Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Life Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 58

Full-Text Articles in Life Sciences

การพัฒนาเทคนิค Multiplex Allele Specific-Polymerase Chain Reaction ร่วมกับแผ่นทดสอบ Dipstick Chromatography เพื่อใช้วินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีน Katg และยีน Inha ที่สัมพันธ์กับการดื้อยา Isoniazid ของเชื้อ Mycobacterium Tuberculosis, นวลนภา จรจำรัส Jan 2020

การพัฒนาเทคนิค Multiplex Allele Specific-Polymerase Chain Reaction ร่วมกับแผ่นทดสอบ Dipstick Chromatography เพื่อใช้วินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีน Katg และยีน Inha ที่สัมพันธ์กับการดื้อยา Isoniazid ของเชื้อ Mycobacterium Tuberculosis, นวลนภา จรจำรัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis เป็นสาเหตุของวัณโรค ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั้งในประเทศไทยและในระดับโลก โดยเฉพาะเมื่อโรคพัฒนาสู่ภาวะวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (Multidrug-resistant Tuberculosis: MDR-TB) ยา Isoniazid เป็นหนึ่งในยาขนานแรกที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ดังนั้นการดื้อยา Isoniazid จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดของวัณโรค และยังพบว่าผู้ป่วยวัณโรคที่ดื้อต่อยา Isoniazid มีโอกาสสูงที่จะพัฒนาไปเป็นผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน และมีโอกาสในการรักษาสำเร็จที่ลดลง สาเหตุหลักของการดื้อยา Isoniazid จากการกลายพันธุ์ของยีน katG และยีน inhA ตามลำดับ การศึกษานี้ได้พัฒนาเทคนิค Multiplex Allele Specific Polymerase Chain Reaction (MAS-PCR) ร่วมกับแผ่นทดสอบ Dipstick Chromatography เพื่อใช้วินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีน katG ที่ตำแหน่งโคดอน 315 และยีน inhA ที่ตำแหน่งเหนือยีน (-15) ของเชื้อ M. tuberculosis ซึ่งสัมพันธ์กับการดื้อยา Isoniazid ผลการทดสอบกับดีเอ็นเอที่สกัดได้จากโคโลนีของเชื้อ M. tuberculosis จำนวน 250 ตัวอย่าง พบว่าเทคนิค MAS-PCR ร่วมกับแผ่นทดสอบ Dipstick Chromatography มีความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยการกลายพันธุ์ที่สัมพันธ์กับการดื้อยา Isoniazid เท่ากับ 91.67% และ 100% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีทดสอบทางฟีโนไทป์ ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิค Sanger DNA sequencing ในการตรวจหากลายพันธุ์ของยีน katG ณ ตำแหน่งโคดอน 315 มีค่าความไวและความจำเพาะเท่ากับ 100% และ 99.28% ตามลำดับ และในการตรวจหายีน inhA ที่ตำแหน่งเหนือยีน (-15) มีค่าความไวและความจำเพาะเท่ากับ 100% และ 99.51% ตามลำดับ โดยเทคนิค MAS-PCR ร่วมกับแผ่นทดสอบ Dipstick Chromatography มีค่าความสอดคล้องในระดับดีมากกับทุกเทคนิคที่นำมาเปรียบเทียบ เทคนิค MAS-PCR …


ผลของการรับประทานน้ำตาลต่อการไหลเวียนเลือดบริเวณแขนในทายาทเพศชายของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, มันตา กรกฎ Jan 2020

ผลของการรับประทานน้ำตาลต่อการไหลเวียนเลือดบริเวณแขนในทายาทเพศชายของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, มันตา กรกฎ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาผลของการรับประทานน้ำตาลซูโครสในปริมาณต่าง ๆ ต่อการไหลเวียนเลือดบริเวณแขนในทายาทเพศชายของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง (OHT) และทายาทเพศชายของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ (ONT) และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับน้ำตาลในเลือดต่อการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชัน โดยอาสาสมัคร (OHT = 16, ONT = 16) เข้าร่วมการทดสอบทั้งหมด 4 ครั้ง โดยแต่ละครั้งอาสาสมัครได้ดื่มสารละลายน้ำตาลซูโครสเพียง 1 ความเข้มข้นตามการสุ่ม จาก 4 ความเข้มข้นซึ่งมีปริมาณน้ำตาลซูโครส 0, 15, 30 และ 60 กรัม ปริมาตรรวม 200 มล. วัดปริมาตรการไหลของเลือดสูงสุดบริเวณแขน (peak FBF) ก่อนและหลังรับประทานน้ำตาลซูโครสทุก ๆ 30 นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และวัดระดับ plasma glucose, insulin และตัวบ่งชี้ภาวะเครียดออกซิเดชัน (protein carbonyl; PC and total antioxidant capacity; TAC) ก่อนและหลังรับประทานน้ำตาลซูโครสที่เวลา 30, 60 และ 120 นาที ผลการศึกษาพบว่ากลุ่ม OHT มีค่า peak FBF เริ่มต้นต่ำกว่ากลุ่ม ONT (22.40±1.17 vs 25.23±0.62 mL/100mLtissue/min, P < 0.0001) หลังรับประทานน้ำตาลซูโครสทุกความเข้มข้นที่เวลา 30 นาที ค่า peak FBF ของทั้ง 2 กลุ่มลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับนาทีที่ 0 (P < 0.05) ระดับ plasma glucose และ insulin ของทั้งสองกลุ่มเพิ่มสูงขึ้นหลังจากรับประทานน้ำตาลซูโครส 30 นาที (P < 0.05) และลดลงจนกลับเข้าสู่ระดับก่อนได้รับน้ำตาลซูโครส ระดับ PC และ TAC ทุกช่วงเวลาและทุกความเข้มข้นของน้ำตาลซูโครสไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางสถิติ (P > 0.05) จึงสรุปได้ว่าการรับประทานน้ำตาลซูโครสไม่เกิน 60 กรัม ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในการขยายตัวของหลอดเลือดทั้งในคนทีมีและไม่มีประวัติบิดามารดาเป็นความดันโลหิตสูง แต่ไม่พบความสัมพันธ์ของระดับ plasma glucose กับการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชัน


ผลของลำดับการผสมวัตถุดิบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการหลอมแก้ว, ปรีณาพรรณ ปิ่นหอม Jan 2020

ผลของลำดับการผสมวัตถุดิบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการหลอมแก้ว, ปรีณาพรรณ ปิ่นหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โดยทั่วไปกระบวนการหลอมแก้วระดับอุตสาหกรรมต้องการพลังงานสูงสำหรับการเปลี่ยนแปลงจากวัตถุดิบเป็นน้ำแก้ว วัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้จะกล่าวถึงการพัฒนากระบวนการหลอมแก้วโซดาไลม์โดยวิธีปรับลำดับการผสมในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งอาศัยกลไกของปฏิกิริยาสถานะของแข็งระหว่างทรายแก้วและโซเดียมคาร์บอเนตในช่วงแรกของการหลอม การเตรียมส่วนผสมแบบดั้งเดิมเป็นการผสมวัตถุดิบทั้งหมดภายในครั้งเดียว ในงานวิจัยนี้ต้องการปรับเปลี่ยนวิธีการเตรียมส่วนผสมให้เหมาะสมที่สุดต่อการหลอมโดยการปรับลำดับของการผสม ประกอบด้วยสองขั้นตอนการผสม ขั้นตอนแรกคือการผสมทรายแก้วและโซเดียมคาร์บอเนต จากนั้นจึงผสมวัตถุดิบที่เหลือเป็นขั้นตอนที่สอง เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาผลของการเตรียมส่วนผสมทั้งสองวิธี ได้ทำการศึกษาสภาพและการเปลี่ยนแปลงระหว่างกระบวนการหลอมที่อุณหภูมิตั้งแต่ 600 ถึง 1000 องศาเซลเซียส นอกจากนี้มีผลของปริมาณวัตถุดิบที่หลอมไม่หมดบนพื้นผิวซึ่งยังคงลงเหลือในสภาพผลึก ณ สภาวะที่กำหนด เพื่อเปรียบเทียบแนวโน้มประสิทธิผลในการหลอมของส่วนผสมจากการผสมสองวิธี โดยภาพถ่ายผิวหน้าและโดยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ ผลการวิจัยพบว่าการจัดลำดับการผสมเป็นวิธีการผสมที่เหมาะสมกว่า ส่งผลต่ออัตราการหลอม พื้นผิวสัมผัสที่เพิ่มขึ้นระหว่างทรายแก้วและโซเดียมคาร์บอเนตจากการผสมขั้นตอนแรกนำไปสู่การเพิ่มอัตราการหลอมของทั้งระบบ ต่างจากวิธีการเดิมที่อาจมีวัตถุดิบอื่นเป็นตัวขัดขวางการเกิดปฏิกิริยาสถานะของแข็งดังกล่าว


Development Of Ready-To-Cook Cambodian Korko Soup Base, Meng Sreang Loem Jan 2020

Development Of Ready-To-Cook Cambodian Korko Soup Base, Meng Sreang Loem

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study develops a prototype of a ready-to-cook Cambodian Korko soup base by surveying the perception of 400 Cambodian consumers and found that 44.5% of replies prefer ready-to-cook Cambodian Korko soup base in powder form. After that, the effect of different drying temperatures on the properties of Cambodian Korko soup base ingredients (herb, spice, and fermented fish) was investigated on physicochemical, antioxidants, and microbiological properties. At higher temperature 80 oC, water activity, moisture content was decreased faster and DPPH and FRAP were decreased compared to lower temperatures 70 oC and 60 oC. On the other hand, histamine in fermented fish …


องค์ประกอบทางชีวเคมีและผลของเมือกจากทากทะเล Onchidium Sp. ต่ออัตราการเติบโตของเบนทิคไดอะตอม, กัณพจน์ เตชะวงค์เสถียร Jan 2020

องค์ประกอบทางชีวเคมีและผลของเมือกจากทากทะเล Onchidium Sp. ต่ออัตราการเติบโตของเบนทิคไดอะตอม, กัณพจน์ เตชะวงค์เสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิ่งมีชีวิตหลายชนิดในทะเลสร้างและหลั่งเมือกเพื่อใช้ในกิจกรรมการดำรงชีวิตและกระบวนการทางสรีระอย่างหลากหลาย เช่น การเคลื่อนที่ การป้องกันตัว และการหาอาหาร กล่าวได้ว่าเมือกมีความสำคัญต่อกิจกรรมการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยเฉพาะกับมอลลัสก์ เมือกจากมอลลัสก์นอกจากถูกใช้ในกิจกรรมการดำรงชีวิตของตัวมอลลัสก์เองแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสังคมสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศโดยรอบด้วย การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นศึกษาองค์ประกอบทางชีวเคมีของเมือกจากทากทะเล Onchidium และผลของเมือกจากทากทะเลต่ออัตราการเติบโตของเบนทิคไดอะตอม เมือกจากทากทะเล Onchidium ถูกเจือจางความเข้มข้นแบ่งเป็น 100% 75% 50% และ 25% ในน้ำทะเลเพื่อศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเบนทิคไดอะตอม นอกจากนี้เมือกจากทากทะเลอีกส่วนถูกบ่มในชุดจำลองน้ำขึ้น-น้ำลงเป็นเวลา 0 1 2 4 และ 8 รอบน้ำขึ้น-น้ำลง ก่อนนำไปเพาะเลี้ยงเบนทิคไดอะตอม 3 ชนิด ได้แก่ Navicula sp., Nitzschia sp., และ Thalassiosira sp. ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบชีวเคมีของเมือกจากทากทะเล Onchidium มีส่วนประกอบหลักคือ น้ำ (82.5%) และองค์ประกอบอินทรียสารประกอบด้วย โปรตีน (40%) คาร์โบไฮเดรต (13.33%) และไขมัน (0.19%) ผลของเมือกจากทากทะเลต่ออัตราการเจริญเติบโตของเบนทิคไดอะตอมมีความแตกต่างกันในแต่ละสภาพของเมือกและชนิดพันธุ์ของเบนทิคไดอะตอม เมือกที่หลั่งใหม่และเมือกที่เข้มข้นยับยั้งและลดการเติบโตของ Navicula sp. และ Nitzschia sp. ในขณะที่เมือกที่เจือจางและมีอายุมากเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเบนทิคไดอะตอมทั้งสองชนิด อย่างไรก็ตามเมือกจากทากทะเลไม่ส่งผลต่ออัตราการเติบโตของ Thalassiosira sp. ในทุกสภาพของเมือก กล่าวได้ว่าทากทะเล Onchidium อาจมีส่วนสำคัญต่อโครงสร้างชุมชนระบบนิเวศชายฝั่งทำหน้าที่เป็น intertidal ecosystem engineer ที่ส่งเสริมการลงเกาะและเจริญเติบโตของชุมชนเบนทิคไดอะตอม


การวิเคราะห์รูปแบบทางพันธุกรรมของหมู่เลือด Mns Hybrid Glycophorin (B-A-B) ในผู้บริจาคโลหิตคนไทย โดยใช้เทคนิค High Resolution Melting Assay, พลอยมณี สุวรรณวุฒิชัย Jan 2020

การวิเคราะห์รูปแบบทางพันธุกรรมของหมู่เลือด Mns Hybrid Glycophorin (B-A-B) ในผู้บริจาคโลหิตคนไทย โดยใช้เทคนิค High Resolution Melting Assay, พลอยมณี สุวรรณวุฒิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปี 2018 มีการค้นพบ hybrid GP(B-A-B) ชนิดใหม่ซึ่งเกิดจากจีโนไทป์ แบบ homozygous GYP*Mur สร้างเป็นแอนติเจนใหม่เรียก JENU ลบ ในประชากรชาวไทย ดังนั้นเพื่อศึกษาความถี่ของจีโนไทป์แบบ hydrid GYP*Mur และ hybrid GYP ชนิดอื่นๆ ผู้วิจัยอาศัยเทคนิค Polymerase chain reaction High-Resolution Melting (PCR HRM) ตัวอย่างดีเอ็นเอที่สกัดได้จากผู้บริจาคโลหิตชาวไทย จำนวน 60 ราย ที่ให้ผลตรวจแอนติเจน s เป็นลบปลอมกับน้ำยา monoclonal IgM clone P3BER ผลค่า melting temperature จากตัวอย่างพีซีอาร์ที่ได้จะนำมาเปรียบเทียบกับตัวอย่าง homozygous GYP*Mur การหาลำดับเบสใช้ในตัวอย่างที่เป็น non-homozygous GYP*Mur ทุกตัวอย่าง จากผลการทดลอง พบว่า ผู้บริจาคโลหิตจำนวน 49 รายเป็น homozygous GYP*Mur (Tm เฉลี่ย 79.63±0.03, 90% Cl =79.337-81.302 ) และ อีก 11 รายเป็น non-homozygous GYP*Mur เมื่อเปรียบเทียบลำดับเบสของตัวอย่างดังกล่าวกับฐานข้อมูล พบว่า ตัวอย่างพบว่า 4 รายเป็น heterozygous GYP*Mur/Bun, 2 ราย เป็น homozygous GYP*Bun และ 5 ราย เป็น heterozygous GYP*BS/GYP*Bun สรุปผลการศึกษาครั้งนี้ คือ ความถี่ของแอนติเจน JENU ลบ คิดเป็นร้อยละ 0.65 ของประชากรชาวไทย โดยเทคนิค PCR HRM สามารถนำไปใช้ในงานประจำวันทางธนาคารเลือดได้จริง


การตรวจ Trimethylamine N-Oxide (Tmao) ในซีรัมเพื่อทำนายภาวะหลอดเลือดแข็งตัวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง, สมพงศ์ บุญให้ Jan 2020

การตรวจ Trimethylamine N-Oxide (Tmao) ในซีรัมเพื่อทำนายภาวะหลอดเลือดแข็งตัวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง, สมพงศ์ บุญให้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา: การเพิ่มขึ้นของสาร trimethylamine N-oxide (TMAO) ซึ่งเป็นสารพิษที่มาจากแบคทีเรียในลำไส้ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease; CKD) อาจช่วยเพิ่มการผลิต TMAO reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ของแบคทีเรียในลำไส้และมีการแทรกผ่านไปยังกระแสเลือดอันเนื่องมาจากข้อบกพร่องในการซึมผ่านของลำไส้ (gut leakage) และอาจนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่าง serum TMAO, serum TMAO reductase, gut leakage, ระบบการอักเสบและภาวะหลอดเลือดแข็งตัวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง วิธีการ: ทำการวิเคราะห์แบบตัดขวางในตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เข้ารับการฟอกเลือดเป็นประจำ (n = 48) และใช้ตัวอย่างของผู้ที่มีสุขภาพดีในการควบคุม (n = 20) โดยวัดค่าการทำงานของตับ (serum glutamic-oxaloacetic transaminase; SGOT และ serum glutamate-pyruvate transaminase; SGPT) วิเคราะห์หาค่าสารพิษทั้งหมดของภาวะ uremia toxin ได้แก่ สารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก (BUN และ creatinine) สารที่มีโมเลกุลขนาดกลาง (beta-2 microglobulin; B2M) สารที่มีโมเลกุลที่จับกับโปรตีน (serum TMAO) วิเคราะห์หาข้อบกพร่องในการซึมผ่านของลำไส้ได้แก่ serum LPS และ serum TMAO reductase วิเคราะห์หาการตอบสนองต่อการอักเสบ (serum C-reactive protein, serum TNF-α และ serum IL-6) และประเมินภาวะหลอดเลือดแข็งตัวโดยใช้ดัชนี ankle-brachial index (ABI) และดัชนี cardio-ankle vascular index (CAVI) ผลการวิจัย: ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีระดับ serum TMAO และ serum TMAO reductase รวมทั้งระดับสารพิษทั้งหมดของภาวะ uremia toxin และระดับการตอบสนองต่อการอักเสบสูงขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังตรวจพบภาวะ endotoxemia …


ผลกระทบของยีน Flaa และ Flid ของเชื้อ Helicobacter Pylori ต่อการตายของเซลล์มะเร็งเยื่อบุกระเพาะอาหาร, ณัฐฐวุฒิ วิเวโก Jan 2020

ผลกระทบของยีน Flaa และ Flid ของเชื้อ Helicobacter Pylori ต่อการตายของเซลล์มะเร็งเยื่อบุกระเพาะอาหาร, ณัฐฐวุฒิ วิเวโก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เชื้อ Helicobacter pylori เป็นแบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ที่มีความสำคัญทางคลินิก การติดเชื้อ H. pylori มีความสัมพันธ์กับการเกิดเป็นโรคมะเร็งกระเพาอาหาร เนื่องจากเชื้อมีปัจจัยความรุนแรงในการก่อโรคหลายชนิด อาทิ ความสามารถในการสร้างเอนไซม์ยูรีเอสปริมาณมาก การสร้างสารพิษประเภท CagA และ VacA การใช้แฟลเจลลาในการเคลื่อนที่แบบควงสว่านเข้าสู่ชั้นเยื่อเมือกของกระเพาะอาหาร การยึดเกาะกับเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร รวมทั้งการกระตุ้นให้เซลล์เกิดการตายแบบอะพอพโทซิสที่นำมาสู่การพัฒนากลายเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ แฟลเจลลาของเชื้อ H. pylori มีส่วนช่วยในการเคลื่อนที่และเป็นสารที่ใช้ในการยึดเกาะที่สำคัญของเชื้อ อีกทั้งยังถูกสันนิษฐานว่าอาจมีส่วนกระตุ้นในการทำให้เซลล์เยื่อบุผิวเกิดการตาย การควบคุมการสร้างและการทำงานของแฟลเจลลาเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของยีนหลายชนิด โดยมียีน flaA ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีนแฟลเจลลินหลักของแฟลเจลลา และยีน fliD ทำหน้าที่ควบคุมการสร้าง capping protein หุ้มส่วนปลายของแฟลเจลลา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของยีน flaA และยีน fliD ของเชื้อ H. pylori ต่อการเคลื่อนที่ของเชื้อ การยึดเกาะและการกระตุ้นให้เกิดการตายแบบอะพอพโทซิสของเซลล์เยื่อบุผิว Human gastric adenocarcinoma (AGS) โดยทำการศึกษาลักษณะของสายแฟลเจลลาวิธีย้อมด้วยสี leifson-tannic acid fuchsin และด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน เปรียบเทียบกันระหว่างเชื้อ H. pylori สายพันธุ์มาตรฐาน ATCC 43504 และเชื้อ H. pylori สายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน flaA และ ยีน fliD เชื้อดังกล่าวทั้งหมดยังถูกนำมาทดสอบการเคลื่อนที่ในอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว และเพาะเลี้ยงร่วมกับเซลล์ AGS เพื่อทดสอบการยึดเกาะกับเซลล์ด้วยวิธี adhesion assay และการกระตุ้นให้เซลล์ที่ติดเชื้อตายด้วยการย้อมสี Annexin/ PI และวัดสัญญาณด้วย flow cytometry พบว่าเชื้อ H. pylori ที่มีการกลายพันธุ์ทั้งสองสายพันธุ์ไม่สามารถสร้างสายแฟลเจลลาที่มีรูปร่างสมบูรณ์ได้ ทั้งนี้เชื้อ H. pylori ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน flaA มีความสามารถในการเคลื่อนที่และการยึดเกาะกับเซลล์ AGS ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่เชื้อ H. pylori ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน fliD สามารถยึดเกาะเซลล์ AGS ได้มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อ H. pylori สายพันธุ์มาตรฐาน …


การแบ่งกลุ่มย่อยตามลักษณะทางคลินิกรูปแบบใหม่โดยอาศัยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับการวิเคราะห์โอมิกส์แบบบูรณาการหลายระดับ เพื่อระบุกลุ่มตัวแทนสารบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับภาวะออทิซึมสเปกตรัม, กัลยภัสสร์ หัสเสม Jan 2020

การแบ่งกลุ่มย่อยตามลักษณะทางคลินิกรูปแบบใหม่โดยอาศัยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับการวิเคราะห์โอมิกส์แบบบูรณาการหลายระดับ เพื่อระบุกลุ่มตัวแทนสารบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับภาวะออทิซึมสเปกตรัม, กัลยภัสสร์ หัสเสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคออทิซึมสเปกตรัมเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการในช่วงเริ่มแรกของระบบประสาทและสมองซึ่งมีอาการทางคลินิกที่หลากหลายมาก ปัจจุบันยังไม่มีสารบ่งชี้เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มย่อย แต่การวินิจฉัยที่รวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมสามารถได้รับการเรียนรู้และพัฒนาพฤติกรรมที่จำเป็นในการดำรงชีวิตได้ การวินิจฉัยโรคออทิซึมสเปกตรัมตามมาตรฐานสากลใช้แบบสอบถามที่มีความซับซ้อนและใช้เวลามาก ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน อย่างไรก็ตามการนำเอาปัญญาประดิษฐ์มาใช้วิเคราะห์อาการทางคลินิกของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมยังไม่แพร่หลายนัก ในการศึกษานี้ผู้วิจัยต้องการนำเอาปัญญาประดิษฐ์มาใช้แบ่งผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมจำนวน 85 ราย ออกเป็นกลุ่มย่อยตามอาการทางคลินิกจากข้อมูลแบบทดสอบในการวินิจฉัยผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัม ADI-R จำนวน 123 ข้อ จากนั้นได้ทำการสร้างโมเดลในการจัดกลุ่มและเปรียบเทียบประสิทธิภาพรวมถึงจำนวนข้อคำถามที่ใช้ในแต่ละโมเดล นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาหาสารบ่งชี้ทางชีวภาพที่เป็นตัวแทนของโรคออทิซึมสเปกตรัมกลุ่มย่อยจากลักษณะอาการทางคลินิกโดยอาศัยการบูรณาการโอมิกส์หลายระดับ จึงได้ดำเนินการวิเคราะห์รูปแบบทรานสคริปโตม และวิเคราะห์รูปแบบโปรตีโอมของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมโดยใช้เซลล์เพาะเลี้ยงชนิดลิมโฟบลาสต์เป็นต้นแบบ โดยใช้เทคนิคการแยกโปรตีนด้วยกระแสไฟฟ้า 2 มิติ (2D-GE) จากนั้นจะทำการระบุโปรตีนด้วยเทคนิค LC-MS/MS เพื่อหาโปรตีนที่ถูกรบกวนการทำงานอย่างมีนัยสำคัญ และบูรณาการข้อมูลเพื่อศึกษาความสอดคล้องและสัมพันธ์กันระหว่างการแสดงออกของโปรตีนและยีน และทำการยืนยันระดับการแสดงออกที่ผิดปกติไปของยีนด้วยเทคนิค Real-time qPCR และโปรตีนด้วยเทคนิค Western blot ในการศึกษาครั้งนี้จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะอาการทางคลินิกของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมจากแบบทดสอบ ADI-R 123 ข้อ พบว่าวิธี K-means clustering ที่แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่มย่อยนั้นให้ประสิทธิภาพในการแบ่งดีที่สุด และเมื่อทำการสร้างโมเดลในการจัดกลุ่มผู้ป่วยตามผลการแบ่งกลุ่มดังกล่าว พบว่าอัลกอริทึม Random forest ที่มีจำนวนต้นไม้ 10 ต้น โดยกระบวนการคัดเลือกข้อมูลแบบ Forward selection ให้ผลการทำนายถูกต้องมากที่สุด (100%) โดยใช้ข้อคำถาม ADI-R เพียง 5 ข้อ ในการแบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มย่อย และจากการวิเคราะห์รูปแบบโปรตีโอมจากเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดลิมโฟบลาสต์ของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมและออทิซึมสเปกตรัมกลุ่มย่อยด้วยเทคนิค 2D-GE ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกจุดโปรตีนที่มีการแสดงออกผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญและมีค่าสัดส่วนความเข้มแตกต่างกันอย่างน้อยสองเท่ามา 19 จุด เพื่อทำการระบุชนิดของโปรตีนด้วยเทคนิค LC-MS/MS โดยพบว่าจากโปรตีนทั้งหมด HNRNPA2B1 มีระดับการแสดงออกเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมกลุ่มย่อยที่ไม่มีความผิดปกติด้านภาษารุนแรง โดยที่โปรตีน HNRNPA2B1 MDH2 DLD และ MSN มีระดับการแสดงออกลดลงในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมกลุ่มย่อยที่มีความผิดปกติด้านภาษารุนแรง ดังนั้นจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการแบ่งผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมออกเป็นกลุ่มย่อยตามลักษณะอาการทางคลินิกนั้น สามารถลดความหลากหลายตามลักษณะอาการที่แสดงออกของโรคออทิซึมสเปกตรัมในการวิเคราะห์รูปแบบทรานสคริปโตมและโปรตีโอม รวมถึงการค้นหาโปรตีนที่จำเพาะต่อผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมกลุ่มย่อย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งโปรตีนเหล่านี้อาจใช้เป็นโปรตีนบ่งชี้ในการศึกษาเชิงลึกในประชากรผู้ป่วย เพื่อพัฒนาเป็นสารบ่งชีทางชีวภาพ (Biomarker) หรือศึกษากลไกพยาธิสภาพในระดับชีวโมเลกุลของโรคออทิซึมสเปกตรัมได้ต่อไปในอนาคต


การแสดงออกของโปรตีนจากเอ็กซ์ตราเซลลูลาร์เวสิเคิลของเซลล์แมคโครฟาจภายหลังการติดเชื้อ Neisseria Gonorrhoeae, สหรัฐ นันทวงค์ Jan 2020

การแสดงออกของโปรตีนจากเอ็กซ์ตราเซลลูลาร์เวสิเคิลของเซลล์แมคโครฟาจภายหลังการติดเชื้อ Neisseria Gonorrhoeae, สหรัฐ นันทวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคหนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) โดยมีอุบัติการณ์มากที่สุดในกลุ่มของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในประเทศไทยและทั่วโลก จากการรายงานขององค์การอนามัยโลก ผู้ป่วยจำนวนมากไม่แสดงอาการของโรคโดยเฉพาะในผู้ป่วยหญิง ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ส่วนบนและนำไปสู่การเป็นหมันและการตั้งครรภ์นอกมดลูก พยาธิสภาพของโรคเกิดจากการเหนี่ยวนำให้เกิดการรวมกลุ่มของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันและกระบวนการอักเสบโดยเซลล์แมคโครฟาจซึ่งเป็นเซลล์สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันแบบกำเนิด การตอบสนองของเซลล์ต่อการติดเชื้อภายในเซลล์สามารถติดตามได้จากเอ็กต์ตราเซลลูลาร์เวสิเคิลที่ผลิตออกจากเซลล์แมคโครฟาจ เช่น การติดเชื้อวัณโรค ลิชมาเนีย และซัลโมเนลา ที่พบการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบโปรตีนของเซลล์แมคโครฟาจและของเชื้อภายในเซลล์ การปลดปล่อยเวสิเคิลนั้นจะมีผลต่อการกระตุ้นการทำงาน กระบวนการอักเสบ และปรับเปลี่ยนการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันได้ ในการศึกษานี้จึงมุ่งเน้นการแสดงออกและค้นหาโปรตีนในเอ็กต์ตราเซลลูลาร์เวสิเคิลจากเซลล์แมคโครฟาจทั้งชนิดติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ N. gonorrhoeae โดยนำเซลล์เม็ดเลือดขาว THP-1 ที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเซลล์แมคโครฟาจเกิดกระบวนการฟาโกไซโทซิสเชื้อ N. gonorrhoeae เข้าไปภายในเซลล์ ติดตามการแสดงออกของโปรตีนภายในเวสิเคิล และวิเคราะห์โปรตีนด้วย Tandem mass spectrometry ซึ่งพบการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบโปรตีนภายในเวสิเคิลที่ครอบคลุมโปรตีนของเซลล์แมคโครฟาจและของเชื้อ ทั้งยังพบว่ามีความแตกต่างกันทั้งชนิดและการแสดงออกจำเพาะในช่วงเวลาของการติดเชื้อ เมื่อนำผลวิเคราะห์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลชีวสารสนเทศทั้ง Vesiclepedia, PANTHER และ Uniprot database ศึกษาคุณสมบัติและหน้าที่ของโปรตีนภายในเวสิเคิล โปรตีนของมนุษย์ และโปรตีนของเชื้อ N. gonorrhoeae ตามลำดับ ทำให้บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์และบทบาทต่อเซลล์แมคโครฟาจในช่วงเวลาที่ทดสอบ ผลการศึกษานี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาการตรวจติดตามเชื้อก่อโรคหนองในและองค์ความรู้ในความเข้าใจบทบาทของเอ็กต์ตราเซลลูลาร์เวสิเคิลต่อพยาธิสภาพและการดำเนินไปของโรคหนองใน


การเตรียมไมโครแคปซูลของแคลเซียมอัลจิเนตเคลือบด้วย เจลาติน และ คัปปาคาราจีแนนเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของแบคทีเรียที่มีศักยภาพเป็นโปรไบโอติกในน้ำมะเกี๋ยง Cleistocalyx Nervosum Var. Paniala, ภัสริน หัทยาภิชาติ Jan 2020

การเตรียมไมโครแคปซูลของแคลเซียมอัลจิเนตเคลือบด้วย เจลาติน และ คัปปาคาราจีแนนเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของแบคทีเรียที่มีศักยภาพเป็นโปรไบโอติกในน้ำมะเกี๋ยง Cleistocalyx Nervosum Var. Paniala, ภัสริน หัทยาภิชาติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ศึกษาการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของแบคทีเรียที่มีศักยภาพเป็นโปรไบโอติกในน้ำมะเกี๋ยง Cleistocalyx nervosum var. paniala ที่มีกรด และ ฟีนอลิคเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก โดยคัดเลือกจุลินทรีย์ที่ผ่านการปรับตัว(Adaptation) ในเมี่ยงหมัก Camellia sinensis (L.) Kuntze var. assamica.ที่มีสภาวะ ฟีนอลิคสูง และ มีคุณสมบัติเป็นโปรไบโอติก โดยพบว่าแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากเมี่ยงหมัก ซึ่งสามารถคัดแยกได้ 6 ไอโซเลท เมื่อนำมาเพิ่มจำนวนยีสต์เป้ามายด้วย 16S ribosomal RNA และ หาลำดับนิวคลีโอไทด์ พบว่าคล้ายคลึงกับแบคทีเรียโปรไบโอติกสายพันธุ์ Lactobacillus plantarum ในฐานข้อมูล GenBank โดยมีความคล้ายคลึงที่ 98-100% ซึ่งทำการศึกษา การลดลงของเซลล์ที่มีชีวิต ในน้ำมะเกี๋ยง ของแบคทีเรียที่เป็นเซลล์อิสระ 2 กลุ่ม ได้แก่ แบคทีเรียกลุ่ม LAB-MF ที่คัดแยกได้จากเมี่ยงหมัก และ กลุ่ม Lactobacillus sp. ทั้ง 6 สายพันธุ์ พบว่าในเวลา 24 ชั่วโมง L. plantarum KC332 (LAB-MF 105) มีอัตราการลดลงของเชื้อ 20.10% ซึ่ง แบคทีเรียในกลุ่ม Lactobacillus sp. พบว่า แบคทีเรียสายพันธุ์ L. plantarum TISTR2074 มีอัตรากาลดลงของเชื้อ 61.41% จึงนำมาศึกษาการยืดอายุโดยการห่อหุ้มในไมโครแคปซูล โดยเตรียมไมโครแคปซูล ทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ 2% อัลจิเนตบีด (2% Al) 2% อัลจิเนตบีดเคลือบด้วยเจลาตินชั้นเดี่ยว(ACG) 2% อัลจิเนตบีดเคลือบด้วยเจลาตินชั้นคู่ (ACGD) 2% อัลจิเนตบีดเคลือบด้วยคัปปาคาราจีแนนชั้นเดี่ยว (ACC) และ 2% อัลจิเนตบีดเคลือบด้วยคัปปาคาราจีแนนชั้นคู่ (ACCD) จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางกายภาพ และ ทางเคมี ของเม็ดบีด …


Marine Influence On Chemical Composition Of Aerosol In Thailand, Jariya Kayee Jan 2020

Marine Influence On Chemical Composition Of Aerosol In Thailand, Jariya Kayee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study was focused on atmospheric aerosols covering aerosols over both continent and ocean. Continent's aerosols were collected from two coastal cities, Bangkok and Chonburi, and one in-land city, Chiangrai. To investigate seasonal variation and air-sea-land influences on chemical composition of aerosols, metals, lead isotope and water-soluble inorganic ions were examined coupled with air mass trajectory analysis. The study was divided into 3 parts. The first part, PM2.5 samples were collected in Bangkok and Chonburi during January 2018 to April 2019. The results revealed the highest PM2.5 concentrations in NE monsoon, and the lowest in SW monsoon. During NE monsoon, …


ผลของเซลลูโลสนาโนคริสตัลดัดแปรด้วยสารลดแรงตึงผิวและการบ่มด้วยยูวีต่อสมบัติของฟิล์มคอมพอสิตฐานโปรตีนถั่วเหลือง, เมธาพร วงศ์อุ่น Jan 2020

ผลของเซลลูโลสนาโนคริสตัลดัดแปรด้วยสารลดแรงตึงผิวและการบ่มด้วยยูวีต่อสมบัติของฟิล์มคอมพอสิตฐานโปรตีนถั่วเหลือง, เมธาพร วงศ์อุ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของของเสริมเซลลูโลสดัดแปรด้วยสารลดแรงตึงผิวและการบ่มด้วยรังสียูวีต่อสมบัติของฟิล์มคอมพอสิตฐานโปรตีนถั่วเหลือง การทดลองส่วนแรกเป็นการดัดแปรเซลลูโลสนาโนคริสตัลด้วยสารลดแรงตึงผิวและการพัฒนาฟิล์มคอมพอสิต ในการดัดแปรเซลลูโลสนาโนคริสตัล แปรชนิดของสารลดแรงตึงผิวเป็น 2 ชนิด ได้แก่ กลีเซอรอลโมโสเทียเรต (glycerol monostearate, GMS) และ โซเดียมสเทียโรอิลแลกทิเลต (sodium stearoyl lactylate, SSL) และแปรความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิวเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1, 5 และ 10% โดยน้ำหนักของของแข็งโดยรวม พบว่าเซลลูโลสนาโนคริสตัลดัดแปรด้วยสารลดแรงตึงผิวมีขนาดอนุภาคเฉลี่ย (z-average) อยู่ในช่วง 67.4-605.0 นาโนเมตร ส่วนศักย์ซีต้ามีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิวเพิ่มขึ้น โดยตัวอย่างที่มีศักย์ซีต้าสูงสุด ได้แก่ เซลลูโลสนาโนคริสตัลดัดแปรด้วย GMS และ SSL เข้มข้น 10% ซึ่งมีศักย์ซีต้าเท่ากับ -69.9 และ -84.5 มิลลิโวลต์ ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอนุภาคนาโนมีเสถียรภาพสูงมาก จึงคัดเลือกมาเพื่อใช้ในการเตรียมฟิล์มคอมพอสิตฐานโปรตีนถั่วเหลือง โดยแปรปริมาณเซลลูโลสนาโนคริสตัลดัดแปรด้วยสารลดแรงตึงผิวเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 5, 10 และ 15% โดยน้ำหนักของสารละลายฟิล์ม พบว่าฟิล์มที่เสริมเซลลูโลสนาโนคริสตัลดัดแปรด้วย SSL ในปริมาณ 15% มีความต้านทานแรงดึงขาดสูงสุดเท่ากับ 2.84 เมกะพาสคาล ซึ่งสูงกว่าตัวอย่างควบคุมที่ไม่เสริมเซลลูโลสนาโนคริสตัลดัดแปรถึง 68.0% ในขณะที่การยืดตัวถึงจุดขาดมีแนวโน้มลดลงเมื่อปริมาณเซลลูโลสนาโนคริสตัลดัดแปรเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าความสว่าง (L*) และความโปร่งใสของฟิล์มมีค่าลดลงด้วย มุมสีของของฟิล์มทุกตัวอย่างอยู่ในช่วงมุมสีเหลืองและความเข้มสีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อปริมาณเซลลูโลสนาโนคริสตัลดัดแปรเพิ่มสูงขึ้น สภาพให้ซึมผ่านได้ของไอน้ำและความสามารถในการละลายน้ำมีค่าลดลง และมุมสัมผัสระหว่างหยดน้ำกับผิวฟิล์มมีค่าสูงขึ้น เมื่อปริมาณเซลลูโลสนาโนคริสตัลดัดแปรเพิ่มสูงขึ้น จากการศึกษาโครงสร้างภาคตัดขวางด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าการเสริมเซลลูโลสนาโนคริสตัลดัดแปรทำให้เมทริกซ์ของฟิล์มมีความเป็นเนื้อเดียวกันลดลงและมีช่องทางคดเคี้ยวมากขึ้น สำหรับการทดลองในส่วนที่สองเป็นการศึกษาผลของการบ่มแผ่นฟิล์มด้วยรังสียูวีซี โดยคัดเลือกฟิล์มที่มีความต้านทานแรงดึงขาดสูงสุด ได้แก่ ฟิล์มที่เสริมเซลลูโลสนาโนคริสตัลดัดแปรด้วย SSL ในปริมาณ 15% มาบ่มด้วยยูวี แปรปริมาณรังสีดูดกลืนเป็น 6 ระดับ ได้แก่ 0.06, 0.19, 0.32, 0.45, 0.65 และ 1.56 จูล/ตารางเซนติเมตร พบว่าการบ่มด้วยรังสียูวีส่งผลให้ความต้านทานแรงดึงขาดเพิ่มขึ้นและการยืดตัวถึงจุดขาดลดลง โดยฟิล์มที่บ่มด้วยรังสียูวีปริมาณ 1.56 จูล/ตารางเซนติเมตร …


ผลของฤดูกาลต่อการเติบโตและประสิทธิภาพของการดูดซึมกลับของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของแสมขาว Avicennia Alba Blume ในป่าชายเลน ปากแม่น้ำตราด, ปิยะพล แก่นคง Jan 2020

ผลของฤดูกาลต่อการเติบโตและประสิทธิภาพของการดูดซึมกลับของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของแสมขาว Avicennia Alba Blume ในป่าชายเลน ปากแม่น้ำตราด, ปิยะพล แก่นคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ป่าชายเลนมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งสะสมคาร์บอนเนื่องจากเป็นระบบนิเวศที่มีผลผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ (net primary production; NPP) สูง แม้ว่าต้นไม้ในป่าชายเลนจะเจริญอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดินมีความเค็มสูง อีกทั้งยังมีปริมาณออกซิเจนในดินค่อนข้างจำกัด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการขึ้นลงของน้ำทะเล ระดับน้ำทะเลทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ส่งผลทำให้ความเค็มและปริมาณสารอาหารในป่าชายเลนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของต้นไม้ป่าชายเลน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเติบโตด้านการขยายพื้นที่หน้าตัดลำต้น และการผลิและร่วงของใบ รวมถึงศึกษาการดูดซึมกลับของสารอาหารในใบของแสมขาว (Avicennia alba) ในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยมีพื้นที่ศึกษาอยู่ในป่าชายเลนรุ่นสองบริเวณปากแม่น้ำตราด ผลการศึกษาพบว่าการขยายพื้นที่หน้าตัดลำต้นและการผลิใบมีความผันแปรตามฤดูกาล โดยพบว่ามีอัตราที่สูงขึ้นในช่วงฤดูฝนจากนั้นจึงลดลงในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่มากในช่วงฤดูฝนส่งผลให้ความเค็มของน้ำลดลง อีกทั้งไนโตรเจนในน้ำยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงทำให้ A. alba ได้รับน้ำจืดและไนโตรเจนผ่านการดูดซึมของรากสำหรับการเติบโตมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าประสิทธิภาพการดูดซึมกลับของฟอสฟอรัส (phosphorus resorption efficiency; PRE) ในใบมีค่าสูงในช่วงฤดูฝน จึงทำให้มีสารอาหารสำหรับการเติบโตเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้มีการเติบโตทั้งในด้านการขยายพื้นที่หน้าตัดลำต้นและการผลิใบที่มากขึ้นในช่วงฤดูฝน แสดงให้เห็นว่า A. alba มีกลยุทธ์ในการปรับตัวเพื่อให้เติบโตอยู่ได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความผันแปรของความเค็มและสารอาหารตามฤดูกาล โดยมีอัตราการเติบโตสูงในช่วงที่ความเค็มลดลง อีกทั้งยังเพิ่มการหมุนเวียนสารอาหารจากใบกลับมาใช้ใหม่มากขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการเติบโตที่สูงในช่วงฤดูฝน ซึ่งกลยุทธ์การเติบโตนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบนิเวศป่าชายเลนยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมคาร์บอนที่สำคัญของโลกต่อไป


Protective Effects Of Tiger Milk Mushroom (Lignosus Rhinocerus) Extracts On Oxidative Stress-Induced Neurotoxicity And Aging In Ht22 Cells And C. Elegans, Parinee Kittimongkolsuk Jan 2020

Protective Effects Of Tiger Milk Mushroom (Lignosus Rhinocerus) Extracts On Oxidative Stress-Induced Neurotoxicity And Aging In Ht22 Cells And C. Elegans, Parinee Kittimongkolsuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Lignosus rhinocerus (LR) or Tiger Milk Mushroom, a fork medicinal mushroom, has been reported for several pharmacological effects including asthma treatment, anti-inflammatory, anti-proliferative, immuno-modulating effects, promote neurite outgrowth in PC-12 cells, anti-HIV-1 activity, and antioxidants properties. However, the antioxidant properties have only focus on in vitro and no or few studies have reported their protective effects in mouse hippocampal (HT22) cells and Caenorhabditis elegans (C. elegans). This study aims to investigate the neuroprotective effect of three extracts of LR against oxidative stress in both HT22 cells and. C. elegans as well as longevity in C. elegans. In HT22 cells, we …


ผลของการให้ผงว่านหางจระเข้ทางปากร่วมกับการปลูกถ่ายเซลล์เอนโดทีเลียมโปรเจนนิเตอร์ ของมนุษย์ต่อการหายของแผลในหนูนูดไมซ์ที่เป็นเบาหวาน, สุพัสนันท์ แก้วศรีสังข์ Jan 2020

ผลของการให้ผงว่านหางจระเข้ทางปากร่วมกับการปลูกถ่ายเซลล์เอนโดทีเลียมโปรเจนนิเตอร์ ของมนุษย์ต่อการหายของแผลในหนูนูดไมซ์ที่เป็นเบาหวาน, สุพัสนันท์ แก้วศรีสังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหายของแผลและการเกิดหลอดเลือดใหม่ในหนูนูดไมซ์ที่เป็นเบาหวานหลังจากให้กินว่านหางจระเข้ร่วมกับการปลูกถ่าย EPCs โดยแบ่งหนูเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มเบาหวาน กลุ่มเบาหวานที่ได้รับเซลล์เอนโดทีเลียมโปรเจนนิเตอร์ (1×106 เซลล์) บริเวณแผล กลุ่มเบาหวานที่ได้รับว่านหางจระเข้ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวันทางปาก และกลุ่มเบาหวานที่ได้รับเซลล์เอนโดทีเลียมโปรเจนนิเตอร์ (1×106 เซลล์) บริเวณแผลร่วมกับการกินว่านหางจระเข้ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ทำการเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยสารสเตรปโตโซโตซิน 45 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมทางช่องท้องวันละครั้งติดต่อกันห้าวัน เมื่อครบ 10 สัปดาห์หลังจากเหนี่ยวนำให้หนูเป็นเบาหวาน หนูแต่ละกลุ่มถูกทำให้เกิดแผลชนิดที่ถูกตัดจนถึงชั้นไขมันที่บริเวณผิวหนังทั้งสองข้างจากแนวหลังของหนู ขนาด 0.6×0.6 ตารางเซนติเมตร ในวันที่ 7 และ 14 หลังทำให้เกิดแผล ทำการศึกษาระดับน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่องกลูโคมิเตอร์ วัดขนาดแผลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Image Pro Plus 6.1 วัดการไหลเวียนของเลือดบริเวณแผลด้วยเครื่องเลเซอร์ดอปเปลอร์โฟลมิเตอร์ ศึกษาการเกิดหลอดเลือดใหม่ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลโดยใช้แสงฟลูออเรสเซ็นต์ ศึกษาการเกิด re-epithelialization ด้วยการย้อมฮีมาท้อกซิลินและอีโอซิน และวัดระดับ VEGF ที่แผลด้วยวิธี ELISA ผลการทดลองพบว่า ทั้งในวันที่ 7 และ 14 หลังทำให้เกิดแผล ค่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังจากได้รับว่านหางจระเข้ กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์เอนโดทีเลียมโปรเจนนิเตอร์ร่วมกับการกินว่านหางจระเข้ มีการเพิ่มขึ้นของการปิดของแผล การไหลเวียนของเลือดบริเวณแผล การเกิดหลอดเลือดใหม่ การเกิด re-epithelialization และระดับ VEGF อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษา นอกจากนี้ในวันที่ 14 กลุ่มที่ได้รับการรักษาร่วมกันมีการเพิ่มขึ้นของการไหลเวียนของเลือดบริเวณแผลและการเกิดหลอดเลือดใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย EPCs หรือ Aloe เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการศึกษานี้อาจเป็นประโยชน์และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาแผลเบาหวานได้ในอนาคต


การหาความชุกและการกระจายสายพันธุ์ของเชื้อบลาสโตซิสติสในผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน ณ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย, นพพล โพธิ์พฤกษ์ Jan 2020

การหาความชุกและการกระจายสายพันธุ์ของเชื้อบลาสโตซิสติสในผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน ณ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย, นพพล โพธิ์พฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณสุขทั่วโลกโดยพบผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัสและปรสิต การศึกษาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก ชนิดสายพันธุ์ และปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อบลาสโตซิสติสของผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานในพื้นที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ตัวอย่างอุจจาระและแบบสอบถามเก็บรวบรวมจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน 130 คนและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน 100 คน โดยนำตัวอย่างอุจจาระทั้งหมดมาตรวจหาเชื้อบลาสโตซิสติส ด้วยวิธี simple smear technique และตรวจหายีน small subunit ribosomal DNA ของเชื้อบลาสโตซิสติสด้วยเทคนิค nested PCR และจำแนกสายพันธุ์ด้วยเทคนิค Sanger sequencing วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อบลาสโตซิสติสโดยใช้การทดสอบไคสแควร์และอัตราส่วน odds (odds ratio) ที่ช่วงเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่า พบผู้ติดเชื้อบลาสโตซิสติสจำนวน 25 คน จากตัวอย่างอุจจาระทั้งหมด 230 คน คิดเป็นความชุกของการติดเชื้อบลาสโตซิสติสร้อยละ 10.9 การติดเชื้อชนิดนี้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานคิดเป็นร้อยละ 12.3 และร้อยละ 9 ตามลำดับ ในขณะที่สายพันธุ์ของเชื้อบลาสโตซิสติสที่ตรวจมากที่สุดประกอบด้วย สายพันธุ์ที่ 3 สายพันธุ์ที่ 1 และสายพันธุ์ที่ 4 ตามลำดับ การศึกษาปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ภาวะโรคเบาหวาน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ประเภทห้องน้ำ การมีสัตว์เลี้ยง ความถี่ของการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ การล้างผักและผลไม้ก่อนรับประทาน การล้างมือก่อนและหลังทำกิจกรรมต่างๆ และการขับถ่ายโดยใช้ห้องส้วม ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อบลาสโตซิสติสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่ามีแนวโน้มการติดเชื้อบลาสโตซิสติสที่สูงในเพศชาย ผู้ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ระยะเวลาการเป็นโรคเบาหวานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ผู้ที่ใช้ห้องส้วมแบบราดน้ำหรือนั่งยอง รวมทั้งผู้ที่มีสัตว์เลี้ยง ผลของการศึกษานี้เป็นข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์เพื่อใช้ในการกำหนดแนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานในชุมชนต่อไป


การพัฒนาแถบตรวจ Mtb Strip แบบอ่านผลด้วยตาเปล่าอย่างรวดเร็ว สำหรับวินิจฉัยวัณโรคจากปฏิกิริยา Multiplex-Recombinase Polymerase Amplification, วิลาณี เดชขจร Jan 2020

การพัฒนาแถบตรวจ Mtb Strip แบบอ่านผลด้วยตาเปล่าอย่างรวดเร็ว สำหรับวินิจฉัยวัณโรคจากปฏิกิริยา Multiplex-Recombinase Polymerase Amplification, วิลาณี เดชขจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่มีการระบาดทั่วโลก และยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย วัณโรคยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคติดต่อสูงเป็นอันดับสองรองจากโรคเอดส์ โดยมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis complex (MTBC) การตรวจวินิจฉัยวัณโรคทางห้องปฏิบัติการ เป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค การนำเทคนิคทางอณูชีววิทยาเข้ามาใช้วินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีความรวดเร็วมากกว่าการเพาะเลี้ยงเชื้อด้วยวิธีดั้งเดิมและสามารถวินิจฉัยโรคได้ภายใน 1 วัน มีบทบาทที่สำคัญในการวินิจวัณโรคในปัจจุบัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาแถบตรวจ MTB Strip แบบอ่านผลด้วยตาเปล่าอย่างรวดเร็ว สำหรับวินิจฉัยวัณโรคจากปฏิกิริยา Multiplex-recombinase polymerase amplification (M-RPA) โดยใช้ไพรเมอร์ที่จำเพาะต่อ IS1081 และ IS6110 ซึ่งมีความจำเพาะต่อเชื้อ MTBC และตรวจสอบผลผลิตของทั้งสอง IS ร่วมกัน เพื่อเพิ่มความไวของเทคนิคในการวินิจฉัยวัณโรค การทดสอบเบื้องต้นกับดีเอ็นเอที่สกัดจากโคโลนีของเชื้อ แสดงให้เห็นว่าเทคนิค M-RPA ร่วมกับแถบตรวจ MTB Strip สามารถจำแนกเชื้อ MTBC ออกจาก NTM ได้อย่างถูกต้อง เมื่อนำเทคนิค M-RPA ร่วมกับแถบตรวจ MTB Strip มาวินิจฉัยกับดีเอ็นเอที่สกัดจากสิ่งส่งตรวจเสมหะจำนวน 131 ตัวอย่าง พบว่ามีความไวและความจำเพาะ เท่ากับ 91.03% และ 84.91% ตามลำดับ โดยมีค่าความสอดคล้องในเกณฑ์ดี (κ=0.762) เมื่อเปรียบเทียบกับการย้อมสีทนกรด ในขณะที่มีความไวและความจำเพาะเท่ากับ 100.0% และ 94.55% ตามลำดับ และมีค่าความสอดคล้องในเกณฑ์ดีมาก (κ=0.953) เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิค Real-time PCR เทคนิค M-RPA ร่วมกับแถบตรวจ MTB Strip ใช้ระยะเวลาทำปฏิกิริยาเพียง 25 นาที ภายใต้อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส และตรวจสอบผลผลิตด้วยแถบตรวจ MTB Strip ภายในเวลา 15 นาที โดยตรวจสอบความเข้มข้นดีเอ็นเอตั้งต้นน้อยที่สุดได้เท่ากับ 0.1 ng/µl และไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกลุ่มเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์อื่นที่มักก่อโรคในระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นเทคนิค M-RPA ร่วมกับแถบตรวจ MTB Strip จึงเป็นเทคนิคที่มีความรวดเร็ว ไม่ซับซ้อน …


ความหลากหลายของจีนเคซีนของแพะนมในประเทศไทย, นภารัตน์ เนาวนัด Jan 2020

ความหลากหลายของจีนเคซีนของแพะนมในประเทศไทย, นภารัตน์ เนาวนัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาความหลากหลายของจีนเคซีนทั้ง 4 ชนิดในฐานะของจีนแคนดิแดท ที่มีผลต่อลักษณะการปริมาณน้ำนมในแพะจำนวน 65 ตัวแบ่งเป็นกลุ่มแพะที่มีบันทึกการให้ผลผลิตแล้วอย่างน้อย 1 ลำดับการให้นมและมีข้อมูลของลูกแพะ จำนวน 26 ตัว และกลุ่มแพะที่ไม่มีบันทึกการให้ผลผลิต จำนวน 35 ตัว จากการตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของจีนทั้ง 4 ชนิดด้วยวิธี DNA sequencing พบอัลลีลของจีนอัลฟาเอส 1 เคซีนทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ A, C และ E มีความถี่ของอัลลีล เท่ากับ 0.577, 0.177 และ 0.246 ตามลำดับ มีความถี่จีโนไทป์ของ AA, AC, AE, CC และ EE เท่ากับ 0.292, 0.292, 0.277, 0.031 และ 0.108 ตามลำดับ จีนเบต้าเคซีน พบอัลลีลทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ A และ F มีความถี่ของอัลลีล เท่ากับ 0.538 และ 0.462 ตามลำดับ มีความถี่จีโนไทป์ของ AA, AF และ FF เท่ากับ 0.246, 0.585 และ 0.169 ตามลำดับ จีนอัลฟาเอส 2 เคซีน พบอัลลีลทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ A และ B มีความถี่ของอัลลีล เท่ากับ 0.862 และ 0.138 ตามลำดับ มีความถี่จีโนไทป์ของ AA และ AB เท่ากับ 0.723 และ …


Controlled Release Of Fibroin Repeat-Tagged Proteins From Silk Hydrogel, Jaturong Promsuk Jan 2020

Controlled Release Of Fibroin Repeat-Tagged Proteins From Silk Hydrogel, Jaturong Promsuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Protein-based biologic drugs such as growth factors are playing important roles in modern medicine. These proteins can be used to stimulate local tissue repair. Growth factors are often incorporated into a scaffold, such as a hydrogel, and then put into the desired area of the body to achieve therapeutic effects. However, diffusion of these growth factors outside of the designated area or inappropriate release time can have deleterious consequences, such as inducing tumors in other areas of the body or uncontrolled inflammation. Therefore, this project aims to create a model to study diffusion of protein from hydrogel by using green …


Potential Of Antimicrobial Peptides Against Bacterial Pathogens Causing Bovine Mastitis, Kwantida Popitool Jan 2020

Potential Of Antimicrobial Peptides Against Bacterial Pathogens Causing Bovine Mastitis, Kwantida Popitool

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bovine mastitis is a common disease in dairy cows. The majority causes of bovine mastitis disease is an intramammary bacterial infection via the teat orifice. In general, antibiotics are used for bovine mastitis treatment, its inappropriate usage leads to antibiotic-resistance problem and residue in meat and dairy products. One of the alternative ways against pathogen to reduce antibiotic usage is antimicrobial peptides which are innate immune of life. Three cationic peptides as Pm11, Pep64, and L10 peptides were evaluated for an antimicrobial activity to gram-positive and gram-negative bacteria. Pm11 has shown the best potent antimicrobial activity with minimum bactericidal concentration …


Inhibitory Activity Of Metabolites From Mangosteen Roots Garcinia Mangostana L. On Hepatocellular Carcinoma And Colon Cancer Cell Growth, Kedkran Koopklang Jan 2020

Inhibitory Activity Of Metabolites From Mangosteen Roots Garcinia Mangostana L. On Hepatocellular Carcinoma And Colon Cancer Cell Growth, Kedkran Koopklang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Liver cancer is one of the most common deadliest diseases both worldwide and in Thailand. Because of its rich and dual blood supply, malignant tumors in the liver could grow proliferative and rapidly spread to another organ. This process was called Metastasis, the major cause of human death. Mangosteen (Garcinia mangostana L.) generally known as a queen of fruits, has been widely studied in medicinal applications for many decades, due to plenty of bioactive metabolites such as xanthones as a major component. Nonetheless, reports about bioactivities of minor components were barely known. In this study, metabolites isolated from mangosteen roots …


Biodegradation Of Polycyclic Aromatic Hydrocarbons Commonly Found In Coal Slurry Using White Rot Fungi Isolated From East Kalimantan, Retno Wulandari Jan 2020

Biodegradation Of Polycyclic Aromatic Hydrocarbons Commonly Found In Coal Slurry Using White Rot Fungi Isolated From East Kalimantan, Retno Wulandari

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Fifty specimens of white-rot fungi were identified and placed into 6 families and 30 species. Two new records of resupinate fungi (Basidiomycota) were discovered and reported for Indonesia: Ceriporia inflata and Ceriporia lacerata. Furthermore, a four-step screening protocol to select WRF has been conducted. These stepwise protocols have selected Trametes polyzona PBURU 12 based on its superior performance among the 30 isolates tested in this experiment with laccase as the major LMEs produced. Plackett-Burman’s design was used for screening multiple factors at a time. The result suggested that the highest positive effects influencing laccase production by PBURU 12 were glucose, …


การทดสอบความเข้ากันได้ของเอชแอลเอด้วยเทคนิคโฟลไซโตเมทรี : ทางเลือกหนึ่งของการทดสอบในผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรอปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคสมองตาย, นุจนันท์ โชคทวีศักดิ์ Jan 2020

การทดสอบความเข้ากันได้ของเอชแอลเอด้วยเทคนิคโฟลไซโตเมทรี : ทางเลือกหนึ่งของการทดสอบในผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรอปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคสมองตาย, นุจนันท์ โชคทวีศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตรวจความเข้ากันได้ของ Human Leukocyte Antigen (HLA) ก่อนการปลูกถ่ายไตทำขึ้นเพื่อตรวจจับ Donor Specific Antibody (DSA) ต่อผู้บริจาค ที่อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาปฏิเสธอวัยวะ โดยเทคนิคที่ใช้ในปัจจุบันคือเทคนิค Complement-dependent microcytotoxicity crossmatch (CDC-XM) และ Anti-Human Globulin Complement-dependent microcytotoxicity crossmatch (AHG-CDC) มีความไวจำกัด ไม่สามารถตรวจจับ DSA ปริมาณน้อยที่ส่งผลต่ออัตราการรอดของไตได้ ขณะที่เทคนิคโฟลไซโตเมทรี (Flow cytometry crossmactch, FCXM) มีความไวสูงกว่า แต่พบปัญหาผลบวกปลอมจากแอนติบอดีที่ไม่เกี่ยวข้องทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสที่จะได้รับการปลูกถ่ายไต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงความไวและความจำเพาะของเทคนิค FCXM โดยศึกษาในลิมโฟซัยต์จากผู้บริจาคไตสมองตายกับน้ำเหลืองตัวอย่างที่ทราบผล DSA จำนวน 20 ตัวอย่างเพื่อประเมินเทคนิคแล้วทดสอบเปรียบเทียบกับเทคนิค CDC,AHG-CDC ในกลุ่มผู้ป่วยจำนวน 199 ตัวอย่าง พบว่าในขั้นตอนการประเมินผลเทคนิค FCXM มีความไวและความจำเพาะในกลุ่ม T cell 71% และ 100% ตามลำดับ ส่วน B cell พบว่าความไวเท่ากับ 75% และความจำเพาะ 100% และสอดคล้องกับผล DSA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) เมื่อทดสอบกับผู้ป่วยให้ผลสอดคล้องกับเทคนิค CDC, AHG-CDC จำนวน 190 ตัวอย่าง คิดเป็น 95.47% พบผลบวกปลอม จำนวน 8 ตัวอย่าง คิดเป็น 4.0% ผลการทดสอบความเข้ากันได้และประเมินประสิทธิภาพเทคนิค FCXM นี้สรุปได้ว่าเหมาะสมที่จะนำไปทดลองใช้ทดแทนเทคนิค CDC และ AHG-CDC แต่ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มที่มี DSA ก่อนนำไปใช้จริงในอนาคต


Genome Annotation Pipelines For Prokaryotic And Eukaryotic Microorganisms Using De Novo Short Read Genome Assembly, Songtham Anuntakarun Jan 2020

Genome Annotation Pipelines For Prokaryotic And Eukaryotic Microorganisms Using De Novo Short Read Genome Assembly, Songtham Anuntakarun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Next-generation sequencing (NGS) is the massively parallel sequencing technology that has revolutionized biological sciences. Currently, microorganism genomes have been widely studied using NGS. However, the lack of details in the draft or reference genome is a common problem in genome analysis. Therefore, this study aims to develop genome analysis pipelines for eukaryotic and prokaryotic microorganisms using public bioinformatics software and public databases. Leishmania matiniquensis and Leptospira interrogans were used as models for genome assembly and annotation in eukaryote and prokaryote, respectively. Our pipelines used SPAdes for short read assembled, AUGUSTUS and Prokka for gene prediction in eukaryotic and prokaryotic microorganisms, …


Effects Of Soluble And Insoluble Fibres On Pasting And Retrogradation Of Wheat Flour And Quality Of Bread, Arati Bhatta Jan 2020

Effects Of Soluble And Insoluble Fibres On Pasting And Retrogradation Of Wheat Flour And Quality Of Bread, Arati Bhatta

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to investigate the effect of selected fibres on pasting as well as short-term and long-term retrogradation of starch in wheat flour and to investigate the quality of fibre-added white pan breads. Two soluble fibres, tara gum (TG) and k-carrageenan (CAR), and one insoluble fibre, cellulose (CEL), were added to wheat flour at different levels (1.0, 1.5 and 2.0%). Regarding pasting behaviour, addition of soluble fibres was found to cause an increase in peak, trough, breakdown, and final viscosity. Meanwhile the addition tended to decrease setback viscosity and pasting temperature. In contrast, insoluble fibre addition posed a minimal …


Effects Of Chitosan Combined With Chitosan-Montmorillonite Nanocomposites Coating On Postharvest Quality Of 'Hom Thong' Banana Fruit, Arisa Wantat Jan 2020

Effects Of Chitosan Combined With Chitosan-Montmorillonite Nanocomposites Coating On Postharvest Quality Of 'Hom Thong' Banana Fruit, Arisa Wantat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Chitosan (CTS) has been widely applied as a fruit coating in commercial fruit crops to prolong their shelf-life. In the present research, chitosan coatings were applied on ‘Hom Thong’ banana fruit, an important exported cultivar of Thailand. Postharvest qualities of ‘Hom Thong’ banana were measured after coating with 1% (w/v) low molecular weight (LMW-CTS: 65 kDa), medium molecular weight (MMW-CTS: 265 kDa), and high molecular weight (HMW-CTS: 540 kDa) chitosan for 1 min. The application of HMW-CTS showed the thickest of coated film and had effectiveness as a barrier of water vapor and O2 transmission. HMW-CTS treatment could retard fruit …


Functional Analysis Of Glutathione S-Transferase From The Extremophile Halothece Sp. Pcc7418, Chananwat Kortheerakul Jan 2020

Functional Analysis Of Glutathione S-Transferase From The Extremophile Halothece Sp. Pcc7418, Chananwat Kortheerakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Glutathione S-transferase (GST) are a set of multifunctional enzymes encoded by large gene families. It has been functionally demonstrated that GSTs play vital roles in cellular detoxification, regulation of redox-dependent process, and stress responses. Although the GST gene family has been extensively studied across taxa, the function of the GST genes in primordial oxygenic phototrophs such as cyanobacteria is poorly understood. In this thesis, GSTs from extremophilic cyanobacterium Halothece sp. PCC7418 (hereafter Halothece GSTs) were identified and functionally characterized. The genome-based analysis showed that there were four GSTs in Halothece 7418 (GST_0647, GST _0729, GST _1478, and GST _3557). Phylogenetic …


Effect Of Sorghum Flour Substitution On Pasting Behavior Of Wheat Flour And Application Of Composite Flour In Bread, Eunice Muute Muema Jan 2020

Effect Of Sorghum Flour Substitution On Pasting Behavior Of Wheat Flour And Application Of Composite Flour In Bread, Eunice Muute Muema

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study was to investigate the effect of sorghum flour substitution to wheat flour on pasting and thermal properties of the composite flours as well as firmness of the flour gels and application of composite flour in pan bread. Wheat-to-sorghum flour ratio used were 100:0 (wheat control), 0:100 (sorghum control), 80:20, 60:40, 40:60 and 20:80, with the wheat control serving as a benchmark. Both flours had approximately 10% moisture content. Crude protein content of sorghum flour was 14.90%, which was lower than that of wheat flour (16.91%). Sorghum flour contained 60.19% starch (with 14.88% amylose) as compared …


Production And Properties Of Resistant Maltodextrin From Cassava Starch, Kamonrat Trithavisup Jan 2020

Production And Properties Of Resistant Maltodextrin From Cassava Starch, Kamonrat Trithavisup

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to determine the effects of processing conditions on molecular structure and selected properties of cassava-derived resistant dextrins (RDs) and resistant maltodextrins (RMDs). Cassava starch was mixed with hydrochloric acid solution to obtain the final acid concentration of 0.04-0.10% dry starch basis, dried at 50oC until having <5% moisture, and dextrinized at 100-120oC for 60-180 min. As acid concentration, heating temperature and time increased, water solubility, reducing sugar content, total dietary fiber (TDF) content and proportion of high molecular weight fiber fraction of RDs increased while their whiteness decreased. For the solution containing RDs produced under mild conditions (0.04-0.08% HCl, 100°C, 60 min), an endothermic peak at 45-70oC, having enthalpy of 1.66-2.14 J/g was detected. However, no endotherm was detected from the solution of RDs processed under extreme conditions. Harsher dextrinization conditions resulted in the RDs with slightly higher molecular weight but containing shorter branched chains. Dextrinization resulted in the formation of α-1,2, α-1,6, β-1,2, β-1,4 and β-1,6 in RDs. Lower proportion of α-1,4 linkage and α-/β-reducing ends with higher proportion of β-1,2, β-1,4, α-/β-1,6 linkages and degree of branching (DB) were found in RDs prepared under stronger dextrinization conditions. Although indigestible portion was enhanced by dextrinization, TDF of the RDs were only 7-47%. To increase the TDF content, RDs prepared from 5 different conditions (0.04% and 0.06% HCl, 120oC, 60-180 min), having >30% TDF, were selected for RMD production. The 30% RD solutions were treated with commercial α-amylase enzyme at 70oC, pH 6, for 90 and 120 min, to obtain the final dextrose equivalent of 8 and 12, respectively. The samples were then purified and spray dried. Alpha-amylase treatment produced RMD with shorter …