Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law and Economics

PDF

Chulalongkorn University

2021

Articles 31 - 40 of 40

Full-Text Articles in Law

แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานต่างประเทศ : กรณีศึกษาประเทศออสเตรเลีย และแคนาดา, มณฑิรา อินทโชติ Jan 2021

แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานต่างประเทศ : กรณีศึกษาประเทศออสเตรเลีย และแคนาดา, มณฑิรา อินทโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน และการ ส่งออกแรงงานไปทํางานต่างประเทศของประเทศไทย โดยศึกษาเพิ่มเติมในความต้องการแรงงาน ต่างชาติของประเทศออสเตรเลียและแคนาดา และกลไกการส่งออกแรงงานของประเทศฟิลิปปินส์ ด้วยวิธีการศึกษาโดยการวิจัยทางเอกสาร โดยการค้นคว้า ศึกษา สืบค้น รวบรวมข้อมูล จากกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศและข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังศึกษาถึงข้อจํากัดของ กฎหมายและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่สามารถเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้กับบริบทของประเทศ ไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงานและการส่งออกแรงงานไปทํางานในต่าง ประเทศให้มีระบบที่ดียิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีระบบการพัฒนาแรงงานฝีมือและการส่งเสริมแรงงานไป ทํางานต่างประเทศอยู่แล้วในระดับหนึ่ง แต่ในด้านของการพัฒนานั้นพบปัญหาคือ ยังคงขาดความ หลากหลายในกลุ่มอาชีพที่พัฒนา และไม่มีระบบการติดตามประสิทธิผลของแรงงานที่ผ่านการอบรม ผ่านผู้ประกอบการ ทําให้ไม่สามารถเห็นประโยชน์ที่ชัดเจนพอจากแรงงานที่ผ่านการพัฒนาแล้ว ส่วน ของการส่งเสริมไปทํางานต่างประเทศนั้น เป็นประเด็นที่รัฐบาลไทยให้การส่งเสริมไม่เพียงพอ มีระบบ การจัดการแต่ยังไม่มีกลไกที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสังเกตได้จากข้อตกลงระหว่างประเทศด้านแรงงานที่มี อย่างจํากัด ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาฝีมือแรงงานและการส่งเสริมแรงงานไทยไปทํางานต่างประเทศ มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานของประเทศออสเตรเลียและ แคนาดา จึงควรมีการปรับปรุงเชิงนโยบายของประเทศเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว และกระตุ้นให้ แรงงานไทยเป็นแรงงานฝีมือที่พัฒนาแล้วอย่างแท้จริง ประกอบกับมีกลไกการส่งออกแรงงานที่เกิด ประโยชน์สูงสุดกับระบบเศรษฐกิจของประเทศ


ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการของรัฐในการช่วยเหลือผู้รับจ้าง ในสัญญาจ้างก่อสร้างภาครัฐ : ศึกษากรณีเหตสุดวิสัยอันเนื่องมาจากโรคโควิด 19 ระบาด, ภาวิตา ลี้สกุล Jan 2021

ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการของรัฐในการช่วยเหลือผู้รับจ้าง ในสัญญาจ้างก่อสร้างภาครัฐ : ศึกษากรณีเหตสุดวิสัยอันเนื่องมาจากโรคโควิด 19 ระบาด, ภาวิตา ลี้สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการของรัฐในการช่วยเหลือผู้รับจ้างในสัญญาจ้างก่อสร้างภาครัฐกรณีเหตสุดวิสัยอันเนื่องมาจากโรคโควิด 19 ระบาด วิเคราะห์ปัญหาปัญหาเกี่ยวกับมาตรการของรัฐในการช่วยเหลือดังกล่าว และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น ข้อเสนอเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เพียงพอของมาตรการที่ใช้ในการเยียวยาผู้รับจ้างในสัญญาจ้างก่อสร้าง รวมถึง การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อเสนอเกี่ยวกับการแก้กฎหมายให้รองรับหลักการปฏิบัติการชำระหนี้ก่อให้เกิดภาระเกินสมควรแก่คู่สัญญา (hardship) ในชั้นนี้จึงสมควรที่จะศึกษาในปัญหาดังกล่าว รวมถึงการนำเสนอการแก้ไขหรือเพิ่มเติมกฎหมาย การกำหนดนโยบายที่สำคัญที่ช่วยเหลือผู้รับจ้างในสัญญาจ้างก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบ โดยการกำหนดนโยบายดังกล่าวควรบัญญัติเป็นกฎหมายพิเศษขึ้นมานอกเหนือจากการใช้บังคับตามที่กำหนดไว้ในระบบกฎหมายปกติ อันจะก่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับแนวนโยบายในการช่วยเหลือผู้รับจ้างในสัญญาจ้างก่อสร้าง


การศึกษากฎหมาย หลักเกณฑ์ และเสนอแนวทางในการจัดเก็บภาษีป้ายให้สอดคล้องกับรูปแบบป้ายอิเล็กทรอนิกส์, วริศรา การบูรณ์ Jan 2021

การศึกษากฎหมาย หลักเกณฑ์ และเสนอแนวทางในการจัดเก็บภาษีป้ายให้สอดคล้องกับรูปแบบป้ายอิเล็กทรอนิกส์, วริศรา การบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดเก็บภาษีป้ายอิเล็กทรอนิกส์ เนื่อง ด้วยสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันมีการพัฒนาในด้านเทคโนยีไปไกล และ ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ป้ายที่แสดงสื่อความต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่นําเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ พบเห็น จึงทําให้พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 ที่มีการบัญญัติใช้มาเป็นเวลานาน ไม่สอดคล้อง กับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน โดยได้ศึกษาปัญหาในการจัดเก็บภาษีป้าย และแนวทางการแก้ไขที่ สามารถนํามาประยุกต์ใช้ได้จริง และรองรับการพัฒนารูปแบบของป้ายอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต จากการศึกษาพบว่า ปัญหาในการจัดเก็บภาษีป้ายที่ไม่ครอบคลุมป้ายที่ใช้งานจริงในปัจจุบัน มาจากหลักเกณฑ์การคํานวณภาษี โดยภาษีป้ายจะใช้การคํานวณจากขนาดป้าย (ความกว้างคูณด้วย ความยาวจะได้พื้นที่ป้าย) คูณด้วยอัตราภาษีโดยมีการกําหนดการเลือกอัตราไว้ว่า หากเป็นข้อความที่ เป็นอักษรไทย จะสามารถเลือกใช้อัตราที่ต่ําซึ่งมีผลทําให้เสียภาษีน้อยลง แต่หากข้อความบนป้ายมี อักษรต้างประเทศ รูปภาพ สัญลักษณ์อื่นๆ แสดงอยู่ ก็จะทําให้อัตราภาษีที่ใช้คูณสูงขึ้น ผู้เขียนเห็นว่า การใช้หลักเกณฑ์การวัดขนาด ควรปรับเปลี่ยน เนื่องจากหากเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของ การยิงแสงเลเซอร์ไปยังจุดต่าง ๆ ซึ่งสามารถย่อ และขยายได้ รวมถึงการตั้งเวลาเปิดปิดได้นั้น จะทํา ให้หลักเกณฑ์ไม่สามารถคํานวณยอดภาษีที่สมควรเป็นได้และการใช้หลักเกณฑ์ดูข้อความที่แสดงบน ป้ายเพื่อเลือกอัตราภาษี อาจเกิดปัญหาได้เนื่องจากป้ายอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ สามารถปรับเปลี่ยน ข้อความที่แสดงได้อย่างรวดเร็ว ทําให้เป็นช่องทางการหลีกเลี่ยงภาษีได้อีกหนึ่งช่องทาง ผู้เขียนจึงเห็น ควรเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคํานวณดังกล่าวมาเป็นคูณจากยอดมูลค่าที่ชําระค่าจัดทําป้ายตาม แบบอย่างของเมืองฟิลาเดลเฟีย (PHILADELPHIA) แห่งรัฐเพนซิลเวเนีย สหรฐัอเมริกา จะทําให้ภาษี ที่ต้องชําระผันแปรตามมูลค้าป้ายและผลตอบรับ เช่น การใช้ป้ายอิเล็กทรอนิกส์ในการแสดงโฆษณา เพื่อการค้า ก็จะมีมูลค่า ค่าโฆษณาที่สูง ผลตอบรับสูง และเสียภาษีสูงกว่าป้ายที่เป็นสองมิติแบบเดิม ที่ผลตอบรับน้อยกว่าเนื่องจากไม่ค่อยดึงดูดสายตาและมีมูลค่าโฆษณาที่น้อยกว่าเช่นกัน


แนวทางในการแก้ปัญหาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการตั้งสถานประกอบการบนอาคารชุดหรือคอนโดมีเนียมที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ประกอบการร้านค้า, สิรามล สุขเอี่ยม Jan 2021

แนวทางในการแก้ปัญหาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการตั้งสถานประกอบการบนอาคารชุดหรือคอนโดมีเนียมที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ประกอบการร้านค้า, สิรามล สุขเอี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน ประมวลรัษหากรได้กำหนดให้กิจการ 3 ประเภทมีหน้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและนำส่ง ค่าภาษีดังกล่าวให้กรมสรรพากร กิจการประเภทแรก คือ กิจการขายสินค้าในราชอาณาจักร ประเภทที่สอง คือ กิจการการให้บริการในราชอาณาจักร และประเภทที่สาม คือ การนำเข้าสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ เข้ามาในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการดังกล่าวและมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องมี หน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องดำเนินการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากรภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มูลค่าของรายรับเกิน 1.8 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้รับสิทธิ ประโยชน์ในการเครดิตภาษีซื้อ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับ กิจการได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดบางประการเกี่ยวกับสถานประกอบการที่สามารถนำมายื่นขอจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือ ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะจัดตั้งสถานประกอบการและจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น หากสถานประกอบการเป็นอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมและมีลักษณะเป็นห้องพักอาศัย จะ ไม่สามารถใช้ห้องพักอาศัยดังกล่าวเป็นสถานประกอบการในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เนื่องจากขัดกับ ข้อกฎหมายที่มีการห้ามใช้ห้องพักอาศัยในการประกอบการค้า เว้นแต่จะเป็นห้องที่มีการจัดพื้นที่ไว้โดยเฉพาะ เท่านั้น ทั้งนี้ หากพิจารณานิยามคำว่า “สถานประกอบการ” ตามที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลรัษหากรนั้น หมายถึง สถานที่ซึ่งผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการเป็นประจำ และให้หมายรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็น ที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย ดังนั้น หากผู้ประกอบการได้ดำเนินธุรกิจภายในห้องพักอาศัย ในอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียม โดยประกอบกิจการงานนั้นเป็นประจำ และมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี อาทิ บุคคลธรรมดารับจ้างพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดยสถานที่ทำงานคือห้องพัก ในคอนโดมิเนียมของตนเอง และมีรายได้ต่อปีตรงตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด ก็ควรมีสิทธิที่จะยื่นคำขอ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณาจากจำนวนประชากรในกรุงเทพมหานครที่มีความหนาแน่นสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับพื้นที่ของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ส่งผลให้ความต้องการด้านที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ จากเดิมที่ประชากรเคยมีที่อยู่อาศัยในแนวราบ (Low-Rise) อาทิบ้านจัดสรร บ้านเดี่ยว หรือ อาคารพาณิชย์กลายเป็นรูปแบบที่อยู่อาศัยแนวสูงหรือแนวดิ่ง (High-Rise) คือ อาคารชุด หรือที่ เรานิยมเรียกกันว่า “คอนโดมิเนียม” ประกอบกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ประเทศไทยประสบกับปัญหา การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถออกไปทำธุรกรรม หรือดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายนอกได้ตามปกติเช่นเดิม และภาครัฐได้กำหนดมาตรการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้กิจการต่าง ๆ ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติวิสัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ในประเทศไทยอย่างเป็นวงกว้าง จากปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาเห็นว่า ข้อกฎหมายของประเทศไทยควรเอื้อให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ ห้องชุดเป็นสถานประกอบการในการจัดตั้งธุรกิจและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพื่อให้สอดคล้องกับ สภาพการณ์ปัจจุบันที่ใครอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานหาเงินได้จึงได้วิเคราะห์วัตถุประสงค์ของกฎหมายไทยที่ …


ปัญหาการกำกับดูแลโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ (Non-Fungible Token : Nft) ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561, สุจารี จิตรหัสต์ชัย Jan 2021

ปัญหาการกำกับดูแลโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ (Non-Fungible Token : Nft) ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561, สุจารี จิตรหัสต์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แนวทางการกับดูแลโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ หรือ Non-Fungible Token (NFT) เป็นประเด็นถกเถียงในกลุ่มผู้ที่ให้ความสนใจด้านเทคโนโลยี เนื่องจากความเห็นของภาครัฐและ เอกชนมีความแตกต่างกัน โดยที่ภาครัฐมีประกาศคําสั่งโดยอาศัยอํานาจ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ห้ามศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ให้บริการซื้อขาย NFT ในขณะที่ทางฝั่งของภาคเอกชนบางส่วนกลับ ไม่เห็นด้วยกับประกาศดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า การห้ามศูนย์ซื้อขายให้บริการ NFT เป็นการปิดกั้น โอกาสของคนไทยในการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถ ดึงดูดนวัตกรรมและการลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศได้ จากการศึกษาแนวทางการกํากับดูแล NFT ในต่างประเทศ สามารถแบ่งกลุ่มแนวทาง การกํากับดูแลได้ 2 แนวทาง คือ (1) กลุ่มประเทศที่มีการปรับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลหรือ กฎหมายใกล้เคียงที่มีอยู่ในการกํากับดูแล NFT และ (2) กลุ่มประเทศที่มีกฎหมายไม่สนับสนุน ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึง NFT โดยแนวทางการกํากับดูแล NFT ของประเทศไทย ก็มีความคล้ายกับกลุ่มประเทศรูปแบบที่ (1) กล่าวคือ ประเทศไทยมีการปรับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ สินทรัพย์ดิจิทัลในการกํากับดูแล NFT ที่เข้าข่ายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ที่ต้องการซื้อขาย NFT สามารถทําธุรกรรมได้ผ่าน NFT Marketplace ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเฉพาะสําหรับการซื้อขาย NFT โดยหน่วยงานทางการจะพิจารณาลักษณะ NFT ตามประเภทและลักษณะของ NFT ที่ซื้อขายใน NFT Marketplace นั้น ๆ ว่าเข้าข่ายอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของกฎหมายหรือไม่ ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า การห้ามให้บริการ NFT ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นเป็น แนวทางที่เหมาะสม เพราะ (1) NFT เป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเฉพาะ มีกลไกการให้ ราคาที่ต่างจากสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่น ๆ และ (2) NFT มีทั้งรูปแบบที่อาจเข้าข่ายเป็นสินทรัพย์ ดิจิทัลภายใต้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ และรูปแบบที่ไม่เข้าข่ายอยู่ภายใต้กฎหมายดังกล่าว จึงควร มีรูปแบบการกํากับดูแลที่แตกต่างจากสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่น ๆ นอกจากนี้ (3) จากการศึกษา แนวทางการกํากับดูแลของต่างประเทศยังไม่พบข้อมูลปรากฏว่า มีหน่วยงานกํากับดูแลของประเทศ ใดอนุญาตให้มีการซื้อขาย NFT …


มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจการให้บริการด้านสุขภาพ โดยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ในประเทศไทย, ศิรวีย์ ครองศิล Jan 2021

มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจการให้บริการด้านสุขภาพ โดยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ในประเทศไทย, ศิรวีย์ ครองศิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการในการกํากับดูแลธุรกิจการให้บริการด้านสุขภาพ ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันความก้าวหน้าในการให้บริการด้าน สุขภาพมีการพัฒนาตามเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และเทรนด์การดูแลสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นของ โลก จึงควรให้ความสําคัญกับการบริการด้านสุขภาพเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชากร เพื่อ ตอบสนองความต้องการและสร้างมาตรฐานในเทคโนโลยีโทรเวชกรรม จากการศึกษาพบว่าประเทศไทย ยังมุ่งเน้นการให้บริการโทรเวชกรรมไปที่กลุ่มของผู้ให้บริการที่เป็นสถานพยาบาลแต่เพียงเท่านั้น ทั้งที่ใน ปัจจุบันการบริการด้านสุขภาพที่มีใบประกอบอนุญาตไม่ควรจะจํากัดอยู่แค่ในโรงพยาบาล เพื่อเป็นการ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพของประชาชนและเป็นการพัฒนาธุรกิจดังกล่าว โดยใช้จุด แข็งที่ประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญในระบบสุขภาพเป็นจํานวนมาก ได้รับรองมาตรฐานสากลเป็นที่น่าเชื่อถือ ของประชาชนไม่ว่าจะใยนประเทศหรือชาวต่างชาติ จึงควรใช้จุดแข็งนี้เป็นเครื่องมือในการต่อยอดให้ กลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์อย่างครบวงจร (Medical Hub) มีการให้บริการทางการแพทย์ที่ ทันสมัย ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนโดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อข้อมูลด้านสุขภาพแม้ว่าจะอยู่ นอกสถานพยาบาล ซึ่งไม่เพียงแต่ในประเทศแต่การบริการนี้ยังครอบคลุมไปถึงผู้ป่วยที่อยู่ในต่างประเทศ อีกด้วย ผู้ศึกษาเห็นว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวควรมีการเพิ่มเติมในส่วนการกําหนดมาตรฐานของผู้ให้บริการ การขออนุญาตเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพแบบองค์รวม จึงต้องการศึกษาหลักการแนวปฏิบัติของโทรเวช กรรมทั้งในประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสิงค์โปร์ เพื่อนํามาวิเคราะห์เปรียบเทียบ มาตรฐานสําหรับผู้ให้บริการ ลักษณะของการขอใบอนุญาตดําเนินการให้บริการด้านสุขภาพในแต่ละสาขา วิชาชีพ มาตรฐานของสถานประกอบการที่ให้บริการโทรเวชกรรม รวมไปถึงมาตรการส่งเสริมการ ให้บริการด้านสุขภาพผ่านโทรเวชกรรม จากการศึกษาพบว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสิงค์โปร์ มีแนวปฏิบัติที่ออกมากําหนดมาตรฐานการให้บริการ Telemedicine เป็นการเฉพาะ ผู้ศึกษาจึงได้มีการเสนอแนะว่าประเทศไทยควรจะนําแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ในประเทศไทย โดยควรมีกฎหมายเฉพาะที่กํากับดูแลและควบคุมผู้ให้บริการด้านสุขภาพผ่านระบบโทรเวชกรรม มีการ จํากัดความรับผิด เพื่อให้ผู้รับการบริการด้านสุขภาพผ่านระบบโทรเวชกรรม ได้รับมาตรฐานการให้บริการ ที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงควรมีมาตรการในส่งเสริมเทคโนโลยีโทรเวชกรรมในประเทศไทย เพื่อดู แนวโน้มความเป็นไปได้ทางธุรกิจและไม่เป็นการปิดกั้นในการพัฒนาทางการแพทย์และธุรกิจ ภาครัฐควร ออกมาตรการสนับสนุนการใช้และการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับโทรเวชกรรมในประเทศไทย เพื่อที่ประชาชนจะได้รับผลประโยชน์จากเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึงแม้อยู่ ในพื้นที่ห่างไกล อีกทั้งยังเป็นการลดความแออัดในโรงพยาบาล ลดระยะเวลาในการเข้ารับการรักษา ทํา ให้เกิดการบริหารจัดการการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงในแง่มุมของความเข้มแข็งของ ประเทศในด้าน Health Informatics ของเศรษฐกิจในระยะยาว เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ ในประเทศและเปิดทางสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ สร้างโอกาสในการเข้าแข่งขันในระดับสากลได้อย่างไร้ ขีดจํากัด และสร้างรายได้ให้แก่ประเทศต่อไป


แนวทางในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกัญชาและกัญชง, วัชระ ธิเขียว Jan 2021

แนวทางในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกัญชาและกัญชง, วัชระ ธิเขียว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันกัญชาและกัญชงก าลังได้รับความสนใจจากประชาชน ซึ่งประเทศไทยมีการบังคับใช้ กฎกระทรวงว่าด้วยเรื่องการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต น าเข้า ส่งออก จ าหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563 จึงท าให้ประเทศไทยเปิดโอกาสให้ สามารถบริโภคกัญชงได้ทั้งเชิงการแพทย์และเชิงสันทนาการ ส่วนกัญชาสามารถบริโภคได้เฉพาะ เชิงการแพทย์เท่านั้น อย่างไรก็ดี หากประชาชนบริโภคกัญชาและกัญชงไม่ถูกต้องตามค าแนะน าของผู้เชี่ยวชาญอาจ ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ อาทิ อาการมึนเมา เคลิ้ม ใจสั่น หน้ามืด เห็นภาพหลอน และรบกวน การรับรู้ของร่างกาย เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวมีสาเหตุมาจากสาร THC ที่อยู่ในกัญชาและกัญชง ที่สามารถ เข้าสู่ร่างกายด้วยระบบทางเดินอาหารไม่ว่าเป็น การรับประทาน การดื่ม และการสูบ เป็นต้น ทั้งนี้ อาการ ที่ไม่พึงประสงค์จะมีลักษณะที่รุนแรงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในร่างกายของแต่ละบุคคลว่า มีความไว หรือความอ่อนไหวต่อสาร THC มากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีปริมาณปลอดภัยที่ แน่ชัดในการบริโภคสาร THC ที่มีอยู่ในกัญชาและกัญชง ดังนั้น จึงควรมีแนวทางในการจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิตจากกัญชาและกัญชง เพื่อควบคุมการบริโภคกัญชาและกัญชงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการเปิดโอกาสให้ประชาชนบริโภคกัญชาและกัญชงภายใต้การจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า หรือตามปริมาณ หรือตามความเข้มข้นของสารเคมีซึ่งแต่ละมลรัฐสามารถ จัดรูปแบบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตให้เข้ากับสภาพสังคมและเศรษฐกิจของตนเองได้ทั้งนี้ ผู้ศึกษาพบว่า เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกามีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพื่อจ ากัดการบริโภคกัญชาและกัญชงที่มี ผลกระทบต่อสุขภาพ โดยจ าแนกตามวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแล้ว มีผลลัพธ์ดังต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง แต่ละมลรัฐสามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตที่เป็นรายได้ของภาครัฐได้เพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสร้างรายได้ให้กับภาครัฐเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประการที่สอง เมื่อมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนบริโภคกัญชาและกัญชงภายใต้การจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิตสามารถจ ากัดการบริโภคของประชาชนช่วงอายุ 12 ถึง 17 ปี ออกจากประชากรที่มีการบริโภค กัญชาและกัญชงทั้งหมดได้นอกจากนี้ ยังสามารถลดจ านวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอาการที่ไม่พึง ประสงค์จากการบริโภคกัญชาและกัญชงได้อีกด้วย ประการที่สาม การตรวจจับผู้กระท าความผิดโทษฐานจ าหน่ายสินค้าผิดกฎหมายในตลาดมืด มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากผลลัพธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่า การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกัญชาและกัญชงของประเทศ สหรัฐอเมริกาสามารถยับยั้ง หรือจ ากัดการบริโภคของประชาชนบางกลุ่มออกไปได้และยังท าให้ผู้ป่วย …


แนวทางการแก้ไขผลกระทบต่อเจ้าหนี้ในเรื่องระยะเวลาในการทวงหนี้, วันวิสา ตั้งมนสิการกุล Jan 2021

แนวทางการแก้ไขผลกระทบต่อเจ้าหนี้ในเรื่องระยะเวลาในการทวงหนี้, วันวิสา ตั้งมนสิการกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาการทวงถามหนี้ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มุ่งเน้นศึกษาในมุมมองของเจ้าหนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งฝ่ายเจ้าหนี้และ ลูกหนี้ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มาตรา 9 (2) และประกาศ คณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ เรื่อง จํานวนครั้งในการติดต่อทวงถามหนี้ที่ได้กําหนดให้ เจ้าหนี้สามารถติดตามทวงหนี้ได้ในวันจันทร์ – วันศุกร์ภายในเวลา 08.00 – 20.00 นาฬิกา ส่วน วันหยุดราชการภายในเวลา 08.00 –18.00 นาฬิกา และเจ้าหนี้สามารถทวงถามลูกหนี้ได้ไม่เกิน 1 ครั้งต่อ 1 วันนั้น ไม่เหมาะสมกับการปฏิบัติต่อลูกหนี้กลุ่มที่ไม่ได้ทํางานในช่วงเวลากลางวัน หรือ ลูกหนี้ที่ทํางานเป็นช่วงกะเวลา ถือว่าเป็นการกําหนดกรอบเวลาในทวงถามหนี้ที่ไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ในขณะที่กฎหมายประเทศออสเตรเลียตาม Section 4 ของ Debt collection guideline for collectors and creditors, October 2021 ได้กําหนดเวลาติดต่อลูกหนี้ทางโทรศัพท์การติดต่อ โดยตรงต่อหน้ากัน และการติดต่อสถานที่ทํางานที่แตกต่างกัน และยังเปิดโอกาสให้สามารถตกลงกัน ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ได้ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สะดวกที่จะติดต่อในเวลาที่กฎหมายกําหนดไว้ หรือไม่ ต้องการให้ติดต่อในขณะที่มีสมาชิกในการครอบครัวอยู่ด้วย ข้อเสนอแนะ ควรแก้ไขช่วงเวลาในการติดตามทวงถามหนี้โดยกําหนดให้วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ให้ติดต่อได้ในเวลา 07.00 นาฬิกาถึงเวลา 21.00 นาฬิกาในวันหยุดสุดสัปดาห์ให้ติดต่อได้ในเวลา 09.00 นาฬิกาถึงเวลา 21.00 นาฬิกา และห้ามทําการติดต่อในวันหยุดนักขัตฤกษ์แห่งชาติและเปิด โอกาสมีการตกลงกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เกี่ยวกับกรณีให้ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลอื่นตามความ ประสงค์ เช่น ลูกหนี้ร้องขอให้ติดต่อในเวลาอื่นเนื่องจากลูกหนี้ทํางานเป็นกะ ทําให้การติดต่อในเวลา ดังกล่าวไม่สะดวก เป็นต้น เนื่องจากการแก้ไขให้เปิดโอกาสตกลงกันเกี่ยวกับเวลาในการติดต่อทวงถามหนี้นั้น กําหนดให้ ลูกหนี้เป็นผู้แสดงเจตนาเพื่อตกลงต่อเจ้าหนี้ ถึงเหตุผลที่ลูกหนี้ไม่สะดวกให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้ในเวลา ที่ระบุไว้ในกฎหมาย มีประโยชน์ต่อฝ่ายลูกหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้มีเจตนาสุจริต แต่ไม่สะดวกให้เจ้าหนี้ ติดต่อระหว่างการทํางาน หรือไม่สะดวกให้เจ้าหนี้ติดต่อในเวลาที่อยู่กับครอบครัวอยู่ก็สามารถแจ้งให้ เจ้าหนี้ติดต่อมาในช่วงเวลาที่ตนสะดวก


มาตรการทางภาษีเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน : ศึกษากรณีการส่งเสริมการพัฒนาอาคารเขียวในประเทศไทย, วุฒิพงศ์ ลิ้มวราภัส Jan 2021

มาตรการทางภาษีเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน : ศึกษากรณีการส่งเสริมการพัฒนาอาคารเขียวในประเทศไทย, วุฒิพงศ์ ลิ้มวราภัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุดปัญหาหนึ่งที่มีความ จําเป็นต้องได้รับการแก้ไข ทั้งนี้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ไข ปัญหานี้เนื่องจากเป็นความตกลงร่วมกันของทั้ง 193 ประเทศทั่วโลก โดยตกลงที่จะปฏิบัติตาม เป้าหมายดังกล่าว เพื่อหยุดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสร้างโลกที่ดีขึ้น และเนื่องจาก ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 193 ประเทศทั่วโลก จึงจําเป็นต้องมีมาตรการสนับสนุนให้แก่ทุกภาคส่วน ประกอบด้วยภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม เพื่อให้ร่วมมือกันบรรลุเป้าหมาย 17 ประการ ของการพัฒนาที่ยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีรายงานจากสหประชาชาติที่ได้อ้างว่าอาคารเขียวจะช่วยให้ บรรลุเป้าหมายที่ 7 และ 11 ซึ่งจะช่วยให้แต่ละประเทศเข้าใกล้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในทฤษฎีภาษีอากร มีหลักการที่ว่ามาตรการภาษีสามารถที่จะช่วยส่งเสริม การพัฒนาอาคารเขียวได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ดังนั้น หากนํามาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริม การพัฒนาอาคารเขียวมาใช้จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการภาษีของไทยในการส่งเสริมการพัฒนาอาคารเขียวจําเป็น ต้องได้รับการปรับปรุง เนื่องจากมีประสิทธิภาพต่ํา ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ ปัญหาของมาตรการภาษีส่งเสริมการพัฒนาอาคารเขียวในประเทศไทย เพื่อสร้างแนวทางในการ ปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาคารเขียว นอกจากนี้รายงานวิจัยฉบับนี้ยังได้ วิเคราะห์ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางการเงินในการส่งเสริมการพัฒนาอาคาร เขียวในประเทศไทยด้วย เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้สําเร็จ


การขออนุญาตการจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ออนไลน์, สุปิยะ ติงวสุธาร Jan 2021

การขออนุญาตการจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ออนไลน์, สุปิยะ ติงวสุธาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แต่เดิมการขายสินค้าโดยทั่วไปจะต้องมีหน้าร้านหรือแผงสำหรับการขายสินค้า โดยอาจต้องเช้าพื้นที่ในห้าง หรือต้องหาพื้นที่เช่าอื่นๆ นอกจากผู้ขายยังต้องซื้อสินค้ามาจัดวางที่ร้าน และผู้ซื้อจะต้องไปซื้อในสถานที่ซื้อขาย แต่ในปัจจุบันธุรกิจในโลกออนไลน์เป็นช่องทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการซื้อขายสินค้า หรือบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram หรือโปรแกรมประยุกต์อย่างแอพพลิเคชั่น line ซึ่งเป็นสังคมแห่งข่าวสารเปิดกว้าง ผู้บริโภคมีสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศได้อย่างง่าย ถือเป็นการทำธุรกรรมการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยทั้งสองฝ่ายไม่ต้องพบกัน แต่ใช้การติดต่อขายทางอินเทอร์เน็ตก็สามารถซื้อขายสินค้าได้ทุกรูปแบบสินค้าทุกประเภท ตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก การขายออนไลน์นั้นสามารถโฆษณาสินค้าได้ง่ายเพียงแค่ลงรายการสินค้า ลงรูป รายละเอียด และราคาของสินค้าในเว็บไซต์ก็สามารถขายของได้ ในกรณีใช้บริการเปิดร้านค้าออนไลน์ สามารถตั้งชื่อร้าน ตกแต่งป้ายร้านและหน้าตาของร้านได้ตามต้องการ ดังนั้น จะเห็นว่าการขายออนไลน์มีใช้ต้นทุนต่ำ ไม่ต้องเสียค่าเช่าร้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน การขายออนไลน์นั้นสามารถขายได้ทุกวัน อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลา ทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาชมสินค้าภายในร้านค้าหรือกระทู้ขายของได้ตลอดเวลา ในขณะที่ปัจจุบันนั้นการขายออนไลน์มีสินค้ามากมายที่ผู้ขายนำมาเสนอขายให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งสินค้าบางประเภทอาจเป็นสินค้าที่ต้องอยู่ในความควบคุม หรือต้องมีการตรวจสอบก่อนที่จะนำมาจำหน่ายแก่ผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขายเครื่องมือการแพทย์ซึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ส่งผลให้ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการตามกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว แต่ปัจจุบันพบว่า การขายเครื่องมือแพทย์ทางออนไลน์นั้นมีอยู่เป็นจำนวนมากที่มีการโฆษณาที่สรรพคุณเกินความเป็นจริง การโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เช่น โฆษณาอุปกรณ์บำบัดด้วยกระแสไฟฟ้าสถิตย์ที่มีความต่างศักยภาพสูง...ทดลองใช้ฟรีอาการที่รักษา ได้ดี : ปวดศีรษะ ท้องผูก นอนไม่หลับ ปวดหลัง ปวดไหล่ ใช้เวลาเพียงวันละ 20 นาทีรับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน ประเทศไต้หวัน...” หรือการโฆษณาเครื่องตรวจออกซิเจนในเลือดที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ เช่น ติดตามโรค หรืออาการบาดเจ็บ จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่ง ที่โฆษณาเกินจริงว่าสามารถใช้วินิจฉัยยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคณะกรรมการอาหารและยาได้ชี้แจงว่าไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ข้อความโฆษณาเกินจริงดังกล่าวพบว่ายังไม่ได้ทำการขออนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์จากคณะกรรมการอาหารและยา แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการถึงการโฆษณาสรรพคุณเครื่องมือแพทย์ทางสื่อต่างๆจะต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยาก่อนปรากฎตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 24 กำหนดไว้ว่า ผู้ใดประสงค์จะขายเครื่องมือแพทย์ตามมาตรา 6 (3) ให้ยื่นคำขออนุญาตและเมื่อผู้อนุญาตออกใบอนุญาตให้แล้วจึงจะขายเครื่องมือแพทย์นั้นได้ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการโฆษณาเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 โดยกระบวนการพิจารณาอนุญาตจะต้องเป็นไปตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนด ในทางปฏิบัติยังพบว่ามีการโฆษณาเครื่องมือแพทย์มีจำนวนมากเห็นได้ว่าจากสถิติการรับเรื่องร้องเรียนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในแต่ละปีพบว่ากว่าร้อยละ 60 …