Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Genetics and Genomics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2022

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Genetics and Genomics

ผลของสารสกัดสมุนไพรที่มีเห็ดกระถินพิมาน Phellinus Linteus เป็นองค์ประกอบต่อการมีชีวิตของเซลล์ วัฏจักรเซลล์ อะพอพโทซิส และการแสดงออกของยีนในเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก, ประกายทิพย์ สมจิตต์ Jan 2022

ผลของสารสกัดสมุนไพรที่มีเห็ดกระถินพิมาน Phellinus Linteus เป็นองค์ประกอบต่อการมีชีวิตของเซลล์ วัฏจักรเซลล์ อะพอพโทซิส และการแสดงออกของยีนในเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก, ประกายทิพย์ สมจิตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่มีอัตราการเกิดและเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ในทุกกลุ่มอายุ และมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่มีอัตราการเกิดและเสียชีวิตเป็นอันดับสองในเพศชาย โดยการศึกษาในปัจจุบันพบว่าเห็ดกระถินพิมาน (Phellinus linteus) และสมุนไพรอื่นๆ บางชนิดมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดมะเร็ง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบฤทธิ์และกลไกการยับยั้งการมีชีวิตของสารสกัดที่มีเห็ดกระถินพิมานเป็นองค์ประกอบร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ (สูตรตำรับ) และสารสกัดเห็ดกระถินพิมานในเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ HCT116 SW620 และ HT-29 และเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก PC-3 ผลทดสอบการยับยั้งการมีชีวิตของเซลล์ด้วยเทคนิค MTT assay แสดงให้เห็นว่าสารสกัดสูตรตำรับสามารถยับยั้งการมีชีวิตของเซลล์มะเร็งที่ศึกษาได้ 50% (IC50) ที่ความเข้มข้นน้อยกว่าสารสกัดที่มีเห็ดกระถินพิมานเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลไกการยับยั้งการมีชีวิตของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากของสารสกัดสูตรตำรับได้ศึกษาการควบคุมผ่านวัฏจักรเซลล์และกระบวนการอะพอพโทซิสโดยใช้เทคนิค PI assay และเทคนิค Annexin V apoptosis assay ตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารสกัดสูตรตำรับเพิ่มจำนวนประชากรสะสมในระยะ G0/G1 และชักนำการตายแบบ necrosis ในเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก และเพิ่มจำนวนประชากรเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด HCT116 และ HT-29 ในระยะ G2 และ SW620 ในระยะ S และชักนำการตายแบบอะพอพโทซิสในเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ฉะนั้นฤทธิ์ของสารสกัดสูตรตำรับในการควบคุมวัฏจักรเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากและเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด HT-29 เกี่ยวข้องกับการลดการแสดงออกของยีน KRAS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้การตายแบบอะพอพโทซิสของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากและเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด HCT116 และ HT-29 เกี่ยวข้องกับการเพิ่มและลดการแสดงออกของยีน IFNGR1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการศึกษานี้สามารถชี้ให้เห็นถึงความสามารถของเห็ดกระถินพิมานร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ในการควบคุมการตอบสนองในเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากผ่านการควบคุมวัฏจักรเซลล์ อะพอพโทซิส และการแสดงออกของยีน