Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nuclear Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2018

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Nuclear Engineering

Synthesis Of High Efficiency Amidoxime Polymer Adsorbents For Uranium Extraction From Seawater By Radiation-Induced Polymerization, Wijittra Wongjaikham Jan 2018

Synthesis Of High Efficiency Amidoxime Polymer Adsorbents For Uranium Extraction From Seawater By Radiation-Induced Polymerization, Wijittra Wongjaikham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study synthesized amidoxime polymer gel for uranium extraction from seawater through a polymerization process with gamma ray or UV-C radiation. The synthesis started with a mixture of acrylonitrile (AN) and methacrylic acid (MAA) monomers together with methylene bisacrylamide as a crosslinker and hydrogen peroxide in the case of UV radiation. The mixture was irradiated with gamma ray at various doses or UV-C for various durations. The resulting polymer gel was ground into fine particles and immersed in a hydroxylamine hydrochloride solution for 90 minutes in order to convert the chemical functional group from the cyano group into the amidoxime …


การพัฒนาเทคนิคเอกซเรย์คอมพิวเตดโทโมกราฟีโดยการบันทึกภาพบนฉากเรืองรังสีด้วยกล้องดิจิตอล, พณพณ สาวิโรจน์ Jan 2018

การพัฒนาเทคนิคเอกซเรย์คอมพิวเตดโทโมกราฟีโดยการบันทึกภาพบนฉากเรืองรังสีด้วยกล้องดิจิตอล, พณพณ สาวิโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการพัฒนาระบบถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์โดยใช้ฉากเรืองรังสีและพัฒนาเทคนิคการสร้างภาพโทโมกราฟีของชิ้นงาน ระบบบันทึกภาพประกอบด้วยฉากเรืองรังสี กล้องถ่ายภาพดิจิตอล และแท่นวางชิ้นงานที่หมุนได้ การหมุนของแท่นวางชิ้นงานถูกควบคุมโดยสเตปปิงมอเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เขียนด้วย Visual basic 6.0 ในขณะที่การตั้งค่าและการถ่ายภาพของกล้องถ่ายภาพดิจิตอลถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านทางสายยูเอสบี ได้ทำการศึกษาผลของการตั้งค่าต่างๆ ของกล้องถ่ายภาพและของเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ที่มีต่อคุณภาพของภาพที่ได้ จากนั้นได้ทดสอบชิ้นงาน 6 ชิ้นที่มีองค์ประกอบและลักษณะต่างกัน โดยทำการถ่ายภาพแต่ละชิ้นงานทุกๆ 1.8 องศา รวมทั้งหมด 100 ภาพ เมื่อนำไปสร้างภาพซีทีแล้วพบว่ามีคุณภาพน่าพอใจมาก เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ และสร้างภาพแต่ละตัวอย่างรวมทั้งสิ้นประมาณ 7 นาที อย่างไรก็ตามสำหรับตัวอย่างที่มีความหนามากและมีความหนาแน่นสูงอาจต้องปรับเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของกล้องถ่ายภาพและของเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ รวมทั้งชนิดของฉากเรืองรังสี งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นการนำระบบและเทคนิคที่พัฒนาขึ้นไปใช้งานในการตรวจสอบชิ้นงานในอนาคต


การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วโดยใช้เครื่องไดอิเล็คทริคแบร์ริเออร์ดิสชาร์ตพลาสมาแบบหัวฉีดละออง, กุลนันทน์ ภูประสิทธิ์ Jan 2018

การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วโดยใช้เครื่องไดอิเล็คทริคแบร์ริเออร์ดิสชาร์ตพลาสมาแบบหัวฉีดละออง, กุลนันทน์ ภูประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ได้ศึกษาผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ไดอิเล็คทริคแบร์ริเออร์ดิสชาร์ตพลาสมาแบบหัวฉีดละออง โดยทำการแบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นการสร้างระบบจ่ายไฟเพื่อก่อให้เกิดพลาสมา โดยสามารถจ่ายแรงดันไฟฟ้าได้สูงถึง 15 kV จ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงถึง 100 mA และปรับความถี่ได้ในช่วง 20 - 20,000 Hz โดยระบบประกอบด้วยเครื่องกำเนิดสัญญาณ (Signal generator), เครื่องขยายสัญญาณ (Signal amplifier), หม้อแปลงขึ้น (Step-up transformer) และหม้อแปลงนีออนไลท์ (Neon sign transformer) 5 ตัวต่อขนานกัน ซึ่งระบบจ่ายไฟที่สร้างขึ้นนี้จะสามารถก่อให้เกิดพลาสมาที่ความดันบรรยากาศ และส่วนที่สองเป็นการศึกษาการนำระบบจ่ายไฟที่สร้างขึ้นเพื่อก่อให้เกิดพลาสมาแบบไดอิเล็คทริค โดยนำมาทำปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน (Transesterification) โดยปรับอัตราส่วน เมทานอล:น้ำมันพืช ให้อยู่ในช่วง 3:1 - 10:1 โดยโมล ใช้น้ำมันพืช 100 ml ที่อุณหภูมิห้อง ทำการหมุนเวียนระบบด้วยปั๊มรีดท่อ (Peristaltic pump) ระยะห่างระหว่างขั้วแคโทด (Cathode) และแอโนด (Anode) 3 มิลลิเมตร และฉีดพ่นสารผสมโดยใช้หัวฉีดละออง (Atomizing nozzle) เป็นเวลา 2 ชั่วโมงพบว่าค่าผลผลิตไบโอดีเซล (Biodiesel yield) น้อยกว่า 1 % ของทั้ง 3 อัตราส่วน คืออัตราส่วน 3:1, 6:1 และ 10:1 ต่อโมล อีกทั้งไม่เกิดกลีเซอรอลในระบบ เนื่องจากสารผสมเมื่อสัมผัสกับแผ่นขนานระหว่างขั้วจะประพฤติตัวเป็นฉนวนทำให้พลาสมาที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยลงจึงทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้น้อย แต่ระบบจ่ายไฟที่สร้างขึ้นนี้สามารถก่อให้เกิดพลาสมาได้จริง