Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Sciences

Chulalongkorn University

2020

Articles 31 - 60 of 89

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Modelling Of Cholangiocarcinogenesis By Using Pluripotent Stem Cell, Natthida Kittimawikrom Jan 2020

Modelling Of Cholangiocarcinogenesis By Using Pluripotent Stem Cell, Natthida Kittimawikrom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The exome sequencing study of cholangiocarcinoma (CCA) revealed SMAD4 mutation was frequently observed. The role of SMAD4 to cholangiocarcinogenesis as well as cell origin of CCA are not fully understand. According to current CCA model including cell lines and animal models, it still limited in resembling human cells and early event during carcinogenesis. The objective of this study was to study the role of SMAD4 signaling disruption in cholangiocyte progenitors. To clarify these questions, we used induced pluripotent stem cells (iPSCs) to differentiate into cholangiocyte organoids by using growth factors induction in this study. The result demonstrated that cholangiocyte organoids …


Is Add-On Budesonide-Impregnated Nasal Dressing Useful Following Endoscopic Sinus Surgery With Perioperative Oral Steroid?, Onusa Taweewuthisub Jan 2020

Is Add-On Budesonide-Impregnated Nasal Dressing Useful Following Endoscopic Sinus Surgery With Perioperative Oral Steroid?, Onusa Taweewuthisub

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Some chronic rhinosinusitis with nasal polyps patients undergoing endoscopic sinus surgery (ESS) have unfavorable results despite proper postoperative treatments including oral and topical steroids. Steroid-impregnated absorbable nasal dressing has been shown to improve outcomes of the surgery. In some clinical practices, budesonide-impregnated nasal dressing is used together with perioperative oral steroid but the additional benefits of it are still unknown. This study aims to determine whether budesonide-impregnated nasal dressing had any benefits following ESS when a short course of oral steroid was given in perioperative period. This is a prospective, double-blinded, within person randomized, placebo-controlled study conducted in tertiary care …


Population Pharmacokinetics Of Intravenous Colistin In Pediatrics (Poppicop Study), Noppadol Wacharachaisurapol Jan 2020

Population Pharmacokinetics Of Intravenous Colistin In Pediatrics (Poppicop Study), Noppadol Wacharachaisurapol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Colistin use in pediatrics is surging in line with the increase of multidrug-resistant Gram-negative bacteria (MDR-GNB). However, the appropriate dose is uncertain owing to the lack of pharmacokinetics data. In this study, we aimed to characterize the pharmacokinetic parameters of colistin in pediatric patients, identify the factors influencing the pharmacokinetic parameters, and propose optimal dosage regimens. Methods: A prospective, multicenter, population pharmacokinetic (PPK) study was conducted. Serial blood samples were obtained from patients after receiving the standard colistin recommended dose of 5 mg of colistin base activity (CBA)/kg/day. Plasma colistin concentrations were measured. Data were pooled from this study …


Identification Of Genetic And Antigenic Variation And Evolution Pattern Among Influenza A And B Viruses In Thailand, Nungruthai Suntronwong Jan 2020

Identification Of Genetic And Antigenic Variation And Evolution Pattern Among Influenza A And B Viruses In Thailand, Nungruthai Suntronwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Seasonal influenza viruses commonly cause respiratory disease and have a considerable impact on public health threats which annually estimates 3 to 5 million cases of severe illness worldwide. The triggering of the seasonal influenza epidemic results from a complex interplay between viral, host and external factors such as climate. Although vaccination is an effective tool for influenza prevention and its complications, the composition of vaccine strain has been changed every year due to influenza constantly evolving. Here, we aim to examine the association between influenza activity and local climate factors, host immunity, genetic and antigenic variation and evolution pattern among …


Repeatability, Reproducibility, Agreement, And Safety Of Tono-Pen Tip Cover For Intraocular Measurement Using Latex And Polyethylene Wrap, Pukkapol Suvannachart Jan 2020

Repeatability, Reproducibility, Agreement, And Safety Of Tono-Pen Tip Cover For Intraocular Measurement Using Latex And Polyethylene Wrap, Pukkapol Suvannachart

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Tono-Pen® is a regularly used device. A tip cover is needed to prevent damage to the transducer tip and patient-to-patient contamination. Ocufilm® (OF), latex disposable tip cover, is costly and able to cause allergic reactions. Objective: To evaluate repeatability, reproducibility, and agreement of intraocular pressure measurement with Tono-Pen® using OF and polyethylene wrap tip cover (PE) in human eyes. Materials and Methods: This is a cross-sectional, experimental study. For the right eyes, 4 measurements using PE were done by two raters (A and B) in random order to assess intra-rater repeatability and inter-rater reproducibility. For left eyes, 4 measurements …


Circulating-Tumor Dna And Cancer-Induced Gene Expression As Novel Liquid Biomarkers Of Liver Cancers, Pattapon Kunadirek Jan 2020

Circulating-Tumor Dna And Cancer-Induced Gene Expression As Novel Liquid Biomarkers Of Liver Cancers, Pattapon Kunadirek

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Liver cancer is one of the most cancer-related mortality with high incidence worldwide. Hepatocellular carcinoma (HCC) is the most common liver cancer type. Currently, Liquid biopsy is known as a non-invasive biomarker tool that specifically represents tumor appearance, leading to improved patient outcomes. Therefore, the novel biomarkers of liquid biopsy in Thai HCC patients are still unexplored and needed for precision medicine. The main aims of this study were First, to explore genetic profiles from liquid biopsies of circulating cell-free DNA (cfDNA) and peripheral blood mononuclear cells (PBMCs) using next-generation sequencing (NGS) and identify novel biomarkers for HCC from these …


การวิจัยคลินิกแบบสุ่ม เปิดเผยชื่อยา ในการให้ยาต้านฮิสตามีนและการบริหารยาให้ช้าลง เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินต่อยาอ๊อกซาลิพลาติน, ชลิตา ละกำปั่น Jan 2020

การวิจัยคลินิกแบบสุ่ม เปิดเผยชื่อยา ในการให้ยาต้านฮิสตามีนและการบริหารยาให้ช้าลง เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินต่อยาอ๊อกซาลิพลาติน, ชลิตา ละกำปั่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: ปัจจุบันพบว่าอุบัติการณ์การเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกิน (Hypersensitivity reaction; HSR) จากการใช้ยาอ๊อกซาลิพลาตินพบได้บ่อย และมีอุบัติการณ์สูงมากขึ้นในรอบการให้ยาที่เพิ่มมากขึ้น และพบว่าในผู้ป่วยที่เกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินที่รุนแรงอาจมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสูตรยาเคมีบำบัดและส่งผลให้หยุดการรักษาได้ ผู้วิจัยจึงทดสอบประสิทธิภาพของการให้ยาต้านฮีสตามีนและการยืดระยะเวลาในการให้ยาอ๊อกซาลิพลาตินในการป้องกันปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินที่เกิดจากยาอ๊อกซาลิพลาติน วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบสุ่ม, วิธีอำพรางผู้เข้าร่วมวิจัย, เปิดเผยชื่อยา (open-label) ในผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหารที่ไม่เคยมีประวัติปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินมาก่อน โดยผู้ป่วยที่ได้รับการคัดเลือกจะถูกสุ่ม แบบ 1:1 เพื่อเข้ากลุ่มได้รับยาต้านฮิสตามีนก่อนให้ยาอ๊อกซาลิพลาตินร่วมกับการบริหารยาอ๊อกซาลิพลาตินเพิ่มเป็น 3 ชั่วโมง หรือเข้ากลุ่มที่ได้รับยาก่อนให้ยาเคมีบำบัด (premedication) แบบมาตรฐานและบริหารยาอ๊อกซาลิพลาตินทางหลอดเลือดใน 2 ชั่วโมง โดยการสุ่มทำในรอบที่ 5 และ 7 ของสูตรยาเคมีบำบัดที่มียาอ๊อกซาลิพลาตินที่บริหารยาทุก 3 สัปดาห์และ 2 สัปดาห์ตามลำดับ ตัวชี้วัดหลักของการศึกษา (Primary endpoint) คืออุบัติการณ์ของเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกิน ผลการศึกษา: ตั้งแต่เดือน 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 21 มีนาคม 2564 ผู้ป่วยทั้งหมด 160 รายได้รับการสุ่ม (กลุ่มละ 80 คนเท่ากันทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม) มีผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัดครบรอบการรักษาที่วางแผนไว้ในกลุ่มทดลอง 74 คน (92.5%) และในกลุ่มควบคุม 76 คน (95%) พบว่าเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินในผู้ป่วย 1 คน (1.4%)ในกลุ่มทดลอง และ 10 คน(13.2%) ในกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.009) และมีผู้ป่วย 6 คน ที่เกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินมากกว่าเกรด 1 ในกลุ่มควบคุม แต่ไม่พบในกลุ่มทดลอง นอกจากนี้อาการเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินของผู้ป่วยในกลุ่มทดลอง เป็นปฏิกิริยาทางผิวหนัง (ผื่นแดงระดับ 1) และอาการใจสั่นระดับ 1 และไม่มีอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร หรือปฏิกิริยาแพ้รุนแรง (anaphylaxis) สรุปผล: ในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านฮีสตามีนเพิ่มเติมร่วมกับบริหารยาอ๊อกซาลิพลาตินให้ยานานขึ้นในช่วงครึ่งหลังของหลักสูตรการรักษาสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดป้องกันการเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินจากยาอ๊อกซาลิพลาติน


การศึกษาตามขวางเปรียบเทียบความชุกของผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง ในนิสิตแพทย์ชั้นปรีคลินิก และนิสิตแพทย์ชั้นคลินิกโดยวิธี ควอนติเฟอรอนทีบีโกลพลัส และการทดสอบวัณโรคทางผิวหนัง, นันทนา จำปา Jan 2020

การศึกษาตามขวางเปรียบเทียบความชุกของผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง ในนิสิตแพทย์ชั้นปรีคลินิก และนิสิตแพทย์ชั้นคลินิกโดยวิธี ควอนติเฟอรอนทีบีโกลพลัส และการทดสอบวัณโรคทางผิวหนัง, นันทนา จำปา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา นิสิตแพทย์เป็นกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อวัณโรคจากผู้ป่วยในโรงพยาบาลและกลายเป็นวัณโรคชนิดมีอาการที่สามารถแพร่กระจายได้โดยเฉพาะในโรงพยาบาลของประเทศที่มีความชุกของผู้ติดเชื้อวัณโรคสูง วัตถุประสงค์ เพื่อที่จะหาความชุกของนิสิตแพทย์ที่ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงเปรียบเทียบกันระหว่างนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ที่เพิ่งผ่านการเรียนการสอนในชั้นปรีคลินิกและนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ที่ผ่านการสัมผัสผู้ป่วยในโรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี โดยการใช้วิธีการตรวจ QuantiFERON-TB Gold Plus (QFT-Plus) และการทดสอบวัณโรคทางผิวหนัง (Tuberculin Skin Test) วิธีการวิจัย เป็นการศึกษาแบบตัดขวางในอาสาสมัครนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 และนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยนิสิตที่สมัครใจเข้าร่วมการศึกษาจะได้รับการตรวจ QFT-Plus จากการเก็บตัวอย่างเลือด และบางส่วนของนิสิตที่เขาร่วมการศึกษาจะได้รับการทดสอบ TST หลังจากการเจาะเลือด โดยก่อนหน้าเข้าเก็บตัวอย่างนิสิตแพทย์อาสาสมัครจะต้องทำแบบสอบถามเกี่ยวกับความเสี่ยงในการได้รับเชื้อวัณโรค ผลการศึกษา มีนิสิตสนใจเข้าการศึกษาทั้งหมด 158 คน โดยความชุกของผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงโดยวิธี QFT-Plus รวมทั้งหมดมี 10 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 โดยแบ่งเป็นความชุกในนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 9.4 และความชุกของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 2.7 โดยไม่พบความสัมพันธ์กับเสี่ยงของการติดเชื้อวัณโรคกับปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติเมื่อทำการวิเคราะห์แบบพหุตัวแปร โดยในการศึกษานี้นิสิตส่วนมาก ร้อยละ 88 ให้ประวัติว่าเคยได้รับวัคซีน BCG ตั้งแต่เด็ก นอกจากนั้นในรายที่ให้ผลบวกจากการทดสอบ QFT-Plus และ TST ไมีมีนิสิตที่มีผลภาพรังสีปอดที่ผิดปกติ โดยจากนิสิตที่เข้าการศึกษาทั้งหมด 158 ราายมีนิสิตจำนวน 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.9 สมัครใจรับการทดสอบ TST โดยพบว่าหากใช้จุดตัดของ TST ตามมาตรฐานที่ตั้งแต่ 10 มิลลิเมตรขึ้นไป พบว่ามี 6 รายให้ผลบวกสอดคล้องกับ QFT-Plus และมี 4 รายที่ TST ให้ผลลบ ไม่สอดคล้องกับ QFT-Plus เมื่อคิดค่าความสอดคล้องกันระหว่างการทดสอบทั้ง 2 พบว่ามีความสอดคล้องกันในระดับปานกลาง สรุป การตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรใหม่ที่เข้ามาทำงานในโรงพยาบาลโดยเฉพาะนิสิตแพทย์มีความสำคัญในการช่วยลดการแพร่กระจายอุบัติการของการเกิดวัณโรคติดต่อภายในโรงพยาบาล ในการศึกษานี้พบว่าในนิสิตแพทย์ปี 6 มีค่าความชุกของผู้ป่วยวัณโรคแฝง สูงกว่านิสิตแพทย์ชั้นปี 4 ดังนั้นประชากรกลุ่มนิสิตนี้จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับบเชื้อวัณโรคจากการฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาล แม้ว่าจากการศึกษานี้มีจำนวนผนิสิตที่เข้าร่วมปริมาณไม่มากจนสามารถแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงของชั้นปี …


การศึกษาผลกระทบของสถานะทางโภชนาการต่อผลลัพธ์ของการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่ได้รับยาภูมิคุ้มกันบำบัด, ธนานันท์ ธเนศวรอนันต์ Jan 2020

การศึกษาผลกระทบของสถานะทางโภชนาการต่อผลลัพธ์ของการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่ได้รับยาภูมิคุ้มกันบำบัด, ธนานันท์ ธเนศวรอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา และวัตถุประสงค์: การรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย ได้มีการพัฒนาการรักษามาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ จนกระทั่งการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด ที่ออกฤทธิ์ต้าน programmed cell death ligand 1 (Anti PD-L1) และ/หรือยาที่ออกฤทธิ์ต้าน programmed cell death (Anti PD-1) แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดถึงข้อมูลทางชีวภาพในการบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยแต่ละราย จากข้อมูลการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าดัชนีมวลกายนั้นมีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด ดังนั้นจึงทำการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของผลกระทบต่อสถานะทางโภชนาการโดยการประเมินด้วยแบบฟอร์ม patient generated subjected Global Assessment (PG-SGA) และปัจจัยหรือข้อกำหนดอื่นทางโภชนาการต่อผลลัพธ์ของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจายที่ได้รับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด โดยประเมินภาวะทางโภชนาการด้วยแบบฟอร์ม PG-SGA ในวันที่เริ่มการรักษาและสัปดาห์ที่ 12 หลังเริ่มการรักษา ตรวจวัดองค์ประกอบของร่างกายและเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวัดระดับพารามิเตอร์ทางโภชนาการ บันทึกประวัติการรับประทานอาหารด้วยสมุดบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมอินมูแคล (INMUCAL-N) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะโภชนการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อผลลัพธ์ของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 20 ราย พบว่าผู้ป่วย 18 รายมีภาวะทุพโภชนการเมื่อประเมินด้วยแบบฟอร์ม PG-SGA ระยะเวลาเฉลี่ยของการติดตามการรักษา 7 เดือน โดยในผู้ป่วยที่ภาวะทางโภชนาการปกติ (PG-SGA A) มีระยะเวลาการรอดชีวิตที่ปราศจากความก้าวหน้าที่ยาวนานกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ (PG-SGA B/C) และปัจจัยอื่นได้แก่ ดัชนีมวลกาย (BMI), ระดับ NLR, pre-albumin, hs-CRP ในเลือด มีความสัมพันธ์ต่อผลลัพธ์ของระยะเวลาการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่ยาวนานขึ้น สรุปผลการวิจัย: ภาวะทางโภชนาการที่ประเมินด้วย PG-SGA อาจจะมีความสัมพันธ์ต่อผลลัพธ์ของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย โดยภาวะทุพโภชนาการมีผลลัพธ์ต่อระยะเวลาการรอดชีวิตที่ปราศจากความก้าวหน้าที่แย่กว่า


การศึกษาภาวะหลอดเลือดแข็งชนิดไม่แสดงอาการ โดยการวัดระดับแคลเซียมบริเวณหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมเปรียบเทียบกับผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม, นิธิพัฒน์ สันดุษฎี Jan 2020

การศึกษาภาวะหลอดเลือดแข็งชนิดไม่แสดงอาการ โดยการวัดระดับแคลเซียมบริเวณหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมเปรียบเทียบกับผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม, นิธิพัฒน์ สันดุษฎี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระดับแคลเซียมบริเวณหลอดเลือดหัวใจ และลิ้นหัวใจในผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม และผู้ป่วยที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม วิธีการวิจัย ผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมวินิจฉัยจากเกณฑ์ Dutch Lipid Clinic Network (DLCN) ที่มีค่าตั้งแต่ 6 คะแนนขึ้นไป (Probable or definite familial hypercholesterolemia) และผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม โดยวินิจฉัยจากการที่ผู้ป่วยเคยมีระดับ LDL-c สูงสุดมากกว่า 130 มก./ดล. และคะแนน DLCN น้อยกว่า 6 คะแนน โดยนำผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มเข้ารับการตรวจวัดระดับแคลเซียมบริเวณหลอดเลือดหัวใจ และลิ้นหัวใจเอออร์ติก ด้วยการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดไม่ใช้สารทึบรังสี ผลการศึกษา ผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทั้งหมด 71 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยคอเลสเตอรลสูงทางพันธุกรรม 36 ราย และผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม 35 ราย พบว่าผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมมีระดับ LDL-c ก่อนการรักษา ระดับ LDL-c และ total cholesterol ในวันที่เข้าร่วมวิจัยสูงกว่า, Total cholesterol burden มากกว่า และระยะเวลาการรักษาที่นานกว่ากลุ่มควบคุม ผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมมีระดับ Coronary artery calcium (CAC) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (25.3 Agatston unit (AU) (0-210.2 AU) และ 0 AU (0-37.6 AU), P = 0.01) และมีสัดส่วนผู้ป่วยที่มีระดับแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจมากกว่า 0 AU มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 69.4 และร้อยละ 42.9, P = 0.02) นอกจากนี้ในผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม ยังมีสัดส่วนผู้ป่วยที่มีระดับแคลเซียมบริเวณลิ้นหัวใจเอออร์ติกมากกว่า 0 AU มากกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 19.4 และร้อยละ 0, P= …


การศึกษาอุบัติการณ์การหายของภาวะเลือดออกในสมองจากการตรวจพบโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, พาทิศ หาญไชยพิบูลย์กุล Jan 2020

การศึกษาอุบัติการณ์การหายของภาวะเลือดออกในสมองจากการตรวจพบโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, พาทิศ หาญไชยพิบูลย์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : ภาวะเลือดออกในสมองของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของการรักษาด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางระบบประสาทที่แย่ลงและอาจสัมพันธ์กับการเสียชีวิต การศึกษานี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาการหายของเลือดในสมองจาการตรวจพบโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีการวิจัย : ทำการศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันที่มีภาวะเลือดออกในสมองในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังการรักษาด้วยการฉีดย่าละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำและเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2552 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ.2561 ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันทั้งหมด 710 ราย มีผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองทั้งหมดที่เข้าการศึกษา 80 ราย พบว่าค่าเฉลี่ยของเวลาที่เลือดออกในสมองหายหมดในผู้ป่วยทั้งหมดเท่ากับ 22.37 วัน (SD = 17.18) สรุปผลการศึกษา : ผลการศึกษานี้อาจจะนำไปประยุกต์ใช้ในการเลือกเวลาที่จะตรวจติดตามเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ตามเวลาที่เป็นค่าเฉลี่ยผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม โดยในผู้ป่วยที่มีเลือดออกประเภท HI1 อาจจะพิจารณาตรวจที่วันที่ 10 ผู้ป่วยที่มีเลือดออกประเภท HI2 และ PH1 อาจจะพิจารณาตรวจในวันที่ 20 หลังพบเลือดออกในสมอง และผู้ป่วยในกลุ่ม PH2 พิจารณาตรวจเอกซเรย์สมองในวันที่ 35


การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการทำความสะอาดมือโดยใช้แอลกอฮอล์ระหว่างหกและเจ็ดขั้นตอน, จิรวัฒน์ บุพพันเหรัญ Jan 2020

การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการทำความสะอาดมือโดยใช้แอลกอฮอล์ระหว่างหกและเจ็ดขั้นตอน, จิรวัฒน์ บุพพันเหรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เป็นสิ่งสำคัญในการลดการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล ในปัจจุบันการล้างมือมีทั้งหมด 3 วิธี คือ 3 ขั้นตอน, 6 ขึ้นตอนและ 7 ขั้นตอน โดยพบว่าการล้างมือ 6 ขั้นตอนลดจำนวนแบคทีเรียได้ดีกว่า 3 ขั้นตอน แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบการล้างมือระหว่าง 6 ขั้นตอนและ 7 ขั้นตอน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราส่วนของจำนวนแบคทีเรียหลังล้างมือหารด้วยจำนวนแบคทีเรียก่อนล้างมือของวิธีการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ทั้ง 6 และ 7 ขั้นตอน วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและข้ามกลุ่มในบุคคลากรของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ถึงพฤษภาคม พ.ศ.2563 โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ แพทย์, พยาบาล และนักศึกษาแพทย์ ผลการศึกษา: ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของอัตราส่วนจำนวนแบคทีเรียหลังล้างมือเทียบก่อนล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ระหว่างหกและเจ็ดขั้นตอน (0.35 และ 0.42 ตามลำดับ, โดย p = 0.44) พื้นที่บนมือที่ไม่โดนแอลกอฮอล์ทั้งหกและเจ็ดขั้นไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (5% เท่ากันทั้งสองวิธี, โดย p = 0.55) และพบว่าบริเวณหลังมือของนิ้วโป้งและนิ้วก้อยเป็นตำแหน่งที่ล้างมือไม่โดนมากที่สุด เวลาในการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์โดยวิธีเจ็ดขั้นตอน (ค่ามัธยฐาน 34 วินาที) จะใช้เวลามากกว่าการล้างมือหกขั้นตอน (ค่ามัธยฐาน 30 วินาที) สรุปผล: จากการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและข้ามกลุ่มเพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ระหว่างหกและเจ็ดขั้นตอน พบว่าการล้างมือด้วยวิธีหกขั้นตอนไม่ด้อยไปกว่าการล้างมือเจ็ดขั้นตอนทั้งในส่วนของจำนวนแบคทีเรียหลังล้างมือ พื้นที่มือที่ไม่สัมผัสแอลกอฮอล์ และระยะเวลาสำหรับล้างมือของหกขั้นตอนน้อยกว่าเจ็ดขั้นตอน


การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จ ระหว่างวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก และวิธีการทดสอบการหายใจด้วยการให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที ในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก, ญาณิศา เกลื่อนวัน Jan 2020

การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จ ระหว่างวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก และวิธีการทดสอบการหายใจด้วยการให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที ในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก, ญาณิศา เกลื่อนวัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถเพิ่มอัตราการไหลของอากาศช่วงหายใจออกได้ แม้จะมีความแตกต่างของระดับความดันภายในหลอดลม ซึ่งสามารถพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ถึง 60% อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อแนะนำหรือแนวทางการประเมินเพื่อหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างชัดเจน วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อเปรียบเทียบอัตราการถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ และสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้เป็นเวลาอย่างน้อย 72ชั่วโมง ในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก ระหว่างวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก (SBT with Pressure Support Ventilation) และวิธีการทดสอบการหายใจด้วยการให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที (SBT with T-piece) วิธีศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม และไม่ด้อยกว่า โดยศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวซึ่งได้รับการช่วยหายใจผ่านทางท่อช่วยหายใจเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และเข้าได้กับเกณฑ์ความพร้อมเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ทำการสุ่มด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวกในระยะเวลา 30 นาที และกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวทีในระยะเวลา 30 นาที วัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้ คืออัตราการถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ และสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้เป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมง และวัตถุประสงค์รองของการศึกษา ได้แก่ อัตราของภาวะการหายใจล้มเหลวหลังการถอดท่อช่วยหายใจในช่วง 7 วัน, ระยะเวลาที่ต้องมีการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจ, อัตราการผ่านขั้นตอนการทดสอบการหายใจ เป็นต้น ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าสู่การศึกษาทั้งสิ้น 99 ราย เป็นเพศชาย 50.5% มีค่ามัธยฐานของอายุที่ 70 [23] ปี และมีสาเหตุที่นำมาสู่ภาวะการหายใจล้มเหลวจากระบบทางเดินหายใจเป็นส่วนใหญ่ (68.7%) เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติแล้ว พบว่าอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จเป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมงของกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก ไม่ด้อยกว่ากลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที คิดเป็น 82% และ 81.63% ตามลำดับ (95%CI -0.148 to 0.156, p=0.0475) รวมถึงอัตราการผ่านขั้นตอนการทดสอบการหายใจ (96% และ 93.9% ตามลำดับ; 95%CI -0.065 to 0.108, p<0.001) พบว่าไม่ด้อยกว่าด้วยเช่นกัน ส่วนอัตราของภาวะการหายใจล้มเหลวหลังการถอดท่อช่วยหายใจในช่วง 7 วันของกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก และกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที พบว่าไม่สามารถสรุปผลได้ (22.9% และ 15.2% ตามลำดับ; 95%CI -0.081 to 0.235, p=0.369) นอกจากนี้ยังไม่มีความแตกต่างทางสถิติของระยะเวลาที่ต้องมีการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจอีกด้วย (55 [95.5] ชั่วโมง และ 25.33 [48] ชั่วโมงตามลำดับ, p=0.683) สรุป: อัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ ด้วยวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก ไม่ด้อยกว่าการทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวทีในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก และการศึกษานี้ยังเป็นการศึกษาแรกที่แสดงถึงความไม่แตกต่างของผลการทดสอบการหายใจระหว่าง 2 วิธีดังกล่าว ในแง่ของอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จในผู้ป่วยที่มีภาวะการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออกนี้


การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการสูญเสียสายสวนหลอดเลือดดำสำหรับฟอกเลือดชนิดถาวรระหว่างการล็อคสายด้วย 7.5% โซเดียมไบคาร์บอเนตกับเฮปพาริน ในผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, วรรณสิทธิ์ วรรธนวศิน Jan 2020

การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการสูญเสียสายสวนหลอดเลือดดำสำหรับฟอกเลือดชนิดถาวรระหว่างการล็อคสายด้วย 7.5% โซเดียมไบคาร์บอเนตกับเฮปพาริน ในผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, วรรณสิทธิ์ วรรธนวศิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างโซเดียมไบคาร์บอเนตและเฮปพาริน ในการลดอัตราการสูญเสียสายฟอกเลือดจากการอุดตันของสายหรือการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับสายฟอกเลือดของผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กระบวนการและระเบียบวิธีวิจัย เป็นการศึกษาทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมในศูนย์ไตเทียม 7 แห่ง ในจังหวัด กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมผ่านสายฟอกเลือด 2 หรือ 3 ครั้งต่อสัปดาห์แบบสุ่มทั้งหมด 118 ราย เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับ 7.5% โซเดียมไบคาร์บอเนต (57 ราย) และกลุ่มที่ได้รับเฮปพาริน (61 ราย) ในการล็อคสายหลังฟอกเลือดทุกครั้ง และติดตามผลลัพธ์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ วัตถุประสงค์หลัก คือ อัตราการสูญเสียสายฟอกเลือดจากสายอุดตันและการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับสายฟอกเลือด วัตถุประสงค์รอง คือ ผลลัพธ์รวมของอัตราการเกิดสายอุดตัน การติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับสายฟอกเลือด และ การติดเชื้อบริเวณทางออกหรืออุโมงค์ของสายฟอกเลือด ผลการศึกษา พบว่าไม่มีการสูญเสียสายฟอกเลือดจากสายอุดตันและการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับสายฟอกเลือดในทั้ง 2 กลุ่มการศึกษา แต่ในกลุ่มโซเดียมไบคาร์บอเนตมีผลลัพธ์รวมของอัตราการเกิดสายอุดตัน การติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับสายฟอกเลือด และ การติดเชื้อบริเวณทางออกหรืออุโมงค์ของสายฟอกเลือดมากกว่ากลุ่มเฮปพารินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (13.8 เทียบกับ 0.8 ต่อ 1,000 วันของการใช้สายฟอกเลือด) (P=0.004) โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยของการเกิดสายอุดตัน 23.6 วัน อย่างไรก็ตามทุกการเกิดสายอุดตันสามารถแก้ไขได้ด้วยการล็อคสายด้วยยา recombinant tissue plasminogen activator (rt-PA) เพียง 1 โดสและไม่พบความแตกต่างในด้านค่าใช้จ่ายรวมของทั้ง 2 กลุ่ม นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มโซเดียมไบคาร์บอเนตมีแนวโน้มที่จะเกิดอัตราการติดเชื้อในกระแสเลือดและการติดเชื้อบริเวณทางออกและอุโมงค์ของสายสวนที่น้อยกว่ากลุ่มเฮปพาริน (0 เทียบกับ 0.8 ต่อ 1,000 วันของการใช้สายฟอกเลือด) (P=0.56) สรุปผล การใช้เฮปพารินซึ่งเป็นสารล็อคสายฟอกเลือดมาตรฐานสามารถป้องกันสายอุดตันได้ดีกว่าโซเดียมไบคาร์บอเนตในผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม อย่างไรก็ตามการใช้มาตรการการล็อคสายวิธีใหม่ กล่าวคือ การใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตร่วมกับ rt-PA ทุก 3 สัปดาห์ในการล็อคสายฟอกเลือด อาจนำมาใช้เป็นวิธีทางเลือก โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อห้ามต่อการใช้เฮปพาริน


การศึกษาแบบสุ่มของการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดําต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะทางโภชนาการในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือด, อธิภัทร์ บรรจงจิตร Jan 2020

การศึกษาแบบสุ่มของการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดําต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะทางโภชนาการในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือด, อธิภัทร์ บรรจงจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: ในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดและมีภาวะทุพโภชนาการมีคำแนะนำให้ให้อาหารเสริมทางหลอดเลือดดำขณะฟอกเลือดหลังจากที่ให้อาหารเสริมทางปากแล้วไม่สามารถทำให้ภาวะทางโภชนาการดีขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาแบบสุ่มที่แสดงให้เห็นว่าการให้อาหารเสริมทางหลอดเลือดดำขณะฟอกเลือดลดอัตราการเสียชีวิตได้หรือแม้แต่ช่วยให้ผลเลือดที่ทำนายอัตราการเสียชีวิตเช่นระดับอัลบูมินในเลือดดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการให้คำแนะนำทางโภชนาการ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประโยชน์ของการให้อาหารเสริมทางหลอดเลือดดำขณะฟอกเลือดในแง่ของภาวะทางโภชนาการในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดและมีภาวะทุพโภชนาการ วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือนซึ่งประกอบไปด้วยช่วงให้การรักษาตามกลุ่ม 3 เดือนและช่วงที่หยุดการรักษาเพื่อดูผลที่หลงเหลืออยู่ของการรักษาอีก 3 เดือน ผู้ที่เข้าร่วมการศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดและมีภาวะทุพโภชนาการซึ่งได้รับการสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับการรักษาเป็นอาหารเสริมทางหลอดเลือดดำชนิดมีสารอาหารครบและมีโอเมก้า 3 เป็นส่วนประกอบ กลุ่มที่สองได้รับการรักษาโดยได้รับคำแนะนำทางโภชนาการเชิงลึกรายบุคคล ผลลัพธ์หลักของคือการเปลี่ยนแปลงของระดับอัลบูมินในเลือด ผลลัพธ์รองคือการเปลี่ยนแปลงของระดับพรีอัลบูมิน มวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระบบการให้คะแนนทางโภชนาการคือ malnutrition inflammation score หรือ MIS และ 7-point subjective global assessment หรือ SGA และสารบ่งชี้การอักเสบคือ interleukin-6 และ high-sensitivity C-reactive protein ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่เข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด 38 ราย โดย 18 รายได้รับอาหารเสริมทางหลอดเลือดดำขณะฟอกเลือด 20 รายได้รับคำแนะนำทางโภชนาการเชิงลึกรายบุคคล พบว่าที่เดือนที่ 3 กลุ่มที่ได้อาหารเสริมทางหลอดเลือดดำขณะฟอกเลือดมีระดับอัลบูมินในเลือดเพิ่มขึ้น 0.30 ± 0.20 กรัมต่อเดซิลิตร (p=0.01) สัดส่วนของผู้ป่วยที่มี 7-point SGA หมวด A เพิ่มขึ้น (จากร้อยละ 50 เป็น 70.6 p=0.03) และค่า MIS ดีขึ้น (จาก 8.8 ± 3.8 เป็น 6.8 ± 3.3 p=0.01) แต่หลังจากหยุดการักษาผลทั้งหมดลดลง ส่วนอีกกลุ่มไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญตลอดการศึกษา ผลลัพธ์อื่นคือระดับพรีอัลบูมิน มวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และสารบ่งชี้การอักเสบไม่เปลี่ยนแปลงตลอดการศึกษาในทั้ง 2 กลุ่ม สรุปผล: การให้อาหารเสริมทางหลอดเลือดดำขณะฟอกเลือดชนิดมีสารอาหารครบและมีโอเมก้า 3 เป็นส่วนประกอบสามารถทำให้ภาวะทางโภชนาการของผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดและมีภาวะทุพโภชนาการดีขึ้นได้ในด้านระดับอัลบูมินในเลือด ระบบการให้คะแนนทางโภชนาการคือ 7-point SGA และ MIS …


การศึกษาไปข้างหน้าเปรียบเทียบระหว่างการเพาะเชื้อจากเลือดที่ดูดผ่านทางหนึ่งรูกับสองรูของสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางชนิดหลายรูในการวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับสายสวนหลอดเลือดส่วนกลาง, สรไกร วงศ์ไพบูลย์วัฒน Jan 2020

การศึกษาไปข้างหน้าเปรียบเทียบระหว่างการเพาะเชื้อจากเลือดที่ดูดผ่านทางหนึ่งรูกับสองรูของสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางชนิดหลายรูในการวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับสายสวนหลอดเลือดส่วนกลาง, สรไกร วงศ์ไพบูลย์วัฒน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จุดประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบระหว่างการดูดเลือดผ่าน 1 รู และ 2 รู จากสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ชนิดหลายรูในการวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับสายสวนหลอดเลือดส่วนกลาง วิธีการศึกษา : การศึกษาแบบไปข้างหน้า เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ในผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกที่สงสัยมีการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับสายสวนหลอดเลือดส่วนกลาง ในผู้ป่วยที่ทำการใส่สายสวนหลอดเลือดชนิดหลายรูมานานมากกว่า 48 ชั่วโมงและอยู่ในหอผู้ป่วยแผนกอายุรกรรมและศัลยกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยทำการดูดเลือด 2 ครั้ง ครั้งแรกผ่านรูที่มีรูเปิดปลายสุด และครั้งที่สองจากรูที่มีรูเปิดใกล้สุดหรือรูที่เปิดตรงกลางของสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางชนิด 3 รู (triple-lumen CVC) และสายสวนหลอดเลือดดำใหญ่ผ่านทางหลอดเลือดดำส่วนปลายที่ผิวหนังชนิด 2 รู (PICC) ร่วมกับทำการเจาะเลือดดำส่วนปลาย โดยใช้การวินิจฉัยตามที่สมาคมโรคติดเชื้อประเทศสหรัฐอเมริกากำหนด ผลการศึกษา : ช่วงที่ทำการศึกษามีผู้ป่วยจำนวน 115 คน ที่มีอาการทางคลินิกที่สงสัยมีการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับสายสวนหลอดเลือดส่วนกลาง ประกอบด้วย 86 คน (ร้อยละ 74.8) และ 29 คน (ร้อยละ 25.2) ที่ทำการใส่สายสวนหลอดเลือดดำใหญ่ผ่านทางหลอดเลือดดำส่วนปลายที่ผิวหนังชนิด 2 รู และสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางชนิด 3 รู ตามลำดับ 96 คน (ร้อยละ 83.5) และ 19 คน (ร้อยละ 16.5) อยู่ในหอผู้ป่วยแผนกอายุรกรรมและศัลยกรรมตามลำดับ ในการศึกษานี้พบผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับสายสวนหลอดเลือดส่วนกลางร้อยละ 4.34 (5 คน จากผู้ป่วย 115 คน) โดยมีอัตราการเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับสายสวนหลอดเลือดส่วนกลางเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13.33 (2 คนที่มีเชื้อขึ้นจากการดูดเลือดผ่านรูที่เปิดปลายสุด เป็นร้อยละ 33.33 (จำนวนเพิ่มขึ้น 3 คนที่มีเชื้อขึ้นจากการดูดเลือดผ่านรูที่เปิดใกล้สุดและเปิดตรงกลาง) จากผู้ป่วย 15 คนที่มีเชื้อขึ้นจากการดูดเลือดผ่านสายสวนหลอดเลือดอย่างน้อย 1 รู โดยมีการปนเปื้อนจากการเก็บสิ่งตรวจร้อยละ 1.74 …


การเปรียบเทียบการดื้อยาคาร์บาร์พีเนมของเชื้อเอ็นเทอโรแบคเทอเรียซีอีโดยวิธีนาโนพอร์ซีเควนซิงกับวิธีเพาะเชื้อโดยมาตรฐานในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ปัณณพร ทองสุก Jan 2020

การเปรียบเทียบการดื้อยาคาร์บาร์พีเนมของเชื้อเอ็นเทอโรแบคเทอเรียซีอีโดยวิธีนาโนพอร์ซีเควนซิงกับวิธีเพาะเชื้อโดยมาตรฐานในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ปัณณพร ทองสุก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อหาความไวและความจำเพาะของเครื่องมือนาโนพอร์ซีเควนเซอร์ในการตรวจหายีนดื้อยาคาร์บาร์พีเนมของเชื้อเอ็นเทอโรแบคเทอเรียซีอี โดยเปรียบเทียบกับวิธีเพาะเชื้อโดยมาตรฐาน ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการวิจัย ผู้ป่วยที่สงสัยติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นำปัสสาวะไปปั่นเพื่อลดเซลล์มนุษย์ จากนั้นนำตะกอนแบคทีเรียไปสกัดดีเอ็นเอแล้วซีเควนต่อด้วยเครื่องมือนาโนพอร์เซอร์ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ผลเชื้อก่อโรคและยีนดื้อยานำมาเปรียบเทียบกับผลการเพาะเชื้อด้วยวิธีมาตรฐาน ผลการศึกษา มีเชื้อเอ็นเทอโรแบคเทอเรียซีอีทั้งหมด 60 ตัวอย่าง ประกอบด้วยเชื้อดื้อยาคาร์บาพีเนม (CRE) 28 ตัวอย่าง เชื้อที่สามารถผลิตเอนไซม์เบต้าแลคแตมเมสออกฤทธิ์ชนิดกว้าง (ESBL) 16 ตัวอย่าง และเชื้อที่ไม่ดื้อยา (non CRE/non ESBL/nonAmpcC) 16 ตัวอย่าง เครื่องมือนาร์โนพอร์ซีเควนเซอร์สามารถตรวจหาเชื้อก่อโรคและยีนดื้อยาได้ตรงกับวิธีเพาะเชื้อตามมาตรฐาน เมื่อตัดตัวอย่างที่มีดีเอ็นเอน้อยกว่า 1 ng/mcl 7 ตัวอย่างออกไปพบว่าเครื่องมือนี้มีความไวและความจำเพาะต่อการตรวจพบยีนดื้อยาคาร์บาพีเนมร้อยละ 86.9 และ 93.3 ตามลำดับ และพบว่ามีความไวและความจำเพาะต่อการตรวจพบยีนดื้อยา 3rd cephalosporin ร้อยละ 92.1 และ 60 ตามลำดับ สรุป การตรวจหายีนดื้อยาคาร์บาพีเนมของเชื้อในกลุ่มเอ็นเทอโรแบคเทอเรียซีอีด้วยวิธีนาโนพอร์ซีเควนซิ่งมีความไวและความจำเพาะที่สูง เมื่อเทียบกับการตรวจโดยวิธีเพาะเชื้อตามมาตรฐานในผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยสามารถลดระยะเวลาในการตรวจเจอเชื้อก่อโรคและยีนดื้อยาได้ โดยใช้เวลามัธยฐาน 3.5(2.2-8.2) ชั่วโมง เพื่อที่จะสามารถพิจารณาปรับยาปฏิชีวนะได้อย่างเหมาะสมในโดสที่ 2-3 เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเกินความจำเป็นและลดโอกาสดื้อยาในอนาคตได้


การเปรียบเทียบการให้ยาระหว่างยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟนและสารสกัดมะขามป้อมก่อนการให้ยาระงับความรู้สึกในการส่องกล้องหลอดลม ต่อการกดอาการไอระหว่างการส่องกล้องหลอดลม: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทาง, วันวิสาข์ บุญเฟื่อง Jan 2020

การเปรียบเทียบการให้ยาระหว่างยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟนและสารสกัดมะขามป้อมก่อนการให้ยาระงับความรู้สึกในการส่องกล้องหลอดลม ต่อการกดอาการไอระหว่างการส่องกล้องหลอดลม: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทาง, วันวิสาข์ บุญเฟื่อง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: การไอระหว่างส่องกล้องหลอดลมเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่องกล้องหลอดลม การศึกษานี้จึงต้องการเปรียบเทียบการให้ยาระหว่างยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟนและสารสกัดมะขามป้อมก่อนการให้ยาระงับความรู้สึกในการส่องกล้องหลอดลมต่อการกดอาการไอระหว่างการส่องกล้องหลอดลมที่มีความซับซ้อน วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทางในผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องหลอดลมที่มีความซับซ้อน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือยาหลอก, ยา dextromethorphan, สารสกัดมะขามป้อมและdextromethorphan ร่วมกับสารสกัดมะขามป้อม โดยรับประทานยาแต่ละชนิดเป็นเวลา 90 นาทีก่อนทำหัตถการ โดยมีผลการศึกษาหลักคือจำนวนครั้งของการไอต่อหัตถการ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 118 รายเข้าร่วมวิจัย ผลการศึกษาหลักพบว่า จำนวนครั้งของการไอต่อหัตถการในกลุ่มที่ได้รับยา dextromethorphan ร่วมกับสารสกัดมะขามป้อมคือ 28 [32.5], P 0.001, dextromethorphan 26 [48.25], P 0.002 และสารสกัดมะขามป้อม 32.5[44.75] P 0.011 ซึ่งทุกกลุ่มสามารถลดจำนวนครั้งของการไอต่อหัตถการได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับยาหลอก 61[77.75], P 0.019 สรุปผล: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกในการให้ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟนและสารสกัดมะขามป้อมก่อนการให้ยาระงับความรู้สึกในการส่องกล้องหลอดลมที่มีความซับซ้อน พบว่ามีผลกดอาการไอระหว่างการส่องกล้องหลอดลมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การใช้เฟลเคไนด์ในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในช่วง 5 ปี, นฤพัฒน์ แสงพรสุข Jan 2020

การใช้เฟลเคไนด์ในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในช่วง 5 ปี, นฤพัฒน์ แสงพรสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ : ในเวชปฏิบัติปัจจุบันเเนะนำการใช้เฟลเคไนด์ในผู้ป่วยที่มีโครงสร้างหัวใจปกติ หรือผิดปกติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยที่มาของการเเนะนำดังกล่าวมาจากการศึกษา CAST ซึ่งเป็นการศึกษาที่ตีพิมพ์ตั้งเเต่ปีค.ศ.1989 ซึ่งเป็นการศึกษาเดียวที่เเสดงให้เห็นอัตราการตายที่มากขึ้นจากการใช้ยาเฟลเคไนด์ อย่างไรก็ตามมีการศึกษาหลายการศึกษาที่ตามมา ที่เเสดงความปลอดภัยของการใช้เฟลเคไนด์ในภาวะที่ไม่ใช่โรคหัวใจขาดเลือด จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ ระเบียบวิธีการวิจัย : ผู้จัดทำการวิจัย ได้เริ่มจากการคัดกรองผู้ป่วยที่ได้รับยาเฟลเคไนด์อย่างน้อย 1 โดสในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นได้ทำการทบทวน electronic medical record เพื่อบันทึกข้อมูลพื้นฐาน เเละข้อบ่งชี้ของการให้ยาฟลเคไนด์ ผล echocariography ได้ถูกบันทึกและทบทวนเพื่อความถูกต้อง ผู้ป่วยได้รับการติดตามไป 1 ปีเพื่อประเมินอุบัติการณ์ของ ventricular arrhythmias และอัตราเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ผลการศึกษา : หลังจาการทำการคัดกรองผู้ป่วย 447 คนที่ได้รับยาเฟลเคไนด์อย่างน้อย 1 โดส พบว่ามี 107 คน (23.9 เปอร์เซ็นต์) ไม่มีข้อมูล echocardiography และ 4 คนที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี หลังจากคัดผู้ป่วยดังกล่าวออกไปเหลือ 336 คน ที่นำมาศึกษา โดยพบว่า 47 คน (14 เปอร์เซ็นต์) มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจที่นิยามโดยงานวิจัยนี้ ในกลุ่มของคนไข้ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ มี 2 คนที่เกิด VT/VF ระหว่างการตรวจติดตาม โดยทั้ง 2 คนพบว่ามี VT/VF ก่อนการได้รับยาเฟลเคไนด์อยู่เเล้ว ส่วน 1 คนเสียชีวิตระหว่างการติดตามใน 1 ปีโดยพบว่าเสียชีวิตจากโรคมะเร็งไตระยะกระจาย บทสรุป : สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจอยู่ 14 เปอร์เซ็นต์ โดยการศึกษานี้เเสดงให้เห็นว่าอัตราการเกิด VT/VF ไม่ได้ต่างกันระหว่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ กับกลุ่มโครงสร้างหัวใจปกติ ข้อจำกัดของการศึกษานี้คือข้อมูลที่ขาดหายไปของ echocardiography


ขนาดและลักษณะของเอ็นร้อยหวายสำหรับการวินิจฉัยภาวะคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมในผู้ป่วยไทย, ภัทรวรรณ โกมุทบุตร Jan 2020

ขนาดและลักษณะของเอ็นร้อยหวายสำหรับการวินิจฉัยภาวะคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมในผู้ป่วยไทย, ภัทรวรรณ โกมุทบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : การตรวจหาการสะสมของไขมันบริเวณเอ็นร้อยหวายด้วยการคลำมีความแม่นยำต่ำ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบขนาดและลักษณะของเอ็นร้อยหวายที่วัดโดยใช้เครื่องหนีบ ภาพถ่ายรังสี และการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ในการวินิจฉัยภาวะคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมในผู้ป่วยไทย วิธีการศึกษา : ตรวจวัดความหนาของเอ็นร้อยหวายแต่ละข้างในตำแหน่งที่เอ็นร้อยหวายหนาที่สุดโดยใช้เครื่องหนีบ ภาพถ่ายรังสี และการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม 51 คน ผู้ที่มีไขมันสูงที่ไม่ใช่คอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม 51 คน และประชากรปกติ 51 คน ศึกษาลักษณะทางกายภาพของเอ็นร้อยหวายโดยคลื่นเสียงความถี่สูง และวิเคราะห์ความไวและความจำเพาะของความหนาของเอ็นร้อยหวายในข้างที่หนาที่สุดจากการวัดด้วยวิธีต่างๆในการวินิจฉัยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม ผลการศึกษา : การวัดความหนาของเอ็นร้อยหวายด้วยเครื่องหนีบมีความแม่นยำ 60% ความหนาของเอ็นร้อยหวายจากภาพถ่ายรังสี ≥ 7.8 มิลลิเมตร มีความไว 86% และความจำเพาะ 83% ความหนาของเอ็นร้อยหวายจากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ≥ 6.6 มิลลิเมตร มีความไว 51 % และความจำเพาะ 96% และพื้นที่หน้าตัดของเอ็นร้อยหวาย ≥ 95 ตารางมิลลิเมตร มีความไว 43 % และความจำเพาะ 98% ในการวินิจฉัยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงพบว่าขอบเอ็นร้อยหวายที่ไม่เรียบ การเปลี่ยนแปลงลักษณะภายในของเอ็นร้อยหวายและการมีหินปูนพบได้ในผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมมากกว่าผู้ที่มีไขมันสูงจากสาเหตุอื่นและประชากรปกติ สรุป : การวัดความหนาของเอ็นร้อยหวายด้วยเครื่องหนีบมีความแม่นยำต่ำ การวัดด้วยภาพถ่ายรังสีมีความไวสูงในขณะที่การวัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงมีความจำเพาะสูง ลักษณะทางกายภาพของเอ็นร้อยหวายที่สนับสนุนการวินิจฉัยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมได้แก่ การขอบเอ็นร้อยหวายที่ไม่เรียบ ลักษณะภายในผิดปกติทั่วๆ และการมีหินปูน


ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตรวจพบความดันโลหิตสูงช่วงกลางคืนและภาวะความดันโลหิตที่ไม่ลดลงช่วงกลางคืนด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดติดตัวพร้อมวัดอัตโนมัติในผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับการรักษาและตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในเลือด, กานต์ นครชัย Jan 2020

ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตรวจพบความดันโลหิตสูงช่วงกลางคืนและภาวะความดันโลหิตที่ไม่ลดลงช่วงกลางคืนด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดติดตัวพร้อมวัดอัตโนมัติในผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับการรักษาและตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในเลือด, กานต์ นครชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ: ภาวะความดันโลหิตที่ไม่ลดลงช่วงกลางคืนเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในปัจจุบันและมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มประชากรทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ แต่ข้อมูลในผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับการรักษาและตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในเลือดนั้นยังมีน้อย ระเบียบวิธีการทำวิจัย: การศึกษานี้เป็นการเก็บรวมรวมข้อมูลภาวะความดันโลหิตที่ไม่ลดลงช่วงกลางคืน ด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดติดตัวพร้อมวัดอัตโนมัติ (Ambulatory Blood Pressure Monitoring) เป็นเวลา 24 ชั่วโมงในผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับการรักษาและตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในเลือด (VL < 50 copies/ml) มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยหรือรับการรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิตคลินิคน้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท) โดยไม่มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือกำลังตั้งครรภ์ โดยจัดทำที่ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่าง ไทย-ออสเตรเลีย-เนเธอร์แลนด์ เพื่อการวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ (HIV-NAT) และศึกษาเพิ่มว่าปัจจัยใดมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะความดันที่ไม่ลดลงช่วงกลางคืน รวมถึงความชุกในการเกิดความดันชนิด Masked hypertension ผลการศึกษา: จากการรวมรวมข้อมูล 54 คนในการวิจัยพบว่า อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยเท่ากับ 54 ปี มีผู้ป่วยเพศหญิง 33 คน (61.3%) มีภาวะไขมันในโลหิตสูง 33 คน (61.1%) ดัชนีมวลกายเฉลี่ยของผู้ป่วยเท่ากับ 22 kg/m2 มีระยะเวลาทานยาต้านไวรัสเฉลี่ย 22 ปี มีค่า CD4 เฉลี่ยเท่ากับ 563 cell/mm3 และผู้ป่วยทุกคนตรวจพบไวรัสในเลือด น้อยกว่า 50 copies/ml หลังติดเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดติดตัวพร้อมวัดอัตโนมัติ พบว่าจำนวนการวัดความดันโลหิตสำเร็จตลอด 24 ชั่วโมงเท่ากับ 85.2% มีผู้ป่วยตรวจพบภาวะความดันโลหิตที่ไม่ลดลงช่วงกลางคืนเท่ากับ 25 คน (46%) และตรวจไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตโลหิตที่ไม่ลดลงช่วงกลางคืน ตรวจพบความดันโลหิตชนิด Masked hypertension จำนวนทั้งหมด 13% ข้อสรุป: การตรวจพบภาวะความดันโลหิตที่ไม่ลดลงในช่วงเวลากลางคืนในผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับการรักษาและตรวจไม่พบเชื้อในเลือดสามารถเจอได้มากถึงร้อยละ 46 แต่ความสัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือดยังต้องมีการติดตามผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไปในอนาคต


ความสัมพันธ์ระหว่างค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจกับความรุนแรงของอาการในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้, ไพรัช ทรัพย์ส่งเสริม Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจกับความรุนแรงของอาการในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้, ไพรัช ทรัพย์ส่งเสริม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้เป็นโรคที่มีความชุกสูงโรคหนึ่ง การรักษาใช้ระยะเวลานาน และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหืด ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ของค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจกับความรุนแรงของอาการโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในประชากรผู้ใหญ่ไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้กลุ่มที่มีความรุนแรงของอาการน้อยมีความแตกต่างกับกลุ่มที่มีความรุนแรงของอาการปานกลางถึงมาก วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากอาสาสมัครที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โดยใช้แบบสอบถามและตรวจวัดค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจ ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกสาขาโรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2563 จำนวนรวม 38 ราย และนำมาวิเคราะห์ ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยของไนตริกออกไซด์ในลมหายใจในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้กลุ่มที่มีความรุนแรงของอาการน้อยเท่ากับ 14.82+/-6.59 ส่วนในพันล้านส่วน กลุ่มที่มีความรุนแรงของอาการปานกลางถึงมากเท่ากับ 44.31+/-27.78 ส่วนในพันล้านส่วน โดยมีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.02) จากการวิเคราะห์พบว่าค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจที่เหมาะสมใช้เป็นจุดตัดเพื่อแยกผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ที่มีความรุนแรงของอาการน้อยและปานกลางถึงมากเท่ากับ 23.5 ส่วนในพันล้านส่วน โดยมีความไวร้อยละ 100 ความจำเพาะร้อยละ 91.7 ค่าทำนายผลบวกร้อยละ 87.5 ค่าทำนายผลลบร้อยละ 100 และมีความแตกต่างทางสถิติ (p<0.001) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่พบความแตกต่าง สรุปผลการศึกษา: ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้จะมีค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจแปรตามความรุนแรงของอาการ


Variation Of Tuberculosis Prevalence Across Diagnostic Approaches And Geographical Areas Of Indonesia, Alvera Noviyani Jan 2020

Variation Of Tuberculosis Prevalence Across Diagnostic Approaches And Geographical Areas Of Indonesia, Alvera Noviyani

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Tuberculosis (TB) has contributed a significant disease burden and economic loss worldwide. Given no gold standard for diagnosis, early identification of TB infection has been challenging. This study aimed to comparatively investigate the prevalence of TB across diagnostic approaches (sputum AFB, sputum culture, sputum genetic test, and chest x-ray) and geographical areas in Indonesia. Methods: Participant demographic variables and TB screening test results were obtained from the Tuberculosis Unit, Health Research and Development Agency, Ministry of Health (HRDA-MoH). Variations across geographical areas and diagnostic approaches are expressed as prevalence rate and 95%CI. Results: A total of 67,944 records were …


การศึกษาปริมาตรสมองที่ขาดเลือดโดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมอัตโนมัติทำนายการเกิดเลือดออกในสมองหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันภายใน 7 วัน ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วรรณภา รักสุจริต Jan 2020

การศึกษาปริมาตรสมองที่ขาดเลือดโดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมอัตโนมัติทำนายการเกิดเลือดออกในสมองหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันภายใน 7 วัน ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วรรณภา รักสุจริต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปริมาตรของสมองที่ขาดเลือดโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมอัตโนมัติสามารถใช้ทำนายการเกิดเลือดออกในสมองร่วมกับอาการทางระบบประสาทที่เลวลงหลังให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันภายใน 7 วันได้หรือไม่ วิธีการวิจัย การศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ.2561 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2563 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำและได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง perfusion CT ภายหลังการได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำและติดตามเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองภายหลังการได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายใน 36 ชั่วโมง ผลการศึกษา มีผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำและมีเลือดออกในสมองจำนวน 33 ราย ​ (19.07%) โดยมีผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองแต่ไม่มีอาการ 28 ราย (16.2%) และ ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองที่มีอาการทางระบบประสาทที่เลวลง 5 ราย (2.9%) โดยปริมาตรสมองที่ขาดเลือดที่ใช้ทำนายการเกิดเลือดออกในสมองคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.5 มิลลิลิตร มีความไว 75.8% และความจำเพาะ 82.1% สรุปการศึกษา ปริมาตรของสมองที่ขาดเลือดโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมอัตโนมัติสามารถทำนายการเกิดเลือดออกในสมองได้ แต่ไม่สามารถทำนายการเกิดเลือดออกในสมองที่มีอาการทางระบบประสาทที่เลวลงได้


โครงการศึกษาการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอเพื่อทำนายภาวะการฟื้นตัวจากภาวะไตวายเฉียบพลัน, ธนวรรธ พูลเกิด Jan 2020

โครงการศึกษาการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอเพื่อทำนายภาวะการฟื้นตัวจากภาวะไตวายเฉียบพลัน, ธนวรรธ พูลเกิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา: การฟื้นตัวของไตมีความสำคัญต่อผลลัพธ์ของผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน จากข้อมูลปัจจุบันกล่าวถึงไมโครอาร์เอ็นเอมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการแสดงออกยีน โดยส่งผลต่อการสร้างโปรตีนซึ่งจะสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในการตอบสนองภาวะไตวายเฉียบพลัน อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบกลไกแน่ชัดของไมโครอาร์เอ็นเอกับการฟื้นตัวของไต วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาและทดสอบไมโครอาร์เอ็นเอในปัสสาวะและเลือดเพื่อใช้ทํานายการฟื้นตัวของไตจากภาวะไตวายเฉียบพลันแบบรุนแรง วิธีการ: การศึกษาการสังเกตแบบไปข้างหน้าในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างเดือนมิถุนายน 2020 ถึงเดือนมกราคม 2021 โดยนำตัวอย่างจากปัสสาวะและซีรั่มที่เก็บจากผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันขั้นที่ 3 หลังจากนั้นติดตาม 28 วันได้แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีการฟื้นตัวของไตและกลุ่มที่ไตไม่ฟื้นตัว โดยคำจำกัดความของภาวะการฟื้นตัวของไตมี 2 ข้อคือ ระดับครีเอตินินในเลือดกลับสู่ปกติและถ้ามีประวัติเดิมได้รับการล้างไตมาก่อนจะต้องหยุดล้างไตเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน ซึ่งในขั้นตอนค้นพบได้ใช้นาโนสตริงเพื่อวิเคราะห์หาไมโครอาร์เอ็นเอที่ต้องการ หลังจากนั้นทำการทดสอบโดยการวัดหาระดับไมโครอาร์เอ็นเอด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (Real-time polymerase chain reaction) ผลลัพธ์: ในระยะค้นพบได้นำปัสสาวะ 10 ตัวอย่างและเลือด 9 ตัวอย่างโดยเก็บวันแรกของการศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันขั้นที่ 3 ซึ่งนำมาวิเคราะห์เพื่อค้นหาไมโครอาร์เอ็นเอด้วยนาโนสตริง พบว่าระดับไมโครอาร์เอ็นเอในกลุ่มที่มีการฟื้นตัวของไตมีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญกับกลุ่มที่ไตไม่ฟื้นตัว โดยการศึกษานี้ในปัสสาวะพบการเพิ่มขึ้นของ miR-556-3p (5.96, p=0.004), miR-1915-3p (5.87, p=0.02), miR-4284 (8.88, p=0.04) และการลดลงของ miR-32-5p (-2.29, p=0.005), miR-96-5p (-2.14, p=0.02), miR-556-5p (-5.61, p=0.04) ขณะที่ในเลือดพบการเพิ่มขึ้นของ miR-499b-5p (3.6, p=0.04) และการลดลงของ miR-30a-3p (-2.18, p=0.0.002), miR-92b-3p (-6.29, p=0.001) และ miR-770-5p (-7.88, p=0.001) หลังจากนั้นนำไมโครอาร์เอ็นเอดังกล่าวเข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบในผู้ป่วย 95 คน พบว่า miR-556-3p ในปัสสาวะมีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญระหว่างกลุ่มที่มีการฟื้นตัวของไตและกลุ่มที่ไตไม่ฟื้นตัว โดย miR-556-3p ในปัสสาวะมีค่าพื้นที่ใต้กราฟ 0.63 (95%CI; 0.51-0.76, p = 0.04) และรูปแบบทางคลินิกเพื่อทํานายการฟื้นตัวของไตโดยมีการใช้คะแนนโซฟาที่ไม่ใช้ค่าที่เกี่ยวข้องกับไตมาคำนวณ ค่าความเข้มข้นเลือด และค่าครีเอตินินวันแรกของการศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันขั้นที่ 3 มีค่าพื้นที่ใต้กราฟ 0.78 (95%CI; 0.68-0.89, p <0.01) และเมื่อเรานำรูปแบบทางคลินิกร่วมกับ miR-556-3p ในปัสสาวะพบว่ามีค่าพื้นที่ใต้กราฟ 0.82 (95%CI; 0.72-0.91, p <0.01) สรุป: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาไมโครอาร์เอ็นเอในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันเป็นครั้งแรกในกลุ่มที่มีการฟื้นตัวของไตเทียบกับกลุ่มที่ไตไม่ฟื้นตัว พบว่า miR-556-3p ในปัสสาวะสามารถช่วยทํานายการฟื้นตัวของไตได้


การใช้ยาสไปโรโนแลคโตนร่วมกับยาทาผสมอะดาพาลีน/เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ในการรักษาสิวในผู้หญิงระดับปานกลางหรือรุนแรงเปรียบเทียบกับการใช้ยาด็อกซีไซคลินร่วมกับยาทาผสมอะดาพาลีน/เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์, พรรณวดี ตันติพลับทอง Jan 2020

การใช้ยาสไปโรโนแลคโตนร่วมกับยาทาผสมอะดาพาลีน/เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ในการรักษาสิวในผู้หญิงระดับปานกลางหรือรุนแรงเปรียบเทียบกับการใช้ยาด็อกซีไซคลินร่วมกับยาทาผสมอะดาพาลีน/เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์, พรรณวดี ตันติพลับทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การรักษาสิวตั้งแต่ระดับปานกลางถึงรุนแรงนั้นให้การรักษาจะเป็นยาทาเช่นกลุ่ม Topical retinoid, Benzoyl peroxide ร่วมกับยารับประทานเสมอ โดยยารับประทานที่เป็นตัวเลือกลำดับแรก (First line treatment) ได้แก่ Oral antibiotic ที่ใช้บ่อยคือ Doxycycline แต่อย่างไรก็ตามการใช้ Oral antibiotic เป็นระยะเวลานานนั้น อาจก่อให้เกิดเชื้อดื้อยาหรือผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์จากยาได้ ปัจจุบันจึงมียาที่เป็นทางเลือกสำหรับผู้หญิงคือยากลุ่ม Antiandrogens ได้แก่ Spironolactone ซึ่งไปยับยั้งการจับของ Androgen receptor และยับยั้งการทำงานของ 5-Alpha reductase ส่งผลช่วยลดการสร้างไขมัน (Sebum) บนใบหน้า และทำให้สิวดีขึ้นได้ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาสิวในผู้หญิงระดับปานกลางถึงรุนแรงระหว่างการใช้ Spironolactoneคู่กับทา A/BPO และ Doxycycline คู่กับทา A/BPO วิธีการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยที่เป็นผู้หญิงที่มีสิวระดับปานกลางถึงรุนแรงจะถูกสุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจะได้ Spironolactone คู่กับทา A/BPO อีกกลุ่มจะได้ Doxycycline คู่กับทา A/BPO แล้วติดตามที่ 4, 8, 12 สัปดาห์ โดยทุกครั้งที่มาติดตามจะทำการนับจำนวนสิวทั้งหมด ประเมิน IGA score เจาะเลือดและเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Serum potassium, Serum creatinine, Urine pregnancy test) รวมถึงมีการประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยที่สัปดาห์ที่ 12 ผลการศึกษา: เมื่อวิเคราะห์ร้อยละของจำนวนสิวที่ลดลงของทั้งสองกลุ่มเปรียบเทียบที่ 0, 12 สัปดาห์ พบว่าร้อยละของปริมาณสิวที่ลดลงของกลุ่ม Spironolactone หลังจากรับประทานยาไป 12 สัปดาห์ด้อยกว่ากลุ่ม Doxycycline อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่ม Spironolactone มีจำนวนสิวที่ลดลง 64.28%, กลุ่ม Doxycycline 81.12% (P-value 0.022) (Mean difference 16.84, 95%CI 2.6 …


Modeling Genetic Risk Factor Of Alzheimer's Disease "Sorl1" Using Patient Specific Pluripotent Stem Cells, Kamonchanok Kongsri Jan 2020

Modeling Genetic Risk Factor Of Alzheimer's Disease "Sorl1" Using Patient Specific Pluripotent Stem Cells, Kamonchanok Kongsri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Alzheimer’s disease is the most common neurodegenerative; cause of dementia and trends to increase in elder society. There is still not cure. A new strategy development for treatment is needed. SORL1 is a major genetic risk factor associated with sporadic AD. It correlates with degrading amyloid beta (Aβ) by sorting to lysosome. SORL1 overexpression has been reported that reduce Aβ production. However, the molecular mechanism that regulate in neurons is still unclear. The purpose of this study is to generate an effective drug discovery platform for identifying molecules that can modulate SORL1 level in human neurons by using induced pluripotent …


The Influence Of Polycyclic Aromatic Hydrocarbons In Fcgriib -/- Lupus Mice, Kanyarat Udompornpitak Jan 2020

The Influence Of Polycyclic Aromatic Hydrocarbons In Fcgriib -/- Lupus Mice, Kanyarat Udompornpitak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The activation of aryl hydrocarbon receptor (Ahr) through polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs), the major components of particulate matter at 2.5 micron (PM2.5) in the polluted air, might aggravate inflammation and lupus activity. Hence, 1,4-chrysenequinone (1,4-CQ), a substance in the PAHs group, was tested in a lupus model from FcgRIIb deficiency (FcgRIIb-/-) using macrophages and mice. Although the activation by 1,4-CQ alone was unable to induce inflammation, the pre-conditioning by lipopolysaccharide (LPS), a representative inflammatory-activator, before 1,4-CQ (LPS/1,4-CQ) induced more predominant inflammation in macrophages when compared with LPS or 1,4-CQ activation alone as determined by supernatant cytokines (TNF-α, IL-6 and IL-10). …


การศึกษาการแสดงออกของยีนในเลือดคนไข้โรคฉี่หนูอาการรุนแรง, เจนจิรา ดินฮูเซ็น Jan 2020

การศึกษาการแสดงออกของยีนในเลือดคนไข้โรคฉี่หนูอาการรุนแรง, เจนจิรา ดินฮูเซ็น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ โรคเลปโตสไปโรสิส หรือโรคฉี่หนู เป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญระดับโลก โรคส่วนใหญ่น่าจะเกิดในสัตว์มากกว่าคน แต่สามารถพบคนเป็นโรคนี้ได้ในหลายพื้นที่อาการของโรคมีตั้งแต่ความรุนแรงน้อย จนไปถึงระดับความรุนแรงมาก ในปัจจุบันการวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรสิสวิเคราะห์อาการทางคลินิกร่วมกับตรวจวินิจฉัยทางชีวโมเลกุล (molecular diagnostic) ซึ่งไม่สามารถประเมินความรุนแรงของโรคได้. วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ ต้องการศึกษาการแสดงออกและการตอบสนองของคนไข้โรคติดเลปโตสไปรา ที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเกิดความรุนแรงของโรค ซึ่งในอนาคตอาจเป็นทางเลือกที่ใช้ควบคู่ไป กับวิธีการวินิจฉัยการเกิดความรุนแรงของโรคเลปโตสไปโรสิสได้. วิธีการศึกษา นำเลือดผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเลปโตสไปโรสิส แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มรุนแรงและไม่รุนแรง มาทำการค้นหายีนโดยใช้เทคโนโลยี Nanostring® nCounter® PanCancer IO 360 เมื่อได้ยีนที่น่าสนใจ ทำการตรวจสอบยีนที่ค้นพบด้วยวิธี RT-PCR. ผลการศึกษา จากการค้นหาการแสดงออกของยีนด้วยเทคนิค Nanostring โดยเลือกยีนจากความแตกต่างของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งได้ยีนที่สนใจคือ PDCD1, Nos2 และ IL4 ซึ่งเป็นยีน down regulate ทั้งหมด จึงนำยีนที่ได้มาทำการตรวจสอบด้วยวิธี RT-PCR ในผู้ป่วย 99 คน ซึ่งพบว่า ยีน PDCD1 สามารถระบุการเกิดความรุนแรงของโรคได้ โดยมี AUC เท่ากับ 0.65 สรุปผลการศึกษา PDCD1 สามารถเป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพ ในการทำนายการเกิดโรคเลปโตสไปโรสิสอาการรุนแรงได้


การพัฒนาวิธี Real-Time Quantitative Rt-Pcrสำหรับตรวจหาลีดเดอร์อาร์เอ็นเอซับจีโนมิกของเชื้อไวรัส Sars-Cov-2, สินินาถ เพชราช Jan 2020

การพัฒนาวิธี Real-Time Quantitative Rt-Pcrสำหรับตรวจหาลีดเดอร์อาร์เอ็นเอซับจีโนมิกของเชื้อไวรัส Sars-Cov-2, สินินาถ เพชราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคอุบัติใหม่ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เกิดจากการติดเชื้อ Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARS-CoV-2) โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายจากคนสู่คน ทำให้ไวรัสแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องไปทั่วโลก การตรวจติดตามและการประเมินไวรัสที่ปลดปล่อยเชื้อ (viral shedding) เป็นระยะเวลานานหลายสัปดาห์ จึงมีความสำคัญต่อการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการทางการแพทย์ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ดังนั้นการตรวจพบ SARS-CoV-2 subgenomic RNA leader (sgRNA) เป็นตัวบ่งบอกสถานะของไวรัสในระยะ active มีความสามารถเพิ่มจำนวนได้ ในงานวิจัยนี้ได้ตรวจติดตามระยะเวลาการปลดปล่อย SARS-CoV-2 sgRNA leader และ genomic RNA (gRNA) จากตัวอย่างระบบทางเดินหายใจ 111 ตัวอย่าง (ของผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 10 ราย) ด้วยวิธี real-time quantitative RT-PCR (qRT-PCR) ผลการทดลองพบว่า E-sgRNA leader สามารถตรวจพบได้นานถึง 15 วัน และตรวจพบในตัวอย่างที่มีปริมาณไวรัส (viral load) มากกว่า 100,000 copies/ml (≥1E+05 virus E gene copies/ml) ในขณะที่ gRNA ยังตรวจพบได้นานถึง 24 วัน นอกจากนี้ยังค้นพบว่ามีผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 2 ใน 10 ราย ที่ E-sgRNA leader ปรากฏตัวอีกครั้งหลังจากที่ตรวจไม่พบแล้วเป็นเวลา 2 วัน ถึง 8 วัน ด้วยเหตุนี้เพื่อความปลอดภัย จึงแนะนำให้ผู้ป่วยกักตัวหรือแยกตัวอย่างน้อย 14 วันหลังจากได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน ดังนั้นการประเมิน E-sgRNA leader เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19