Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Life Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 95

Full-Text Articles in Life Sciences

โมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อโปรตีน Vp1 ของไวรัสโลหิตจางในไก่ และการระบุเอพิโทป, เอกราช สิทธิเดช Jan 2017

โมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อโปรตีน Vp1 ของไวรัสโลหิตจางในไก่ และการระบุเอพิโทป, เอกราช สิทธิเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคโลหิตจางในไก่ เกิดจากไวรัส Chicken anemia virus (CAV) ไก่ที่ติดไวรัส จะมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงตัวแคระแกร็น ต่อมธัยมัสฝ่อ เซลล์ไขกระดูกลดลง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง โปรตีน VP1 เป็นโปรตีนโครงสร้างของไวรัส ทำหน้าที่ในการรวมกันเป็นอนุภาคไวรัส มีคุณสมบัติในการเป็นแอนติเจน CAV งานวิจัยก่อนหน้านี้ สามารถผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีน Δ60N_VP1 ของไวรัสโลหิตจางในไก่ จึงเป็นที่มาของวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อโปรตีน VP1 และ ระบุเอพิโทปต่อโมโนโคลนอลแอนติบอดี โดยนำม้ามที่ได้จากการใช้รีคอมบิแนนท์โปรตีน Δ60N_VP1 กระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูเม้าส์ มาหลอมรวมกับเซลล์ไมอีโลมา พบว่าได้ เซลล์ไฮบริโดมาที่ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีจำนวน 5 โคลน ได้แก่ โคลนที่ 1, 2, 3, 7 และ 21 สามารถจำแนกชนิดของแอนติบอดีได้เป็น IgG2a, IgM, IgG2b, IgM และ IgG1 ตามลำดับ การระบุเอพิโทป ทำโดยแบ่งชิ้นส่วนสารพันธุกรรม Δ60N_VP1 เป็น 6 ส่วน ได้แก่ Fragment 1(F1), F2, F3, F4 และ Separating 1(S1) และ S2 ซึ่งแยกมาจากชิ้น F1 จากนั้นเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยไพรเมอร์จำเพาะ และทำการย้ายชิ้นส่วนแต่ละชิ้นเข้าสู่เวกเตอร์ pET28a นำไปชักนำให้เกิดการแสดงออกใน E. coli Rosetta-gami รีคอมบิแนนท์โปรตีนแต่ละชนิดจะถูกใช้เป็นแอนติเจนเพื่อใช้ระบุเอพิโทปต่อโมโนโคลนอลแอนติบอดี ด้วยวิธี western blotting analysis ผลการทดลองพบโมโนโคลนอลแอนติบอดี ทั้ง 5 โคลน มีความจำเพาะต่อแอนติเจน Δ60N_VP1 และ ไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกับรีคอมบิแนนท์โปรตีนที่มี His-Tag ชนิดอื่น ในการศึกษานี้ใช้ โมโนโคลนอลแอนติบอดีชนิด IgG เท่านั้น ที่จะถูกนำไประบุเอพิโทป ผลการทดลองพบว่าโมโนโคลนอลแอนติบอดีโคลนที่ 1 ทำปฏิกริยาจำเพาะกับโปรตีน …


Ammonium Removal And Biomass Production By Unicellular Cyanobacterium Synechococcus Sp., Piroonporn Srimongkol Jan 2017

Ammonium Removal And Biomass Production By Unicellular Cyanobacterium Synechococcus Sp., Piroonporn Srimongkol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Using microalgae as a biofuel feedstock has played more attention over a decade. The cultivation of microalgae requires high water use and high initial investment that can make the process still not economically appealing. This study attempted to examine the potential for using brackish shrimp aquaculture effluents as culture medium for algal biomass production. To investigate whether algae could be used to remove ammonium from brackish shrimp aquaculture wastewater, marine cyanobacterium, Synechococcus sp. was cultured in BG-11 medium supplemented with Turks Island salt solution and different concentrations of NH4Cl (10-40 mg N L-1) for 18 days. The results showed that, …


การพัฒนาแถบทดสอบสำหรับการตรวจวัดเคซีนจากวัว, วิภัทรา วงศ์พยัคฆ์ Jan 2017

การพัฒนาแถบทดสอบสำหรับการตรวจวัดเคซีนจากวัว, วิภัทรา วงศ์พยัคฆ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

น้ำนมวัวเป็นแหล่งโภชนาการที่สำคัญของมนุษย์ ประกอบไปด้วย โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และแคลเซียม อย่างไรก็ตามเคซีนซึ่งเป็นโปรตีนหลักที่อยู่ในน้ำนมวัวนั้น ก่อให้เกิดการแพ้ในผู้บริโภคบางรายได้ ซึ่งมีอาการตั้งแต่เบาจนถึงหนัก เช่น หายใจไม่ออก อาเจียน เป็นลมพิษ หรือตาย เป็นต้น ดังนั้นในอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำนมวัว จะต้องมีการระบุแจ้งบนฉลากตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ แต่ในอาหารหลายชนิดไม่มีการระบุดังกล่าว ดังนั้นวิธีตรวจเคซีนอย่างง่ายสำหรับผู้บริโภคที่แพ้ต่อเคซีนจึงเป็นสิ่งจำเป็น ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการตรวจด้วยอิมมูโนวิทยา แบบการไหลในแนวระนาบ (lateral flow immunoassay) ในรูปแบบแถบทดสอบสำหรับการตรวจวัด เคซีนจากวัว โดยในการเตรียมแถบทดสอบจะใช้วิธีการเติมสารต่างๆ ลงบนแถบทดสอบ 2 วิธีคือ การหยดสารละลายลงบนขอบกระจกสไลด์แล้วประทับลงบนเมมเบรน และการจ่ายสารละลายด้วยเครื่องดูดจ่ายสารละลายแบบอัตโนมัติ จากการหาภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมแถบทดสอบโดยใช้วิธีการประทับด้วยกระจกสไลด์ในการเติมสารนั้น พบว่า ต้องตรึงเคซีนที่เส้นทดสอบและตรึง IgG-Fc ที่เส้นควบคุมด้วยความเข้มข้น 1 และ 0.25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ โดยมีค่าคัดออก (cut-off value) อยู่ที่ 20 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และพบว่าความเข้มของสีที่ปรากฏบนแถบทดสอบมีความไม่แน่นอน ในการหาภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมแถบทดสอบโดยใช้เครื่องดูดจ่ายสารละลายแบบอัตโนมัติในการเติมสาร พบว่าต้องใช้ เคซีน 0.2 ไมโครกรัม และ IgG-Fc 0.0125 ไมโครกรัม ตามลำดับ และใช้อนุภาคทองระดับนาโนที่ติดกับแอนติบอดีที่ความเข้มข้น 300 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เติมลงบนส่วนแผ่นคอนจูเกต โดยมีค่าคัดออกอยู่ที่ 20 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่าความเข้มของสีที่ปรากฏบนแถบทดสอบมีความแน่นอนมากกว่าวิธีแรก เมื่อนำแถบทดสอบที่เตรียมได้ไปตรวจหาเคซีนจากวัวที่เติมลงในตัวอย่างน้ำนมควาย น้ำนมแพะ และน้ำนมถั่วเหลือง พบว่ามีค่าคัดออกอยู่ที่ 22.5, 9 และ15 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ จากการทดลองทั้งหมดสรุปได้ว่า สามารถนำแถบทดสอบไปใช้ตรวจในตัวอย่าง นมควาย นมแพะ และนมถั่วเหลือง ที่มีการปนเปื้อนเคซีนของนมวัวได้


Cloning And Characterization Of Bacterial Mannanase Isolated From Dynastes Hercules Larvae, Sitipon Leerawatthanakun Jan 2017

Cloning And Characterization Of Bacterial Mannanase Isolated From Dynastes Hercules Larvae, Sitipon Leerawatthanakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bacterial isolate HM7 was isolated from Dynastes hercules larvae excrement. It was identified as Bacillus sp. by 16S rRNA gene analysis. When the bacteria were cultured for β-mannanase production in medium containing konjac flour it had the highest specific activity of 138 U/mg at 36 h, and when cultured in medium containing coconut meal it had the highest specific of 114 U/mg at 48 h. The 1089 base pairs long of a β-mannanase encoding gene (Man26HM7) was successfully cloned and expressed in Escherichia coli BL21 (DE3), using pET21-b expression system. The enzyme was purified and characterized. The optimal condition MAN26HM7catalysis …


Effect Of Stapled Α-Helical Mastermind Like 1 (Sahm1) Peptide Conjugated With Gold Nanoparticles Toward Notch Signaling Pathway In Human Leukemia Jurkat Cell, Chonnicha Subkod Jan 2017

Effect Of Stapled Α-Helical Mastermind Like 1 (Sahm1) Peptide Conjugated With Gold Nanoparticles Toward Notch Signaling Pathway In Human Leukemia Jurkat Cell, Chonnicha Subkod

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Currently, cancer is the top cause of death in Thailand and caused by the growth and spreading of abnormal cells in an uncontrolled manner. For T-cell acute lymphoblastic leukemia (T-ALL), it was found that gene of encoding protein Notch is often mutated. In T-ALL, Notch signaling pathway is hyperactivated resulting in uncontrolled cell division. There are many types of cancer treatment such as surgery and chemotherapy but both approaches have serious side effects. Therefore, development of target drug delivery system is needed. In this study, the objective was to develop specific target drug delivery system by using gold nanoparticle (AuNP) …


Tyrosinase Inhibitors From Sapodilla Plum Manilkara Zapota L., Sutthiduean Chunhakant Jan 2017

Tyrosinase Inhibitors From Sapodilla Plum Manilkara Zapota L., Sutthiduean Chunhakant

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Six different parts of Manilkara zapota which consisted of barks, flowers, fruits, leaves, roots and seeds were investigated for total phenolic content, total flavonoid content, antioxidant and antityrosinase activities. Methanol crude extract of flowers showed the highest total phenolic content (368.73 ± 0.65 mg GAE/g), while methanol crude extracts of seeds and roots showed high total flavonoid content (90.21 ± 0.57 and 89.03 ± 1.00 mg QE/g, respectively). Methanol crude extract of seeds showed the strongest DPPH (IC50 282.05 ± 0.60 μg/mL) and ABTS (IC50 205.11 ± 0.89 μg/mL) radical scavenging activities and showed the highest FRAP value of 296.46 …


Translation, Cross-Cultural Adaptation, And Validation Of The Scored Patient-Generated Subjective Global Assessment (Pg-Sga) As A Nutrition Assessment Tool In Thai Cancer Patients, Nicharach Nitichai Jan 2017

Translation, Cross-Cultural Adaptation, And Validation Of The Scored Patient-Generated Subjective Global Assessment (Pg-Sga) As A Nutrition Assessment Tool In Thai Cancer Patients, Nicharach Nitichai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Scored Patient-Generated Subjective Global Assessment (PG-SGA) is a multidimensional tool to assess malnutrition and risk factors. At present, there is no official Thai translation and cultural adaptation of the PG-SGA available. Health professionals should be able to obtain and utilize valid and reliable tools matched with their own languages and cultures to further produce high quality patient care. The primary objective of this study is to translate and culturally adapt the original PG-SGA for the Thai setting and evaluate perceived comprehensibility, difficulty, content validity and intra-rater reliability of the Thai PG-SGA in cancer patients and healthcare professionals. In addition, …


ฤดูกาลและพื้นที่ในการเกิดโรคของปะการังบริเวณแนวปะการังเขตน้ำตื้นฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน, มัตฑิกา แดงแย้ม Jan 2017

ฤดูกาลและพื้นที่ในการเกิดโรคของปะการังบริเวณแนวปะการังเขตน้ำตื้นฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน, มัตฑิกา แดงแย้ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเสื่อมโทรมของแนวปะการังเกิดขึ้นในหลายบริเวณทั่วโลก โรคปะการังเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งส่งผลทำให้ปะการังอ่อนแอและตายในที่สุด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของฤดูกาลและพื้นที่ต่อการเกิดโรคของปะการังบริเวณแนวปะการังเขตน้ำตื้นฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยการสำรวจโรคปะการัง ใน 2 ฤดูกาล (ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้) จาก 3 พื้นที่ศึกษา (เกาะค้างคาว จังหวัดชลบุรี เกาะแตน จังหวัดสุราษฏร์ธานี และเกาะมุกด์ จังหวัดตรัง) ผลการศึกษาพบการเกิดโรคของปะการังทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ White syndromes (WS) White patch disease (WP) Ulcerative white spot (UWS) Growth Anomalies (GAN) และ Pigmentation response (PR) โดยแนวปะการังบริเวณเกาะแตน พบว่ามีความชุกของโรคปะการังสูงสุด ทั้ง 2 ฤดูกาล ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อีกทั้งยังพบว่าความชุกของโรคปะการังในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้สูงกว่าฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในทุกพื้นที่ศึกษาพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โรค White syndromes (WS) เป็นโรคกลุ่มเด่นที่มีความถี่ของการเกิดโรคปะการังสูงสุด นอกจากนี้ยังพบว่าปะการังโขด Porites lutea เป็นปะการังชนิดเด่นที่เกิดโรคปะการังสูงสุด ทั้ง 3 พื้นที่ จากการศึกษานี้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเกิดโรคปะการัง รวมถึงการติดตามเฝ้าระวังการระบาดและความรุนแรงของโรคปะการังในแนวปะการังเขตน้ำตื้นต่อไป


ผลของ 1-เมทิลไซโคลโพรพีนต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยาและการเสื่อมตามอายุของกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ ที่กลุ่มเรณูได้รับความเสียหาย, ชวิศา สุขพิทักษ์ Jan 2017

ผลของ 1-เมทิลไซโคลโพรพีนต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยาและการเสื่อมตามอายุของกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ ที่กลุ่มเรณูได้รับความเสียหาย, ชวิศา สุขพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเสื่อมตามอายุอย่างรวดเร็วของดอกไม้เนื่องจากเอทิลีนนับเป็นปัญหาหลักในอุตสาหกรรมไม้ตัดดอก นอกจากนี้ การหลุดร่วงของกลุ่มเรณูและฝาปิดในขณะเก็บเกี่ยวหรือบรรจุเพื่อเตรียมขนส่งสู่ตลาดอาจส่งผลให้เกิดบาดแผลในดอกย่อยของกล้วยไม้ได้ การทดลองรม 1-MCP ความเข้มข้น 0.5 µl/l เป็นเวลา 3 ชั่วโมงแก่ดอกกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ พบว่าสามารถยืดอายุการปักแจกันและชะลอการหลุดร่วงของดอกได้ ในขณะที่เอทิลีนกระตุ้นให้เกิดการหลุดร่วงของดอกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การทดลองนำกลุ่มเรณูและฝาปิดออกจากดอก พบว่าชุดการทดลองที่มีการนำกลุ่มเรณูและฝาปิดออกจากดอกมีอายุการปักแจกันที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับชุดควบคุม ในขณะที่การรม 1-MCP แก่ดอกกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์มะลิไวท์ที่กลุ่มเรณูและฝาปิดถูกนำออกไป พบว่าชุดการทดลองที่รม 1-MCP มีอายุการปักแจกันเพิ่มขึ้น และมีเปอร์เซ็นต์การหลุดร่วงของดอกตูมและดอกบานลดลงเมื่อเทียบกับชุดควบคุม แต่ 1-MCP ไม่มีผลต่อการบานเพิ่มของดอกตูม ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา พบว่าชุดการทดลองที่รม 1-MCP มีเปอร์เซ็นต์การรั่วไหลของประจุและกิจกรรมของเอนไซม์ protease และเอนไซม์ lipoxygenase ลดลง อย่างไรก็ตาม 1-MCP ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนสีของกลีบดอกในกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ โดยสารประกอบฟีนอลทั้งหมด กิจกรรมของเอนไซม์ polyphenol oxidase และ phenylalanine ammonialyase ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับชุดที่ไม่ได้รม 1-MCP ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า 1-MCP สามารถชะลอการเสื่อมตามอายุของดอกกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ ได้โดยชะลออาการเสื่อมตามอายุและการสลายตัวของโปรตีนและไขมัน


การระบุโปรตีนที่มีปฏิสัมพันธ์กับเอชพีวีไทป์ 16 อี 7 และบทบาทในการเกิดมะเร็งปากมดลูก, นันท์นภัส วงค์มณี Jan 2017

การระบุโปรตีนที่มีปฏิสัมพันธ์กับเอชพีวีไทป์ 16 อี 7 และบทบาทในการเกิดมะเร็งปากมดลูก, นันท์นภัส วงค์มณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โปรตีน E6 และ E7 ของเชื้อไวรัสเอชพีวีไทป์16 เป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งโปรตีน E6 และ E7 ของไวรัสจะจับกับโปรตีน p53 และ pRb ของโฮสต์ตามลำดับ นอกจากนี้กระบวนการเปลี่ยนแปลงในระดับเหนือพันธุกรรมยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดมะเร็ง แต่กลไกที่ทำให้เกิดยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก ซึ่งการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าการแสดงออกของโปรตีน E7 ของเอชพีวีไทป์ 16 ส่งผลต่อการกระตุ้นการเติมหมู่เมทิลที่ตำแหน่งโพรโมเตอร์ของยีน CCNA1 โดยสร้างคอมเพลกซ์กับเอนไซม์ DNMT1 ดังนั้นจึงได้ตั้งสมมติฐานว่าน่าจะมีโปรตีนชนิดที่เป็นทรานสคริปชันแฟกเตอร์เป็นตัวนำพากลุ่มคอมเพลกซ์นี้มายังบริเวณโพรโมเตอร์ของยีน ในงานวิจัยได้นำวิธีการทางโปรติโอมิกส์มาใช้ในการตรวจระบุโปรตีน โดยการใช้โปรตีน E7 เป็นตัวล่อ (bait) จากนั้นนำโปรตีนที่ติดตามมาด้วยกันไปตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางแมสสเปกโตรเมทรี ซึ่งพบทรานสคริปชันแฟกเตอร์ YY1 ในขณะเดียวกันทรานสคริปชันแฟกเตอร์ TFAP2A ถูกพบจากการทำนายด้วยชีวสารสนเทศซึ่งใช้ยีน CCNA1 เป็นต้นแบบของยีนเป้าหมาย เมื่อทดสอบการจับกันระหว่างโปรตีนทั้งสามชนิดพบว่า โปรตีน E7 ของเอชพีวีไทป์ 16 มีอันตรกิริยากับโปรตีน TFAP2A และโปรตีน TFAP2A มีอันตรกิริยากับโปรตีน YY1 นอกจากนั้นยังตรวจพบว่ายีน FOXC1 และ VEGFA มีการลดการแสดงออกเมื่อมียีน E7 ของเชื้อเอชพีวีเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่พบการเกิดเมทิลเลชันที่บริเวณโพรโมเตอร์ที่ยีน FOXC1 เพียงยีนเดียว มากไปกว่านั้นเมื่อทำการตรวจยืนยันการจับกันระหว่างโปรตีน E7 ของเอชพีวีไทป์ 16 โปรตีน YY1 และโปรตีน TFAP2 กับดีเอ็นเอบริเวณโพรโมเตอร์ของยีนทั้งสองด้วยวิธี Chromatin immunoprecipitation พบว่ามีเพียงยีน FOXC1 ที่สามารถจับได้กับโปรตีนทั้งสามชนิด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ยีน FOXC1 ถูกชักนำให้เกิดการเมทิลเลชันแล้วส่งผลให้เกิดการลดการแสดงออกเช่นเดียวกับยีน CCNA1


การยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินของ Aspergillus Flavus ในไซเลจข้าวโพดโดยใช้ยีสต์และแล็กติกแอซิดแบคทีเรียปฏิปักษ์, ทรรศภรณ์ รุ่งชัยวัฒนกุล Jan 2017

การยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินของ Aspergillus Flavus ในไซเลจข้าวโพดโดยใช้ยีสต์และแล็กติกแอซิดแบคทีเรียปฏิปักษ์, ทรรศภรณ์ รุ่งชัยวัฒนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาความสามารถของยีสต์และแล็กติกแอซิดแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินรวมของ Aspergillus flavus บนจานอาหารเลี้ยงเชื้อและในไซเลจข้าวโพด และเพื่อหาปริมาณความเข้มข้นและอัตราส่วนของแล็กติกแอซิดแบคทีเรียและยีสต์ผสมที่ให้ผลการยับยั้งสูงสุดในไซเลจข้าวโพด โดยเริ่มจากการทดสอบประสิทธิภาพของยีสต์ (Wickerhamomyces anomalus MSCU 0652 และ Kluyveromyces marxianus MSCU 0655) และแล็กติกแอซิดแบคทีเรีย (Lactobacillus casei AN2 และ Lactobacillus paracasei AN3) ในการยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินของ A. flavus บนอาหารเลี้ยงเชื้อ พบว่า จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่ใช้ทดสอบทั้งหมดให้ผลการยับยั้งการเจริญของราค่อนข้างต่ำ (10-20 เปอร์เซ็นต์) อย่างไรก็ตาม ยีสต์ผสมระหว่าง W. anomalus MSCU 0652 และ K. marxianus MSCU 0655 และ L. paracasei AN3 แบบเดี่ยวมีประสิทธิภาพในการลดการผลิตอะฟลาทอกซินรวมสูงสุด (43.25 และ 35.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) ดังนั้น จึงนำยีสต์ผสมและ L. paracasei AN3 มาทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินรวมของ A. flavus ในไซเลจข้าวโพดปลอดเชื้อและไซเลจข้าวโพดร่วมกับจุลินทรีย์ประจำถิ่น พบว่า การใช้ L. paracasei AN3 ร่วมกับยีสต์ผสมระหว่าง W. anomalus MSCU 0652 และ K. marxianus MSCU 0655 สามารถยับยั้งการเจริญและลดปริมาณอะฟลาทอกซินรวมของราได้ดีทั้งในไซเลจข้าวโพดปลอดเชื้อและไซเลจข้าวโพดที่หมักร่วมกับจุลินทรีย์ประจำถิ่น จากนั้น เมื่อทดสอบความเข้มข้นและอัตราส่วนของ L. paracasei AN3 ร่วมกับยีสต์ผสมระหว่าง W. anomalus MSCU 0652 และ K. marxianus MSCU 0655 ที่เหมาะสม พบว่า การเติม L. paracasei AN3 ที่ความเข้มข้นมากกว่ายีสต์ผสม (10⁸:10⁶) …


Stability And Bioactivities Of Mesona Chiensis Benth Extract Microbeads Under Simulated Gastrointestinal Digestion, Chonnipa Wongverawattanakul Jan 2017

Stability And Bioactivities Of Mesona Chiensis Benth Extract Microbeads Under Simulated Gastrointestinal Digestion, Chonnipa Wongverawattanakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Alginate-calcium microencapsulation of Mesona chinensis extract (MCE) was conducted in this study. Firstly, the MCE was encapsulated by using calcium chloride (3 and 5% w/v) and sodium alginate (1.5 and 1.8% w/v) to form MC microbeads (MCB). The MCB with condition of 1.5% w/v sodium alginate, 3% w/v calcium chloride and 75% w/v MCE demonstrated the highest %encapsulation efficiency and suitable spherical shape among other conditions. According to Fourier-transform infrared spectroscopy (FT-IR), there was no strong chemical interaction between alginate and MCE. After simulated digestion, the total phenolic content (TPC) and antioxidant activity measured by ferric reducing antioxidant power (FRAP) …


Carotenoids And Metabolism Of The Green Microalga Chlorococcum Sp. 8367re Under Stress Conditions, Kantima Janchot Jan 2017

Carotenoids And Metabolism Of The Green Microalga Chlorococcum Sp. 8367re Under Stress Conditions, Kantima Janchot

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Green microalgae are one of the natural resources for productions of various and beneficial bioactive compounds, such as UV-screening compounds and carotenoids. This study focuses on the changes of carotenoids and metabolisms in the green microalga Chlorococcum sp. 8367RE under stress conditions. The results showed that stresses by salt, light, drought, and nitrogen starvation affected on alterations of morphological characteristics. Interestingly, size of cells culturing under salt stresses dramatically increased. It should be noted that KCl stress caused the enlargement of cell sizes approximately 5 folds. Carotenoids were identified and quantified by using ultra-high performance liquid chromatography (UHPLC) and mass …


Functional Characterization Of Natural Sunscreen Compound Mycosporine-2-Glycine From Extremophilic Cyanobacterium Halothece Sp. Pcc 7418 In Macrophage Cell Line And Fresh Water Cyanobacterium, Supamate Tarasuntisuk Jan 2017

Functional Characterization Of Natural Sunscreen Compound Mycosporine-2-Glycine From Extremophilic Cyanobacterium Halothece Sp. Pcc 7418 In Macrophage Cell Line And Fresh Water Cyanobacterium, Supamate Tarasuntisuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Mycosporine-2-glycine (M2G) is a rare UV-screening compound in a group of mycosporine-like amino acids (MAAs). This molecule is found in only two cyanobacteria; Euhalothece sp. LK-1 and Aphanothece halophytica (Halothece sp. PCC 7418). The structure of M2G composed of 4-deoxygadusol as a core structure, attached by 2 molecules of glycine at C1 and C3 positions. M2G has a maximal adsorption at 331 nm and a better antioxidative activity than other MAAs. Thus, it is interesting in determination of other activities for further cosmeceutical and pharmaceutical applications. In this study, a high purity M2G was successfully extracted and purified from Halothece …


Nutritional Effects On Morphological Characteristics And Male-Male Competition Of Stag Beetle Aegus Chelifer Chelifer Macleay, 1819, Nut Songvorawit Jan 2017

Nutritional Effects On Morphological Characteristics And Male-Male Competition Of Stag Beetle Aegus Chelifer Chelifer Macleay, 1819, Nut Songvorawit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Stag beetles have great intraspecific variation in their bodies and weapon sizes, which are strongly influenced by the environment during the larval stage. However, the impacts of environmental factors affect on such variation and the links between environmental factors, morphological characteristics and behaviours are still unclear. This study first surveyed stag beetles discovered in natural habitat of a dry-evergreen forest in Chanthaburi province, Thailand, to roughly examine possible factors relating to growth of stag beetles. The occurrence and numbers of stag beetle larvae found in logs were high in those of a moderate decay class with relatively high nitrogen content …


การผลิตบีตากลูแคนจากยีสต์ดำ Aureobasidium Thailandense และการประยุกต์เป็นส่วนผสมของเยลลีพรีไบโอติก, นันทัชพร ก่าหยั่นนะ Jan 2017

การผลิตบีตากลูแคนจากยีสต์ดำ Aureobasidium Thailandense และการประยุกต์เป็นส่วนผสมของเยลลีพรีไบโอติก, นันทัชพร ก่าหยั่นนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อหาภาวะที่เหมาะสมในการผลิตบีตากลูแคนจาก Aureobasidium thailandense NRRL 58543 และศึกษาผลกระทบของน้ำหนักโมเลกุลบีตากลูแคนต่อคุณสมบัติพรีไบโอติก และประยุกต์ใช้ในการผลิตเยลลี ปริมาณการผลิตบีตากลูแคนสูงสุด (37.73±0.15 กรัมต่อลิตร) กับความขาวที่ยอมรับได้ (ดัชนีความขาว ≥ 48) ได้รับหลังจากที่เลี้ยง A. thailandense NRRL 58543 ในอาหารสูตร production medium โดยมีโซเดียมไนเตรท ร้อยละ 0.06 (โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) เป็นแหล่งไนโตรเจน เสริมด้วยน้ำมันดอกทานตะวันร้อยละ 8.17 (โดยปริมาตรต่อปริมาตร) มีค่า pH เริ่มต้น 6.5 ภายใต้สภาวะการเขย่าที่ 150 รอบต่อนาที อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 วัน บีตากลูแคนที่ได้ถูกนำมาย่อยด้วยเอนไซม์บีตากลูแคนเนสทางการค้า ได้เป็นบีตากลูแคนไฮโดรไลเซทซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคสและโอลิโกแซ็กคาไรด์ มีน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ย 77,720 ดาลตัน ผลได้ของการย่อยบีตากลูแคนไฮโดรไลเซทด้วยน้ำย่อยเทียมเป็นเวลา 4 ชั่วโมง คือร้อยละ 26.51 ขณะที่บีตากลูแคนดั้งเดิมทนต่อการย่อยได้ นอกจากนั้นยังพบว่าบีตากลูแคนดั้งเดิมที่ 2 มิลลิกรัม คาร์บอน/มิลลิลิตร สามารถกระตุ้นการเติบโตของ Lactobacillus casei และ L. brevis ได้มากกว่า 1.8 เท่า เมื่อเทียบกับบีตากลูแคนไฮโดรไลเซท ภายหลังจากที่บ่มเป็นเวลา 48 ชั่วโมง บีตากลูแคนดั้งเดิมถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำหรับการผลิตเยลลี เมื่อนำบีตากลูแคนดั้งเดิมที่ความเข้มข้นสูงสุดร้อยละ 0.5 (โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) ผสมร่วมกับเยลลี พบว่าเป็นที่ยอมรับทางประสาทสัมผัสที่ประกอบด้วย สี ความยืดหยุ่น ความเหนียว และความชอบโดยรวม จากผู้บริโภคจำนวน 30 คน เยลลีพรีไบโอติกที่ผลิตได้นี้สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้นาน 7 วัน


การคัดกรองและลักษณะสมบัติของไลเพสจากแบคทีเรียชอบเค็มปานกลาง, ศุภฤกษ์ เยี่ยมสมบัติ Jan 2017

การคัดกรองและลักษณะสมบัติของไลเพสจากแบคทีเรียชอบเค็มปานกลาง, ศุภฤกษ์ เยี่ยมสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการคัดแยกแบคทีเรียชอบเค็มปานกลางจำนวนทั้งหมด 77 สายพันธุ์ จากตัวอย่างกะปิทั้งหมด 8 ตัวอย่าง ที่เก็บจากตลาดสดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร จากการคัดกรองสร้างเอนไซม์ไลเพสบนอาหารแข็งที่มีสับเสตรทเป็น Tween 20, 40, 60, 80 และ tributyrin พบว่ามีแบคทีเรียจำนวน 61 สายพันธุ์สามารถผลิตเอนไซม์ไลเพสได้ และมีแบคทีเรียจำนวน 23 สายพันธุ์ สามารถผลิตเอนไซม์ไลเพสได้เมื่อนำมาคัดกรองการผลิตเอนไซม์ไลเพสในอาหารเหลวที่มีสับเสตรทเป็น p-Nitrophenyl butyrate (p-NPB) จึงได้คัดเลือกตัวแทนแบคทีเรียชอบเค็มปานกลางที่มีแอกทิวิตีการผลิตเอนไซม์ไลเพสจำนวน 12 ไอโซเลท และไอโซเลทที่ไม่มีแอกทิวิตีจำนวน 26 ไอโซเลท ในอาหารเหลวมาศึกษาลักษณะทางฟีโนไทป์และวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16S rRNA พบว่าสามารถจัดกลุ่มแบคทีเรียตัวแทนที่ย้อมติดสีแกรมบวกทั้งหมด 38 ไอโซเลทได้เป็นทั้งหมด 9 สกุล ได้แก่ สกุล Oceanobaillus (2 สายพันธุ์), Virgibacillus (2 สายพันธุ์), Halobacillus (2 สายพันธุ์), Thalassobacillus (2 สายพันธุ์), Bacillus (5 สายพันธุ์), Staphylococcus (9 สายพันธุ์), Salinicoccus (12 สายพันธุ์), Nesterenkonia (2 สายพันธุ์) และ Allobacillus (2 สายพันธุ์) จากการศึกษาลักษณะอนุกรมวิธานแบบโพลีฟาสิกของ Allobacillus sp. 2 สายพันธุ์ ได้แก่ SKP4-8 และ SKP8-2 จัดเป็นแบคทีเรียสปีชีส์ใหม่ ซึ่งมีผลการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณยีน 16S rRNA ของสายพันธุ์ SKP4-8 และ SKP8-2 ใกล้เคียงกับสายพันธุ์ Allobacillus halotolerans B3AT เป็น 99.14 และ 98.80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และทั้ง 2 สายพันธุ์ …


ผลของวัตถุเจือปนประเภทคาร์โบไฮเดรตต่อสมบัติของเพสต์และเจลสตาร์ชข้าว, ไชยพรรณ ธาราสุข Jan 2017

ผลของวัตถุเจือปนประเภทคาร์โบไฮเดรตต่อสมบัติของเพสต์และเจลสตาร์ชข้าว, ไชยพรรณ ธาราสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัตถุเจือปนประเภทคาร์โบไฮเดรตต่อสมบัติของเพสต์และเจลสตาร์ชข้าวเจ้า วัตถุเจือปนที่ใช้ในงานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้แก่ น้ำตาลและน้ำตาลแอลกอฮอล์ (กลูโคส ฟรุกโทส และซอร์บิทอล) และกลุ่มที่สองได้แก่ ออลิโกแซ็กคาไรด์และพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีสมบัติเป็นพรีไบโอติก (พอลิเด็กซ์โทรส ฟรุกโทออลิโกแซ็กคาไรด์ และอินูลิน) โดยเติมวัตถุเจือปนในปริมาณ 5, 10, 20, และ 30% โดยน้ำหนักของสตาร์ช จากการติดตามพฤติกรรมการเกิดเพสต์ของสตาร์ชข้าวพบว่าเมื่อความเข้มข้นของน้ำตาลหรือน้ำตาลแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น อุณหภูมิการเกิดเพสต์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ความหนืดสูงสุดมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ความหนืดเบรกดาวน์และความหนืดเซ็ตแบ็กก็มีแนวโน้มลดลงด้วย ในด้านสมบัติทางความร้อนพบว่าอุณหภูมิและเอนทาลปีของการเกิดเจลาทิไนเซชันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามความเข้มข้นของน้ำตาลหรือน้ำตาลแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้น โดยกลูโคสและซอร์บิทอลทำให้อุณหภูมิและเอนทาลปีของการเกิดเจลาทิไนเซชันของสตาร์ชข้าวเพิ่มขึ้นได้สูงสุด ในแง่การเกิดรีโทรเกรเดชัน พบว่าเอนทาลปีของการหลอมผลึกแอมิโลเพกทินของตัวอย่างที่เติมกลูโคสและซอร์บิทอลมีค่าต่ำกว่าตัวอย่างที่เติมฟรุกโทสที่ความเข้มข้นเท่ากัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากลูโคสและซอร์บิทอลมีประสิทธิภาพในการชะลอการเกิดรีโทรเกรเดชันได้ดีกว่าฟรุกโทส นอกจากนี้จากการติดตามการเปลี่ยนแปลงของปริมาณของส่วนเสมือนของแข็งพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้นในทุกตัวอย่าง โดยตัวอย่างควบคุมมีอัตราการเพิ่มขึ้นของส่วนเสมือนของแข็งสูงกว่าเจลสตาร์ชที่เติมน้ำตาลและน้ำตาลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 14 วันแรกของการเก็บรักษา ในแง่ความสามารถในการเคลื่อนที่ของน้ำในเจลสตาร์ชพบว่ามีแนวโน้มลดลงเมื่อระยะเวลาการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลมาจากน้ำถูกจับไว้โดยองค์ประกอบอื่นภายในระบบ เช่น การเกิดไฮเดรชันกับผลึกสตาร์ช โดยตัวอย่างควบคุมมีการลดลงของ 1H NMR T1 และ T2 สูงที่สุด สำหรับผลของการเติมพรีไบโอติกพบว่าการเติมพรีไบโอติกมีผลสำคัญต่อพฤติกรรมการเกิดเพสต์ของสตาร์ชข้าว โดยเมื่อความเข้มข้นของพรีไบโอติกเพิ่มสูงขึ้น อุณหภูมิการเกิดเพสต์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ความหนืดสูงสุดมีแนวโน้มลดลง เมื่อเปรียบเทียบที่ความเข้มข้นเท่ากัน ความหนืดสูงสุดของตัวอย่างที่เติมอินูลินมีค่าสูงกว่าตัวอย่างที่เติม พอลิเด็กซ์โทรสหรือฟรุกโทออลิโกแซ็กคาไรด์ เมื่อความเข้มข้นของพรีไบโอติกเพิ่มขึ้นพบว่าความหนืดเบรกดาวน์และความหนืดเซ็ตแบ็กมีแนวโน้มลดลง สำหรับสมบัติทางความร้อนพบว่าอุณหภูมิของการเกิดเจลาทิไนเซชันเพิ่มสูงขึ้นตามความเข้มข้นของพรีไบโอติกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่เอนทาลปีในการเกิดเจลาทิไนเซชันลดลงเล็กน้อย การเติมพรีไบโอติกสามารถชะลอการเกิดรีโทรเกรเดชันของสตาร์ชข้าว โดยตัวอย่างที่เติมอินูลินมีเอนทาลปีของการหลอมผลึกแอมิโลเพกทินต่ำกว่าตัวอย่างที่เติมพอลิเด็กซ์โทรสและฟรุกโทออลิโกแซ็กคาไรด์ที่ความเข้มข้นเท่ากัน ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณส่วนเสมือนของแข็ง ที่พบว่าเจลสตาร์ชที่เติมพรีไบโอติกมีการเพิ่มขึ้นของส่วนเสมือนของแข็งในอัตราที่ต่ำกว่าตัวอย่างควบคุม ในด้านความสามารถในการเคลื่อนที่ของน้ำ การเติมพรีไบโอติกทำให้ 1H NMR T1 และ T2 ลดลงในอัตราที่ช้ากว่าเมื่อเทียบกับตัวอย่างควบคุม โดยสรุปพบว่าวัตถุเจือปนคาร์โบไฮเดรตที่ใช้ในงานวิจัยนี้ทำให้สตาร์ชเกิดเจลาทิไนเซชันได้ยากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้สตาร์ชแกรนูลทนทานต่อความร้อนและแรงเฉือนมากขึ้น รวมทั้งช่วยชะลอการเกิดรีโทรเกรเดชัน


การใช้สารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรแดง Hylocereus Polyrhizus ร่วมกับโซเดียมแลกเทตเพื่อการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคและการยืดอายุการเก็บรักษาคัสตาร์ดครีม, ทรงพร คำคม Jan 2017

การใช้สารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรแดง Hylocereus Polyrhizus ร่วมกับโซเดียมแลกเทตเพื่อการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคและการยืดอายุการเก็บรักษาคัสตาร์ดครีม, ทรงพร คำคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้สารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรแดงส่วน mesocarp ร่วมกับโซเดียมแลกเทตในการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคและลดการเสื่อมเสียของคัสตาร์ดครีม โดยหาอัตราส่วนตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัด ศึกษาสมบัติการต้านจุลินทรีย์ของสารสกัดที่ได้และของโซเดียมแลกเทต ประเมินการเสริมฤทธิ์ของสารผสม และประยุกต์ใช้เป็นสารต้านจุลินทรีย์ในคัสตาร์ดครีม วัดปริมาณเบต้าไซยานิน สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และองค์ประกอบทางเคมีในสารสกัดด้วยวิธี HPLC วัดสมบัติการต้านจุลินทรีย์ด้วยวิธี agar well diffusion วิเคราะห์ค่า minimum inhibitory concentrations (MIC) และ minimum bactericidal concentration (MBC) วิเคราะห์ค่าทางเคมี กายภาพและการเจริญของเชื้อผสม (culture cocktail) ที่เติมลงในคัสตาร์ดครีม จากการศึกษาพบว่าการใช้เอทานอลผสมกับน้ำที่อัตราส่วน 50:50 (v/v) ในการสกัดให้ปริมาณเบต้าไซยานินและสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุด เท่ากับ 53.80±1.15 mg/ 100 g dry wt. และ 387.67±26.74 mgGAE/ 100 g dry wt. ตามลำดับ สารสกัดที่ได้ประกอบด้วย betacyanin, gallic acid, caffeic acid, ferulic acid, rutin และ pyrogallol มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ก่อโรคมาตรฐาน ได้แก่ Staphylococcus aureus, Bacillus cereus, Salmonella Typhimurium และ Escherichia coli มีค่าเฉลี่ยของเส้นผ่าศูนย์กลางของฤทธิ์ยับยั้ง (clear zone) อยู่ในช่วง 2.08±0.10-21.06±0.14 mm และมีค่า MIC และ MBC อยู่ในช่วง 7.81-15.63 mg/mL และ 15.63-250 mg/mL ตามลำดับ ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของโซเดียมแลกเทต มีค่า MIC และ MBC อยู่ในช่วง 1.88-7.5% และ 7.5- มากกว่า 30% ตามลำดับ …


ผลของควิโนนและการบ่มด้วยความร้อนต่อสมบัติของฟิล์มเจลาติน, ภารวี กุศลินกุล Jan 2017

ผลของควิโนนและการบ่มด้วยความร้อนต่อสมบัติของฟิล์มเจลาติน, ภารวี กุศลินกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของควิโนนต่อสมบัติของฟิล์มเจลาติน และศึกษาผลของการบ่มสารละลายฟิล์มและการบ่มแผ่นฟิล์มด้วยความร้อนต่อสมบัติของฟิล์มเจลาตินที่เติมควิโนน ในขั้นตอนแรกของงานวิจัยเป็นการศึกษาผลของชนิดและความเข้มข้นของควิโนนต่อสมบัติของฟิล์มเจลาติน แปรชนิดของควิโนนเป็น 2 ชนิด คือ ไฮโดรควิโนน และพารา-เบนโซควิโนน และแปรความเข้มข้นของควิโนนเป็น 4 ระดับ (0.5, 1.0, 1.5 และ 3.0% โดยน้ำหนักของเจลาติน) พบว่าเมื่อความเข้มข้นของควิโนนเพิ่มขึ้นในช่วง 0.5-1.5% ฟิล์มเจลาตินมีความต้านทานแรงดึงขาดและการยืดตัวถึงจุดขาดเพิ่มสูงขึ้น แต่เมื่อความเข้มข้นของควิโนนเพิ่มเป็น 3.0% ฟิล์มเจลาตินกลับมีความต้านทานแรงดึงขาดและการยืดตัวถึงจุดขาดลดต่ำลง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างชนิดของควิโนนพบว่าพารา-เบนโซควิโนนมีความสามารถในการปรับปรุงสมบัติเชิงกลของฟิล์มเจลาตินสูงกว่าไฮโดรควิโนน นอกจากนี้ยังพบว่าการเติมควิโนนมีผลสำคัญต่อสมบัติเชิงแสงของฟิล์มเจลาติน โดยฟิล์มที่เติมควิโนนมีค่า L* ลดลงในขณะที่ a* และ b* มีค่าเพิ่มขึ้น การเติมควิโนนส่งผลให้มุมสีมีค่าลดต่ำลงจนเข้าใกล้มุมสีของสีแดง นอกจากนี้ยังมีผลให้ความเข้มสีสูงขึ้นและความโปร่งใสลดลงเมื่อเทียบกับตัวอย่างควบคุมที่ไม่เติมควิโนน นอกจากนี้การเติมควิโนนยังทำให้สภาพให้ซึมผ่านของไอน้ำและความสามารถในการละลายน้ำของฟิล์มเจลาตินมีค่าลดลง ในขณะที่มุมสัมผัสระหว่างหยดน้ำกับผิวฟิล์มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นซึ่งแสดงให้เห็นว่าผิวฟิล์มมีสมบัติไม่ชอบน้ำมากขึ้น การติดตามพฤติกรรมการดูดความชื้นที่อุณหภูมิคงที่ 25ºC ของฟิล์มที่เติมไฮโดรควิโนนและพารา-เบนโซควิโนนเข้มข้น 1.5% พบว่าตัวอย่างฟิล์มมีเส้นพฤติกรรมการดูดความชื้นชนิด type II และวอเตอร์แอกทิวิตีที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลต่อสมบัติเชิงกลของฟิล์มอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) การวิเคราะห์รูปแบบของแถบโปรตีนด้วยวิธี SDS-PAGE ยืนยันการเกิดการเชื่อมข้ามของโปรตีนในตัวอย่างที่เติมควิโนน นอกจากนี้จากการติดตามโดยเทคนิคทางฟูเรียร์แทรนสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปียังยืนยันการเกิดพันธะโควาเลนต์ C-N ในขั้นตอนที่สองของงานวิจัยเป็นการศึกษาผลของการบ่มสารละลายฟิล์มด้วยความร้อนต่อสมบัติของฟิล์มเจลาตินที่เติมไฮโดรควิโนนและพารา-เบนโซควิโนนเข้มข้น 1.5% แปรอุณหภูมิการบ่มเป็น 3 ระดับ (45, 55 และ 65ºC) และระยะเวลาการบ่มเป็น 3 ระดับ (10, 20 และ 30 นาที) โดยทั่วไปพบว่าการบ่มสารละลายฟิล์มทำให้ฟิล์มที่ได้มีความต้านทานแรงดึงขาดเพิ่มสูงขึ้นและมีการยืดตัวถึงจุดขาดลดต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างควบคุมซึ่งเป็นฟิล์มที่เติมควิโนนชนิดเดียวกันแต่ไม่มีขั้นตอนการบ่มสารละลายฟิล์ม นอกจากนี้ยังพบว่าการบ่มสารละลายฟิล์มทำให้ฟิล์มที่ได้มีความสว่างและความโปร่งใสลดลงและมีความเข้มสีเพิ่มขึ้น การบ่มสารละลายฟิล์มด้วยภาวะที่ไม่รุนแรงไม่มีผลสำคัญต่อสภาพให้ซึมผ่านได้ของไอน้ำ ในขณะที่การบ่มที่ภาวะรุนแรง (ได้แก่ อุณหภูมิสูง และ/หรือ ระยะเวลายาวนาน) ทำให้สภาพให้ซึมผ่านได้ของไอน้ำและมุมสัมผัสระหว่างหยดน้ำกับผิวฟิล์มมีค่าลดต่ำลง นอกจากนี้ยังพบว่าฟิล์มที่ผลิตโดยมีขั้นตอนการบ่มสารละลายฟิล์มมีความสามารถในการละลายน้ำลดต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างควบคุม การเกิดพันธะไดซัลไฟด์ยืนยันได้จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิครามานสเปกโทรสโกปี โดยพบพีคในช่วงรามานชิฟท์ที่เกี่ยวข้องกับการยืดของพันธะ S-S ในขั้นตอนที่สามของงานวิจัยเป็นการศึกษาผลของการบ่มแผ่นฟิล์มด้วยความร้อนต่อสมบัติของฟิล์มเจลาตินที่เติมไฮโดรควิโนนและพารา-เบนโซ ควิโนนเข้มข้น 1.5% แปรอุณหภูมิการบ่มเป็น 3 ระดับ (45, 55 และ 65ºC) และระยะเวลาการบ่มเป็น 3 ระดับ (60, 180 และ 300 นาที) พบการเปลี่ยนแปลงในทำนองเดียวกันกับการบ่มสารละลายฟิล์มด้วยความร้อน …


การเปรียบเทียบโพรไฟล์ทางชีวโมเลกุลของน้ำนมดิบที่ได้จากแม่โคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการและไม่แสดงอาการโดยใช้เทคโนโลยีเมตาโบโลมิกส์, มยุรี เหลืองวิลัย Jan 2017

การเปรียบเทียบโพรไฟล์ทางชีวโมเลกุลของน้ำนมดิบที่ได้จากแม่โคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการและไม่แสดงอาการโดยใช้เทคโนโลยีเมตาโบโลมิกส์, มยุรี เหลืองวิลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคเต้านมอักเสบ (mastitis) เป็นปัญหาที่สำคัญในอุตสาหกรรมการเลี้ยงโคนม เนื่องจากส่งผลโดยตรงต่อสุขภาวะเต้านมของแม่โคทำให้คุณภาพและปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตได้ลดลง เมื่อพิจารณาลักษณะทางพยาธิวิทยาสามารถแบ่งโรคเต้านมอักเสบได้เป็น 2 ลักษณะคือ แบบแสดงอาการ (clinical) และแบบไม่แสดงอาการ (subclinical) โดยพบว่าการเกิดโรคเต้านมอักเสบส่งผลให้องค์ประกอบหลักทางเคมีในน้ำนมดิบหลายชนิดเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เทคโนโลยีเมตาโบโลมิกส์ (metabolomics) นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อวิเคราะห์สารชีวโมเลกุลขนาดเล็ก (metabolite) ที่เป็นองค์ประกอบย่อยในน้ำนมดิบได้ ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ใช้เทคโนโลยีเมตาโบโลมิกส์เพื่อศึกษาโพรไฟล์ทางชีวโมเลกุลของน้ำนมดิบในประเทศไทย ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลโพรไฟล์สารเมตาบอไลต์ชนิดระเหยยาก (non-volatile metabolite profile) ของน้ำนมดิบที่ได้จากแม่โคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบทั้งแบบที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการกับแม่โคที่มีสุขภาวะปกติ รวมทั้งวิเคราะห์ระบุชนิดและปริมาณสัมพันธ์ของสารเมตาบอไลต์ที่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ต่อลักษณะทางพยาธิวิทยาดังกล่าว โดยใช้เทคนิค proton nuclear magnetic resonance (1H-NMR) ความถี่สูง (500 MHz.) ในงานวิจัยนี้สามารถวิเคราะห์ระบุชนิดของสารเมตาบอไลต์ในน้ำนมดิบได้ทั้งหมด 46 สาร ผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (principal component analysis) และการวิเคราะห์แบบจัดกลุ่ม (cluster analysis) แสดงให้เห็นว่าข้อมูลโพรไฟล์สารเมตาบอไลต์ในน้ำนมดิบทั้ง 3 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทางสถิติ โดยสามารถใช้ปริมาณสัมพันธ์ของ acetoacetate, phenylalanine, threonine, isoleucine, leucine, hippurate, lactate, fumarate และ N-acetylglucosamine เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างน้ำนมดิบที่ได้จากแม่โคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการและไม่แสดงอาการออกจากน้ำนมดิบที่ได้จากแม่โคที่มีสุขภาวะปกติได้ ผลการวิจัยดังกล่าวสรุปได้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูลโพรไฟล์สารเมตาบอไลต์ในน้ำนมดิบด้วย 1H-NMR ร่วมกับการประมวลผลทางเคโมเมตริกซ์ (chemometrics) สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อระบุอัตลักษณ์ทางชีวโมเลกุลของน้ำนมดิบสัมพันธ์กับลักษณะทางพยาธิวิทยาของโรคเต้านมอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Bioactive Compounds From Songkhla Province Mangrove-Derived Endophytic Fungi And From Heart-Leaved Moonseed Tinospora Baenzigeri Forman, Sujitra Hanthanong Jan 2017

Bioactive Compounds From Songkhla Province Mangrove-Derived Endophytic Fungi And From Heart-Leaved Moonseed Tinospora Baenzigeri Forman, Sujitra Hanthanong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study has evaluated biological activities of isolated compounds from Tinospora baenzigeri stems collecting from two different areas, and from mangrove-derived endophytic fungi isolated from trees inhabiting in Songkhla province. Four new rearranged clerodane-type diterpenes (66-69), one new glycoside (70), and six known compounds (61, 71-75), were extracted from plant obtained from local market in Bangkok. Twelve compounds including a new rearranged clerodane-type diterpene (76), a new rearranged clerodane glycoside (77), five known compounds (44, 78-81), and five compounds counting 61, 66, 70 and 74-75 were obtained from plant collected in Bueng Kan Province. Structures of new compounds 66-69 and …


Increasing Viability Of Probiotic Bacteria Co-Encapsulated With Prebiotic For Disease Resistance In White Shrimp Litopenaeus Vannamei, Suppharada Jantarathin Jan 2017

Increasing Viability Of Probiotic Bacteria Co-Encapsulated With Prebiotic For Disease Resistance In White Shrimp Litopenaeus Vannamei, Suppharada Jantarathin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The main problem of probiotics is the low survival of these microorganisms in food products and sensitive to harsh conditions during food processing, storage and in the gastrointestinal tract. The suitable technology for protecting probiotics to maintain the high number of probiotic cells in product and survived within the host which is microencapsulation technique. The aim of this work was to investigate the effect of prebiotic which is inulin or Jerusalem artichoke on the survival of encapsulated Lactobacillus acidophilus TISTR 1338 within alginate matrix and double-coated with chitosan after freeze-drying process and heat processing at 70°C for 60 min. Furthermore, …


The Effects Of Trehalose On Osmotic Tolerance, Membrane Integrity And Quality Of Equine Sperm During Cold Storage And Cryopreservation, Dissaya Srinutiyakorn Jan 2017

The Effects Of Trehalose On Osmotic Tolerance, Membrane Integrity And Quality Of Equine Sperm During Cold Storage And Cryopreservation, Dissaya Srinutiyakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to investigate the protective effects of trehalose on osmotic tolerance and the quality of equine sperm before and after freezing and thawing. Equine ejaculated semen was collected from six stallions (3 ejaculates per stallion; >50% motility and >70% normal morphology). In the present study, the osmotic tolerance limit of equine sperm to osmotic changes was firstly verified, and followed with the protective effects of trehalose on osmotic tolerance of equine sperm. In the study, sperm was exposed to Tyrode's albumin lactate pyruvate (TALP) medium at different osmolalities: isosmolality (300 mOsm/kg; control) and anisosmolality (150, 450, 600 and …


Effects Of Cytokine-Induced Killer Cells On Concanavalin-A Induced Hepatitis In Mouse, Warakorn Srisantisuk Jan 2017

Effects Of Cytokine-Induced Killer Cells On Concanavalin-A Induced Hepatitis In Mouse, Warakorn Srisantisuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Autoimmune hepatitis (AIH) is a chronic inflammatory disease of liver that the pathogenic mechanisms of AIH have not yet been clarified. All patients with AIH lead to cirrhosis and liver cancer. Presently the best feasible medicines of AIH need aid immunosuppressive medications and liver transplantation which have many side effects, high cost and sustained remission. Thus, immunotherapy is an alternative therapy in which cellular material is injected into a patient. Many previous studies showed cytokine induced killer (CIK) cells, T lymphocytes that have a phenotype of NK cells, have a potential to against several diseases associated with liver. The current …


คอมพิวเตอร์วิทัศน์เพื่อการจำแนกขนาดไก่ก่อนการนำอวัยวะภายในออก, บุญยเกียรติ ฉายเทพประสิทธิ์ Jan 2017

คอมพิวเตอร์วิทัศน์เพื่อการจำแนกขนาดไก่ก่อนการนำอวัยวะภายในออก, บุญยเกียรติ ฉายเทพประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสม่ำเสมอของขนาดซากไก่เป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดปัญหาไก่ไส้แตก ซึ่งปัญหานี้มักพบในขั้นตอนการนำเอาอวัยวะภายในออก เมื่อเกิดปัญหาไก่ไส้แตกพนักงานในโรงงานผลิตไก่ต้องเสียเวลาทำความสะอาด และเสียเวลา จึงทำให้ต้นทุนการผลิตเนื้อไก่สูงขึ้น โดยปรกติขนาดของซากไก่ถูกควบคุม ด้วยน้ำหนักและอายุของไก่ แต่ในความเป็นจริง ขนาดไก่ มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักและอายุ เพียงเล็กน้อย งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการตรวจสอบความสม่ำเสมอของซากไก่ ด้วยวิธีการประมวลผลภาพดิจิทัล โดยงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนแรกนำเสนอวิธีการตัดแบ่งส่วนซากไก่ซึ่งเกิดจากการประมวลผลร่วมกันสามวิธีการ ได้แก่ การใช้แบ่งส่วนภาพด้วยสีการใช้ฟิลเตอร์โครงสร้างส่วนประกอบ และการใช้สัณฐานวิทยาของภาพ โดย งานวิจัยนี้ใช้ 5 ตัวชี้วัด เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการ และงานวิจัยส่วนที่สองเป็นการนำเสนอวิธีการตรวจและสังเกตความสม่ำเสมอของขนาดซากไก่ หลังจากที่ภาพไก่ถูกตัดแยกด้วยกระบวนการแยกภาพซากไก่จากการวิจัยส่วนแรก ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ทดสอบวิธีการนำเสอน 4 วิธีการ ซึ่งพบว่า วิธีการที่อยู่บนพื้นฐานของลายเซ็นภาพดิจิทัลทีมีการกำหนด ช่วงขอบเขตการยอมรับ เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการตรวจสอบความสม่ำเสมอของภาพซากไก่


เทคนิคการขยายพันธุ์ปะการังอ่อน Sinularia Sp. และ Sarcophyton Sp. ในภาวะเพาะฟัก, เบญจวรรณ สีหะรัญ Jan 2017

เทคนิคการขยายพันธุ์ปะการังอ่อน Sinularia Sp. และ Sarcophyton Sp. ในภาวะเพาะฟัก, เบญจวรรณ สีหะรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปะการังอ่อน (soft coral) จัดอยู่ในอันดับ Alcyonacea เป็นสิ่งมีชีวิตในทะเลที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศแนวปะการัง พบกระจายทั่วไปในน่านน้ำอินโดแปซิฟิก อีกทั้งปะการังอ่อนสามารถนำมาผลิตเป็นยา และเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่างๆ ตลอดจนมีการซื้อขายเพื่อการเลี้ยงในตู้ปลาสวยงาม การเพิ่มขึ้นของความต้องการที่กล่าวมานั้นส่งผลทำให้ปะการังอ่อนถูกเก็บเกี่ยวไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการเพาะเลี้ยงปะการังอ่อนจึงเป็นวิธีการที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้ปะการังอ่อนแทนการเก็บจากธรรมชาติ จึงทำการศึกษาการขยายพันธุ์ของกล้าปะการังอ่อน Sinularia sp. และ Sarcophyton sp. ภายใต้ระบบน้ำทะเลไหลผ่านตลอด โดยใช้วิธีการขยายพันธุ์ที่แตกต่างกัน เพื่อทราบถึงการสร้างเนื้อเยื่อยึดติดกับวัสดุเทียมของกล้าปะการังอ่อน โดยทำการอนุบาลเป็นเวลา 70 วัน ผลการศึกษาพบว่า กล้าปะการังอ่อน Sinularia sp. และ Sarcophyton sp. โดยวิธีการเสียบติดกับวัสดุเทียมเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการยึดติดกับวัสดุเทียมที่รวดเร็วที่สุด 6-13 วัน และ 5-8 วัน ตามลำดับ โดยมีอัตราการรอดสูงสุดร้อยละ 83.33 และ 90 .00 ตามลำดับ หลังจากนั้นจึงนำผลการศึกษาวิธีการยึดติดกล้าปะการังอ่อนที่ดีที่สุด มาทำการศึกษาใหม่ในระบบเลี้ยง 3 ระบบ เป็นเวลา 6 เดือน พบว่าอัตราการเติบโตของกล้าปะการังอ่อน Sinularia sp. ในระบบน้ำทะเลไหลผ่านตลอดมีอัตราการเติบโตสูงสุด (0.68±0.04 เซนติเมตรต่อเดือน) โดยมีอัตราการรอดสุดท้ายในระบบน้ำทะเลหมุนเวียนแบบกึ่งปิดร้อยละ 88.67 และระบบน้ำทะเลไหลผ่านตลอดร้อยละ 87.33 สำหรับกล้าปะการังอ่อน Sarcophyton sp. พบว่ามีอัตราการเติบโตสูงสุดในระบบน้ำนิ่ง (0.94±0.04 เซนติเมตรต่อเดือน) และอัตราการรอดสุดท้ายของกล้าปะการังอ่อน Sarcophyton sp. ในระบบน้ำนิ่ง และระบบน้ำไหลผ่านตลอดร้อยละ 94.67


การก่อเกิดภาวะอยู่ร่วมกันของซูแซนเทลลีที่แยกจากหอยมือเสือ ปะการัง และดอกไม้ทะเล ในตัวอ่อนหอยมือเสือ Tridacna Squamosa (Lamarck, 1819), เสฐียรพงษ์ เกียงสุภา Jan 2017

การก่อเกิดภาวะอยู่ร่วมกันของซูแซนเทลลีที่แยกจากหอยมือเสือ ปะการัง และดอกไม้ทะเล ในตัวอ่อนหอยมือเสือ Tridacna Squamosa (Lamarck, 1819), เสฐียรพงษ์ เกียงสุภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ซูแซนเทลลี (Symbiodinium microdriaticum) มีความสำคัญและจำเป็น ต่อการพัฒนาการและการเติบโตของลูกหอยมือเสือวัยอ่อน จึงสนใจทำการศึกษาอัตราการรอด อัตราการเติบโต การพัฒนาการ และการเกิดภาวะอิงอาศัยในหอยมือเสือ เพื่อคัดเลือกซูแซนเทลลีที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงหอยมือเสือ (Tridacna squamosa) โดยให้ลูกหอยมือเสือกรองกินซูแซนเทลลีที่แยกเลี้ยงแบบสายพันธุ์เดี่ยวจากดอกไม้ทะเล ปะการังเขากวาง ปะการังรังผึ้ง ปะการังดอกเห็ด และเนื้อเยื่อแมนเทิลของหอยมือเสือ การศึกษาในระยะว่ายน้ำพบว่าลูกหอยมือเสือที่กรองกินซูแซนเทลลีจากปะการังเขากวางให้อัตราการรอดมากที่สุด ขณะที่อัตราการเติบโตสูงที่สุดพบในชุดการทดลองที่ลูกหอยได้กรองกินซูแซนเทลลีจากแมนเทิลของหอยมือเสือ การพัฒนาเข้าสู่ระยะ pediveliger พบว่าลูกหอยที่กรองกินซูแซนเทลลีจากปะการังรังผึ้งใช้เวลาเร็วที่สุด การเกิดภาวะอิงอาศัยในทุกชุดการทดลอง นั้นใช้เวลา 12-14 วัน การศึกษาในระยะลงเกาะพบว่า ลูกหอยที่กรองกินซูแซนเทลลีจากปะการรังรังผึ้ง และเนื้อเยื่อแมนเทิลของหอยมือเสือ มีอัตราการรอดมากที่สุดเมื่อสิ้นสุดการทดลอง และยังทำให้ลูกหอยพัฒนาเข้าสู่ระยะ juvenile ได้เร็วที่สุด นอกจากนี้พบว่าลูกหอยที่กรองกินซูแซนเทลลีที่แยกจากปะการังรังผึ้ง และดอกไม้ทะเลมีอัตราการเติบโตในช่วงลงเกาะได้มากที่สุด การศึกษานี้สรุปได้ว่าลูกหอยมือเสือตอบสนองต่อซูแซนเทลลีจากผู้ให้อาศัยต่างชนิดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระยะการพัฒนาการ และซูแซนเทลลีที่เหมาะสมสาหรับการเพาะเลี้ยงลูกหอยมือเสือ คือ ซูแซนเทลลีจากเนื้อเยื่อแมนเทิลของหอยมือเสือและปะการังรังผึ้ง เนื่องจากส่งผลให้ลูกหอยมือเสือมีอัตราการรอด อัตราการเติบโตสูง เกิดภาวะอิงอาศัยและการพัฒนาการที่รวดเร็ว


ชนิดและความชุกชุมของเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตในระบบนิเวศหญ้าทะเลในอ่าวไทยฝั่งตะวันออก, นันทภัค โพธิสาร Jan 2017

ชนิดและความชุกชุมของเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตในระบบนิเวศหญ้าทะเลในอ่าวไทยฝั่งตะวันออก, นันทภัค โพธิสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตแสดงบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหารหน้าดินของระบบนิเวศหญ้าทะเล อย่างไรก็ตามเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตบางชนิดสามารถเป็นสาเหตุของโรค ciguatera เพื่อศึกษาการแพร่กระจายและความชุกชุมของเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตในระบบนิเวศหญ้าทะเลบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก การศึกษานี้ได้เก็บตัวอย่างเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตในแหล่งหญ้าทะเลบริเวณหมู่เกาะแสมสาร ชายฝั่งบ้านเพ หมู่บ้านร็อคการ์เด้น และอ่าวคุ้งกระเบน ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี ระยอง และจันทบุรี ตามลำดับ ทำการเก็บตัวอย่างเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตที่เกาะติดอยู่ในดินตะกอน บนใบหญ้าทะเล และบนแผ่นตาข่าย สองครั้งในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และทำการแยกเลี้ยงเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตที่พบเพื่อนำมาจำแนกชนิดโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ผลการศึกษาพบเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลต 4 สกุล 9 ชนิด คือ Amphidinium carterae, Amphidinium operculatum, Coolia cf. malayensis, Coolia tropicalis, Ostreopsis fattorussoi, Ostreopsis ovata, Prorocentrum concavum, Prorocentrum lima และ Prorocentrum rhathymum ความชุกชุมของเบนทิกไดโนแฟลก-เจลเลตในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในทุกพื้นที่การศึกษา แหล่งหญ้าทะเลบริเวณหมู่เกาะแสมสารเป็นบริเวณที่มีความชุกชุมของเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตสูงที่สุด และพบสาหร่ายสีน้ำตาลขนาดใหญ่ (Padina sp.) เติบโตอยู่ในแหล่งหญ้าทะเลนี้เพียงบริเวณเดียวเท่านั้น หญ้าคาทะเลมีความชุกชุมของเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตมากกว่าหญ้าทะเลชนิดอื่นๆ ในการศึกษานี้ได้เปรียบเทียบวิธีการแยกเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลต พบว่าความชุกชุมของเบนทิก-ไดโนแฟลกเจลเลตบนใบหญ้าคาทะเลกับบนแผ่นตาข่ายไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความชุกชุมของเบนทิกไดโนแฟลกเจลเลตในดินตะกอนมีน้อยที่สุด


สัณฐานวิทยาและโครงสร้างรังของแมงมุมฝาปิดโบราณสกุล Liphistius Schiödte, 1849 ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์, วรัตถ์ ศิวายพราหมณ์ Jan 2017

สัณฐานวิทยาและโครงสร้างรังของแมงมุมฝาปิดโบราณสกุล Liphistius Schiödte, 1849 ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์, วรัตถ์ ศิวายพราหมณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แมงมุมฝาปิดโบราณในสกุล Liphistius (Liphistiidae, Mesothelae) เป็นหนึ่งในสกุลของแมงมุมโบราณที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน โดยยังมีแผ่นปิดท้องด้านบนที่แบ่งเป็นปล้องและมีอวัยวะสร้างใยอยู่บริเวณส่วนกลางของ abdomen การศึกษาเกี่ยวกับแมงมุมในสกุล Liphistius ในอดีตส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่เฉพาะในด้านอนุกรมวิธานเท่านั้น ในการศึกษานี้ได้ให้ความสนใจในการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและโครงสร้างรังของแมงมุมฝาปิดโบราณแม่วงก์ Liphistius maewongensis Sivayyapram et al., 2017 ซึ่งถือเป็นแมงมุมฝาปิดโบราณชนิดใหม่ของโลก โดยผู้ศึกษาได้ทำการเก็บตัวอย่างแมงมุมและข้อมูลทางกายภาพที่เกี่ยวข้องจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ที่ระดับความสูง 1,000–1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ผลการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของตัวอย่างแมงมุมจำนวน 46 ตัวอย่าง (♀ = 24, ♂ = 22) พบว่าแมงมุมที่พบภายในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์มีลักษณะโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งในเพศผู้และเพศเมียแตกต่างจากแมงมุมในสกุล Liphistius ที่เคยมีการค้นพบมาก่อน จากการศึกษาโครงสร้างรังของแมงมุมจำนวน 359 รัง พบว่าแมงมุมชนิดนี้มีการสร้างรังอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ โครงสร้างรังแบบทั่วไปและโครงสร้างรังแบบตัว T โดยโครงสร้างรังแบบทั่วไปมีลักษณะเป็นท่อตรงมีทางเข้าออกทางเดียว ในขณะที่โครงสร้างรังแบบตัว T มีทางเข้าออก 2 ทาง จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าขนาดทางสัณฐานวิทยาของแมงมุมและรูปแบบโครงสร้างของรังมีความสัมพันธ์กัน โดยความยาวและความกว้างของฝาปิดทางเข้ารังและความลึกของรังมีความสัมพันธ์กับความยาวลำตัวของแมงมุม (Pearson’s correlation r = 0.80, 0.73, 0.51 ตามลำดับ n = 46, p < 0.01) แสดงให้เห็นว่าขนาดและความลึกของรังมีการเพิ่มขึ้นเมื่อแมงมุมมีการเจริญเติบโตและขยายขนาดลำตัว นอกจากนี้ chi-square test ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของขนาดลำตัวแมงมุมที่มีต่อรูปแบบการสร้างรัง (X2= 92.23, 2; p < 0.01) จากรังแบบตรงกลายเป็นรังรูปตัว T เมื่อแมงมุมมีอายุมากขึ้น จากผลการศึกษารูปแบบการกระจายของประชากรพบว่าแมงมุมฝาปิดโบราณแม่วงก์มีการกระจายตัวแบบกลุ่ม (Morisita’s index, Iδ = 2.76) ซึ่งสอดคล้องกับความสามารถในการกระจายพันธุ์ที่จำกัดของแมงมุมในกลุ่มนี้ และอาจบ่งชี้ให้เห็นถึงผลของ dilution effect หรือ selfish herd effect ที่อาจเกิดขึ้นในกลุ่มประชากรเพื่อตอบสนองต่อผู้ล่า การระวังภัยที่เพิ่มขึ้น และโอกาสประสบความสำเร็จในการสืบพันธุ์ อย่างไรก็ตามในการศึกษ