Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Marine Biology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Chulalongkorn University

Articles 1 - 20 of 20

Full-Text Articles in Marine Biology

การศึกษาความสัมพันธ์ของกำลังการผลิตขั้นต้นและความผันแปรของสารอาหารบริเวณปากแม่น้ำและอ่าวไทยตอนใน, เจริญลักษณ์ สุชาติพงษ์ Jan 2021

การศึกษาความสัมพันธ์ของกำลังการผลิตขั้นต้นและความผันแปรของสารอาหารบริเวณปากแม่น้ำและอ่าวไทยตอนใน, เจริญลักษณ์ สุชาติพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริเวณอ่าวไทยตอนในเป็นเอสทูรีขนาดใหญ่ ซึ่งรับน้ำจืดมาจากแม่น้ำ 4 สายหลัก คือ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง จึงทำให้บริเวณอ่าวไทยตอนในเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และที่หลบภัย ของสัตว์ทะเล ซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจในการศึกษากำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชบริเวณดังกล่าว ด้วยวิธีคาร์บอน-13 ของขวดมืดและขวดสว่าง พบว่า ปริมาณกำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชบริเวณปากแม่น้ำ ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (30 พฤษภาคม-14 มิถุนายน พ.ศ. 2562) และฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (25 ตุลาคม-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562) มีค่าอยู่ในช่วง 0.05-11.37 และ 0.02-3.07 มิลลิกรัมคาร์บอนต่อลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และบริเวณอ่าวไทยตอนใน ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (9-12 ตุลาคม พ.ศ. 2562) และช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม (8-12 มีนาคม พ.ศ.2563) มีค่าอยู่ในช่วง 0.15-5.15 และ 0.30-10.09 มิลลิกรัมคาร์บอนต่อลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ เนื่องจากผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษากำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชต่างขนาด จึงได้ทำการศึกษากำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชต่างขนาด 2 ชนิด ในห้องปฏิบัติการ คือ ไมโครแพลงก์ตอนพืช Chattonella sp. และนาโนแพลงก์ตอนพืช Isochrysis sp. ด้วยวิธีวัดปริมาณออกซิเจนละลายของขวดมืดและขวดสว่าง โดยเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนพืชทั้งสองชนิด ในสภาวะเลี้ยงเดี่ยว ด้วยอาหารสูตร T1 ที่ความเข้มข้น 100% และสภาวะเลี้ยงรวม ด้วยอาหารสูตร T1 ที่ความเข้มข้น 100% 50% และ 1% พบว่า (1) ความเข้มข้นของสารอาหาร ส่งผลต่อจำนวนเซลล์ ขนาดเซลล์ กำลังการผลิตขั้นต้น ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และช่วงชีวิต (2) นาโนแพลงก์ตอนพืชในสภาวะเลี้ยงรวม มีกำลังการผลิตขั้นต้นสูงกว่าในสภาวะเลี้ยงเดี่ยวมาก เนื่องจากมีการปรับลดจำนวนเซลล์และขนาดเซลล์ แต่เพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์เอ นอกจากนี้ นาโนแพลงก์ตอนพืชยังมีการปรับระยะเวลาที่ค่าประสิทธิภาพกำลังการผลิตขั้นต้นต่อหน่วยคลอโรฟิลล์เอ (PP/Chl a) สูง ให้ยาวขึ้น และปรับปริมาณคลอโรฟิลล์เอต่อเซลล์ (Chl …


Marine Influence On Chemical Composition Of Aerosol In Thailand, Jariya Kayee Jan 2020

Marine Influence On Chemical Composition Of Aerosol In Thailand, Jariya Kayee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study was focused on atmospheric aerosols covering aerosols over both continent and ocean. Continent's aerosols were collected from two coastal cities, Bangkok and Chonburi, and one in-land city, Chiangrai. To investigate seasonal variation and air-sea-land influences on chemical composition of aerosols, metals, lead isotope and water-soluble inorganic ions were examined coupled with air mass trajectory analysis. The study was divided into 3 parts. The first part, PM2.5 samples were collected in Bangkok and Chonburi during January 2018 to April 2019. The results revealed the highest PM2.5 concentrations in NE monsoon, and the lowest in SW monsoon. During NE monsoon, …


Variation Of Symbiodiniaceae In Broadcaster Acropora Humilis And Brooder Pocillopora Damicornis Corals, Suppakarn Jandang Jan 2020

Variation Of Symbiodiniaceae In Broadcaster Acropora Humilis And Brooder Pocillopora Damicornis Corals, Suppakarn Jandang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Reef-building corals sustain a symbiotic relationship with single-cell algae belonging to family Symbiodiniaceae. Symbiotic algae contribute up to 50-95% of the metabolic needs by supplying photosynthetic products to the coral host. Therefore, the symbiosis between corals and Symbiodiniaceae is essential for the development and survival of coral reefs. Over the past years, significant losses and changes in coral reef ecosystems have been caused by anthropogenic activities and natural phenomena. Thus, relevant national organizations have raised awareness regarding the conservation of coral populations. Our Reef Biology Research Group, Department of Marine Science, Chulalongkorn University have been producing corals using a sexual …


การใช้ซูแซนเทลลีในการฟื้นตัวการฟอกขาวของปะการังดอกกะหล่ำ Pocillopora Damicornis ในห้องปฏิบัติการ, กมลพร พัฒนศิริ Jan 2020

การใช้ซูแซนเทลลีในการฟื้นตัวการฟอกขาวของปะการังดอกกะหล่ำ Pocillopora Damicornis ในห้องปฏิบัติการ, กมลพร พัฒนศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เกิดขึ้นเมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะเมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น และ ความเค็มของน้ำทะเลลดต่ำลง เมื่อเกิดการฟอกขาวปะการังมีการปรับตัวต่อสภาวะนี้แตกต่างกัน และปะการังที่เกิดฟอกขาวบางส่วนสามารถรับซูแซนเทลลีจากมวลน้ำและเกิดการร่วมอาศัยใหม่อีกครั้งเพื่อฟื้นตัวจากการฟอกขาว เพื่อให้ทราบบทบาทของซูแซนเทลลีในการฟื้นตัวของปะการังฟอกขาว การศึกษาครั้งนี้ จึงแบ่งการทดลอง 3 การทดลองหลัก ได้แก่ 1) ผลของอุณหภูมิ (27 30 และ 33 องศาเซลเซียส) และความเค็ม (10 20 และ 30 psu) ต่อการเติบโตของซูแซนเทลลี 2) ผลของอุณหภูมิและความเค็มต่อการฟอกขาวของปะการังดอกกะหล่ำ และ 3) การใช้ซูแซนเทลลีในการฟื้นตัวการฟอกขาวของปะการังดอกกะหล่ำ โดยในการศึกษาครั้งนี้ใช้ปะการังดอกกะหล่ำ Pocillopora damicornis ซึ่งเก็บจาก 3 สถานีบริเวณเกาะแสมสาร ได้แก่ สถานีเขาหมาจอ เกาะปลาหมึก และจุดดำน้ำหาดเทียน และทำการศึกษาในห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อปะการังอยู่ที่ระดับอุณหภูมิสูง 33 องศาเซลเซียส ภายใต้ระดับความเค็ม 10 psu พบการฟอกขาวสูงถึง 50-90% และพบซูแซนเทลลีหลุดออกมาในมวลน้ำด้วยความเข้มข้นเซลล์มากที่สุด และที่ภายใต้สภาวะเดียวกันนี้ ซูแซนเทลลีไม่สามารถเติบโตได้ เซลล์ส่วนใหญ่ตายในวันที่ 4 ของการทดลอง โดยพบความหนาแน่นน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มการทดลองอื่น และเซลล์ที่พบในกลุ่มการทดลองนี้มีสีจางลง และสูญเสียรงควัตถุภายในเซลล์อย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ปกติ ชี้ให้เห็นว่า อุณหภูมิสูง 33 องศาเซลเซียส และความเค็มต่ำ 10 psu ส่งผลต่อการเติบโตของซูแซนเทลลีและการฟอกขาวของปะการัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ภายใต้สองปัจจัยร่วมกัน และเมื่อให้ซูแซนเทลลีกับปะการังที่ฟอกขาว พบว่า กิ่งปะการังที่ฟอกขาวประมาณ 5% สามารถฟื้นตัวจากการฟอกขาวได้ หากภายหลังฟอกขาวอุณหภูมิค่อยๆลดต่ำลงจนถึงระดับควบคุม


องค์ประกอบทางชีวเคมีและผลของเมือกจากทากทะเล Onchidium Sp. ต่ออัตราการเติบโตของเบนทิคไดอะตอม, กัณพจน์ เตชะวงค์เสถียร Jan 2020

องค์ประกอบทางชีวเคมีและผลของเมือกจากทากทะเล Onchidium Sp. ต่ออัตราการเติบโตของเบนทิคไดอะตอม, กัณพจน์ เตชะวงค์เสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิ่งมีชีวิตหลายชนิดในทะเลสร้างและหลั่งเมือกเพื่อใช้ในกิจกรรมการดำรงชีวิตและกระบวนการทางสรีระอย่างหลากหลาย เช่น การเคลื่อนที่ การป้องกันตัว และการหาอาหาร กล่าวได้ว่าเมือกมีความสำคัญต่อกิจกรรมการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยเฉพาะกับมอลลัสก์ เมือกจากมอลลัสก์นอกจากถูกใช้ในกิจกรรมการดำรงชีวิตของตัวมอลลัสก์เองแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสังคมสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศโดยรอบด้วย การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นศึกษาองค์ประกอบทางชีวเคมีของเมือกจากทากทะเล Onchidium และผลของเมือกจากทากทะเลต่ออัตราการเติบโตของเบนทิคไดอะตอม เมือกจากทากทะเล Onchidium ถูกเจือจางความเข้มข้นแบ่งเป็น 100% 75% 50% และ 25% ในน้ำทะเลเพื่อศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเบนทิคไดอะตอม นอกจากนี้เมือกจากทากทะเลอีกส่วนถูกบ่มในชุดจำลองน้ำขึ้น-น้ำลงเป็นเวลา 0 1 2 4 และ 8 รอบน้ำขึ้น-น้ำลง ก่อนนำไปเพาะเลี้ยงเบนทิคไดอะตอม 3 ชนิด ได้แก่ Navicula sp., Nitzschia sp., และ Thalassiosira sp. ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบชีวเคมีของเมือกจากทากทะเล Onchidium มีส่วนประกอบหลักคือ น้ำ (82.5%) และองค์ประกอบอินทรียสารประกอบด้วย โปรตีน (40%) คาร์โบไฮเดรต (13.33%) และไขมัน (0.19%) ผลของเมือกจากทากทะเลต่ออัตราการเจริญเติบโตของเบนทิคไดอะตอมมีความแตกต่างกันในแต่ละสภาพของเมือกและชนิดพันธุ์ของเบนทิคไดอะตอม เมือกที่หลั่งใหม่และเมือกที่เข้มข้นยับยั้งและลดการเติบโตของ Navicula sp. และ Nitzschia sp. ในขณะที่เมือกที่เจือจางและมีอายุมากเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเบนทิคไดอะตอมทั้งสองชนิด อย่างไรก็ตามเมือกจากทากทะเลไม่ส่งผลต่ออัตราการเติบโตของ Thalassiosira sp. ในทุกสภาพของเมือก กล่าวได้ว่าทากทะเล Onchidium อาจมีส่วนสำคัญต่อโครงสร้างชุมชนระบบนิเวศชายฝั่งทำหน้าที่เป็น intertidal ecosystem engineer ที่ส่งเสริมการลงเกาะและเจริญเติบโตของชุมชนเบนทิคไดอะตอม


ผลของชนิดและขนาดของไมโครพลาสติกต่อภาวะเครียดจากออกซิเดชันและการเปลี่ยนแปลงทางมิญชวิทยาของหอยแมลงภู่ Perna Viridis, จุฑามาศ โพธาขวัญประชา Jan 2020

ผลของชนิดและขนาดของไมโครพลาสติกต่อภาวะเครียดจากออกซิเดชันและการเปลี่ยนแปลงทางมิญชวิทยาของหอยแมลงภู่ Perna Viridis, จุฑามาศ โพธาขวัญประชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไมโครพลาสติก (MPs) คือพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรพบการสะสมและการถ่ายทอดของไมโคร พลาสติกในสิ่งมีชีวิตหลายชนิดเป็นจำนวนมาก โดยผ่านห่วงโซ่อาหาร การศึกษาในประเทศไทยพบการศึกษาการสะสมของไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมและในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อสัตว์น้ำภายใต้ห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะหอยแมลงภู่ (Perna viridis) ที่มีพฤติกรรมการกรองกิน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาผลกระทบของประเภท ขนาดและความเข้มข้นของไมโครพลาสติกจำลองที่มีต่ออัตราการตายและการสะสมภายในเนื้อเยื่อที่จะส่งผลต่อภาวะเครียดจากออกซิเดชันและการเปลี่ยนแปลงทางมิญชวิทยาในหอยแมลงภู่ P. viridis ในการทดลอง ผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อหอยแมลงภู่ ที่ระดับความเข้มข้น 66, 333, 666 และ 1333 ชิ้น/ลิตร จำนวน 3 ขนาดได้แก่ ขนาดเล็ก (<30 ไมโครเมตร), ขนาดกลาง (30-300 ไมโครเมตร) และขนาดใหญ่ (300-1000 ไมโครเมตร) ของไมโครพลาสติก 3 ประเภทคือ พอลิสไตรีน (Polystyrene; PS), พอลิโพรพิลีน (Polypropylene; PP) และพอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (Polybutylene succinate; PBS) เป็นเวลา 96 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าไมโครพลาสติกขนาดกลางและขนาดใหญ่ส่งผลต่ออัตราการตายครึ่งหนึ่งของหอยแมลงภู่มากสุดในไมโครพลาสติกประเภท PS, PP และ PBS ตามลำดับ ในขณะที่การสะสมไมโครพลาสติกขนาดใหญ่พบภายใน soft tissue ของหอยแมลงภู่ P. viridis มากกว่าขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่เวลา 96 ชั่วโมงในส่วนของการตอบสนองต่อภาวะเครียดจากออกซิเดชันพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของสารต้านอนุมูลอิสระในเนื้อเยื่อบริเวณต่อมย่อยอาหารและมีการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมเอนไซม์ Catalase, Peroxidase และสารต้านอนุมูลอิสระ Glutathione content บริเวณต่อมย่อยอาหาร พบแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมของสารต้านอนุมูลอิสระตามการเพิ่มขึ้นของไมโครพลาสติกเมื่อเทียบกับชุดควบคุม นอกจากนี้การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางมิญชวิทยาในบริเวณต่อมย่อยอาหารของหอยแมลงภู่ P. viridis พบลักษณะเซลล์ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเซลล์ย่อยอาหารในต่อมย่อยอาหารมีความเสียหาย สังเกตความผิดปกติได้ชัดเจนมากขึ้นตามความเข้มข้นของไมโครพลาสติกที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับชุดควบคุม จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประเภทและขนาดของไมโครพลาสติกเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตอบสนองความเป็นพิษในหอยแมลงภู่ ซึ่งอาจส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงในการส่งผ่านห่วงโซ่อาหารในลำดับขั้นที่สูงขึ้น การตรวจสอบผล กระทบของไมโครพลาสติกจึงเป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการคาดการณ์ระดับความเข้มข้นที่เป็นอันตรายต่อหอยแมลงภู่ และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำเพื่อนำไปประกอบการประเมินความเสี่ยงของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมและจัดการผลกระทบจากการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในหอยต่อสุขภาพของผู้บริโภค


Characteristics And Mechanisms Of Coastal Upwelling In The Gulf Of Thailand, Pacharamon Sripoonpan Jan 2019

Characteristics And Mechanisms Of Coastal Upwelling In The Gulf Of Thailand, Pacharamon Sripoonpan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The characteristics and mechanisms of coastal upwelling in the Gulf of Thailand was investigated through 2 approaches; 1) Ekman transport upwelling index (UIET) and sea surface temperature upwelling index (UISST), and 2) Hydrodynamics model DELFT3D-FLOW under the influences of tide, spatially varying wind, water temperature, salinity and river discharge. The UIET indicated favorable upwelling conditions along the west coast of the GoT mostly during northeast monsoon in January and 1st inter-monsoon in March, while the favorable upwelling condition indicated by UISST was found along the east coast during southwest monsoon in August and 2nd inter-monsoon in October. The model expressed …


การศึกษาอนุกรมวิธานของปลานินและโรนัน (Rhinidae, Rhinobatidae และ Glaucostegidae) ในน่านน้ำไทย, อภิญญา หัสกุล Jan 2019

การศึกษาอนุกรมวิธานของปลานินและโรนัน (Rhinidae, Rhinobatidae และ Glaucostegidae) ในน่านน้ำไทย, อภิญญา หัสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปลาโรนินและโรนันเป็นปลากระดูกอ่อนในอันดับ Rhinopristiformes โดยในประเทศไทยพบจำนวน 4 วงศ์ ได้แก่ Pristidae (วงศ์ปลาฉนาก), Rhinidae (วงศ์ปลาโรนินและปลาโรนันจุดขาว), Rhinobatidae (วงศ์ปลาโรนันหัวใส), Glaucostegidae (วงศ์ปลาโรนันหัวใสยักษ์) และ Platyrhinidae (วงศ์ปลานันพัด) ปลาเหล่านี้เป็นสิ่งมีชีวิตประเภท K-selected species ซึ่งมีช่วงชีวิตยืนยาว เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ช้าและให้ลูกจำนวนน้อยประกอบกับการถูกคุกคามจากการทำการประมงจึงทำให้ประชากรปลาโรนินและโรนันลดลงอย่างมาก การอนุรักษ์ปลาโรนินและโรนันจึงมีความจำเป็นต่อการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การระบุชนิดพันธุ์ปลาได้อย่างแม่นยำนั้นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยในการเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง โดยการวัดลักษณะทางสัณฐานวิทยาเป็นวิธีที่ง่าย ต้นทุนต่ำ และแม่นยำที่สุดในการระบุลักษณะเฉพาะของชนิดพันธุ์ปลาโรนินและโรนัน อย่างไรก็ดี ข้อมูลลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่ได้จากการวัดปลาโรนินและโรนันในไทยนั้นยังมีอยู่น้อยมาก งานวิจัยนี้จึงเป็นงานวิจัยที่ช่วยเติมเต็มข้อมูลดังกล่าว โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาด้วยการวัดลักษณะภายนอกของปลาและนับกระดูกสันหลัง ในการศึกษานี้ทำการวัดลักษณะที่วัดได้ 80 ลักษณะ โดยข้อมูลที่ได้จากการวัดนั้นจะนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธี Principle component analysis เพื่อใช้ในการดูการแยกกลุ่มของชนิดและทำการวิเคราะห์ Discriminant function analysis ในการจัดกลุ่มและทดสอบความแม่นยำในการจัดกลุ่มชนิดที่ได้จาก PCA ซึ่งผลที่ได้จากการวิเคราะห์พบว่าลักษณะที่วัดได้ 11 ลักษณะได้แก่ ความยาวของจะงอยปาก, ขนาดของตา, ขนาดของรูช่วยหายใจ (spiracle), ระยะห่างของรูจมูก (nasal), ความยาวของแผ่นปิดรูจมูก, ขนาดของครีบอกและครีบท้อง, ระยะห่างระหว่างครีบอกและครีบท้อง, ระยะตั้งแต่ปลายจะงอยปากจนถึงครีบหลังทั้งสอง, ระยะห่างระหว่างครีบหลังทั้งสองและขนาดของครีบหลังที่หนึ่ง มีความสำคัญต่อการจำแนกปลาโรนินและโรนัน


บทบาทของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ในการเป็นแหล่งอาหารของนกชายเลนในนาเกลือที่ถูกทิ้งร้าง จังหวัดเพชรบุรี, ธนภัทร กลับชุ่ม Jan 2018

บทบาทของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ในการเป็นแหล่งอาหารของนกชายเลนในนาเกลือที่ถูกทิ้งร้าง จังหวัดเพชรบุรี, ธนภัทร กลับชุ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นกชายเลนเป็นกลุ่มนกอพยพที่เข้ามาหากินในอ่าวไทยตอนในบริเวณหาดเลนและบางส่วนของนาเกลือ นาเกลือที่ถูกทิ้งร้างมีศักยภาพเป็นแหล่งหาอาหารของนกชายเลน เนื่องจากเป็นที่อาศัยของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ซึ่งเป็นอาหารหลักของนกชายเลนหลายชนิดในช่วงฤดูอพยพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างชุมชนของของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ และความชุกชุมของนกชายเลนที่ลงเข้าใช้ในบ่อนาเกลือที่ถูกทิ้งร้างในตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในบ่อนาเกลือที่ถูกทิ้งร้างสองแบบ คือ บ่อที่ดินโผล่พ้นน้ำเมื่อน้ำลง (A) และบ่อที่ถูกน้ำท่วมตลอดเวลา (B) ทำการเก็บตัวอย่างดิน และเก็บข้อมูลของนกชายเลนในช่วงเวลาน้ำลงต่ำสุด เดือนละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 - เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ผลการศึกษาพบสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ทั้งสิ้น 60 ชนิด กลุ่มที่มีความหนาแน่นสูงสุด คือ ไส้เดือนทะเลและแมลง ตามลำดับ โดยไส้เดือนทะเลมีความหนาแน่นสูงในบ่อที่ดินโผล่พ้นน้ำซึ่งมีความเค็มใกล้เคียงกับความเค็มของน้ำทะเล ส่วนบ่อที่ถูกน้ำท่วมตลอดเวลาที่มีลักษณะพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น พื้นที่น้ำท่วมสูง และพื้นที่เนินดินที่ถูกปกคลุมด้วยไบโอฟิลม์ ซึ่งมีแมลงเป็นกลุ่มเด่น ส่วนนกชายเลนพบทั้งสิ้น 23 ชนิด รวม 7,715 ตัว ความชุกชุมของนกชายเลนสูงสุดในเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูอพยพ รองลงมาในเดือนมกราคมเป็นฤดูอพยพ และในเดือนเมษายนเป็นช่วงปลายฤดูอพยพ ตามลำดับ การผันแปรชองชนิดและความหนาแน่นของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่และนกชายเลนอยู่ภายใต้อิทธิพลของปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ คือ ระดับน้ำในบ่อ ซึ่งในบ่อที่ถูกน้ำท่วมตลอดเวลามีน้ำลึกเฉลี่ย 10 เซนติเมตร ดินตะกอนในบ่อมีปริมาณอินทรีย์สารและปริมาณซัลไฟด์ทั้งหมดสูง ส่วนนกชนิดเด่นที่พบลงหากินในบ่อนี้ คือ นกปากแอ่นหางดำและนกตีนเทียน ซึ่งเป็นนกขนาดใหญ่ที่มีปากและขายาว โดยเฉพาะนกปากแอ่นหางดำเป็นนกที่มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคามและมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของแมลง ส่วนบ่อที่ดินโผล่พ้นน้ำมีน้ำตื้น (เฉลี่ย 3 เซนติเมตร) นกชนิดเด่นที่พบในบ่อนี้ คือ นกหัวโตทรายและนกชายเลนปากกว้างซึ่งเป็นนกขนาดเล็กและมีขาสั้น การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลหน้าดินรวมถึงสภาพแวดล้อมในนาเกลือที่ถูกทิ้งร้าง เช่น ความลึกของน้ำและความเค็มของน้ำในบ่อซึ่งใกล้เคียงกับสภาพของหาดเลนในธรรมชาติ ส่งผลให้บ่อนาเกลือร้างที่ศึกษามีความสำคัญทั้งในด้านของการเป็นแหล่งอาหารและหากินของนกชายเลน (ซึ่งรวมถึงนกที่มีสถานภาพการอนุรักษ์ถึง 7 ชนิด) นอกจากนี้นาเกลือที่ถูกทิ้งร้างเป็นแหล่งทำรังวางไข่ให้แก่นกประจำถิ่น


Effect Of Temperature On Antioxidant Enzyme Activities And Gene Expression In Sand Worm Perinereis Quatrefagesi (Grube, 1878), Sucharat Suksai Jan 2018

Effect Of Temperature On Antioxidant Enzyme Activities And Gene Expression In Sand Worm Perinereis Quatrefagesi (Grube, 1878), Sucharat Suksai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Polychaetes is one of intertidal animals that face the fluctuations of coastal environment through time. One of important environmental factors to animals is temperature regarding to the fluctuation of temperature in intertidal environment. Human activities could also cause high changes in water temperature by high temperature discharges from urban and industries. Since global warming is still a main issue, an increase of seawater temperature about 3°C could be possible as a prediction. This study aimed to investigate effect of temperature in polychaetes Perinereis quatrefagesi at cellular level, which could be indicated by heat shock response and oxidative stress due to …


นิเวศวิทยาการกินอาหารเชิงเปรียบเทียบระหว่างปลาแป้นจมูกสั้น Nuchequula Gerreoides (Bleeker, 1851) และปลาแป้นกระสวย Eubleekeria Splendens (Cuvier, 1829) จากปากแม่น้ำปราณบุรี ประเทศไทย, ทัศพร กาญจนเรขา Jan 2018

นิเวศวิทยาการกินอาหารเชิงเปรียบเทียบระหว่างปลาแป้นจมูกสั้น Nuchequula Gerreoides (Bleeker, 1851) และปลาแป้นกระสวย Eubleekeria Splendens (Cuvier, 1829) จากปากแม่น้ำปราณบุรี ประเทศไทย, ทัศพร กาญจนเรขา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Description of the resource partitioning (or niche differentiation) among fish is an essential part of substantial difference in a resources used for coexisting species for reducing competition. Food and reproductive activity are the most important factor concerning the resource partitioning among fishes. Decorated ponyfish (Nuchequula gerreoides) and splendid ponyfish (Eubleekeria splendens) are the two abundantly co-occurring leiognathid’s species in the Pranburi river estuary. The coexistence of these two species may promote resource partitioning. To examine this hypothesis, two important ponyfishes were collected from the Pranburi river estuary in this study. All fish specimens collection were carried out during dry (February …


การสะสมของพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่ Perna Viridis จากการกรองกิน Alexandrium Minutum ที่แยกจากบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา, ปฏิภาณ พุ่มพวง Jan 2018

การสะสมของพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่ Perna Viridis จากการกรองกิน Alexandrium Minutum ที่แยกจากบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา, ปฏิภาณ พุ่มพวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Alexandrium minutum เป็นไดโนแฟลกเจลเลตที่เป็นสาเหตุของพิษอัมพาตในหอย สามารถพบการกระจายในปริมาณน้อยเป็นบางครั้งบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย เนื่องจากบริเวณอ่าวไทยเป็นพื้นที่เลี้ยงหอยแมลงภู่ที่สำคัญของประเทศ ทำให้มีความเป็นไปได้ของการสะสมพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่จากการกรองกิน A. minutum อย่างไรก็ตามการศึกษาการสะสมพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่ในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น จึงทำการศึกษาการสะสมพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่ (Perna viridis) และแพลงก์ตอนพืชที่กรองแยกจากน้ำทะเลในพื้นที่เลี้ยงหอย บริเวณศรีราชา จังหวัดชลบุรี และคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ ในฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และการสะสมพิษอัมพาตที่ส่งผ่านจาก A. minutum ไปสู่หอยแมลงภู่ในห้องปฏิบัติการ ด้วยการให้หอยกรองกิน A. minutum อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และในช่วงเวลากำจัดพิษ ให้หอยกรองกินแพลงก์ตอนชนิด Isochrysis sp. ซึ่งไม่สร้างสารชีวพิษเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ทำการตรวจวัดปริมาณและองค์ประกอบพิษอัมพาตโดยเครื่อง HPLC ด้วยวิธีตรวจวัดแบบ pre-chromatographic oxidation ผลการศึกษาในพื้นที่เลี้ยงหอยแมลงภู่ ไม่พบเซลล์ของ A. minutum แต่พบปริมาณพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสารชีวพิษกลุ่มพิษอัมพาตในหอยสองฝา การศึกษาในห้องปฏิบัติการ ใช้เซลล์ A. minutum ที่เติบโตในช่วงปลายของระยะ exponential ซึ่งมีปริมาณพิษอัมพาตอยู่ในช่วง 3.75-4.46 pgSTXeq./เซลล์ และมี GTX1,4 เป็นองค์ประกอบพิษหลักมากกว่า 90% เป็นอาหารแก่หอยแมลงภู่ ผลการทดลองพบว่าปริมาณพิษอัมพาตที่สะสมในหอยแมลงภู่ต่อตัวเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณ A. minutum ที่ถูกกรองกิน ปริมาณพิษอัมพาตมีค่ามากกว่าค่าควบคุมภายใน 24 ชั่วโมง และมีค่าสูงสุดในวันสุดท้ายที่กรองกิน A. minutum คือ วันที่ 14 (11.20 µg STXeq.ต่อตัว) ซึ่งมีค่าสูงกว่าระดับควบคุม 14 เท่า โดยตลอดช่วงการศึกษาพบการสะสมพิษอัมพาตมีค่าอยู่ระหว่าง 23-47% ของปริมาณที่ได้รับจากการกรองกิน ในช่วงการกำจัดพิษพบว่า ปริมาณพิษอัมพาตต่อตัวหอยลดลงอย่างรวดเร็วและต่ำกว่าค่าควบคุมภายใน 3 วัน โดยในวันสุดท้ายของการกำจัดพิษพบพิษอัมพาต 0.08% จากปริมาณที่ได้รับ นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างของการกำจัดพิษอัมพาตที่ได้รับจาก A. minutum คือ GTX1,4 (อนุพันธ์ที่มีความเป็นพิษสูง) สามารถถูกกำจัดจากเนื้อหอยอย่างรวดเร็ว และการที่องค์ประกอบของพิษอัมพาตแต่ละชนิดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการทดลอง แสดงให้เห็นความสามารถของกระบวนการทางชีวเคมีของหอยในการกำจัดพิษอัมพาตออกจากร่างกาย การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นได้ว่าพิษอัมพาตจาก …


ความชุกชุมและความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสในอ่าวไทยตอนใน, หัทยา จิตรพัสตร์ Jan 2018

ความชุกชุมและความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสในอ่าวไทยตอนใน, หัทยา จิตรพัสตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสมีความหลากหลายทางชีวภาพและทางนิเวศวิทยาสูงพบได้ทั้ง herbivores และ carnivores ปัจจุบันการเพิ่มจำนวนของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสในทะเลเป็นที่สนใจทั่วโลก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกชุมและความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสบริเวณอ่าวไทยตอนใน โดยเก็บตัวอย่างด้วยถุงลากแพลงก์ตอนขนาดตา 330 ไมโครเมตร จากอ่าวไทยตอนในในเดือนมิถุนายนเป็นตัวแทนฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เดือนตุลาคมเป็นตัวแทนปลายฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ปี 2560 และเดือนเมษายนเป็นตัวแทนฤดูร้อน ปี 2561 ผลการศึกษาพบแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสทั้งหมด 63 ชนิด ไฮโดรเมดูซีเป็นกลุ่มที่มีความหลากชนิดมากที่สูงสุด ขณะที่หนอนธนูชนิด Flaccisagitta enflata เป็นชนิดเด่นจากการสำรวจทั้งสามฤดูโดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และฤดูร้อน นอกจากนี้แพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเด่นอื่น ๆ แตกต่างกันตามฤดูกาล โดยมี Doliolum sp. เป็นชนิดเด่นในปลายฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ดัชนีความหลากชนิดรวมทั้งความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสในบริเวณก้นอ่าวมีค่าสูงกว่าแนวห่างจากฝั่ง เนื่องจากอิทธิพลปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีการผันแปรสูงโดยเฉพาะความเค็มรวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร ความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสขึ้นอยู่กับระยะห่างจากปากแม่น้ำและฤดูกาลโดยมีค่าผันแปรอยู่ในช่วง 43-1,369 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ในฤดูร้อนพบความหนาแน่นเฉลี่ยมากที่สุด ในช่วงปลายฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พบความชุกชุมของ salps สูง ทำให้ค่าปริมาตรชีวภาพสูงที่สุดด้วย ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบชนิดและปริมาณของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสพบความแตกต่างชุมชนแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มนี้ในบริเวณก้นอ่าวและบริเวณห่างฝั่งออกไป ผลการศึกษายังแสดงว่าในบริเวณก้นอ่าวมีความเค็มต่ำนั้นจะพบไฮโดรเมดูซีเป็นกลุ่มเด่น ขณะที่หนอนธนูเป็นกลุ่มเด่นในแนวถัดออกมาจากปากเเม่น้ำซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเค็มสูง


Effects Of Food On Growth And Gonadal Development Of Seahorse Hippocampus Sp., Thatpon Kamnurdnin Jan 2017

Effects Of Food On Growth And Gonadal Development Of Seahorse Hippocampus Sp., Thatpon Kamnurdnin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hippocampus sp. has received attention as a source of aquarium and ornamental trade. Seahorses have been threatened from non-target fisheries, habitat loss and traditional Chinese medicine (TCM). In response to concern about a decrease of population in the wild, an aquaculture of this species may provide the seahorse numbers for the commercial demands. However, one of the critical problems in aquaculture is the proper dietary for growth and their development. Therefore, this study was conducted on different types of preys on survival rates, growth rates and gonadal development in Hippocampus sp. during the day of birth until the 31day after …


ฤดูกาลและพื้นที่ในการเกิดโรคของปะการังบริเวณแนวปะการังเขตน้ำตื้นฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน, มัตฑิกา แดงแย้ม Jan 2017

ฤดูกาลและพื้นที่ในการเกิดโรคของปะการังบริเวณแนวปะการังเขตน้ำตื้นฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน, มัตฑิกา แดงแย้ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเสื่อมโทรมของแนวปะการังเกิดขึ้นในหลายบริเวณทั่วโลก โรคปะการังเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งส่งผลทำให้ปะการังอ่อนแอและตายในที่สุด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของฤดูกาลและพื้นที่ต่อการเกิดโรคของปะการังบริเวณแนวปะการังเขตน้ำตื้นฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยการสำรวจโรคปะการัง ใน 2 ฤดูกาล (ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้) จาก 3 พื้นที่ศึกษา (เกาะค้างคาว จังหวัดชลบุรี เกาะแตน จังหวัดสุราษฏร์ธานี และเกาะมุกด์ จังหวัดตรัง) ผลการศึกษาพบการเกิดโรคของปะการังทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ White syndromes (WS) White patch disease (WP) Ulcerative white spot (UWS) Growth Anomalies (GAN) และ Pigmentation response (PR) โดยแนวปะการังบริเวณเกาะแตน พบว่ามีความชุกของโรคปะการังสูงสุด ทั้ง 2 ฤดูกาล ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อีกทั้งยังพบว่าความชุกของโรคปะการังในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้สูงกว่าฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในทุกพื้นที่ศึกษาพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โรค White syndromes (WS) เป็นโรคกลุ่มเด่นที่มีความถี่ของการเกิดโรคปะการังสูงสุด นอกจากนี้ยังพบว่าปะการังโขด Porites lutea เป็นปะการังชนิดเด่นที่เกิดโรคปะการังสูงสุด ทั้ง 3 พื้นที่ จากการศึกษานี้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเกิดโรคปะการัง รวมถึงการติดตามเฝ้าระวังการระบาดและความรุนแรงของโรคปะการังในแนวปะการังเขตน้ำตื้นต่อไป


เทคนิคการขยายพันธุ์ปะการังอ่อน Sinularia Sp. และ Sarcophyton Sp. ในภาวะเพาะฟัก, เบญจวรรณ สีหะรัญ Jan 2017

เทคนิคการขยายพันธุ์ปะการังอ่อน Sinularia Sp. และ Sarcophyton Sp. ในภาวะเพาะฟัก, เบญจวรรณ สีหะรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปะการังอ่อน (soft coral) จัดอยู่ในอันดับ Alcyonacea เป็นสิ่งมีชีวิตในทะเลที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศแนวปะการัง พบกระจายทั่วไปในน่านน้ำอินโดแปซิฟิก อีกทั้งปะการังอ่อนสามารถนำมาผลิตเป็นยา และเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่างๆ ตลอดจนมีการซื้อขายเพื่อการเลี้ยงในตู้ปลาสวยงาม การเพิ่มขึ้นของความต้องการที่กล่าวมานั้นส่งผลทำให้ปะการังอ่อนถูกเก็บเกี่ยวไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการเพาะเลี้ยงปะการังอ่อนจึงเป็นวิธีการที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้ปะการังอ่อนแทนการเก็บจากธรรมชาติ จึงทำการศึกษาการขยายพันธุ์ของกล้าปะการังอ่อน Sinularia sp. และ Sarcophyton sp. ภายใต้ระบบน้ำทะเลไหลผ่านตลอด โดยใช้วิธีการขยายพันธุ์ที่แตกต่างกัน เพื่อทราบถึงการสร้างเนื้อเยื่อยึดติดกับวัสดุเทียมของกล้าปะการังอ่อน โดยทำการอนุบาลเป็นเวลา 70 วัน ผลการศึกษาพบว่า กล้าปะการังอ่อน Sinularia sp. และ Sarcophyton sp. โดยวิธีการเสียบติดกับวัสดุเทียมเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการยึดติดกับวัสดุเทียมที่รวดเร็วที่สุด 6-13 วัน และ 5-8 วัน ตามลำดับ โดยมีอัตราการรอดสูงสุดร้อยละ 83.33 และ 90 .00 ตามลำดับ หลังจากนั้นจึงนำผลการศึกษาวิธีการยึดติดกล้าปะการังอ่อนที่ดีที่สุด มาทำการศึกษาใหม่ในระบบเลี้ยง 3 ระบบ เป็นเวลา 6 เดือน พบว่าอัตราการเติบโตของกล้าปะการังอ่อน Sinularia sp. ในระบบน้ำทะเลไหลผ่านตลอดมีอัตราการเติบโตสูงสุด (0.68±0.04 เซนติเมตรต่อเดือน) โดยมีอัตราการรอดสุดท้ายในระบบน้ำทะเลหมุนเวียนแบบกึ่งปิดร้อยละ 88.67 และระบบน้ำทะเลไหลผ่านตลอดร้อยละ 87.33 สำหรับกล้าปะการังอ่อน Sarcophyton sp. พบว่ามีอัตราการเติบโตสูงสุดในระบบน้ำนิ่ง (0.94±0.04 เซนติเมตรต่อเดือน) และอัตราการรอดสุดท้ายของกล้าปะการังอ่อน Sarcophyton sp. ในระบบน้ำนิ่ง และระบบน้ำไหลผ่านตลอดร้อยละ 94.67


การก่อเกิดภาวะอยู่ร่วมกันของซูแซนเทลลีที่แยกจากหอยมือเสือ ปะการัง และดอกไม้ทะเล ในตัวอ่อนหอยมือเสือ Tridacna Squamosa (Lamarck, 1819), เสฐียรพงษ์ เกียงสุภา Jan 2017

การก่อเกิดภาวะอยู่ร่วมกันของซูแซนเทลลีที่แยกจากหอยมือเสือ ปะการัง และดอกไม้ทะเล ในตัวอ่อนหอยมือเสือ Tridacna Squamosa (Lamarck, 1819), เสฐียรพงษ์ เกียงสุภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ซูแซนเทลลี (Symbiodinium microdriaticum) มีความสำคัญและจำเป็น ต่อการพัฒนาการและการเติบโตของลูกหอยมือเสือวัยอ่อน จึงสนใจทำการศึกษาอัตราการรอด อัตราการเติบโต การพัฒนาการ และการเกิดภาวะอิงอาศัยในหอยมือเสือ เพื่อคัดเลือกซูแซนเทลลีที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงหอยมือเสือ (Tridacna squamosa) โดยให้ลูกหอยมือเสือกรองกินซูแซนเทลลีที่แยกเลี้ยงแบบสายพันธุ์เดี่ยวจากดอกไม้ทะเล ปะการังเขากวาง ปะการังรังผึ้ง ปะการังดอกเห็ด และเนื้อเยื่อแมนเทิลของหอยมือเสือ การศึกษาในระยะว่ายน้ำพบว่าลูกหอยมือเสือที่กรองกินซูแซนเทลลีจากปะการังเขากวางให้อัตราการรอดมากที่สุด ขณะที่อัตราการเติบโตสูงที่สุดพบในชุดการทดลองที่ลูกหอยได้กรองกินซูแซนเทลลีจากแมนเทิลของหอยมือเสือ การพัฒนาเข้าสู่ระยะ pediveliger พบว่าลูกหอยที่กรองกินซูแซนเทลลีจากปะการังรังผึ้งใช้เวลาเร็วที่สุด การเกิดภาวะอิงอาศัยในทุกชุดการทดลอง นั้นใช้เวลา 12-14 วัน การศึกษาในระยะลงเกาะพบว่า ลูกหอยที่กรองกินซูแซนเทลลีจากปะการรังรังผึ้ง และเนื้อเยื่อแมนเทิลของหอยมือเสือ มีอัตราการรอดมากที่สุดเมื่อสิ้นสุดการทดลอง และยังทำให้ลูกหอยพัฒนาเข้าสู่ระยะ juvenile ได้เร็วที่สุด นอกจากนี้พบว่าลูกหอยที่กรองกินซูแซนเทลลีที่แยกจากปะการังรังผึ้ง และดอกไม้ทะเลมีอัตราการเติบโตในช่วงลงเกาะได้มากที่สุด การศึกษานี้สรุปได้ว่าลูกหอยมือเสือตอบสนองต่อซูแซนเทลลีจากผู้ให้อาศัยต่างชนิดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระยะการพัฒนาการ และซูแซนเทลลีที่เหมาะสมสาหรับการเพาะเลี้ยงลูกหอยมือเสือ คือ ซูแซนเทลลีจากเนื้อเยื่อแมนเทิลของหอยมือเสือและปะการังรังผึ้ง เนื่องจากส่งผลให้ลูกหอยมือเสือมีอัตราการรอด อัตราการเติบโตสูง เกิดภาวะอิงอาศัยและการพัฒนาการที่รวดเร็ว


ชนิดและความชุกชุมของเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตในระบบนิเวศหญ้าทะเลในอ่าวไทยฝั่งตะวันออก, นันทภัค โพธิสาร Jan 2017

ชนิดและความชุกชุมของเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตในระบบนิเวศหญ้าทะเลในอ่าวไทยฝั่งตะวันออก, นันทภัค โพธิสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตแสดงบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหารหน้าดินของระบบนิเวศหญ้าทะเล อย่างไรก็ตามเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตบางชนิดสามารถเป็นสาเหตุของโรค ciguatera เพื่อศึกษาการแพร่กระจายและความชุกชุมของเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตในระบบนิเวศหญ้าทะเลบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก การศึกษานี้ได้เก็บตัวอย่างเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตในแหล่งหญ้าทะเลบริเวณหมู่เกาะแสมสาร ชายฝั่งบ้านเพ หมู่บ้านร็อคการ์เด้น และอ่าวคุ้งกระเบน ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี ระยอง และจันทบุรี ตามลำดับ ทำการเก็บตัวอย่างเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตที่เกาะติดอยู่ในดินตะกอน บนใบหญ้าทะเล และบนแผ่นตาข่าย สองครั้งในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และทำการแยกเลี้ยงเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตที่พบเพื่อนำมาจำแนกชนิดโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ผลการศึกษาพบเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลต 4 สกุล 9 ชนิด คือ Amphidinium carterae, Amphidinium operculatum, Coolia cf. malayensis, Coolia tropicalis, Ostreopsis fattorussoi, Ostreopsis ovata, Prorocentrum concavum, Prorocentrum lima และ Prorocentrum rhathymum ความชุกชุมของเบนทิกไดโนแฟลก-เจลเลตในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในทุกพื้นที่การศึกษา แหล่งหญ้าทะเลบริเวณหมู่เกาะแสมสารเป็นบริเวณที่มีความชุกชุมของเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตสูงที่สุด และพบสาหร่ายสีน้ำตาลขนาดใหญ่ (Padina sp.) เติบโตอยู่ในแหล่งหญ้าทะเลนี้เพียงบริเวณเดียวเท่านั้น หญ้าคาทะเลมีความชุกชุมของเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตมากกว่าหญ้าทะเลชนิดอื่นๆ ในการศึกษานี้ได้เปรียบเทียบวิธีการแยกเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลต พบว่าความชุกชุมของเบนทิก-ไดโนแฟลกเจลเลตบนใบหญ้าคาทะเลกับบนแผ่นตาข่ายไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความชุกชุมของเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตในดินตะกอนมีน้อยที่สุด


ความสัมพันธ์ระหว่างประชาคมโคพีพอดและปัจจัยสิ่งแวดล้อม บริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี, วดีพร รัตนานุพงศ์ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างประชาคมโคพีพอดและปัจจัยสิ่งแวดล้อม บริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี, วดีพร รัตนานุพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ศึกษาโครงสร้างประชาคมของโคพีพอด ได้แก่ ความหลากชนิด, ความยาวลำตัว และปริมาตรชีวภาพของโคพีพอด บริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีใน พ.ศ. 2551, 2554 และ 2559 ในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (มกราคม พ.ศ. 2559) ช่วงระหว่างมรสุม หรือ Inter-I (เมษายน พ.ศ. 2559) ช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (กรกฎาคม พ.ศ. 2559) และช่วงระหว่างมรสุม หรือ Inter-II (ตุลาคม พ.ศ. 2551, ตุลาคมและพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 และพฤศจิกายน พ.ศ. 2559) ผลการศึกษาพบโคพีพอดขนาดใหญ่เมโซแพลงก์ตอน 15 ชนิดใน พ.ศ. 2559 รองลงมา 8 ชนิดใน พ.ศ. 2554 และต่ำสุด 5 ชนิดใน พ.ศ. 2551 ขณะที่พบโคพีพอดขนาดไมโครแพลงก์ตอนทั้งสิ้น 18 ชนิดในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พบโคพีพอดขนาดใหญ่ในความหนาแน่นสูงสุดใน พ.ศ. 2559 รองลงมาใน พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2551 โดยใน พ.ศ. 2559 ช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และช่วงระหว่างมรุสมเดือนเมษายน พบโคพีพอดมีความหนาแน่นในช่วง 619-678 ตัว/ลูกบาศก์เมตร แต่ในช่วงระหว่างมรุสมพฤศจิกายนและช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนั้น พบโคพีพอดในความหนาแน่นต่ำระหว่าง 298-397 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ส่วนโคพีพอดขนาดเล็กมีความชุกชุมสูงใกล้เคียงกัน (92,417-108,142 ตัว/ลูกบาศก์เมตร) ในช่วงระหว่างมรสุมเมษายนและช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนช่วงระหว่างมรสุมเดือนพฤศจิกายนและช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหนาแน่นต่ำในช่วง 16,888-29,402 ตัว/ลูกบาศก์เมตร การศึกษาความยาวลำตัว (prosome length) และปริมาตรชีวภาพ (biovolume) พบว่าโคพีพอดเพศเมียเกือบทุกชนิดมีความยาวลำตัวและปริมาตรชีวภาพสูงกว่าเพศผู้ ยกเว้นโคพี-พอดชนิด Acartia erythraea ที่เพศผู้มีความยาวลำตัวและปริมาตรชีวภาพสูงกว่าเพศเมีย ปัจจัยสิ่งแวดล้อมบริเวณเกาะสีชังใน พ.ศ. 2559 มีความแปรปรวนแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา โดยปัจจัยสิ่งแวดล้อมหลักที่มีอิทธิพลต่อประชาคมโคพีพอด …


Seasonal Variations Of Picophytoplankton, Nanophyto-Plankton And Microphytoplankton Communities At Sichang Island, Chonburi Province, Anassaya Deesuk Jan 2017

Seasonal Variations Of Picophytoplankton, Nanophyto-Plankton And Microphytoplankton Communities At Sichang Island, Chonburi Province, Anassaya Deesuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Sichang Island is in the eastern part of the Inner Gulf of Thailand where is primarily influenced by two monsoon winds, the northeast monsoon and the southwest monsoon. The effect of this factor lead to changes in phytoplankton community. However, most studies have been focused on microphytoplankton community not pico- and nanophytoplankton due to their small size and study methods. Therefore, seasonal variations of pico-, nano-, and microphytoplankton around Sichang Island were observed. The samplings were conducted at 10 stations around Sichang Island in two monsoon and two intermonsoon periods. Pico- and nanophytoplankton were analyzed by flow cytometry whereas microphytoplankton …