Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Banking and Finance Law

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

Articles 91 - 111 of 111

Full-Text Articles in Law

ปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์ประเภทหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, โชติวรรณ นฤเทพ Jan 2019

ปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์ประเภทหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, โชติวรรณ นฤเทพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้เป็นการศึกษาวิธีการเก็บรักษาและการบริหารจัดการทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออาจถูกยึดในคดีฟอกเงิน โดยเฉพาะทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่จับต้องไม่ได้ (financial asset) แต่มีราคามูลค่า โดยทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์นี้มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างจากทรัพย์สินที่อาจจับต้องได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม ยานพาหนะต่าง ๆ เครื่องประดับหรือเงินสด นอกจากนี้ ยังสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามระดับความเสี่ยงและระดับของผลตอบแทนที่เป็นไปได้ด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันการกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารทรัพย์ที่ถูกยึดในคดีฟอกเงินนั้น ได้กำหนดไว้ใช้กับทรัพย์หลายประเภทไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือกิจการ หรือทรัพย์ที่เป็นสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่ถูกยึดหรืออาจถูกยึดในคดีฟอกเงินได้ แต่สำหรับทรัพย์ที่เป็นหลักทรัพย์นั้นซึ่งเป็นทรัพย์ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวกลับไม่มีการกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารจัดการดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ในกรณีทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่อาจนำทรัพย์สินดังกล่าวออกบริหารโดยให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินไปดูแลและใช้ประโยชน์ เช่น นำออกให้เช่า หรือในกรณีทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ที่หากเก็บไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นก็อาจนำออกขายทอดตลาดตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะได้ตัวเงินมาเก็บไว้ในกองทุนการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเพื่อรอคำสั่งศาลได้ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพย์สินที่เป็นหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเยียวยาผู้เสียหายหรือสามารถส่งคืนให้แก่รัฐได้อย่างสูงสุด จึงควรกำหนดวิธีการในการบริหารจัดการทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์เป็นการเฉพาะให้แยกต่างหากจากหลักทรัพย์ประเภทอื่น รวมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยงของหลักทรัพย์แต่ละชนิดเพื่อกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารจัดการที่เหมาะสมกับลักษณะของหลักทรัพย์แต่ละประเภท


การกำกับดูแลการแปลงสินทรัพย์ประเภทสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์, ธันวา คว้าพงศ์ไพทูรย์ Jan 2019

การกำกับดูแลการแปลงสินทรัพย์ประเภทสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์, ธันวา คว้าพงศ์ไพทูรย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิทธิบัตรเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่สามารถนำมาแปลงเป็นหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการจัดหาเงินทุน ของกิจการได้ตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตาม แนวทางการกำกับดูแลการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ดังกล่าว ยังไม่เหมาะสมเพียงพอและอาจนำมาสู่ปัญหาทางกฎหมาย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการแปลงสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์ในประเทศไทย อาทิ ความชัดเจนเกี่ยวกับนิยามของสินทรัพย์ การไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินอย่างแท้จริง การขาดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินมูลค่า หรือสภาพบุคคลของทรัสต์ เป็นต้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและต่างประเทศ และมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการแก้ไขเพิ่มเติมและกำหนดมาตรการทางกฎหมายอื่น ๆ เพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่เหมาะสมเพียงพอของกฎหมายที่ใช้บังคับกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เพื่อให้การแปลงสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การอุดช่องว่างกฎหมายภาษีอากร, ธีรพัฒน์ สงละออ Jan 2019

การอุดช่องว่างกฎหมายภาษีอากร, ธีรพัฒน์ สงละออ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การให้สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ : กรณีศึกษาธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และบริการสอบเทียบมาตรฐาน, ฤษณะ ขาวเรือง Jan 2019

การให้สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ : กรณีศึกษาธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และบริการสอบเทียบมาตรฐาน, ฤษณะ ขาวเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมีส่วนสําคัญในธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และสอบเทียบมาตรฐาน ทั้งนี้คนต่างด้าวที่จะประกอบธุรกิจในประเทศไทยต้องได้รับอนุญาตการประกอบธุรกิจเสียก่อน อย่างไรก็ตามเพื่อส่งเสริมการลงทุน พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ รวมไปถึงการยกเว้นให้คนต่างด้าวไม่ต้องขออนุญาตเพื่อประกอบกิจการในประเทศไทย อย่างไรก็ตามมีผู้ลงทุนบางกลุ่มเลือกจัดโครงสร้างเป็นนิติบุคคลไทยเพื่อขจัดข้อจํากัดในการประกอบธุรกิจแทนการขอรับการส่งเสริมการลงทุน เอกัตศึกษาเล่มนี้จึงมุ่งศึกษารูปแบบการเข้ามาประกอบธุรกิจของผู้ลงทุน ตลอดจนเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับ และพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆต่อการเลือกรูปแบบการลงทุน ทั้งนี้ผู้ศึกษาพบรูปแบบที่สําคัญสองรูปแบบ คือ การเข้ามาในฐานะต่างด้าวโดยขอรับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดีกว่าไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนจากประเทศใด ในขณะที่อีกรูปแบบคือ การเข้ามาโดยมีสถานะเป็นนิติบุคคลไทยผ่านการร่วมทุนหรือจัดโครงสร้างเป็นนิติบุคคลไทย แต่ไม่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนแม้ว่าจะไม่มีอุปสรรคทางกฎหมายที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษในการขอรับการส่งเสริมการลงทุนก็ตาม ทั้งนี้การเลือกรูปแบบที่สองผู้ลงทุนรับสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่ใช่ภาษีอากรในภาพรวมดีกว่ารูปแบบแรก นอกจากนี้ไม่ปรากฎว่าขนาดของกิจการของการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญต่อการขอรับการส่งเสริมการลงทุนแต่อย่างใด จากข้อมูลพบว่า แม้ผู้ลงทุนจะอยู่ในสถานะที่มีข้อจํากัดด้านกฎหมายในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการขอรับการส่งเสริมการลงทุนน้อยที่สุด ผู้ลงทุนก็มีแนวโน้มจะเลือกใช้รูปแบบที่สองมากกว่ารูปแบบแรก แสดงถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้นไม่ใช่ปัจจัยสําคัญที่สุดในการพิจารณาเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย อย่างไรก็ตามปัจจัยทางภาษีส่งผลต่อการวางแผนรูปแบบองค์กรเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางภาษีภายหลังตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นแหล่งลงทุนแล้ว ซึ่งชี้ว่าการส่งเสริมการลงทุนนั้นเปราะบางต่อการวางแผนภาษีในเชิงรุก อย่างไรก็ตามเอกัตศึกษานี้ไม่ได้ประเมินความคุ้มค่าของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนแต่อย่างใด


การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ : กรณีศึกษาการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้า หรือหากำไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม, รพีพร จงใจ Jan 2019

การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ : กรณีศึกษาการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้า หรือหากำไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม, รพีพร จงใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร เป็นกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับของภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรที่มีลักษณะตามมาตรา91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3 ของรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เฉพาะกรณีที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดิน โดยความรับผิดในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะเกิดในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าว ซึ่งกรมที่ดินมีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรแทนกรมสรรพากรจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะข้างต้น จึงทําให้การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็น ทางค้าหรือหากําไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น การตกลงยกสิ่งปลูกสร้างให้แก่เจ้าของที่ดินตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา การขายที่ดินตามหนังสือแจ้งการครอบครอง(ส.ค.1) การขายที่ดินโดยระบุในสัญญาซื้อขายว่าขายเฉพาะที่ดินหรือขายที่ดินเปล่าไม่รวมสิ่งปลูกสร้างและมีการขายสิ่งปลูกสร้างในภายหลัง หรือการขายหุ้นในบริษัทที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น เมื่อไม่สามารถจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรได้ในทุกกรณี เพราะการให้ความสําคัญกับรูปแบบทางทะเบียน จึงทําให้เกิดการจัดเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม ทําให้เกิดช่องว่างในการหลบหลีกหรือเลี่ยงภาษี และทําให้รัฐสูญเสียรายได้ จึงไม่ควรกําหนดความรับผิดในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้กับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เพื่อให้การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากกขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรได้ครอบคลุมในทุกกรณี


มาตรการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบตามหลักจำกัดสิทธิประโยชน์ (Limitation On Benefits) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, อัญชิสา คงงาม Jan 2019

มาตรการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบตามหลักจำกัดสิทธิประโยชน์ (Limitation On Benefits) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, อัญชิสา คงงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาษีอากรเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจจึงพยายามหาวิธีการเพื่อให้กิจการของตนเสียภาษีอากรน้อยที่สุดหรือไม่จําต้องเสียภาษีอากรเลยการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบ เป็นวิธีการที่ถูกใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางภาษีส่งผลให้นานาประเทศสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่รัฐควรจะได้รับมหาศาล โดยประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่เริ่มสนใจปัญหาการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนโดยมิชอบ และหามาตรการเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว ซึ่งหลักจํากัดสิทธิประโยชน์เป็นมาตรการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเลือกใช้มาเป็นระยะเวลายาวนาน และเชื่อว่าสามารถจัดการกับปัญหาการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัตถุประสงค์ของหลักจํากัดสิทธิประโยชน์มีขึ้นเพื่อรับมือกับธุรกรรมบางประเภท อันเป็นมาตรการเฉพาะว่าด้วยการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีอากร ทําให้หลักจํากัดสิทธิประโยชน์มีความชัดเจน แน่นอน จัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการวางแผนภาษีที่เกิดขึ้นใหม่ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาพบว่าหลักการจํากัดสิทธิประโยชน์เป็นหลักการที่ประเทศไทยสมควรรับมาเป็นบทบัญญัติหนึ่งในอนุสัญญาภาษีซ้อน ด้วยเหตุนี้จึงจําเป็นต้องศึกษาถึงหลักเกณฑ์และแนวทางการบังคับใช้รวมถึงความมีประสิทธิภาพจากการบังคับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการนําหลักการจํากัดสิทธิประโยชน์มาปรับใช้ในประเทศไทยต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ


การแบ่งประเภทเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไขประมวลรัษฎากร โดย คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากร, ธันยธรณ์ ผดุงอรรถ Jan 2019

การแบ่งประเภทเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไขประมวลรัษฎากร โดย คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากร, ธันยธรณ์ ผดุงอรรถ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภทตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น มักพบปัญหาเกี่ยวกับความชัดเจนของการแยกประเภทเงินได้ในแต่ละประเภทและมีผลทำให้การจัดเก็บภาษีไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี ตลอดจนไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติไว้ นอกจากในประเด็นเรื่องการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินแล้ว ผู้วิจัยยังศึกษาเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทด้วย เนื่องจากการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินมีหลักสำคัญคือการก าหนดหลักเกณฑ์เฉพาะส าหรับเงินได้แต่ละประเภทให้แตกต่างกันออกไปการหักค่าใช้จ่ายจึงมีผลต่อการศึกษาการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินเช่นกัน และผู้วิจัยยังได้ศึกษาแนวทางการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินของประเทศอังกฤษ ประเทศมาเลเซีย และประเทศศรีลังกาซึ่งเป็นประเทศที่มีการแบ่งเงินได้พึงประเมินเป็นหลายประเภทเช่นเดียวกับในปัจจุบันของประเทศไทยและบางประเทศก็มีการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินคล้ายกับข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไขประมวลรัษฎากร โดย คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากร เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่อไป เอกัตศึกษาฉบับนี้ได้เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรมาตรา 40 เพื่อลดความซับซ้อนของการทำความเข้าใจลักษณะของเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาด้านการตีความในทางปฏิบัติ ลดความเหลื่อมล้ำและทำให้กฎหมายมีความเหมาะสมและชัดเจนแน่นอนมากยิ่งขึ้น


ปัญหาการตีความการจัดเก็บภาษีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในประเทศไทย, จินตนา แทนวันดี Jan 2019

ปัญหาการตีความการจัดเก็บภาษีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในประเทศไทย, จินตนา แทนวันดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคลประเภทบริษัทจ้ากัดหรือบริษัทมหาชนจ้ากัด จำต้องอาศัยแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมามีบริษัทในประเทศไทยจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดภาวะการขาดทุนสะสมภายในบริษัทต่อเนื่องกันมา แม้ว่ากรมสรรพากรจะมีมาตรการในการช่วยเหลือบริษัทที่ยังคงมีผลขาดทุนสะสม ดังนั้น หลายบริษัทในประเทศไทยที่ยังคงมีผลขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในประเทศไทยหรือในต่างประเทศได้ การจัดหาแหล่งเงินทุนภายนอก (External Source of fund) ประเภทการออกจ้าหน่ายหุ้นสามัญ (Common Stock) หรือการออกจำหน่ายหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) จึงได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา เดิมการออกหุ้นโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสามารถกระท้าได้หากเป็นไปตามข้อบังคับและหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทตามที่มาตรา 1105 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ และไม่ได้มีกฎหมายอื่นใดกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องกำหนดส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในอัตราส่วนเท่าใด นอกจากนั้นหากได้รับช้าระค่าหุ้นพร้อมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นตามมาตรา 1202 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึงมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่องการนำเสนองบการเงิน ให้ถือว่า ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นส่วนของเจ้าของ (Equity) ที่ไม่ต้องน้ามาค้านวนเพื่อเสียภาษีเงินได้ และไม่ใช่รายรับที่ต้องน้าไปค้านวนเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มรวมถึงมีข้อหารือกรมสรรพากรให้ความเห็นสนับสนุนหลักการดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมาในปี 2559 ได้มีค้าพิพากษาศาลฎีกาหมายเลขคดี 2050/2559 ระหว่างบริษัทเอ็นอีซี (ประเทศไทย) จ้ากัด (โจทก์) และ กรมสรรพากร (จ้าเลย) ได้มีแนวคำวินิจฉัยตัดสินให้ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในกรณีดังกล่าว ถือเป็นเงินให้เปล่าหรือเงินช่วยเหลือ ซึ่งถือเป็นรายได้ที่ต้องน้าไปรวมค้านวนเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และต่อมาจึงได้มีแนวค้าวินิจฉัยของกรมสรรพากรเดินตามแนววินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรดังกล่าว ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี จึงมุ่งศึกษาถึงแนวความคิดและความแตกต่างระหว่างการตีความของกรมสรรพากรเดิมกับแนวค้าพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งพบว่าส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นส่วนหนึ่งของส่วนทุนของบริษัทและในการจัดหาแหล่งเงินทุนที่ถูกต้อง บริษัทต่าง ๆ สามารถที่จะดำเนินการออกหุ้นเพิ่มทุนโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นได้ แต่ทั้งนี้ หากบริษัทได้ดำเนินการออกหุ้นโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสูงเกินและมิได้แสดงให้เห็นถึงกิจการของบริษัท อย่างถูกต้องแล้วนั้น ในบางกรณีย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นการหลีกภาษี หรือการเลี่ยงภาษีอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยยังคงขาดความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงควรมีการเพิ่มเติมความหมาย พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการจัดเก็บภาษีไว้ในประมวลรัษฎากร เพื่อความชัดเจนและส่งผลให้ข้อขัดแย้งในการตีความที่จะเป็นข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลลดน้อยลง


แนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจาก การจ้างแรงงานเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี : กรณีศึกษาประโยชน์เกื้อกูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน, กิตติลักษณ์ นิ่มเชื้อ Jan 2019

แนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจาก การจ้างแรงงานเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี : กรณีศึกษาประโยชน์เกื้อกูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน, กิตติลักษณ์ นิ่มเชื้อ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวทางในการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจากการจ้างแรงงาน กรณีประโยชน์เกื้อกูล ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา เนื่องจาก "เงินได้พีงประเมิน" ตาม มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรหมายความรวมถึง ประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ดังนั้น ในกรณีที่ได้รับ "ประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน" ตาม มาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร อันถือเป็นเงินได้พึงประเมินได้นั้น ประโยชน์ดังกล่าวจะต้องคิดคำนวณเป็นเงินได้ ผลการศึกษาพบว่า สหราชอาณาจักรมีการกำหนดนิยามความหมายและข้อยกเว้นต่างๆ เกี่ยวกับประโยชน์เนื่องจากการจ้างแรงงานไว้อย่างชัดแจ้งใน Income Tax (Earning and Pensions) Act 2003 และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณามูลค่าเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้ จึงจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาหลักเกณฑ์การกำหนดขอบเขตและการพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจากการจ้างแรงงาน ตาม มาตรา 40 (1) ให้สอดคล้องกับความหมายของเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร


ปัญหาการตีความคำว่าขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ศึกษากรณีการฝากขาย, เกรียงศักดิ์ ฝาจอง Jan 2019

ปัญหาการตีความคำว่าขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ศึกษากรณีการฝากขาย, เกรียงศักดิ์ ฝาจอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการประกอบกิจการค้าขายในปัจจุบัน วิธีการทางการตลาดถือเป็นส่วนสำคัญในการจำหน่ายสินค้า หนึ่งในวิธีทางการตลาดที่สำคัญก็คือ การฝากขายสินค้าของตนให้กับตัวแทนจำหน่าย เช่น ห้างสรรพสินค้า จะสามารถทำให้ผู้ผลิตสามารถกระจายสินค้าของตนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย การฝากขายจึงมีความจำเป็นต่อการดำเนินกิจการค้าขายและเป็นแหล่งในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่สำคัญของรัฐกฎหมายภาษีได้กำหนดให้การฝากขายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในรูปแบบของการตั้งตัวแทนเพื่อขาย โดยต้องมีสัญญาตั้งตัวแทนตามที่ประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 8)กำหนด หากไม่มีการตั้งตัวแทนตามที่กฎหมายกำหนดจะต้องถูกเก็บภาษีในลักษณะของการขายทั่วไปซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีจะเกิดขึ้นทันที เมื่อผู้ฝากขายส่งมอบสินค้าให้ผู้รับฝากขาย ทำให้ผู้ฝากขายต้องรับภาระทางภาษีขึ้นทั้งที่ยังไม่ได้มีการขายจริง และการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามตามที่กฎหมายกำหนดนั้นยังเกิดปัญหาในการออกใบกำกับภาษีที่มีความยุ่งยากในทางปฏิบัติ นอกจากนั้น ยังเกิดปัญหาความแตกต่างในการรับรู้รายได้ทางบัญชีและทางภาษีอีกด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากปัญหาในการตีความคำว่าขาย ตามคำนิยามของมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร ที่เป็นการให้คำนิยามที่กว้างเกินไปจนก่อให้เกิดภาระทางภาษีแก่กรณีการฝากขายโดยไม่จำเป็น เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฝากขาย และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการฝากขาย เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการเกี่ยวกับการฝากขาย และการจัดภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการตีความคำว่าขายตามมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร โดยศึกษากฎหมายของไทยเป็นหลักและศึกษากฎหมายของสหราชอาณาจักรอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการตีความของกฎหมายไทย โดยควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการตั้งตัวแทนเพื่อขายที่ ไม่เป็นไปตามประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 8) เพิ่มหลักเกณฑ์ในการขยายเวลาของความรับผิดที่เกิดขึ้น เพิ่มนิยามหรือข้อยกเว้นสำหรับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการฝากขาย และปรับปรุงการรับรู้รายได้ทางภาษีให้ตรงกับความเป็นจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการฝากขาย


การนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับกับธุรกิจสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านแพลตฟอร์ม, ปนัดดา อรุโณทัยวิศรุต Jan 2019

การนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับกับธุรกิจสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านแพลตฟอร์ม, ปนัดดา อรุโณทัยวิศรุต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับกับธุรกิจสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านแพลตฟอร์ม (ผู้ประกอบธุรกิจ) โดยจะศึกษาถึงข้อแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (FATF) และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประกอบกับการเข้าสัมภาษณ์ผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่และรายเล็ก รวมถึงสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติในการกำหนดนโยบายตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ จากการศึกษา FATF และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการเข้าสัมภาษณ์ผู้ประกอบธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญ พบว่า สถาบันการเงิน ตาม FATF นั้น รวมถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลใดก็ตามที่ดำเนินธุรกิจให้กู้เงิน โดยหากผู้ประกอบธุรกิจให้บริการทางการเงินผู้ประกอบธุรกิจจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของสถาบันการเงิน ซึ่งมีหน้าที่ในการปฏิบัติตาม FATF ณ เวลาที่เอกัตศึกษานี้ถูกจัดทำขึ้น ประเทศไทยมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเพียงให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการแสดงตัวตนของผู้ใช้บริการและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ใช้บริการตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเท่านั้น จะเห็นได้ว่าประกาศฉบับดังกล่าวไม่มีความชัดเจน ประกอบกับกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ยังไม่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการออกแนวทางการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามกฎหมาย จึงส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ทราบแนวทางการปฏิบัติ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงศึกษา FAT และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยนำมาวิเคราะห์กับแนวทางและขั้นตอนการทำงานของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อเสนอซึ่งแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจและกฎหมายป้องกันเละปราบปรามการฟอกเงินของประเทศไทย


การกร่อนอำนาจอธิปไตยของรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรไทยในมิติกฎหมาย ภาษีอากรระหว่างประเทศ, เอกนรินทร์ นุกูลสุขศิริ Jan 2019

การกร่อนอำนาจอธิปไตยของรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรไทยในมิติกฎหมาย ภาษีอากรระหว่างประเทศ, เอกนรินทร์ นุกูลสุขศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาเพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงลักษณะของการกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีอากรที่มี อยู่จริงของมาตรการทางภาษีที่ออกโดยประเทศต่างๆ โดยจะมุ่งเน้นศึกษาในกรณีมาตรการทางภาษีของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีมาตรการทางภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) โดยจำแนกออกตามรูปแบบที่มาของภาษีระหว่างประเทศ ทั้งในระดับของมาตรการฝ่ายเดียว การทำข้อตกลงระดับทวิภาคี การทำข้อตกลงระดับพหุภาคี และกฎหมายระหว่างประเทศอันเกิดจากองค์การเหนือรัฐ รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบที่ตามมาภายหลังหรือหากมีการบังคับใช้มาตรการเหล่านี้ต่อประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่ประเทศไทยควรจะต้องคำนึงถึงและพิจารณาหากจะได้มีการตกลงหรือรับเอามาตรการที่มีลักษณะเป็นการกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีดังกล่าวมาใช้ จากการศึกษาพบว่าลักษณะของการกัดกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีปรากฏมีอยู่ในมาตรการต่างๆที่ออกโดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการทำความตกลงหรือกำลังจะทำความตกลงเพื่อนำเอามาตรการทางภาษีระหว่างประเทศเหล่านี้มาบังคับใช้บ้างแล้วในบางกรณี ซึ่งก็ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและลบ และเนื่องจากมาตรการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเสี่ยงได้ตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน หากประเทศไทยจำที่จะต้องรับหรือนำเอามาตรการและข้อตกลงระหว่างประเทศที่กัดกร่อนไปซึ่ง อำนาจในการจัดเก็บภาษีของประเทศมาใช้ ก็ควรจะต้องพิจารณาว่าประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการดังกล่าวนั้นคุ้มค่ากับผลกระทบที่จะตามมา


ปัญหาทางกฎหมายของการเลิกกิจการโดยอาศัยสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรกรณีการโอนกิจการทั้งหมด, ศิตายุ ตัญตระกูล Jan 2019

ปัญหาทางกฎหมายของการเลิกกิจการโดยอาศัยสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรกรณีการโอนกิจการทั้งหมด, ศิตายุ ตัญตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปรับปรุงโครงสร้างกิจการอาจกระทำได้โดยวิธีการซื้อขายหุ้น การซื้อขายทรัพย์สิน การควบกิจการการโอนกิจการบางส่วน หรือการโอนกิจการทั้งหมด ซึ่งแต่ละวิธีการมีภาระภาษีในธุรกรรมที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจเลือกวิธีการวิธีใดวิธีหนึ่งย่อมได้แก่ ภาระภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนการโอนกิจการทั้งหมดระหว่างบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยการออกกฎหมายและกฎเกณฑ์เงื่อนไขในการยกเว้นภาษีอากรสำหรับการโอนกิจการทั้งหมด ทั้งในระดับบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้โอนกิจการ และผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลผู้โอนกิจการ อย่างไรก็ตาม กลับพบว่ากฎหมายและกฎกณฑ์เงื่อนไขในการยกเว้นภาษีอากรสำหรับการโอนกิจการทั้งหมดดังกล่าว ยังมีประเด็นปัญหาทางกฎหมายอันเนื่องมาจากการกำหนดเงื่อนไขของสิทธิประโยชน์ทางภาษีไว้กับการเลิกกิจการและการชำระบัญชี จนก่อให้เกิดประเด็นพิพาทที่เป็นความเสียหายทั้งต่อผู้เสียภาษีเองและต่อหน่วยงานจัดเก็บภาษีของรัฐ เอกัตศึกษาฉบับนี้เป็นการรวบรวมและสรุปหลักกฎหมาย ชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหา และวิเคราะห์ปัญหาของการเลิกกิจการโดยอาศัยสิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีการโอนกิจการทั้งหมด รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว


ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีธุรกิจประกัน, สุวคนธ์ ภมรสุวรรณ Jan 2019

ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีธุรกิจประกัน, สุวคนธ์ ภมรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจประกันในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจากธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เช่น ชื่อ นามสกุลอายุ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) เช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลการนับถือศาสนา ข้อมูลพฤติกรรมทางเพศ โดยเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้แล้วจะส่งผลให้ โดยหลักแล้ว การที่บริษัทประกันภัยจะดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลกล่าวคือ การเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) ของลูกค้านั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าผู้เป็นเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้งซึ่งในทางปฏิบัติของการดำเนินธุรกิจประกันในทุกขั้นตอนนั้นจะต้องมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้เอาประกันตั้งแต่ขั้นตอนแรกไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ก่อนการทำสัญญาประกันภัย ระหว่างอายุของสัญญาประกันภัย หรือแม้กระทั่งภายหลังจากสัญญา ประกันภัยสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นภายหลังจากการให้ความยินยอมแล้ว เจ้าของข้อมูลยังมีสิทธิที่จะถอน การให้ความยินยอมได้ โดยเมื่อเจ้าของข้อมูลได้ถอนความยินยอมแล้วบริษัทประกันจะไม่สามารถประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลต่อไปได้ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้บริษัทประกันอาจจะได้รับผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของ ธุรกิจประกันภัยตามสัญญาประกันภัยได้ ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีอาจจะมีต่อธุรกิจประกัน เพื่อที่จะวิเคราะห์และเสนอฐานทางกฎหมาย (lawful basis) ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) รวมถึงเสนอแนวทางในการขอความยินยอม เพื่อเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบคคลที่มีความอ่อนไหวจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย


การศึกษาความเป็นไปได้ตามกฎหมายในการใช้โครงข่าย Blockchain กับระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์, กิติภูมิ ฉนานุกูล Jan 2019

การศึกษาความเป็นไปได้ตามกฎหมายในการใช้โครงข่าย Blockchain กับระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์, กิติภูมิ ฉนานุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


แนวทางการกำหนดมาตรการภาษีอากรเพื่อลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในประเทศไทย, ชิษณุพงศ์ ธำรงหวัง Jan 2019

แนวทางการกำหนดมาตรการภาษีอากรเพื่อลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในประเทศไทย, ชิษณุพงศ์ ธำรงหวัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่นานาประเทศให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมทางอากาศ ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะมูลฝอยหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดในยุคปัจจุบันจนองค์กรสหประชาชาติให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเลอันเกิดจากขยะพลาสติก (Plastic Waste) ที่ประชากรมีการอุปโภคพลาสติกมานานกว่าครึ่งศตวรรษ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมอย่างถุงพลาสติก จนทำให้องค์กรสหประชาชาติกล่าวว่าภายในปี พ.ศ. 2593 จะมีขยะพลาสติกมากกว่าสัตว์ทะเล ส่งผลให้นานาประเทศต้องออกมาตรการทางภาษีอากรหรือมาตรการอื่นเพื่อมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอุปโภคถุงพลาสติกตลอดจนพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (Single Use Plastics) รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้จึงเป็นการศึกษาวิจัยถึงมาตรการทางภาษีอากรของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการบังคับใช้เพื่อลดการอุปโภคผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งตลอดจนมาตรการอื่น ๆ เพื่อนำมากำหนด


มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย, ธนนันท์ พืชฟู Jan 2019

มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย, ธนนันท์ พืชฟู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการตัดรายจ่ายทางธุรกิจกับรายจ่ายส่วนตัวที่มีลักษณะผสมของผู้เสียภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดา, จักรพันธ์ ตันทะรา Jan 2018

ปัญหาการตัดรายจ่ายทางธุรกิจกับรายจ่ายส่วนตัวที่มีลักษณะผสมของผู้เสียภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดา, จักรพันธ์ ตันทะรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันมีผู้เสียภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดาจำนวนมากที่มีเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40 (6) (7) และ (8) โดยในการหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องนั้น ผู้เสียภาษีสามารถเลือกที่จะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา กล่าวคือ หักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้หรือเลือกที่จะหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรก็ได้ ซึ่งถ้าผู้เสียภาษีเลือกที่จะหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ได้กำหนดให้ผู้เสียภาษีนำมาตรา 65 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2540 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีที่บุคคลธรรมดาประกอบการค้าหรือธุรกิจมักจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะผสมระหว่างค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะส่วนตัวกับค่าใช้จ่ายทางธุรกิจขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้บ้านทำเป็นสำนักงาน ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเดินทางไปประกอบการค้าหรือธุรกิจ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการนำรถยนต์ส่วนตัวเข้ามาใช้ประกอบการค้าหรือธุรกิจ ค่าความบันเทิงทางธุรกิจ และค่าใช้จ่ายของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เป็นต้น แต่บทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิและมาตรา 65 ตรี เป็นบทบัญญัติที่กำหนดวิธีการคำนวณกำไรสุทธิของผู้เสียภาษีที่เป็นนิติบุคคลและรายจ่ายต้องห้ามที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถที่จะนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติที่รองรับการปันส่วนค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะผสมระหว่างค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะส่วนตัวกับค่าใช้จ่ายทางธุรกิจไว้แต่อย่างใด จึงก่อให้เกิดปัญหาการปันส่วนค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะผสมดังกล่าวขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวจึงต้องวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยการพิจารณาหลักเกณฑ์การปันส่วนค่าใช้จ่ายตามกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง และหลักเกณฑ์การปันส่วนรายจ่ายที่มีลักษณะผสมระหว่างรายจ่ายส่วนตัวกับราจ่ายทางธุรกิจของต่างประเทศ เพื่อให้ได้มีการกำหนดบทบัญญัติที่รองรับการปันส่วนรายจ่ายที่มีลักษณะผสมดังกล่าว


การใช้มาตรการบรรเทาภาระภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำซ้อนให้กับเกษตรกรรายย่อย, ธนันท์เศรษฐ์ ศรีวิชัย Jan 2017

การใช้มาตรการบรรเทาภาระภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำซ้อนให้กับเกษตรกรรายย่อย, ธนันท์เศรษฐ์ ศรีวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาแนวทางและหลักการของมาตรการบรรเทาภาระภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำซ้อนของเกษตรกรรายย่อยในกลุ่มสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิก เพื่อนำมาปรับใช้กับปัญหาการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มของเกษตรกรในประเทศไทย ตามมาตรา 81 (1) (ก) และ (ข) แห่งประมวลรัษฎากร โดยในปัจจุบัน สหภาพยุโรป (European Union) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีการประกอบกิจการเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก ได้กำหนดมาตรการเงินส่วนเพิ่มอัตราคงที่สำหรับเกษตรกร (The Flat Rate Scheme For Farmer) ซึ่งเป็นมาตรการเฉพาะทางภาษี (Special-Scheme) ไว้ในกฎหมาย The VAT Directive ของสหภาพยุโรป เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกฎหมายภายในของตนเองได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการศึกษามาตรการบรรเทาภาระภาษีดังกล่าว เพื่อหาแนวทางแก้ไขและบรรเทาปัญหาภาระภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำซ้อนของเกษตรกรรายย่อยในรูปแบบอื่นเพื่อนำมาเป็นแนวทางประกอบการปรับปรุงกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยต่อไป จากการศึกษาพบว่ามาตรการเงินส่วนเพิ่มอัตราคงที่สำหรับเกษตรกรของสหภาพยุโรป ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศเยอรมนี นั้นมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นรูปแบบหรือทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาภาวะการเสียภาษีซ้ำซ้อนและการผลักภาระในรูปแบบของภาษีซื้อแอบแฝงของเกษตรกรรายย่อยได้ เนื่องจากมาตรการดังกล่าวถือเป็นการชดเชยภาษีซื้อในทอดก่อนหน้าที่เกษตรกรไม่สามารถเครดิตภาษีซื้อคืนได้ในรูปแบบของเงินส่วนเพิ่มอัตราคงที่ (Flat Rate Addition) ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระทางภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกรที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อขายสินค้าเกษตร อีกทั้งยังเป็นการลดภาระในการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการขอคืนภาษีซื้อ หรือจัดทำบัญชีเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการจัดเก็บภาษี ซึ่งจะก่อให้เกิดต้นทุนในการบริหารและควบคุมกิจการ (Compliance Cost) เพียงแต่เกษตรกรจะต้องออกใบกำกับภาษีเงินส่วนเพิ่มอัตราคงที่เท่านั้น นอกจากนี้ผู้ซื้อและลูกค้าของเกษตรกรรายย่อยสามารถนำใบกำกับภาษีเงินส่วนเพิ่มอัตราคงที่ดังกล่าวมาขอคืนเงินส่วนเพิ่มอัตราคงที่ที่ตนได้เสียให้แก่เกษตรกรรายย่อยได้ อันเป็นการส่งผลให้เกิดความสมดุลและเสริมสร้างระบบภาษีมูลค่าเพิ่มในภาพรวมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


มาตรการทางกฎหมายในการกำกับการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทประกันภัยกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง, นครินทร์ บุตรภักดีธรรม Jan 2017

มาตรการทางกฎหมายในการกำกับการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทประกันภัยกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง, นครินทร์ บุตรภักดีธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาของการทำธุรกรรมที่ทำระหว่างบริษัทประกันภัยกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎี และมาตรการทางกฎหมายในการกำกับของประเทศไทยและต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่าการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทประกันภัยกับบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอิทธิพลในการตัดสินใจหรือมีอำนาจในการควบคุมกิจการของบริษัท สามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการผ่องถ่ายผลประโยชน์ออกจากบริษัทประกันภัย เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตนของผู้มีอำนาจในการควบคุมกิจการ
อย่างไรก็ตาม มาตรการทางกฎหมายของไทยในการกำกับดูแลการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทประกันภัยกับบุคคลที่เกี่ยวข้องยังไม่เพียงพอ เนื่องจากยังไม่กำกับครอบคลุมประเภทของธุรกรรมซึ่งมีนัยสำคัญทุกประเภท ไม่ครอบคลุมบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจหรือมีอำนาจในการควบคุมกิจการที่มีนัยสำคัญทุกประเภทบุคคล ไม่มีกฎหมายกำหนดมาตรฐานเงื่อนไขข้อตกลงและราคาของธุรกรรมที่ทำกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง และไม่มีกฎหมายกำหนดให้บริษัทประกันภัยมีหน้าที่รายงานความสัมพันธ์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องและรายงานการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีนัยสำคัญต่อฐานะทางการเงินให้หน่วยงานกำกับดูแลทราบ ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลไม่ทราบข้อมูลการทำธุรกรรมและไม่สามารถเข้ากำกับได้ในเวลาที่เหมาะสม
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนะว่า ควรกำหนดหลักเกณฑ์การกำกับการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทประกันภัยกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไว้ในกฎหมายประกันภัยเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยกำหนดนิยามของธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมความสัมพันธ์ของการมีอิทธิพลในการตัดสินใจหรือมีอำนาจในควบคุมกิจการ และให้ครอบคลุมธุรกรรมที่มีนัยสำคัญทุกประเภท โดยพิจารณาความมีนัยสำคัญทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ รวมทั้ง กำหนดนิยามบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากลักษณะการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจหรือมีอำนาจในควบคุมกิจการ นอกจากนี้ ควรกำหนดมาตรฐานของเงื่อนไขข้อตกลงและราคาของธุรกรรม ให้มีระดับไม่ต่ำกว่าเงื่อนไขข้อตกลงและราคาตามตลาด โดยไม่ต่ำกว่ากรณีที่บริษัททำธุรกรรมในลักษณะเดียวกันกับบุคคลที่ไม่ใช่บุคคลที่เกี่ยวข้อง และควรกำหนดให้มีบริษัทประกันภัยมีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยโดยตรง


ปัญหาเกี่ยวกับการโอนสิทธิในรายได้ในอนาคต ศึกษากรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน, อัญรินทร์ จิระตระกูลวัชร์ Jan 2017

ปัญหาเกี่ยวกับการโอนสิทธิในรายได้ในอนาคต ศึกษากรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน, อัญรินทร์ จิระตระกูลวัชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเป็นเครื่องมือทางการเงินในการระดมทุนรูปแบบหนึ่งของผู้ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานสามารถลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานได้หลายประเภท แต่ส่วนใหญ่จะเน้นลงทุนในสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตหรือสิทธิในรายได้ในอนาคต โดยการเข้าทำสัญญาโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตกับผู้ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเมื่อพิจารณาลักษณะ รูปแบบและเงื่อนไขของการเข้าทำสัญญาโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคต และสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วพบว่า การโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตดังกล่าวมีลักษณะเป็นธุรกรรมที่ค่อนข้างซับซ้อน จึงเกิดปัญหาว่า สัญญาโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตควรจะเป็นธุรกรรมประเภทใด เข้าลักษณะเป็นสัญญาซื้อขาย หรือสัญญากู้ยืมเงิน หรือธุรกรรมอื่นใด ซึ่งลักษณะที่ไม่ชัดเจนของสัญญาโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บภาษีอากรว่า ผู้ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐานและกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานควรจะมีภาระภาษีในธุรกรรมดังกล่าวอย่างไร และเนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรหรือกฎหมายลำดับรองกำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการจัดเก็บภาษีอากรสำหรับธุรกรรมการโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีการนำบทบัญญัติซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายภาษีอากรมาปรับใช้ ซึ่งการนำมาปรับใช้ดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาค่อนข้างมากในทางปฏิบัติ โดยมีการตีความธุรกรรมการโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตในลักษณะที่แตกต่างกันไป ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมและความไม่แน่นอนในการจัดเก็บภาษีซึ่งขัดต่อหลักการบริหารภาษีอากรที่ดี ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาเพื่อเสนอแนะให้กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการจัดเก็บภาษีอากรสำหรับธุรกรรมการโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคต กรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเป็นรูปแบบธุรกรรมทางการเงิน (Financing) ให้ชัดเจน