Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 45 of 45

Full-Text Articles in Law

ปัญหาความสัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติของพระราชบัญญัติสถาบันการเงิน ประชาชน พ.ศ. 2562, ฐตรัชต์ อินทรสุขศรี Jan 2020

ปัญหาความสัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติของพระราชบัญญัติสถาบันการเงิน ประชาชน พ.ศ. 2562, ฐตรัชต์ อินทรสุขศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายฉบับใหม่ที่พึ่งออกมาได้ไม่นาน โดยมี เจตนารมณ์เพื่อจะช่วยแก้ปัญหาให้แก่ประชาชนในระดับฐานรากที่มีปัญหาในการเข้าถึงบริการทางการเงินที่มี ประสิทธิภาพและเป็นธรรม อีกทั้งช่วยแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะในเรื่องการเข้าถึง บริการทางการเงินที่มีคุณภาพของประชาชนระดับฐานราก และเป็นการเพิ่มทางเลือกการให้บริการทางการเงิน ระดับชุมชนประเภทใหม่ รวมถึงเป็นการวางกรอบนโยบายที่ชัดเจนให้แก่หน่วยงานรัฐเพื่อทำการช่วยเหลือส่งเสริม ให้สถาบันการเงินประชาชนตามพระราชบัญญัตินี้ให้เข้มแข็ง เช่น การมีธนาคารรัฐเป็นผู้ประสานงานดูแลให้ คำแนะนำ ที่สำคัญคือ สถาบันการเงินประชาชนนี้จะไม่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดิน กล่าวคือ ไม่มีการใช้เงิน อุดหนุนจากภาครัฐเป็นทุนในการดำเนินงาน ทุนทั้งหมดเป็นของประชาชนในการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ประชาชน ซึ่งเงินเหล่านั้นอาจได้มาจากส่วนลงหุ้น หรือ เงินฝาก โดยสถาบันการเงินประชาชนนี้เป็นระบบการเข้า เป็นสมาชิกและจัดตั้งสถาบันแบบสมัครใจ เพื่อทำให้องค์กรทางการเงินชุมชนที่มีอยู่แล้วแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นนิติ บุคคลหรือไม่ก็ตาม ได้มีโอกาสยื่นขอแปลงสภาพให้มีความเป็นทางการและได้รับการคุ้มครองที่แน่นอน งานวิจัยฉบับนี้เน้นการศึกษาตัวบทและเจตนารมณ์เบื้องหลังกฎหมายของพระราชบัญญัติสถาบันการเงิน ประชาชน พ.ศ.2562 และ ทางปฏิบัติในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ศึกษาสภาพสังคมของผู้ที่ไม่มี โอกาสเข้าถึงบริการทางการเงิน และ ผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทยเป็นหลัก รวมถึงศึกษากฎเกณฑ์ ทฤษฎีที่ เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศประกอบ ซึ่งภายหลังการศึกษากลับพบว่ากฎหมายฉบับนี้ยังไม่อาจใช้ บังคับได้ผลในทางปฏิบัติอย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากมีอุปสรรคในเรื่องของ ความทับซ้อนของกฎหมาย กฎหมาย ขาดสิทธิประโยชน์และแรงจูงใจในการให้องค์การเงินชุมชนยกระดับเป็นสถาบันการเงินประชาชน เงื่อนไขในการยกระดับจัดตั้งเป็นสถาบันการเงินประชาชนตามกฎหมายนั้นเข้มงวดเกินไปไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมของ กลุ่มเป้าหมาย และ มีกลุ่มเป้าหมายบางส่วนยังไม่ทราบความมีอยู่ของกฎหมาย งานวิจัยฉบับนี้จึงเสนอให้มีการพิจารณาแก้ไขหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพสังคม ตามความเป็นจริงเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่ต้องกระทำอย่างระมัดระวัง รวมถึงให้รัฐ ประชาสัมพันธ์กฎหมายให้แพร่หลาย และ พยายามหาสิทธิประโยชน์ในการจูงใจให้องค์กรการเงินชุมชนยกระดับ ขึ้นเป็นสถาบันการเงินประชาชน เพราะเมื่อเกิดมีสถาบันการเงินประชาชนเกิดขึ้นได้มากตามเป้าหมายย่อมเป็น ประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง


ปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมายกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book), พภัสสรณ์ พัฒนฉัตรรุ่งรุจ Jan 2020

ปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมายกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book), พภัสสรณ์ พัฒนฉัตรรุ่งรุจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้ มุ่งศึกษาประเด็นปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมายในการกำหนดประเภทและขอบเขตของหนังสือหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงรูปแบบของการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และแนวทางการคำนวณภาษีกรณีธุรกรรมที่ไม่สามารถแบ่งแยกราคาได้ อีกทั้งได้เสนอให้มีการจัดเก็บภาษีอัตราศูนย์สำหรับการจำหน่ายหนังสือหรือการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทตำราเรียน เนื่องจากประมวลรัษฎากรกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการจำหน่ายหนังสือหรือการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และตำราเรียน แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายดังกล่าวไม่มีความชัดเจนแต่อย่างใด ทั้งกรณีการกำหนดประเภทและขอบเขตของหนังสือหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และรูปแบบการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่จะได้รับยกว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงวิธีการคำนวณภาษีกรณีการทำธุรกรรมที่ไม่สามารถแบ่งแยกราคาได้ ก็มิได้มีการกำหนดแนวทางในการคำนวณภาษีไว้ อันทำให้รัฐอาจสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษี นอกจากนี้ ควรกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราศูนย์สำหรับการจำหน่ายหนังสือหรือการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทตำราเรียน เพื่อให้ปลอดภาระภาษีโดยสิ้นเชิง ผู้เขียนจึงได้ศึกษาแนวคิดและกฎหมาย โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับแนวทางการจัดเก็บภาษีหรับการจำหน่ายหนังสือหรือการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในสหราชอาณาจักร เพื่อเสนอแนะแนวทางอันทำให้กฎหมายมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น


พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 : ศึกษากรณีการฟอกเงินโดยใช้เงินเสมือนในการพนันออนไลน์, วีรภัทร พัฒนะโชติกุล Jan 2020

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 : ศึกษากรณีการฟอกเงินโดยใช้เงินเสมือนในการพนันออนไลน์, วีรภัทร พัฒนะโชติกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาและผลกระทบจากปัญหาช่องว่างของกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในประเทศไทยกรณีการฟอกเงินโดยใช้เงินเสมือนในการพนันออนไลน์ การกำหนดความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการพนันออนไลน์ และแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการศึกษากับแนวทางสากล รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับของสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ จากการศึกษาพบว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่สามฉบับ คือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพระราชบัญญัติการพนัน และ พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างไรก็ดีบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามเงินเสมือนจากการกระทำผิดฐานฟอกเงินในธุรกิจการพนันออนไลน์ ทำให้เกิดช่องว่างทางกฎหมายส่งผลให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไม่สามารถดำเนินการป้องกันและยึดอายัดเงินเสมือนได้ นอกจากนี้ยังไม่ได้กำหนดคำนิยามของ "การพนันออนไลน์" ไว้ชัดเจนอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดมูลฐาน ทำให้ขัดต่อหลักการตีความโดยเคร่งครัดตามหลักกฎหมายอาญาและส่งผลให้เกิดการตีความเกินเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนั้นผู้เขียนจึงได้เสนอให้มีการออกกฏกระทรวงตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกำหนดมาตรการในการป้องกันและปราบปรามเงินเสมือนในการกระทำความผิดฐานฟอกเงินในธุรกิจการพนันออนไลน์และกำหนดนิยามของ "การพนันออนไลน์" ไว้ในพระราชบัญญัติการพนันโดยนำแนวทางสากลและกฎหมายพนันออนไลน์ของสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้เพื่อขจัดปัญหาช่องว่างทางกฎหมาย เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยใช้เงินเสมือนในการพนันออนไลน์มีประสิทธิภาพ


แนวทางการกำหนดภาระภาษีของการส่งตัวพนักงานต่างชาติเข้ามาทำงานให้กับบริษัทในเครือในประเทศไทย, ดวงแข กสิผล Jan 2020

แนวทางการกำหนดภาระภาษีของการส่งตัวพนักงานต่างชาติเข้ามาทำงานให้กับบริษัทในเครือในประเทศไทย, ดวงแข กสิผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


แนวทางการปรับลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลากรเพื่อความสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการ, นรภัทร วีระโจง Jan 2020

แนวทางการปรับลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลากรเพื่อความสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการ, นรภัทร วีระโจง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแก้ปัญหาหนี้สินผ่านกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น เป็นกระบวนการที่เจ้าหนี้และลูกหนี้จะมาตกลงทำการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้เพื่อที่ว่ากิจการของลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพันตัวจะได้มีโอกาสกลับมาดำเนินธุรกิจและมีผลกำไรได้อย่างปกติอีกครั้ง แทนที่จะต้องชำระบัญชีและเลิกกิจการไป ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ การปรับลดค่าใช้จ่ายทางด้านบุคลากรนับว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ อย่างไรก็ดี ในการปรับลดใช้จ่ายทางด้านบุคลากรของบริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการนั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งมีเจตนารมณ์ของกฎหมายแต่ละฉบับต่างก็มุ่งที่จะคุ้มครองผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกัน การปรับลดใช้จ่ายทางด้านบุคลากรของบริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายไทยในปัจจุบันจึงกระทำได้อย่างค่อนข้างจำกัดและไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดหลักเกณฑ์และมาตรการดำเนินการที่เหมาะสม เอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิดและหลักเกณฑ์ในการปรับลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรของลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และกฎหมายของสหราชอาณาจักร เพื่อนำมาเป็นแนวในการปรับปรุงกฎหลักเกณฑ์ตามกฎหมายฟื้นฟูกิจการ และกฏหมายแรงงานของไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปรับลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลากรของลูกหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการให้มีความเหมาะสม สามารถบังคับใช้ได้จริงและมีประสิทธิภาพ และเกิดความสมดุลระหว่างสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง และสิทธิในการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อความสำเร็จขอการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้


แนวทางในการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับบริษัทจำกัดคนเดียว, ธิติณัฎฐ์ ปรีดิพานิจวิภา Jan 2020

แนวทางในการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับบริษัทจำกัดคนเดียว, ธิติณัฎฐ์ ปรีดิพานิจวิภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์แนวทางการจัดเก็บภาษีเงินได้สําหรับบริษัทจํากัดคนเดียวโดยใช้หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ที่เหมาะสมกับบริบทของบริษัทจํากัดคนเดียวที่กําลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นการศึกษากฎหมายเชิงเปรียบเทียบ โดยรวบรวมข้อมูลของประเทศที่ได้จัดตั้งบริษัทจํากัดคนเดียวและมีหลักปฏิบัติสําหรับการจัดเก็บภาษีเงินได้บริษัทจํากัดคนเดียว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอินเดีย เพื่อให้ได้หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้สําหรับบริษัทจํากัดคนเดียวที่เหมาะสมที่สุดสําหรับประเทศไทย ซึ่งจากการศึกษาเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีเงินได้บริษัทจํากัดคนเดียวในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศฝรั่งเศส พบว่าบริษัทจํากัดคนเดียวถูกจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้แนวความคิดระบบส่งผ่านเงินได้ประกอบกับการพิจารณาลักษณะและคุณสมบัติพิเศษของบริษัทจํากัดคนเดียว โดยไม่คํานึงว่า บริษัทจํากัดคนเดียวจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายก็ตาม ซึ่งเมื่อนํามาวิเคราะห์ประกอบกับบริบทของบริษัทจํากัดคนเดียวในประเทศไทยที่มีโอกาสเกิดขึ้นแล้ว การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับบริษัทจํากัดคนเดียวถือเป็นแนวคิดการจัดเก็บภาษีเงินได้ที่สอดคล้องกับหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดีและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ดังนั้น จึงเสนอแนะให้ประเทศไทยรับแนวคิดการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาปรับปรุงประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้องเพื่อบังคับใช้ต่อไป


การกําหนดความรับผิดอาญาในความผิดฐานช่วยเหลือการหนีภาษีอากร : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายอาชญากรรมทางการเงินของสหราชอาณาจักร, นุชจรินทร์ จินดารัตน์ Jan 2020

การกําหนดความรับผิดอาญาในความผิดฐานช่วยเหลือการหนีภาษีอากร : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายอาชญากรรมทางการเงินของสหราชอาณาจักร, นุชจรินทร์ จินดารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ข้อจำกัดทางกฎหมายในการระงับข้อพิพาทตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ศึกษากรณีกระบวนการโต้แย้งสิทธิที่มีหลายขั้นตอน, กัญญณัฎฐ์ สิริวรวัชร์ Jan 2020

ข้อจำกัดทางกฎหมายในการระงับข้อพิพาทตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ศึกษากรณีกระบวนการโต้แย้งสิทธิที่มีหลายขั้นตอน, กัญญณัฎฐ์ สิริวรวัชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


บุคคลผู้มีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, พิพัฒน์ พิพัฒน์ผจง Jan 2020

บุคคลผู้มีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, พิพัฒน์ พิพัฒน์ผจง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การยกเว้นภาษีตามมาตรา 40 41 และ 96 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มี วัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีที่ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินประเภทที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบเกษตรกรรม หากประชาชนผู้เสียภาษีปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนดไว้อย่าง ครบถ้วน ก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปีภาษีนั้น เมื่อพิจารณาการยกเว้นภาษีข้างต้น ปรากฎว่ามาตราดังกล่าวยกเว้นภาษีให้เฉพาะบุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น เนื่องจากบทบัญญัติในมาตราใช้คําว่า “เจ้าของ” ซึ่งมิได้หมายความรวมถึงผู้มี สิทธิครอบครองในที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นผู้เสียภาษีอีกประเภทหนึ่งตามนิยามในมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้นผู้มีสิทธิครอบครองจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีและยังคงต้องเสียภาษีตามปกติ แม้จะได้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกําหนดไว้อย่างครบถ้วนเฉกเช่นผู้เสียภาษีประเภทเจ้าของแล้วก็ตาม การบัญญัติกฎหมายโดยเรียกเก็บภาษีจากเจ้าของและผู้มีสิทธิครอบครอง แต่เมื่อมีการยกเว้นภาษีกลับยกเว้นให้เฉพาะเจ้าของ และการนําสิทธิเหนือทรัพย์สินของผู้เสียภาษีมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณายกเว้นภาษีทรัพย์สินเป็นการบัญญัติกฎหมายที่มิได้คํานึงถึงหลักการบริหารภาษีที่ดี รวมไปถึงแนวคิดพื้นฐานในการจัดเก็บและยกเว้นภาษีทรัพย์สิน จึงก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษีระหว่างเจ้าของกับผู้มีสิทธิครอบครอง และปัญหาการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนั้น การยกเว้นภาษีตามมาตราดังกล่าวจึงควรได้รับการแก้ไขให้ครอบคลุมถึงผู้มีสิทธิครอบครอง หรือมีมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดี ตลอดจนแนวคิดพื้นฐานในการจัดเก็บและยกเว้นภาษีทรัพย์สิน


ปัญหาการชำระเงินเพิ่มจากการไม่เสียอากรหรือการเสียอากรไม่ครบถ้วนที่เกิดขึ้นก่อนการใช้บังคับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560, พาทิศ เกษมคุณ Jan 2020

ปัญหาการชำระเงินเพิ่มจากการไม่เสียอากรหรือการเสียอากรไม่ครบถ้วนที่เกิดขึ้นก่อนการใช้บังคับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560, พาทิศ เกษมคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทบัญญัติว่าด้วยการชําระเงินเพิ่มจากการไม่เสียอากรหรือการเสียอากรไม่ครบถ้วนของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มีความเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 โดยพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ได้กําหนดให้ผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกจะต้องชําระเงินเพิ่มจากกรณีดังกล่าวในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มแต่เงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ในขณะที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ไม่ได้กําหนดให้เงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มแต่อย่างใด ผู้ศึกษาวิจัยพบว่ามีแนวคําพิพากษาของศาลที่ได้ตัดสินให้ผู้นําของเข้าต้องชําระเงินเพิ่มจากการเสียอากรขาเข้าไม่ครบถ้วนที่ได้เกิดขึ้นก่อนการใช้บังคับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 แต่เงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินอากรขาเข้าที่ต้องเสียเพิ่มตามบทบัญญัติของกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาบรรดาหลักกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหลักการใช้บังคับของกฎหมายภาษีอากรในแง่ของเวลา หลักกฎหมายภาษีอากรไม่มีผลย้อนหลัง และหลักกฎหมายอาญาย้อนหลังเป็นคุณได้ ผู้ศึกษาวิจัยเห็นว่าแนวคําพิพากษาของศาลดังกล่าวไม่สอดคล้องกับบรรดาหลักกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้องดังกล่าว และแนวคําพิพากษาของศาลดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อรัฐและผู้มีหน้าที่เสียอากร ผู้ศึกษาวิจัยจึงเห็นสมควรเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเสนอให้ศาลตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวให้สอดคล้องกับบรรดาหลักกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้องดังกล่าว และแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับดังกล่าวให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับหลักความแน่นอนของหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดีของอดัม สมิธ (Adam Smith)


ปัญหาการพิจารณาสิ่งปลูกสร้างประเภทอาคารพาณิชย์เพื่อเป็นฐานในการคำนวณภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2562 กรณีศึกษา : ห้างสรรพสินค้า, เยาวมาลย์ ใจยาว Jan 2020

ปัญหาการพิจารณาสิ่งปลูกสร้างประเภทอาคารพาณิชย์เพื่อเป็นฐานในการคำนวณภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2562 กรณีศึกษา : ห้างสรรพสินค้า, เยาวมาลย์ ใจยาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 มีเจตนารมณ์ในการตรากฎหมายอย่างหนึ่งคือการแก้ไขการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ และความชัดเจนในเรื่องของมูลค่าทรัพย์สินที่ต้องใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี ของพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โดยบัญญัติให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานราชการที่ได้รับมอบอำนาจ ให้มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่ พบเห็นสภาพการใช้งานจริงของทรัพย์สิน ทำให้สามารถประเมินภาษีได้อย่างถูกต้องทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาการประเมินภาษีทรัพย์สินจากห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร โดยนำแบบประเมินภาษีห้างสรรพสินค้า และอาคารชุดที่มีคอมมิวนิตี้มอลล์ประจำปีภาษี พ.ศ.2562 และ พ.ศ.2563 มาร่วมประกอบการศึกษาเพื่อให้เห็นภาพการใช้ดุลพินิจในการประเมิน และฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวณที่ซัดเจน จากผลการศึกษาพบว่า เนื่องจากกฎหมายพึ่งมีผลบังคับใช้ทำให้หน่วยงานราชการยังไม่มีความเข้าใจในหลักของกฎหมายเรื่องของประเภททรัพย์สิน และตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ได้มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนในเรื่องนิยามที่นำมาใช้กำหนดประเภทของทรัพย์สินเพื่อนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีในทางปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ อาศัยเพียงนิยามประกอบบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างฯโดยกรมธนารักษ์ ออกตามพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ.2562 มาประกอบการประเมิน ทำให้การจัดเก็บภาษียังคงไว้ซึ่งการใช้ดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในเรื่องการประเมินประเภททรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีในมูลค่าของทรัพย์สินที่ไม่มีการประเมินมูลค่าไว้ในกรณีที่ต้องประเมินว่าสิ่งปลูกสร้างนั้นถือเป็นสิ่งปลูกสร้างประเภทใด เพื่อประเมินมูลค่าทรัพย์สินนำมาเป็นฐานในการคำนวณภาษี เมื่อไม่มีการกำหนดนิยามไว้อย่างชัดเจน เป็นผลทำให้ไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกฎหมายเดิมอย่างเบ็ดเสร็จ และไม่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษี


ปัญหาเรื่องผลกระทบทางภาษีอากร กรณีสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ การส่งเสริมการลงทุนมาตรา 36 (1), จุฑารัตน์ รัตนตันติกุล Jan 2020

ปัญหาเรื่องผลกระทบทางภาษีอากร กรณีสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ การส่งเสริมการลงทุนมาตรา 36 (1), จุฑารัตน์ รัตนตันติกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตามมาตรา 36 (1) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ผู้ได้รับการส่งเสริมมีสิทธิ์ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านส่งออกตามที่คณะกรรมการกําหนดโดยเฉพาะการยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับวัตถุดิบและวัสดุจําเป็นที่ต้องนําเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อใช้ ผลิต ผสม หรือประกอบผลิตภัณฑ์ เฉพาะที่ใช้ในการส่งออก โดยมิให้นํากฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรมาใช้บังคับ ซึ่งผู้ได้รับการส่งเสริมต้องนําปริมาณวัตถุดิบหรือวัสดุจําเป็น ที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าที่ได้มีการผลิตและส่งออกไปต่างประเทศแล้วมาดําเนินการตัดบัญชีวัตถุดิบ ซึ่งหากตัดบัญชีไม่หมด ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องชําระอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมทั้งเบี้ยปรับเงินเพิ่ม และอาจต้องเสียภาษีสรรพสามิตตามปริมาณวัตถุดิบคงเหลือนั้นๆ หากวัตถุดิบนั้นเป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีสรรพสามิต นอกจากนี้เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับสิทธิและประโยชน์วัตถุดิบ วัตถุดิบใดที่นําเข้ามาโดยได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าต้องทําการตัดบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการได้รับสิทธิและประโยชน์ หากมียอดวัตถุดิบคงเหลือผู้ได้รับการส่งเสริมต้องชําระอากรขาเข้าวัตถุดิบตามสภาพ ณ วันนําเข้า อย่างไรก็ดี ทางปฏิบัติพบว่า มีกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมพบว่ายังมีวัตถุดิบนําเข้าที่เหลืออยู่ซึ่งยังมิได้มีการส่งออกและยังไม่ได้ชําระอากรขาเข้าภายหลังที่ระยะเวลาการนําเข้าผ่านไปกว่า 10 ปีแล้ว จึงมีประเด็นปัญหาเรื่องอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินในการออกแบบแจ้งเพื่อประเมินภาษีศุลกากร ประเมินภาษีสรรพสามิต ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายแต่ละฉบับ นอกจากนี้ยังมีประเด็นผลกระทบด้านภาษีต่างๆที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ อากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมไปถึงเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ของภาษีดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาพบว่ากิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า กรณีสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนมาตรา 36 (1) นั้น ยังมีความไม่ชัดเจนในเรื่องการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานและอายุความในการประเมินภาษีรวมถึงการจัดเก็บอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี จึงได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เสียภาษีและผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีต่อไป


มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514, ปาณิศา ล่อใจชน Jan 2020

มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514, ปาณิศา ล่อใจชน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


แนวทางการออกมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์, ยุพเรศ มีความดี Jan 2020

แนวทางการออกมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์, ยุพเรศ มีความดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ศึกษากรณีกิจการขนส่งระหว่างประเทศ, วาสิตา วราสิทธิชัย Jan 2020

ปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ศึกษากรณีกิจการขนส่งระหว่างประเทศ, วาสิตา วราสิทธิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภายหลังการบังคับใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 หลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้จากกิจการขนส่งระหว่างประเทศ จะเป็นไปตามประเภทของผู้ประกอบการ กล่าวคือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศจะอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 67 โดยต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะรายได้จากการขนส่งระหว่างประเทศก่อนหักรายจ่ายใด ในอัตราร้อยละ 3 ส่วนรายได้อื่นของกิจการเสียภาษีจากกำไรสุทธิ แต่สำหรับนิติบุคคลไทยจะเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิซึ่งเป็นรายได้ทั้งหมดของกิจการในอัตราร้อยละ 20 เห็นได้ว่าแม้จะประกอบกิจการประเภทเดียวกันแต่หลักเกณฑ์ที่ใช้จัดเก็บภาษีแตกต่างกัน อย่างไรก็ดีการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวในการจัดเก็บภาษีส่งผลให้ผู้ประกอบการสองประเภทมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ไม่เท่ากันซึ่งขัดกับหลักความเป็นธรรมทางภาษี ทั้งยังเกิดปัญหาการแบ่งแยกรายได้จากการเสียภาษีในฐานภาษีที่แตกต่างกันและเมื่อไม่มีการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนของรายได้จากการขนส่งระหว่างประเทศที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 67 ส่งผลให้มีการถ่ายโอนรายได้กันภายในกิจการเพื่อให้ได้เสียภาษีในจำนวนที่น้อยที่สุดอันเป็นการเปิดช่องและนำไปสู่การหลบหลีกภาษีอากร ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงทำการศึกษาหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีจากกิจการขนส่งระหว่างประเทศของต่างประเทศเพื่อหาแนวทางการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสมกับกิจการดังกล่าว โดยผู้เขียนเห็นว่าควรเปลี่ยนหลักเกณฑ์ให้จัดเก็บภาษีจากกำไรสุทธิของกิจการซึ่งเป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับการจัดเก็บภาษีจากนิติบุคคลไทยที่ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ นอกจากจะสอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดีแล้ว การเปลี่ยนหลักเกณฑ์เช่นนี้ยังขจัดปัญหาการแบ่งแยกรายได้ภายในกิจการเดียวกันได้อีกด้วย