Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Electrical and Computer Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2019

Articles 1 - 30 of 57

Full-Text Articles in Electrical and Computer Engineering

ศึกษาเปรียบเทียบระบบน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างแบบแผ่นเรียบและแบบหลอดแก้วสุญญากาศ, อภิวัฒน์ สุขาภิรมย์ Jan 2019

ศึกษาเปรียบเทียบระบบน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างแบบแผ่นเรียบและแบบหลอดแก้วสุญญากาศ, อภิวัฒน์ สุขาภิรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องนี้ได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ ระหว่างแบบแผ่นเรียบและแบบหลอดแก้วสุญญากาศ จากการเก็บข้อมูลจริงเป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน โดยวิเคราะห์จากปัจจัยที่อาจจะมีผลต่ออุณหภูมิของน้ำ เช่น ความเข้มแสงอาทิตย์ ความชื้นในอากาศ อุณหภูมิอากาศ น้ำเข้า-ออกแผงรับความร้อน พบว่าสภาพอากาศมีผลต่อการผลิตน้ำร้อนมากที่สุด โดยในวันที่แสงแดดดีจะทำความร้อนได้สูงแต่ในวันที่ฝนตกจะไม่สามารถทำความร้อนได้ และแผงทำความร้อนทั้งสองแบบมีช่วงการทำความร้อนที่ไม่เท่ากัน โดยที่แผงทำความร้อนแบบแผ่นเรียบจะมีช่วงเวลาที่สามารถเพิ่มอุณหภูมิของน้ำได้แคบกว่าแบบหลอดแก้วประมาณ 1.5-2 ชั่วโมงต่อวัน แต่ช่วงเวลา09.00-15.00 แผงแบบแผ่นเรียบสามารถทำความร้อนได้สูงกว่าแบบหลอดแก้วสุญญากาศ ทั้งนี้ประสิทธิภาพรวมตลอดวันของแผงทั้งสองชนิดมันจะขึ้นอยู่กับปริมาณแสงแดดแต่ละช่วงเวลาของวันนั้นๆ โดยปริมาณแสงแดดมากน้อยไม่เท่ากันแต่ละช่วงเวลา จะส่งผลต่อความได้เปรียบเสียเปรียบของแผงทำน้ำร้อนทั้งสองขนิด นอกจากนี้ยังพบว่าแผงแบบแผ่นเรียบมีอัตราการสูญเสียความร้อนที่สูงกว่าแบบหลอดแก้วสุญญากาศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอณุหภูมิบริเวณที่ทำการทดลองโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน โดยปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้แผงทั้งสองชนิดได้มีผลได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันไป ทางด้านจุดคุ้มทุนพบว่า ทั้งสองระบบมีจุดคืนทุนไม่ต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับราคาขายในท้องตลาด


การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์โรงไฟฟ้าพลังงานลม, ปรีชญา อุ่นใจ Jan 2019

การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์โรงไฟฟ้าพลังงานลม, ปรีชญา อุ่นใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ภายในปี พ.ศ. 2563 มีแผนที่จะเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานลมรวม 270 เมกกะวัตต์ โดยใช้ราคารับซื้อไฟฟ้าอ้างอิงเฉลี่ยไม่สูงกว่า 2.44 บาทต่อหน่วย การศึกษานี้จึงได้วิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของโรงไฟฟ้าพลังงานลมเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดระบบเงินเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) สำหรับการวิเคราห์ต้นทุนและผลตอบแทนโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาดเล็กในประเทศไทย (90 เมกกะวัตต์) ได้ดำเนินการศึกษาทั้งหมด 3 โครงการ ภาคกลางที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดชัยภูมิ และภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ในเวลา 1 ปีคือ 179.75 GWh, 227.06 GWh และ 182.91 GWh โดยใช้เงินลงทุน 6,026 ล้านบาทต่อโครงการ ผลจากการวิเคราะห์เงินลงทุนและผลตอบแทนของโครงการที่แบ่งออกเป็น 3 กรณี ในกรณีฐาน คิดโดยใช้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่ 2.44 บาท กรณีที่ 2 คิดโดยใช้กรณีฐานรวมกับผลประโยชน์ที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ (Intangible Benefit) และกรณีที่ 3 คิดโดยใช้กรณีฐานรวมกับ Adder คือได้เงินสนับสนุน 3.5 บาท เป็นระยะเวลา 10 ปี ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในกรณีที่ 1 ของทั้ง 3 โครงการไม่สามารถที่จะดำเนินโครงการได้ เนื่องจากค่า FIRR น้อยกว่า i (6%) และ B/C Ratio มีค่าน้อยกว่า 1 เมื่อคิดในกรณีที่ 2 ที่รวม intangible benefit และในกรณีที่ 3 ที่คิดรวม Adder ทำให้โครงการมีความคุ้มค่าที่นักลงทุนจะลงทุน ซึ่งมี 2 โครงการในจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดชัยภูมิ ที่มีค่า B/C Ratio ในกรณีที่คิดรวม Intangible Benefit มีค่ามากกว่า B/C Ratio ในกรณีที่คิดรวม Adder หมายความว่าประโยชนฺที่รัฐหรือชุมชนจะได้รับมีมากกว่าที่นักลงทุนจะได้รับ …


การประเมินทางเศรษฐศาสตร์และประสิทธิภาพหลังการติดตั้งระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา : กรณีศึกษาห้างสรรพสินค้า, เขมณัฏฐ์ พรหมมินทร์ Jan 2019

การประเมินทางเศรษฐศาสตร์และประสิทธิภาพหลังการติดตั้งระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา : กรณีศึกษาห้างสรรพสินค้า, เขมณัฏฐ์ พรหมมินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประเมินความคุ้มค่าของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา โดยทั่วไปประเมินจากข้อมูลที่ได้จากการจำลองระบบโดยโปรแกรม PVsyst ซึ่งใช้คำนวนและประมาณปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่จะผลิตได้ก่อนการติดตั้งระบบ งานวิจัยนี้ทำการประเมินความคุ้มค่าจากข้อมูลการใช้งานเป็นเวลา 1 ปีของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบ on grid ที่ติดตั้งจริงบนหลังคา และใช้งานเพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 998.4kWp จากการศึกษาข้อมูลการชี้ให้เห็นว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคานั้นสามารถใช้ทดแทนความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่ห้างสรรสินค้าต้องการได้บางส่วน ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงมากกว่าผลผลิตที่คำนวนได้จากการจำลองระบบโดยโปรแกรม PVsyst เนื่องจากมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมร่วมกับค่ารังสีอาทิตย์ที่ตรวจวัดได้ตลอดปีมากกว่าการคาดการณ์ พลังงานที่มากกว่าการคำนวนดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐศาสตร์จากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงนั้นดีกว่าการประเมินก่อนการลงทุน และต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยพลังงานเท่ากับ 1.29 บาทต่อ 1kWh อย่างไรก็ตามระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ยังไม่สามารถผลิตไฟฟ้าที่พร้อมจ่ายได้ตลอดเวลา เนื่องจากพลังงานที่ผลิตได้จะแปรผันตามค่ารังสีอาทิตย์ ณ เวลานั้น จึงเหมาะเป็นระบบที่ใช้เสริมเพื่อช่วยประหยัดรายจ่ายด้านพลังงานเท่านั้น


การประเมินประสิทธิภาพพลังงานหลังการเข้าใช้งานของอาคารประหยัดพลังงานที่ได้รับรางวัลตามเกณฑ์ Leed 2009, ยศยา ภัทรภูมีมิตร Jan 2019

การประเมินประสิทธิภาพพลังงานหลังการเข้าใช้งานของอาคารประหยัดพลังงานที่ได้รับรางวัลตามเกณฑ์ Leed 2009, ยศยา ภัทรภูมีมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการขอการรับรองการเป็นอาคารประหยัดพลังงานจากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม มีตั้งแต่การทำตามข้อกำหนดขององค์กรในขั้นตอนการออกแบบ มีการประเมินว่าอาคารที่ออกแบบมีค่าการประหยัดพลังงานเท่าไหร่ รวมถึงการตรวจสอบวัสดุและทดสอบระบบในช่วงการก่อสร้างแล้วเสร็จ ว่าอาคารยังสามารถประหยัดพลังงานได้ตามที่องค์กรรับรองไว้หรือไม่ แต่ยังไม่มีการตรวจสอบไปถึงการประเมินค่าการประหยัดพลังงานของอาคารจากโปรแกรมคำนวณตั้งต้นว่ามีความคลาดเคลื่อนมากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับค่าการใช้พลังงานที่เกิดขึ้นจริงของอาคารหลังการเข้าอยู่อาศัย งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาหาตัวแปรความแตกต่างและเปรียบเทียบค่าการใช้พลังงานรวมของอาคารระหว่างการประเมินค่าการใช้พลังงานของอาคารโดย LEED ซึ่งใช้โปแกรม Energy Plus ในการคำนวณ เปรียบเทียบกับการคำนวณโดยโปรแกรม BEC และค่าการใช้พลังงานจริงของอาคารจากใบเสร็จชำระเงินค่าไฟฟ้า พบว่าตัวแปรที่มีผลต่อการคำนวณค่าการใช้พลังงานของอาคารระหว่างโปรแกรม Energy Plus และโปรแกรม BEC คือการระบุพื้นที่ใช้งานของอาคารที่ไม่เท่ากันและตัวแปรที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ของโปรแกรม BEC ที่ถูกกำหนดไว้ตามการเลือกประเภทของอาคารคือ ชั่วโมงการใช้งาน จำนวนผู้ใช้อาคาร อัตราการระบายอากาศ และค่าความต้านทานความร้อนของฟิล์มอากาศด้านนอก ทั้งยังมีส่วนที่โปรแกรม BEC ไม่สามารถระบุค่าได้เทียบเท่ากับโปแกรม Energy Plus คือการกำหนดสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารและสภาพภูมิอากาศ ต่อมาเมื่อทำการพิจารณาค่าการใช้พลังงานรวมของอาคาร พบว่าการทำนายค่าการใช้พลังงานรวมของอาคารจาก LEED มีค่าความแตกต่างจากค่าการใช้พลังงานจริงมากกว่าการคำนวณจากโปรแกรม BEC อาจเกิดจากค่าตัวเลขของตัวแปรที่ใช้ในการป้อนเข้ามีความคลาดเคลื่อนไปจากค่าการใช้งานจริง


Automatic Method For Avian Red Blood Cell And Heterophil Counting Using Iterative Thresholding, Tanapat Autaiem Jan 2019

Automatic Method For Avian Red Blood Cell And Heterophil Counting Using Iterative Thresholding, Tanapat Autaiem

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand is one of the top broiler exporters. Red blood cell (RBC) and white blood cell (WBC) counting is one of the most basic methods for health screening process. Because the mammalian and avian blood is different, the mammalian blood analyzing techniques cannot be used, so the counting is done manually. This thesis proposes an automatic counting method for avian RBCs and heterophils, the most common type of avian WBC. The detection of avian RBC is challenging because of elliptic nucleated cell, the possibility of overlapped cells, and various staining. Otsu’s multiple thresholding method is used to automatically extract nuclei …


Application Of Battery Energy Storage System For Frequency Regulation Of Mae Hong Son Microgrid, Arnon Teawnarong Jan 2019

Application Of Battery Energy Storage System For Frequency Regulation Of Mae Hong Son Microgrid, Arnon Teawnarong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Mae Hong Son microgrid in an isolated mode has low inertia. Therefore, when a disturbance occurs, the system frequency is subjected to a large deviation, which may lead to a blackout. The installation of a battery energy storage system (BESS) will improve the frequency response performance of the microgrid system in both islanding and grid-connected modes. The objective of this thesis is to investigate and compare BESS control methods for providing primary and secondary frequency response. The results show that the control of BESS for providing primary frequency response using virtual droop and virtual inertia approaches can reduce the frequency …


การศึกษากระแสรั่วของกับดักเสิร์จที่มีแรงดันพิกัด 21 Kv, จีระวัฒน์ นาคเวช Jan 2019

การศึกษากระแสรั่วของกับดักเสิร์จที่มีแรงดันพิกัด 21 Kv, จีระวัฒน์ นาคเวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กับดักเสิร์จเป็นอุปกรณ์ป้องกันในระบบไฟฟ้าที่สำคัญ ทำหน้าที่จำกัดแรงดันเกินเสิร์จที่เกิดขึ้นจากฟ้าผ่าหรือการสวิตชิงเพื่อป้องกันอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบไฟฟ้า เมื่อมีการตรวจรับหรือก่อนนำกับดักเสิร์จไปติดตั้งใช้งานจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบสภาพของกับดักเสิร์จ หรือเมื่อติดตั้งใช้งานไประยะหนึ่งกับดักเสิร์จอาจเริ่มเกิดการเสื่อมสภาพขึ้น จำเป็นจะต้องมีการประเมินสภาพกับดักเสิร์จก่อนที่จะเกิดความเสียหาย วิธีการหนึ่งซึ่งมีความถูกต้องสำหรับการประเมินสภาพของกับดักเสิร์จคือการพิจารณาค่ากระแสรั่วเชิงความต้านทาน นอกจากนี้อุณหภูมิของกับดักเสิร์จขณะติดตั้งใช้งานก็เป็นอีกดัชนีที่สามารถบ่งบอกถึงการเสื่อมสภาพของกับดักเสิร์จได้เช่นกัน แต่จำเป็นจะต้องทราบความสัมพันธ์ของดัชนีเหล่านี้กับสภาพของกับดักเสิร์จ วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ที่จะตรวจวัดกระแสรั่วและอุณหภูมิของกับดักเสิร์จแรงดันพิกัด 21 kV ทั้งที่ยังไม่ได้ติดตั้งใช้งาน ที่ผ่านการใช้ติดตั้งใช้งานมาเป็นระยะเวลาที่หลากหลาย และกับดักเสิร์จที่เสื่อมสภาพ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาวิธีการ พร้อมเกณฑ์ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินสภาพของกับดักเสิร์จ ซึ่งจะเป็นประโชน์ต่อการปฏิบัติงานบำรุงรักษา และช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับระบบจำหน่ายไฟฟ้า


การศึกษาผลกระทบของแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนชนิดอินเวอร์เตอร์ต่อกระแสลัดวงจรในระบบส่งกำลังไฟฟ้า, ธรรมชาติ เพ็ชรนพรัตน์ Jan 2019

การศึกษาผลกระทบของแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนชนิดอินเวอร์เตอร์ต่อกระแสลัดวงจรในระบบส่งกำลังไฟฟ้า, ธรรมชาติ เพ็ชรนพรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้จะพิจารณาระบบป้องกันในระบบส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ระดับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 22 kV ถึง 500 kV ที่ถูกติดตั้งอยู่ภายในสถานีไฟฟ้าแรงสูงทั้งหมด 252 สถานี มีประเด็นหลักที่ศึกษา 3 ประเด็น คือ 1) ศึกษาผลกระทบจากกระแสผิดพร่องที่ลดลงต่อการปรับตั้งค่าระบบป้องกัน 2) ศึกษาผลกระทบจากอินเวอร์เตอร์ในโหมดควบคุมกระแสไฟฟ้าต่อขนาดแรงดันไฟฟ้าลำดับลบ และนำเสนอการใช้อินเวอร์เตอร์ในโหมดควบคุมแรงดันไฟฟ้าเพื่อลดขนาดแรงดันไฟฟ้าลำดับลบเมื่อเกิดความผิดพร่องแบบไม่สมมาตร และ 3) ศึกษาความเป็นไปได้ในการชดเชยกระแสผิดพร่องด้วยการปรับเพิ่มการผลิตสำรองพร้อมจ่ายและ/หรือการใช้ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ ผลการจำลองการทำงานด้วยโปรแกรม DIgSILENT Powerfactory ตามมาตรฐาน IEC 60909 แสดงถึงผลการศึกษาที่มีต่อ 3 ประเด็นข้างต้นดังนี้ 1) ในกรณีที่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์และพลังงานลมในสัดส่วน 36% ของกำลังผลิตทั้งหมด จะส่งผลให้ระบบป้องกันภายในสถานีไฟฟ้าแรงสูงจำนวน 26 สถานี ตรวจจับกระแสผิดพร่องลดลงมากกว่า 10% ของค่าที่ปรับตั้งไว้ ซึ่งมากกว่าย่านที่รับได้ตามแนวปฏิบัติของ กฟผ. 2) อินเวอร์เตอร์ในโหมดควบคุมแรงดันไฟฟ้าสามารถช่วยชดเชยกระแสผิดพร่องในลำดับบวกและลำดับลบได้อย่างเหมาะสม ซึ่งช่วยทำให้แรงดันไฟฟ้าลำดับลบมีขนาดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับในกรณีที่ใช้อินเวอร์เตอร์ในโหมดควบคุมกระแสไฟฟ้า และ 3) การปรับเพิ่มกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายและการใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่สามารถช่วยเพิ่มกระแสผิดพร่องภายในระบบส่งให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ของค่าปรับตั้งอุปกรณ์ป้องกัน


ฟลักซ์เทียมและตัวสังเกตที่มีเสถียรภาพในวงกว้างสำหรับการควบคุมแบบไร้เซนเซอร์วัดตำแหน่งของมอเตอร์ซิงโครนัสรีลักแตนซ์, ธันวา ภิญโญภาวศุทธิ Jan 2019

ฟลักซ์เทียมและตัวสังเกตที่มีเสถียรภาพในวงกว้างสำหรับการควบคุมแบบไร้เซนเซอร์วัดตำแหน่งของมอเตอร์ซิงโครนัสรีลักแตนซ์, ธันวา ภิญโญภาวศุทธิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประมาณตำแหน่งโรเตอร์ของมอเตอร์ซิงโครนัสรีลักแตนซ์โดยอาศัยแบบจำลองของมอเตอร์มีข้อดีคือไม่รบกวนการทำงานของมอเตอร์ และมีย่านการใช้งานที่ค่อนข้างกว้าง แม้ว่าในอดีตจะมีงานวิจัยหลายฉบับที่ได้นำเสนอตัวสังเกตฟลักซ์เพื่อการประมาณตำแหน่งโรเตอร์ไว้ แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีงานวิจัยใดสามารถรับประกันเสถียรภาพของตัวสังเกตที่นำเสนอได้ ดังนั้นงานวิทยานพินธ์นี้จึงมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อนำเสนอตัวสังเกตฟลักซ์ซึ่งสามารถพิสูจน์เสถียรภาพในวงกว้างได้ โดยอาศัยแบบจำลองทางพลวัตใหม่ของมอเตอร์ซิงโครนัสรีลักแตนซ์บนฐานฟลักซ์เทียม ฟลักซ์เทียมสำหรับมอเตอร์ซิงโครนัสรีลักแตนซ์ที่นำเสนอมีข้อดีคล้ายกับแม่เหล็กถาวรของมอเตอร์ซิงโครนัสคือ มีขนาดที่รู้หรือคำนวณได้จากข้อมูลของกระแสสเตเตอร์ และมีมุมเฟสที่ให้ข้อมูลของตำแหน่งโรเตอร์ที่ต้องการรวมอยู่ด้วย ตำแหน่งและความเร็วของโรเตอร์สามารถหาได้จากฟลักซ์เทียมที่ประมาณได้โดยใช้เทคนิคเฟสล็อกลูปเชิงเวกเตอร์ แนวคิดและทฤษฎีทั้งหมดที่นำเสนอถูกทดสอบในเบื้องต้นโดยการจำลองด้วยโปรแกรม Matlab/Simulink และนำไปใช้กับระบบจริงเพื่อประมาณตำแหน่งและความเร็วโรเตอร์ในระบบควบคุมแบบไร้ตัวตรวจจับตำแหน่ง ผลการจำลองและผลการทดลองกับระบบจริงยืนยันความถูกต้องของแนวคิดและทฤษฎีที่ได้นำเสนอในงานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้


การพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานภายในบ้านโดยใช้การเรียนรู้แบบถ่ายโอน, ปิยพัทธ์ ลีรักษาเกียรติ Jan 2019

การพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานภายในบ้านโดยใช้การเรียนรู้แบบถ่ายโอน, ปิยพัทธ์ ลีรักษาเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการเรียนรู้ด้วยเครื่องถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมกับการใช้ชีวิตประจำวัน และถูกนำมาประยุกต์ใช้กับบ้าน หรือที่อยู่อาศัย เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) มาพยากรณ์พฤติกรรมการเข้าออกห้องของผู้อยู่อาศัย และควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อย่างไรก็ตาม โครงข่ายประสาทเทียมสามารถเรียนรู้ และทำนายพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยได้เพียงพฤติกรรมเดียวเท่านั้น เมื่อโครงข่ายประสาทเทียมถูกนำไปพยากรณ์ผู้อยู่อาศัยใหม่ ซึ่งมีพฤติกรรมแตกต่างจากผู้อยู่อาศัยเดิม จะส่งผลต่อความถูกต้อง และความแม่นยำของค่าพยากรณ์ แม้ว่าปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นสามารถแก้ปัญหาด้วยการเก็บข้อมูลผู้อยู่อาศัยใหม่ แต่การเก็บข้อมูลให้มากพอสำหรับสอนโครงข่ายประสาทเทียมอาจต้องใช้ระยะเวลานาน ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอระบบบริหารจัดการพลังงานภายในบ้าน (Home Energy Management System: HEMS) ที่มีราคาไม่สูงด้วยการนำโครงข่ายประสาทเทียมมาใช้ นอกจากนี้ยังนำการเรียนรู้แบบถ่ายโอน (Transfer Learning) ซึ่งเป็นเทคนิคที่สำคัญมาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแก่โครงข่ายประสาทเทียม ที่สามารถลดปริมาณข้อมูล และระยะเวลาสำหรับการสอนโครงข่ายประสาทเทียม ผลลัพธ์จากการทดลองพบว่า เมื่อโครงข่ายประสาทเทียมถูกปรับปรุงด้วยการเรียนรู้แบบถ่ายโอน ทำให้การทำนายพฤติกรรมการเข้าออกห้องของผู้อยู่อาศัยใหม่มีความแม่นยำ และถูกต้องมากยิ่งขึ้น ตามปริมาณข้อมูลที่สอนแก่โครงข่ายประสาทเทียม ค่าความถูกต้องมีค่าสูงสุดประมาณ 95% ด้วยการใช้ตารางความสัมพันธ์ระหว่างค่าพยากรณ์ และค่าจริง (Confusion Matrix) เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพ ยิ่งกว่านั้น การควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยค่าพยากรณ์จากโครงข่ายประสาทเทียมยังสามารถช่วยจำกัดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น และลดค่าใช้จ่ายภายในบ้านแก่ผู้อยู่อาศัยได้อีกด้วย


การควบคุมแรงดันอย่างเหมาะที่สุดด้วยกราฟคุณลักษณะกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟกับแรงดันสำหรับระบบจำหน่ายที่มีระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายตัว, พงศธร เรืองจันทร์ Jan 2019

การควบคุมแรงดันอย่างเหมาะที่สุดด้วยกราฟคุณลักษณะกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟกับแรงดันสำหรับระบบจำหน่ายที่มีระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายตัว, พงศธร เรืองจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายตัวในระบบจำหน่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาแรงดันเกินในสายป้อน การใช้ความสามารถในการชดเชยกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟของอินเวอร์เตอร์ด้วยกราฟคุณลักษณะ Q(U) เป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหาแรงดันเกินได้ วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอวิธีการปรับตั้งค่ากราฟคุณลักษณะ Q(U) โดยประยุกต์ใช้ปัญหาการไหลของกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟที่เหมาะที่สุด ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการจำแนกกลุ่มแบบเคมีน ทดสอบกับระบบไฟฟ้าจริงของสถานีไฟฟ้าอุบลราชธานี 2 วงจรที่ 7 ผลการทดสอบพบว่า สามารถควบคุมแรงดันให้อยู่ในเกณฑ์ 0.95 - 1.05 pu. ที่กำหนด ช่วยลดปริมาณความต้องการกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ และช่วยลดปริมาณกำลังไฟฟ้าสูญเสียในแต่ละวันของระบบจำหน่ายได้ เมื่อเปรียบเทียบผลกับกราฟคุณลักษณะ Q(U) ที่ปรับตั้งค่าตามมาตรฐาน IEEE 1547-2018 อย่างไรก็ตาม กราฟคุณลักษณะ Q(U) จะสามารถแก้ไขปัญหาแรงดันตามที่กล่าวได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข 2 ประการ คือ โหลดการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกราย ในช่วงเวลาที่กำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีค่าสูงสุด จะต้องมีปริมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดของแต่ละราย และจำเป็นต้องควบคุมขนาดแรงดันที่สถานีไฟฟ้าต้นทางให้อยู่ในช่วง 0.95 – 1.00 pu.


การปรับปรุงระบบป้องกันและคุณภาพไฟฟ้าสำหรับระบบไมโครกริดบ้านขุนแปะในจังหวัดเชียงใหม่, วันนพ คณานุสรณ์ Jan 2019

การปรับปรุงระบบป้องกันและคุณภาพไฟฟ้าสำหรับระบบไมโครกริดบ้านขุนแปะในจังหวัดเชียงใหม่, วันนพ คณานุสรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอแนวทางการปรับปรุงระบบไมโครกริดบ้านขุนแปะจังหวัดเชียงใหม่ โดยเน้นการศึกษา 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การปรับปรุงระบบป้องกันภายในระบบไมโครกริด และ 2) การปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้าด้านแรงดันและความถี่ของระบบไมโครกริด ในประเด็นการปรับปรุงระบบป้องกันจะพิจารณาการทำงานของไมโครกริดทั้งในแบบเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าหลัก และแบบแยกโดด โดยนำเสนอการใช้รีโคลสเซอร์เป็นอุปกรณ์ป้องกัน พร้อมทำการจัดแบ่งเขตป้องกันและกำหนดตำแหน่งติดตั้ง นอกจากนี้ยังนำเสนอกระบวนการหาค่าปรับตั้งค่าสำหรับอุปกรณ์ป้องกันกันที่มีการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ป้องกันในเขตป้องกันต่างๆ ทั้งนี้ค่าปรับตั้งดังกล่าวจะอาศัยการวิเคราะห์กระแสลัดวงจรของระบบไมโครกริดจากโปรแกรม DIgSILENT Powerfactory ซึ่งทำให้ได้ค่าปรับตั้งกลุ่มพารามิเตอร์ของรีโคลสเซอร์ที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของไมโครกริดในแต่ละโหมดได้ ในส่วนของการปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้าจะพิจารณาเฉพาะการทำงานแบบแยกโดด ที่คำนึงถึงความผันผวนของโหลด ความผันผวนของกำลังผลิตไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้ากระจายตัวชนิดพลังงานแสงอาทิตย์ และชนิดพลังน้ำ วิทยานิพนธ์นี้ได้ประยุกต์ใช้เทคนิคการควบคุมอินเวอร์เตอร์ของระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มีพฤติกรรมเสมือนกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซิงโครนัสที่มีส่วนควบคุมดรูปกำลัง-ความถี่ และส่วนควมคุมแรงดันแบบอัตโนมัติรวมอยู่ด้วย เพื่อช่วยลดทอนผลกระทบจากความผันผวนดังกล่าวข้างต้นต่อคุณภาพไฟฟ้าทางด้านแรงดันและความถี่ของไมโครกริด จากผลการจำลองการทำงานแสดงให้เห็นว่าระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่นอกจากจะสามารถช่วยประสานการผลิตกำลังไฟฟ้าระหว่างแหล่งผลิตไฟฟ้ากระจายตัวได้แล้ว ยังสามารถช่วยลดทอนผลกระทบจากความผันผวนของแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวและโหลดอีกด้วย ซึ่งทำให้การทำงานของไมโครกริดแบบแยกโดดมีคุณภาพไฟฟ้าในด้านความถี่และแรงดันสอดคล้องกับมาตรฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้


การวิเคราะห์แนวทางการลดการระเบิดของชุดตัวเก็บประจุที่สถานีไฟฟ้าระดับแรงดัน 22 กิโลโวลต์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ณัฐวัฒน์ นามลักษณ์ Jan 2019

การวิเคราะห์แนวทางการลดการระเบิดของชุดตัวเก็บประจุที่สถานีไฟฟ้าระดับแรงดัน 22 กิโลโวลต์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ณัฐวัฒน์ นามลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์แนวทางการลดการระเบิดของชุดตัวเก็บประจุที่สถานีไฟฟ้าระดับแรงดัน 22 กิโลโวลต์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยนำโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ ได้แก่ EMTP/ATP, PQView รวมทั้ง DIgSILENT PowerFactory มาใช้วิเคราะห์สาเหตุที่มีผลต่อตัวเก็บประจุที่สถานีไฟฟ้า ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลสถานีไฟฟ้าวิหารแดง จังหวัดสระบุรี ซึ่งนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านคุณภาพไฟฟ้าในช่วงเวลาทรานเชียนต์ (Transient) และที่สภาวะปกติ (Steady state) รวมถึงมีการศึกษาผลกระทบของฮาร์มอนิกส์ที่เกิดขึ้นเมื่อระบบที่นำมาวิเคราะห์มีการเชื่อมต่อกับโหลดประเภทต่างๆ ได้แก่ โรงไฟฟ้าโซลาเซลล์ โรงหลอมเหล็ก รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ยกแรงดันแรงสูงคาปาซิเตอร์ โดยการจำลองแบบมีการเชื่อมต่อกับสายป้อน 1 บริเวณต้นสาย กลางสาย และปลายสาย ผลการศึกษาพบว่า ในสภาวะทรานเชียนต์ ผลกระทบจากกระแสเกินและแรงดันเกินที่เกิดขึ้นกับตัวเก็บประจุมีผลน้อยมากเมื่อเชื่อมต่ออยู่ในระบบไฟฟ้า 22 กิโลโวลต์ แรงดันและกระแสขณะเกิดทรานเชียนต์ของชุดตัวเก็บประจุที่ได้มีค่าน้อยกว่าค่ามาตรฐาน IEEE ที่เกี่ยวข้อง และในสภาวะปกติ การระเบิดของชุดตัวเก็บประจุที่สถานี มีโอกาสเกิดขึ้นเนื่องจากค่ากระแสฮาร์มอนิกส์ในระบบที่ไหลผ่านชุดตัวเก็บประจุที่สถานี และเมื่อระบบมีการเชื่อมต่อกับภาระโหลดที่กล่าวมาข้างต้น รูปแบบและคุณลักษณะของการเกิดฮาร์มอนิกส์เรโซแนนซ์จะมีความแตกต่างกันตามแต่ละประเภทของภาระโหลด การวิเคราะห์ระบบดังกล่าวได้ทำการวิเคราะห์ที่ปริมาณกำลังไฟฟ้าที่ใช้งานจริงในช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งนี้จึงได้มีแนวทางการลดฮาร์มอนิกส์เพื่อลดการระเบิดของชุดตัวเก็บประจุที่สถานีไฟฟ้าระดับแรงดัน 22 กิโลโวลต์


Simulation Studies In Ferroresonant Phenomena On Distribution Transformers, Phinnakhone Phomvongsy Jan 2019

Simulation Studies In Ferroresonant Phenomena On Distribution Transformers, Phinnakhone Phomvongsy

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Ferroresonance phenomena often appear in any typical distribution systems consisting of drop-out fuse cutouts, overhead lines or power cables and a distribution transformer. Single-pole energization and fuse operation may lead to ferroresonance overvoltages, resulting in electrical equipment damage. The occurrence of ferroresonance depends on several factors including size and length of line, power rating and type of distribution transformer. This thesis presents two case studies involving ferroresonance phenomena. The first case studies the lengths of overhead lines and underground cables which create enough capacitive reactance for ferroresonance. The critical lengths are estimated by hand calculation and computer simulation. The obtained …


การตรวจจับการหกล้มของผู้สูงอายุโดยใช้โมดูลกล้องพร้อมระบบแจ้งเตือน, จันทิมา ทุมมะลา Jan 2019

การตรวจจับการหกล้มของผู้สูงอายุโดยใช้โมดูลกล้องพร้อมระบบแจ้งเตือน, จันทิมา ทุมมะลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันวิสัยทัศน์คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นทั้งในที่ทำงานและที่บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการดูแลสุขภาพเพื่อช่วยและแบ่งเบาภาระของผู้ดูแลในสถานพยาบาลหรือภายในบ้าน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เสนอระบบการตรวจจับการหกล้มของผู้สูงอายุโดยใช้โมดูลกล้องพร้อมระบบแจ้งเตือน การประยุกต์ใช้เทคนิคการประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยในการดูแลผู้สูงอายุ ระบบทำงานเสมือนเป็นกล้องวงจรปิดที่สามารถตรวจจับกิจกรรมของผู้สูงอายุและสามารถส่งการแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลทันทีที่ตรวจพบการหกล้ม ระบบแบ่งกลุ่มกิจกรรมออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กิจวัตรประจำวัน (เช่น เดิน นั่ง และวิ่ง) และกิจกรรมที่ไม่ปกติ (การหกล้ม) การตรวจจับการหกล้มแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน: ขั้นตอนที่หนึ่งระบบใช้แบบจำลองภาพประวัติการเคลื่อนไหว เพื่อคำนวณค่าประมาณการเคลื่อนไหวในช่วงระยะเวลาหนึ่งและคำนวณเป็นตัวเลขในค่าเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหว เมื่อระบบตรวจจับได้ว่ามีเคลื่อนไหวมากกว่า 65% จากขั้นตอนที่หนึ่ง ระบบวิเคราะห์การเสียรูปทรงของคนด้วย 3 พารามิเตอร์ คือ อัตราส่วน ค่าความเร็วการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของศีรษะ ผลการทดลองพบว่าระบบสามารถตรวจจับการหกล้มได้อย่างถูกต้องที่ความแม่นยำ 93.3% ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีสิ่งของบดบังคนและในพื้นที่ที่มีแสงสว่างคงที่


Analyzing Impact Of Changing Fuel-Mix Composition Of Thailand Power Generation, Chanaipong Srichai Jan 2019

Analyzing Impact Of Changing Fuel-Mix Composition Of Thailand Power Generation, Chanaipong Srichai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The energy industry is considered one of the important sectors for national economic development—especially the electricity generation industry then Thailand has developed a power development plan as the nation roadmap to ensure power security and reliability of the electricity system. In this study, we focus on the electricity generation industry and examine the impacts resulting from the changing composition of power generation type compare between Thailand’s Power Development Plan year 2015 and the year 2018. The scenario case 1 assuming that the electricity generation is generated from 37% of Natural Gas, 23% of Coal, and 50% other. When the changing …


การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับโรงงานระเหยน้ำกากส่า, สิริรัตน์ เนติพัติ Jan 2019

การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับโรงงานระเหยน้ำกากส่า, สิริรัตน์ เนติพัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานระเหยน้ำกากส่า โดยใช้ค่าการใช้พลังงานจำเพาะ (Specific Energy Consumption, SEC) และเครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ แผนภูมิการกระจาย, การวิเคราะห์การถดถอย และการสร้างกราฟผลต่างของค่าจริงกับค่าอ้างอิงหรือค่าฐาน (Difference, DIFF) และค่าผลรวมสะสมของผลต่าง (Cumulative Summation of Difference, CUSUM) ในการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานที่ผ่านมา เพื่อใช้กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่อไป ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าและปริมาณผลผลิตในช่วงปี 2560-2561 พบว่าปี 2561 มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่ำกว่าปี 2560 เนื่องจากมีค่า SEC ที่สูงกว่า โดยปี 2560 มีค่า SEC เท่ากับ 250.37 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ลูกบาศก์เมตร ส่วนปี 2561 มีค่า SEC เท่ากับ 269.04 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ลูกบาศก์เมตร และการใช้กราฟ CUSUM พบว่าปี 2560 มีศักยภาพในการประหยัดพลังงานร้อยละ 21.82-31.14 ในขณะที่ปี 2561 มีศักยภาพในการประหยัดพลังงานสูงถึงร้อยละ 68.86-78.17 เป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานจึงประเมินจากศักยภาพของการประหยัดพลังงานรวมปี 2560-2561 มีร้อยละผลประหยัดเฉลี่ย 8.64 โดยมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เลือกมานำเสนอ ได้แก่ มาตรการลดความเร็วรอบของปั๊ม Effect 1-4, Finisher A และ B และพัดลม MVR 1 และ MVR 2 ด้วย VSD และมาตรการลดขนาดปั๊มน้ำหอหล่อเย็น (Cooling Tower Pump) A และ B


การศึกษาความเป็นไปได้ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ตามนโยบายการรับซื้อไฟฟ้า สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย, อิทธิเดช ภู่นันทพงษ์ Jan 2019

การศึกษาความเป็นไปได้ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ตามนโยบายการรับซื้อไฟฟ้า สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย, อิทธิเดช ภู่นันทพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ตามนโยบายการรับซื้อไฟฟ้า สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 2.31 kWp, 3.96 kWp และ 9.90 kWp ในบริเวณพื้นที่จังหวัดลพบุรี ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนระบบผลิตไฟฟ้ายังคงมีราคาสูงและขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของโครงการมีผลต่อต้นทุนค่าใช้จ่ายในการลงทุน โดยโครงการที่มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งน้อยจะมีต้นทุน (บาท/kWp) สูงกว่าโครงการที่มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งมากกว่า ตามหลักการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) และจากผลการประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนพบว่า โครงการจะมีความคุ้มค่าสำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งเพื่อใช้ภายในบ้านหรืออาคารเป็นหลัก ส่วนการติดตั้งเพื่อใช้ภายในบ้านและมีพลังงานไฟฟ้าส่วนเหลือจำหน่ายเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้า มีความคุ้มค่าสำหรับโครงการที่มีขนาดใหญ่หรือโครงการที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำ และการลงทุนติดตั้งเพื่อจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ยังไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง แต่อัตรารับซื้อไฟฟ้ามีราคาต่ำ จึงสรุปได้ว่า ต้นทุนการลงทุน อัตราค่าไฟฟ้า อัตรารับซื้อไฟฟ้า สัดส่วนการผลิตและการใช้ไฟฟ้า และปัจจัยสภาพแวดล้อม มีผลต่ออัตราผลตอบแทนของโครงการและการตัดสินใจเลือกลงทุน


การพัฒนาระบบอ่านมิเตอร์อัตโนมัติสนับสนุนการจัดการไฟฟ้าดับโดยใช้เทคโนโลยี Lorawan, จิตติวัชร์ สมุหศิลป์ Jan 2019

การพัฒนาระบบอ่านมิเตอร์อัตโนมัติสนับสนุนการจัดการไฟฟ้าดับโดยใช้เทคโนโลยี Lorawan, จิตติวัชร์ สมุหศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Automatic Meter Reading (AMR) เป็นส่วนสำคัญของระบบไฟฟ้าส่วนจำหน่ายที่สามารถให้ข้อมูลจากลูกค้าเพื่อการตรวจสอบค่าวัดที่จำเป็นต่อระบบไฟฟ้า และด้วยความช่วยเหลือของเทคโนโลยีการสื่อสารจึงสามารถใช้ AMR ช่วยเหลือในระบบจัดการไฟฟ้าดับได้ เมื่อเกิดการขัดข้อง AMR จะส่งการแจ้งเตือนไฟฟ้าดับไปยังผู้ให้บริการ (Utilities) เพื่อประเมินสถานการณ์ และส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือรูปแบบการสื่อสารของ AMR ซึ่งปัจจุบันมีระบบการสื่อสารที่ได้มีบทบาทมากขึ้น เช่น LoRaWAN ที่เป็น Low Power Wide Area Network (LPWAN) ที่ให้การส่งสัญญาณในระยะไกลโดยใช้พลังงานที่ต่ำ อย่างไรก็ตามมันยังมีข้อจำกัดบางประการ เช่น ความเร็วในการส่ง ขนาดของข้อมูล หรือ ความจุของเครือข่าย การนำมาใช้งานร่วมกับ AMR เพื่อใช้งานในระบบจัดการไฟฟ้าดับจึงจำเป็นต้องหาอัลกอริธึมที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานดังกล่าว บทความนี้จึงจะศึกษาถึงวิธีการใช้ LoRaWan ร่วมกับ AMR ในการอ่านค่าวัดหรือสถานะและพัฒนาอัลกอริธึมที่เหมาะสมเพื่อใช้งาน LoRaWAN ร่วมกับระบบจัดการไฟฟ้าดับดังกล่าว


ระบบวิเคราะห์ความสูงและการเคลื่อนที่ของเมฆแบบเวลาจริงโดยใช้ภาพถ่ายแบบสเตอริโอ, ชยากร ประเสริฐเสรี Jan 2019

ระบบวิเคราะห์ความสูงและการเคลื่อนที่ของเมฆแบบเวลาจริงโดยใช้ภาพถ่ายแบบสเตอริโอ, ชยากร ประเสริฐเสรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กล้องถ่ายภาพทั่วฟ้า คืออุปกรณ์ใช้สังเกตการณ์สภาพอากาศที่ติดตั้งบริเวณภาคพื้นชนิดหนึ่ง โดยให้มุมมองการถ่ายภาพตั้งฉากกับพื้นโลก ข้อมูลจากอุปกรณ์ดังกล่าวนำไปใช้ในการประเมิณปริมาณเมฆที่ปกคลุมบริเวณเหนือกล้อง และบอกทิศทางการเคลื่อนที่ของกลุ่มเมฆได้ แต่ไม่สามารถบอกข้อมูลความสูงและความเร็วของเมฆซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์และถูกนำไปใช้งานในหลายแขนง เช่น การบิน การพยากรณ์อากาศและการพยากรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น วิทยานิพนธ์นี้เสนอการพัฒนาระบบวิเคราะห์ความสูงและการเคลื่อนที่ของเมฆแบบเวลาจริงโดยใช้ภาพถ่ายแบบสเตอริโอ เพื่อใช้ประมาณความสูงฐานเมฆรวมถึงความเร็วของกลุ่มเมฆที่เคลื่อนที่เหนือรัศมีของระบบถ่ายภาพ โดยใช้กล้อง Canon EOS M100 สองตัว ที่ถูกควบคุมการถ่ายภาพให้พร้อมกันและส่งภาพถ่ายขึ้นคลาวด์ด้วยบอร์ดคอมพิวเตอร์ Raspberry Pi ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้หลักการวิเคราะห์สามเหลี่ยมระยะทางในการประมาณความสูงเมฆ และได้พัฒนากระบวนการปรับเทียบระบบถ่ายภาพขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้การวิเคราะห์ความสูงฐานเมฆมีความแม่นยำขึ้น การทดสอบวัดระยะทำโดยการวัดระยะทางกับอาคารที่ทราบระยะโดยใช้ Google map พบว่ามีความผิดพลาดน้อยกว่า 6% สำหรับเป้าหมายที่ระยะน้อยกว่า 200 เมตรและประมาณ 8% สำหรับเป้าหมายที่ระยะ 1,200 เมตร และการทดลองวัดความเร็วรถยนต์พบว่าอัลกอริทึมที่ใช้มีความสอดคล้องกับการวัดความเร็วเมฆโดยผิดพลาดที่น้อยกว่า 10%


ระบบควบคุมไฟฟ้าแสงสว่างถนนอัจฉริยะโดยใช้การสื่อสารแบบเครือข่าย, ณธวัฒน์ สุขะไท Jan 2019

ระบบควบคุมไฟฟ้าแสงสว่างถนนอัจฉริยะโดยใช้การสื่อสารแบบเครือข่าย, ณธวัฒน์ สุขะไท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอระบบควบคุมไฟฟ้าแสงสว่างถนนอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่ายซึ่งคือ LoRaWAN ในการควบคุมการส่องสว่างของไฟถนนในช่วงเวลากลางคืนให้มีการใช้ไฟฟ้าน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ การประหยัดพลังงานของระบบนี้ทำได้โดยการใช้ Sensor ในการตรวจสอบการเคลื่อนไหวของวัตถุและทำการตรวจสอบการจราจรบนถนน ระบบไฟฟ้าแสงสว่างถนนจะถูกควบคุมด้วยอุปกรณ์การสื่อสารผ่านระบบ LoRaWAN ที่เรียกว่า Endpoint Module ซึ่งจะทำการรับและส่งข้อมูลเข้าสู่ Gateway ก่อนจะส่งข้อมูลไปประมวลผลที่ TheThingsNetwork ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น Server หลักในการสื่อสารและประมวลผล และทำการสั่งการกลับไปยัง Endpoint Module ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้าแสงสว่างถนน โดยระบบจะทำการลดความสว่างของโคมไฟตามการตรวจจับของ Sensor ถ้าไม่มียานพาหนะผ่าน จากการศึกษาพบว่าระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพที่ดีและระยะทางของการทำงานที่ไกลเกินกว่า 2 กฺิโลเมตร จากการลดแสงสว่างของดวงโคม สามารถทำการประหยัดพลังงานที่ใช้ได้เกินกว่า 40% ในถนนแบบ M Class ประมาณ 30% ใน P Class และ10-20% ใน C Class มีงบประมาณในการติดตั้งระบบอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มากนักรวมถึงสามารถพัฒนาต่อไปได้อีก ซึ่งจากการคำนวณทางด้านงบประมาณ จะเห็นได้ว่าสามารถคืนทุนได้เร็วในประมาณ 2 ปี ในถนนประเภท M Class และ P Class แต่จะคืนทุนได้ช้าในถนนประเภท C Class ซึ่งจะใช้เวลาถึง 10 ปี ทำให้การติดตั้งนั้นควรทำการติดตั้งในถนน M Class และ P Class เป็นหลักเนื่องจากสามารถประหยัดพลังงานได้ดีและคืนทุนได้ไว


การพัฒนาระบบวัดช่วงเวลาเดินทางผ่านของชีพจรสำหรับการประมาณค่าความดันโลหิตแบบไร้ปลอกแขน, ทิพย์นิรินทร์ วัจนะรัตน์ Jan 2019

การพัฒนาระบบวัดช่วงเวลาเดินทางผ่านของชีพจรสำหรับการประมาณค่าความดันโลหิตแบบไร้ปลอกแขน, ทิพย์นิรินทร์ วัจนะรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดันแบบออสซิลโลเมตริกเป็นวิธีที่ถูกใช้งานในทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย แต่ด้วยข้อจำกัดของการมีปลอกแขนทำให้ไม่สามารถใช้วัดความดันโลหิตในผู้ป่วยบางกลุ่มได้ งานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีจุดมุ่งหมายพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบในการบันทึกสัญญาณโฟโตเพลตทีสโมแกรม (PPG) 2 ช่องพร้อมกับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เพื่อนำไปประมาณค่าความดันโลหิตแบบไร้ปลอกแขนด้วยเทคนิคการวัด pulse arrival time (PAT) เปรียบเทียบกับ pulse transit time (PTT) โดย PAT เป็นช่วงเวลาระหว่าง R-wave ของ ECG กับจุดยอดของ PPG ที่ปลายนิ้ว และ PTT เป็นช่วงเวลาระหว่างจุดยอดของ PPG ที่ข้อพับบริเวณข้อศอก กับ PPG ที่ปลายนิ้ว โดยให้อาสาสมัครจำนวน 5 คนออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความดันโลหิตและวัดสัญญาณ ทั้งนี้ได้ออกแบบการทดลองและประเมินความแม่นยำภายใต้แนวทางของมาตรฐาน IEEE Std 1708™-2014 ผลการทดลองการประมาณค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (SBP) พบว่า PAT มีแนวโน้มผกผันกับ SBP เป็นไปตามทฤษฎี ในขณะที่ PTT ไม่แสดงถึงความสัมพันธ์กับ SBP ที่ชัดเจน การประมาณค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว (DBP) ไม่แสดงถึงแนวโน้มความสัมพันธ์กับทั้ง PAT และ PTT ส่วนผลการทดลองประมาณค่า SBP ซ้ำภายใน 90 วันพบว่าเฉพาะ PAT มีความสามารถในการวัดซ้ำได้ดี โดยสรุปแล้ว PAT มีความสามารถในการประมาณค่าความดันโลหิต SBP แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาระบบการวัดความดันโลหิตแบบไร้ปลอกแขนให้แม่นยำมากขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ในอนาคต


การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเพื่อตรวจจับเซลล์หลายชนิดผ่านกล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อนด้วยตัวรับรู้ภาพ, ณัทกร เกษมสำราญ Jan 2019

การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเพื่อตรวจจับเซลล์หลายชนิดผ่านกล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อนด้วยตัวรับรู้ภาพ, ณัทกร เกษมสำราญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สำหรับงานทางด้านการตรวจหาและนับจำนวนเซลล์ภายในห้องปฏิบัติการ จะให้ความสำคัญในการวิเคราะห์จำนวนเซลล์ เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจาระ เสมหะ เป็นต้น จากการมองด้วยตาผ่านกล้องจุลทรรศน์นานนับชั่วโมงติดต่อกันและเป็นลักษณะงานทำซ้ำจะส่งผลให้เกิดอาการล้าสายตาจนก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ จึงมีแนวคิดในการสร้างอุปกรณ์ที่ช่วยลดระยะเวลาในการนับคัดแยกเซลล์ขนาดเล็กที่มีความแม่นยำอย่างอัตโนมัติ ซึ่งส่งผลให้การวินิจฉัยโรคทำได้รวดเร็วมากขึ้นเป็น ชุดกล้องอัจฉริยะ “ไมโครซิสดีซีเอ็น” สำหรับกล้องจุลทรรศน์ (“MicrosisDCN” intelligent camera for microscope : Microbes Diagnosis with Deep Convolutional Neural Network) สำหรับแยกชนิดและนับจำนวนเซลล์ขนาดเล็กด้วยโครงข่ายประสาท เป็นชุดอุปกรณ์สำหรับสวมชุดกล้องเข้ากับท่อเลนส์ใกล้ตา (Eyepiece lens tube) ของกล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อน (Compound microscope) สามารถบ่งบอกจำนวนเซลล์ขนาดเล็กด้วยโครงข่ายประสาทที่นับได้ในพื้นที่มาตรฐานการมองเห็นของชุดกล้อง จากพื้นที่ขอบเขตการมองเห็นของตัวรับรู้ภาพภายในชุดกล้องมีหน่วยเป็น 11.89 40X “field images” to equal standard area หรือ 11.9 คูณจำนวนเซลล์ต่อ HPF (High Power Field) ระบบมีความสามารถในการจำแนกเซลล์ขนาดเล็ก 3 คลาส ได้แก่ เม็ดเลือดแดง (Red blood cell : RBC) เม็ดเลือดขาว (White blood cell : WBC) และเกล็ดเลือด (Platelets) ที่มีค่า Mean Average Precision (mAP) สูงถึง 0.8681 หรือร้อยละ 86.81 และค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Error : MAE) ของ RBC 1.06 WBC 0.06 และ Platelets 4.23


การซิงโครไนซ์สัญลักษณ์โอเอฟดีเอ็มบนช่องสัญญาณเฟดดิงแบบพหุวิถี, พฤกษ์ สระศรีทอง Jan 2019

การซิงโครไนซ์สัญลักษณ์โอเอฟดีเอ็มบนช่องสัญญาณเฟดดิงแบบพหุวิถี, พฤกษ์ สระศรีทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอวิธีการซิงโครไนซ์สัญลักษณ์โอเอฟดีเอ็มบนช่องสัญญาณเฟดดิงแบบพหุวิถี เพื่อหาตำแหน่งเริ่มต้นของสัญลักษณ์โอเอฟดีเอ็มที่ทำให้ได้รับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง โดยได้เสนอวิธีการซิงโครไนซ์สองวิธีที่แตกต่างกัน วิธีแรกคือการซิงโครไนซ์ด้วยไซคลิกพรีฟิกซ์ร่วมกับการประมาณค่าการแผ่เวลาประวิงของช่องสัญญาณที่มีการแผ่ออกทางเวลาเพื่อประมาณค่าตำแหน่งเริ่มต้นที่แท้จริงของสัญลักษณ์โอเอฟดีเอ็ม ส่วนวิธีที่สองเสนอการหาค่าต่ำสุดของผลต่างกำลังงานของคลื่นพาห์ย่อยระหว่างเวลาที่ติดกัน เพื่อหาช่วงเวลาที่ปลอดภัยจากการแทรกแซงระหว่างสัญลักษณ์ จากผลการทดสอบวิธีแรกพบว่า การซิงโครไนซ์ร่วมกับการประมาณการแผ่เวลาประวิงซึ่งไม่ต้องการความรู้ช่องสัญญาณเพิ่มเติมสามารถให้สมรรถนะที่เทียบเคียงได้กับวิธีการซิงโครไนซ์ด้วยไซคลิกพรีฟิกซ์แบบดั้งเดิมที่ใช้ข้อมูลเวลาประวิงกำลังงาน ในส่วนผลการทดสอบวิธีที่สองนั้นพบว่า การหาค่าต่ำสุดของผลต่างกำลังงานของคลื่นพาห์ย่อยระหว่างเวลาที่ติดกันสามารถให้สมรรถนะที่เหนือกว่าวิธีการดั้งเดิมที่ใช้ผลต่างกำลังงานเช่นเดียวกันเป็นอย่างมาก อีกทั้งสามารถทำงานในช่องสัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะแก่การนำไปประยุกต์ใช้กับภาครับในยานพาหนะความเร็วสูง


การศึกษาการเจริญเติบโตและสารต้านอนุมูลอิสระในผักชีโดยใช้แหล่งกำเนิดแสงแอลอีดี, มาโนช แสนหลวง Jan 2019

การศึกษาการเจริญเติบโตและสารต้านอนุมูลอิสระในผักชีโดยใช้แหล่งกำเนิดแสงแอลอีดี, มาโนช แสนหลวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการเพาะปลูกพืชผักอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นคือการปลูกผักชี (Coriandrum sativum) เกษตรกรนิยมปลูกผักชีในแถบภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งจะปลูกได้ดีในช่วงฤดูหนาวทำให้ผักชีมีราคาถูกในช่วงฤดูนี้ แต่ฤดูอื่นจะปลูกผักชีได้ยากมากขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแบบร้อนชื้นในประเทศไทย อีกทั้งศัตรูพืชที่มาทำลายผักชี ทำให้ผักชีมีราคาสูง การนำแสงเทียมมาใช้ในการเพาะปลูกพืชจึงนิยมมากขึ้น ซึ่งสามารถเลือกปลูกในพื้นที่ปิด ควบคุมปัจจัยสภาพแวดล้อมได้อีกทั้งยังควบคุมผลผลิตได้ตลอดทั้งปี โดยงานวิจัยนี้จะออกแบบและสร้างหลอดไฟที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักชีต่อการเพิ่มการเจริญเติบโตในด้านความสูง จำนวนใบ จำนวนก้าน น้ำหนักสดและแห้ง อีกทั้งยังวิเคราะห์ถึงปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในผักชีอีกด้วย ทั้งนี้งานวิจัยจะเน้นการศึกษาผลของแสงทั้ง 3 สีซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นผักชี ประกอบไปด้วยแสงสี Red (660 nm), Blue (447 nm) และ Far-red (730 nm) นำมาสร้างเป็นหลอดแอลอีดี 6 แบบคือ R:B:Fr = 10:4:1, 10:2:1, 10:1:1 และ R:B = 10:4, 10:2, 10:1 โดยใช้ค่า PPFD (Photosynthetic Photon Flux Density) ที่ 2 ระดับคือ 150±10 และ 250±10 µmol/m2/s เปรียบเทียบกับการปลูกผักชีด้วยแสงอาทิตย์ รวม 13 การทดลอง จากผลการทดลองพบว่าการใช้หลอดไฟแอลอีดีในการเพาะปลูกผักชีส่งผลดีกว่าการปลูกด้วยแสงอาทิตย์ทุกรูปแบบ ที่ระดับความเข้มแสงทั้ง 2 ระดับ การเลือกใช้แสงที่ค่า PPFD ที่สูงกว่าส่งผลต่อการเจริญเติบโตของผักชีทุกด้าน จากการวิเคราะห์แสงสีพบว่าแสงสี Far-red ส่งผลต่อความสูงของต้นผักชีอย่างมาก แต่จะทำให้จำนวนใบและก้าน รวมถึงน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งลดลง ส่วนแสงสี Blue ทำให้จำนวนใบและจำนวนก้านของผักชีเพิ่มมากขึ้น มีน้ำหนักแห้งมีมากแต่ปริมาณน้ำหนักสดมีค่าลดลงตามสัดส่วนของแสงสี Blue ที่เพิ่มมากขึ้น ในส่วนของสารต้านอนุมูลอิสระพบว่าแสงสี Blue ช่วยทำให้ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้นแต่แสงสี Far-red ทำให้ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผักชีลดน้อยลง เมื่อพิจารณาถึงสารต้านอนุมูลอิสระโดยรวมพบว่าผักชีที่ได้รับแสงจากหลอดแอลอีดีมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าผีกชีที่ได้รับแสงอาทิตย์ แต่เมื่อพิจารณาถึงปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระจากน้ำหนักของผักชีที่เท่ากันเป็นปริมาณ 1 กรัมพบว่าผักชีภายใต้แสงอาทิตย์กลับมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผักชีที่ได้รับแสงจากหลอดแอลอีดี


การพัฒนาอุปกรณ์ประกอบมิเตอร์เพื่อการเก็บข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์ฮาร์มอนิกของผู้ใช้ไฟฟ้าได้, สาธิต เฟื่องรอด Jan 2019

การพัฒนาอุปกรณ์ประกอบมิเตอร์เพื่อการเก็บข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์ฮาร์มอนิกของผู้ใช้ไฟฟ้าได้, สาธิต เฟื่องรอด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาอุปกรณ์ประกอบมิเตอร์เพื่อการเก็บข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์ฮาร์มอนิกของผู้ใช้ไฟฟ้าได้ เนื่องจากปัจจุบันนั้นมิเตอร์เอเอ็มอาร์ไม่สามารถเก็บข้อมูลรูปคลื่นแรงดันและรูปคลื่นกระแสได้ ซึ่งการวิเคราะห์ฮาร์มอนิกจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเชิงสถิติจากการวัดค่าปริมาณทางไฟฟ้าจากมิเตอร์เอเอ็มอาร์ที่ติดตั้งให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า โครงสร้างหลักประกอบไปด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 (Node MCU-32S) เป็นตัวควบคุมการทำงานร่วมกับมอดูลวัดค่าแรงดันและกระแสไฟฟ้ากระแสสลับในการวัดสัญญาณแรงดันและกระแสตามอัตราการสุ่มข้อมูลต่อหนึ่งรูปคลื่น โดยไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ประมวลผลสัญญาณแรงดันและกระแสเพื่อเก็บข้อมูลไปยังหน่วยความจำภายนอก (SD Card) และการนำข้อมูลที่บันทึกได้ไปวิเคราะห์ลำดับฮาร์มอนิกด้วยกระบวนการแปลงฟูเรียร์แบบเร็ว (FFT) ในโปรแกรม MATLAB ทำให้ลดความยุ่งยากในการวัดและวิเคราะห์ฮาร์มอนิก ไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวิเคราะห์ฮาร์มอนิกเพิ่มเข้าไปในระบบไฟฟ้า ไม่ต้องติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้าที่มีราคาแพงในการวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้า การแสดงผลผ่านโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว ความแม่นยำ และแนวทางการแก้ไขลำดับฮาร์มอนิกที่ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าในระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า


โฟโตลูมิเนสเซนส์ของโครงสร้างนาโนแกลเลียมอาร์เซไนด์บิสไมด์ควอนตัมริง, อภิรักษ์ สร้อยสน Jan 2019

โฟโตลูมิเนสเซนส์ของโครงสร้างนาโนแกลเลียมอาร์เซไนด์บิสไมด์ควอนตัมริง, อภิรักษ์ สร้อยสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการปลูกโครงสร้างนาโน GaAsBi ควอนตัมริงบนแผ่นฐาน GaAs ด้วยระบบเอพิแทกซีลำโมเลกุล (MBE) ชิ้นงานถูกศึกษาสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม (AFM) และ สมบัติเชิงแสงด้วยโฟโตลูมิเนสเซนส์สเปกโทรสโกปี (PL) โครงสร้างนาโนควอนตัมริงถูกปลูกโดยใช้เทคนิคดรอพเล็ทเอพิแทกซี (Droplet Epitaxy) หยด GaBi ถูกปล่อยลงบนแผ่นฐาน GaAs ในอัตราส่วน Ga:Bi 0.95:0.05, 0.90:0.10 และ 0.85:0.15 ตามลำดับ หยดโลหะถูกขึ้นรูปผลึกภายใต้ความดันไอของ As เพื่อเปลี่ยนหยดโลหะให้เป็นโครงสร้างนาโน GaAsBi ควอนตัมริง ปัจจัยที่สำคัญในการเกิดโครงสร้างนาโนควอนตัมริง คือ ความหนาของหยด GaBi, อุณหภูมิของแผ่นฐานในขณะปล่อยหยดโลหะ, และความดันไอของ As กล่าวคือ ความหนาของหยด GaBi ต้องมากกว่า 5 ML เพื่อขนาดโครงสร้างนาโนควอนตัมริงที่เหมาะสม เส้นผ่านศูนย์กลางของควอนตัมริงปลูกที่อุณหภูมิ 225°C มีขนาดน้อยกว่าที่อุณหภูมิ 300°C เนื่องจาก หยด GaBi สามารถแพร่ออกจากจุดศูนย์กลางของหยดได้น้อยกว่าที่อุณหภูมิปลูกต่ำ ความดันไอของ As ต้องมากพอและถูกปล่อยอย่างรวดเร็วขณะทำกระบวนการตกผลึก โครงสร้างนาโนควอนตัมริง และควอนตัมดอท สามารถเกิดได้ด้วยกระบวนการตกผลึกที่ช้าและเร็ว ตามลำดับ เนื่องจากลักษณะเฉพาะของแหล่งกำเนิดไอ As งานวิจัยนี้จึงจำกัดขอบเขตเฉพาะโครงสร้างนาโนควอนตัมริงเท่านั้น โฟโตลูมิเนสเซนส์ของโครงสร้างนาโน GaAsBi ควอนตัมริงกลบทับด้วย GaAs ซึ่งปลูกที่อุณหภูมิสูง (500°C) และอุณหภูมิต่ำ (300°C) ถูกศึกษา สำหรับการกลบทับที่อุณหภูมิสูง ชิ้นงานแสดงการเปล่งแสงที่เด่นชัดของ LT-GaAs เท่านั้น อันเป็นผลเนื่องมาจากการอบขณะที่ปลูกชั้นกลบทับ สำหรับการกลบทับที่อุณหภูมิต่ำ ชิ้นงานแสดงการเปล่งแสงช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดใกล้ของโครงสร้างนาโน GaAsBi ควอนตัมริง อย่างไรก็ตาม ชิ้นงานมีความเข้มของแสงต่ำเนื่องจากความเป็นผลึกของชั้นกลบทับที่ต่ำ


การประเมินความคุ้มค่าภายใต้ความเสี่ยงของกระบวนการทอร์รีแฟกชัน กรณีศึกษาเม็ดเชื้อเพลิงไม้ยางพารา, กุลนันท์ แซ่หลี่ Jan 2019

การประเมินความคุ้มค่าภายใต้ความเสี่ยงของกระบวนการทอร์รีแฟกชัน กรณีศึกษาเม็ดเชื้อเพลิงไม้ยางพารา, กุลนันท์ แซ่หลี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันเศษไม้ยางพาราที่เหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลโดยตรง ซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำ กระบวนการทอร์รีแฟกชันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพเศษไม้ยางพาราให้เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณสมบัติคล้ายถ่านหิน ผู้วิจัยจึงทำการประเมินความคุ้มค่าของกระบวนการทอร์รีแฟกชันด้วยเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์โรตารีดรัม โดยใช้วัตถุดิบเศษไม้ยางพาราในการประเมิน ทางการเงินภายใต้ความเสี่ยงของความไม่แน่นอนของราคาวัตถุดิบ และราคาผลิตภัณฑ์ เป็นการประเมินเพื่อการตัดสินใจเลือกลงทุน โดยมีทางเลือกในการลงทุน 4 ทางเลือกได้แก่ 1.โครงการผลิตเม็ดเชื้อเพลิงไม้ยางพาราเกรดธรรมดาขายในประเทศ 2.โครงการผลิตเม็ดเชื้อเพลิงไม้ยางพาราเกรดพรีเมี่ยมส่งออก 3.โครงการผลิตเม็ดเชื้อเพลิงไม้ยางพาราทอร์ริไฟด์แบบอัดเม็ดหลังการทอร์รีแฟกชันส่งออก และ 4.โครงการผลิตเม็ดเชื้อเพลิงไม้ยางพาราทอร์ริไฟด์แบบอัดเม็ดก่อนการทอร์รีแฟกชันส่งออก ทุกทางเลือกมีกำลังผลิต 20,000 ตันต่อปี โดยทางเลือกที่1 และ2 ประเมินเป็นทางเลือกเปรียบเทียบ โดยทำการวิเคราะห์ทางการเงินของแต่ละทางเลือกด้วยแบบจำลองกระแสเงินสดคิดลดเพื่อหามูลค่าปัจจุบันสุทธิและอัตราผลตอบแทนภายในที่ปรับค่าแล้วของแต่ละโครงการ ทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของตัวแปรที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนของโครงการ ทำการจัดกลุ่มตามการกระจายตัวเพื่อหาความน่าจะเป็นของ แต่ละกลุ่ม เพื่อทำการวิเคราะห์ด้วยแขนงการตัดสินใจ และทำการคำนวณค่าคาดหวังของผลตอบแทนใน แต่ละทางเลือก ผลการวิเคราะห์พบว่าทางเลือกในการลงทุนทั้ง 4 ทางเลือกให้มูลค่าปัจจุบันเป็นบวกและมีผลตอบแทนภายในที่ปรับค่าแล้วมากกว่าต้นทุนทางการลงทุนเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักที่ร้อยละ 10.15 โดยทางเลือกที่4 โครงการผลิตเม็ดเชื้อเพลิงไม้ยางพาราทอร์ริไฟด์แบบอัดเม็ดก่อนการทอร์รีแฟกชันส่งออก ซึ่งมีค่าคาดหวังของผลตอบแทนสูงสุด เท่ากับ 630.07 ล้านบาท


การตั้งเป้าหมายพลังงานและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องจักรการผลิตในโรงงานเคมีภัณฑ์, อังคนา สังข์ทองจีน Jan 2019

การตั้งเป้าหมายพลังงานและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องจักรการผลิตในโรงงานเคมีภัณฑ์, อังคนา สังข์ทองจีน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาถึงการใช้พลังงานของโรงงานเคมีภัณฑ์ตัวอย่าง โดยเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา11เดือนของการใช้พลังงานจากระบบการติดตามการใช้พลังงาน (Energy Monitoring System) และ ข้อมูลของปริมาณผลผลิตต่อวันมาวิเคราะห์เพื่อเป้าหมายการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงานของโรงงานตัวอย่าง โดยแยกย่อยศึกษาแต่ละระบบในพื้นที่นั้นซึ่งประกอบด้วย ระบบไฟฟ้าสำหรับเครื่องจักรการผลิต ระบบอากาศอัด ระบบไฟส่องสว่าง ระบบระบายอากาศ และ ระบบทำความเย็น เพื่อกำหนดพลังงานฐาน (Energy Baseline) และ กำหนดเป้าหมายพลังงาน (Energy Target) ของพื้นที่การผลิตรายอาทิตย์และรายเดือนด้วยสมการเชิงเส้นแบบง่าย ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการใช้พลังงานของระบบที่ขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิต และใช้ค่าที่ดีที่สุดกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานของระบบที่ปริมาณการใช้พลังงานไม่ขึ้นกับปริมาณการผลิต รวมทั้งนำข้อมูลการใช้พลังงานที่ความละเอียดทุก 30 วินาทีเปรียบเทียบกับโปรไฟล์อุณหภูมิของเครื่องจักร CMMP ซึ่งเป็นเครื่องจักรสำหรับสร้างรูปทรงของชิ้นงาน จากการศึกษาพบว่าถ้าไม่มีแผนการผลิตนานกว่า 3 ชั่วโมงควรเปลี่ยนจากสแตนด์บายโหมด (Standby Mode) เป็นการปิดเครื่องเมื่อไม่ใช้งานจะลดปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ได้เฉลี่ย 390 kWh/day และเพื่อการสื่อสารที่ชัดเจนกับผู้เกี่ยวข้อง งานวิจัยฉบับนี้ได้มีการสร้างกระดานสรุปข้อมูลการใช้พลังงาน (Energy Dashboard) ด้วย Microsoft Power Bi เพื่อติดตามการใช้พลังงานรายวันของแต่ละพื้นที่การผลิต และมีกิจกรรม Green day เพื่อเพิ่มความตระหนักต่อการใช้พลังงานของพนักงานในโรงงาน


การปรับปรุงอาคารสำนักงานเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ : กรณีศึกษาอาคารอำนวยการ องค์การเภสัชกรรม, ยชนา เชาวนะกมล Jan 2019

การปรับปรุงอาคารสำนักงานเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ : กรณีศึกษาอาคารอำนวยการ องค์การเภสัชกรรม, ยชนา เชาวนะกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากรอบอาคารของอาคารสำนักงาน อาคารอำนวยการ องค์การเภสัชกรรม ให้กรอบอาคารมีค่าการถ่ายเทความร้อนเป็นไปตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ฉบับที่ 2 (ปี พ.ศ.2550) รวมทั้งวิเคราะห์ผลทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุนของมาตรการทางการเงินและความคุ้มทุน วิธีการศึกษาการใช้วิธีการจำลองอาคารด้วยโปรแกรม Building Energy Code Software version 1.0.6 (BEC v.1.0.6) โดยรวบรวมข้อมูลกรอบอาคาร อุปกรณ์ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และระบบปรับอากาศ จากการจำลองอาคารพบว่า ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมทั้งผนังด้านนอกอาคาร (OTTV) เท่ากับ 34.102 W/m² ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือต่ำกว่า 50 W/m² ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคาร (RTTV) เท่ากับ 19.433 W/m² ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือ 15 W/m² มีค่ากำลังไฟฟ้าส่องสว่างสูงสุด (LPD) เท่ากับ 14.461 W/m² ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือ 14 W/m² ค่าการประเมินศักยภาพด้านพลังงานของระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน (EER) ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือต่ำกว่า 3.22 W/W และค่าการใช้พลังงานทั้งหมดของอาคารเท่ากับ 813,300 kWh/Year ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคือสูงกว่าอาคารอ้างอิง พลังงานที่ใช้ในอาคารส่วนใหญ่มาจากระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และระบบปรับอากาศ คิดเป็นร้อยละ 76.75 ของการใช้พลังงานทั้งหมด ทั้งนี้ถ้าต้องการลดการใช้พลังงานเพื่อการอนุรักษ์พลังงานของอาคาร จำเป็นต้องปรับปรุงโดยการเปลี่ยนหลอดไฟเป็นแอลอีดี การติดตั้งฉนวนกันความร้อนชนิดโพลิสไตรีนโฟมที่หลังคา และการเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนเฉพาะเครื่องที่ไม่ผ่านเกณฑ์ให้เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นจะได้ค่า RTTV 13.605 W/m² ค่า LPD 6.627 W/m² ค่า EER มากกว่า 3.22 W/W มาตรการนี้ทำให้ค่า RTTV ลดลงร้อยละ 30 ซึ่งทำให้อาคารมีการใช้พลังงานรวมลดลงร้อยละ 29.66 โดยมีผลประหยัด 964,972 บาทต่อปี มีระยะเวลาคืนทุน 6 ปี 5 เดือน