Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Marine Biology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2018

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Marine Biology

นิเวศวิทยาการกินอาหารเชิงเปรียบเทียบระหว่างปลาแป้นจมูกสั้น Nuchequula Gerreoides (Bleeker, 1851) และปลาแป้นกระสวย Eubleekeria Splendens (Cuvier, 1829) จากปากแม่น้ำปราณบุรี ประเทศไทย, ทัศพร กาญจนเรขา Jan 2018

นิเวศวิทยาการกินอาหารเชิงเปรียบเทียบระหว่างปลาแป้นจมูกสั้น Nuchequula Gerreoides (Bleeker, 1851) และปลาแป้นกระสวย Eubleekeria Splendens (Cuvier, 1829) จากปากแม่น้ำปราณบุรี ประเทศไทย, ทัศพร กาญจนเรขา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Description of the resource partitioning (or niche differentiation) among fish is an essential part of substantial difference in a resources used for coexisting species for reducing competition. Food and reproductive activity are the most important factor concerning the resource partitioning among fishes. Decorated ponyfish (Nuchequula gerreoides) and splendid ponyfish (Eubleekeria splendens) are the two abundantly co-occurring leiognathid’s species in the Pranburi river estuary. The coexistence of these two species may promote resource partitioning. To examine this hypothesis, two important ponyfishes were collected from the Pranburi river estuary in this study. All fish specimens collection were carried out during dry (February …


ความชุกชุมและความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสในอ่าวไทยตอนใน, หัทยา จิตรพัสตร์ Jan 2018

ความชุกชุมและความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสในอ่าวไทยตอนใน, หัทยา จิตรพัสตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสมีความหลากหลายทางชีวภาพและทางนิเวศวิทยาสูงพบได้ทั้ง herbivores และ carnivores ปัจจุบันการเพิ่มจำนวนของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสในทะเลเป็นที่สนใจทั่วโลก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกชุมและความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสบริเวณอ่าวไทยตอนใน โดยเก็บตัวอย่างด้วยถุงลากแพลงก์ตอนขนาดตา 330 ไมโครเมตร จากอ่าวไทยตอนในในเดือนมิถุนายนเป็นตัวแทนฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เดือนตุลาคมเป็นตัวแทนปลายฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ปี 2560 และเดือนเมษายนเป็นตัวแทนฤดูร้อน ปี 2561 ผลการศึกษาพบแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสทั้งหมด 63 ชนิด ไฮโดรเมดูซีเป็นกลุ่มที่มีความหลากชนิดมากที่สูงสุด ขณะที่หนอนธนูชนิด Flaccisagitta enflata เป็นชนิดเด่นจากการสำรวจทั้งสามฤดูโดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และฤดูร้อน นอกจากนี้แพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเด่นอื่น ๆ แตกต่างกันตามฤดูกาล โดยมี Doliolum sp. เป็นชนิดเด่นในปลายฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ดัชนีความหลากชนิดรวมทั้งความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสในบริเวณก้นอ่าวมีค่าสูงกว่าแนวห่างจากฝั่ง เนื่องจากอิทธิพลปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีการผันแปรสูงโดยเฉพาะความเค็มรวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร ความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสขึ้นอยู่กับระยะห่างจากปากแม่น้ำและฤดูกาลโดยมีค่าผันแปรอยู่ในช่วง 43-1,369 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ในฤดูร้อนพบความหนาแน่นเฉลี่ยมากที่สุด ในช่วงปลายฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พบความชุกชุมของ salps สูง ทำให้ค่าปริมาตรชีวภาพสูงที่สุดด้วย ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบชนิดและปริมาณของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสพบความแตกต่างชุมชนแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มนี้ในบริเวณก้นอ่าวและบริเวณห่างฝั่งออกไป ผลการศึกษายังแสดงว่าในบริเวณก้นอ่าวมีความเค็มต่ำนั้นจะพบไฮโดรเมดูซีเป็นกลุ่มเด่น ขณะที่หนอนธนูเป็นกลุ่มเด่นในแนวถัดออกมาจากปากเเม่น้ำซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเค็มสูง


บทบาทของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ในการเป็นแหล่งอาหารของนกชายเลนในนาเกลือที่ถูกทิ้งร้าง จังหวัดเพชรบุรี, ธนภัทร กลับชุ่ม Jan 2018

บทบาทของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ในการเป็นแหล่งอาหารของนกชายเลนในนาเกลือที่ถูกทิ้งร้าง จังหวัดเพชรบุรี, ธนภัทร กลับชุ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นกชายเลนเป็นกลุ่มนกอพยพที่เข้ามาหากินในอ่าวไทยตอนในบริเวณหาดเลนและบางส่วนของนาเกลือ นาเกลือที่ถูกทิ้งร้างมีศักยภาพเป็นแหล่งหาอาหารของนกชายเลน เนื่องจากเป็นที่อาศัยของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ซึ่งเป็นอาหารหลักของนกชายเลนหลายชนิดในช่วงฤดูอพยพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างชุมชนของของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ และความชุกชุมของนกชายเลนที่ลงเข้าใช้ในบ่อนาเกลือที่ถูกทิ้งร้างในตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในบ่อนาเกลือที่ถูกทิ้งร้างสองแบบ คือ บ่อที่ดินโผล่พ้นน้ำเมื่อน้ำลง (A) และบ่อที่ถูกน้ำท่วมตลอดเวลา (B) ทำการเก็บตัวอย่างดิน และเก็บข้อมูลของนกชายเลนในช่วงเวลาน้ำลงต่ำสุด เดือนละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 - เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ผลการศึกษาพบสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ทั้งสิ้น 60 ชนิด กลุ่มที่มีความหนาแน่นสูงสุด คือ ไส้เดือนทะเลและแมลง ตามลำดับ โดยไส้เดือนทะเลมีความหนาแน่นสูงในบ่อที่ดินโผล่พ้นน้ำซึ่งมีความเค็มใกล้เคียงกับความเค็มของน้ำทะเล ส่วนบ่อที่ถูกน้ำท่วมตลอดเวลาที่มีลักษณะพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น พื้นที่น้ำท่วมสูง และพื้นที่เนินดินที่ถูกปกคลุมด้วยไบโอฟิลม์ ซึ่งมีแมลงเป็นกลุ่มเด่น ส่วนนกชายเลนพบทั้งสิ้น 23 ชนิด รวม 7,715 ตัว ความชุกชุมของนกชายเลนสูงสุดในเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูอพยพ รองลงมาในเดือนมกราคมเป็นฤดูอพยพ และในเดือนเมษายนเป็นช่วงปลายฤดูอพยพ ตามลำดับ การผันแปรชองชนิดและความหนาแน่นของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่และนกชายเลนอยู่ภายใต้อิทธิพลของปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ คือ ระดับน้ำในบ่อ ซึ่งในบ่อที่ถูกน้ำท่วมตลอดเวลามีน้ำลึกเฉลี่ย 10 เซนติเมตร ดินตะกอนในบ่อมีปริมาณอินทรีย์สารและปริมาณซัลไฟด์ทั้งหมดสูง ส่วนนกชนิดเด่นที่พบลงหากินในบ่อนี้ คือ นกปากแอ่นหางดำและนกตีนเทียน ซึ่งเป็นนกขนาดใหญ่ที่มีปากและขายาว โดยเฉพาะนกปากแอ่นหางดำเป็นนกที่มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคามและมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของแมลง ส่วนบ่อที่ดินโผล่พ้นน้ำมีน้ำตื้น (เฉลี่ย 3 เซนติเมตร) นกชนิดเด่นที่พบในบ่อนี้ คือ นกหัวโตทรายและนกชายเลนปากกว้างซึ่งเป็นนกขนาดเล็กและมีขาสั้น การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลหน้าดินรวมถึงสภาพแวดล้อมในนาเกลือที่ถูกทิ้งร้าง เช่น ความลึกของน้ำและความเค็มของน้ำในบ่อซึ่งใกล้เคียงกับสภาพของหาดเลนในธรรมชาติ ส่งผลให้บ่อนาเกลือร้างที่ศึกษามีความสำคัญทั้งในด้านของการเป็นแหล่งอาหารและหากินของนกชายเลน (ซึ่งรวมถึงนกที่มีสถานภาพการอนุรักษ์ถึง 7 ชนิด) นอกจากนี้นาเกลือที่ถูกทิ้งร้างเป็นแหล่งทำรังวางไข่ให้แก่นกประจำถิ่น


การสะสมของพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่ Perna Viridis จากการกรองกิน Alexandrium Minutum ที่แยกจากบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา, ปฏิภาณ พุ่มพวง Jan 2018

การสะสมของพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่ Perna Viridis จากการกรองกิน Alexandrium Minutum ที่แยกจากบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา, ปฏิภาณ พุ่มพวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Alexandrium minutum เป็นไดโนแฟลกเจลเลตที่เป็นสาเหตุของพิษอัมพาตในหอย สามารถพบการกระจายในปริมาณน้อยเป็นบางครั้งบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย เนื่องจากบริเวณอ่าวไทยเป็นพื้นที่เลี้ยงหอยแมลงภู่ที่สำคัญของประเทศ ทำให้มีความเป็นไปได้ของการสะสมพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่จากการกรองกิน A. minutum อย่างไรก็ตามการศึกษาการสะสมพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่ในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น จึงทำการศึกษาการสะสมพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่ (Perna viridis) และแพลงก์ตอนพืชที่กรองแยกจากน้ำทะเลในพื้นที่เลี้ยงหอย บริเวณศรีราชา จังหวัดชลบุรี และคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ ในฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และการสะสมพิษอัมพาตที่ส่งผ่านจาก A. minutum ไปสู่หอยแมลงภู่ในห้องปฏิบัติการ ด้วยการให้หอยกรองกิน A. minutum อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และในช่วงเวลากำจัดพิษ ให้หอยกรองกินแพลงก์ตอนชนิด Isochrysis sp. ซึ่งไม่สร้างสารชีวพิษเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ทำการตรวจวัดปริมาณและองค์ประกอบพิษอัมพาตโดยเครื่อง HPLC ด้วยวิธีตรวจวัดแบบ pre-chromatographic oxidation ผลการศึกษาในพื้นที่เลี้ยงหอยแมลงภู่ ไม่พบเซลล์ของ A. minutum แต่พบปริมาณพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสารชีวพิษกลุ่มพิษอัมพาตในหอยสองฝา การศึกษาในห้องปฏิบัติการ ใช้เซลล์ A. minutum ที่เติบโตในช่วงปลายของระยะ exponential ซึ่งมีปริมาณพิษอัมพาตอยู่ในช่วง 3.75-4.46 pgSTXeq./เซลล์ และมี GTX1,4 เป็นองค์ประกอบพิษหลักมากกว่า 90% เป็นอาหารแก่หอยแมลงภู่ ผลการทดลองพบว่าปริมาณพิษอัมพาตที่สะสมในหอยแมลงภู่ต่อตัวเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณ A. minutum ที่ถูกกรองกิน ปริมาณพิษอัมพาตมีค่ามากกว่าค่าควบคุมภายใน 24 ชั่วโมง และมีค่าสูงสุดในวันสุดท้ายที่กรองกิน A. minutum คือ วันที่ 14 (11.20 µg STXeq.ต่อตัว) ซึ่งมีค่าสูงกว่าระดับควบคุม 14 เท่า โดยตลอดช่วงการศึกษาพบการสะสมพิษอัมพาตมีค่าอยู่ระหว่าง 23-47% ของปริมาณที่ได้รับจากการกรองกิน ในช่วงการกำจัดพิษพบว่า ปริมาณพิษอัมพาตต่อตัวหอยลดลงอย่างรวดเร็วและต่ำกว่าค่าควบคุมภายใน 3 วัน โดยในวันสุดท้ายของการกำจัดพิษพบพิษอัมพาต 0.08% จากปริมาณที่ได้รับ นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างของการกำจัดพิษอัมพาตที่ได้รับจาก A. minutum คือ GTX1,4 (อนุพันธ์ที่มีความเป็นพิษสูง) สามารถถูกกำจัดจากเนื้อหอยอย่างรวดเร็ว และการที่องค์ประกอบของพิษอัมพาตแต่ละชนิดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการทดลอง แสดงให้เห็นความสามารถของกระบวนการทางชีวเคมีของหอยในการกำจัดพิษอัมพาตออกจากร่างกาย การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นได้ว่าพิษอัมพาตจาก …


Effect Of Temperature On Antioxidant Enzyme Activities And Gene Expression In Sand Worm Perinereis Quatrefagesi (Grube, 1878), Sucharat Suksai Jan 2018

Effect Of Temperature On Antioxidant Enzyme Activities And Gene Expression In Sand Worm Perinereis Quatrefagesi (Grube, 1878), Sucharat Suksai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Polychaetes is one of intertidal animals that face the fluctuations of coastal environment through time. One of important environmental factors to animals is temperature regarding to the fluctuation of temperature in intertidal environment. Human activities could also cause high changes in water temperature by high temperature discharges from urban and industries. Since global warming is still a main issue, an increase of seawater temperature about 3°C could be possible as a prediction. This study aimed to investigate effect of temperature in polychaetes Perinereis quatrefagesi at cellular level, which could be indicated by heat shock response and oxidative stress due to …