Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Marine Biology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

2021

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Marine Biology

การศึกษาความสัมพันธ์ของกำลังการผลิตขั้นต้นและความผันแปรของสารอาหารบริเวณปากแม่น้ำและอ่าวไทยตอนใน, เจริญลักษณ์ สุชาติพงษ์ Jan 2021

การศึกษาความสัมพันธ์ของกำลังการผลิตขั้นต้นและความผันแปรของสารอาหารบริเวณปากแม่น้ำและอ่าวไทยตอนใน, เจริญลักษณ์ สุชาติพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริเวณอ่าวไทยตอนในเป็นเอสทูรีขนาดใหญ่ ซึ่งรับน้ำจืดมาจากแม่น้ำ 4 สายหลัก คือ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง จึงทำให้บริเวณอ่าวไทยตอนในเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และที่หลบภัย ของสัตว์ทะเล ซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจในการศึกษากำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชบริเวณดังกล่าว ด้วยวิธีคาร์บอน-13 ของขวดมืดและขวดสว่าง พบว่า ปริมาณกำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชบริเวณปากแม่น้ำ ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (30 พฤษภาคม-14 มิถุนายน พ.ศ. 2562) และฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (25 ตุลาคม-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562) มีค่าอยู่ในช่วง 0.05-11.37 และ 0.02-3.07 มิลลิกรัมคาร์บอนต่อลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และบริเวณอ่าวไทยตอนใน ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (9-12 ตุลาคม พ.ศ. 2562) และช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม (8-12 มีนาคม พ.ศ.2563) มีค่าอยู่ในช่วง 0.15-5.15 และ 0.30-10.09 มิลลิกรัมคาร์บอนต่อลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ เนื่องจากผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษากำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชต่างขนาด จึงได้ทำการศึกษากำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชต่างขนาด 2 ชนิด ในห้องปฏิบัติการ คือ ไมโครแพลงก์ตอนพืช Chattonella sp. และนาโนแพลงก์ตอนพืช Isochrysis sp. ด้วยวิธีวัดปริมาณออกซิเจนละลายของขวดมืดและขวดสว่าง โดยเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนพืชทั้งสองชนิด ในสภาวะเลี้ยงเดี่ยว ด้วยอาหารสูตร T1 ที่ความเข้มข้น 100% และสภาวะเลี้ยงรวม ด้วยอาหารสูตร T1 ที่ความเข้มข้น 100% 50% และ 1% พบว่า (1) ความเข้มข้นของสารอาหาร ส่งผลต่อจำนวนเซลล์ ขนาดเซลล์ กำลังการผลิตขั้นต้น ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และช่วงชีวิต (2) นาโนแพลงก์ตอนพืชในสภาวะเลี้ยงรวม มีกำลังการผลิตขั้นต้นสูงกว่าในสภาวะเลี้ยงเดี่ยวมาก เนื่องจากมีการปรับลดจำนวนเซลล์และขนาดเซลล์ แต่เพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์เอ นอกจากนี้ นาโนแพลงก์ตอนพืชยังมีการปรับระยะเวลาที่ค่าประสิทธิภาพกำลังการผลิตขั้นต้นต่อหน่วยคลอโรฟิลล์เอ (PP/Chl a) สูง ให้ยาวขึ้น และปรับปริมาณคลอโรฟิลล์เอต่อเซลล์ (Chl …