Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nutrition Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Biochemistry, Biophysics, and Structural Biology

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2018

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Nutrition

The Effect Of Nac And Carnosine On Alzheimer’S Disease-Related In Vitro Model Through Rage-Age Signaling Pathway, Suphasarang Sirirattanakul Jan 2018

The Effect Of Nac And Carnosine On Alzheimer’S Disease-Related In Vitro Model Through Rage-Age Signaling Pathway, Suphasarang Sirirattanakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Alzheimer’s disease (AD) is the most common dementia which found increasing with age. It involves neurodegeneration which leads to various abnormalities especially memory loss, inability to learn new things, lack of creativity, lack of decision making ability, lack of critical thinking, calculation inability, inability to live normal daily life, inability to recognize person, time and place, emotional disturbance, and difficulty to use language. Since AD has severe impact in various aspects on both the patients and their families, so we are interested to study the neurodegenerative mechanism when neuronal cells are under oxidative stress which will induce neuroinflammation through the …


การพัฒนาแบบจำลองเซลล์ลำไส้ของมนุษย์บนกระดาษที่มีการดัดแปรพื้นผิวและต้นแบบไบโอเซนเซอร์ไร้สายสำหรับตรวจวัดการเจริญของจุลชีพก่อโรค, ปัณณวิชญ์ ถิรบวรกิจพิธาน Jan 2018

การพัฒนาแบบจำลองเซลล์ลำไส้ของมนุษย์บนกระดาษที่มีการดัดแปรพื้นผิวและต้นแบบไบโอเซนเซอร์ไร้สายสำหรับตรวจวัดการเจริญของจุลชีพก่อโรค, ปัณณวิชญ์ ถิรบวรกิจพิธาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการนำเสนองานวิจัย การพัฒนาวิธีการใหม่เพื่อควบคุมและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อ โดยประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญสองส่วน ได้แก่ (i) การพัฒนาแบบจำลองเซลล์ลำไส้ของมนุษย์ที่เพาะเลี้ยงบนกระดาษที่มีการดัดแปรพื้นผิว เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษากลไกการบุกรุกของเชื้อจุลชีพก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร และ (ii) การพัฒนาต้นแบบไบโอเซนเซอร์แบบไร้สายเพื่อการตรวจติดตามการเจริญของเชื้อจุลชีพก่อโรค โดยในส่วนแรก เซลล์ลำไส้ของมนุษย์ HT-29 จำนวน 200,000 เซลล์ ถูกเพาะเลี้ยงในบริเวณชอบน้ำของกระดาษกรอง Whatman No.1 โดยกระดาษถูกดัดแปรพื้นผิวด้วยสารแมทริกซ์นอกเซลล์ (Extracellular matrix: ECM) ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ Matrigel, Collagen-1 และ Laminin พื้นที่เพาะเลี้ยงเซลล์มีขนาด 12.56 ตารางมิลลิเมตร ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม เซลล์ HT-29 ที่ถูกเพาะเลี้ยงบนกระดาษ มีชีวิตรอดได้ถึง 28 วัน และแสดงลักษณะของเซลล์ที่เจริญเต็มที่ โดยมีการแสดงออกของวิลไล (villi) ที่ผิวเซลล์ด้านบน (apical) และมีการแสดงออกของโปรตีน ZO-1 ซึ่งแสดงถึงเซลล์มีการสร้างไทต์จังก์ชันเกิดขึ้น จากการใช้สารเชื่อมพันธะสำหรับเชื่อมพันธะ ECM แต่ละชนิด พบว่าเมื่อใช้สารเจนิพินในการเชื่อมพันธะ เซลล์มีชีวิตรอดทั้งหมด (100 -112.8%) ในขณะที่มีเพียง 1.1 - 67.3 % ของเซลล์รอดชีวิต หากใช้สารกลูตารัลดีไฮด์ในการเชื่อมพันธะ แต่การใช้สารเชื่อมพันธะทั้งสองชนิด ทำให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัวมีรูปร่างแบบสามมิติได้ เมื่อสังเกตด้วย SEM เซลล์มีลักษณะแบน การดัดแปรพื้นผิวกระดาษด้วยสาร ECM ชนิด Matrigel ส่งผลให้เซลล์มีชีวิตรอดมากที่สุดและสาร ECM ชนิด Laminin ทำให้เซลล์เกิดการแปรสภาพ (cell differentiation) ได้ดีที่สุด งานวิจัยส่วนที่ 2 เป็นการพัฒนาไบโอเซนเซอร์ไร้สายสำหรับติดตามการเจริญของเชื้อจุลชีพก่อโรค ได้แก่ เชื้อ Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa, Streptococcus gordonii และ Candida albicans พบว่าเชื้อดังกล่าวสามารถสร้างไบโอฟิล์มบนผิวของขั้วไฟฟ้าคาร์บอนอสัณฐาน (glassy carbon electrode) และสามารถให้ค่าศักย์ไฟฟ้าที่เป็นลบได้ …


การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์ฐานกระดาษสำหรับหาปริมาณสารเพรดนิโซโลนและเดกซาเมทาโซนที่ปลอมปนในผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้วยวิธีเคมีไฟฟ้า, วิศรุต พริ้มพราย Jan 2018

การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์ฐานกระดาษสำหรับหาปริมาณสารเพรดนิโซโลนและเดกซาเมทาโซนที่ปลอมปนในผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้วยวิธีเคมีไฟฟ้า, วิศรุต พริ้มพราย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปลอมปนของสารสเตียรอยด์ชนิดเดกซาเมทาโซนและเพรดนิโซโลนในผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นปัญหาสำคัญที่ก่อผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ใช้ ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา งานวิจัยนี้ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุปกรณ์สำหรับแยกและตรวจวัดปริมาณการปลอมปนของสารสเตียรอยด์ดังกล่าว โดยใช้อุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์ฐานกระดาษและใช้หลักการทางเคมีไฟฟ้า (electrochemical paper-based analytical device หรือ ePAD) ซึ่งประกอบด้วยกระดาษ Whatman SG81 ตลับพลาสติกจากการพิมพ์สามมิติ และขั้วไฟฟ้าชนิด screen printed electrode โดยกระดาษ Whatman SG81 ใช้สำหรับแยกสารสเตียรอยด์ชนิดเดกซาเมทาโซนและเพรดนิโซโลน โดยใช้วัฏภาคเคลื่อนที่เป็นสารละลาย 60% ethyl acetate ใน cyclohexane ซึ่งผลการศึกษาพบว่าสามารถแยกสารสเตียรอยด์ดังกล่าวออกจากสิ่งเจือปนต่าง ๆ ได้ภายใน 7 นาที สารสเตียรอยด์ที่แยกออกจากกันบนกระดาษ นำมาวัดปริมาณด้วยเทคนิคเคมีไฟฟ้าชนิด differential pulse voltammetry โดยใช้ตลับพลาสติกจากการพิมพ์สามมิติที่ถูกออกแบบทำให้สารละลายอิเล็กโทรไลต์ถูกขังอยู่บนกระดาษ ทำให้สามารถตรวจวัดสัญญาณทางเคมีไฟฟ้าได้คงที่ ซึ่งอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถตรวจวัดปริมาณปลอมปนของสารสเตียรอยด์ทั้งชนิดเดกซาเมทาโซนและ เพรดนิโซโลนได้ในช่วงความเข้มข้นระหว่าง 10 ถึง 500 µg/mL โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.988 และ 0.994 ตามลำดับ มีขีดจำกัดในการตรวจวิเคราะห์เชิงคุณภาพเท่ากับ 3.59 µg/mL และ 6.00 µg/mL ตามลำดับ และขีดจำกัดในการตรวจวิเคราะห์เชิงปริมาณมีค่าเท่ากับ 11.98 µg/mL และ 20.02 µg/mL ตามลำดับ การตรวจวัดปริมาณปลอมปนของสารสเตียรอยด์ทั้งสองชนิดในสิ่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์สมุนไพรจริงด้วยวิธีที่พัฒนาขึ้นมีค่าสอดคล้องกับผลที่ตรวจด้วยวิธี HPLC และเป็นวิธีที่ใช้งานง่าย มีต้นทุนต่ำ รวดเร็ว และมีศักยภาพนำไปใช้ตรวจหาสิ่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่สงสัยว่ามีการปลอมปนของสารสเตียรอยด์ ในระดับภาคสนาม


Synergistic Effect Of Smac-Mimetic And Poly (I:C) On Apoptosis Of Cholangiocarcinoma Cells, Thanpisit Lomphithak Jan 2018

Synergistic Effect Of Smac-Mimetic And Poly (I:C) On Apoptosis Of Cholangiocarcinoma Cells, Thanpisit Lomphithak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cholangiocarcinoma (CCA), a malignancy transformed from cholangiocytes in the bile ducts is more common in Asia and has the highest incidence rate in Thailand. CCA is an aggressive malignancy which has high mortality, high recurrence rate and poor prognosis due to late diagnosis and lack of effective treatment, therefore identification of novel therapeutic targets could lead to the development of more efficient therapy. CCA is associated with chronic inflammation that could upregulate Toll-like receptor 3 (TLR3) in CCA cells. TLR3 agonist, poly(I:C) has been reported to directly induce apoptosis in selected cancers and also activates anti-tumor immunity. However, in some …