Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law and Economics

Theses/Dissertations

Institution
Keyword
Publication Year
Publication

Articles 1 - 30 of 355

Full-Text Articles in Law

Beyond Amateurism: Examining The Potential Labor Expenses Of Ncaa Student-Athlete Employment, Alayna K. Falak May 2024

Beyond Amateurism: Examining The Potential Labor Expenses Of Ncaa Student-Athlete Employment, Alayna K. Falak

Honors Thesis

In light of recent administrative developments urging the classification of student-athletes as employees, litigation challenging the current status of student-athletes, and the Supreme Court’s willingness to tackle National Collegiate Athletic Association (NCAA) issues, many questions surrounding the future of college sports under an employment model have emerged. The authors analyzed key litigation, recent developments from administrative agencies, and academic literature. Then publicly available data was used from the NCAA, the United States Department of Labor (DOL), and other sources to construct two estimates of what it would cost the NCAA member institutions to treat their Division I athletes as employees. …


How Did The Tax Cuts And Jobs Act Of 2017 Effect Small Businesses?, Jackson Pittman May 2024

How Did The Tax Cuts And Jobs Act Of 2017 Effect Small Businesses?, Jackson Pittman

Accounting Undergraduate Honors Theses

The Tax Cuts and Jobs Act (TCJA) of 2017 marked a significant overhaul of the United States tax system, promising to stimulate economic growth and enhance the competitiveness of American businesses. Amidst its broad-reaching reforms, the TCJA introduced several provisions directly impacting small businesses, aiming to alleviate their tax burdens and foster entrepreneurial activity. This thesis endeavors to evaluate the multifaceted effects of the TCJA on small businesses, examining its implications for their financial performance, investment behavior, and overall economic contribution.

Preliminary findings suggest that the TCJA has produced a generally positive result for small businesses. On one hand, reduced …


What Impact Did The Tcja Tax Cuts Have On The Manufacturing Sector?, Ryan Parker May 2024

What Impact Did The Tcja Tax Cuts Have On The Manufacturing Sector?, Ryan Parker

Accounting Undergraduate Honors Theses

Throughout this paper I will examine positive effects the Tax Cuts and Jobs Act of 2017 had on the manufacturing sector. To do this I begin by outlining the key provisions in the TCJA that directly benefit the manufacturing sector. This includes the corporate tax rate reduction from 35 percent to 21 percent, the changes to the repatriation tax for foreign funds, and the treatment for capital assets. I then analyze key metrics including pre-tax income, income tax provision, dividends, changes in retained earnings, and spending on property plant and equipment. I will show the interactions between the increase in …


Containerization Of Seafarers In The International Shipping Industry: Contemporary Seamanship, Maritime Social Infrastructures, And Mobility Politics Of Global Logistics, Liang Wu Feb 2024

Containerization Of Seafarers In The International Shipping Industry: Contemporary Seamanship, Maritime Social Infrastructures, And Mobility Politics Of Global Logistics, Liang Wu

Dissertations, Theses, and Capstone Projects

This dissertation discusses the mobility politics of container shipping and argues that technological development, political-economic order, and social infrastructure co-produce one another. Containerization, the use of standardized containers to carry cargo across modes of transportation that is said to have revolutionized and globalized international trade since the late 1950s, has served to expand and extend the power of international coalitions of states and corporations to control the movements of commodities (shipments) and labor (seafarers). The advent and development of containerization was driven by a sociotechnical imaginary and international social contract of seamless shipping and cargo flows. In practice, this liberal, …


A Study On The Business And Regulatory Framework Of Freight Forwarders In The Republic Of Maldives, - Minna Rasheed Oct 2023

A Study On The Business And Regulatory Framework Of Freight Forwarders In The Republic Of Maldives, - Minna Rasheed

World Maritime University Dissertations

No abstract provided.


Mitigating Sex Trafficking: Preventative Methods For Reducing Sexual Exploitation, Autumn Rain Monroe Sep 2023

Mitigating Sex Trafficking: Preventative Methods For Reducing Sexual Exploitation, Autumn Rain Monroe

University Honors Theses

In recent years, sex trafficking has become more well-known in the public sphere, generating activism and legislation in an effort to combat this human rights issue. With this increased awareness comes challenges in appropriately understanding sex trafficking. The general public and even lawmakers often do not understand the complete dynamic or complexities of sex trafficking. Definitional inconsistencies make it difficult to provide a universal definition of sex trafficking, contributing to misconceptions involving the methods of entry and the barriers to exiting. Ultimately, this prevents proper identification of victims, hinders the protection of victims, and the implementation of survivor-oriented legislation, meaning …


The Negative Economic Impacts Of Money Laundering In Kenya, Thailand And France, Peyton Tollaksen May 2023

The Negative Economic Impacts Of Money Laundering In Kenya, Thailand And France, Peyton Tollaksen

Mathematics and Computer Science Capstones

Cybercrime has grown exponentially around the world due to consistently changing technology and the craftiness of cybercriminals often outpacing that of security officers. In the past three decades, cybercrime has been expedited and globally expanded due to the accumulated experience of these criminals, who take advantage of the new found black market, cryptocurrency, and other operations. According to a report published by the Center for Strategic and International Studies titled, “Economic Impact of Cybercrime,” it was found that, “close to $600 billion, nearly one percent of global GDP, is lost to cybercrime each year” (2018). Unfortunately, this number will only …


Bearer Negotiable Instruments: Addressing A Financial Intelligence Gap And Identifying Criminogenic Weaknesses, Hollis B. Kegg Feb 2023

Bearer Negotiable Instruments: Addressing A Financial Intelligence Gap And Identifying Criminogenic Weaknesses, Hollis B. Kegg

Dissertations, Theses, and Capstone Projects

Bearer Negotiable Instruments (BNI) are a long-standing category of financial instruments used to transfer large amounts of money in ways that may not be subject to regulation, reporting, tracking, review, or oversight. There is limited information available on BNIs, and no evidence that any studies have been undertaken on BNIs alone, much less reported. Increasingly, BNIs are being used for illegal purposes including money laundering. This study gathers information about their characteristics, nature, purpose, legal status, and numbers. It also focuses on the crime risks associated with BNIs, the crime opportunities they facilitate, and the criminal weaknesses in the financial …


Essays On Public Policy, Justin Craig Heflin Jan 2023

Essays On Public Policy, Justin Craig Heflin

Graduate Theses, Dissertations, and Problem Reports

The first chapter examines the impact of Red Flag Laws on homicide rates and suicide rates. Red Flag Laws seek to implement gun control measures by allowing the removal of firearms from individuals who pose a danger to themselves or others. Using a two-way fixed effects (TWFE) difference-in-differences (DiD) estimations, I demonstrate a negative and plausibly causal relationship between a state implementing a Red Flag Law and homicide rates. While there is also a reduction in suicide rates, I am unable to make causal claims. This study is the first to empirically examine Red Flag Laws, with an eye towards …


Patents And Plants: Rethinking The Role Of International Law In Relation To The Appropriation Of Traditional Knowledge Of The Uses Of Plants (Tkup), Ikechi Mgbeoji May 2022

Patents And Plants: Rethinking The Role Of International Law In Relation To The Appropriation Of Traditional Knowledge Of The Uses Of Plants (Tkup), Ikechi Mgbeoji

PhD Dissertations

Legal control and ownership of plants and traditional knowledge of the uses of plants (TKUP) is often a vexed issue, particularly at the international level because of the conflicting interests of states or groups of states in the matter. The most widely used form of juridical control of plants and TKUP is the patent system which originated in Europe. This thesis rethinks the role of international law and legal concepts, the major patent systems of the world and international agricultural research institutions as they affect legal ownership and control of plants and TKUP. The analysis is cast in various contexts …


Walking Back The System Trope: Reimagining Incarceration And The State Through A Spatial Theory Approach, Cody Hunter May 2022

Walking Back The System Trope: Reimagining Incarceration And The State Through A Spatial Theory Approach, Cody Hunter

All Dissertations

This dissertation critiques the systems theory approach to incarceration policy, practice, and research and proposes a rhetorically informed spatial theory approach as an alternative. Offering a non-hierarchical complexity theory as a bridge between systems and space, I then integrate rhetorical listening as a strategy for navigating and operationalizing our proposed spatial theory approach. I then apply our proposed methodology to archival research, focusing on the South Carolina Penitentiary as a case study, and offer two heuretic experiments to explore the range of this methodology for archival research. I also explore potential applications of this rhetorically informed spatial theory approach in …


An Analysis Of The Suspect: The Impact Of Economic Conditions On Crime, Ryan Perez May 2022

An Analysis Of The Suspect: The Impact Of Economic Conditions On Crime, Ryan Perez

Economics Undergraduate Honors Theses

Every place in the world experiences a level of crime within its borders, but there is much contention as to which factors lead to crime. Economic conditions, due to their association with poverty, are frequently discussed as a possible contributors to crime rates. This analysis examines four macroeconomic variables (GDP per capita, unemployment rate, inflation rate, and interest rate) and their effect on crime rates (violent, property, and total). After thoroughly reviewing the philosophical nature of crime, the current economic conditions through the lens of the selected macroeconomic variables, and the present criminal landscape throughout the United States and the …


Good Governance And Civil Service Reform In Egypt, Ahmed Atef Labib Jan 2022

Good Governance And Civil Service Reform In Egypt, Ahmed Atef Labib

Theses and Dissertations

Governments in different states and even different governments within the same state may pursue different goals. To achieve their goals they apply administrative reforms, including civil service reforms, to adjust the government for achieving the intended goals. Pursuing different goals entails applying different administrative reforms. In the 2000s, the World Bank and the International Monetary Fund (IMF) suggested the Egyptian government, through loan conditionality, an administrative and civil service reform to promote economic growth based on their concept of good governance. In this paper, I argue that the suggested reform does not target economic growth but targets debt repayment. To …


Disabusing The Tax Aid Narrative: What Inter-National Tax Equity Really Means For "Poor" Countries And How To (Re)Frame It, Okanga Ogbu Okanga Jan 2022

Disabusing The Tax Aid Narrative: What Inter-National Tax Equity Really Means For "Poor" Countries And How To (Re)Frame It, Okanga Ogbu Okanga

PhD Dissertations

International tax regimes (e.g., the “double taxation regime”) are created by states with competing tax jurisdiction to coordinate their tax rules and, specifically, to address common efficiency problems like international double taxation. In developing such regimes, states attempt to balance competing tax policy priorities: efficiency, administrability, and equity. This work engages with equity, as a policy norm of international tax (inter-national tax equity). It is my thesis that the framing/articulation of inter-national tax equity suffers from a narrative problem that, perhaps, stems from its apparent conceptual unclarity and multifarious usage. This narrative problem is most evident in the articulation of …


Voices From Below—Africa’S Contribution To The Development Of The Norm Of Corporate Responsibility To Respect Human Rights, Akinwumi Olawuyi Ogunranti Jan 2022

Voices From Below—Africa’S Contribution To The Development Of The Norm Of Corporate Responsibility To Respect Human Rights, Akinwumi Olawuyi Ogunranti

PhD Dissertations

The long conversations about corporate responsibility predominantly take place in forums and conferences in the Global North. Yet, the majority of the human rights abuses and their impacts are felt by peasants, farmers, children, and women in local communities in the Global South who do not have a voice in the institutionalized governance systems that animate global affairs. This thesis answers the question of how norms and human rights institutions in Africa can influence the corporate responsibility to respect (CR2R) norm as embedded in pillar II of the United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights. Through the theory …


วิเคราะห์และศึกษาหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริต (Duty Of Loyalty) ของกรรมการภายใต้กฎหมายบริษัทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน, ชิวเย่ว เหว่ย Jan 2022

วิเคราะห์และศึกษาหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริต (Duty Of Loyalty) ของกรรมการภายใต้กฎหมายบริษัทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน, ชิวเย่ว เหว่ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์และการศึกษาหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริต(Duty of loyalty)ของกรรมการภายใต้กฎหมายบริษัทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อทำความเข้าใจกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการจีนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาทางกฎหมายต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุน และเพื่อให้ทราบถึง ความรับผิดของกรรมการ หน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการในทางกฎหมาย ผลบังคับใช้ทางกฎหมาย และหน้าที่ในการรับผิดชดเชย หวังว่าเอกัตศึกษานี้จะสามารถให้คำแนะนำและแนวทางในการบริหารกรรมการและบริษัท และหวังว่าจะมีความสำคัญในการอ้างอิงสำหรับนักลงทุนหรือผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะนักลงทุนหรือผู้ประกอบธุรกิจของไทย เมื่อกฎหมายข้อกำหนดต่างๆที่ใช้ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้นได้ค่อยๆ พัฒนามาจนมีความสมบูรณ์มากขึ้น อำนาจในการควบคุมบริษัทโดยรวมและอำนาจในการบริหารกิจการนั้นได้แบ่งแยกออกจากกัน ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องธรรมาภิบาลของบริษัทไปแล้ว ในที่นี้หมายถึงอำนาจของผู้ที่ออกเงินทุนให้กับบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้นนั้นแยกส่วนออกจากที่ประชุมคณะกรรมการอันเป็นผู้บริหารบริษัทและชั้นผู้จัดการด้วย ดังนั้น เรื่องหน้าที่ของกรรมการและอำนาจบริหารจึงเป็นหัวข้อที่ควรค่าแก่การวิเคราะห์และขบคิดอย่างลึกซึ้ง เพื่อการควบคุมหน้าที่ของกรรมการเพื่อให้บริษัทได้ประโยชน์สูงสุด กฎหมายบริษัทจีนได้อ้างอิง“หลักการผลประโยชน์ทับซ้อน”จากประเทศอังกฤษเพื่อนำมาปรับใช้กับกฎหมายบริษัทจีน และตั้งหลักการหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการ หลักการนี้มาจากกฎหมายทรัสต์อันเก่าแก่ของประเทศอังกฤษ ซึ่งหมายความว่าผู้รับมอบหมายนั้นไม่อาจจะแสวงหาประโยชน์จากผู้มอบหมาย ให้กระทำการใด เขาจะกระทำการได้แค่เพื่อผลประโยชน์ของผู้รับประโยชน์และตัวแทนของผู้รับประโยชน์เท่านั้น หากว่าผู้รับมอบหมายนั้นละเมิดกฎก็ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าสำหรับกฎหมายบริษัทจีน บทสรุป หน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตเป็นข้อกำหนดของจรรยาบรรณของกรรมการ เมื่อกรรมการมีความขัดแย้งกับผลประโยชน์ของบริษัท ผลประโยชน์ของบริษัทต้องมาก่อนเสมอ งานวิจัยฉบับนี้ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการบริษัทจีน หลังจากการวิเคราะห์และการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการในประเทศจีนแล้ว สรุปได้ว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการในประเทศจีนยังมีข้อบกพร่องอยู่ ข้อบกพร่องอยู่หลักสามารุสรุปได้ดังต่อไปนี้ (1) กฎบางประการขาดผลทางกฎหมายหากมีการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎหมายมีโครงสร้างและลำดับชั้นที่เข้มงวด และกฎหมายที่ครอบคลุมควรประกอบด้วยสันนิษฐาน การปฏิบัติ และการลงโทษ สามประการนี้ขาดไม่ได้ หากขาดส่วนใดไป ผลของกฎหมายจะลดลงอย่างมาก จนไม่สามารถบรรลุบทบาทเชิงบรรทัดฐานในอุดมคติได้ หากกฎหมายมีเพียงข้อกำหนดที่ห้ามเท่านั้นและขาดข้อกำหนดในเชิงปฏิบัติจริง กฎหมายนั้นย่อมไม่สมบูรณ์และสามารถถือเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปได้เท่านั้น (2) กฎหมายบางประการกำหนดไม่ชัดเจน ซึ่งส่งผลให้ศาลสามารถตัดสินคดีด้วยดุลพินิจและไม่มีข้อกฎหมายมารับรอง แต่ละศาลอาจมีการตีความกฎหมายที่แตกต่างกันในคดีเดียวกัน ซึ่งอาจนำไปสู่การพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมและเกิดความวุ่นวายในสังคมได้ พร้อมกันนี้ควรเรียนรู้จากมาตรการกฎหมายที่มีประสิทธิภาพจากต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างการจัดหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการ ออลิเวอร์ เวนเดล โฮล์มส์ (Oliver Wendell Holmes ) ผู้พิพากษาที่มีเชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาเคยกล่าวไว้ว่า "ชีวิตของกฎหมายไม่ได้อยู่ที่ตรรกะ แต่ปรากฏอยู่ที่ประสบการณ์ต่างหาก" (the life of the law has not been logic, it has been experience) ในกระบวนการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายบริษัทอย่างต่อเนื่อง กฎหมายบริษัทไม่เพียงแต่อยู่ในระดับทฤษฎีและบทบัญญัติทางกฎหมายเท่านั้น แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ การตีความ พัฒนา และสร้างสรรค์ "กฎหมายบนกระดาษ" ตามสถานการณ์จริงระหว่างการพิจารณาคดี เพื่อให้กลายเป็น”กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน” ดังนั้น ประเทศจีนจึงต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการ เพื่อให้กฎหมายบริษัท มีความสอดคล้องและใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็ยังทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจราบรื่นขึ้น แม้ว่ากฎหมายปัจจุบันที่เกี่ยวกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่เชื่อว่ากฎหมายนั้นจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ในอนาคต ผลที่ตามมาก็คือ ผู้พิพากษาจะเกิดความซับซ้อนเมื่อพิจารณาคดี และจำเป็นต้องพิจารณาคดีตามดุลพินิจของตนเอง จึงสมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป


ปัญหาการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประเมินภาษี ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, รัชญา ธีรลักสน์ Jan 2022

ปัญหาการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประเมินภาษี ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, รัชญา ธีรลักสน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาปัญหาในการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 อันเนื่องมาจากสาระสำคัญของกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินเดิมในเรื่องของการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ทำการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นแก่การประเมินฐานภาษีและกำหนดอัตราภาษี และประชาชนเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่ต้องแจ้งแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหากประเภทการใช้ปะโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเปลี่ยนแปลงไป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ขั้นตอนการสำรวจและรวบรวมข้อมูลมีความสำคัญต่อการจัดเก็บภาษีเป็นอย่างมาก ความเป็นปัจจุบัน เที่ยงตรงและครบถ้วนของข้อมูลที่ได้จะเป็นตัวแปรในการประเมินฐานภาษีและกำหนดอัตราภาษี มีผลโดยตรงต่อการะจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จากการศึกษากฎหมายและสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานจริงในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลเมืองแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่ ถึงกระบวนการปฏิบัติการรวบรวมข้อมูลและการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พบปัญหาอยู่ 3 ประการคือ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นในกระบวนการนอกเหนือตัวองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาในคุณสมบัติ ประสบการณ์และความพร้อมของเจ้าหน้าที่สำรวจ ปัญหาการขาดกระบวนการอื่นที่นำมาปฏิบัติร่วมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลจำเป็นที่เที่ยงตรงต่อการประเมินฐานภาษี และเมื่อนำมาเปรียบกับกฎหมายและกระบวนการปฏิบัติของมลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีส่วนสาระสำคัญในกระบวนการที่เหมือนกับประเทศไทย แต่แตกต่างออกไปในบางรายละเอียดที่ดีกว่า สรุปเป็นข้อเสนอแนะ ดังนี้ ก) การบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นนอกเหนือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรกำหนดให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของในกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่ต้องแจ้งรายการที่ตนครอบครองตั้งแต่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้นเนื่องจากเจ้าหน้าที่จะสามารถตรวจสอบความครบถ้วนได้จากฐานข้อมูล และทำข้อตกลงในช่องทางการรับแจ้งผลการประเมินให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการแอบอ้างอย่างไม่มีหลักฐานเพื่อหลีกเลี่ยงการประเมินภาษี ข) กำหนดให้มีการนำกระบวนการอื่นมาปฏิบัติร่วม เพื่อสนับสนุนการรวบรวมข้อมูลและสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือการรวมฐานข้อมูลไว้ที่ศูนย์กลางในส่วนของข้อมูลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความเป็นเจ้าของในกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การจดทะเบียนการค้าหรือบริษัทให้ได้ข้อมูลในแง่ของประเภทการใช้ประโยชน์ เพื่อให้องค์กรท้องถิ่นสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้โดยตรง ไม่ต้องขอร่วมมือจากองค์กรอื่น สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบความครบถ้วนและการปฏิบัติตามกฎหมายของประชาชนหากไม่เข้ามาแจ้งความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใดๆ ค) กำหนดถึงคุณสมบัติและประสบการณ์ขั้นต่ำสำหรับผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานสำรวจ เนื่องจากพนักงานสำรวจถือเป็นบุคากรสำคัญในการปฏิบัติกระบวนการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินภาษีนี้


หนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์กับภาระในการอ้างสิทธิของธนาคารพาณิชย์, สรชนก ยินดีฉัตร Jan 2022

หนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์กับภาระในการอ้างสิทธิของธนาคารพาณิชย์, สรชนก ยินดีฉัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐได้มีการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจัดทำหนังสือค้ำประกัน โดยผู้ประกวดราคาหรือผู้ชนะการประมูลจะต้องนำหนังสือค้ำประกันมายื่นต่อหน่วยงานรัฐตามข้อสัญญาเพื่อนำมาเป็นหลักประกันผลงาน โดยหนังสือค้ำประกันจะต้องออกโดยธนาคารและให้ธนาคารเป็นผู้ค้ำประกันผลงาน ซึ่งสามารถยื่นได้ทั้งหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์และหนังสือค้ำประกันในรูปแบบกระดาษ ภาครัฐโดยกรมบัญชีกลางจึงได้มีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาใช้ในการดำเนินงานของระบบจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐ โดยจัดให้มีการทำหลักประกันทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบล็อกเชน เพื่อให้การทำธุรกรรมสามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว ลดการจัดเก็บเอกสาร สร้างความน่าเชื่อถือให้กับหนังสือค้ำประกัน มีความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น อย่างไรก็ดีการออกหนังสือค้ำประกันในรูปแบบกระดาษมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน อีกทั้งมีความเสี่ยงในการทุจริตทั้งปลอมแปลงเอกสารและลายมือชื่อ รวมถึงมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ง่ายกว่าหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผ่านมาธนาคารได้มีการนำข้ออ้างต่างๆ ในการปฏิเสธที่จะชำระหนี้ในฐานนะผู้ค้ำประกันให้กับเจ้าหนี้ โดยมีการนำข้ออ้างว่าหนังสือค้ำประกันเป็นเอกสารปลอม หรือเจ้าหนี้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาค้ำประกัน การที่ลูกหนี้มีการปลอมแปลงเอกสารหนังสือค้ำประกัน หรือกรณีที่เจ้าหนี้คืนหนังสือค้ำประกันโดยความเข้าใจผิดในขณะที่หนี้ประธานยังไม่สิ้นสุด ซึ่งธนาคารมักใช้เหตุผลว่าธนาคารได้รับหนังสือค้ำประกันคืนมาอย่างสุจริตและเมื่อธนาคารได้รับหนังสือค้ำประกันธนาคารสามารถยกเลิกภาระผูกพันได้ตามธรรมเนียมปฏิบัติของธนาคาร ทั้งนี้เมื่อเกิดข้อพิพาทและได้มีการนำสืบพบว่าส่วนใหญ่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของธนาคารเอง ธนาคารยังคงมีภาระผูกพันในฐานะผู้ค้ำประกันและยังคงต้องชำระหนี้แทนลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ดังนั้นหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถเข้ามาช่วยลดภาระในการอ้างสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้แทนลูกหนี้ รวมถึงยังสามารถลดปัญหาข้อพิพาทและการพิสูจน์เอกสารได้เนื่องจากการออกหนังสือค้ำประกันผ่านระบบบล็อกเชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบและอนุมัติธุรกรรมนั้นก่อนข้อมูลจึงจะถูกบันทึกลงบนระบบบล็อกเชน ทำให้โอกาสในการทุจริตหรือปลอมแปลงเอกสารทำได้ยากและยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทุกฝ่าย


แนวทางการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ (Non-Fungible Token: Nft) : ศึกษาเฉพาะกรณีบุคคลธรรมดา, เกวลิน อยู่เย็น Jan 2022

แนวทางการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ (Non-Fungible Token: Nft) : ศึกษาเฉพาะกรณีบุคคลธรรมดา, เกวลิน อยู่เย็น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาในการจัดเก็บภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ (NFT) ใน 4 ด้านหลัก ๆ ได้แก่ (1) การจัดประเภทเงินได้ (2) ค่าใช้จ่ายที่ถือเป็นรายจ่ายทางภาษี (3) หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ (4) การพิจารณาสถานะทางกฎหมายของ NFT ภายใต้กฎหมายภาษีีมูลค่าเพิ่ม โดยได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย เพื่อนำมาวิเคราะห์และหาข้อเสนอแนะในการกำหนดแนวทางการจัดเก็บภาษีข้างต้นให้เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไป สำหรับประเทศไทยพบว่า กรณีที่ NFT ไม่เข้าลักษณะตามคำนิยาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯและมีเงินได้จากการซื้อขาย NFT ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นเงินได้ฝั่งผู้สร้าง NFT หรือนักลงทุน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นและสมควร ในขณะที่ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีขณะทำธุรกรรมซื้อขาย NFT ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ฌ) ส่วนหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับ NFT ถือว่าเป็นแหล่งเงินได้ในประเทศไทยหรือในต่างประเทศให้ใช้หลักพิจารณาจาก Wallet ที่ใช้ในการซื้อขาย NFT อีกทั้งการพิิจารณาสถานะทางกฎหมายของ NFT ภายใต้กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม สรุปได้ว่า NFT เข้าลักษณะเป็นสินค้าอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีการกำหนดแนวทางในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ จากการศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเกี่ยวกับ NFT ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียพบว่า แนวทางการจัดเก็บภาษี NFT นั้นเหมือนกับแนวทางการจัดเก็บภาษีในสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ จึงส่งผลให้เกิดแตกต่างกับประเทศไทย เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียมองว่า เงินได้ที่เกิดจากการซื้อขาย NFT ของนักลงทุนควรเสียภาษีจากส่วนเกินทุน (Capital Gain) แทนเงินได้ปกติ (Ordinary Income) และกรณีในส่วนของการพิจารณาหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้จากการซื้อขาย NFT จะมุ่งพิจารณาถิ่นที่อยู่หรือสัญชาติของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเป็นสำคัญ นอกจากนี้ แนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของ NFT ทั้ง 2 ประเทศนั้นมีแนวทางให้ NFT อยู่ภายใต้บังคับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนเช่นกับประเทศไทย แต่จะมีการกำหนดหน้าที่และวิธีการในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มไว้อย่างชัดเจน โดยให้ NFT Marketplace ทำการหน้าที่จัดเก็บภาษีขายหรือภาษีสินค้าและบริการและนำส่งให้แก่ภาครัฐ ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรนำหลักการทางภาษีที่มีแนวทางอย่างชัดเจนในต่างประเทศมาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมต่อไป


แนวทางการกำหนดมาตรการเรื่องการนำสัตว์เลี้ยงเข้าใช้บริการในร้านอาหาร, โญดา ลิขิตเจริญนุกูล Jan 2022

แนวทางการกำหนดมาตรการเรื่องการนำสัตว์เลี้ยงเข้าใช้บริการในร้านอาหาร, โญดา ลิขิตเจริญนุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบกิจการร้านอาหารที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าร้านอาหารด้วย พบว่าเป็นค่านิยมใหม่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นที่มาจากพฤติกรรม Pet Humanization คือ การเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงเสมือนลูก และจะให้ความสำคัญต่อสัตว์เลี้ยงค่อนข้างสูง อยากให้สัตว์เลี้ยงของตนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขเพิ่มขึ้น รวมถึงการพาออกไปเที่ยวเล่นนอกบ้าน ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงสวนสาธารณะเท่านั้น แต่ยังรวมถึงห้างสรรพสินค้า หรือการพาเข้าร้านอาหารต่าง ๆ ด้วย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผู้ประกอบการร้านอาหารเกี่ยวกับ การพาสัตว์เลี้ยงเข้าร้านอาหารในไทย พบว่ามีกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องอยู่หลายฉบับ แต่ส่วนใหญ่ในกฎหมายไทยจะบัญญัติไว้ในทางอ้อม ไม่ได้กล่าวถึงการห้ามเข้าโดยตรง เช่น ใน พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 นั้นกำหนดเพียงว่าให้ผู้ประกอบธุรกิจอาหารต้องประกอบอาหารให้บริสุทธิ์ ซึ่งได้ให้ความหมายไว้ใน มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ผู้ประกอบการอาจต้องตีความในกฎหมายเองต่อไปว่า ในการจะทำให้อาหารบริสุทธิ์เข้าข่ายตามคำนิยามที่กำหนดไว้ จะต้องปฏิบัติตนอย่างไร ให้ถูกต้องตามคำนิยาม คำนิยามหนึ่งที่ว่าอาหารไม่บริสุทธิ์ คืออาหารที่ได้ผลิต บรรจุหรือเก็บรักษาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ ผู้ประกอบการจะต้องเล็งเห็นแล้วว่า ในการที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้ามาร่วมใช้บริการในร้านอาหารนั้น อาจจะทำให้ขนของสัตว์ที่สามารถหลุด และปลิวมาปนเปื้อนในจานอาหารที่กำลังจะนำไปเสิร์ฟ หรือปนเปื้อนไปในครัวที่กำลังเตรียมอาหารอยู่ได้ และเมื่อผู้บริโภคอาหารเหล่านั้นไปแล้วส่งผลให้อาจจะเกิดอันตราย ถึงขั้นแก่ชีวิต หรือสัตว์เลี้ยงอาจจะก่อความรำคาญให้แก่ผู้ที่อยู่ภายใต้ร้านอาหารเดียวกันได้ หรือในอีกกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกฉบับหนึ่งคือ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 จะมีเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องกับสัตว์หรือสัตว์เลี้ยงซึ่งได้บัญญัติไว้ใน หมวดที่ 5 เรื่องเหตุรำคาญ (2) การเลี้ยงสัตว์ในที่หรือโดยวิธีใด หรือมีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ นั้นให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อผู้เขียนพิจารณาจากบทบัญญัติข้างต้นแล้ว ในเรื่องของเหตุรำคาญเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงนี้อาจมีความเกี่ยวข้องการเรื่องการนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปใช้บริการในร้านอาหารโดยตรง เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์ที่เกินจำนวนสมควร อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญต่าง ๆต่อผู้คนอื่น ๆที่ใช้บริการในร้านอาหาร เนื่องจากผู้เลี้ยงไม่สามารถดูแลสัตว์เลี้ยงของตนได้อย่างทั่วถึง และหมวดที่ 6 เรื่องการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ มีการกล่าวถึงเรื่องการควบคุมสัตว์เลี้ยงหรือการปล่อยสัตว์เลี้ยงในพื้นที่สาธารณะ โดยมีหลักการสำคัญคือเพื่อรักษาสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของผู้คน รวมถึงเพื่อป้องกันโรคระบาดที่อาจติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์หรือสัตว์สู่คนได้ ดังนั้นเจ้าของสัตว์เลี้ยงจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อควบคุมสัตว์เลี้ยงของตนไม่ให้สร้างความเดือดร้อน รวมถึงควบคุมดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้อยู่ในสภาวะที่สามารถนำเชื้อโรคมาติดต่อผู้คนในสังคมได้ดังนั้นเจ้าของสัตว์เลี้ยงจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อควบคุมสัตว์เลี้ยงของตนไม่ให้สร้างความเดือดร้อน รวมถึงควบคุมดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้อยู่ในสภาวะที่สามารถนำเชื้อโรคมาติดต่อผู้คนในสังคมได้ ในการวิจัยครั้งนี้ จึงเห็นสมควรศึกษาถึงปัญหา และข้อบกพร่องของกฎหมายไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมาย บทลงโทษ รวมถึงหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจ ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันไม่สามารถที่จะเข้ามาจัดการผู้ประกอบการร้านอาหารที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าร้านอาหารได้อย่างเด็ดขาด โดยตรงและเต็มประสิทธิภาพแต่อย่างใด เนื่องจากยังขาดกฎหมายหรือมาตรการที่ให้อำนาจในการเข้ามาจัดการ และควบคุม ดังนั้นควรจะมีการกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่างชัดเจน รวมถึงอาจจะมีการจัดตั้งหน่วยที่รับผิดชอบขึ้นมาใหม่ เพื่อกำกับดูแลผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงมีบทลงโทษในสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามด้วย


แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกิดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ออนไลน์โดยมาตรการกำกับดูแลของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม, ขวัญชนก ศรีภมร Jan 2022

แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกิดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ออนไลน์โดยมาตรการกำกับดูแลของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม, ขวัญชนก ศรีภมร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากสภาพสังคมของประเทศไทยในปัจจุบันได้มีการอาศัยเทคโนโลยีในการดำรงชีวิตประจำวันมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อสื่อสารที่มีการพัฒนาและเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วโดยมีรูปแบบการติดต่อสื่อสารผ่านช่องทางที่หลากหลายจนทำให้เกิดช่องว่างในการหลอกลวงต่างๆมากมายทำให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้กลับมาระบาดในสังคมไทยเป็นวงกว้างและสร้างความสูญเสียมหาศาลอีกครั้ง ไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่เจอปัญหากับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต่างประเทศก็ประสบปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน จากการค้นคว้ากฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ผู้วิจัยพบว่าในประเทศไทยได้มีการบังคับใช้กฎหมายที่ใช้ในการปราบปรามโดยการกำหนดความผิดทางอาญาและการใช้นโยบายทางอาญาของรัฐซึ่งยังไม่รวมถึงมาตรการการป้องกันอาชญากรรมโดยความร่วมมือของเอกชนประกอบกับบริบทต่างๆที่ทำให้การบังคับกฎหมายดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจึงทำให้ไม่สามารถจับกุมและกวาดล้างได้อย่างสมบูรณ์ เพราะมิจฉาชีพเหล่านี้มักมีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่งและรูปแบบการหลอกลวงมีวิธีที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ยากต่อการสืบสาวต้นตอและบทกฎหมายที่ใช้ในการปราบปรามทางผู้วิจัยมองว่าเป็นการแก้ปัญหาทางปลายเหตุ เนื่องจากบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องมักเป็นบทกฎหมายทางอาญา การที่จะสามารถลงโทษผู้กระทำความผิดดังกล่าวได้จะต้องเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วเท่านั้นประกอบกับการลงโทษผู้กระทำผิดจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆเนื่องจากเป็นการลงโทษทางอาญา การที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษแทบจะไม่ได้มีผลอะไรที่ทำให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ลดน้อยลง ดังนั้นประเทศไทยจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการป้องกันและกำกับดูแลก่อนที่จะเกิดเหตุเสียมากกว่า เพราะการหาแนวทางในการป้องกันตั้งแต่ต้นจะสามารถช่วยลดความเสียหายได้ไม่มากก็น้อยและเป็นการสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชน (Public Awareness Raising) ในการระมัดระวังแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในปัจจุบัน ปัญหาการจับกุมและการบังคับใช้กฎหมายในการปราบปรามดังกล่าวก็เป็นปัญหาหลักของต่างประเทศเช่นเดียวกับประเทศไทย ดังนั้นในเมื่อขั้นตอนในการจับกุมหรือปราบปรามเป็นขั้นตอนที่ทำได้ยากในทางปฏิบัติ ผู้วิจัยจึงเห็นควรว่าถ้าทำปลายทางไม่ได้ก็ควรหันมาหาวิธีการป้องกันต้นทางตั้งแต่แรกก่อนเกิดเหตุการณ์จะดีกว่าและจากการศึกษาของผู้วิจัยพบว่า ในต่างประเทศมักจะเน้นการบังคับใช้แผนปฏิบัติการเชิงรุกและมาตรการทางกฎหมายที่ใช้การป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์เพื่อที่จะช่วยบรรเทาความเสียหายให้กับประชาชนมากกว่าการเน้นการปราบปรามและวิธีที่จะช่วยการป้องกันได้ดีคือการให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นตัวดักจับความผิดปกติของหมายเลขโทรศัพท์นั่นเองเนื่องจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ส่วนใหญ่มักใช้หมายเลขโทรศัพท์ที่ผิดกฎหมายหรือหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่มีคนใช้งานโดยใช้เทคโนโลยีในการแปลงหมายเลขและแอบอ้างเป็นหน่วยงานหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือหมายเลขโทรศัพท์ผิดกฎหมายที่โทรมาจากต่างประเทศ ดังนั้นถ้าในส่วนของต้นทางคือกิจการโทรคมนาคมสามารถทำการตรวจสอบหรือตรวจพบตั้งแต่แรกจะทำให้ประชาชนเกิดความสูญเสียลดน้อยลง ซึ่งจากการที่ต่างประเทศหันมาสนใจการป้องกันมากกว่าปราบปรามพบว่าสถิติการสูญเสียของประชาชนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ


แนวทางการพัฒนากฎหมายเพื่อป้องกันการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์, จิตติมา กลิ่นสุวรรณ Jan 2022

แนวทางการพัฒนากฎหมายเพื่อป้องกันการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์, จิตติมา กลิ่นสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ Geographical Indication (GI) เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งให้การคุ้มครองชื่อหรือสิ่งที่เรียกแทนชื่อแหล่งกำเนิดของสินค้า ซึ่งคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะ เป็นผลมาจากแหล่งกำเนิดดังกล่าว เช่น ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ หรือภูมิปัญญาของชุมชนในแหล่งผลิตนั้น ทำให้สินค้าเหล่านั้นไม่สามารถผลิตได้ในพื้นที่อื่น ด้วยความพิเศษและความมีเอกลักษณ์ของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จึงถือได้ว่าสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นของดี ของหายาก และไม่สามารถหาซื้อได้ในพื้นที่อื่น ส่งผลให้สินค้า มีราคาสูง ประกอบกับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยการนำสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ไปใช้กับสินค้าที่ไม่ได้มาจากแหล่งผลิตตามที่ระบุไว้ในทะเบียน รวมถึงสินค้าที่มีคุณภาพ หรือคุณลักษณะเฉพาะที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในทะเบียน จนอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนหลงผิด และอาจส่งผลต่อชื่อเสียงของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงแหล่งผลิตที่แท้จริงของสินค้าได้อีกด้วย เอกัตศึกษาฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา หลักการคุ้มครอง และการบริหารจัดการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายใต้กฎหมายสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ของไทยและสหภาพยุโรป และเพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนากฎหมายเพื่อป้องกัน การละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย เนื่องจากกฎหมายที่ให้การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย มีบทบัญญัติที่ไม่ครอบคลุมต่อการป้องกันการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ การไม่มีผู้ดูแลสิทธิในสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงไม่ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ดูแลสิทธิ การควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบย้อนกลับ ไม่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายอย่างชัดเจน และการไม่มีบทบัญญัติให้สินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ต้องแสดงฉลากหรือตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์บนสินค้า รวมถึงไม่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาที่แท้จริงของสินค้าได้ ส่วนสหภาพยุโรปมีบทบัญญัติที่ครอบคลุมและชัดเจนกว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลสิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงรายละเอียดของหน้าที่ดังกล่าว และบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบย้อนกลับ และการแสดงฉลาก ด้วยเหตุนี้ เพื่อขจัดข้อบกพร่องของกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยที่ทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จึงควรมีการปรับปรุงบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 โดยนำบทบัญญัติของกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสหภาพยุโรปมาปรับใช้ ได้แก่ การแก้ไขผู้มีสิทธิ ขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงการเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบย้อนกลับ รวมถึงการแสดงฉลากและตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย เพื่อให้การป้องกันการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในทรัพย์สินบางประเภท : กรณีศึกษารถบ้านเคลื่อนที่, จิรัชยา ผู้พัฒน์ Jan 2022

ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในทรัพย์สินบางประเภท : กรณีศึกษารถบ้านเคลื่อนที่, จิรัชยา ผู้พัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิ่งปลูกสร้างได้มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาของที่อยู่อาศัยได้มีหลากหลายมากขึ้นโดยที่อยู่อาศัยไม่จำเป็นต้องมีการปลูกสร้างลงบนที่ดิน ฝังลงดิน หรือยึดติดตรึงถาวรเสมอไป ได้แก่ รถบ้านเคลื่อนที่ (Recreational Vehicle , Mobile Home, Caravan) ที่ใช้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและหาประโยชน์อื่นใด จึงมีประเด็นที่ควรพิจารณาว่า รถบ้านเคลื่อนที่ประเภทดังกล่าวเข้าข่ายขอบเขตตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 หรือไม่ โดยคำนิยาม “สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น” ที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ซึ่งให้หมายความรวมถึงแพที่บุคคลอาจใช้อยู่อาศัยได้หรือที่มีไว้เพื่อหาผลประโยชน์ด้วย เอกัตศึกษาเล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงหลักการจัดเก็บภาษีรถบ้านเคลื่อนที่ในประเทศไทย และการจัดเก็บภาษีรถบ้านเคลื่อนที่ในต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงกฎหมายที่เกี่ยวข้องและหาจุดบกพร่องหรือข้อควรแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้มาตรการทางกฎหมายในประเทศไทย จากการศึกษาของผู้เขียนพบปัญหาการตีความ “สิ่งปลูกสร้าง” ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่ไม่ครอบคลุมถึงยานพาหนะที่เป็นที่อยู่อาศัยมีลักษณะเคลื่อนที่ได้ ทำให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี โดยไม่สอดคล้องกับหลักผลประโยชน์ที่ได้รับ (Benefit Principle) และหลักความเป็นธรรม (Fairness Principle) ซึ่งขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของการจัดเก็บภาษีที่ดีและยังขัดต่อเจตนารมณ์ของภาษีทรัพย์สิน ผู้เขียนมีความเห็นว่ารถบ้านเคลื่อนที่มีองค์ประกอบการเป็นสิ่งปลูกสร้างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ หรือที่ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม ที่เข้าข่ายการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยพิจารณาจาก 4 องค์ประกอบเทียบเคียงได้จากแพ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง องค์ประกอบที่หนึ่ง ประโยชน์จากการใช้สินทรัพย์ที่มีวัตถุประสงค์ในการเข้าอยู่อาศัยและใช้สอย องค์ประกอบที่สอง ลักษณะการไม่ติดตรึงลงบนพื้นดิน องค์ประกอบที่สาม มีลักษณะที่สามารถการเคลื่อนที่ได้เช่นเดียวกับแพ องค์ประกอบที่สี่ การได้รับประโยชน์จากสาธารณูปโภคและทรัพยากรในท้องถิ่นเช่นเดียวกับแพ จากองค์ประกอบดังกล่าวทำให้ผู้เขียนมีความเห็นว่ารถบ้านเคลื่อนที่ ควรจะถือเป็น “สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้” ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยมีข้อเสนอแนะให้รถบ้านเคลื่อนที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และได้รับการยกเว้นจากการจัดเก็บภาษี รถบ้านเคลื่อนที่ทุกชนิด (รถเฉพาะกิจมอเตอร์โฮม) ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ประกอบกับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของภาษีและเพื่อความเป็นธรรม ทั้งนี้ จะต้องมีการกำหนดลักษณะของรถบ้านที่ชัดเจน ในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เพื่อประโยชน์ในการจำแนก รถบ้านเคลื่อนที่ ออกจากรถยนต์ทั่วไปที่ใช้เพื่อการคมนาคมขนส่งโดยปกติ และเพื่อความชัดเจนในการยกเว้นภาษี นอกจากนี้ เมื่อรถบ้านเคลื่อนที่ (Recreational Vehicle , Mobile Home, Caravan) อยู่ในบังคับที่จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้ว ภาษีส่วนนี้ควรถูกจัดเก็บเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทนกรมขนส่งทางบก


การจัดเก็บภาษีการเลี้ยงสุนัข, จุฬาลักษณ์ ติรชาญวุฒิ์ Jan 2022

การจัดเก็บภาษีการเลี้ยงสุนัข, จุฬาลักษณ์ ติรชาญวุฒิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แม้ว่าปัจจุบันคนจะหันมานิยมเลี้ยงสุนัขไว้เป็นเพื่อนคลายเหงา โดยถือว่าสุนัขเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว แต่ยังคงเกิดปัญหาอันเกิดจากการเลี้ยงสุนัขในประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อสังคมในเรื่องความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ความหวาดกลัวของประชาชนต่อสุนัขที่มีพฤติกรรมดุร้าย ผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากมลพิษทางกลิ่นและเสียงจากการเลี้ยงสุนัข อีกทั้งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทำให้ภาครัฐมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจัดการปัญหาอันเกิดจากการเลี้ยงสุนัข ในขณะที่มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมการเลี้ยงสุนัขที่บังคับใช้ในปัจจุบัน ยังมีข้อบกพร่องและไม่เพียงพอในการแก้ไขปัญหา จากการศึกษาการจัดเก็บภาษีเพื่อควบคุมการเลี้ยงสุนัขของกรุงเบอร์ลินและเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี พบว่าแต่ละเมืองมีอำนาจในการออกมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่มิใช่มาตรการทางภาษีเพื่อบังคับใช้ในท้องที่ของตน โดยเงินภาษีที่จัดเก็บได้นั้น นอกจากจะเป็นรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อชดเชยรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสุนัขแล้ว แต่ละเมืองยังนำเงินภาษีที่ได้ไปใช้เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมการจัดสวัสดิภาพให้สุนัขในแต่ละท้องถิ่น ดังนั้น ผู้เขียนจึงนำแนวทางของกรุงเบอร์ลินและเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี มาเสนอแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการควบคุมการเลี้ยงสุนัขในประเทศไทย โดยกำหนดโครงสร้างการจัดเก็บภาษีให้สอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดีและเข้ากับสถานการณ์การเลี้ยงสุนัขในประเทศไทย และเสนอให้นำมาตรการอื่นที่มิใช่มาตรการทางภาษีที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม โดยใช้ประกอบกับมาตรการทางภาษีเพื่อให้การควบคุมการเลี้ยงสุนัขเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด


ความแตกต่างในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีสำหรับกิจการอสังหาริมทรัพย์ระหว่างกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Paes) และกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Npaes), ชเนตตี นิลวงศ์ Jan 2022

ความแตกต่างในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีสำหรับกิจการอสังหาริมทรัพย์ระหว่างกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Paes) และกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Npaes), ชเนตตี นิลวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการรับรู้รายได้ของกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ถือปฏิบัติจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินของประเทศไทยที่ได้ปรับปรุงมาจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities : NPAEs) และกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities : PAEs) ซึ่งมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้รายได้ที่นำมาใช้ มีวิธีการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน คือ สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAEs) สามารถเลือกรับรู้รายได้ได้ 3 วิธี ได้แก่ 1).การรับรู้รายได้ทั้งจำนวน 2).การรับรู้รายได้ตามอัตราส่วนงานที่ทำเสร็จและ 3).การรับรู้รายได้ตามเงินงวดที่ถึงกำหนดชำระ โดยอ้างอิงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ แต่สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(PAEs) จะสามารถเลือกรับรู้รายได้ได้เพียงวิธีเดียว คือ เมื่อกิจการได้โอนความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่มีนัยสำคัญในสินทรัพย์ไปยังผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว โดยอ้างอิงตามมาตรฐานการรายการทางการเงิน TFRS 15 ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่เลือกใช้วิธีการรับรู้รายได้ทั้งจำนวน (Full Accrual Method) มีข้อจำกัดว่าจะสามารถใช้วิธีนี้ได้เมื่อกิจการมีการโอนกรรมสิทธิ์และนิติกรรมในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับที่มีการขายนั้นเกิดขึ้นตามประมวลรัษฎากร และส่งผลให้เกิดความแตกต่างทางด้านบัญชีและภาษี ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 แก้ไขเพิ่มเติมโดย ท.ป.262/2559 แต่สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะสามารถรับรู้รายได้เมื่อโอนกรรมสิทธิ์โดยที่หลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษีอากรไม่มีความแตกต่างกัน และไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการโอนกรรมสิทธิ์ภายในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันเหมือนกับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ จึงทำให้เกิดความแตกต่างกันสำหรับการเลือกใช้วิธีการรับรู้รายได้แบบทั้งจำนวนหรือเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ในด้านภาษีอากรแห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาผลกระทบและเปรียบเทียบการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีสำหรับทั้งสองกิจการ เพื่อให้เห็นความแตกต่างในแต่ละวิธีการรับรู้รายได้ของทั้งสองกิจการ และเพื่อเสนอแนะแนวทางสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียให้สามารถเลือกใช้วิธีการรับรู้รายได้ทั้งจำนวนหรือเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ได้ โดยที่ไม่มีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ภายในระยะเวลาบัญชีเดียวกัน และเพื่อช่วยให้กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะสามารถชะลอการจ่ายภาษีเงินได้รวมถึงมีเงินทุนหมุนเวียนในกิจการเพียงพอ อีกทั้งการรับรู้รายได้ตามวิธีทั้งจำนวนหรือเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ยังเป็นวิธีการรับรู้รายได้ที่มีความแน่นอนมากกว่าวิธีอื่นๆ เนื่องจากกิจการจะรับรู้รายได้ตามวิธีก็ต่อเมื่อความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดได้โอนไปให้แก่ลูกค้าเรียบร้อยแล้ว


แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจบริการเสริมความงามเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2563, ชรัลธร หล่าบรรเทา Jan 2022

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจบริการเสริมความงามเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2563, ชรัลธร หล่าบรรเทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ธุรกิจที่ได้รับความนิยมในการประกอบอาชีพ นั่นก็คือ ธุรกิจเสริมความงาม เพราะเปิดธุรกิจดังกล่าวขึ้นเนื่องจาก ผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็น วัยรุ่น หรือวัยทำงานได้รับอิทธิพลการดูแลตัวเองมาจากประเทศเกาหลีใต้ ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น ละคร หรือวงการเพลง K-pop ที่ถ่ายทอดมาให้แก่ผู้บริโภคที่ได้รับสื่อ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลผิวให้เนียน กระจ่างใสด้วยการทำทรีทเมนต์หรือการรับการยิงเลเซอร์ การปรับรูปหน้าให้มีลักษณะเรียวขึ้น หรือแม้แต่การศัลยกรรม ล้วนมีความคาดหวังให้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการและออกมาในทางที่ดี หากแต่ว่า การเปิดธุรกิจแบบเชิงพาณิชย์มากเกินไปของผู้ประกอบการ ก็ทำให้มีผลลัพธ์ที่ออกมาผิดคาดไปในทางที่แย่ลงกว่าสภาพปกติ อย่างที่ได้เห็นตามข่าว ไม่ว่าจะเป็น ศัลยกรรมทำพิษ จนหน้าบิดเบี้ยว จมูกทะลุ หรือแม้แต่เสียชีวิตระหว่างได้รับการผ่าตัดเพราะแพ้ยาสลบ การแพ้เครื่องสำอางที่นำมาทำทรีทเมนต์ การได้รับหัตถการปรับรูปหน้าโดย botox filler และการร้อยไหม แต่แพทย์ที่ทำไม่ชำนาญจนใบหน้าเกิดการห้อยย้อย หรือเบี้ยว และแม้แต่หมอปลอมหรือหมอกระเป๋าที่แอบอ้างเป็นหมอจริงโดยขโมยหลักฐานจาก แพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะจริง ๆ มา ด้วยความที่อุปสงค์ของผู้บริโภคนั้นมีมาก ทำให้อุปทานการรับพนักงาน หรือตัวแพทย์เองไม่มีมาตรฐานที่แน่ชัด ในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านความปลอดภัย การป้องกันการเปรียบจากผู้ประกอบการจากการทำสัญญาฝ่ายเดียวของผู้ประกอบการหรือ แม้แต่กฎหมายในเรื่องนี้ยังไม่มีเป็นการเฉพาะ ดังนั้นแล้วเอกัตศึกษานี้จากการศึกษาพบว่า ในขณะนี้กระแสการรับบริการเสริมความงามนั้นมีความนิยมกันอย่างเปิดเผย โดยเฉพาะดารา นักร้องหรือนักแสดงได้ดูแลความสวยงามเพื่อเสริมความมั่นใจ เป็นที่ดึงดูดความสนใจ ทำให้กระแสดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคที่อยากมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น มีพฤติกรรมการลอกเลียนแบบเพื่อตอบสนอง เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ทั้งนี้สืบเนื่องในปัจจุบันการใช้สื่อทางโทรทัศน์ สื่อโซเชียลออนไลน์ มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จึงทำให้ก่อเกิดเป็นค่านิยมให้การดูแลตัวเองซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย ใด อีกทั้งยังทำให้มีความก้าวหน้าในงานหรือประสบความสำเร็จในชีวิตเพราะตัวผู้บริโภคได้ลบจุดด้อยและเพิ่มจุดเด่นมากขึ้น เนื่องด้วยปัจจุบันทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้า มากขึ้น ลักษณะการให้บริการเสริมความงาม กล่าวคือ เพื่อรักษาปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง หรือ เพื่อปรับปรุงสภาพผิวหน้าให้ขาวใส ไร้ริ้วรอย เป็นการให้บริการเสริมความงามเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้เข้ารับโดยเฉพาะ นอกเหนือไปจากการรักษาปัญหาโรคผิวหนังโดยการบริการจะมีให้เลือกมากมาย จากการศึกษาทำให้ทราบว่าปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการสถานพยาบาลเสริมความงามตามพระราชบัญญัติผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2549 ยังไม่ชัดเจนและไม่ครอบคลุมอยู่หลายประการและยังได้ทราบปัญหาเกี่ยวกับด้านสัญญาที่ไม่มีความเสมอภาคกันโดยจะเป็นเพียงฝ่ายผู้ประกอบการธุรกิจที่ได้ทำสัญญาออกมาแบบสำเร็จรูปโดยที่ผู้บริโภคเสียเปรียบหากเกิดการเรียกร้องสิทธิที่ผู้บริโภคพึ่งได้รับ อาทิ การจำกัดสิทธิไม่ว่าจะเป็นการได้รับบริการที่ไม่ตรงตามที่ได้ตกลงมัดจำค่าคอร์ส เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มี คู่มือหรือแนวทางปฏิบัติในการทำสัญญาที่เกี่ยวกับการควบคุมสัญญาทั้งหมด เป็นเพียงการควบคุมการรับเงินในหลักฐานรับเงินเพียงเท่านั้น แต่เนื่องด้วย การรับบริการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ ชีวิต ร่างกาย และอนามัยของผู้บริโภคจึงควรปรับปรุงหรือยกระดับให้เป็นธุรกิจควบคุมสัญญาได้แล้วในปัจจุบัน


กรณีศึกษาปัญหาใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอาศัยช่องโหว่ของแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30), ชาญชัย เจียรวัฒนภักดี Jan 2022

กรณีศึกษาปัญหาใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอาศัยช่องโหว่ของแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30), ชาญชัย เจียรวัฒนภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มภายใต้กฎหมายไทยกับสหราชอาณาจักร ผ่านปัญหาเกี่ยวกับใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มและโดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบ ภ.พ.30 ที่พบเห็นในปัจจุบัน ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาความคิดเกี่ยวกับการจัดองค์กรในการจัดเก็บภาษี หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี และลักษณะขององค์กรในการจัดเก็บภาษี และวิเคราะห์จุดอ่อนเชิงระบบของการจัดเก็บของไทยที่ควรมีการปรับปรุง รวมถึงเสนอแนะโดยการนำเอากฎหมายของสหราชอาณาจักรมาปรับใช้รวมทั้งการปรังปรุงแบบ ภ.พ.30 เพื่อให้ข้อมูลรอบด้านและป้องกันปัญหาใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย


มาตรการภาษีเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่ทุกคนจ่ายได้, ณัฐณิชา แกล้วกล้า Jan 2022

มาตรการภาษีเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่ทุกคนจ่ายได้, ณัฐณิชา แกล้วกล้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในสภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการที่กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางความเจริญของประเทศ และเป็นแหล่งจ้างงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นฐานของแรงงานจากชนบทเข้าสู่ในเมืองเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันราคาของโครงการที่พักอาศัยที่ใกล้กับเส้นทางระบบคมนาคมขนส่งซึ่งมาจากการพัฒนาของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และมีมูลค่าสวนทางกับความสามารถในการซื้อที่พักอาศัยของประชาชนในพื้นที่ ทำให้ประชาชนบางกลุ่มขาดความสามารถในการซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยในทำเลที่เหมาะสม แม้ว่าประเทศไทยจะมีนโยบายส่งเสริมการจัดให้มีหรือพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือผู้อยู่อาศัยเดิมภายในพื้นที่โครงการตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 โดยมีมาตรการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ของที่ดิน อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวยังไม่มีภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย แสดงให้เห็นว่ามาตรการส่งเสริมของภาครัฐที่ออกมานั้นยังไม่สร้างแรงจูงใจมากพอที่ภาคเอกชนจะเข้าร่วมโครงการ ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงศึกษาถึงปัญหาของมาตรการส่งเสริมของประเทศไทย และมาตรการส่งเสริมประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและการนำมาปรับใช้กับมาตรการส่งเสริมของประเทศไทย จากการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการส่งเสริมของประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีมาตรการยกเว้นภาษีทรัพย์สินเพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับความสามารถในการจ่ายในนครนิวยอร์ก ซึ่งการประเมินภาษีและการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของนครนิวยอร์กนั้นมีความคล้ายคลึงกับการประเมินภาษีและการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทย จึงสามารถนำมาตรการยกเว้นภาษีทรัพย์สินของประเทศสหรัฐอเมริกามาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเข้าร่วมโครงการของผู้ประกอบการได้ ดังนั้น หากประเทศไทยต้องการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับความสามารถในการจ่าย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยของประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยในทำเลที่เหมาะสม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ประเทศไทยควรนำมาตรการทางภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้กับประเทศไทย โดย (1) พิจารณาปรับลดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่างการก่อสร้างและช่วงเปิดโครงการในอัตราที่เหมาะสมแทนการยกเว้นภาษีทั้งจำนวน ซึ่งจะทำให้มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีไปพัฒนากรุงเทพมหานครในด้านอื่น ๆ ต่อไป (2) กำหนดหลักเกณฑ์ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ (3) มีวิธีการตรวจสอบความคืบหน้าและความเป็นไปได้ของโครงการเพื่อพิจารณาในการให้สิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการทุจริตหรือการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ไม่เป็นธรรม (4) ผลักดันให้มีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยประเภทเช่าโดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อช่วยสร้างแรงจูงใจให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ประกอบการที่ต้องการประกอบกิจการที่พักอาศัยสำหรับเช่าได้ร่วมพัฒนาที่อยู่อาศัยภายใต้นโยบายของรัฐบาลมากยิ่งขึ้น


ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีการแก้ไขใหม่ ศึกษากรณีผู้ค้ำประกันเป็นผู้มีอำนาจจัดการหรือควบคุมในกิจการของลูกหนี้นิติบุคคล, ธนพร มิตรดี Jan 2022

ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีการแก้ไขใหม่ ศึกษากรณีผู้ค้ำประกันเป็นผู้มีอำนาจจัดการหรือควบคุมในกิจการของลูกหนี้นิติบุคคล, ธนพร มิตรดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้ทำการศึกษาความรับผิดของผู้ค้ำประกันกรณีผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นผู้มีอำนาจจัดการตามกฎหมายหรือมีอำนาจควบคุมในกิจการของลูกหนี้นิติบุคคลเมื่อมีการผ่อนเวลาชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ตามบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการค้ำประกันมาตรา 700 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีการแก้ไขใหม่ในปีพ.ศ. 2557 และปีพ.ศ. 2558 จากการศึกษาพบว่า การแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าวโดยห้ามไม่ให้มีการทำข้อตกลงยินยอมต่อการผ่อนเวลาไว้ล่วงหน้า และยกเว้นเพียงสิทธิของผู้ค้ำประกันที่เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือการค้ำประกันเพื่อสินจ้างเป็นปกติธุระเท่านั้นที่จะให้สามารถให้ความยินยอมต่อการผ่อนเวลาของลูกหนี้ไว้ล่วงหน้าได้นั้นไม่เพียงพอ เนื่องจากยังมีผู้ค้ำประกันทางพาณิชย์อีกกลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ทั้งนี้ผู้ค้ำประกันกลุ่มนี้ได้ประโยชน์จากการที่นิติบุคคลได้รับสินเชื่อและมีส่วนได้เสียกับลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคล นั่นคือ บุคคลผู้มีอำนาจจัดการตามกฎหมายหรือมีอำนาจควบคุมในกิจการของลูกหนี้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ของลูกหนี้เป็นประโยชน์ต่อบุคคลกลุ่มนี้ด้วย อีกทั้งบุคคลกลุ่มนี้มักจะมีความเข้าใจในการเข้าทำนิติกรรมหรือสัญญาทางธุรกิจ และสามารถทราบถึงภาระหน้าที่ในการเข้าทำสัญญาค้ำประกันหรือพิจารณาหรือประเมินความเสี่ยงในการเข้าทำสัญญาได้เอง รวมถึงบุคคลกลุ่มนี้มีความรู้ในการประกอบธุรกิจและมีความน่าเชื่อถือเพียงพอที่ธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่อ ธนาคารจึงมักต้องการให้ผู้ค้ำประกันกลุ่มนี้ให้การค้ำประกันเพิ่มเติมด้วย นอกจากนี้แนวคิดที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลผู้มีอำนาจจัดการหรือมีอำนาจควบคุมในกิจการของลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเทียบเท่ากับผู้ค้ำประกันทางแพ่งและสามารถรับผิดในหนี้ของลูกหนี้ได้มากกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไปปรากฏให้เห็นในบทบัญญัติมาตรา 727/1 วรรคสองที่ได้ปรับแก้ไขในปีพ.ศ. 2558 โดยยกเว้นให้บุคคลกลุ่มนี้สามารถเข้าค้ำประกันเพิ่มเติมในหนี้ของลูกหนี้นอกเหนือจากการจำนองได้อีก อีกทั้งเมื่อเทียบกับหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษและสิงคโปร์แล้ว พบว่า กฎหมายของทั้ง 2 ประเทศนี้ไม่ได้กำหนดห้ามการทำข้อตกลงเรื่องการผ่อนเวลาไว้ล่วงหน้า สัญญาค้ำประกันภายใต้กฎหมายประเทศอังกฤษและสิงคโปร์จึงสามารถมีข้อตกลงสงวนสิทธิของเจ้าหนี้ว่า ผู้ค้ำประกันจะยังคงรับผิดในหนี้ประธานของลูกหนี้แม้ว่าเจ้าหนี้จะทำการผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ ซึ่งเป็นเสรีภาพในการทำสัญญาของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย การห้ามไม่ให้ทำข้อตกลงดังกล่าวไว้ล่วงหน้าจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับเจ้าหนี้กรณีที่ไม่สามารถติดต่อให้ผู้ค้ำประกันลงนามตกลงยินยอมต่อการผ่อนเวลาของลูกหนี้ได้ และอาจกระทบต่อลูกหนี้เองเนื่องจากเจ้าหนี้จะระมัดระวังในการพิจารณาให้สินเชื่อและการพิจารณาผ่อนเวลาชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ จากผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่า กฎหมายควรกำหนดบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองระหว่างผู้ค้ำประกันทางแพ่งและผู้ค้ำประกันทางพาณิชย์โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจจัดการและควบคุมการดำเนินงานของลูกหนี้ให้แตกต่างกัน โดยบทบัญญัติควรให้ผู้ค้ำประกันที่มีอำนาจจัดการตามกฎหมายหรือมีอำนาจควบคุมในกิจการของลูกหนี้นิติบุคคลสามารถทำข้อตกลงยินยอมต่อการผ่อนเวลาของลูกหนี้ไว้ล่วงหน้าได้


มาตรการทางกฎหมายสำหรับงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2557 : ศึกษากรณีช่างไฟฟ้าในอาคาร, ปพัชนก อัญชุลีประดิษฐ์ Jan 2022

มาตรการทางกฎหมายสำหรับงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2557 : ศึกษากรณีช่างไฟฟ้าในอาคาร, ปพัชนก อัญชุลีประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 - 2560 ประเทศไทยมีเหตุเพลิงไหม้บ้าน เกิดขึ้นมากกว่า 58,000 ครั้ง เฉลี่ยปีละ 2,000 ครั้ง และ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 – 2563 มีครัวเรือนที่ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น 32,777 ครัวเรือน โดยมีมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้นโดยประมาณ 14,340,682,192 บาท และตัวเลขการเกิดอัคคีภัยยังคงมีมาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าสาเหตุของการเกิดอัคคีภัยนั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แต่เอกัตศึกษาเล่มนี้ได้ศึกษาหนึ่งในปัญหาของการเกิดอัคคีภัยที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร แต่อย่างไรก็ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรก็สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยเอกัตศึกษาเล่มนี้ได้จึงได้ศึกษาลึกลงไปเพื่อเจาะจง และหนึ่งในนั้นก็คือการที่เกิดจากการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2557 มาตรา 26/3 ได้กำหนดให้ช่างไฟฟ้าต้องได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ ที่จะมีการทดสอบมาตรฐานต่าง ๆ ที่ช่างควรจะปฏิบัติ ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงความสามารถพื้นฐานเพื่อบรรเทาการเกิดอัคคีภัยได้ แต่ข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ยังไม่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากมีการบังคับใช้เพียงแต่กับภาคพาณิชย์ แต่ไม่เกิดการนำไปใช้กับภาคประชาชนครัวเรือน เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่ผู้เขียนได้ทำการศึกษา ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย และ ประเทศสหราชอาณาจักร พบว่าการกำหนดมาตรฐานในการเข้าปฏิบัติงานด้านไฟฟ้าภายในบ้าน มีการกำหนดที่ชัดเจนกว่าประเทศไทย ในเรื่องว่างานไฟฟ้าภายในบ้านประการใดสามารถทำเองได้ ประการใดสามารถทำเองได้แต่ต้องทำเรื่องแจ้งต่อหน่ายงานที่รับผิดชอบให้ทราบ หรือ ประการใดต้องใช้ช่างที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น อีกทั้งยังมีการกำหนดหน้าที่และโทษของเจ้าของบ้านที่ต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบเอกสารใบอนุญาตของช่างที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในบ้านตนเอง ซึ่งประเทศไทยสามารถที่จะศึกษามาตรการบังคับใช้ของกลุ่มประเทศดังกล่าวเพื่อนำมาปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยได้ จากการศึกษาพบว่าควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2557 มาตรา 53/2 ให้เจ้าของบ้านมีหน้าที่และโทษในการจ้างช่างมาทำงานให้กับอาคารที่ไม่ใช่สถานประกอบการด้วย