Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Banking and Finance Law

PDF

Theses/Dissertations

Institution
Keyword
Publication Year
Publication

Articles 61 - 90 of 158

Full-Text Articles in Law

ข้อจำกัดทางกฎหมายในการระงับข้อพิพาทตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ศึกษากรณีกระบวนการโต้แย้งสิทธิที่มีหลายขั้นตอน, กัญญณัฎฐ์ สิริวรวัชร์ Jan 2020

ข้อจำกัดทางกฎหมายในการระงับข้อพิพาทตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ศึกษากรณีกระบวนการโต้แย้งสิทธิที่มีหลายขั้นตอน, กัญญณัฎฐ์ สิริวรวัชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ความผิดจากการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จของบริษัทจำกัดในการเสนอขาย หลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง (Crowdfunding), ฉัตรนรินทร์ บำเพ็ญวัฒนา Jan 2020

ความผิดจากการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จของบริษัทจำกัดในการเสนอขาย หลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง (Crowdfunding), ฉัตรนรินทร์ บำเพ็ญวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ความเหมาะสมของการนำหลักการที่นำเสนอภายใต้มาตรการจัดเก็บภาษี ขั้นต่ำเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีโดยการถ่ายโอนกำไร (Pillar Two) ของ Oecd มาปรับใช้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา, อุษา เขียวมณี Jan 2020

ความเหมาะสมของการนำหลักการที่นำเสนอภายใต้มาตรการจัดเก็บภาษี ขั้นต่ำเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีโดยการถ่ายโอนกำไร (Pillar Two) ของ Oecd มาปรับใช้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา, อุษา เขียวมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


บทบาทของการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมายก่อนการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้เสียภาษีตามพันธกรณีระหว่างประเทศ, ฉัตติกา มูลละ Jan 2020

บทบาทของการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมายก่อนการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้เสียภาษีตามพันธกรณีระหว่างประเทศ, ฉัตติกา มูลละ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กฎหมายเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกำหนดทิศทางของการพัฒนาประเทศ ทั้งยังส่งผลกระทบอีกหลายประการไม่ว่าจะในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการปกครอง จึงมีความพยายามที่จะเพิ่มคุณภาพของกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะเดียวก็ส่งผลกระทบต่อสังคมน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยการนำการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมาย (Regulatory Impact Analysis/ Regulatory Impact Assessment หรือ RIA) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของกฎหมายมาเป็นหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์เพื่อใช้ในการประกอบกระบวนการตรากฎหมาย โดยเอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษาในเรื่องของการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมายก่อนการเข้าร่วมความตกลงระหว่างประเทศ โดยจะศึกษาในกรณีของการเข้าร่วมความตกลงว่าด้วยความตกลงพหุภาคีว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารภาษี (Convention on Mutual Administrative Assistance in Tax Matter : MAC) รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบหากมาตรการนี้บังคับใช้ จากการศึกษาพบว่า เพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วมความตกลงระหว่างประเทศ ควรมีการกำหนดให้มีกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบก่อนที่จะเข้าไปมีผลผูกพันกับความตกลงหรืออนุสัญญานั้น ๆ ทั้งนี้เพื่อพิจารณาว่าการเข้าร่วมความตกลงนั้นคุ้มค่าหรือไม่เมื่อเทียบกับผลกระทบ


บุคคลผู้มีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, พิพัฒน์ พิพัฒน์ผจง Jan 2020

บุคคลผู้มีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, พิพัฒน์ พิพัฒน์ผจง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การยกเว้นภาษีตามมาตรา 40 41 และ 96 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มี วัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีที่ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินประเภทที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบเกษตรกรรม หากประชาชนผู้เสียภาษีปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนดไว้อย่าง ครบถ้วน ก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปีภาษีนั้น เมื่อพิจารณาการยกเว้นภาษีข้างต้น ปรากฎว่ามาตราดังกล่าวยกเว้นภาษีให้เฉพาะบุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น เนื่องจากบทบัญญัติในมาตราใช้คําว่า “เจ้าของ” ซึ่งมิได้หมายความรวมถึงผู้มี สิทธิครอบครองในที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นผู้เสียภาษีอีกประเภทหนึ่งตามนิยามในมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้นผู้มีสิทธิครอบครองจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีและยังคงต้องเสียภาษีตามปกติ แม้จะได้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกําหนดไว้อย่างครบถ้วนเฉกเช่นผู้เสียภาษีประเภทเจ้าของแล้วก็ตาม การบัญญัติกฎหมายโดยเรียกเก็บภาษีจากเจ้าของและผู้มีสิทธิครอบครอง แต่เมื่อมีการยกเว้นภาษีกลับยกเว้นให้เฉพาะเจ้าของ และการนําสิทธิเหนือทรัพย์สินของผู้เสียภาษีมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณายกเว้นภาษีทรัพย์สินเป็นการบัญญัติกฎหมายที่มิได้คํานึงถึงหลักการบริหารภาษีที่ดี รวมไปถึงแนวคิดพื้นฐานในการจัดเก็บและยกเว้นภาษีทรัพย์สิน จึงก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษีระหว่างเจ้าของกับผู้มีสิทธิครอบครอง และปัญหาการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนั้น การยกเว้นภาษีตามมาตราดังกล่าวจึงควรได้รับการแก้ไขให้ครอบคลุมถึงผู้มีสิทธิครอบครอง หรือมีมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดี ตลอดจนแนวคิดพื้นฐานในการจัดเก็บและยกเว้นภาษีทรัพย์สิน


ปัญหาการกำหนดข้อยกเว้นหน้าที่ในการยื่นรายการข้อมูลและจัดทำเอกสาร สำหรับห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร, ปิยพัชร พัฒนกิจเรือง Jan 2020

ปัญหาการกำหนดข้อยกเว้นหน้าที่ในการยื่นรายการข้อมูลและจัดทำเอกสาร สำหรับห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร, ปิยพัชร พัฒนกิจเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บตาม พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, กานต์พิชชา ศิริสุข Jan 2020

ปัญหาการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บตาม พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, กานต์พิชชา ศิริสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาหลักเกณฑ์วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่มีความมุ่งหมายที่จะลดการใช้ดุลยพินิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยแยกอํานาจหน้าที่ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินออกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกําหนดให้หน่วยงานส่วนกลางของภาครัฐ อย่างกรมธนารักษ์ สังกัดกระทรวงการคลังเข้ามารับผิดชอบในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบในการประเมินภาษี ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า คือ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดทําบัญชีกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน (บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน) และบัญชีราคาประเมินทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติการประเมิน ราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562 (ยังไม่ประกาศบังคับใช้) ซึ่งทั้งสองเป็นบัญชีที่ใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีวิธีการประเมินมูลค่าสิ่งปลูกสร้างที่ตายตัวไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้ประโยชน์ในตัวทรัพย์สินที่แตกต่างกัน และการจัดทําบัญชีราคาประเมินก็ไม่ได้พิจารณาถึงพื้นที่ทําเลที่ตั้งของทรัพย์สินที่ต่างกัน อันก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ที่มีทรัพย์สินตั้งอยู่ในทําเลที่แตกต่างกัน อีกทั้ง กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังคงเปิดช่องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งหาใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินราคาทรัพย์สินเข้ามามีบทบาทในการประเมินมูลค่าสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ และสิ่งปลูกสร้างประเภทห้องชุดส่งผลให้เกิดป๎ญหาที่ราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างบางประเภทที่มาจากดุลยพินิจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน และสร้างภาระให้กับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเกินสมควร นอกจากนี้ พบว่ายังมีความไม่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายสําหรับกรณีการจัดเก็บภาษีที่ดินที่มีข้อจํากัดการใช้ประโยชน์ประเภทที่ดินเสาไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่าน ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนในการประเมินมูลค่าที่ดินประเภทดังกล่าว ผู้เขียนได้ศึกษาหลักเกณฑ์ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามมาตรฐานสากล เพื่อศึกษาแนวทางการกําหนดวิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เหมาะสมกับทรัพย์สินแต่ละประเภท และศึกษาหลักเกณฑ์วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินและการประเมินภาษีของประเทศอังกฤษ เพื่อหาแนวทางแก้ไขป๎ญหาความไม่เหมาะสมในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทย


ปัญหาการพิจารณาสิ่งปลูกสร้างประเภทอาคารพาณิชย์เพื่อเป็นฐานในการคำนวณภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2562 กรณีศึกษา : ห้างสรรพสินค้า, เยาวมาลย์ ใจยาว Jan 2020

ปัญหาการพิจารณาสิ่งปลูกสร้างประเภทอาคารพาณิชย์เพื่อเป็นฐานในการคำนวณภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2562 กรณีศึกษา : ห้างสรรพสินค้า, เยาวมาลย์ ใจยาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 มีเจตนารมณ์ในการตรากฎหมายอย่างหนึ่งคือการแก้ไขการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ และความชัดเจนในเรื่องของมูลค่าทรัพย์สินที่ต้องใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี ของพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โดยบัญญัติให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานราชการที่ได้รับมอบอำนาจ ให้มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่ พบเห็นสภาพการใช้งานจริงของทรัพย์สิน ทำให้สามารถประเมินภาษีได้อย่างถูกต้องทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาการประเมินภาษีทรัพย์สินจากห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร โดยนำแบบประเมินภาษีห้างสรรพสินค้า และอาคารชุดที่มีคอมมิวนิตี้มอลล์ประจำปีภาษี พ.ศ.2562 และ พ.ศ.2563 มาร่วมประกอบการศึกษาเพื่อให้เห็นภาพการใช้ดุลพินิจในการประเมิน และฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวณที่ซัดเจน จากผลการศึกษาพบว่า เนื่องจากกฎหมายพึ่งมีผลบังคับใช้ทำให้หน่วยงานราชการยังไม่มีความเข้าใจในหลักของกฎหมายเรื่องของประเภททรัพย์สิน และตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ได้มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนในเรื่องนิยามที่นำมาใช้กำหนดประเภทของทรัพย์สินเพื่อนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีในทางปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ อาศัยเพียงนิยามประกอบบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างฯโดยกรมธนารักษ์ ออกตามพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ.2562 มาประกอบการประเมิน ทำให้การจัดเก็บภาษียังคงไว้ซึ่งการใช้ดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในเรื่องการประเมินประเภททรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีในมูลค่าของทรัพย์สินที่ไม่มีการประเมินมูลค่าไว้ในกรณีที่ต้องประเมินว่าสิ่งปลูกสร้างนั้นถือเป็นสิ่งปลูกสร้างประเภทใด เพื่อประเมินมูลค่าทรัพย์สินนำมาเป็นฐานในการคำนวณภาษี เมื่อไม่มีการกำหนดนิยามไว้อย่างชัดเจน เป็นผลทำให้ไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกฎหมายเดิมอย่างเบ็ดเสร็จ และไม่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษี


ปัญหาการเสนอคดีต่อศาลภาษีอากร ในกรณีเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการ ตามกฎหมายภาษีอากรยังไม่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด, ชุติณัชชา อินทรานุกูล Jan 2020

ปัญหาการเสนอคดีต่อศาลภาษีอากร ในกรณีเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการ ตามกฎหมายภาษีอากรยังไม่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด, ชุติณัชชา อินทรานุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานเอกัตศึกษาเล่นนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาแนวทางในแก้ปัญหาความขัดหรือแย้งของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7(1) ประกอบมาตรา 8 กับพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2560, พระราชบัญญัติกรมศุลกากร พ.ศ.2560 และพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 ในคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรโดยเทียบเคียงกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยวิธีการศึกษาวิจัยทางเอกสารในการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์จากบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ คำพิพากษาของศาลหนังสือกฎหมาย ตลอดจนเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า ขั้นตอนในการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับประเมินภาษีอากรและการคัดค้านหรืออุทธรณ์การประเมินภาษีอากร เป็นกระบวนการพิจารณาทางปกครองทั้งสิ้น และกฎหมายภาษีอากรที่ได้มีการปรับปรุง แก้ไขฉบับใหม่มีการให้สิทธิผู้อุทธรณ์สามารถฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรได้ ถึงแม้ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่มีคำวินิจฉัยก็ตาม ซึ่งคล้ายคลึงกับเงื่อนไขในการฟ้องคดีทางปกครอง แต่ในปัจจุบันสิทธิตามกฎหมายภาษีอากรดังกล่าวยังไม่สามารถกระทำได้อย่างเต็มที่เนื่องจากเงื่อนขในการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรต้องมีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ด้วยเหตุนี้ จึงควรปรับปรุง แก้ไข เงื่อนไขในการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ให้คล้ายคลึงกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายปกครอง เพื่อทำให้สิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรสามารถกระทำได้ตามอย่างถูกต้อง และยังเป็นการทำให้การฟ้องคดีมีมาตรฐานในรูปแบบเดียวกัน อันเป็นการประกันมาตรฐานวิธีการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้กับประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย


ปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับ สถาบันการเงิน, ธนา พันธุมะบำรุง Jan 2020

ปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับ สถาบันการเงิน, ธนา พันธุมะบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์มุ่งศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงิน ซึ่งมีปัญหาทางกฎหมายอันเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอันได้แก่ (1) ปัญหาการก่อภาระผูกพันในอสังหาริมทรัพย์ ทั้งก่อนการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิและภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิ มาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ (2) ปัญหาสถานะทางกฎหมายของทรัพย์อิงสิทธิ (3) ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกัน อันได้แก่ การบอกเลิกสัญญาโอนทรัพย์อิงสิทธิ การยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิก่อนครบกำหนดเวลา และบทบัญญัติของตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ไม่คุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกันในบางกรณี และ (4) ปัญหาการบังคับคดีกับทรัพย์อิงสิทธิ เอกัตศึกษานี้ดำเนินการโดยศึกษากฎหมายการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุกิจ พ.ศ. 2558 ของประเทศไทย และนำไปศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายการประกันการชำระหนี้ของต่างประเทศ ได้แก่ ระบบหลักประกันแบบ Uniform Commercial Code Article 9 ตามหลักกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และในระบบหลักประกันแบบ Floating Charge ตามหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษทำการวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การวิจัยนี้พบว่า การนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงินนั้น ตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดลักษณะเฉพาะของทรัพย์อิงสิทธิไว้ ซึ่งบทบัญญัติในบางมาตรายังเป็นอุปสรรคในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงิน อีกทั้งตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของทรัพย์อิงสิทธิ ในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ เอกัตศึกษานี้จึงเสนอให้ (1) การก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่มีภาระผูกผันและการก่อภาระผูกพันในอสังหาริมทรัพย์ภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทงธุรกิจต้องได้รับความยินยอม (2) กำหนดสถานะทางกฎหมายของทรัพย์อิงสิทธิให้เป็นหลักประกันทางธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์ (3) การบอกเลิกสัญญาโอนทรัพย์อิงสิทธิและการยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิก่อนครบกำหนดเวลาภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจต้องได้รับความยินยอมจากสถาบันการเงิน และแก้ไขบทบัญญัติในพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกันในกรณีผู้ให้หลักประกันกระทำการโดยทุจริตจนเป็นเหตุให้ผู้รับหลักประกันไม่อาจบังคับหลักประกันทั้งหมดหรือแต่บางส่วนและ (4)กำหนดหลักเกณฑ์การบังคับคดีกับทรัพย์อิงสิทธิให้สามารถนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 334 และหมวด 4 บังคับโดยอนุโลม เพื่อให้สถาบันการเงินมีความเชื่อมั่นในการรับทรัพย์อิงสิทธิเป็นหลักประกันทางธุรกิจ อันส่งผลให้นักลงทุนหรือผ็ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย และเพื่อให้บรรลุเจตนรมณ์ของกฏหมายที่ต้องการให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป


ปัญหาเรื่องผลกระทบทางภาษีอากร กรณีสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ การส่งเสริมการลงทุนมาตรา 36 (1), จุฑารัตน์ รัตนตันติกุล Jan 2020

ปัญหาเรื่องผลกระทบทางภาษีอากร กรณีสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ การส่งเสริมการลงทุนมาตรา 36 (1), จุฑารัตน์ รัตนตันติกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตามมาตรา 36 (1) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ผู้ได้รับการส่งเสริมมีสิทธิ์ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านส่งออกตามที่คณะกรรมการกําหนดโดยเฉพาะการยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับวัตถุดิบและวัสดุจําเป็นที่ต้องนําเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อใช้ ผลิต ผสม หรือประกอบผลิตภัณฑ์ เฉพาะที่ใช้ในการส่งออก โดยมิให้นํากฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรมาใช้บังคับ ซึ่งผู้ได้รับการส่งเสริมต้องนําปริมาณวัตถุดิบหรือวัสดุจําเป็น ที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าที่ได้มีการผลิตและส่งออกไปต่างประเทศแล้วมาดําเนินการตัดบัญชีวัตถุดิบ ซึ่งหากตัดบัญชีไม่หมด ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องชําระอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมทั้งเบี้ยปรับเงินเพิ่ม และอาจต้องเสียภาษีสรรพสามิตตามปริมาณวัตถุดิบคงเหลือนั้นๆ หากวัตถุดิบนั้นเป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีสรรพสามิต นอกจากนี้เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับสิทธิและประโยชน์วัตถุดิบ วัตถุดิบใดที่นําเข้ามาโดยได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าต้องทําการตัดบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการได้รับสิทธิและประโยชน์ หากมียอดวัตถุดิบคงเหลือผู้ได้รับการส่งเสริมต้องชําระอากรขาเข้าวัตถุดิบตามสภาพ ณ วันนําเข้า อย่างไรก็ดี ทางปฏิบัติพบว่า มีกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมพบว่ายังมีวัตถุดิบนําเข้าที่เหลืออยู่ซึ่งยังมิได้มีการส่งออกและยังไม่ได้ชําระอากรขาเข้าภายหลังที่ระยะเวลาการนําเข้าผ่านไปกว่า 10 ปีแล้ว จึงมีประเด็นปัญหาเรื่องอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินในการออกแบบแจ้งเพื่อประเมินภาษีศุลกากร ประเมินภาษีสรรพสามิต ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายแต่ละฉบับ นอกจากนี้ยังมีประเด็นผลกระทบด้านภาษีต่างๆที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ อากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมไปถึงเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ของภาษีดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาพบว่ากิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า กรณีสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนมาตรา 36 (1) นั้น ยังมีความไม่ชัดเจนในเรื่องการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานและอายุความในการประเมินภาษีรวมถึงการจัดเก็บอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี จึงได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เสียภาษีและผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีต่อไป


มาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนในกองทุนรวมจากการถูกลดทอนมูลค่าหน่วยลงทุน, ณัฐศศิ ฝีมือช่าง Jan 2020

มาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนในกองทุนรวมจากการถูกลดทอนมูลค่าหน่วยลงทุน, ณัฐศศิ ฝีมือช่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนในกองทุนรวมจากการถูกลดทอน มูลค่าหน่วยลงทุน (dilution) ซึ่งเกิดจากการทำรายการซื้อขายหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนในปริมาณมากที่ทำให้ เกิดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการทำธุรกรรมของกองทุนรวมอันส่งผลกระทบต่อผู้ลงทุนในกองทุนรวมที่ไม่ได้ ทำรายการซื้อขายหน่วยลงทุนด้วย ด้วยวิธีการชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ (Pay In-Kind) ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อยซึ่งเป็นผู้ลงทุนส่วนใหญ่ของกองทุนรวมได้อย่างแท้จริง ผู้เขียนได้ศึกษามาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนจากการถูกลดทอนมูลค่าหน่วยลงทุน และหลักเกณฑ์ของมาตร การ ดังกล่าวในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศได้มี การพัฒนาและบัญญัติกฎหมายจากแนวคิดและหลักการส่งต่อต้นทุนในการทำธุรกรรมซื้อขายของกองทุนรวม ไปยังผู้ลงทุนที่ทำรายการซื้อขายหน่วยลงทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการถูกลดทอน มูลค่าหน่วยลงทุนของผู้ลงทุ นในกองทุนรวมเป็นสำคัญ และมุ่งต่อประโยชน์ของผู้ลงทุนในกองทุนรวม เป็นสำคัญ รายงานฉบับนี้ จึงเสนอให้มีปรับปรุงร่างกฎหมายคุ้มครองผู้ลงทุนจากการถูกลดทอนมูลค่าหน่วยลงทุน โดยให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดที่มีการคำนึงถึงการคุ้มครองผู้ลงทุนในกองทุนรวม การป้องกัน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการเปิดเผยข้อมูลในระดับที่จำเป็นและเหมาะสม


มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514, ปาณิศา ล่อใจชน Jan 2020

มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514, ปาณิศา ล่อใจชน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


แนวทางการปรับลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลากรเพื่อความสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการ, นรภัทร วีระโจง Jan 2020

แนวทางการปรับลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลากรเพื่อความสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการ, นรภัทร วีระโจง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแก้ปัญหาหนี้สินผ่านกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น เป็นกระบวนการที่เจ้าหนี้และลูกหนี้จะมาตกลงทำการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้เพื่อที่ว่ากิจการของลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพันตัวจะได้มีโอกาสกลับมาดำเนินธุรกิจและมีผลกำไรได้อย่างปกติอีกครั้ง แทนที่จะต้องชำระบัญชีและเลิกกิจการไป ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ การปรับลดค่าใช้จ่ายทางด้านบุคลากรนับว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ อย่างไรก็ดี ในการปรับลดใช้จ่ายทางด้านบุคลากรของบริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการนั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งมีเจตนารมณ์ของกฎหมายแต่ละฉบับต่างก็มุ่งที่จะคุ้มครองผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกัน การปรับลดใช้จ่ายทางด้านบุคลากรของบริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายไทยในปัจจุบันจึงกระทำได้อย่างค่อนข้างจำกัดและไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดหลักเกณฑ์และมาตรการดำเนินการที่เหมาะสม เอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิดและหลักเกณฑ์ในการปรับลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรของลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และกฎหมายของสหราชอาณาจักร เพื่อนำมาเป็นแนวในการปรับปรุงกฎหลักเกณฑ์ตามกฎหมายฟื้นฟูกิจการ และกฏหมายแรงงานของไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปรับลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลากรของลูกหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการให้มีความเหมาะสม สามารถบังคับใช้ได้จริงและมีประสิทธิภาพ และเกิดความสมดุลระหว่างสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง และสิทธิในการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อความสำเร็จขอการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้


No Pain, No Gain: Australia, Uk, And Us Stock Market Responses To The 2020 Stimulus Efforts, Jett Zeimantz Jan 2020

No Pain, No Gain: Australia, Uk, And Us Stock Market Responses To The 2020 Stimulus Efforts, Jett Zeimantz

CMC Senior Theses

The stock market shocks of 2020 caused by the COVID-19 crisis have been met by monetary policy announcements rapidly issued by the central banks of developed economies, signaling a concerted effort to keep markets afloat. Utilizing an ordinary least squares regression, this paper tests whether the monetary policy announcements of the central banks of the United States, Australia, and the United Kingdom served their intended purpose in soothing market reactions via high-frequency event data. For the overall stock market, I find that the Federal Reserve’s announcements boosted market returns of the S&P 500 Index by 4.2%, the All Ordinaries Index …


An Inquiry Into The Regulation Of Social Media Disclosure Policy And Its Impacts On Retail Investor Trading Activity, Sebastian Georg Soldner May 2019

An Inquiry Into The Regulation Of Social Media Disclosure Policy And Its Impacts On Retail Investor Trading Activity, Sebastian Georg Soldner

Chancellor’s Honors Program Projects

No abstract provided.


Efectos De La Política Montearía En Colombia A Través Del Mecanismo De Transmisión Del Crédito Bancario Sobre La Inflación En El Periodo 2001 A 2015., Diego Andrés Contreras Rodríguez Jan 2019

Efectos De La Política Montearía En Colombia A Través Del Mecanismo De Transmisión Del Crédito Bancario Sobre La Inflación En El Periodo 2001 A 2015., Diego Andrés Contreras Rodríguez

Economía

El presente trabajo se elaboró con el propósito de identificar la influencia que tuvo la política monetaria sobre la inflación, a través del mecanismo de transmisión del crédito bancario, teniendo en cuenta la evolución que registró, los depósitos que recibió y los préstamos que otorgó el sistema financiero al público, por medio de los bancos comerciales, a partir del 2001, año donde el banco central implementó una nueva estrategia monetaria con los objetivos de mantener una estabilidad en los precios y un crecimiento alto y sostenible del producto. En el análisis, se presentan los cambios en la postura monetaria, mediante …


แนวทางการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบการธุรกิจหอพักเอกชน ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558, เปมิกา ทั่งทอง Jan 2019

แนวทางการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบการธุรกิจหอพักเอกชน ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558, เปมิกา ทั่งทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


แนวทางการพัฒนากระบวนการก่อนการนำพยานหลักฐานเข้าสืบข้อเท็จจริง ในคดีภาษีอากร, จุฬารัตน์ วงษ์ผักเบี้ย Jan 2019

แนวทางการพัฒนากระบวนการก่อนการนำพยานหลักฐานเข้าสืบข้อเท็จจริง ในคดีภาษีอากร, จุฬารัตน์ วงษ์ผักเบี้ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การนำมาตรการป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกำไรโดยการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในทางที่ไม่ถูกต้องตามแนวทางของ Oecd มาใช้ในประเทศไทย, สิตา พลังวชิรา Jan 2019

การนำมาตรการป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกำไรโดยการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในทางที่ไม่ถูกต้องตามแนวทางของ Oecd มาใช้ในประเทศไทย, สิตา พลังวชิรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในทางที่ไม่ถูกต้องเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งของการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกําไร หรือ Base Erosion and Profit Shifting – BEPS ที่องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD (Organization for Economic Co – Operation and Development) ได้ให้ความสําคัญ โดยมีการประกาศแผนปฎิบัติการที่ 6 เรื่อง Preventing the Granting of TreatyBenefits in Inappropriate Circumstances อีกทั้งมีการกําหนดมาตรการขั้นต่ํา (Minimum Standard) ซึ่งแต่ละประเทศสมาชิกต้องทําการปฎิบัติตาม ได้แก่การบัญญัติเจตนารมณ์ (The Express Statement) ไว้ในคํานําแห่งอนุสัญญาภาษีซ้อน (Preamable) และให้ประเทศสมาชิกเลือก 1 ใน 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการที่ 1 การบัญญัติหลักการทดสอบวัตถุประสงค์สําคัญ (Principle Purposes Test – PPT Rule) และหลักการจํากัดสิทธิของบุคคลที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากอนุสัญญาภาษีซ้อน (Limitations of Benefits –LOB Rule) ไม่ว่าจะเป็นฉบับย่อ (Simplied Version) หรือฉบับละเอียด (Detailed Version) หรือ มาตรการที่ 2 การบัญญัติเพียง PPT Rule หรือ มาตรการที่ 3 การบัญญัติ LOB Rule ฉบับละเอียดไว้เพียงอย่างเดียว โดยควบคู่กับกฎหมายภายในประเทศที่ใช้เพื่อป้องกันปัญหา Conduit Arrangement ทั้งนี้ OECD ได้มีแผนปฎิบัติการที่ 15 เรื่อง Multilateral Instrument โดยพัฒนาสนธิสัญญาพหุภาคี Multilateral Convention to Implement Tax Treaty Related …


แนวทางการปรับปรุงมาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทย, จักรินทร์ ภาณุวงศ์ Jan 2019

แนวทางการปรับปรุงมาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทย, จักรินทร์ ภาณุวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระแสของโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติ เกิดโอกาส ปัจจัยเสี่ยงภัยและโรคภัยคุกคามที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ยกตัวอย่างได้ว่าในขณะที่ผู้ทําวิจัยเล่มนี้นั้นเกือบทั้งโลกรวมทั้งประเทศไทยได้ประสบกับการแพร่ระบาด (pandemic) อย่างรุนแรงของไวรัสโคโรน่า (Coronavirus disease) หรือมีชื่อย่อว่า โควิด-19 (COVID-19)ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการบริหารจัดการทรัพยากรรวมถึงเสรีภาพ การปรับวิถีชีวิตของประชาชนเพื่อให้ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจทั้งสังคมแบบทั่วไป และสังคมออนไลน์รวมถึงระบบการศึกษา ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ซึ่งได้ระบุถึงวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อที่นําประเทศเข้าสูประเทศที่พัฒนา อย่างไรก็ตามปัญหาด้านการศึกษาที่ผ่านมามีความซับซ้อน โดยเฉพาะในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จึงทําให้ความเสี่ยงของการศึกษาไม่ได้มีแต่มีอยู่ในแต่ห้องเรียน แต่หมายถึงอาจจะไม่มีประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุนทางปัญญาถดถอย ส่งผลให้ไม่มีความมั่นคงในระดับตนเองและครอบครัวซึ่งตรงข้ามกับคติพจน์ประจําชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อย่างสิ้นเชิง เอกัตศึกษาเล่มนี้มุ่งศึกษามาตรการภาษีด้านการส่งเสริมการศึกษาทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเปรียบเทียกับมาตรการภาษีของต่างประเทศซึ่งจากการศึกษาพบว่า ภาครัฐยังไม่ได้ใช้มาตรการด้านภาษีในการสนับสนุนด้านการศึกษาอย่างเหมาะสม จึงสมควรที่ภาครัฐจะต้องกําหนดหลักเกณฑ์และมีการบัญญัติกฎหมายในด้านการส่งเสริมการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามกรอบยุทธศาสตร์และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความเสมอภาคทางภาษี


การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ศึกษากรณี : คำร้องขอหรือคำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากรัฐ, กิตติพงศ์ หาริเทศ Jan 2019

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ศึกษากรณี : คำร้องขอหรือคำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากรัฐ, กิตติพงศ์ หาริเทศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีคำร้องหรือคำสั่งขอเข้าถึงขอข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งกำลังประสบปัญหาอยู่ในหลาย ประการ ตลอดจนศึกษาถึงแนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลตามคำร้องขอหรือ คำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำมาวิเคราะห์และนำเสนอถึงมาตรการทางกฎหมาย ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป จากการศึกษาระบุให้เห็นอย่างเป็นที่ประจักษ์ว่า การที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งหรือคำร้องขอเข้าถึง ข้อมูลส่วนบุคคลจากธุรกิจสถาบันการเงินนั้น ยังมีความไม่ถูกต้องชัดเจนในการใช้อำนาจ ส่งผลให้สถาบัน การเงินไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแม้ในปัจจุบันประเทศไทยจะมี มาตรการทางกฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติของสถาบันการเงินที่อาจปรับใช้กับปัญหาดังกล่าวได้อยู่บ้างก็ตาม แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมถึงกรณีปัญหาต่างๆได้อย่างเพียงพอ ฉะนั้น หากประเทศไทยได้มีการกำหนดมาตรการทาง กฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีดังกล่าวแล้ว ย่อมจะส่งผลให้ปัญหาการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ให้กับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจกฎหมายถูกแก้ไขและเกิดความชัดเจนมากขึ้น


ปัญหาการยกเว้นภาษีเงินได้ : กรณีค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณอายุ, ปิยะธร ทองปิ่น Jan 2019

ปัญหาการยกเว้นภาษีเงินได้ : กรณีค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณอายุ, ปิยะธร ทองปิ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีในการระงับข้อพิพาททางภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, นัฐพล ตรีโชติ Jan 2019

ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีในการระงับข้อพิพาททางภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, นัฐพล ตรีโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการดำเนินคดีล้มละลายภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย : ศึกษากรณีลูกหนี้ประวิงมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้, ศิริวาสน์ มังกรชัย Jan 2019

ปัญหาการดำเนินคดีล้มละลายภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย : ศึกษากรณีลูกหนี้ประวิงมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้, ศิริวาสน์ มังกรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาลักษณะพฤติการณ์ประวิงคดีของลูกหนี้ และปัจจัยที่มีผลต่อการประวิงคดี ของลูกหนี้ในกระบวนการด าเนินคดีล้มละลายภายหลังศาลมีค าสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ของธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเนื่องจากปัญหาความล่าช้าในการดำเนินคดีล้มละลายกับลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่ลูกหนี้ประวิงคดีมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ด้วยการยื่นคำขอประนอมหนี้หรือแก้ไขค าขอประนอมหนี้เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและลูกหนี้คาดหมายได้ว่าเจ้าหนี้ไม่อาจยอมรับคำขอประนอมหนี้เช่นนั้นได้ในขณะที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ไม่ได้มีบทบัญญัติกำหนด จำนวนเงินขั้นต่ำที่ลูกหนี้จะขอประนอมหนี้ได้ทำให้บรรดาเจ้าหนี้จำต้องขอเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ออกไปเพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้และในที่สุด ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่ยอมรับคำขอประนอมหนี้ฉบับดังกล่าวส่งผลให้ธนาคารต้องเสียทรัพยากรในด้านเวลาการทำงานของพนักงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าทนายความโดยที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้เขียนจึงนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันมิให้ลูกหนี้ประวิงมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในการ ดำเนินคดีล้มละลายภายหลังศาลมีค าสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย


การประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ภายใต้พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมิน ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, อัจฉริยา ทัดเทียม Jan 2019

การประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ภายใต้พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมิน ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, อัจฉริยา ทัดเทียม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 โดยมุ่งเน้นไปที่หลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีการรับมรดกว่าบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีการรับมรดกเมื่อพิจารณาภายใต้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หรือไม่ โดยศึกษาถึงวัตถุประสงค์และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บภาษีการรับมรดกเพื่อทําการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายภาษีการรับมรดกว่าได้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ของการตรากฎหมายนั้นมากน้อยเพียงใด คุ้มค่ากับภาระที่เกิดขึ้นแก่รัฐและประชาชนหรือไม่ หรือมีผลกระทบอื่นอันก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนหรือไม่ เพียงใด ผลการศึกษาพบว่าจากข้อมูลการวิเคราะห์การจัดเก็บภาษีการรับมรดกภายใต้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายพ.ศ. 2562 พบว่ากฎหมายภาษีการรับมรดกในปัจจุบันยังไม่สัมฤทธิ์ผลด้วยเหตุผลหลายประการเช่นปัญหามูลค่าทรัพย์สินที่เป็นฐานภาษีในการจัดเก็บภาษีการรับมรดก ดังนั้นสมควรทําการปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษีการรับมรดกให้เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและคุ้มค่ามากที่สุดในการบรรลุวัตถุประสงค์ตามบรรทัดฐานที่กฎหมายกําหนด อาทิความจําเป็นของกฎหมาย ความสอดคล้องกับสภาพการณ์และการลดความเหลื่อมลํ้าในสังคม เป็นต้น


ปัญหาการตีมูลค่าทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนแทนการชำระค่าหุ้นของบริษัทจำกัด, กมลชนก มานะชำนิ Jan 2019

ปัญหาการตีมูลค่าทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนแทนการชำระค่าหุ้นของบริษัทจำกัด, กมลชนก มานะชำนิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาการตีมูลค่าทรัพย์สินทีไม่มีตัวตนแทนการชำระค่าหุ้นของบริษัทจำกัด โดยมีสมมติฐานการวิจัยว่าการตีมูลค่าทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนแทนการชำระค่าหุ้นยังมีไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ จึงควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีความชัดเจนเพื่อให้สามารถบังคับใช้ได้จริงในทาง ปฏิบัติและตรงตามเจตนาที่แท้จริงของผู้ถือหุ้น จากการศึกษาพบว่ากฎหมายไทยอนุญาตให้ชำระค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินได้แต่ในทางปฏิบัติทรัพย์สินที่ไม่ มีตัวตนที่สามารถนำมาจดทะเบียนชำระค่าหุ้นได้มีเพียงหุ้นเท่านั้น เมื่อไม่มีกฎหมายหรือหลักเกณฑ์กำหนดไว้ เกี่ยวกับคณ สมบัติของทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน ผู้มีหน้าที่ตีมูลค่าทรัพย์สิน วิธีการการตีมูลค่าทรัพย์สิน และความรับ ผิดกรณีตีมูลค่าทรัพย์สินสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติตามมาและต้องอาศัยดุลพินิจของ นายทะเบียนในการพิจารณา อีกทั้งยังทำให้ผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์และไม่สามารถนำทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนมาจด ทะเบียนชำระค่าหุ้นตามความประสงค์ที่แท้จริงได้ ผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรกำหนดคุณสมบัติของทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนไว้ในคำชี้แจงของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยการตีมูลค่าของทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนต้องเกิดจากความตกลงร่วมกันของประชุมผู้ถือหุ้น และเป็นอำนาจหน้าที่ของกรรมการตามหลัก Business Judgment Rule และให้สิทธิเจ้าหนี้ผู้สุจริตร้องขอต่อศาลเพื่อเรียกค่า หุ้นส่วนต่างได้ ทั้งนี้ ควรแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยการกำหนดโทษจำคุก ให้ครอบคลุมกรณีที่มีการตีมูลค่า ทรัพย์สินโดยทุจริตสำหรับกรณีที่บริษัทมีทนจดพะเบียนหรือเพิ่มทุนจนมีมูลค่าเกินห้าล้านบาท เพื่อป้องกันการ ทุจริตและคุ้มครองผู้มีส่วนได้เสีย


ปัญหาการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่มิใช่นำเข้าเพื่อทางการค้า ตามประเภท 5 และประเภท 12 ของภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530, ธิติมา ธรรมาชีวะ Jan 2019

ปัญหาการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่มิใช่นำเข้าเพื่อทางการค้า ตามประเภท 5 และประเภท 12 ของภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530, ธิติมา ธรรมาชีวะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่มิใช่นำเข้าเพื่อทางการค้าตามภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 เช่น การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของส่วนตัวหรือของใช้ในวิชาชีพตามประเภท 5 และการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับการนำเข้าของที่แต่ละรายมีราคาไม่เกิน 1,500 บาทตามประเภท 12 อันเป็นการยกเนสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อบริโภคเป็นการส่วนตัวมิได้มีวัตถุประสงค์ในทางการค้า ซึ่งเป็นการยกเว้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและเป็นหลักปฏิบัติในทางสากลระหว่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันผู้นำเข้ากลับใช้ประโยชน์จากการยกเว้นอากรดังกล่าวเพื่อเลี่ยงภาษีกันอย่างแพร่หลายและมีการนำเข้าเกินกว่าปริมาณการบริโภคหรือใช้สอยตามปกติวิสัย ดังนั้น เมื่อบทบัญญัติยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายศุลกากรอันมีผลเป็นการยกเว้นรวมไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตที่เกิดจากการนำเข้ายังคงมีช่องว่างทำให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีอันพึงเก็บได้และไม่เป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีสำหรับของประเภทเดียวกันซึ่งจำหน่ายภายในประเทศไทย เพื่อให้มาตรการการจัดเก็บภาษีและยกเว้นภาษีมีความสอดคล้องกับอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานต่างๆ และเอื้อประโยชน์ต่อการจัดเก็บ จึงควรแก้ไขกฎหมายให้มีความชัดเจนและมีความยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์และรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงเป็นการศึกษาวิจัยเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติยกเว้นดังกล่าว เพื่อขจัดช่องว่าง ทำให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย นำไปสู่การใช้บังคับอย่าบมีสิทธิภาพในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น


ปัญหาการใช้อำนาจในการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบ ความผิดตามมาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535, ณฐพร ถนอมทรัพย์ Jan 2019

ปัญหาการใช้อำนาจในการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบ ความผิดตามมาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535, ณฐพร ถนอมทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาการใช้อำนาจในการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดตามมาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จากการศึกษาในเรื่องของการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดตาม มาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นั้น พบว่า พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดไว้ รวมถึงไม่ได้มีการเปีดเผยวิธีการในการกำหนดจำนวนค่าปรับของคณะกรรมการดังกล่าว เมื่อเกิดกรณีการกระทำความผิดขึ้น จึงเป็นช่องทางให้คณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดใช้ดุลพินิจโดยปราศจากกรอบหรือหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนทำให้กระบวนพิจารณาขาดความโปร่งใสและไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มทำการศึกษาตั้งแต่ที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิด ปรากฏฎว่าในการแต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดนั้นเป็นการแต่งตั้งตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ในประกาศดังกล่าวนั้นไม่มีการระบุถึงคุณสมบัติและข้อห้ามของบุคคลที่พึงได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิด เป็นการแต่งตั้งไปตามตำแหน่งเพียงเท่านั้น ทำให้ไม่มีการตรวจสอบถึงความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งกับบุคคลที่กระทำความผิด และเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาแล้วในการกำหนดค่าปรับก็ไม่มีการเปิดเผยถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดค่าปรับของคณะกรมการเปรียบความผิดให้กับผู้กระทำความผิดและประชาชนได้รับทราบ ทำให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์รวมถึงนักลงทุนที่เข้าสู่กระบวนการเปรียบเทียบความผิด ไม่มั่นใจว่าจะได้รับความยุติธรรมในการดำเนินการของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดอันเนื่องจาการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 317 อันไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐและนิติธรรม ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย


แนวทางการเรียกคืนทรัพย์สินตามหลักลาภมิควรได้ : ศึกษากรณีการคืนภาษีอากร, พรชนก ศิริสร้างสุข Jan 2019

แนวทางการเรียกคืนทรัพย์สินตามหลักลาภมิควรได้ : ศึกษากรณีการคืนภาษีอากร, พรชนก ศิริสร้างสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายและหากได้ชําระค่าภาษีอากรไปแล้ว ต่อมาพบว่าตนนั้น ได้ชําระภาษีเกินไปกว่าที่ตนจะต้องเสีย หรือเมื่อชําระภาษีไปแล้วภายหลังพบว่าตนไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ภาษี กฎหมายก็กําหนดให้มีการคืนภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี ซึ่งการ ที่รัฐจะดําเนินการเก็บภาษีได้นั้นจะต้องมีบทบัญญัติกําหนดไว้ชัดแจ้งให้มีอํานาจกระทําได้ดังที่กล่าว ข้างต้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติให้รัฐนําเงินที่ผู้เสียภาษีชําระไว้เกินหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีไปใช้จ่ายใน การบริหารประเทศได้ ดังนั้นรัฐจึงต้องคืนเงินค่าภาษีอากรดังกล่าวให้แก่ผู้เสียภาษี อย่างไรก็ตามบทบัญญัติกฎหมายภาษีอากรนั้นยังไม่ครอบคลุมและไม่สามารถนํามาปรับใช้ได้ ในทุกๆกรณี ทําให้ต้องมีการตีความกฎหมายซึ่งโดยหลักแล้วการตีความกฎหมายนั้นจะต้องตีความ โดยเคร่งครัด และหากตัวบทกฎหมายนั้นไม่ชัดเจน สามารถตีความได้หลายนัย ก็จะต้องตีความไป ในทางที่เป็นคุณหรือประโยชน์แก่ผู้เสียภาษี แต่ก็มีบางกรณีที่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีหลายๆคดีนั้น มีข้อเท็จจริงคล้ายคลึงกันแต่มีการตีความและนําหลักกฎหมายมาปรับใช้แตกต่างกัน เช่น นําหลัก กฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้มาปรับใช้ การปรับใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 193/31 และนําหลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิติดตามเอาคืนมาปรับใช้ ทําให้เกิดความ สับสนในการปรับใช้กฎหมายว่าการตีความกฎหมายอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุดและเป็นคุณหรือ ประโยชน์แก่ผู้เสียภาษี โดยเฉพาะบทบัญญัติในเรื่องการคืนภาษีอากร เนื่องจากตามประมวลรัษฎากรนั้นไม่ได้มีบทบัญญัติที่ชัดเจนว่าหากเกิดกรณีที่รัฐคืนภาษี อากรให้กับเอกชนไปโดยผิดพลาดแล้วจะต้องมีหลักเกณฑ์อย่างไร จึงทําให้ต้องมีการตีความและ ปรับปรุงกฎหมายโดยนําหลักกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้มาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาในกรณีดังกล่าว