Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Civil and Environmental Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hydraulic Engineering

Articles 1 - 23 of 23

Full-Text Articles in Civil and Environmental Engineering

Low-Flow Assessment For Ungauged Sub-Basin In Upper Ping River Basin, Thailand, Sokseyla Man Jan 2021

Low-Flow Assessment For Ungauged Sub-Basin In Upper Ping River Basin, Thailand, Sokseyla Man

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Water scarcity has become one of the most remarkable problems in Thailand. An assessment of low-flow may lead to better water resources management and reduce the risk of water scarcity. The assessment of low-flow in gauged basins where the flow time series are available is straightforward. The challenge exists in ungauged or poorly-gauged basins where the flow data are unavailable or of low quality. Due to the studies of low-flow assessment in ungauged basins are of limited, this study aims to address the low-flow assessment in 25 sub-basins in the Upper Ping River basin in Thailand with available data from …


Optimal Multi-Reservoir System Operations Under Inflow Scenarios In Nam Ngum River Basin, Lao Pdr, Bounhome Kimmany Jan 2021

Optimal Multi-Reservoir System Operations Under Inflow Scenarios In Nam Ngum River Basin, Lao Pdr, Bounhome Kimmany

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Nam Ngum River is one of the main rivers in Lao PDR. Many hydropower projects are currently operated, under construction, and in the planning stage within the Nam Ngum River Basin (NNRB). These hydropower projects are managed by different organizations which could lead to conflict in operation and hinder the achievement of national developments. The main objective of this research is therefore to develop an optimization model for maximizing hydropower production in the NNRB through optimal reservoir operation under the impact of climate change. The potential consequence of maximizing hydropower production that could lead to flooding was also considered …


การไหลผ่านประตูระบายน้ำแบบบานเลื่อนตรงของทางน้ำที่มีขยะ, ธีรภัทร ล้อมลาย Jan 2021

การไหลผ่านประตูระบายน้ำแบบบานเลื่อนตรงของทางน้ำที่มีขยะ, ธีรภัทร ล้อมลาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาถึงการไหลลอดผ่านประตูระบายน้ำแบบบานเลื่อนตรงของทางน้ำที่มีขยะในทางน้ำ ภายใต้เงื่อนไขการไหลผ่านประตูแบบไหลออกอิสระ และ ไหลออกแบบท่วมจม การศึกษานี้ดำเนินการในห้องปฏิบัติการแบบจำลองชลศาสตร์และชายฝั่งทะเล ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยดำเนินการทดลองในรางน้ำเปิดหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 0.60 เมตร ยาว 18.0 เมตร สูง 0.75 เมตร ที่มีการไหลเวียนของน้ำ การศึกษานี้ได้จำลองขยะที่ลอยอยู่บนผิวน้ำด้วยเศษวัสดุภัณฑ์ขวดน้ำพลาสติก เศษกิ่งไม้ และ อิฐมวลเบา โดยมีอัตราการไหลชองน้ำที่ใช้ในการทดลองอยู่ในช่วง 17.7 ลิตรต่อวินาที ถึง 23.5 ลิตรต่อวินาที สำหรับการทดลองภายใต้เงื่อนไขการไหลออกอิสระ และ 12.3 ลิตรต่อวินาที ถึง 18.6 ลิตรต่อวินาที สำหรับการทดลองภายใต้เงื่อนไขการไหลออกท่วมจม ตามลำดับ การทดลองทั้งสิ้นมีทั้งหมด 160 การทดลอง ที่ประกอบด้วย การทดลองภายใต้เงื่อนไขการไหลออกอิสระ 40 การทดลอง และ การทดลองภายใต้เงื่อนไขการไหลออกท่วมจม 120 การทดลอง ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าค่าสัมประสิทธิ์อัตราการไหลของประตูระบายแบบบานเลื่อนตรง (Cd) ซึ่งเป็นดัชนีใช้ชี้วัดการไหลลอดผ่านประตูนั้น ของทางน้ำมีขยะปนจะมีค่าน้อยกว่าทางน้ำที่ไม่มีขยะปน นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์อัตราการไหล จะลดลงเมื่อปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้น ทั้งสองเงื่อนไขของการไหลผ่านประตูระบายดังกล่าว


การติดตามวัดผลของโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตามแนวชายฝั่งตะวันออกของปากแม่น้ำเจ้าพระยา, วริทธิ์ เจริญฤกษ์ถวิล Jan 2021

การติดตามวัดผลของโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตามแนวชายฝั่งตะวันออกของปากแม่น้ำเจ้าพระยา, วริทธิ์ เจริญฤกษ์ถวิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษา 1) การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งตะวันออกของปากแม่น้ำเจ้าพระยา ยาว 42 กม. ในช่วง 7 ทศวรรษที่ผ่านมา 2) การตอบสนองของแนวชายฝั่งหาดเลน ต่อการมีอยู่ของโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง และ 3) การวัดผลเขื่อนกันคลื่นในการป้องกันพื้นที่ศึกษา การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ถูกประเมินจากภาพถ่ายทางอากาศและภาพดาวเทียม ที่บันทึกในช่วงปี 2549–2564 มีการสร้างข้อมูลแบบจำลองภูมิประเทศ จากการสำรวจด้วยแสงเลเซอร์แบบติดตั้งกับโดรน (UAV-LiDAR) โดยข้อมูลทั้งสองกลุ่มถูกนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลป้องกันชายฝั่ง และใช้ในการสร้างเกณฑ์การออกแบบเขื่อนกันคลื่น สำหรับพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่าในช่วงปี 2497–2539 มากกว่า 50% ของแนวชายฝั่งที่ศึกษาเกิดการถอยร่นอย่างต่อเนื่องและรุนแรง เสียพื้นที่ไปราว 700 เฮกตาร์ ในปี 2537 กำแพงกันตลิ่งถูกสร้างตามแนวชายฝั่งเป็นระยะทาง 10 กม. ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ 23% ของแนวชายฝั่ง ที่ศึกษามีเสถียรภาพจนถึงปัจจุบัน แต่อีก 70% ที่เหลือ เกิดการถดถอยอย่างรุนแรง ด้วยอัตราเฉลี่ย -15 ม./ปี ในปี 2548 เขื่อนกันคลื่นจมน้ำด้วยไส้กรอกทราย ถูกติดตั้งตามแนวชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะ เป็นระยะทาง 25 กม ส่งผลให้ 35% ของชายฝั่งมีเสถียรภาพ อีก 56% ที่เหลือยังคงเกิดการถดถอย แต่อัตราการกัดเซาะเฉลี่ยลดลงเหลือเพียง -8 ม./ปี เนื่องจากไส้กรอกทรายมีอายุการใช้งานเพียง 4–5 ปี เขื่อนกันคลื่นด้วยหินทิ้งจึงถูกนำมาแทนที่ ในปี 2558 ทำให้แนวชายฝั่งที่เกิดการถดถอยลดลงเหลือเพียง 28% ด้วยอัตราเฉลี่ย -2 ม./ปี และมีอัตราการทับถมตะกอนด้านหลังเขื่อนเฉลี่ย 4–12 ซม./ปี ตั้งแต่ปี 2558 เขื่อนกันคลื่นใกล้ฝั่ง ถูกสร้างตามปากคลองสายหลักที่ยังคงเกิดการถอยร่นชายฝั่ง เขื่อนทุกตัวประสบความสำเร็จในการรักษาเสถียรภาพแนวชายฝั่ง และการฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่ง โดยมีอัตราการงอกชายฝั่งเฉลี่ย 11 ม./ปี และมีอัตราการทับถมตะกอนด้านหลังโครงสร้าง 16–32 ซม./ปี นอกจากโครงสร้างวิศวกรรมแล้ว ไม้ไผ่ชะลอคลื่น ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ใช้วัสดุธรรมชาติ ถูกนำมาติดตั้งด้านหลังเขื่อนกันคลื่นจมน้ำ ตามแนวชายฝั่งแนวชายฝั่งพื้นที่ศึกษาตั้งแต่ปี 2545 แม้ว่าส่วนใหญ่ …


Turbulent Flow Of Water-Based Algorithm In Truss Optimization, Saw Thiri Khaing Jan 2020

Turbulent Flow Of Water-Based Algorithm In Truss Optimization, Saw Thiri Khaing

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis presents the novel Turbulent Flow of Water-based Optimization (TFWO) algorithm for the optimal design of structures under applied forces. The method has been inspired by the natural and random responses of vortices in rivers, seas and oceans. The design problem minimizes the total cost (viz., weight or volume) of the structure with the optimal distribution of its member sizes such that the safety and integrity of the resulting structure can be attained. It is formulated as the challenging nonlinear programming problem under the simultaneous ultimate strength and serviceability criteria. The proposed algorithm is encoded as a MATLAB code …


An Assessment Of Root Reinforcement On Soil Slope Using Centrifuge And Numerical Modelling, Gayuh Aji Prasetyaningtiyas Jan 2020

An Assessment Of Root Reinforcement On Soil Slope Using Centrifuge And Numerical Modelling, Gayuh Aji Prasetyaningtiyas

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The extreme rainfall as an effect of climate change has been considered as the main problem due to landslide hazard. The rainfall can trigger slope failure through the kinetic energy of raindrop and decreasing of soil resistance due to the increasing of pore water pressure. Vegetation is considerably as low cost and environmentally friendly slope reinforcement. The root specifically provides high contribution in strengthen the soil through the root-soil interaction. However, there is a gap between slope reinforcement by root modelling and field assessment result. The gap is an impact of indirect linked between laboratory modelling and existing vegetated slope …


การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝนต่อน้ำหลากสูงสุดในลุ่มน้ำน่านตอนบน, ณรงค์ทัศน์ ธัญญเวทย์ Jan 2020

การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝนต่อน้ำหลากสูงสุดในลุ่มน้ำน่านตอนบน, ณรงค์ทัศน์ ธัญญเวทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลุ่มน้ำน่านตอนบนเป็นลุ่มน้ำที่มีปริมาณฝนค่อนข้างสูงในบริเวณพื้นที่ภูเขา และเกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งผลให้เกิดอุทกภัยขึ้นในลุ่มน้ำบ่อยครั้ง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝนที่ส่งผลต่ออัตราการไหลสูงสุดในลำน้ำ โดยใช้แบบจำลอง Rainfall-Runoff-Inundation (RRI) และข้อมูลนำเข้าต่าง ๆ ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนรายวันจากกรมอุตุนิยมวิทยา 4 สถานี ปีพ.ศ. 2544-2560 ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินจากกรมพัฒนาที่ดิน ปีพ.ศ.2546, 2552 และ 2555 ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินจากดาวเทียม Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS) จาก National Aeronautics and Space Administration (NASA) ปีพ.ศ. 2544-2560 และข้อมูลแบบจำลองระดับความสูงเชิงเลขจาก Shuttle Radar Topography Mission (SRTM) ปีพ.ศ. 2544 จากการวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝนรายปี พบว่าบริเวณทางตอนบนของลุ่มน้ำน่านตอนบนมีปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีสูงถึง 1,710 มม./ปี ที่สถานีทุ่งช้าง ในขณะที่ปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยของลุ่มน้ำน่านอยู่ที่ 1,287 มม./ปี จากการวิเคราะห์แนวโน้มของปริมาณฝนรายปีของทั้ง 4 สถานีด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่พบว่ามีแนวโน้มแบบคาบ เมื่อทำการทดสอบแนวโน้มด้วยวิธี Mann-Kendall ของปริมาณฝนรายปีและรายฤดูกาลของสถานีน่าน สถานีท่าวังผา และสถานีทุ่งช้าง พบว่าไม่สามารถปฏิเสธสมมติฐานหลัก คือ ข้อมูลฝนไม่มีแนวโน้ม ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% การวิเคราะห์ปริมาณฝนรายเดือนพบว่าช่วงเดือนสิงหาคมมีปริมาณฝนสูงสุดในปีพ.ศ. 2554 ปริมาณฝนรายเดือนทางด้านตอนบนที่สถานีทุ่งช้างและท่าวังผาในช่วงเดือนมิถุนายนมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยค่อนข้างมาก และทางด้านตอนล่างที่สถานีน่านและสถานีน่าน สกษ.มีปริมาณฝนรายเดือนสูงกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากกรมพัฒนาที่ดินไม่ได้เป็นข้อมูลต่อเนื่องทุกปี ในการศึกษานี้จึงได้ใช้ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินจากดาวเทียม MODIS มาประกอบและทำการปรับเทียบข้อมูลจาก MODIS ด้วยข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดินเพื่อให้มีความสอดคล้องกันก่อนนำเข้าแบบจำลอง RRIจากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณลุ่มน้ำน่านตอนบนมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อย และข้อมูลจากดาวเทียม MODIS ไม่สามารถตรวจจับพื้นที่ที่อยู่อาศัยได้ดีมากนัก นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่ประเภท woody savanna เป็นได้ทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ป่าไม้ จึงจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายลุ่มน้ำย่อยในการศึกษาต่อไป ผลจากการศึกษาผลกระทบต่ออัตราการไหลสูงสุดพบว่า เมื่อกำหนดการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนและพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เพิ่มขึ้น 1% พบว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำฝนส่งผลต่ออัตราการไหลสูงสุดมากกว่าการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน จึงสามารถสรุปได้ว่าผลจากความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝนส่งผลต่ออัตราการไหลสูงสุดมากกว่าผลจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินภายใต้ขอบเขตและข้อจำกัดของการศึกษานี้ซึ่งพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่มากนัก หากมีการศึกษาในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มากขึ้น อาจจะทำให้มีผลต่ออัตราการไหลสูงสุดเพิ่มมากขึ้น


ความต้านทานการไหลของคลองที่มีขยะและผักตบชวาลอยบนผิวน้ำ, สุวิภา กุศลจูง Jan 2020

ความต้านทานการไหลของคลองที่มีขยะและผักตบชวาลอยบนผิวน้ำ, สุวิภา กุศลจูง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้านทานการไหลในคลองที่มีขยะและผักตบชวาลอยบนผิวน้ำ โดยศึกษาในห้องปฏิบัติการและทดลองในรางน้ำเปิดหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 0.60 × 18.0 × 0.75 ม. ที่มีการไหลเวียนของน้ำ ในห้องปฏิบัติการแบบจำลองชลศาสตร์และชายฝั่งทะเล ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การศึกษานี้ได้จำลองขยะที่ลอยอยู่บนผิวน้ำด้วยวัสดุพลาสติกถ่วงน้ำหนักและไม้ จำนวน 75 การทดลอง และผักตบชวา 50 การทดลอง ในการทดลองยังได้เปลี่ยนแปลงความลาดท้องน้ำ (S0) 3 ค่า (0, 0.0001 และ 0.0002) โดยข้อมูลความลึกการไหลในรางน้ำอยู่ระหว่าง 0.45 ม. ถึง 0.60 ม. และอัตราการไหลของน้ำอยู่ระหว่าง 7.87 ลิตรต่อวินาที ถึง 16.15 ลิตรต่อวินาที ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ขยะลอยน้ำและผักตบชวาส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้น และยังพบว่าทางน้ำที่มีขยะลอยน้ำและผักตบชวา ทำให้ค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระของทางน้ำเปิด (n) เพิ่มขึ้นสูงสุดประมาณ 450% และ 375% ตามลำดับ ระยะการลอยและความลึกจมของขยะลอยน้ำและผักตบชวาที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่า n เพิ่มขึ้น ในขณะที่ขยะลอยน้ำและผักตบชวา ส่งผลต่อค่าสัมประสิทธิ์อัตราการไหลผ่านประตู (Cd) ลดลงสูงสุดประมาณ 0.56% และ 0.54% ตามลำดับ ระยะการลอยและความลึกจมของขยะลอยน้ำและผักตบชวาที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่า Cd ลดลง นอกจากนี้พบว่าที่ความลึกจมของขยะลอยน้ำและผักตบชวาเท่ากัน ขยะลอยน้ำส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่า n และการลดลงของ Cd มากกว่าผักตบชวา


Bias Correction Of Satellite Precipitation Estimates Over Thailand, Nelson Stephen Lising Ventura Jan 2020

Bias Correction Of Satellite Precipitation Estimates Over Thailand, Nelson Stephen Lising Ventura

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Over the years, meteorological satellite instruments have produced Satellite Precipitation Estimates (SPEs) that can supply rainfall intensity rates globally. However, these datasets do not directly reflect the actual values of ground measurements so it is imperative to correct the systematic biases of SPEs to produce reliable hydrologic models. Thus, the aim of this study is to assess the effectiveness of bias correction of SPE products over Thailand. The Precipitation Estimates from Remotely Sensed Information using Artificial Neural Networks – Cloud Classification System (PERSIANN-CCS), Global Satellite Mapping of Precipitation - Near Real Time (GSMaP_NRT), and Integrated Multi-satellitE Retrievals for GPM (IMERG) …


การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งและประสิทธิผลของโครงการเขื่อนกันทรายและคลื่น บริเวณปากแม่น้ำปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ณฐมน พนมพงศ์ไพศาล Jan 2020

การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งและประสิทธิผลของโครงการเขื่อนกันทรายและคลื่น บริเวณปากแม่น้ำปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ณฐมน พนมพงศ์ไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและติดตามผลของโครงการเขื่อนกันทรายและคลื่นที่ร่องน้ำปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งปราณบุรี 2) ประเมินความถูกต้องของแบบจำลอง One-Line Model ในการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง และ 3) ศึกษาแนวทางปรับปรุงการพิจารณาตัวแปรทางสมุทรศาสตร์ ที่ใช้ในขั้นตอนศึกษาและออกแบบโครงสร้างวิศวกรรมชายฝั่ง โดยมีพื้นที่ศึกษาครอบคลุมชายฝั่งตั้งแต่บริเวณเขาตะเกียบ ถึง เขากะโหลก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ GENESIS ในการศึกษาประสิทธิผลการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่ง อันเนื่องจากเขื่อนกันทรายและคลื่นฯ รวมถึงใช้ในการทดสอบอิทธิพลของตัวแปรทางสมุทรศาสตร์ อันได้แก่ ชนิดของข้อมูลคลื่น ระดับน้ำขึ้นลง และปริมาณตะกอนแม่น้ำ ที่มีผลต่อความแม่นยำของการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งปราณบุรีด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ก่อนการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นฯ แนวชายฝั่งของพื้นที่ศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระบบกลุ่มหาด (Z1 ถึง Z4) ค่อนข้างมีเสถียรภาพ (อัตราการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งมีค่าน้อยกว่า ±1.0 ม./ปี) ยกเว้นบริเวณปากน้ำปราณบุรี (Z3 และ Z4) ที่มีการงอกเพิ่มของชายฝั่งเฉลี่ยประมาณ 0.6 และ 0.33 เฮกตาร์/ปี ที่ด้านเหนือและด้านใต้ของปากน้ำปราณบุรีตามลำดับ จากผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง ช่วงปี 2541-2561 พบว่าเขื่อนกันทรายและคลื่นฯ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเฉพาะกลุ่มหาด Z3 และ Z4 โดยทำให้เกิดการสะสมตัวของแนวชายฝั่งด้านเหนือและด้านใต้ของปากน้ำปราณบุรี ส่งผลให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นประมาณ 0.48 และ 0.28 เฮกตาร์/ปี ตามลำดับ ซึ่งไม่สอดคล้องกับผลการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งด้วยแบบจำลอง ในขั้นตอนการศึกษาและออกแบบโครงการ โดยมีความคลาดเคลื่อนของแนวชายฝั่งทำนายอยู่ระหว่าง 2-13,000% สำหรับผลการศึกษาอิทธิพลของตัวแปรทางสมุทรศาสตร์ ต่อผลการทำนายแนวชายฝั่งปราณบุรีด้วยแบบจำลอง GENESIS พบว่าการใช้ข้อมูลคลื่นลมจากการตรวจวัด ทำให้ผลการทำนายแนวชายฝั่งด้านเหนือของปากแม่น้ำ มีความถูกต้องเพิ่มขึ้น 93% ส่วนชายฝั่งด้านใต้ของปากแม่น้ำมีความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 3,800% ในขณะที่ลักษณะระดับน้ำขึ้นน้ำลงและตะกอนแม่น้ำปราณบุรี ส่งผลต่อรูปร่างแนวชายฝั่งคาดการณ์อย่างไม่มีนัยสำคัญ เนื่องจากชายฝั่งปราณบุรีมีพิสัยของน้ำขึ้นน้ำลงน้อย (เฉลี่ย 1.2 ม.) แต่ความลาดชันชายหาดสูง (1:4) รวมถึงปริมาณตะกอนแม่น้ำมีน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณตะกอนชายฝั่ง (น้อยกว่า 10%)


การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นของเขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วน, นันทวุฒิ อินทรียงค์ Jan 2019

การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นของเขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วน, นันทวุฒิ อินทรียงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหากัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทยมีความรุนแรงอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณอ่าวไทยตอนบน ที่ซึ่งมีลักษณะเป็นหาดโคลน มีเพียงโครงสร้างที่สามารถส่งถ่ายน้ำหนักและแรงลงสู่ชั้นดินที่ลึกลงไปเท่านั้นที่สามารถสร้างในพื้นที่โคลนนี้ได้ การใช้โครงสร้างเสาเข็มปักลงในดินและมีชิ้นส่วนลักษณะคล้ายกำแพงในบริเวณผิวน้ำ โดยขอนิยามว่า “เขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วน” อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการป้องกันพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นฐานรากอ่อน อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการทำงานของเขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วนยังไม่ได้รับการพิสูจน์ จึงเป็นเหตุให้การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติคลื่นและลักษณะทางกายภาพของโครงสร้าง กับความสามารถในการสะท้อนและการส่งผ่านคลื่น แบบจำลองทางกายภาพ 2 มิติถูกพัฒนาในอ่างจำลองคลื่น ภายใต้เงื่อนไขคลื่นสม่ำเสมอที่ถูกสร้างจากเครื่องกำเนิดคลื่นด้วยความชันคลื่น (Hi/L) ในช่วง 0.010 – 0.025 แบบจำลองเขื่อนกันคลื่นถูกสร้างจากเหล็กกล่องด้วยการเปลี่ยนแปลงความลึกการจมจาก 0.075 – 0.300 เมตร และช่องว่างระหว่างเสาเปลี่ยนแปลงจาก 0.5 – 1.5 เมตร ระดับน้ำนิ่งและความหนาของเขื่อนกันคลื่นทีค่าคงที่เท่ากับ 0.45 และ 0.0375 เมตร ตามลำดับ การทดลอง 120 กรณีถูกดำเนินการโดยมีวัดขนาดของความสูงคลื่นด้านหน้าและหลังโครงสร้าง แล้วคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่น จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นมีความสัมพันธ์กับความหนาโครงสร้างสัมพัทธ์ (b/L), ความลึกโครงสร้างสัมพัทธ์(D/d), ปัจจัยความไม่เต็มส่วนของเขื่อนกันคลื่น​, ความลึกสัมพัทธ์ (d/L), ความสูงคลื่นสัมพัทธ์ (Hi/d) และความชันคลื่น (Hi/L) ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนของคลื่นมีค่าลดลงอย่างเอกซ์โพเนนเชียลเมื่อ b/L, d/L, Hi/d หรือ Hi/L เพิ่มขึ้น แต่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อ D/d เพิ่มขึ้น ทั้งในกรณีที่คลื่นล้นและไม่ล้นข้ามโครงสร้าง อีกทั้งเมื่อคลื่นล้นข้ามโครงสร้างจะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนของคลื่นลดลง สำหรับผลลัพธ์ของการส่งผ่านคลื่นพบว่าการส่งผ่านคลื่นมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างเอกซ์โพเนนเชียลเมื่อ b/L, d/L, Hi/d หรือ Hi/L เพิ่มขึ้น แต่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อปัจจัยความไม่เต็มส่วนของเขื่อนกันคลื่นเพิ่มขึ้น ทั้งในกรณีที่คลื่นล้นและไม่ล้นข้ามโครงสร้าง อีกทั้งค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านยังเพิ่มขึ้นเมื่อคลื่นสามารถล้นข้ามโครงสร้างได้ นอกจากนี้ยังพบว่าการเปลี่ยนแปลงช่องว่างระหว่างเสาไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่อค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่น ในการศึกษานี้ได้พัฒนาสมการของสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นด้วยวิธีการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อน เพื่อสนับสนุนการออกแบบโครงสร้างในการบรรเทาปัญหากัดเซาะชายฝั่งสำหรับพื้นที่แบบหาดโคลนในอนาคต


Surface Water-Groundwater Interaction Processes For Groundwater Pumping Management In Saigon River Basin, Long Thanh Tran Jan 2019

Surface Water-Groundwater Interaction Processes For Groundwater Pumping Management In Saigon River Basin, Long Thanh Tran

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since the 1990s, the excessive extraction of groundwater of Saigon River basin is dramatically increased and groundwater resources of Saigon River basin have been facing dramatically drawdown groundwater level in the downstream area. The study attempted to develop groundwater modeling through employing SW-GW interaction parameters and incorporate the concept of sustainable pumping yield to detect optimal pumping management under growing water demand in Saigon River Basin. According to field observed soil moisture, the study recognized the average monthly percolation rate of sand clay loam, sand clay, and clay varies 2-4.5 mm/day, 1.5-3.5 mm/day, and 0.5-2 mm/day, respectively to rainfall intensity …


Impacts And Adaptive Measures For Groundwater Use In The Mekong Delta. Case Study : Tra Vinh Province, Tuan Pham Van Jan 2019

Impacts And Adaptive Measures For Groundwater Use In The Mekong Delta. Case Study : Tra Vinh Province, Tuan Pham Van

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Because of the rapid growth of population and fast economic development in the Vietnamese Mekong Delta (VMD), the surface water resources are unable to meet these demands and groundwater is also over-abstracted. Groundwater depletion and saline water intrusion become the main problems that threaten drinking water supplies, farming systems, and livelihoods in the delta, especially coastal areas. It is necessary to provide a fully comprehensive picture of groundwater use (GWU) and its impact issues In Tra Vinh Province, a coastal province of VMD, dependency on GW increases from north to south which has a strong relation with availability of freshwater …


Flood Damage Assessment: A Case Study In Bakan And Phnom Kravanh Districts, Pursat Province, Cambodia, Chhunleang Rorm Jan 2018

Flood Damage Assessment: A Case Study In Bakan And Phnom Kravanh Districts, Pursat Province, Cambodia, Chhunleang Rorm

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Flood is still a major climate hazard in Pursat province, a potential province for agricultural development in Cambodia. The consequences of this water-related disaster are social problems such as poverty, food insecurity and health problems, which indirectly prolong the growth of the country's economy. To propose a proper flood mitigation measure, flood damage assessment is considered as a fundamental step to implement so that the value of elements at risk is initially evaluated. The objectives of this research are to assess flood damage in agriculture and affected people in Bakan and Phnom Kravanh districts, Pursat province from 2000 to 2014, …


Drought Assessment For The Greater Baribo Basin In Cambodia, Kimhuy Sok Jan 2018

Drought Assessment For The Greater Baribo Basin In Cambodia, Kimhuy Sok

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cambodia is a developing country. The development and economic of the country rely mainly on agricultural production. Cambodia is a major exporter in the world rice market. The Tonle Sap basin covers about 44% of country. Rice production in the Tonle Sap basin is a main driver for national economic and social development. Due to natural variability and climate change, many forms of the natural disaster such as heavy storm, flood, and drought have occurred in the Tonle Sap basin. Over the recent decades, increased attention has been drawn to drought due to the tendency of rainfall decline. The Royal …


Micro-Scale Flood Hazard Assessment In Phnom Penh, Cambodia, Naichy Sea Jan 2018

Micro-Scale Flood Hazard Assessment In Phnom Penh, Cambodia, Naichy Sea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Water-related disasters in urban area, especially urban floods have become more frequent and severe. This leads to loss of life, infrastructure damage, business interruption as well as difficulties in conducting daily activities. Phnom Penh, the capital city of Cambodia, has frequently experienced significant rainfall-flood events during rainy season. Without proper prevention and mitigation and management of urban drainage system, Phnom Penh is expected to confront with the current and future challenge of water-related disaster. To address this urban flood issue, flood modeling could be used to assess flood severity and make a visual representation of the urban flood hazard as …


การจำลองการรั่วไหลของน้ำมันบริเวณชายฝั่งทะเลระยอง, พงษ์สิทธิ์ ผลสมบูรณ์ Jan 2018

การจำลองการรั่วไหลของน้ำมันบริเวณชายฝั่งทะเลระยอง, พงษ์สิทธิ์ ผลสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การรั่วไหลของน้ำมันในทะเลส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การคาดการณ์การเคลื่อนตัวของน้ำมันที่รั่วไหลในทะเล จำเป็นต้องทราบการไหลเวียนของกระแสน้ำจึงจะทำให้การคาดการณ์ตำแหน่งที่น้ำมันจะเคลื่อนที่ไปได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามการได้มาของข้อมูลกระแสน้ำและลม ใช้วิธีการเก็บแบบตำแหน่งซึ่งไม่ครอบคลุมทั้งพื้นที่ จึงประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการจำลองการไหลเวียนของกระแสน้ำที่ปรับเทียบกับข้อมูลตรวจวัดในการจำลองการไหลเวียนของกระแสน้ำในพื้นที่ศึกษา การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจำลองการรั่วไหลของน้ำมันบริเวณชายฝั่งทะเลระยอง โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยแบบจำลองย่อย 3 ชนิด คือ แบบจำลอง SWAN ใช้ในการจำลองคลื่นที่เกิดจากลม, แบบจำลอง Delft3D ใช้ในการจำลองกระแสน้ำเนื่องจากน้ำขึ้นน้ำลงและคลื่นลม และแบบจำลอง GNOME ใช้ในการจำลองการรั่วไหลของน้ำมันบริเวณชายฝั่งทะเลระยอง โดยในการจำลองการรั่วไหลของน้ำมัน จะแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจำลองคลื่นและกระแสน้ำในอ่าวไทย เพื่อนำกระแสน้ำสุทธิมาใช้ในการคาดการณ์การเคลื่อนที่ของน้ำมันที่รั่วไหลในส่วนที่สองต่อไป แบบจำลอง SWAN ถูกสอบเทียบด้วยข้อมูลความสูงคลื่นนัยสำคัญจากทุ่นสมุทรศาสตร์ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 - พ.ศ.2545 จำนวน 6 สถานี ส่วนแบบจำลอง Delft3D ใช้ข้อมูลระดับน้ำทำนายของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 – พ.ศ.2559 จำนวน 10 สถานี, ข้อมูลระดับน้ำตรวจวัดสถานีสันดอนเจ้าพระของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2556 และข้อมูลกระแสน้ำตรวจวัดรายชั่วโมงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 - พ.ศ.2556 จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ในการสอบเทียบกระแสน้ำจากน้ำขึ้นน้ำลงและกระแสน้ำสุทธิตามลำดับ ผลการศึกษากระแสน้ำพบว่า อิทธิพลหลักที่มีผลต่อการไหลเวียนของกระแสน้ำในอ่าวไทยคือน้ำขึ้นน้ำลง แต่ก็มีบางพื้นที่ที่คลื่นลมมีอิทธิพลด้วยซึ่งจะมีผลในบริเวณที่เป็นน้ำตื้น เช่น สถานีเกาะสีชัง เป็นต้น การสอบเทียบแบบจำลอง GNOME ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในช่วงที่เกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วบริเวณเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2556 ผลจากการศึกษาด้วยแบบจำลอง GNOME พบว่าทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำมันสอดคล้องกับทิศทางของลม โดยในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ น้ำมันจะเคลื่อนตัวออกจากชายฝั่งทะเลระยองไปในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนในช่วงเปลี่ยนฤดูลมมรสุมและช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ น้ำมันจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งทะเลระยอง เช่นบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด เป็นต้น ทั้งนี้ตำแหน่งและเวลาที่น้ำมันเคลื่อนตัวกระทบชายฝั่งจะขึ้นอยู่กับความเร็วและทิศทางของลม โดยในเดือนพฤษภาคมจะมีความเสี่ยงที่การรั่วไหลของน้ำมันเคลื่อนตัวกระทบชายฝั่งระยองเร็วที่สุดในรอบปี จึงควรมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ


Micro-Scale Flood Hazard Assessment In Phnom Penh, Cambodia, Naichy Sea Jan 2018

Micro-Scale Flood Hazard Assessment In Phnom Penh, Cambodia, Naichy Sea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Water-related disasters in urban area, especially urban floods have become more frequent and severe. This leads to loss of life, infrastructure damage, business interruption as well as difficulties in conducting daily activities. Phnom Penh, the capital city of Cambodia, has frequently experienced significant rainfall-flood events during rainy season. Without proper prevention and mitigation and management of urban drainage system, Phnom Penh is expected to confront with the current and future challenge of water-related disaster. To address this urban flood issue, flood modeling could be used to assess flood severity and make a visual representation of the urban flood hazard as …


Flood Damage Assessment: A Case Study In Bakan And Phnom Kravanh Districts, Pursat Province, Cambodia, Chhunleang Rorm Jan 2018

Flood Damage Assessment: A Case Study In Bakan And Phnom Kravanh Districts, Pursat Province, Cambodia, Chhunleang Rorm

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Flood is still a major climate hazard in Pursat province, a potential province for agricultural development in Cambodia. The consequences of this water-related disaster are social problems such as poverty, food insecurity and health problems, which indirectly prolong the growth of the country's economy. To propose a proper flood mitigation measure, flood damage assessment is considered as a fundamental step to implement so that the value of elements at risk is initially evaluated. The objectives of this research are to assess flood damage in agriculture and affected people in Bakan and Phnom Kravanh districts, Pursat province from 2000 to 2014, …


Surface Water And Groundwater Interaction Mechanism: Plaichumphol Irrigation Project As A Study Area, Pwint Phyu Aye Jan 2018

Surface Water And Groundwater Interaction Mechanism: Plaichumphol Irrigation Project As A Study Area, Pwint Phyu Aye

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Plaichumphol Irrigation Project is an irrigation area which depends on both irrigation water and groundwater for long time. Farmers in that area have their cultivation almost whole year. Therefore groundwater supply is a major alternative source especially in dry periods. The aims of this study are to understand the interactions and parameters of land and river recharge, to analyse the surface water and the surface water and groundwater interaction mechanism via development of local groundwater model.
For this purpose, groundwater flow model (GMS) was used to develop regional and local groundwater models. The model was calibrated from 1993-1997 and …


Flood Damage Assessment: A Case Study In Bakan And Phnom Kravanh Districts, Pursat Province, Cambodia, Chhunleang Rorm Jan 2018

Flood Damage Assessment: A Case Study In Bakan And Phnom Kravanh Districts, Pursat Province, Cambodia, Chhunleang Rorm

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Flood is still a major climate hazard in Pursat province, a potential province for agricultural development in Cambodia. The consequences of this water-related disaster are social problems such as poverty, food insecurity and health problems, which indirectly prolong the growth of the country's economy. To propose a proper flood mitigation measure, flood damage assessment is considered as a fundamental step to implement so that the value of elements at risk is initially evaluated. The objectives of this research are to assess flood damage in agriculture and affected people in Bakan and Phnom Kravanh districts, Pursat province from 2000 to 2014, …


Micro-Scale Flood Hazard Assessment In Phnom Penh, Cambodia, Naichy Sea Jan 2018

Micro-Scale Flood Hazard Assessment In Phnom Penh, Cambodia, Naichy Sea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Water-related disasters in urban area, especially urban floods have become more frequent and severe. This leads to loss of life, infrastructure damage, business interruption as well as difficulties in conducting daily activities. Phnom Penh, the capital city of Cambodia, has frequently experienced significant rainfall-flood events during rainy season. Without proper prevention and mitigation and management of urban drainage system, Phnom Penh is expected to confront with the current and future challenge of water-related disaster. To address this urban flood issue, flood modeling could be used to assess flood severity and make a visual representation of the urban flood hazard as …


การบริหารจัดการระบบอ่างเก็บน้ำภายใต้เงื่อนไขการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในลุ่มน้ำแม่กลอง, เพ็ญนภา พีรวงศ์สกุล Jan 2017

การบริหารจัดการระบบอ่างเก็บน้ำภายใต้เงื่อนไขการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในลุ่มน้ำแม่กลอง, เพ็ญนภา พีรวงศ์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลุ่มน้ำแม่กลองเป็นลุ่มน้ำที่สำคัญในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีเขื่อนขนาดใหญ่วางขนานกันจำนวน 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ โดยทางด้านล่างมีเขื่อนทดน้ำอีกจำนวน 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนท่าทุ่งนา และเขื่อนแม่กลอง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อส่งเข้าระบบในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของภาคกลาง และภาคตะวันตกได้อย่างดี โดยในปัจจุบันพบว่าในปีน้ำปกติลุ่มน้ำแม่กลองมีปริมาณน้ำมากกว่าความต้องการใช้น้ำ สามารถผันน้ำเข้าช่วยเหลือโครงการชลประทานบริเวณลุ่มน้ำท่าจีน ผันน้ำเพื่อผลิตน้ำประปาที่โรงผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ และผันน้ำเพื่อช่วยผลักดันน้ำเค็มทางตอนล่างของลุ่มน้ำ แต่ในปีน้ำน้อยพบว่าลุ่มน้ำแม่กลองมีการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม ขาดแคลนน้ำผลักดันน้ำเค็มท้ายลุ่ม และรวมถึงปัญหาปริมาณน้ำในเขื่อนต่ำจนไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ในปัจจุบันเขื่อนทั้ง 4 เขื่อนในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองนั้น มีการบริหารจัดการน้ำที่เป็นอิสระต่อกัน ทั้งที่อ่างเก็บน้ำเหล่านั้นเชื่อมต่อกันด้วยแม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ซึ่งสามารถบริหารจัดการน้ำร่วมกันเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดภายใต้ข้อจำกัดที่มี วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการพัฒนาแบบจำลองการบริหารจัดการระบบอ่างเก็บน้ำ (multi - reservoir) โดยการหาแนวทางการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมกับเป้าหมาย (objective function) ภายใต้เงื่อนไขการพัฒนาเศรษฐกิจของลุ่มน้ำ ในการวิจัยนี้ได้ศึกษาความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ระหว่างตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต (Input - Output Table) และความต้องการใช้น้ำ ของ 3 ภาคส่วนเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาคส่วนเกษตรกรรม ภาคส่วนอุตสาหกรรม และภาคส่วนบริการ ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ในการพิจารณามูลค่าของน้ำ สามารถหาผลประโยชน์ทั้งทางตรง ทางอ้อม และกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานอุปสงค์ของระบบเศรษฐกิจตามความต้องการใช้น้ำของแต่ละภาคส่วนได้ โดยแบบจำลองของระบบอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำแม่กลองเป็นปัญหาแบบไม่เป็นเชิงเส้นจํานวนผสม (MINLP) การศึกษานี้ได้พัฒนาแบบจำลองการบริหารจัดการระบบอ่างเก็บน้ำในโปรแกรม GAMS ใช้โปรแกรมแก้ปัญหาสำร็จรูป BONMIN โดยจะพิจารณาการบริหารจัดการน้ำในปี พ.ศ. 2556 - 2557 ซึ่งเป็นปีน้ำปกติ และน้ำน้อยตามลำดับ มีสมการเป้าหมาย (objective function) ที่พิจารณาผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ของน้ำที่ส่งไปให้ใช้ประโยชน์ดังนี้ น้ำเพื่อการเกษตร น้ำเพื่อการประปาโรงผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ น้ำเพื่อภาคอุตสาหกรรมในลุ่มน้ำ น้ำเพื่อภาคบริการในลุ่มน้ำ และพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากเขื่อนที่พิจารณา จากการศึกษาพบว่าการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำร่วมกันสามารถลดการขาดน้ำของภาคเกษตรได้ถึงร้อยละ 80 สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำได้มากขึ้นร้อยละ 0.70 และสามารถเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์เมื่อเทียบกับการบริหารจัดการจริงได้ถึงร้อยละ 10.10 ในปีน้ำปกติ ส่วนในปีน้ำน้อยสามารถลดการขาดน้ำของภาคเกษตรได้ถึงร้อยละ 58.56 สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำได้มากขึ้นร้อยละ 16.15 และสามารถเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ได้ถึงร้อยละ 4.36