Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Discipline
Institution
Keyword
Publication Year
Publication
File Type

Articles 2581 - 2610 of 5497

Full-Text Articles in Law

ความเหมาะสมของการกำหนดเพดานการยกเว้นภาษีการให้ตามประมวลรัษฎากร, โชติพงศ์ รุ่งศศิธร Jan 2018

ความเหมาะสมของการกำหนดเพดานการยกเว้นภาษีการให้ตามประมวลรัษฎากร, โชติพงศ์ รุ่งศศิธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยมีการตรวจพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558 ในการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม และเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดกและภาษีการให้ อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์ในการยกเว้นภาษีการให้ดังกล่าวนั้นยังมีความไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมตามหลักความสามารถในการเสียภาษี รวมถึงหลักความเสมอภาคทางภาษี เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความเหมาะสมและเป็นธรรมในการกำหนดเพดานการยกเว้นภาษีการให้ตามประมวลรัษฎากรของประเทศไทย ตลอดจนศึกษากฎหมายของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไต้หวันที่มีการจัดเก็บภาษีการให้ เพื่อนำแนวทางของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไต้หวันมาปรับใช้ โดยงานศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นอาศัยการวิจัยเชิงเอกสาร (Docomentary Research) ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นสำคัญ จากการศึกษาพบว่าการกำหนดเพดานการยกเว้นภาษีการให้ตามประมวลรัษฎากรของประเทศไทย ยังขาดความเหมาะสมและเป็นธรรม เนื่องจากการกำหนดเพดานในการยกเว้นภาษีการให้ตามประมวลรัษฎากรจำนวน 20 ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาท ตลอดปีภาษีแล้วแต่กรณีของการให้ถือว่าเป็นจำนวนที่สูง นอกจากนี้ยังให้สิทธิในการเลือกเสืยภาษีในอัตราคงที่ หรือนำไปรวมกับเงินได้ประเภทอื่นเพื่อเสียภาษีอีกด้วย ซึ่งปัญหาในการกำหนดเพดานการยกเว้นภาษีการให้ดังกล่าวถือว่าไม่เหมาะสมและยังส่งผลกระทบต่อความไม่เป็นธรรมในสังคมกับผู้มีเงินได้ประเภทแรงงาน และผู้มีเงินได้จากทุน ซึ่งต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากรในอัตราก้าวหน้า ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมขัดต่อหลักความสามารถในการเสียภาษีและหลักผลประโยชน์ที่ได้รับ และความไม่เสมอภาคทางภาษีนอกจากนี้ยังทำให้เกิดช่องทางหลีกเลี่ยงภาษีจากการใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม จากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น ประเทศไทยควรมีการกำหนดเพดานการยกเว้นภาษีการให้อย่างเหมาะสมโดยใช้หลักเกณฑ์รายได้เฉลี่ยของคนในประเทศเป็นตัวกำหนดเพดานการยกเว้น และควรยกเลิกการให้สิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราคงที่หรือนำไปรวมกับเงินได้ประเภทอื่นเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมในสังคมโดยนำแนวทางในการจัดเก็บภาษีการให้ของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไต้หวันปรับใช้


ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ.2551 : ศึกษากรณีอาคารชุด, ชญานิศ ยุวรี Jan 2018

ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ.2551 : ศึกษากรณีอาคารชุด, ชญานิศ ยุวรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากแนวโน้มการของอสังหาริมทรัพย์ประเภท ที่อยู่อาศัยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก คือ อาคารชุดโดยปัจจุบันมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับอดีตซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งมาจากการที่รูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคมไทยและระบบคมนาคม ดังนั้นการทำธุรกรรมเกี่ยวกับอาคารชุด จึงควรมีสัญญาที่มาป้องกันความเสี่ยงทางด้านเงินดาวน์หรือการทำสัญญาในลักษณะที่คล้ายกับการการทำสัญญาประกันภัย คือ สัญญาดูแลผลประโยชน์สำหรับคุ้มครองเงินหรือทรัพย์สินที่ให้บุคคลหนึ่งซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นคนกลางที่มีความน่าเชื่อถือ ได้แก่ ผู้ดูแลประโยชน์ของคู่สัญญาโดยวางหลักฐานแห่งการชำระหนึ้เก็บไว้กับบุคคลที่สามจนกว่าจะบรรลุตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว มาเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ให้ได้รับความเป็นธรรมควบคู่ไปกับการทำสัญญาจะซื้อจะขายก่อนส่งมอบห้องชุด ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 รวมเป็นระยะเวลา 11 ปี ที่มีการประกาศใช้กฎหมายนี้แต่ก็ยังถือว่าไม่มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายเท่าที่ควร เพราะถึงแม้จะมีการแก้ไขแล้วแต่ก็ยังต้องใช้ความสมัครใจของคู่สัญญาเป็นสำคัญและประชาชนทั่วไปรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจส่วนมากยังไม่ทราบว่ามีกฎหมายนี้และผลประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งเป็นอันแสดงให้เห็นถึงปัญหาจากการบังคับใช้กฎหมายให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้จากการศึกษาข้อเท็จจริงและมาตรการทางกฎหมาย ผู้ศึกษาพบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ผ่านการควบคุมดูแลของกระทรวงการคลังถึงแม้ว่าจะเป็นสัญญาที่ดีมีประโยชน์ คุ้มครองป้องกันความเสี่ยงของผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจก่อนส่งมอบทรัพย์สิน และสร้างความน่าเชื่อถือและเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ โดยในกรณีของอาคารชุดจะมีในลักษณะที่ผ่อนชำระเงินดาวน์ยังไม่ครบหรือการก่อสร้างอาคารชุดยังไม่แล้วเสร็จในการปรับปรุงมาตรการดังกล่าวเป็นกฎหมาย จากผลการศึกษาปัญหาการใช้กฎหมายการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา โดยศึกษาการทำธุรกรรมเกี่ยวกับอาคารชุดของประเทศไทยดังกล่าวข้างต้น ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะในการศึกษาถึงแนวทางและความเป็นไปได้ของการเพิ่มเติมมาตรการที่จำเป็นบางประการ เพื่อให้สัญญาดูแลผลประโยชน์และผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา มีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์สากลอย่างสมบูรณ์ และเพื่อเป็นการสนับสนุนการทำธุรกรรมการซื้อขายห้องชุด ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรมีการศึกษาถึงแนวทางและความเป็นไปได้ในการปรับปรุงและแก้ไขมาตรการทางกฎหมายด้านการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ตามประเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียเพื่อใช้บังคับสำหรับประเทศไทยต่อไป


ปัญหาการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร : ศึกษากรณีการให้บริการด้านการสอบบัญชีโดยกิจการสอบบัญชี, พรณิชา อำนวยสกุล Jan 2018

ปัญหาการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร : ศึกษากรณีการให้บริการด้านการสอบบัญชีโดยกิจการสอบบัญชี, พรณิชา อำนวยสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การให้บริการด้านการสอบบัญชี จัดเป็นการให้บริการโดยวิชาชีพอันจำเป็นต้องเป็นผู้มีความรู้ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในด้านการบัญชีและการสอบบัญชีรวมถึงกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องการให้บริการด้านการสอบบัญชีถือว่าเป็นธุรกิจที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการวิเคราะห์เศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากกฎหมายไทยได้กำหนดให้งบการเงินของกิจการต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยเอกชน และหน่วยงานรัฐ มั่นใจได้ว่า สถานะการเงินและผลการดำเนินงานที่แสดงในงบการเงินของกิจการได้สะท้อนถึงความเป็นจริงที่สุดตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี ทั้งนี้ รัฐได้มีเจตนารมณ์ในการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับให้บริการด้านการสอบบัญชีตั้งแต่ประเทศไทยได้มีการเริ่มใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแทนระบบภาษีการค้าอันมีการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนและไม่เป็นธรรม เนื่องจากขณะนั้นยังมีผู้ประกอบการหรือบริษัทที่ใช้บริการสอบบัญชีที่เป็นกิจการขนาดเล็กซึ่งมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่มาก รัฐจึงไม่ต้องการให้ผู้ประกอบการดังกล่าวมีภาระจากค่าบริการสอบบัญชีที่สูงขึ้นจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่บังคับใช้แทนภาษีการค้า อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่าในปัจจุบัน สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต กล่าวคือ มีจำนวนผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการด้านการสอบบัญชีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 81(1)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่ได้สะท้อนถึงเจตนารมณ์เท่าอดีตและทำให้เกิดปัญหา นั่นคือ นอกจากกิจการสอบบัญชีภาระต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจากภาษีซื้อที่ขอคืนไม่ได้แล้ว ผลการดำเนินงานและภาษีนิติบุคคลของการสอบบัญชีก็ไม่สะท้อนความเป็นจริงอีกด้วย รวมถึงยังทำให้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มขาดตอน จากปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่า การให้บริการด้านการสอบบัญชีไม่ควรได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่า การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการด้านการสอบบัญชีไม่มีความสมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับกรณีของกองทุนรวม และนอกจากว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย เมื่อเทียบกับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการด้านการสอบบัญชีแล้ว การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มยังทำให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์ทางภาษีมูลค่าเพิ่มสูงสุดเมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่นในมาตรา 81(1)(ฌ) ทำให้สรุปได้ว่า รัฐควรมีการพิจารณาจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการด้านการสอบบัญชีเพื่อขจัดปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์และเพิ่มรายได้ให้กับรัฐสำหรับใช้บริหารประเทศให้พัฒนาเพื่อสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้


แนวทางในการกำหนดเกณฑ์กลางเพื่อการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญา เลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย, ไพดรินทร์ ดวงเดือน Jan 2018

แนวทางในการกำหนดเกณฑ์กลางเพื่อการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญา เลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย, ไพดรินทร์ ดวงเดือน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นเพราะประเทศต่างๆ ในโลกไม่สามารถผลิตสินค้าและบริการได้ครบตามความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ โดยผู้นำเข้าและส่งออกจำเป็นต้องตกลงกันว่าจะใช้วิธีการชำระเงินในรูปแบบใด ซึ่งการชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of credit) เป็นวิธีที่ผู้นำเข้าส่งออกต้องการความเชื่อมั่นในการทำการค้าระหว่างกัน โดยผู้ขายหากส่งมอบเอกสารต่างๆ ให้แก่ธนาคารตามที่กำหนดไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ธนาคารมีหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารดังกล่าวว่าตรงตามที่กำหนดเอาไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ผู้ซื้อเปิดเครดิตไว้หรือไม่ หากธนาคารตรวจสอบแล้วเห็นว่าเอกสารทั้งหมดตรงหรือสอดคล้องกับที่เลตเตอร์ออฟเครดิตกำหนดไว้ ธนาคารก็มีหน้าที่ชำระเงินให้กับผู้ขาย แต่หากเอกสารไม่ตรงหรือไม่สอดคล้องตามที่กำหนดไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิต ธนาคารของผู้ซื้อมีสิทธิปฏิเสธการชำระเงินได้ โดยธนาคารจะพิจารณาตามข้อกำหนดในสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีปฏิบัติตามที่ UCP กำหนด หลักปฏิบัติในการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ไม่แน่นอน การตีความและความระมัดระวังในการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยมีความแตกต่างกัน ดังนั้นประเทศไทยควรมีกฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนแน่นอนในการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย โดยใช้แนวทางในการนำข้อกำหนดและกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตในประเทศจีน ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้กับประเทศไทย ด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบเอกสารประกอบเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยเฉพาะหรือกำหนดเป็นมาตรฐานการปฏิบัติของสถาบันการเงิน โดยกำหนดหลักการตรวจสอบเอกสารประกอบเลตเตอร์ออฟเครดิตด้วยหลักการตรวจสอบเอกสารโดยเคร่งครัด (Strict Compliance) และกำหนดกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิต เพื่อเป็นแนวทางในการพิพากษาของศาลในกรณีมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารประกอบเลตเตอร์ออฟเครดิต โดยกำหนดศาลที่ใช้ตัดสินโดยเฉพาะเหมือนกับศาลจีน หรือใช้แนวคำพิพากษาเดิมเป็นกฎหมายที่ยึดถือปฏิบัติกันมาเหมือนกับศาลอังกฤษที่ยึดหลักการตรวจสอบเอกสารโดยเคร่งครัด หรือตีความโดยใช้กฏหมายเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยเฉพาะเหมือนกับศาลสหรัฐอเมริกาที่มีบทบัญญัติความรับผิดของธนาคารและใช้หลักการตรวจสอบเอกสารโดยเคร่งครัด เพื่อให้การตีความและความระมัดระวังในการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยมีมาตรฐานและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อีกทั้งทำให้ผลของการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตมีความแน่นอน ลดปัญหาที่เกิดจากการตีความเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยที่แตกต่างกัน สร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าในต่างประเทศ ส่งเสริมภาพลักษณ์ในการทำการค้าของผู้นำเข้าและส่งออกในประเทศไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างรายได้ให้กับประเทศในที่สุด


แนวทางการแก้ไขและปรับปรุงมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทย (Otop Extravaganza), อุทัยวรรณ ศักดิ์เดชยนต์ Jan 2018

แนวทางการแก้ไขและปรับปรุงมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทย (Otop Extravaganza), อุทัยวรรณ ศักดิ์เดชยนต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รัฐบาลได้ออกมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทย (OTOP Extravaganza) ในประเทศไทยโดยออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 318 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรเริ่มครั้งแรกในปี 2559 ในช่วงวันที่ 1 สิงหาคมถึง 31 สิงหาคม โดยให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดากับการซื้อสินค้าจากโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ที่มาตรการกำหนด ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทย อย่างไรก็ตามมาตรการนี้ยังมีปัญหาความไม่เหมาะสมบางประการ เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงความไม่มีประสิทธิภาพของมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีบ้านเกิดของประเทศญี่ปุ่นเพื่อนำแนวทางมาปรับใช้ในบางประเด็น จากการศึกษาพบว่ามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทยมีปัญหาบางประการ กล่าวคือรัฐบาลนำมาตรการดังกล่าวมาใช้อย่างไม่ต่อเนื่องทำให้วัตถุประสงค์ในการส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทยในภาคประชาชนไม่ประสบผลสำเร็จ รวมถึงเงื่อนไขของระยะเวลาในการให้สิทธิประโยชน์และหลักเกณฑ์ของผู้ขายสินค้าโอท็อป จากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงควรนำแนวทางมาตรการภาษีบ้านเกิดของประเทศญี่ปุ่นมาปรับใช้โดยปรับให้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ทั้งปี โดยอาจเริ่มพิจารณาใช้เป็นระยะเวลา 2 หรือ 4 ปีก่อนเพื่อวิเคราะห์ถึงผลลัพธ์ รวมถึงควรให้ความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและรัฐบาลควรพัมนาช่องทางการขายทางเว็บไซต์ที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลว่าทุกรายการที่ซื้อผ่านทางเว็บไซต์สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้แน่นอน เพื่ออำนวยความสะดวกและดึงดูดให้ภาคประชาชนสนใจมากขึ้นและสุดท้ายนี้เพื่อให้มาตรการภาษีนี้เป็นประโยชน์ต่อทุกคนมากที่สุด ทั้งผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ได้จดทะเบียน เช่น กลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่ไม่สามารถจดทะเบียนได้เพราะเงื่อนไขไม่ตามข้อกำหนด รัฐบาลควรให้หน่วยงานราชการท้องถิ่นเข้ามาเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ขายสินค้าโอท็อปและผู้ที่ต้องการจะใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี โดยให้หน่วยงานราชการท้องถิ่นออกเอกสารรับรองการซื้อสินค้าเพื่อรับรองการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แทน จากที่กล่าวมาจะส่งผลทำให้กลุ่มเกษตรกรรายย่อยได้รับผลประโยชน์จากมาตรการภาษีนี้เช่นกัน เป็นการเปิดโอกาสและช่องทางให้กลุ่มเกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศได้มีโอกาสในการหารายได้มากขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจจะมีการกระจายตัวมากขึ้น


ผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจอันเนื่องมาจากประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561, นคร อัศวสุรนาท Jan 2018

ผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจอันเนื่องมาจากประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561, นคร อัศวสุรนาท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่มีต่อผู้ประกอบธุรกิจอันเนื่องมาจากประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 รวมทั้งการศึกษาหาแนวทางเพื่อแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ด้วยการศึกษาการประกอบธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาเช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยของประเทศไทย ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศอังกฤษ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในลักษณะของการดำเนินการวิจัยทางด้านเอกสาร รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย และบุคคลที่เกี่ยวข้อง การทำนิติกรรมสัญญาภายใต้หลักของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น มีแนวคิดที่ว่าคู่สัญญามีความเท่าเทียมกันทั้งในด้านข้อมูลและฐานะทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ผู้ให้เช่าจึงสามารถทำความตกลงกับผู้เช่าให้แตกต่างจากที่กฎหมายกำหนดอย่างไรก็ได้ หากความตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นอกจากนี้ เมื่อสัญญานั้นเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างคู่สัญญาที่เป็นเอกชนด้วยกัน รัฐก็จะไม่เข้าไปแทรกแซงหรือยุ่งเกี่ยว ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเสรีภาพในการทำสัญญา อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ สังคมได้มีความเปลี่ยนแปลงไป ทําให้ผู้ให้เช่าซึ่งมีอํานาจต่อรองทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่า ถือโอกาสอาศัยหลักดังกล่าวเอาเปรียบผู้เช่าซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งและมีความอ่อนแอกว่าในทางเศรษฐกิจ ทําให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อคู่สัญญาฝ่ายหลัง รัฐจึงได้เข้าแทรกแซงการทำสัญญาด้วยการออกกฎเกณฑ์เพื่อมาควบคุมสัญญา แต่กฎเกณฑ์ดังกล่าวก็ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ให้เช่าซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจ จากผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบธุรกิจได้รับผลกระทบในเรื่องสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจในการบอกเลิกสัญญา เฉพาะในส่วนของการผิดสัญญาจากเหตุอื่นนอกเหนือจากการค้างชำระค่าเช่า และผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยในระยะยาว ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 เพื่อลดหรือขจัดผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย อันจะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง


ข้อจำกัดทางกฎหมายของมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคม : ศึกษากรณีมาตรการตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฉบับที่ 621 พ.ศ. 2559, กรกช เติมรุ่งเรืองเลิศ Jan 2018

ข้อจำกัดทางกฎหมายของมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคม : ศึกษากรณีมาตรการตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฉบับที่ 621 พ.ศ. 2559, กรกช เติมรุ่งเรืองเลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นนิติบุคคลรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นมาโดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางสังคมเป็นหลักและมีการนำกำไรที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการกลับไปลงทุนซ้ำเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางสังคมที่ตั้งไว้ โดยมิใช่เพื่อการสร้างความมั่งคั่งและเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล โดยมีการใช้โมเดลทางธุรกิจและกลไกทางตลาดมาเป็นหลักในการดำเนินการ ส่งผลให้วิสาหกิจเพื่อสังคมพึ่งพาตนเองทางการเงินได้ในระยะยาว จึงแตกต่างกับมูลนิธิหรือสมาคมทั่วไปที่ต้องอาศัยเงินบริจาคมาหล่อเลี้ยงองค์กร การดำเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคมจึงมีความยั่งยืนสามารถทำการแข่งขันกับวิสาหกิจอื่นตามกลไกทางการตลาดได้ อย่างไรก็ตาม วิสาหกิจเพื่อสังคมยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยมากนัก รัฐบาลไทยเห็นความสำคัญของการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม จึงได้มีการออกมาตรการต่างๆเพื่อส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคมและสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคมมากมายดังจะเห็นได้จาก พระราชบัญญัติวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 ที่ได้กำหนดมาตราการเพื่อการส่งเสริมไว้ 4 ลักษณะ ได้แก่ การสนับสนุนเงินลงทุน การสนับสนุนให้เกิดความรู้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคมการสนับสนุนเงินกู้ยืม และสนับสนุนให้มีระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เและพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 621 พ.ศ. 2559 ที่ได้กำหนดมาตรการทางภาษีไว้ โดยเป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่วิสาหกิจเพื่อสังคมและผู้ลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคม จากการศึกษาพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 621 พ.ศ. 2559 พบว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมบางประการยังมีข้อบกพร่องบางประการที่อาจจะทำให้การส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคมและการสร้างความจูงใจให้เกิดการลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคมไม่เป็นผลสำเร็จเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีของประเทศอังกฤษและประเทศเกาหลีใต้พบว่ามีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแตกต่างกันไปแต่ทั้งสองประเทศต่างก็ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคม ดังนั้น หากรัฐบาลไทยทบทวนและปรับปรุงการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวอย่างรอบคอบก็จะทำให้มาตรการทางภาษีนี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในการได้รับใบสั่งยาเพื่อไปซื้อยานอกสถานพยาบาล : ศึกษากรณีโรงพยาบาลเอกชน, ภารดี เตชะศิระประภากุล Jan 2018

แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในการได้รับใบสั่งยาเพื่อไปซื้อยานอกสถานพยาบาล : ศึกษากรณีโรงพยาบาลเอกชน, ภารดี เตชะศิระประภากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบัน ในกรณีของผู้ป่วยนอกหากจำเป็นต้องใช้ยาและเวชภัณฑ์เกี่ยวกับยา แพทย์ผู้ทำการรักษาจะส่งใบสั่งยาผ่านระบบออนไลน์ไปที่แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาล ซึ่งส่งผลให้ผู้เข้ารับบริการมีภาระผูกพันที่จะต้องรับยาที่โรงพยาบาลระบบดังกล่าว นอกจากจะส่งผลให้ผู้บริโภคไม่มีสิทธิเลือกชื่อทางการค้าของยา ในกรณีที่ยาชนิดหนึ่งผลิตขึ้นโดยมีชื่อทางการค้ามากกว่า 1 ชื่อ ยังนำมาซึ่งปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับยากในโรงพยาบาลเอกชนราคาสูงเกินจริง และเกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคในการไปซื้อยานอกสถานพยาบาล จากการศึกษาพบว่า แม้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 จะให้การรับรองสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการ และสิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ แต่เนื่องจากยารักษาโรคเป็นสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างจากสินค้าเศรษฐกิจชนิดอื่น คือ ยารักษาโรคเป็นสินค้าที่จำเป็น และเกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ สามารถต่อชีวิตให้ยืนยาวได้ ในขณะเดียวกันหากบริโภคในปริมาณที่ไม่เหมาะสมก็เกิดโทษได้เช่นกัน ประกอบกับผู้บริโภคอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถกำหนดชนิด และปริมาณที่จะควรจะได้รับยารักษาโรคได้ การตัดสินใจขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้สั่งจ่ายยา ดังนั้นการออกไปซื้อยานอกสถานพยาบาล ซึ่งเป็นสิทธิในการเลือกซื้อสินค้า จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ผู้บริโภคได้รับใบสั่งยา ที่มีลักษระเป็นคำสั่งหรือรายละเอียดในการให้ยาที่ออก และลงชื่อรับรองโดยแพทย์ผู้ตรวจรักษาบทบัญญัติแห่งกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงยังไมเพียงพอที่จะนำมารับรองสิทธิของผู้บริโภคในการไปซื้อยานอกสถานพยาบาลได้ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีบทบัญญัติเกี่ยวกับใบสั่งยา ผู้ประกอบวิชาชีพที่สามารถออกใบสั่งยา ผู้ประกอบวิชาชีพที่สามารถส่งมอบยาได้ รวมถึงรายละเอียดอื่นที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการออกใบสั่งยา และมีบทบัญญัติที่ให้การรับรองสิทธิของผู้บริโภคในการได้รับใบสั่งยาเพื่อไปซื้อยานอกสถานพยาบาลไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ภาครัฐควรมีมาตรการเข้ามากำกับดูแลร้านขายยาให้มีคุณภาพ มาตรฐาน มีระบบการจัดทำบันทึกเกี่ยวกับการจ่ายยาตามใบสั่งยา ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภค


มาตรการทางกฎหมายในการคำนวณค่าเสื่อมราคาของปัญญาประดิษฐ์, แกมมณี ใหม่เจริญนุกูล Jan 2018

มาตรการทางกฎหมายในการคำนวณค่าเสื่อมราคาของปัญญาประดิษฐ์, แกมมณี ใหม่เจริญนุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ด้วยสภาพปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยสารสนเทศไปอย่างมากจนเป็นผล ทำให้ทรัพย์สินบางประเภทเปลี่ยนสภาพไป หรือเกิดทรัพย์สินประเภทใหม่ขึ้นในปัจจุบัน จึงเกิดเทคโนลยีประเภทใหม่ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : AI) ซึ่งมีอัลกอริทึม ในการจดจำเรียนรู้ชุดคำสั่งและข้อมลที่ใช้ในอดีต แล้ววิเคราะห์ ปรับปรุง และพัฒนา เพื่อให้ งานบรรลุผลสำเร็จดียิ่งขึ้นในครั้งต่อๆ ไปได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องรับชุดคำสั่งใหม่อีกครั้ง จากมนุษย์ ด้วยคุณสมบัตินี้ทำให้ปัญญาประดิษฐ์จะกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการ ภาคพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และเกษตรกรรมในอนาคตที่สำคัญ จากการศึกษากฎหมาย ของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการคิดค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน พบว่า มีเพียงพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2527 เท่านั้น ที่อธิบายถึงวิธีการคำนวณการหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน จึงทำให้การนำพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวที่ประกาศบังคับใช้ เมื่อ 35 ปีก่อน มาปรับใช้ในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของปัญญาประดิษฐ์ที่ทรัพย์สิน ประเภทใหม่ที่เกิดขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน อาจจะไม่ใช่ แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเสนอให้มีการเพิ่มข้อกฎหมายใหม่ที่เฉพาะเจาะจง เกี่ยวกับวิธีการคำนวณการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของปัญญาประดิษฐ์ โดยคำนึงถึง การใช้งานจริง เนื่องจากปัญญาประดิษฐ์มีคุณสมบัติในการเรียนรู้ด้วยตนเอง จึงไม่เข้าข่ายลักษณะ ของคอมพิวเตอร์ หรือทรัพย์สินอื่นที่นิยามไว้ในกฎหมาย จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมล จากภาคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาควิชาการและภาคเอกชน ผู้เขียนได้แยกพิจารณาการคิดค่าเสื่อมราคา ของปัญญาประดิษฐ์ตามกฎหมายปัจจุบัน ออกเป็น 4 กรณี ตามเงื่อนไขของประเภททรัพย์สินและ อายุการใช้ประโยชน์ ซึ่งพบว่า ตามเงื่อนไขของประเภททรัพย์สินและอายุการใช้ประโยชน์ ซึ่งพบว่า การกำหนดให้คำนวนค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินสั้นเกินกว่าอายุการใช้ประโยชน์จะทำให้ ผู้ประกอบการสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ทางภาครัฐ หรือกรมสรรพากรจะมีความสามารถในการจัดเก็บภาษีได้น้อยลงอยางมีนัยสำคญ ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียน จึงเสนอให้บันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรายจ่ายฝ่ายทุน (Capital expense) รวมถึงเก็บสถิติการใช้งาน และแยกนิยาม Hardware Software และ Software ที่มีอัลกอลิทึม ออกจากกัน เพื่อแยกกันคำนวนอายุการใช้ประโยชน์ของแต่ละส่วนออกจากกันอย่างชัดเจน โดยใช้ หลักเศรษฐศาสตร์เรื่องประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและหลักการทางบัญชีเรื่องอายุการใช้ประโยชน์ของ ทรัพย์สินเข้ามาช่วยในการคิด วิเคราะห์ เพื่อหาอายุของทรัพย์ที่เหมาะสมที่สุด


มาตรการทางกฎหมายด้านสาธารณสุข เพื่อควบคุมโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก, ชนกนันท์ นวรัตน์ ณ อยุธยา Jan 2018

มาตรการทางกฎหมายด้านสาธารณสุข เพื่อควบคุมโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก, ชนกนันท์ นวรัตน์ ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในงานเอกัตศึกษาเล่มนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับการควบคุมด้านสาธารณสุขของกิจการโรงแรม เพื่อตอบข้อสมมติฐานของการศึกษาที่กำหนดว่า “มาตรการทางกฎหมายด้านสาธารณสุขของไทยเพื่อควบคุมโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพักยังไม่เหมาะสมเพียงพอ ดังนั้น จึงควรมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” จากการศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับด้านสาธารณสุขของกิจการโรงแรม พบว่ามาตรการทางกฎหมายในปัจจุบันไม่เหมาะสมเพียงพอสำหรับควบคุมกิจการโรงแรม ที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก เนื่องจากในปัจจุบันยังพบปัญหาที่ผู้เข้าพักในโรงแรมประสบ เช่น ผู้เข้าพักไม่ทราบว่าโรงแรมอนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก ทราบภายหลังว่าห้องพักที่ตนเข้าพักเคยมีสัตว์เลี้ยงเข้าพักมาก่อนและรู้สึกไม่พอใจ ผู้เข้าพักพบขนสัตว์และหมัดสุนัขภายในห้องพัก ห้องพักมีกลิ่นเหม็น รวมถึงได้รับการรบกวนจากเสียงของสัตว์เลี้ยงที่เข้าพักในโรงแรม เป็นต้น ผู้เขียนจึงได้ศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา คือ มาตรการทางกฎหมายของรัฐแคนซัสและ รัฐยูทาห์ ประกอบกับมาตรการของรัฐแมรี่แลนด์และรัฐเทนเนสซี่ พบว่ามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยยังไม่เหมาะสมเพียงพอสำหรับการควบคุมโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพักใน ประเด็นดังนี้ (1) การกำหนดความหมายของโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก (2) การกำหนดหน้าที่ของผู้มีหน้าที่จัดการโรงแรม (3) มาตรการควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยของโรงแรม (4) มาตรการควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ผู้เขียนจึงเสนอแนะแนวทางในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยให้เหมาะสมมากขึ้นโดยอาศัยมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศมาเป็นแนวทางกำหนดมาตรการที่สามารถบังคับโดยทั่วไปประกอบด้วย (1) การกำหนดความหมายของโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพักเพื่อกำหนดนโยบายของโรงแรม เพื่อกำหนดคำนิยามของคำศัพท์เกี่ยวกับโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพักที่สำคัญ เช่น คำว่าสัตว์เลี้ยง สัตว์ที่ให้ความช่วยเหลือแก่มนุษย์ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ห้องพักทั่วไป เป็นต้น (2) การกำหนดหน้าที่ของผู้มีหน้าที่จัดการโรงแรมให้เหมาะสมสำหรับการดูแลจัดการโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก เช่น หน้าที่ในการแจ้งให้ผู้เข้าพักทราบว่าโรงแรมนั้นๆ อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก การติดป้ายเพื่อแจ้งที่แผนกต้อนรับและทางเข้าห้องพักที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก (3) การกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมด้านสุขอนามัยของโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก ได้แก่ กำหนดให้ระบบระบายอากาศของห้องพักที่กำหนดให้เป็นห้องพักที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าแยกเป็นอิสระจากห้องพักทั่วไป กำหนดมาตรการดูแลสุขอนามัยของห้องพักที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก มาตรการควบคุมร้านอาหารที่อนุญาตให้ลูกค้านำสัตว์เลี้ยงไปรับประทานอาหารที่ร้านได้ เช่น ให้ร้านอาหารเตรียมพื้นที่ outdoor สำหรับลูกค้าที่มารับประทานอาหารที่ร้านพร้อมสัตว์เลี้ยง มาตรการควบคุมบริเวณสถานที่ให้บริการสปา ร้านนวด และสระว่ายน้ำ เช่น กำหนดไม่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าไปในสถานประกอบการ รวมถึงกำหนดข้อยกเว้นสำหรับสัตว์ให้ความช่วยเหลือผู้บกพร่องทางร่างกายเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และ (4) การกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมสัตว์เลี้ยงภายในบริเวณโรงแรม ไม่ให้วิ่งเป็นอิสระภายในบริเวณโรงแรม


ปัญหามาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน, อภินันท์ อิทธิวราภรณ์กุล Jan 2018

ปัญหามาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน, อภินันท์ อิทธิวราภรณ์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือก๊าซชีวภาพนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว และทางรัฐบาลก็มีนดยบายสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนในหลากหลายรูปแบบทั้งที่เป็นมาตรการที่มิใช่ทางภาษีและมาตรการทางภาษี เช่น มาตรการการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน มาตรการการลดหรือยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านทางการรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มาตรการเกี่ยวกับภาษีศุลกากร เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้มาตรการส่งเสิรมการลงทุนของประเทศไทยที่มีอยุ่ปัจจุบันนั้น เป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเฉพาะการลงทุนในส่วนของนิติบุคคลที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น และมาตรการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่ผู้ลงทุนมีการนำพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ในกิจการ แต่ในส่วนของกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนนั้นกลับไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนไม่สามารถที่จะใช้สิทธิประโยชน์จากมาตรการนี้ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังไม่มีมาตรการส่งสเริมที่เป็นให้การทั่วไปกับกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ดังนั้น หากมองในด้านของกิจการ บถคคลเหล่านี้ย่อมไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการนี้เลย ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นอาจเป็นเหตุให้มีความไม่แน่นอนและส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ นับเป็นอุปสรรคในการเข้ามาประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับพลังงานทดแทนของต่างประเทศมาปรับใช้ โดยทำการพิจารณาตามความเหมาะสมกับประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ผู้เขียนได้ทำการศึกษา ได้แก่ ประเทศเวียดนามและประเทศเยอรมนีพบว่าการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกของทั้งสองประเทศมีลักษณะไปในทิศทางเดียวกันกับประเทศไทย กล่าวคือ ทั้งสองประเทศดังกล่าวมุ่งพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนและมีนโยบายต่าง ๆ ที่เป็นการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตขาดแคลนพลังงาน ลดปัญหาการเกิดภาวะโลกร้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยการส่งเสริมการลงทุนจากภาคเอกชนเพื่อพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียน ซึ่งประเทศไทยสามารถที่จะศึกษานโยบายการส่งเสิรมการใช้พลังงานทดแทนจากกลุ่มประเทศดังกล่าวเพื่อนำมาปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยได้ จากการศึกษาพบว่าควรผลักดันให้มีมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางภาษีในการสนับสนุนธุรกิจพลังงานทดแทนเป็นการทั่วไป ซึ่งหากประเทศไทยมีมาตรการดังกล่าวและมีการใช้บังคับ ซึ่งจะมีส่วนช่วยดึงดูดให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น และมีผลทำให้ประเทศไทยก็จะมีทางเลือกในการใช้พลังงานมากขึ้นและเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า รวมทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย


ปัญหาการกำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดเป็นนิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีมีเงินได้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ 2522, ภิรมยา ลิมป์ศุภวาณิช Jan 2018

ปัญหาการกำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดเป็นนิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีมีเงินได้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ 2522, ภิรมยา ลิมป์ศุภวาณิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมถือว่าเป็นธุรกิจที่เติบโตมากในปัจจุบัน และเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับบุคคลที่ต้องการจะมีอสังหาริมรัพย์เป็นของตนเอง โดยราคานั้นมีระดับต่ำไปจนถึงระดับสูง เมื่อมีอาคารชุดแล้วก็จะต้องมีบุคคลที่มาทำหน้าที่ในการดูแลและบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 โดยกำหนดให้จัดตั้งนิติบุคคลอาคารชุดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 เพื่อให้สามารถจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง เช่น ลิฟต์ สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย และสวนหย่อมให้คงสภาพที่ดี โดยนิติบุคคลอาคารชุดเปรียบเสมือนตัวแทนของเจ้าของร่วมหรือเจ้าของห้องชุดที่จะทำหน้าที่เหล่านี้ เมื่อเจ้าของร่วม มีการเข้ามาอยู่อาศัยอาคารชุดแล้ว จะต้องมีการเรียกเก็บเงินส่วนกลางเอาไว้ใช้บำรุงรักษาและบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดที่เจ้าของร่วมใช้อยู่เป็นประจำ ดังนั้นนิติบุคคลอาคารชุดจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินส่วนกลางในทุก ๆ เดือนจากเจ้าของร่วมเพื่อนำมาใช้จ่ายต่าง ๆ ในอาคารชุด อย่างไรก็ตาม นิติบุคคลอาคารชุดนั้นเมื่อมีอำนาจในการที่ดูแลรักษาและบริหารจัดการ อาคารชุดตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 เงินส่วนกลาง ที่เรียกเก็บจากเจ้าของร่วมถือว่ามิใช่การแสวงหากำไรแต่อย่างใด จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลให้แก่รัฐ และนิติบุคคลอาคารชุดไม่เข้านิยามการเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่เนื่องจากนิติบุคคลอาคารชุดมีการแสวงหากำไรที่กระทำนอกเหนือจากที่วัตถุประสงค์กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 คือ มีเงินได้อื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากการเก็บเงินค่าส่วนกลางของอาคารชุด เช่น ค่าเช่ารับ ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ เป็นต้น ถือว่านิติบุคคลอาคารชุดไม่ได้กระทำตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 จึงไม่ควรให้นิติบุคคลอาคารชุดไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้เกิด ความไม่เสมอภาคกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีเงินได้อื่น ๆ เกิดขึ้นแต่จะต้องถูกนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่างไรก็ตามนิติบุคคลอาคารชุดไม่ต้องนำเงินได้อื่นมาคำนวณ เสียภาษีให้แก่รัฐ เนื่องจากถูกกำหนดให้ไม่เข้าคำนิยามของคำว่า “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรอาจทำให้นิติบุคคลหรือบุคคลทั่วไปนั้นเข้ามาเป็นนิติบุคคลอาคารชุดมากขึ้นเพื่อที่จะสามารถนำเงินมาลงทุนผ่านนิติบุคคลอาคารชุดแล้วนำเงินไปลงทุนเพื่อให้เกิดเงินได้อื่น ๆ และไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีมากขึ้นและทำให้รัฐขาดรายได้จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากนิติบุคคลอาคารชุด


Deficiencies In Australia’S Current Merger Regime: The Call To Combat Creeping Acquisitions, Ashleigh Cavagnino Jan 2018

Deficiencies In Australia’S Current Merger Regime: The Call To Combat Creeping Acquisitions, Ashleigh Cavagnino

Theses

The Australian Competition and Consumer Commission (ACCC) does not have adequate tools to prevent creeping acquisitions under the Competition and Consumer Act 2010 (Cth) (CCA).

Section 50 of the CCA prohibits a corporation from acquiring shares or assets if the acquisition would have the effect, or be likely to have the effect, of substantially lessening competition in any market. The expression ‘creeping acquisitions’ refers to a number of small individual mergers or acquisitions that, when considered in isolation, do not have a sufficient impact on competition to breach s 50, but when considered together, have a cumulative effect of substantially …


Paid Parental Leave: An Investigation And Analysis Of Australian Paid Parental Leave Frameworks With Reference To Selected European Oecd Countries, Greg Lynn Jan 2018

Paid Parental Leave: An Investigation And Analysis Of Australian Paid Parental Leave Frameworks With Reference To Selected European Oecd Countries, Greg Lynn

Theses

xiii ABSTRACT In 2010, the Australian federal government introduced a national scheme of taxpayer-funded paid parental leave. This legislation was introduced only after much political debate and came after more than 100 years of reform to Australian industrial law to make employment laws work better for employees with families. These reforms occurred on the back of a long history of relatively slow female legal emancipation in Australia and the concept of employment rights for women having children is a relatively new legal concept. Australian employment law has traditionally been conceptualised in terms of the paradigm of ‘the male breadwinner,’ supported …


มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในกรณีการกระทำความผิดของนิติบุคคล, กฤษฎิ กำปั่นทอง Jan 2018

มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในกรณีการกระทำความผิดของนิติบุคคล, กฤษฎิ กำปั่นทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในกรณีการกระทำความผิดของนิติบุคคล เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยศึกษารูปแบบและลักษณะการกระทำความผิดของนิติบุคคลจากการสังเคราะห์ข้อมูล เอกสาร บทกฎหมาย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทั้งนี้ ทำการศึกษาการกระทำความผิดผ่านนิติบุคคลกรณีจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมาเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินเฉพาะในกรณีรูปแบบของบริษัทจำกัดเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า นิติบุคคลตามกฎหมายไทยยังมีความเสี่ยงในการถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทำความผิดมูลฐานและความผิดอาญาฐานฟอกเงิน เนื่องจากยังไม่มีมาตรในการกำกับดูแลนิติบุคคลรวมถึงยังไม่มีมาตรการในเรื่องของความโปร่งใสและเจ้าของผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของนิติบุคคล ทำให้การดำเนินการป้องกันและปราบปรามในเรื่องการกระทำความผิดมูลฐานและความผิดฐานฟอกเงินของนิติบุคคลยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ตลอดจนบทลงโทษของนิติบุคคลในกรณีกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ยังเป็นบทลงโทษที่ไม่เหมาะสมหรือไม่อาจส่งผลยับยั้งการกระทำความผิดได้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำความผิดกับบทลงโทษ พบว่าไม่มีความสอดคล้องกัน อีกทั้งอายุความในการดำเนินคดีเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดที่เป็นนิติบุคคลนั้น มีอายุความระยะเวลาเพียงหนึ่งปี ส่งผลให้ผู้กระทำความผิดหลบหนีออกจากกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากได้รับประโยชน์จากเรื่องอายุความที่มีระยะเวลาสั้น จึงเป็นผลให้คดีเป็นอันขาดอายุความ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีความจำเป็นในการกำหนดมาตรการป้องกันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ นิติบุคคล ตั้งแต่การจดทะเบียนจัดตั้ง การตรวจสอบการดำเนินการ และความโปร่งใสและเจ้าของผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของนิติบุคคล เพื่อเป็นการป้องกันการกระทำความผิดทางอาญาของนิติบุคคล รวมถึงแก้ไขเพิ่มเติมในบทลงโทษในการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และอายุความความในการดำเนินคดีกับนิติบุคคล ให้มีความเหมาะสมและส่งผลยับยั้งการกระทำความผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามที่มาตรฐานสากลกำหนดไว้


มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศต่อนิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษา, ชนะชัย อ๊อดทรัพย์ Jan 2018

มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศต่อนิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษา, ชนะชัย อ๊อดทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงแนวทางในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศต่อนิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งกำลังประสบปัญหาอยู่ในหลายประการ ตลอดจนศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว ได้แก่ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐจีน สาธารณรัฐอินเดีย เครือรัฐออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและนำเสนอถึงมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป จากการศึกษาระบุให้เห็นอย่างเป็นที่ประจักษ์ว่า การคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นต่อนิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษาเป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ และส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ สังคม ตลอดจนการศึกษาเล่าเรียนของนิสิต นักศึกษาซึ่งถูกกระทำการดังกล่าวจากอาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา นิสิต นักศึกษา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแม้ในปัจจุบันประเทศไทยจะมีมาตรการทางกฎหมายที่อาจปรับใช้กับปัญหาดังกล่าวได้อยู่บ้างก็ตาม แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมถึงกรณีปัญหาต่างๆได้อย่างเพียงพอและมาตรการที่มีอยู่ก็ยังไม่เหมาะสมกับลักษณะของการกระทำอีกด้วย ฉะนั้น หากประเทศไทยได้มีการกำหนดบทนิยาม รูปแบบ พฤติกรรม คณะกรรมการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันและคุ้มครองเยียวยาปัญหาดังกล่าว รวมถึงสภาพบังคับทางกฎหมายสำหรับมาตรการต่างๆไว้เป็นการเฉพาะ ย่อมจะส่งผลให้ปัญหาการคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นต่อนิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษาได้รับการป้องกันและแก้ไขเยียวยาได้อย่างเป็นระบบ มีรูปธรรม และเกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น อนึ่ง จากศึกษาและพิจารณาถึงมาตรการทางกฎหมายของทั้งห้าประเทศข้างต้น พบว่า มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศได้มีการกำหนดให้ครอบคลุมถึงประเด็นปัญหาประการต่างๆของประเทศไทยไว้อย่างชัดแจ้งอีกด้วย ด้วยเหตุตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะให้ประเทศไทยสมควรมีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศต่อนิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษาขึ้นไว้เป็นการเฉพาะ โดยการนำเอามาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของสังคมไทยได้อย่างเหมาะสม


แนวทางกำหนดมาตรการทางอาญาเพื่อควบคุมสื่อทางเพศที่ใช้ความรุนแรง, นิธิศ ติระรัตนกุล Jan 2018

แนวทางกำหนดมาตรการทางอาญาเพื่อควบคุมสื่อทางเพศที่ใช้ความรุนแรง, นิธิศ ติระรัตนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแสวงหามาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมสื่อทางเพศที่ใช้ความรุนแรง รวมทั้งศึกษาถึงแนวคิด รูปแบบ และมาตรการทางอาญาเกี่ยวกับสื่อทางเพศที่ใช้ความรุนแรงทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ อีกทั้งยังวิเคราะห์หลักเกณฑ์การกำหนดความผิดทางอาญาเพื่อนำมาปรับใช้กับมาตรการทางอาญาเกี่ยวกับสื่อทางเพศที่ใช้ความรุนแรงให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าประเทศที่เปิดเสรีสื่อทางเพศมองว่าสื่อที่แสดงการกระตุ้นความต้องการทางเพศจะต้องได้รับการคุ้มครองในฐานะเสรีภาพในการแสดงออกรูปแบบหนึ่ง จึงมีการแบ่งแยกสื่อลามกออกจากสื่อทางเพศ โดยสื่อทางเพศใดที่พิจารณาแล้วว่ามีลักษณะเกินเลยไปจากขอบเขตมาตรฐานการยอมรับของสังคม เช่น มีการใช้ความรุนแรง ย่อมถือว่าเป็นสื่อลามกและเป็นข้อยกเว้นให้รัฐเข้ามาควบคุมการกระทำในทางส่วนตัวได้ เนื่องจากสื่อทางเพศที่ใช้ความรุนแรงสร้างผลร้ายแก่สังคมอย่างร้ายแรง สำหรับประเทศไทยกลับมองว่าสื่อทางเพศและสื่อลามกเป็นสิ่งเดียวกันเนื่องมาจากขอบเขตการตีความสื่อลามกกำหนดไว้ว่าสื่อที่แสดงการกระตุ้นความต้องการทางเพศแก่ผู้รับชมถือว่าเป็นสื่อลามกทั้งสิ้น ทำให้ประเทศไทยไม่มีการแบ่งแยกเนื้อหาของสื่อลามกแต่อย่างใด ผลที่ตามมาคือสื่อลามกทั่วไป (ยกเว้นสื่อลามกอนาจารเด็ก) และสื่อทางเพศที่ใช้ความรุนแรงถูกควบคุมในระดับเดียวกันภายใต้หลักห้ามการกระทำในลักษณะเปิดเผยแก่สาธารณะเท่านั้น การควบคุมสื่อทางเพศที่ใช้ความรุนแรงของประเทศไทยจึงยังไม่ครอบคลุมถึงการกระทำในทางส่วนตัวเหมือนกับประเทศที่เปิดเสรีสื่อทางเพศ ด้วยเหตุดังกล่าวผู้วิจัยเสนอแนะให้บัญญัติความผิดเกี่ยวกับสื่อทางเพศที่ใช้ความรุนแรงแยกออกจากบทบัญญัติเกี่ยวกับสื่อลามกทั่วไป โดยกำหนดความผิดเกี่ยวกับสื่อทางเพศที่ใช้ความรุนแรงครอบคลุมทั้งการกระทำในทางส่วนตัวและการกระทำในลักษณะเปิดเผยแก่สาธารณะ เพื่อเป็นการป้องกันและจัดการกับปัญหาสื่อทางเพศที่ใช้ความรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Reading Between The Crimes: Online Media’S Representation Of Aboriginal And Torres Strait Islander People’S Interaction With The Criminal Justice System In Post-Apology Australia, Jonathan Cannon Jan 2018

Reading Between The Crimes: Online Media’S Representation Of Aboriginal And Torres Strait Islander People’S Interaction With The Criminal Justice System In Post-Apology Australia, Jonathan Cannon

Theses: Doctorates and Masters

Australian research confirms that Aboriginal and Torres Strait Islander people experience high levels of social inequality, racism and injustice. Evidence of discrimination and inequality is most obvious within the criminal justice system where they are seriously over-represented. The Australian news media plays a large part in reinforcing Aboriginal and Torres Strait Islander inequality, stereotypes and racist ideology within specific situations such as the Northern Territory Emergency Response and the Redfern riots. This study widens the scope from how the media reports a single criminal justice event to how the media reports Aboriginal and Torres Strait Islander people’s interaction with the …


Religious Free Speech And Anti-Discrimination Laws In Australia, Isabel Rocha De Sousa Jan 2018

Religious Free Speech And Anti-Discrimination Laws In Australia, Isabel Rocha De Sousa

Theses

This thesis addresses the delicate relationship between Religious Free Speech and Australian Anti-discrimination laws. There are an increasing number of conflicts arising between religious and secular speech. Different opinions related to sensitive matters often result in social and legal disputes. Some of these disputes become complaints under Anti-discrimination laws and arguably lead to less freedom of conscience and speech.

This thesis focuses on ‘the relationship between Religious Free Speech and Anti-discrimination laws’. This is done though critical analysis of relevant literature, cases and legislation, contextualising them in response to the questions proposed in the research paper.


ความรับผิดของผู้ให้บริการในฐานะสื่อกลางเกี่ยวกับการแจ้งเตือน การระงับการทำให้ข้อมูลแพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์, ชญานิศฐ์ พิมพ์ทนต์ Jan 2018

ความรับผิดของผู้ให้บริการในฐานะสื่อกลางเกี่ยวกับการแจ้งเตือน การระงับการทำให้ข้อมูลแพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์, ชญานิศฐ์ พิมพ์ทนต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับ การทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2561 ที่ออกตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ยังไม่มีการกำหนดการยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการในแต่ละประเภท อีกทั้ง ผู้ให้บริการในแต่ละประเภทมีลักษณะของการให้บริการที่แตกต่างกัน แต่กลับต้องใช้มาตรการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หรือการนำข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบเดียวกัน โดยมิได้คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของแต่ละบริการหรือความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเนื้อหา ซึ่งผู้ให้บริการเนื้อหาควรมีความรับผิดชอบต่อเนื้อหา ในขณะที่ผู้ให้บริการทางด้านเทคนิคโดยแท้ไม่ควรมีความรับผิดใด ๆ ต่อเนื้อหา ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าว อาจทำให้ผู้ให้บริการต้องแบกรับภาระมากเกินไป ทั้งในแง่งบประมาณ บุคลากร รวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวกับความรับผิด ซึ่งเรื่องเหล่านี้อาจจะไม่เป็นอุปสรรคสำหรับสื่อขนาดใหญ่ แต่เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับเว็บไซต์ประเภทที่ผู้ใช้บริการเป็นผู้สร้างเนื้อหา (user generated content) และเว็บไซต์ขนาดเล็ก ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจทำให้ ผู้ให้บริการดังกล่าวเกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง (Self-censorship) ยิ่งขึ้น มิเช่นนั้นก็ต้องใช้วิธีการอื่นใด เพื่อหลบเลี่ยงกฎหมาย การดำเนินการดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศในภาพรวมของประเทศได้ เพราะแรงจูงใจในการประกอบการในประเทศไทยมีน้อยลง เอกัตศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษามาตรการทางกฎหมายของ Communications Decency Act (CDA), Digital Millennium Copyright Act (DMCA) ของสหรัฐอเมริกา และ EU Directive on Electronic Commerce ของสหภาพยุโรป พร้อมนำมาปรับใช้กับประเทศไทยเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการบังคับใช้กฎหมายต่อนักลงทุนด้านอิเล็กทรอนิกส์


มาตรการทางกฎหมายภาษีเพื่อลดขยะอาหาร, ชริสา สุวรรณวรบุญ Jan 2018

มาตรการทางกฎหมายภาษีเพื่อลดขยะอาหาร, ชริสา สุวรรณวรบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะอาหารของประเทศไทย และศึกษามาตรการทางภาษีเพื่อลดปริมาณการสูญเสียอาหารหรือการเกิดขยะอาหารของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นประเทศที่มีปริมาณอาหารส่วนเกิน การบริโภคที่กลายเป็นขยะอาหารมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และมีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ ผู้บริจาคอาหารที่เป็นส่วนเกินการบริโภค จากการศึกษา พบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีปริมาณของขยะอาหารเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ขณะที่มาตรการทางกฎหมายที่ใช้บังคับในประเทศไทยปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยทั้งระบบ ขาดความชัดเจนในการจัดการขยะมูลฝอยแต่ละประเภทซึ่งรวมถึงขยะอาหาร และมุ่งเน้นการจัดการ ขยะมูลฝอยที่ปลายทาง คือ การกำจัดขยะ มากกว่าการจัดการขยะที่ต้นทาง หรือการลดปริมาณ การเกิดขยะ แม้ว่าในภายหลัง รัฐบาลจะมีการกำหนดให้การจัดการขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ และมีการกำหนดนโยบายการจัดการขยะที่ครอบคลุมการจัดการขยะแบบครบวงจรโดยอาศัยหลักการ 3Rs เน้นการลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง การนำขยะกลับไปใช้ซ้ำ และการใช้ประโยชน์จากขยะด้วยการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ แต่ปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยของประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แสดงให้เห็นถึงการขาดความมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชนในการลดปริมาณขยะ นอกจากนี้ รัฐยังไม่มีการกำหนดนโยบายสำหรับการจัดการขยะอาหารโดยเฉพาะ แม้ว่าปริมาณขยะอาหารจะมีสัดส่วนมากที่สุดจากปริมาณขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้ก็ตาม ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดามีการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อใช้บังคับในการจัดการปัญหาขยะอาหาร รวมถึงมีการนำมาตรการทางภาษีมาใช้สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลดปริมาณอาหารส่วนเกินการบริโภค เพื่อไม่ให้อาหารเหล่านั้นกลายเป็นขยะอาหาร ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการนำแนวทางมาตรการทางภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดามาปรับใช้กับการจัดการขยะอาหารของประเทศไทย เพื่อเพิ่มความมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชนในการลดปริมาณอาหารส่วนเกินการบริโภค ที่จะก่อให้เกิดเป็นขยะอาหาร อันจะส่งผลถึงการลดปริมาณขยะมูลฝอยของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ประเทศไทยกับการปรับใช้วิธีการตรวจสอบกำไรของธุรกรรมข้ามชาติตามหลักวัตถุประสงค์สำคัญ (Principal Purpose Test), วรนาถ ตันตีศิริวิทย์ Jan 2018

ประเทศไทยกับการปรับใช้วิธีการตรวจสอบกำไรของธุรกรรมข้ามชาติตามหลักวัตถุประสงค์สำคัญ (Principal Purpose Test), วรนาถ ตันตีศิริวิทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และจากทุน (อนุสัญญาภาษีซ้อน) กับรัฐต่าง ๆ โดยละเว้นหลักวัตถุประสงค์สำคัญ (Principal Purpose Test) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยตรวจสอบกำไรของธุรกรรมข้ามชาติ ให้ประเทศแหล่งเงินได้ไม่สูญเสียผลประโยชน์จากการจัดเก็บภาษีจากการค้าระหว่างประเทศ เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหาจุดสมดุลสำหรับการนำหลักการ Principal Purpose Test มาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ในอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ร่วมลงนามกับรัฐต่าง ๆ ให้มากขึ้น รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าร่วมเป็นภาคีในความตกลงระหว่างรัฐเรื่องของเครื่องมือพหุภาคี (MLI) โดยทำการศึกษาที่มาและความสำคัญของหลักการ Principal Purpose Test สำหรับกฎหมายภาษีระหว่างรัฐ ศึกษาหลักการ Principal Purpose Test ที่บังคับใช้ในต่างประเทศ วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบในการนำหลักการ Principal Purpose Test มาบังคับใช้ในประเทศไทย และศึกษามาตรฐานการบัญชีและการตรวจสอบบัญชีของประเทศไทยที่จะมารองรับให้การตรวจสอบกำไรของนิติบุคคลให้เป็นไปตามหลักการ Principal Purpose Test จากการศึกษาหลักการ Principal Purpose Test สามารถสรุปผลได้ว่าประเทศไทยสมควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการปรับใช้หลักการ Principal Purpose Test เพื่อลดช่องโหว่การหลบเลี่ยงภาษีของนักลงทุนต่างประเทศ ป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในทางที่ไม่ถูกต้อง (The Prevention of Treaty Abuse) และป้องกันการบิดเบือนการแข่งขันระหว่างธุรกิจภายในประเทศและธุรกิจบริษัทข้ามชาติ เพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีในประเทศไทยโดยยึดถือวัตถุประสงค์ในการเข้าทำธุรกรรมเป็นสาระสำคัญ เพื่อป้องกันและจำกัดสิทธิประโยชน์ภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อน โดยผู้เสียภาษีต้องสามารถชี้แจงและแสดงหลักฐานว่าการได้รับประโยชน์จากอนุสัญญาภาษีซ้อนนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาภาษีซ้อนอย่างแท้จริง


ผลกระทบของผู้ประกอบการและผู้บริโภคจากการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ไขมันทรานส์, ศุทธินี เสนีวงศ์ ณ อยุธยา Jan 2018

ผลกระทบของผู้ประกอบการและผู้บริโภคจากการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ไขมันทรานส์, ศุทธินี เสนีวงศ์ ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิตนำเข้าหรือจำหน่าย กำหนดให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (ใขมันทรานส์) และอาหารที่มีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ได้ให้เวลาแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารและเบเกอรี่ เตรียมตัวเพื่อบังคับใช้กฎหมายกังกล่าวน้อยมาก กล่าวคือ เพียง 180 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการดังกล่าว เป็นอันมากกล่าวคือ ผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ผลิตรายเล็ก ๆ อีกจำนวนมากที่อาจปรับตัวไม่ทันในการปฏิบัติตามกฎหมายเพราะต้องใช้เวลาในการปรับสูตรอาหารและกระบวนการผลิต การเปลี่ยนฉลากบรรจุภัณฑ์อาหาร และยังทำให้ต้นทุนอาหารเพิ่มสูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการต้องซื้ออาหารในราคาที่แพงขึ้น รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการบางส่วนได้เปลี่ยนกระบวนการผลิตเป็นวิธีอินเตอร์เอสเทอริฟิเคชัน (interesterification) เพื่อลดกรดไขมันทรานส์ให้เหลือในปริมาณที่ต่ำมากซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคเช่นกัน เมื่อได้มีการศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและผลกระทบจากการออกประกาศของกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ศึกษาจึงเป็นสมควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว โดยขยายระยะเวลาเพื่อบังคับใช้กฎหมายออกไปเป็น 3 ปี ทำนองเดียวกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และควรมีมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการดังกล่าวและมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านราคาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย


ความไม่เหมาะสมในการจัดเก็บภาษีการรับมรดกของคู่สมรส, มัทธกานต์ ทองโพธิ์ Jan 2018

ความไม่เหมาะสมในการจัดเก็บภาษีการรับมรดกของคู่สมรส, มัทธกานต์ ทองโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงการจัดเก็บภาษีการรับมรดกตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดเก็บภาษีการรับมรดกของคู่สมรสว่ามีความเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ โดยได้ศึกษาแนวคิด หลักการ และวิธีจัดเก็บภาษีตามกฎหมายภาษีมรดกของประเทศอังกฤษและประเทศญี่ปุ่น และกฎหมายภาษีการรับมรดกของประเทศไทยตาม พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 เปรียบกับหลักการและแนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายเพื่อเป็นหลักในการพิจารณาว่ากฎหมายภาษีการรับมรดกของไทยในปัจจุบันนั้นมีผลกระทบต่อผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีอย่างไร นอกจากนี้ยังศึกษาถึงมาตรการบรรเทาภาระภาษีของประเทศอังกฤษและประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีมรดกมาเป็นเวลานาน และสามารถเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในการจัดเก็บภาษีมรดกเพื่อนำเงินจากภาษีนั้นไปใช้ในการพัฒนาประเทศและลดความเหลื่อมล้ำของบุคคล จากการศึกษาพบว่าการจัดเก็บภาษีการรับมรดกของประเทศไทยของคู่สมรสนั้นยังมีความไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมเพราะได้กำหนดให้คู่สมรสเป็นผู้ที่ไม่ต้องนำทรัพย์สินที่ได้มาจากมรดกมาเสียภาษีการรับมรดกซึ่งหมายความว่าคู่สมรสได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องนำทรัพย์สินมรดกที่ได้รับมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีการรับมรดกทั้งจำนวน ส่งให้การจัดเก็บภาษีการรับมรดกของประเทศไทยจากคู่สมรสนั้นไม่เป็นไปตามหลักการทำรายได้ดี กล่าวคือไม่สามารถจัดเก็บภาษีการรับมรดกจากคู่สมรสที่แม้จะมีการรับมรดกมูลค่าสูงกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดกของประเทศอังกฤษและประเทศญี่ปุ่นนั้นก็พบว่าในทั้งสองประเทศไม่ได้มีการยกเว้นการจัดเก็บให้กับคู่สมรสแต่เป็นการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเช่น การกำหนดว่าให้ยกเว้นฐานภาษีในกรณีที่เป็นทรัพย์สินที่มีชื่อร่วมกันทางทะเบียนในประเทศอังกฤษ หรือการให้เครดิตภาษีแก่คู่สมรสในการคำนวณภาษีการรับมรดกของประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากการพิจารณาถึงหลักการทำรายได้ดีแล้วนั้น ยังควรจุต้องพิจารณาถึงหลักความเป็นธรรมในเรื่องของความสามารถของผู้เสียภาษีควบคู่กันไปได้วย เนื่องจากไม่ว่าคู่สมรสหรือทายาทลำดับอื่นได้รับโอนทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์มรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คู่สมรสและทายาทล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่เกิดความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นเพราะทรัยพ์สินที่เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น ดังนั้นความสามารถในการเสียภาษีจึงควรมากตาม ซึ่งการที่ประเทศไทยบัญญัติให้เฉพาะคู่สมรสที่ไม่ต้องนำทรัพย์สินมรดกทั้งจำนวนมาเป็นฐานภาษีการรับมรดกนั้นจึงขัดต่อหลักความสามารถในการเสียภาษีอย่างชัดเจน และก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ทายาทลำดับอื่นที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นก็ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นเช่นกัน ผู้ศึกษาได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาข้างต้น โดยผู้ศึกษาเห็นว่า กฎหมายของประเทศอังกฤษนั้นได้มีการกำหนดเงื่อนไขในการยกเว้นฐานภาษีแก่คู่สมรสหรือกำหนดมาตรการบรรเทาภาระภาษีเพิ่มเติมเพื่อให้การจัดเก็บภาษีการรับมรดกจากคู่สมรสยังคงเป็นไปตามหลักการทำรายได้และหลักความสามารถในการเสียภาษีโดยที่ไม่กระทบกับแนวคิดของการจัดเก็บภาษีของคู่สมรส ผู้ศึกษาเห็นว่าหลักการดังกล่าวช่วยลดความเหลื่อมล้ำและก่อให้เกิดความเป็นธรรมตามหลักทั่วไปและหลักการพื้นฐานของกฎหมายภาษีอากรดังนั้นจึงควรนำการเงื่อนไขและวิธีการจัดเก็บภาษีการรับมรดกจากคู่สมรสของประเทศอังกฤษมาประยุกต์ใช้


ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการทำสัญญากรณีสัญญาให้บริการสมาชิกสนามกอล์ฟ : ศึกษาเฉพาะสมาชิกประเภทบุคคลธรรมดา, วุฒิเดช ซึ่งมหากิจ Jan 2018

ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการทำสัญญากรณีสัญญาให้บริการสมาชิกสนามกอล์ฟ : ศึกษาเฉพาะสมาชิกประเภทบุคคลธรรมดา, วุฒิเดช ซึ่งมหากิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กีฬากอล์ฟในประเทศไทยเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจสนามกอล์ฟซึ่งเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าของธุรกิจสูง มีการขยายตัวมากขึ้นเนื่องมาจากความนิยมในกีฬากอล์ฟ โดยมีความต้องการของผู้บริโภคทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ ประเทศไทยเป็นจุดหมายของนักกอล์ฟชาวต่างชาติที่จะเข้ามาใช้บริการสนามกอล์ฟเนื่องด้วยเหตุผลด้านความคุ้มค่าด้านราคาและการบริการที่น่าประทับใจ ซึ่งธุรกิจสนามกอล์ฟเป็นธุรกิจภาคบริการการท่องเที่ยวที่สร้างเม็ดเงินให้แก่ประเทศไทยได้จำนวนมาก ธุรกิจสนามกอล์ฟมีการให้บริการในรูปแบบการบริการในฐานะสมาชิกของสนามกอล์ฟ กล่าวคือ ผู้บริโภคที่ประสงค์จะเป็นสมาชิกของสนามกอล์ฟต้องเข้าทำสัญญาเพื่อสมัครเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟ (Country Club Membership) กับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งสัญญาให้บริการสมาชิกสนามกอล์ฟคือ สัญญาต่างตอบแทนซึ่งผู้บริโภคได้สิทธิในการใช้บริการในธุรกิจสนามกอล์ฟตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ประกอบธุรกิจได้ค่าตอบแทนจากการให้บริการนั้น โดยสัญญาให้บริการสมาชิกสนามกอล์ฟในประเทศไทยที่ใช้แพร่หลายกันอยู่ในปัจจุบันมีลักษณะของสัญญาที่มีมูลค่าทางสัญญาสูงและมีการกำหนดระยะเวลาของสัญญาผูกพันผู้บริโภคยาวนานซึ่งเป็นการให้บริการลักษณะต่อเนื่อง ทั้งผู้ประกอบธุรกิจกำหนดข้อสัญญาเพียงฝ่ายเดียวซึ่งเข้าลักษณะสัญญาสำเร็จรูป และมีการกำหนดข้อสัญญาที่เอาเปรียบผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในหลายด้านอีกด้วย จากการศึกษา ผู้เขียนพบประเด็นปัญหาคือ ธุรกิจสนามกอล์ฟในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการโดยเฉพาะ ผู้บริโภคจึงถูกผู้ประกอบธุรกิจเอาเปรียบจากการทำสัญญา โดยผู้เขียนได้รวบรวมที่มาของปัญหาจากสัญญาให้บริการสนามกอล์ฟในประเทศไทยหลายๆ แห่งพร้อมทั้งเรื่องร้องเรียน ข่าว และสัมภาษณ์ผู้บริโภคโดยตรง ผู้เขียนจึงได้ศึกษากลไกของกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการทำสัญญาเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาจากการเอาเปรียบของผู้ประกอบธุรกิจในการทำสัญญาให้บริการสมาชิกสนามกอล์ฟ โดยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2541 ซึ่งล้วนแต่เป็นกฎหมายเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการทำสัญญา ผู้เขียนยังได้ศึกษาบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการทำสัญญาและข้อสัญญาของประเทศสหรัฐอเมริกา (มลรัฐแคลิฟอร์เนีย) และประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นแนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการทำสัญญาให้บริการสมาชิกสนามกอล์ฟในประเทศไทยอีกด้วย ทั้งนี้ ผู้เขียนได้เสนอแนวทางข้อเสนอแนะโดยการออกประกาศกำหนดให้ธุรกิจสนามกอล์ฟเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาเป็นการเฉพาะธุรกิจโดยให้รัฐกำหนดข้อสัญญาที่ต้องมีและห้ามมีในสัญญาให้บริการสมาชิกสนามกอล์ฟ


ผลกระทบของความผิดมูลฐานเรื่องสมาชิกอั้งยี่ตามพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ต่อการประกอบธุรกิจในประเทศไทย, กรกช อัมพุช Jan 2018

ผลกระทบของความผิดมูลฐานเรื่องสมาชิกอั้งยี่ตามพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ต่อการประกอบธุรกิจในประเทศไทย, กรกช อัมพุช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการศึกษาความผิดมูลฐานเรื่องสมาชิกอั้งยี่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 พบว่าองค์ประกอบของอั้งยี่ที่สำคัญนั้นต้องเป็นคณะบุคคลโดยอนุมานได้ว่ามีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการปกปิดวิธีการดำเนินการ และมีจุดมุ่งหมายที่มิชอบด้วยกฎหมาย แต่จุดมุ่งหมายนั้นจะเป็นจุดมุ่งหมายที่มิชอบตามกฎหมายอาญา หรือกฎหมายอื่นใดก็ได้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ในการตราความผิดมูลฐานจะพบได้ว่าอั้งยี่นั้นมีขอบเขตกว้างเกินกว่าหลักเกณฑ์ในการกำหนดความผิดมูลฐาน อันได้แก่การกระทำความผิดอั้งยี่อาจจะไม่ได้มีรูปแบบลักษณะขององค์กรอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ผลตอบแทนจากการทำความผิดฐานอั้งยี่ไม่ได้มีผลตอบแทนมูลค่าสูง รวมไปถึงการกระทำอาจไม่ได้มีลักษณะซับซ้อน และอาจจะไม่ได้เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐเสมอไป นอกจากนี้เมื่อศึกษาลักษณะของอั้งยี่เทียบเคียงกับการประกอบธุรกิจ พบว่าการประกอบธุรกิจไม่ว่าจะในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทคือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน โดยการดำเนินธุรกิจนั้นผู้ถือหุ้นมีเป้าหมายร่วมกันคือผลกำไร และมีการรวมตัวกันในลักษณะถาวรและมีความต่อเนื่องระยะเวลาหนึ่ง อันเป็นลักษณะของการเป็นสมาชิกของคณะบุคคลที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของความผิดฐานอั้งยี่ หากการประชุมคราวใดที่มีข้อตกลงผิดกฎหมายไม่ว่าจะเป็นกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นใดก็ตาม จะทำให้การประชุมคราวนั้นมีความผิดฐานอั้งยี่ ส่งผลให้เป็นความผิดมูลฐานและสามารถนำมาตรการฟอกเงินมาบังคับใช้ได้ มาตรการฟอกเงินที่นำมาบังคับใช้ที่สำคัญๆ ได้แก่มาตรการริบทรัพย์ทางแพ่ง ส่งผลให้ภาระการพิสูจน์ถูกผลักไปให้ผู้ถูกกล่าวหาในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และมาตรฐานการพิสูจน์ที่ลดน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานการพิสูจน์ตามกฎหมายอาญากล่าวคือการพิสูจน์ให้ศาลเชื่อหรือควรจะเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดตามกฎหมายฟอกเงินจริง ที่ผ่านมาได้มีการนำความผิดมูลฐานเรื่องอั้งยี่มาบังคับใช้กับธุรกิจประเภททัวร์ศูนย์เหรียญ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วนในเรื่องหลักแห่งความจำเป็นที่มีแนวคิดว่าหากมีมาตรการอื่นใดตั้งแต่ 2 มาตรการขึ้นไป ในการทำให้สามารถบรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ ให้เลือกใช้มาตรการที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนน้อยที่สุด เมื่อศึกษากฎหมายฟอกเงิน The Racketeer Influenced and Corrupt Organization (RICO), The Continuing Criminal Enterprise และ The Money Laundering Control Act 1986ของประเทศสหรัฐอเมริกา รวมไปถึง Proceeds of Crime Act 1987ของประเทศออสเตรเลียจะพบว่ากรอบการบังคับใช้กฎหมายของทั้ง 2 ประเทศจะมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า ดังนั้นจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขความผิดมูลฐานเรื่องอั้งยี่ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีกรอบที่ชัดเจน และเป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน


ความไม่สอดคล้องในการเฉลี่ยภาษีซื้อในกิจการที่ไม่อยู่ในบังคับให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม: ศึกษากรณี เงินปันผลของกิจการโฮลดิ้ง (Holding Company), พงศชา ลึกมณี Jan 2018

ความไม่สอดคล้องในการเฉลี่ยภาษีซื้อในกิจการที่ไม่อยู่ในบังคับให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม: ศึกษากรณี เงินปันผลของกิจการโฮลดิ้ง (Holding Company), พงศชา ลึกมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันมีการจัดตั้งองค์กรธุรกิจในรูปแบบบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) เป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากการดำเนินงานมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจผ่านการลงทุนในหุ้นของบริษัทอื่น โดยรายได้ส่วนใหญ่ของ Holding Company คือเงินปันผล ซึ่งไม่ใช่ “บริการ” ตามนิยามของมาตรา 77/1(10)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ใช่กิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Value Added Tax (VAT) ตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร (Out of scope) แต่ในบางครั้งกิจการอาจมีรายได้อื่นนอกจากเงินเงินปันผล เช่น รายได้การให้บริการ ส่งผลให้กิจการอาจมีทั้งรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Non-VAT) และรายได้ที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Out of scope) หากกิจการมีต้นทุนเกิดขึ้นกับ กิจการ (VAT) กิจการสามารถเครดิตหรือขอคืนภาษีซื้อได้ แต่ถ้าหากกิจการมีต้นทุนที่นำไปใช้กับกิจการทั้ง 3 ประเภท เช่น ต้นทุนสาธารณูปโภค กิจการจะต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 29 ให้เฉลี่ยภาษีซื้อโดยใช้วิธีการเฉลี่ยตามรายได้ 2 ประเภท คือรายได้จากกิจการ VAT และกิจการ Non-VAT แต่ไม่รวมถึงกิจการ Out of scope ส่งผลให้กิจการใช้เครดิตภาษีซื้อได้ไม่ถูกต้องตามสัดส่วนของรายได้ที่แท้จริง เนื่องจากกิจการมีสัดส่วนรายได้ของกิจการ Out of scope เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสัดส่วนของฐานที่นำไปเฉลี่ยภาษีซื้อย่อมไม่ถูกต้องกับสัดส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจริง สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น พบว่าไม่ควรกำหนดข้อยกเว้นในการไม่รวมเงินปันผลเป็นฐานของรายได้ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ เนื่องจากรายได้เงินปันผลถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นรายได้ Non-VAT กล่าวคือ ทั้ง รายได้ Non-VAT และ Out of Scope ไม่สามารถใช้เครดิตหรือขอคืนภาษีซื้อได้ มีเพียงรายได้ VAT เท่านั้นที่สามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ ดังนั้นควรกำหนดรายได้ในการเฉลี่ยภาษีซื้อให้มี 2 ฐาน คือรายได้ VAT และ Non-VAT (รวม Out of scope) ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประมวลรัษฎากร และสอดคล้องกับที่ผู้เขียนได้ศึกษาเกี่ยวกับการเฉลี่ยภาษีซื้อของประเทศสิงคโปร์ที่แบ่งฐานรายได้ในการเฉลี่ยภาษีซื้อเป็น 2 ฐาน คือรายได้ …


การกำหนดราคาขายต่อในธุรกิจของประเทศไทย: ศึกษากรณีเครื่องใช้ไฟฟ้า, จิรภา อังกูรมหาสุข Jan 2018

การกำหนดราคาขายต่อในธุรกิจของประเทศไทย: ศึกษากรณีเครื่องใช้ไฟฟ้า, จิรภา อังกูรมหาสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กลไกการแข่งขันทางการตลาดที่เสรี เป็นกลไกที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ดังนั้นในหลายประเทศจึงได้มีการกำหนดกฎหมายเพื่อป้องกันการผูกขาดทางการค้าเกิดขึ้น ระบบเศรษฐกิจเสรีเป็นระบบที่เป็นธรรมและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะถ้าไม่มีการแข่งขันในตลาดทำให้ผู้ผลิตไม่มีแรงกระตุ้นในการพัฒนาสินค้าหรือบริการทำให้ลูกค้าไม่ได้รับสินค้าที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้บัญญัติกฎหมายเพื่อป้องกันการผูกขาดทางการค้า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นธรรมและเสรีภาพของระบบเศรษฐกิจคือราคา ดังนั้นพฤติกรรมการกำหนดราคาขายต่อเป็นการขัดขวางกระบวนการในการแข่งขันทางด้านราคา เพื่อให้มีการรักษาระดับกำไรของการขายต่อและเป็นราคาที่สูงกว่าราคาตลาดที่ควรจะเป็น ส่งผลให้การแข่งขันทางการค้าลดลงและเป็นการจำกัดเสรีภาพทางการค้า การกำหนดราคาขายต่อ คือ การจำกัดเสรีภาพในการกำหนดราคาขายสินค้าของพ่อค้าขายปลีกโดยผู้ผลิต (Manufacturer) ซึ่งราคาขายปลีกเป็นราคาที่กำหนดโดยผู้ผลิต เพื่อให้ผู้จัดจำหน่ายปลายทางจำหน่ายในราคาที่กำหนดหรืออาจกำหนดช่วงราคาในการจัดจำหน่าย เช่น สูงและต่ำสุดที่สามารถจำหน่ายได้ พฤติกรรมเช่นนี้เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการขายสินค้าของผู้จัดจำหน่ายสินค้าปลายทาง การขายสินค้าที่ถูกกำหนดราคาโดยผู้ผลิตทำให้กลไกทางการตลาดขาดเสรีภาพในการขาย ซึ่งการแทรกแซงกลไกในการกำหนดราคาขายสินค้าปลายทางเป็นการกระทำที่ผู้ผลิตไม่มีอำนาจ พฤติกรรมนี้ส่งผลให้ผู้บริโภคสินค้าปลายทางได้รับความเสียหาย เช่น พ่อค้าปลีกอาจไม่พัฒนาการบริการเนื่องด้วยกำไรที่ไม่สามารถกำหนดเองได้ ราคาขายที่เท่ากันทุกร้านค้าก่อให้เกิดการแข่งขันที่ลดลงในตลาดอาจส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการในสินค้าลดลง คำถามที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นคือ ต้นทุนของร้านค้าขายปลีก ซึ่งแต่ละร้านค้ามีการให้บริการและต้นทุนที่แตกต่างกันถ้าราคาจำหน่ายถูกกำหนดโดยผู้ผลิตอาจส่งผลกระทบต่อกำไรของพ่อค้าขายปลีก ถ้าร้านค้าปลีกที่มีต้นทุนการให้บริการที่สูงอาจไม่อยากขายสินค้าที่ถูกจำกัดกำไร หรือในอีกแง่หนึ่งคือร้านค้าอาจจะไม่มีแรงจูงใจไม่พัฒนาการให้บริการหรือทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้แก่ผู้บริโภค ในทางกลับกันถ้าผู้ผลิตไม่ได้มีการกำหนดราคาขายต่อไว้ อาจทำให้ผู้บริโภคต้องเป็นผู้แบกรับภาระของต้นทุนร้านค้าปลีก เช่น ถ้าพ่อค้าเล็งเห็นว่าในพื้นที่นั้นไม่มีคู่แข่งอาจวางราคาขายสินค้าไว้สูงกว่าราคาตลาดที่ควรจะเป็น หรือถ้ามีการให้บริการสินค้าที่เพิ่มขึ้นผู้ขายอาจกำหนดราคาปลีกที่สูง ดังนั้นถ้าเป็นกรณีนี้การกำหนดราคาขายต่อของผู้ผลิตอาจส่งผลดีต่อผู้บริโภคกว่าที่จะให้สิทธิพ่อค้าขายปลีกกำหนดราคาขายเอง เนื่องด้วยการแข่งขันที่สูงขึ้นทำให้การวางแผนทางการตลาดเพื่อให้ตราสินค้าของผู้ผลิตเป็นที่จดจำและโดดเด่นจากสินค้าประเภทเดียวกันในตลาด นอกเหนือจากคุณสมบัติของสินค้าแล้ว ราคาเป็นอีกปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้อสินค้า การกำหนดราคาสินค้าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำการตลาด ผู้ผลิตต้องวิเคราะห์ถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คู่แข่งในตลาด และความสามารถในการซื้อสินค้าของกลุ่มลูกค้า การกำหนดราคาที่เหมาะสมประกอบกับคุณภาพสินค้าที่ดีนั้นส่งผลให้ผู้ผลิตประสบความสำเร็จในการประกอบกิจการ ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตที่ต้องการรักษาชื่อเสียงของตราสินค้าจึงต้องการกำหนดราคาขายสินค้าขายต่อ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาพลักษณ์ของตราสินค้า ในอีกแง่มุมถ้าสินค้าราคาเท่ากันในตลาดทำให้ไม่มีการแข่งขันทางการค้า อาจทำให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง วัตถุประสงค์ของการศึกษา เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในประเทศไทยมีการแข่งขันที่เพิ่มสูงมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นกฎหมายพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ได้มีมาตรการไม่ให้มีการกำหนดราคาสินค้าและบริการที่ไม่เป็นธรรมแต่ยังมีการกำหนดข้อยกเว้นที่ไม่ชัดเจนซึ่งอาจทำให้เกิดช่องว่างในการบังคับใช้ของกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตสินค้าหรือผู้นำเข้าที่ต้องการสร้างความแตกต่างของสินค้าด้วยการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักในตลาดและกำหนดราคาขายสินค้าปลายทางเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าของบริษัทได้ยังมีประสิทธิภาพ จึงสามารถกำหนดราคาขายต่อให้กับผู้จัดจำหน่ายได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และการกระทำเช่นนี้จะสามารถส่งผลให้ราคาขายและการแข่งขันไม่เป็นธรรมและไม่เป็นไปตามกลไกลตลาดที่แท้จริง ขอบเขตของการศึกษา การศึกษาในครั้งนี้มุ่งเน้นพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 สำหรับสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย ว่ามีมาตรการทางกฎหมายหรือข้อยกเว้นอะไรเกี่ยวกับการกำหนดราคาขายต่อของสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า และศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางการค้าและการกำหนดราคาขายต่อของประเทศสหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป เพื่อวิเคราะห์ผลดีและผลเสียที่จะนำมาปรับใช้กับกฎหมายที่มีอยู่ในประเทศไทยเพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีประสิทธิภาพในการควบคุมทางกฎหมายมากยิ่งขึ้น สมมติฐาน กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยห้ามการกำหนดราคาขายต่อซึ่งส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในธุรกิจขายเครื่องใช้ไฟฟ้า จึงควรมีการกำหนดข้อยกเว้นให้มีการกำหนดราคาขายต่อได้ในบางกรณี วิธีการศึกษา ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) โดยค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) ได้มาจากวิทยานิพนธ์ หนังสือ บทความในวารสารต่าง ๆ รายงานวิจัย เอกสารประกอบการวิจัยจากทางภาครัฐและเอกชน วิเคราะห์ประกอบกับตัวบทกฎหมายและคำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการกำหนดราคาขายต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนศึกษาสถานการณ์สภาพเศรฐกิจในปัจจุบันและการทำการตลาดในธุรกิจประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อศึกษาถึงผลกระทบและปัญหาที่เกี่ยวข้องในการกำหนดราคาขายต่อ อีกทั้งการปรับใช้ของกฎหมายที่ป้องการการผูกขาดทางการค้าและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประโยชน์ของการศึกษา 1. ศึกษาถึงสภาพเศรฐกิจและสภาพการแข่งขันของการค้าในปัจจุบัน และการกำหนดราคาขายต่อของสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าว่ามีผลกระทบอย่างไรต่อสภาพการแข่งขันทางการค้า 2. ทราบถึงกลยุทธ์ทางการตลาดว่าการกำหนดราคาสินค้ากับตราสินค้า (Branding) มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร 3. เพื่อวิเคราะห์มาตรการในการบังคับใช้และช่องว่างของกฎหมายพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 4. …


มาตรการการนำเข้าสินค้าผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนในประเทศจีน: โอกาสและปัญหาสำหรับผู้ประกอบการไทย, มนสิชา จันทวิมล Jan 2018

มาตรการการนำเข้าสินค้าผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนในประเทศจีน: โอกาสและปัญหาสำหรับผู้ประกอบการไทย, มนสิชา จันทวิมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการพัฒนาของประเทศจีนนั้นเป็นการพัฒนาในหลาย ๆ ด้านไปพร้อม ๆ กันไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ระบบคมนาคม ระบบการขนส่ง ระบบการสื่อสาร และระบบการเงิน การพัฒนาด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชากร เป็นต้น ทำให้ประเทศจีนก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นแผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีนยังเป็นสิ่งที่นานาประเทศจับตามอง อาทิเช่น ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative - BRI) หรือ “一带一路” ซึ่งเป็นแนวคิดจากรัฐบาลยุคปัจจุบัน สี จิ้นผิง มีความมุ่งประสงค์เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมและสร้างความเชื่อมโยงทางการค้าระหว่างประเทศจีนและประเทศต่าง ๆ ยุทธศาสตร์หลักฉบับนี้ทำให้ประเทศจีนได้ออกนโยบายซึ่งสนับสนุนการค้าขายกับต่างประเทศ อันได้แก่ “นโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน” ซึ่งเป็นนโยบายพิเศษเพื่อสนับสนุนให้เกิดการนำเข้าสินค้าในรูปแบบปลีกจากต่างประเทศสู่ผู้บริโภคชาวจีน โดยการสั่งซื้อผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนในประเทศจีนที่กำหนด และมีกฎเกณฑ์กฎระเบียบต่าง ๆ ตามนโยบายที่กำหนดไว้ เพื่อที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการนำเข้า นอกจากนั้นในการกำหนดนโยบายในครั้งนี้ รัฐบาลประเทศจีนยังมีความมุ่งประสงค์ที่จะขจัดปัญหาการนำเข้าสินจ้าปลีกโดยการหลีกเลี่ยงภาษีจาก “ผู้รับหิ้ว” ซึ่งเป็นวิธีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ที่ชาวจีนได้ปฏิบัติเป็นจำนวนมากตั้งแต่ยุคที่มีการพัฒนาด้านการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตการนำเข้าด้วยวิธีดังกล่าวจะเป็นการนำสินค้าติดตัวกลับมายังประเทศจีน ไม่มีการสียภาษีอย่างถูกต้อง จึงเป็นอีกหนึ่งที่มาของการผลักดันนโยบายดังกล่าวโดยให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีและการผ่อนปรนมาตรการการนำเข้าให้ผู้ประกอบการต่างประเทศสามารถนำสินค้าของตนเข้าสู่ประเทศจีนได้อย่างง่ายขึ้น นโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนเป็นนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการต่างประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการไทย โดยเป็นทางเลือกใหม่ในการเข้าสู่ตลาดที่ยิ่งใหญ่ดังเช่นประเทศจีน ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวมีกฎเกณฑ์หรือกฎระเบียบหลายข้อ รวมไปถึงสิทธิประโยชน์ ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะและใหม่สำหรับทุกฝ่ายทั้งผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือสำหรับประเทศจีนเองก็ตาม ในเอกัตศึกษาฉบับนี้ผู้ศึกษาจะศึกษาถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากนโยบาย รวมไปถึงกฎเกณฑ์และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งวิเคราะห์ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากนำเข้าสินค้าภายใต้นโยบายดังกล่าว เพื่อชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการไทยควรใช้โอกาสนี้อย่างไร เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจประเทศไทย


ปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการป้องกันความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ, ศันสนีย์ พูลสวัสดิ์ Jan 2018

ปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการป้องกันความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ, ศันสนีย์ พูลสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการลงทุนข้ามประเทศ ซึ่งมีสภาพเศรษฐกิจและกฎหมายที่แตกต่างกัน การบริหารความเสี่ยงสำคัญต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจ และเพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจจึงมีการกำหนดมาตรการป้องกันความเสี่ยงไว้ ทำให้ธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน การวางแผนภาษีเป็นหนึ่งในการบริหารความเสี่ยงซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามกฎหมายและประหยัดที่สุด อย่างไรก็ตาม การวางแผนภาษีที่มากเกินไปอาจถือเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี แม้จะไม่ผิดกฎหมายแต่ก็ผิดหลักความเป็นธรรม เมื่อผู้เสียภาษีใช้ทรัพยากรในการประกอบธุรกิจของประเทศ ๆ แล้วก็ควรมีการจ่ายภาษีอย่างเหมาะสม การหลีกเลี่ยงภาษีจากการป้องกันความเสี่ยงส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการป้องกันความเสี่ยงในเงินลงทุนต่างประเทศสุทธิซึ่งหลักการภาษีและอัตราภาษีของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันเป็นเหตุจูงใจให้มีการป้องกันความเสี่ยงโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระภาษีมากกว่าการจ่ายภาษี ให้ถูกต้อง ทั้งนี้ จากการศึกษากฎหมายภาษีอากรของไทย พบว่า มีโอกาสที่ผู้เสียภาษีจะหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการป้องกันความเสี่ยงของเงินลงทุนในต่างประเทศได้ นอกจากนี้ ยังมีความหลากหลายของหลักการบัญชีและหลักการภาษีของไทยซึ่งเป็นผลให้ผู้เสียภาษีแต่ละรายมีการแสดงข้อมูลทางการเงินเพื่อเสียภาษีแตกต่างกัน จึงต้องมีการกำหนดแนวทางและมาตรการในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของไทยอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ จะทำให้รัฐมีการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเกี่ยวกับการป้องกันความเสี่ยงได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและครบถ้วน