การศึกษาแบบย้อนหลังนี้ได้จัดทำในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 4 แห่ง ในประเทศไทย, มาเลเซีย และเมียนมาร์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกราน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 ถึง ค.ศ.2019 ผลที่ต้องการศึกษาคืออัตราการรอดชีวิต ปัจจัยทำนายที่นำมาวิเคราะห์ ได้แก่ อายุ, ระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในเลือด, ภาวะเลือดเป็นกรดคีโต, ระดับเม็ดเลือดขาว, ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง, ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน, การใช้ยารักษาเบาหวานในปัจจุบัน, ระดับครีเอทีนีนในเลือด, และการกระจายของโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานเข้าไปที่ตา, คาเวอร์นัสไซนัส และโพรงสมอง ผลการศึกษา มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกราน 65 ราย (อายุเฉลี่ย 57.9±13.4 ปี, เพศชาย 60%) ผลพบว่า อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 21.5 % โดยพบว่าการกระจายของโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานเข้าคาเวอร์นัส ไซนัส (hazard ratio 5.1, 95% CI [1.4–18.2], p=0.01) และโพรงสมอง (hazard ratio 3.4, 95% CI [1.1–11.3], p=0.05) เป็นปัจจัยทำนายอัตราการเสียชีวิต ส่วนการรักษาเบาหวานเป็นปัจจัยที่ลดความเสี่ยงของการเสียชีวิต (hazard ratio 0.2, 95% CI [0.1–0.9], p=0.03) ด้านอัตราการรอดชีวิตในระยะเวลา 6 เดือนในผู้ป่วยที่มีการกระจายของโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานเข้าไปและไม่เข้าไปที่คาเวอร์นัสไซนัสอยู่ที่ 51.4% และ 83.6% ตามลำดับ, (p <0.01), เข้าไปและไม่เข้าไปที่โพรงสมองอยู่ที่ 53.3% และ 88.9% ตามลำดับ, (p <0.01) และมีการใช้ยารักษาเบาหวานและไม่มีการใช้ยารักษาเบาหวานอยู่ที่ 82.3% และ 57.5% ตามลำดับ, (p =0.05) สรุป การกระจายของโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานเข้าไปที่คาเวอร์นัสไซนัสและโพรงสมองเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวาน การรอดชีวิตมีความสัมพันธ์กับการใช้ยารักษาเบาหวานในปัจจุบัน


Effectiveness Of Topical Anesthesia As An Adjuvant To Local Anesthetic Injection During Open Surgical Release Of Trigger Digit: A Randomized Controlled Trial, Panai Laohaprasitiporn Jan 2019

Effectiveness Of Topical Anesthesia As An Adjuvant To Local Anesthetic Injection During Open Surgical Release Of Trigger Digit: A Randomized Controlled Trial, Panai Laohaprasitiporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Open trigger digit release in adult is a common hand surgery. Most of the patients considered local anesthetic injection was the most painful step during the procedure. Topical anesthetic drug was not routinely used in the hand surgery. The study on its effectiveness in open trigger digit release has never been studied before. Objective: To evaluate the effectiveness of topical anesthetic drug in patients who underwent open trigger digit release surgery Materials and Methods: This study is a randomized controlled trial to compare pain score and patient satisfaction between topical anesthetic cream (5% lidocaine-prilocaine cream) versus placebo cream, applied …


ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะความเหนื่อยล้าจากการทำงานของกำลังพลประจำเรือ กองทัพเรือ, แป้งร่ำ ยงเจริญ Jan 2019

ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะความเหนื่อยล้าจากการทำงานของกำลังพลประจำเรือ กองทัพเรือ, แป้งร่ำ ยงเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะความเหนื่อยล้าจากการทำงานของกำลังพลประจำเรือ กองทัพเรือ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบสำรวจภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือกำลังพลประจำเรือ สังกัดกองเรือยุทธการ กองทัพเรือที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ณ ฐานทัพเรือสัตหีบ ทัพเรือภาคที่ 1 จังหวัดชลบุรี จำนวน 424 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการแพทย์และสุขภาพ ข้อมูลด้านการทำงาน และใช้แบบวัดภาวะความเหนื่อยล้าจากการทำงานของแมสแลช (Maslach burnout inventory) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Multiple Logistic regression เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะความเหนื่อยล้าจากการทำงาน และนำเสนอข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ Odds ratio (OR) และค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา: ความชุกของภาวะความเหนื่อยล้าจากการทำงานในกำลังพลฯ เท่ากับร้อยละ 22.4 แบ่งเป็นด้าน emotional exhaustion ร้อยละ 13.1 ด้าน depersonalization ร้อยละ 23.9 และด้าน reduced personal accomplishment ร้อยละ 70.4 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะความเหนื่อยล้าจากการทำงานในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ช่วงอายุ วุฒิการศึกษา ระดับชั้นยศ ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน/ องค์กร และการมีความคิดอยากลาออกจากการเป็นกำลังพลประจำเรือ กองทัพเรือ สรุป: กำลังพลประจำเรือ กองทัพเรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ดังนั้น จึงควรมีการเฝ้าระวังป้องกันและตรวจคัดกรองสุขภาพ รวมถึงการสร้างเสริมปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การสนับสนุนด้านต่าง ๆ เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะความเหนื่อยล้าจากการทำงานในกำลังพลประจำเรือ กองทัพเรือ


ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาทีโนโฟเวียร์ กับการเกิดภาวะการทำงานของไตบกพร่อง และโรคไตเรื้อรังในผู้ใหญ่ไทยที่ติดเชื้อเอชไอวี, จิรายุ วิสูตรานุกูล Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาทีโนโฟเวียร์ กับการเกิดภาวะการทำงานของไตบกพร่อง และโรคไตเรื้อรังในผู้ใหญ่ไทยที่ติดเชื้อเอชไอวี, จิรายุ วิสูตรานุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ยาทีโนโฟเวียร์เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวีที่ใช้เป็นส่วนประกอบของสูตรยาหลักในการรักษาผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย ยาทีโนโฟเวียร์ทำให้การทำงานของไตลดลง แต่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติการณ์ รวมทั้งระยะเวลาที่ทำให้เกิดการทำงานของไตผิดปกติในผู้ใหญ่ไทยที่ใช้ยาทีโนโฟเวียร์ วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาทีโนโฟเวียร์กับการเกิดภาวะการทำงานของไตบกพร่องและโรคไตเรื้อรัง การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ Retrospective cohort ทำการศึกษากับผู้ใหญ่ไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีและเริ่มมารับการรักษาที่คลินิกเอชไอวี รพ.ตำรวจ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2552-31 ธันวาคม พ.ศ.2558 เปรียบเทียบอัตราอุบัติการณ์ รวมทั้งระยะเวลาของการเกิดการทำงานของไตผิดปกติในกลุ่มที่ใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีที่มีและไม่มียาทีโนโฟเวียร์เป็นส่วนประกอบในสูตรยากลุ่มละ 700 คน ผลการศึกษาพบว่า อัตราอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะการทำงานของไตบกพร่องในกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ คือ 27.66/1,000 คน-ปี และ 5.54/1,000 คน-ปี อัตราอุบัติการณ์ของการเกิดโรคไตเรื้อรังในกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ คือ 4.52/1,000 คน-ปี และ 2.29/1,000 คน-ปี จากการวิเคราะห์ด้วย Mixed model method พบว่า ค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไตของผู้ป่วยลดลงทั้ง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์มีค่าเฉลี่ยของอัตราการกรองของไตน้อยกว่า 1.92 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร (p-value = 0.022) Adjusted hazard ratio ของการเกิดภาวะการทำงานของไตบกพร่องในผู้ป่วยที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ คือ 5.57 (95% CI 2.87-10.79, p-value <0.001) Adjusted hazard ratio ของการเกิดโรคไตเรื้อรังในกลุ่มที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ คือ 2.36 (95% CI 0.76-7.33, p-value = 0.138) อัตราการกรองของไตลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีแรกหลังเริ่มได้รับยาทีโนโฟเวียร์ การตรวจติดตามการทำงานของไตอย่างใกล้ชิดจะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติของไตในอนาคต


การเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาฉุกเฉินในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย, ธนวัฒน์ แซ่เจี่ย Jan 2019

การเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาฉุกเฉินในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย, ธนวัฒน์ แซ่เจี่ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา: การเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาฉุกเฉินในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งมีค่าใช้จ่ายสูงและมีความเสี่ยง การศึกษาในต่างประเทศพบว่าสาเหตุการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาฉุกเฉินที่เกิดจากการเจ็บป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุและค่าใช้จ่ายของการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาฉุกเฉินในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือเพื่อระบุสาเหตุและศึกษาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาฉุกเฉินในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย วิธีดำเนินการวิจัย: การทบทวนข้อมูลย้อนหลังของการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาฉุกเฉินในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งทะเลจากฐานผลิต/ขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ถึง 2562 เป็นระยะเวลา 36 เดือน ผลการวิจัย: ในช่วงเวลาศึกษาวิจัยมีผู้ป่วยที่ถูกเคลื่อนย้ายจำนวนทั้งสิ้น 416 ราย สาเหตุของการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาส่วนใหญ่ร้อยละ 84.13 เป็นการเจ็บป่วย พบว่าร้อยละ 60.1 ของการเคลื่อนย้ายทั้งหมดเป็นสาเหตุที่ป้องกันไม่ได้หรือป้องกันได้ยาก มีเพียงร้อยละ 39.9 เป็นสาเหตุที่ป้องกันได้ ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาอยู่ระหว่าง 10,000 บาท ถึง 880,000 บาทต่อราย ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาที่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ป้องกันได้เท่ากับ 17,160,000.00 บาทในช่วง 36 เดือนนั้น สรุปผลการวิจัย: การลดค่าใช้จ่ายจากการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษา สามารถทำได้โดยใช้วัคซีนเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน คัดกรองไม่ให้มีผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคประจำตัวหรือโรคที่มีอยู่ก่อนขึ้นไปทำงานบนแท่นขุดเจาะและฐานผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง หรือเพิ่มขีดความสามารถให้สามารถรักษาผู้ป่วยเหล่านั้นได้ที่แท่นขุดเจาะและฐานผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งอาจพิจารณาค่าใช้จ่าย-ผลได้ของวิธีเหล่านี้เทียบกับสภาพปัจจุบัน


ประสิทธิผลของการกระตุ้นพฤติกรรมที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ, วันวิสาข์ สายสนั่น ณ อยุธยา Jan 2019

ประสิทธิผลของการกระตุ้นพฤติกรรมที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ, วันวิสาข์ สายสนั่น ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการกระตุ้นพฤติกรรมที่มีต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ดำเนินการวิจัยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) จำนวน 2 แห่ง จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย โดยสุ่มให้ได้รับการกระตุ้นพฤติกรรม (กลุ่มทดลอง) และได้รับการดูแลแบบปกติ (กลุ่มควบคุม) รพ.สต.แต่ละแห่งสุ่มเลือกผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์แห่งละ 41 คน เข้าร่วมการวิจัย การกระตุ้นพฤติกรรมประกอบด้วย (1) การลงตารางกิจกรรม (2) การติดตามกิจกรรม (3) การปรับกิจกรรมรวมถึงการติดตามจำนวนก้าวเดินในแต่ละวัน วิเคราะห์ผลลัพธ์เดือนที่ 0, 3, 6 และ 9 ด้วยสถิติ Generalized Estimating Equations (GEE), และ Generalized Mixed Model ผลการศึกษาตลอดระยะเวลา 9 เดือน พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยภาวะซึมเศร้า [-2.42 คะแนน (95%CI: -3.84, -1.00)] (ขนาดผลการทดลอง Cohen’s d = 1.12, 1.00, และ 0.74 ตามลำดับ), ค่าเฉลี่ยภาวะสุขภาพจิตด้านซึมเศร้า และด้านความเครียด [-1.47 และ -1.87 คะแนน (95%CI: -2.43, -0.50 และ -2.94, -0.79 ตามลำดับ)] ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ส่วนด้านวิตกกังวลลดลงเพียงแค่ 6 เดือน [-0.87 คะแนน (95%CI: -1.52, -0.23)] จำนวนก้าวเดินเฉลี่ยต่อวันของกลุ่มทดลอง (2,595 ก้าว) เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (1,816 ก้าว) ไม่แตกต่างกัน ค่าเฉลี่ยความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ (HRV) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SDNN) [8.00 ms (95%CI: 1.51, 14.49)] และค่าช่วงคลื่นความถี่สูง (HF) [0.59 ms2 (95%CI: …


ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของบุคลากรเภสัชกรรมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วิบูลย์ เจียมทับทักษิณ Jan 2019

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของบุคลากรเภสัชกรรมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วิบูลย์ เจียมทับทักษิณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (musculoskeletal discomfort : MSD) ในบุคลากรเภสัชกรรมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ในบุคลากรเภสัชกรรมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีจำนวนตัวอย่างมีทั้งสิ้น 197 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามที่ให้ผู้เข้าร่วมการศึกษากรอกด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านงาน และการประเมินอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างโดยใช้แบบสอบถามนอร์ดิก ผลการศึกษา บุคลากรเภสัชกรรมมีความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างค่อนข้างสูง ซึ่งมีความชุกโดยรวมคือ ร้อยละ 83.8 และร้อยละ 93.4 สำหรับช่วง 7 วัน และ 12 เดือน ตามลำดับ ตำแหน่งที่มีความชุกมากที่สุดคือคอ และรองลงมาคือไหล่ กลุ่มของตำแหน่งที่มีความชุกของอาการมากที่สุดคือแนวแกนลำตัว เหตุผลที่มากที่สุดของความคิดว่าอาการปวดมาจากการทำงานคือการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ปัจจัยที่สัมพันธ์เชิงลบกับโอกาสเป็น MSD โดยรวมในช่วง 7 วัน คือ การออกกำลังกาย และปัจจัยที่สัมพันธ์เชิงลบและเชิงบวกกับโอกาสเป็น MSD ของแนวแกนลำตัว คือ สัดส่วนของเวลาพักและระยะเวลาการทำงาน ตามลำดับ สรุป บุคลากรเภสัชกรรมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างสูง จึงควรมีการเฝ้าระวังทางสุขภาพด้านอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง แนะนำให้สร้างเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย พิจารณาปรับเพิ่มสัดส่วนของช่วงเวลาพักหรือลดระยะเวลาการทำงาน รวมถึงการปรับเปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะเมื่อต้องนั่งนาน เพื่อป้องกันอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในบุคลากรกลุ่มนี้


ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ของขั้นตอนวิธีการคัดกรองความเสี่ยงต่อการหกล้ม 3 รูปแบบสำหรับผู้สูงอายุไทยในชุมชน, ศรีประภา ลุนละวงค์ Jan 2019

ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ของขั้นตอนวิธีการคัดกรองความเสี่ยงต่อการหกล้ม 3 รูปแบบสำหรับผู้สูงอายุไทยในชุมชน, ศรีประภา ลุนละวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การหกล้มเป็นปัญหาสาธารณสุขในผู้สูงอายุที่เกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยง การคัดกรองความเสี่ยงโดยใช้หลายเครื่องมือร่วมกันเป็นคำแนะนำที่ดีที่สุดในการป้องกันการล้ม แต่ยังมีข้อพิสูจน์ความแม่นยำค่อนข้างน้อย การศึกษาตามรุ่นไปข้างหน้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขั้นตอนวิธีการคัดกรองความเสี่ยงต่อการหกล้ม และทดสอบความตรงเชิงพยากรณ์ในระยะ 1 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 – ธันวาคม พ.ศ. 2562 ขั้นตอนวิธีการคัดกรองความเสี่ยงแบ่งเป็น 2 ส่วน ขั้นตอนแรกคัดกรองโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความเสี่ยง Thai-SIB 18 ข้อ มีวิธีประเมิน 3 รูปแบบหลัก 2 รูปแบบย่อย ขั้นตอนที่ 2 คัดกรองโดยการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย 4 วิธี ประเมินผลลัพธ์ 7 รูปแบบ ประเมินผลลัพธ์รวมจากหลักการคัดกรองแบบใช้หลายเครื่องมือร่วมกันแบบอนุกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Cox proportional hazard model ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พยากรณ์ความแม่นยำจากพื้นที่ใต้โค้ง ค่าความไว และความจำเพาะ ผลการศึกษา พบว่า ขั้นตอนวิธีการคัดกรองด้วยการซักประวัติ 3 คำถาม ร่วมกับทดสอบสมรรถภาพร่างกายด้วย Time Up and Go test (TUG) เป็นขั้นตอนวิธีการที่มีความไวมากที่สุดร้อยละ 71.6 (95% CI: 63.6, 78.7) และให้ค่า False negative น้อยที่สุดร้อยละ 28.4 ส่วนการใช้แบบประเมิน Thai-SIB 6 ข้อ ร่วมกับ TUG มีความจำเพาะมากที่สุด ร้อยละ 94.0 (95% CI: 90.8, 96.3) เมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการหกล้มและควบคุมปัจจัยรบกวนแล้ว ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงสูงมีโอกาสหกล้มสูงมาก [10.43 เท่า (95% CI: 6.85, 15.90) และ 13.39 เท่า (95% CI: 8.82, 20.32)] …


The Role Of Chromatin Structure In Cellular Responses To Bacterial Cytolethal Distending Toxin In Saccharomyces Cerevisiae Model, Siriyod Denmongkholchai Jan 2019

The Role Of Chromatin Structure In Cellular Responses To Bacterial Cytolethal Distending Toxin In Saccharomyces Cerevisiae Model, Siriyod Denmongkholchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cytolethal distending toxin subunit B (CdtB) is a DNase I-like bacterial genotoxin that causes DNA damage leading to cell cycle arrest and cell death. Previous reports demonstrated that CdtB has low level of DNase activity in vitro. Besides, a mutation at histone H2B phosphorylation site required for chromatin condensation during apoptosis (S10A) conferred partial resistance to CdtB in Saccharomyces cerevisiae model. Therefore, we hypothesized that chromatin structure may affect CdtB function. In this study, we identified chromatin regulators required for CdtB cytotoxicity in yeast. We found that deletions of certain components of SWR-complex (SWR1, SWC2, SWC5, SWC6, and ARP6), INO80-complex …


การยอมรับและการใช้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของแพทย์เฉพาะทางในประเทศไทย, ภานุพงศ์ ภู่ตระกูล Jan 2019

การยอมรับและการใช้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของแพทย์เฉพาะทางในประเทศไทย, ภานุพงศ์ ภู่ตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความต้องการการแพทย์ทางเลือก (Complementary and Alternative Medicine: CAM) เพิ่มขึ้นทั่วโลกเช่นเดียวกับการแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine: TTM) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ระยะยาวต่าง ๆ ของกระทรวงสาธารณสุข แต่การส่งเสริมการใช้ TTM ถูกจำกัดโดยการแพทย์แผนปัจจุบันที่เป็นกระแสหลักของระบบสุขภาพในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ดังนั้นการยอมรับ TTM ของแพทย์แผนปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแพทย์เฉพาะทางจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการใช้ TTM แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการประเมินอย่างเหมาะสมด้วยเครื่องมือสำรวจที่มีมาตรฐาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบนำร่องด้วยแบบสอบถามมาตรฐานในการเข้าถึงการยอมรับและการใช้ TTM/CAM ของแพทย์เฉพาะทางในประเทศไทย โดยทำการวิจัยแบบผสมผสานเชิงสำรวจบุกเบิก ประกอบด้วยการวิเคราะห์อภิมาน การสัมภาษณ์เชิงลึก การพัฒนาและทดสอบแบบสอบถาม และการทดสอบนำร่องด้วยแบบสอบถามมาตรฐานในแพทย์เฉพาะทางภายใต้ 8 ราชวิทยาลัยในประเทศไทย ผลการวิเคราะห์อภิมานจากบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2545 - 2560 จำนวน 1,924 เรื่อง มีบทความที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจำนวน 25 เรื่อง พบว่าความชุกของการยอมรับการแพทย์ทางเลือกของแพทย์เฉพาะทางด้วยโมเดลแบบสุ่มมีค่าเท่ากับร้อยละ 54 (95% CI: 36%-73%) และความชุกของการยอมรับการแพทย์ทางเลือกที่มีค่าสูงที่สุดคือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ตามด้วย จิตแพทย์และแพทย์ประสาทวิทยา ประสาทศัลยแพทย์ สูตินรีแพทย์ กุมารแพทย์ วิสัญญีแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู อายุรแพทย์ และศัลยแพทย์ แบบสอบถามการยอมรับและการใช้ TTM/CAM ของแพทย์เฉพาะทางที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 3 ตอน รวม 78 ข้อ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC มีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป) และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในระดับดีมาก (Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.96) ปัจจัยการยอมรับ TTM/CAM จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านกิจกรรม ด้านมุมมองเชิงบวก และด้านมุมมองเชิงลบ ซึ่งการวิเคราะห์กลุ่มแฝงแสดงให้เห็นว่าแพทย์เฉพาะทางสามารถจัดกลุ่มตามประเภทของผู้ยอมรับการแพทย์ทางเลือกจำนวน 4 กลุ่มคือ ผู้ปฏิบัติด้านการแพทย์ทางเลือก ผู้แนะนำการแพทย์ทางเลือก ผู้สนับสนุนการแพทย์ทางเลือก และผู้ไม่สนับสนุนการแพทย์ทางเลือก การทดสอบนำร่องในแพทย์เฉพาะทางจำนวน 243 คน จาก 8 ราชวิทยาลัยแสดงให้เห็นถึงรูปแบบต่าง ๆ …


ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะติดอาหารในพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร, ศิตา งามการ Jan 2019

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะติดอาหารในพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร, ศิตา งามการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาหารอาจมีความสามารถในการทำให้ผู้รับประทานเกิดภาวะติดได้ ภาวะติดอาหาร หมายถึง ความต้องการบริโภคอาหารอย่างรุนแรงซ้ำๆและไม่สามารถควบคุมได้ มีการศึกษาพบว่าภาวะติด อาหารสูงขึ้นในผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีความผิดปกติของจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า และการศึกษาปัจจัยที่ สัมพันธ์กับภาวะติดอาหารยังเป็นสิ่งใหม่ที่ท้าทาย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาความชุกและปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับภาวะติดอาหารในพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะติดอาหารในพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร วิธีการศึกษา: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับภาวะติดอาหาร ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยใช้แบบสอบถามภาวะติดอาหารฉบับดัดแปลง 2.0 ที่แปลเป็นภาษาไทย โดยทำในพยาบาลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระหว่าง เดือนเมษายน พ.ศ.2561 ถึง เมษายน พ.ศ.2562 ผลการศึกษา: จากผู้ตอบแบบสอบถาม 773 คน คิดเป็นอัตราตอบกลับ 82.1 %. พบว่ามีความชุกของภาวะติดอาหารเท่ากับ 9.7% (95 % CI 7.6-11.8) และหลังขจัดปัจจัยกวนพบว่าภาวะติดอาหารสัมพันธ์กับการมีโรคประจำตัว (aOR = 2.55 ; 95% CI 1.16-5.62 ) การทำเวชปฏิบัติส่วนตัว (aOR = 3.86 ; 95% CI 1.68-8.88) การมีอิสระในการตัดสินใจในงานต่ำ(aOR =2.49 ; 95% CI 1.37-4.52 ) ความถี่ในการบริโภคอาหารประเภทบุฟต์ ผู้มีอิทธิพลในการรับประทาน และ ความเครียด สรุป: การมีโรคประจำตัว การทำเวชปฏิบัติส่วนตัว การมีอิสระในการตัดสินใจในงาน ความถี่ในการบริโภคอาหารประเภทบุฟต์ ผู้มีอิทธิพลในการรับประทาน และ ความเครียด มีความสัมพันธ์กับภาวะติดอาหาร ซึ่งการศึกษาทำความเข้าใจปัจจัยดังกล่าวจะมีส่วนช่วยในการออกนโยบายและวางแผนดูแลสุขภาพต่อไป


ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวของกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงานแบกถุงกอล์ฟไทย, สรชัช รัตนจิตติ Jan 2019

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวของกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงานแบกถุงกอล์ฟไทย, สรชัช รัตนจิตติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาประเทศไทยเป็นจุดหมายของนักกอล์ฟทั่วโลก อาชีพพนักงานแบกถุงกอล์ฟ หรือแคดดี้ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมกอล์ฟในประเทศไทย แคดดี้เป็นอาชีพที่ต้องทำงานสัมผัสปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ในระดับสูง ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อได้ง่าย และที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับอาชีพนี้ในประเทศไทย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (Musculoskelatal discomfort, MSD) ในอาชีพแคดดี้ในประเทศไทย วิธีการ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ แคดดี้ 2,882 คน ที่ทำงานอยู่ในสนามกอล์ฟจำนวน 15 สนาม ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจากการทำงาน และแบบสอบถามเพื่อวัด MSD ของนอร์ดิก ฉบับแปลภาษาไทย นำเสนอความชุกของ MSD ในช่วง 7 วัน และ 12 เดือน และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์โดยใช้ multiple logistic regression นำเสนอโดยใช้ค่า adjusted odds ratio และช่วงของค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ผล ความชุกของ MSD โดยรวมทั้งร่างกายในช่วง 7 วัน และ 12 เดือน คือ ร้อยละ 60.6 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เท่ากับ 58.8 ถึง 62.4) และ 59.8 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เท่ากับ 58.1 ถึง 61.7) ตามลำดับ ตำแหน่งที่มีความชุกสูงสุด คือ บริเวณรยางค์ส่วนล่าง ได้แก่ น่อง เท้าและข้อเท้า (ร้อยละ 35.6 และ 37.4) และรองลงมาคือ บริเวณ เข่า (ร้อยละ 33.4 และ 34.8) ปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย การมีโรคประจำตัว …