Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Nuclear Engineering

Chulalongkorn University

Publication Year

Articles 1 - 19 of 19

Full-Text Articles in Engineering

Production Of Low Trans-Fatty Acid Margarine By Plasma Hydrogenation, Kunlanan Puprasit Jan 2021

Production Of Low Trans-Fatty Acid Margarine By Plasma Hydrogenation, Kunlanan Puprasit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Margarine is a widely used raw material in the food and bakery industry. A successfully novel technique for refined palm olein hydrogenation to free trans-fat margarine production using non-thermal dielectric barrier discharge (DBD) plasma has been demonstrated. The new green method does not use chemicals as a catalyst, thus making it extremely environmentally friendly. This also performs well at room temperature and atmospheric pressure making it easier to manage. Two-electrode arrangement patterns were studied in this research: parallel plate and needle-in-tube. The results showed that using the parallel plate electrodes, 1.44% trans-fat (was detected) and a trans-fat generation rate of …


การคำนวณการรั่วไหลของสารประกอบซีเซียมในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิหน่วยที่สี่ด้วยโปรแกรม Modified Art Mod 2, ชัยวิวัฒน์ กฤตสิน Jan 2021

การคำนวณการรั่วไหลของสารประกอบซีเซียมในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิหน่วยที่สี่ด้วยโปรแกรม Modified Art Mod 2, ชัยวิวัฒน์ กฤตสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในอุบัติเหตุร้ายแรงของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิที่ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2011 อุบัติเหตุในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิหน่วยที่สี่ที่กักเก็บแท่งเชื้อเพลิงจำนวนมาก เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์เล็งเห็นถึงความสำคัญของอุบัติเหตุร้ายแรงในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว ที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรงเทียบเท่าหรือมากกว่าอุบัติเหตุร้ายแรงทางนิวเคลียร์จากการหลอมเหลวแท่งเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ สำหรับประเทศไทยงานวิจัยเกี่ยวกับอุบัติเหตุร้ายแรงของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ถูกศึกษาและพัฒนาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนวางแผนการจัดการอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ และการวางแผนการรับมือผลกระทบทางนิวเคลียร์ จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่อยู่ใกล้เคียงกับประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียน ดังนั้นความเข้าใจการดำเนินไปของอุบัติเหตุในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิ จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นวิจัยที่มีความจำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการรับมือผลกระทบทางนิวเคลียร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต งานวิจัยนี้ศึกษาการเกิดอุบัติเหตุในกรณีสูญเสียอุปกรณ์ในการหล่อเย็นในบ่อเก็บเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิหน่วยที่สี่ โดยเริ่มจากกการประเมินความร้อนจากการสลายตัวของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และสมการที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น เพื่อใช้ในการคำนวณอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นที่จะเพิ่มขึ้น และเวลาที่ใช้ในการทำให้น้ำหล่อเย็นในบ่อเก็บเชื้อเพลิงเกิดการเดือดและระเหย ตามลำดับ จากการคำนวณพบว่า ระดับน้ำหล่อเย็นจะลดลงจนถึงบริเวณส่วนบนของปลอกหุ้มเชื้อเพลิง เป็นเวลาประมาณ 14 วัน และส่วนล่างของปลอกหุ้มเชื้อเพลิง และ 30 วันตามลำดับ อุณหภูมิของปลอกหุ้มเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นจนถึง 1100 องศาเคลวิน ภายในเวลา 17 วัน โดยในระยะเวลาดังกล่าวคาดว่าทำให้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์เกิดการบวมและแตกออกจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ตามลำดับ ส่งผลให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกไปสู่สิ่งแวดล้อม จากนั้นจึงใช้โปรแกรม Modified ART Mod 2 ในการจำลองการรั่วไหลของซีเซียมไอโดไดด์ในรูปแบบของแก๊สและซีเซียมไฮดรอกไซด์ในรูปแบบของแอโรซอลในขณะที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ซึ่งพบว่าซีเซียมไอโดด์ในรูปแบบของแก๊สและซีเซียมไฮดรอกไซด์ในรูปแบบของแอโรซอลสามารถรั่วไหลออกไปสู่สิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ


Effect Of Dielectric Barrier Discharge Plasma Hydrogenation On Oxidation Stability Of Biodiesel Derived From Vegetable Oils, Grittima Kongprawes Jan 2021

Effect Of Dielectric Barrier Discharge Plasma Hydrogenation On Oxidation Stability Of Biodiesel Derived From Vegetable Oils, Grittima Kongprawes

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A parallel-plate type dielectric barrier discharge (DBD) plasma was utilized to produce partially hydrogenated fatty acids methyl ester (PH-FAME) derived from soybean and palm FAME. PH-FAME exhibits improved oxidation resistance, resulting in a longer storage time and a delay in changing fuel properties. The DBD plasma reaction occurred at atmospheric pressure and ambient temperature without a catalyst. The best condition for 35 mL of soybean FAME hydrogenation was using 25% H2 at ambient temperature for 5.5 h. An increase in saturated and monounsaturated FAMEs corresponded to a reduction of iodine value from 128 to 67.4. This condition created trans fatty …


การจำลองมอนติคาร์โลของการเกิดรังสีเอกซ์ในเครื่องพลาสมาโฟกัส, ภัคจิรา คชเสนี Jan 2021

การจำลองมอนติคาร์โลของการเกิดรังสีเอกซ์ในเครื่องพลาสมาโฟกัส, ภัคจิรา คชเสนี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในวิจัยนี้ได้ทำการจำลองการแผ่รังสีเอกซ์โดยใช้โมเดลจากเครื่องพลาสมาโฟกัส TPF – II ขนาด 1.5 kJ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบมอนติคาร์โล (Geant4) โดยทำการจำลองในช่วงที่เกิดอันตรกิริยาระหว่างลำอิเล็กตรอนกับขั้วแอโนดและทำการวิเคราะห์รังสีเอกซ์ที่เกิดขึ้น ทำการเปรียบเทียบรังสีเอกซ์เมื่อมีการเปลี่ยนลักษณะของขั้วแอโนดในส่วนของวัสดุและรูปร่างซึ่งได้แก่ 1. ขั้วแอโนดทรงกระบอกตันทำจากทองแดง 2. ขั้วแอโนดทรงกระบอกตันทำจากทังสเตน 3. ขั้วแอโนดทรงกระบอกเจาะรูทำจากทองแดง 4. ขั้วแอโนดทรงกระบอกเจาะรูทำจากทังสเตน โดยผลการจำลองพบว่าปริมาณรังสีเอกซ์จะมีค่าสูงสุดมุม 60-70 องศา เมื่อพลังงานของลำอิเล็กตรอนประมาณ 200 keV และที่มุม 10 องศา เมื่อพลังงานของลำอิเล็กตรอนตั้งแต่ 300 keV ขึ้น โดยวัสดุของขั้วแอโนดที่ให้ค่าปริมาณรังสีเอกซ์สูงสุด ได้แก่ ทังสเตน


การพัฒนาผลึกซีเซียมแคลเซียมไอโอไดด์เพื่อใช้ในการตรวจวัดรังสี, ประวิทย์ บัวบาน Jan 2020

การพัฒนาผลึกซีเซียมแคลเซียมไอโอไดด์เพื่อใช้ในการตรวจวัดรังสี, ประวิทย์ บัวบาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาผลึกซีเซียมแคลเซียมไอโอไดด์ (CsCaI3) เพื่อใช้ในการตรวจวัดรังสี ผลึกซีเซียมแคลเซียมไอโอไดด์มีสัดส่วนของสารประกอบตั้งต้น คือ ซีเซียมไอโอไดด์และแคลเซียมไอโอไดด์ (CsI:CaI2) ในสัดส่วนโดยน้ำหนักที่แตกต่างกัน คือ 80:20 และ 97:3 ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์พบว่า ผลึกทั้งหมดมีโครงสร้างผลึกของรูปแบบผลึก CsI ที่มีระนาบที่โดดเด่นคือ (110) และ (211) มีค่าคงที่แลตทิซ คือ 4.5721±0.0091 และ 4.5512±0.0107 Å เกิดสภาวะความเครียดในผลึกเมื่อเปรียบเทียบกับผลึก CsI อ้างอิง ผลึก CsCaI3 สัดส่วน 80:20 ที่ระนาบ (110) และ (211) มีขนาดผลึก คือ 25.30 และ 25.32 nm ผลึก CsCaI3 สัดส่วน 97:3 ที่ระนาบ (110) และ (211) มีขนาดผลึก คือ 25.10 และ 26.12 nm เห็นได้ว่า การเพิ่มปริมาณแคลเซียมไอโอไดด์ที่สูงขึ้นส่งผลทำให้การจัดเรียงระนาบของโครงสร้างผลึกมีการเปลี่ยนแปลงบ้างเพียงเล็กน้อย สำหรับการวิเคราะห์คุณสมบัติทางแสงผลึก CsCaI3 สัดส่วน 80:20 มีจุดเริ่มโปร่งแสงที่ความยาวคลื่น 439 nm เกิดโปร่งแสงเต็มที่ร้อยละ 65 และมีค่าช่องว่างแถบพลังงาน 2.82, 3.63 และ 3.87 eV ผลึก CsCaI3 สัดส่วน 97:3 จุดเริ่มโปร่งแสงที่ความยาว 426 nm เกิดโปร่งแสงเต็มที่ร้อยละ 49 และมีค่าช่องว่างแถบพลังงาน 2.91 และ 3.45 eV ในส่วนผลตรวจสอบการเปล่งแสงของผลึกด้วยเทคนิคโฟโตลูมิเนสเซนซ์ ผลึก CsCaI3 สัดส่วน 80:20 และ 97:3 ความยาวคลื่นแสงที่เปล่งออกมา 458 nm โดยเปรียบเทียบผลึก CsI(Tl) มีความยาวคลื่นแสงที่เปล่งออกมา …


การพัฒนาผลึกซีเซียมสตรอนเชียมไอโอไดด์เพื่อใช้ในการตรวจวัดรังสี, วศิน ชีวจรัสสกุล Jan 2020

การพัฒนาผลึกซีเซียมสตรอนเชียมไอโอไดด์เพื่อใช้ในการตรวจวัดรังสี, วศิน ชีวจรัสสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตรวจวัดรังสีนั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการตรวจวัดรังสี และอุปกรณ์วัดรังสีมีส่วนประกอบที่สำคัญคือหัววัดรังสี และหัววัดรังสีชนิดผลึกเรืองแสงเป็นที่นิยมใช้งานเนื่องด้วยมีประสิทธิภาพการวัดรังสีที่ดีแต่ว่ามีราคาที่ค่อนข้างแพง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาผลึกเพื่อใช้การตรวจวัดรังสี ด้วยวิธีการปลูกแบบบริดจ์แมน-สต็อกบาร์เกอร์ที่ปรับปรุงขึ้นเอง โดยศึกษาการเพิ่มปริมาณสัดส่วนของสตรอนเชียมไอโอไดด์ร้อยละ 1, 3 และ 5 จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพผลึกและคุณสมบัติทางแสงของผลึกอย่างไร โดยทำการวิเคราะห์โครงสร้างผลึก คุณภาพผลึก และคุณสมบัติทางแสง พบว่าเมื่อปริมาณสัดส่วนสตรอนเชียมไอโอไดด์เพิ่มขึ้นในปริมาณเล็กน้อยนี้ โครงสร้างผลึกและคุณภาพความเป็นผลึกมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก คือเกิดสภาวะความเครียดแบบบีบอัดในผลึกเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยมีค่าคงที่แลตทิชเฉลี่ยเท่ากับ 4.4647 ± 0.0707, 4.5156 ± 0.0370 และ 4.4574 ± 0.0958 Å ทำให้เกิดสภาวะความเครียดแบบบีบอัดในผลึกเป็น -2.23%, -1.12% และ -2.39% และขนาดผลึกมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อยคือ 16.47 ± 0.89, 16.62 ± 0.93 และ 16.72 ± 1.15 nm ตามลำดับ โดยรวมถือว่าไม่ส่งผลเสียต่อโครงสร้างผลึกและคุณภาพความเป็นผลึกเมื่อผสมสตรอนเชียมปริมาณเล็กน้อย แต่ว่าสตรอนเชียมที่ผสมเข้าไปช่วยทำให้แสงที่เปล่งออกมาจากผลึกมีความเข้มของการเปล่งแสงสูงมากขึ้น และแสงมีความยาวคลื่นที่เพิ่มมากขึ้นเป็นประมาณ 595-600 nm สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพการตรวจวัดรังสีแกมมาของผลึกขนาด f 1 cm. x 1 cm. พบว่า ผลึกที่มีอัตราส่วนร้อยละ 1, 3 และ 5(หนา 0.5 cm.) มีประสิทธิภาพการวัดรังสีร้อยละ 78.92, 80.54 และ 61.19 และมีความสามารถในการแยกพลังงานรังสี 76.72, 70.62 และ 47.62 ตามลำดับ ของการตรวจวัดรังสีพลังงาน 122 keV และประสิทธิภาพการวัดรังสีลดลงในกรณีการวัดรังสีแกมมาพลังงาน 662 keV เท่ากับ 22.78, 26.10 และ 14.50 ตามลำดับ


Virtual Patient-Specific Vmat Quality Assurance Using Machine Learning In Radiotherapy, Sangutid Thongsawad Jan 2020

Virtual Patient-Specific Vmat Quality Assurance Using Machine Learning In Radiotherapy, Sangutid Thongsawad

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study was to develop the virtual patient-specific VMAT QA based on the extracted features from the multileaf collimator (MLC) patterns and fluence map. The machine learning (ML) approach was used to develop the prediction (or regression model) and classification models. The input of models applied Multileaf collimator (MLC) patterns and fluence map as the key features, whereas gamma passing rates (GPR) results from patient-specific VMAT QA of electronic portal imaging devices (EPID) as the label or the response class for testing these models. Sensitivity and specificity scores were calculated for models' accuracy. The highest sensitivity score …


การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วโดยใช้เครื่องไดอิเล็คทริคแบร์ริเออร์ดิสชาร์ตพลาสมาแบบหัวฉีดละออง, กุลนันทน์ ภูประสิทธิ์ Jan 2018

การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วโดยใช้เครื่องไดอิเล็คทริคแบร์ริเออร์ดิสชาร์ตพลาสมาแบบหัวฉีดละออง, กุลนันทน์ ภูประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ได้ศึกษาผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ไดอิเล็คทริคแบร์ริเออร์ดิสชาร์ตพลาสมาแบบหัวฉีดละออง โดยทำการแบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นการสร้างระบบจ่ายไฟเพื่อก่อให้เกิดพลาสมา โดยสามารถจ่ายแรงดันไฟฟ้าได้สูงถึง 15 kV จ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงถึง 100 mA และปรับความถี่ได้ในช่วง 20 - 20,000 Hz โดยระบบประกอบด้วยเครื่องกำเนิดสัญญาณ (Signal generator), เครื่องขยายสัญญาณ (Signal amplifier), หม้อแปลงขึ้น (Step-up transformer) และหม้อแปลงนีออนไลท์ (Neon sign transformer) 5 ตัวต่อขนานกัน ซึ่งระบบจ่ายไฟที่สร้างขึ้นนี้จะสามารถก่อให้เกิดพลาสมาที่ความดันบรรยากาศ และส่วนที่สองเป็นการศึกษาการนำระบบจ่ายไฟที่สร้างขึ้นเพื่อก่อให้เกิดพลาสมาแบบไดอิเล็คทริค โดยนำมาทำปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน (Transesterification) โดยปรับอัตราส่วน เมทานอล:น้ำมันพืช ให้อยู่ในช่วง 3:1 - 10:1 โดยโมล ใช้น้ำมันพืช 100 ml ที่อุณหภูมิห้อง ทำการหมุนเวียนระบบด้วยปั๊มรีดท่อ (Peristaltic pump) ระยะห่างระหว่างขั้วแคโทด (Cathode) และแอโนด (Anode) 3 มิลลิเมตร และฉีดพ่นสารผสมโดยใช้หัวฉีดละออง (Atomizing nozzle) เป็นเวลา 2 ชั่วโมงพบว่าค่าผลผลิตไบโอดีเซล (Biodiesel yield) น้อยกว่า 1 % ของทั้ง 3 อัตราส่วน คืออัตราส่วน 3:1, 6:1 และ 10:1 ต่อโมล อีกทั้งไม่เกิดกลีเซอรอลในระบบ เนื่องจากสารผสมเมื่อสัมผัสกับแผ่นขนานระหว่างขั้วจะประพฤติตัวเป็นฉนวนทำให้พลาสมาที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยลงจึงทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้น้อย แต่ระบบจ่ายไฟที่สร้างขึ้นนี้สามารถก่อให้เกิดพลาสมาได้จริง


การพัฒนาเทคนิคเอกซเรย์คอมพิวเตดโทโมกราฟีโดยการบันทึกภาพบนฉากเรืองรังสีด้วยกล้องดิจิตอล, พณพณ สาวิโรจน์ Jan 2018

การพัฒนาเทคนิคเอกซเรย์คอมพิวเตดโทโมกราฟีโดยการบันทึกภาพบนฉากเรืองรังสีด้วยกล้องดิจิตอล, พณพณ สาวิโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการพัฒนาระบบถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์โดยใช้ฉากเรืองรังสีและพัฒนาเทคนิคการสร้างภาพโทโมกราฟีของชิ้นงาน ระบบบันทึกภาพประกอบด้วยฉากเรืองรังสี กล้องถ่ายภาพดิจิตอล และแท่นวางชิ้นงานที่หมุนได้ การหมุนของแท่นวางชิ้นงานถูกควบคุมโดยสเตปปิงมอเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เขียนด้วย Visual basic 6.0 ในขณะที่การตั้งค่าและการถ่ายภาพของกล้องถ่ายภาพดิจิตอลถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านทางสายยูเอสบี ได้ทำการศึกษาผลของการตั้งค่าต่างๆ ของกล้องถ่ายภาพและของเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ที่มีต่อคุณภาพของภาพที่ได้ จากนั้นได้ทดสอบชิ้นงาน 6 ชิ้นที่มีองค์ประกอบและลักษณะต่างกัน โดยทำการถ่ายภาพแต่ละชิ้นงานทุกๆ 1.8 องศา รวมทั้งหมด 100 ภาพ เมื่อนำไปสร้างภาพซีทีแล้วพบว่ามีคุณภาพน่าพอใจมาก เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ และสร้างภาพแต่ละตัวอย่างรวมทั้งสิ้นประมาณ 7 นาที อย่างไรก็ตามสำหรับตัวอย่างที่มีความหนามากและมีความหนาแน่นสูงอาจต้องปรับเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของกล้องถ่ายภาพและของเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ รวมทั้งชนิดของฉากเรืองรังสี งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นการนำระบบและเทคนิคที่พัฒนาขึ้นไปใช้งานในการตรวจสอบชิ้นงานในอนาคต


Synthesis Of High Efficiency Amidoxime Polymer Adsorbents For Uranium Extraction From Seawater By Radiation-Induced Polymerization, Wijittra Wongjaikham Jan 2018

Synthesis Of High Efficiency Amidoxime Polymer Adsorbents For Uranium Extraction From Seawater By Radiation-Induced Polymerization, Wijittra Wongjaikham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study synthesized amidoxime polymer gel for uranium extraction from seawater through a polymerization process with gamma ray or UV-C radiation. The synthesis started with a mixture of acrylonitrile (AN) and methacrylic acid (MAA) monomers together with methylene bisacrylamide as a crosslinker and hydrogen peroxide in the case of UV radiation. The mixture was irradiated with gamma ray at various doses or UV-C for various durations. The resulting polymer gel was ground into fine particles and immersed in a hydroxylamine hydrochloride solution for 90 minutes in order to convert the chemical functional group from the cyano group into the amidoxime …


Development Of Data Acquisition Technique For Computed Tomography Of Simplified Distillation Column Model As Used In Petroleum And Petrochemical Plants, Dhanaj Saengchantr Jan 2017

Development Of Data Acquisition Technique For Computed Tomography Of Simplified Distillation Column Model As Used In Petroleum And Petrochemical Plants, Dhanaj Saengchantr

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation propose the development of data acquisition technique for computed tomography of simplified distillation column model as used in petroleum and petrochemical industries. The aim of this dissertation is to apply the computed tomography technique to inspect the internal structure of distillation column regardless of complex system to move radiation detectors and source. The developed data acquisition technique allows the operator to move radiation detectors and radiation source by follow designed algorithm. The scanning data are reconstructed using filtered back projection algorithm to evaluate internal structure at the region of interest from cross sectional reconstructed image. In this dissertation, …


Development Of Innovative High-Energy Neutron And Gamma-Ray Shielding Material Based On High Density Cement And Crumb Rubber, Pawitra Aim-O Jan 2017

Development Of Innovative High-Energy Neutron And Gamma-Ray Shielding Material Based On High Density Cement And Crumb Rubber, Pawitra Aim-O

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The incorporation of carbon and hydrogen-rich material into radiation shielding material can improve its shielding performance. High-density cement mixed with crumb rubber was studied to be a gamma ray and neutron shielding material. Shielding materials were designed using high-density cement mixed with 5 - 25 vol% of crumb rubber. Monte Carlo N-Particle code was employed to simulate radiation shielding performances of the composed materials. The utilized neutron and photon sources were Am-241/Be and Co-60, respectively. These shielding designs were fabricated and experimentally evaluated on the radiation shielding properties. The cracking mechanism of high-density cement mixed with lead (HDCRL) was also …


การปรับปรุงเทคนิคการหาปริมาณเถ้าในถ่านหินบนสายพานด้วยวิธีเทคนิคส่งผ่านรังสีแกมมาสองพลังงาน, จอมพล ขุนธิวงศ์ Jan 2017

การปรับปรุงเทคนิคการหาปริมาณเถ้าในถ่านหินบนสายพานด้วยวิธีเทคนิคส่งผ่านรังสีแกมมาสองพลังงาน, จอมพล ขุนธิวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงเทคนิคการส่งผ่านรังสีแกมมาสองพลังงานสำหรับการหาปริมาณเถ้าในถ่านหินบนสายพานลำเลียง ซึ่งโดยทั่วไปเทคนิคนี้มักใช้รังสีแกมมาพลังงาน 59.6 keV จากต้นกำเนิดรังสีอะเมริเซียม-241 (241Am) รังสีแกมมาพลังงาน 356 keV จากต้นกำเนิดรังสีแบเรียม-133 (133Ba) และรังสีแกมมาพลังงาน 662 keV จากต้นกำเนิดรังสีซีเซียม-137 (137Cs) และใช้หัววัดรังสีแกมมาชนิดโซเดียมไอโอไดด์(ทัลเลียม) ในการวัดรังสีแกมมาที่ส่งผ่านตัวอย่าง แต่ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงการนำหัววัดรังสีชนิดบิสมัสเจอร์มาเนต (BGO) มาใช้แทนหัววัดรังสีแกมมาชนิด NaI(Tl) เนื่องด้วยหัววัดรังสีชนิด BGO มีประสิทธิภาพการวัดรังสีแกมมาพลังงานรังสีสูงได้ดีกว่า ซึ่งผลการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพวัดรังสีแกมมาพลังงานดังกล่าวของหัววัดรังสีทั้งสองชนิด พบว่า หัววัดรังสีชนิด BGO ขนาด 2 นิ้ว x 2นิ้ว มีค่าประสิทธิภาพการวัดรังสีแกมมาพลังงาน 59.6 keV และ 662 keV 36.11% และ 11.04% ตามลำดับ เมื่อออกแบบระบบวัดให้มีคอลิเมเตอร์สองชั้นของตะกั่วและทองแดงขนาดรู 3 มม. ครอบหัววัดรังสี ทำให้ได้ค่าประสิทธิภาพการวัดรังสีนั้นเป็น 20.53% และ 10.49% ตามลำดับ หัววัดรังสีชนิด BGO มีข้อดีกว่าหัววัดรังสีชนิด NaI(Tl) ในเรื่องของการไม่ปรากฏ Iodine escape peak ในหัววัด ที่จะส่งผลรบกวนต่อการวัดรังสีระดับพลังงาน 59.6 keV ได้ และเมื่อทำการสร้างกราฟปรับเทียบจากความสัมพันธ์เชิงเส้นของอัตราส่วนฟังก์ชั่นล็อกของการวัดรังสีที่ผ่านตัวอย่างถ่านหินของรังสีแกมมาพลังงานต่ำต่อการวัดของรังสีแกมมาพลังงานสูง กับ ปริมาณเถ้าในถ่านหินที่ได้จากวิธีวิเคราะห์มาตรฐานทางเคมี ได้สมการเชิงเส้นของกราฟความสัมพันธ์ที่มีค่าแสดงความสัมพันธ์เชิงเส้นของการสอดคล้องกันดีของข้อมูล และโดยการแทนค่าในสมการเชิงเส้นของกราฟปรับเทียบนี้ทำให้สามารถวิเคราะห์ปริมาณเถ้าในตัวอย่างถ่านหินอื่นๆ จำนวน 6 ตัวอย่าง ได้จากการวัดรังสีแกมมาแบบส่งผ่านสองพลังงานที่พัฒนามานี้ และเมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ที่ได้กับผลการวิเคราะห์ทางเคมีนั้น มีค่าแตกต่างกันอยู่ในช่วงระหว่าง -12.76 ถึง +9.99


การพัฒนาผลึกซีเซียมไอโอไดด์โดยเทคนิคการเจือสารร่วมหลายชนิด, อิมรอน วาเด็ง Jan 2017

การพัฒนาผลึกซีเซียมไอโอไดด์โดยเทคนิคการเจือสารร่วมหลายชนิด, อิมรอน วาเด็ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พัฒนาผลึกซีเซียมไอโอไดด์เพื่อการตรวจวัดรังสี โดยวิธีการปลูกแบบบริดจ์แมน-สต็อกบาร์เกอร์ (Bridgman-Stockbarger) และศึกษาถึงการพัฒนาผลึกโดยการเจือผลึกด้วยแคลเซียม (Ca) หรือ แทลเลียม (Tl) หรือ เจือร่วมกันทั้งสองชนิด คือ ผลึก CsI(Ca), CsI(Tl) และCsI(Tl,Ca) โดยควบคุมให้มีอัตราการปลูกผลึกหรือตกผลึกของผลึก CsI(Tl) คือ 0.65 มิลลิเมตร/ชั่วโมง และอัตรา 0.57 มิลลิเมตร/ชั่วโมง สำหรับผลึก CsI(Ca) และ CsI(Tl,Ca) โดยมีสัดส่วนการผสม CsI ต่อสารเจือ คือ 99.65 : 0.35 ผลึก CsI(Ca), CsI(Tl) และผลึก CsI(Tl,Ca) ที่ปลูกได้นั้นมีความใส โดยผลึกทั้งสามก้อนมีโครงสร้างผลึกแบบคิวบิกที่มีการจัดเรียงอะตอมแบบพหุสัณฐาน โดยมีโครงสร้างเดียวที่เด่นชัด คือ โครงสร้างผลึกระนาบ (110) โดยที่ผลึก CsI(Tl) นั้นมีคุณภาพเชิงโครงสร้างผลึกดีที่สุด และรองลงมา คือ ผลึก CsI(Tl,Ca) แต่ว่าผลึก CsI(Ca) นั้นมีโครงสร้างผลึกระนาบเด่นชัดพอกัน 2 ระนาบ คือ ระนาบ (110) และ ระนาบ (211) คุณสมบัติเชิงแสงของผลึกที่มีการเจือด้วยสารต่างนั้น พบว่า ผลึก CsI(Ca), CsI(Tl,Ca) มีการเปล่งแสงย่านสีฟ้าที่ความยาวคลื่นประมาณ 420-450 นาโนเมตร และสำหรับกรณีผลึก CsI(Tl) เปล่งแสงย่านสีส้มที่ความยาวคลื่นประมาณ 590 นาโนเมตร โดยที่ผลึก CsI(Tl) มีประสิทธิภาพสัมพัทธ์ของการเปล่งแสงได้ดีที่สุด และรองลงมาคือ ผลึก CsI(Tl,Ca) และ CsI(Ca) ตามลำดับ ซึ่งคุณสมบัติเชิงแสงนี้มีความสอดคล้องกับผลการศึกษาการส่องผ่านแสงของผลึกที่พบว่า ผลึก CsI(Tl), CsI(Ca) และ CsI(Tl,Ca) มีค่า Eg คือ 2.21 อิเล็กตรอนโวลต์, 2.88 อิเล็กตรอนโวลต์ และ 2.48 …


การจำลองการกระจายตัวในชั้นบรรยากาศของซีเซียม-137ปลดปล่อยจากอุบัติเหตุสมมติในโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์: กรณีศึกษาประเทศจีนและเวียดนาม, นรากานต์ คุณศรีเมฆ Jan 2017

การจำลองการกระจายตัวในชั้นบรรยากาศของซีเซียม-137ปลดปล่อยจากอุบัติเหตุสมมติในโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์: กรณีศึกษาประเทศจีนและเวียดนาม, นรากานต์ คุณศรีเมฆ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุการณ์อุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ ฟุกุชิมะ ในปี 2011 แสดงให้เห็นว่านิวไคลด์กัมมันตรังสีที่รั่วไหลจากอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์สามารถกระจายตัวไปได้ไกลถึงประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อพิจารณาจำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ถูกสร้างขึ้น ณ บริเวณใกล้เคียงประเทศไทยพบว่ามีโรงไฟฟ้าทั้งหมด 4 แห่ง ประกอบไปด้วยโรงไฟฟ้า Ninh Thuan ในประเทศเวียดนาม โรงไฟฟ้า Fangchenggang, Changjang และ Yangjiang ในประเทศจีน หากโรงไฟฟ้าเหล่านี้เกิดอุบัติเหตุระดับรุนแรง มีความเป็นไปได้ที่นิวไคลด์กัมมันตรังสีจะกระจายตัวมายังประเทศไทย ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาเส้นทางการเคลื่อนที่ของนิวไคลด์กัมมันตรังสีและประเมินผลกระทบทางรังสีที่ประเทศไทยได้รับจากโรงไฟฟ้าดังกล่าว โดยในการศึกษานี้ใช้กระบวนการสำหรับวิเคราะห์ผลสองกระบวนการร่วมกัน กระบวนการที่หนึ่งใช้ข้อมูลภูมิอากาศ ณ ตำแหน่งที่นิวไคลด์กัมมันตรังสีเคลื่อนที่ผ่านสำหรับคำนวณคะแนนการกระจายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี โดยใช้เกณฑ์คะแนนที่ถูกสร้างจากเงื่อนไขสภาพอากาศที่ส่งผลให้นิวไคลด์กัมมันตรังสีกระจายตัวได้มากที่สุด กระบวนการที่สองใช้ค่ากัมมันตภาพรังสีบนชั้นบรรยากาศและข้อมูลภูมิอากาศ ณ ตำแหน่งวิเคราะห์ผลในกระบวนการแรก เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับจำลองผลในโปรแกรม HotSpot ผลจากการวิเคราะห์ของทั้งสองกระบวนการชี้ให้เห็นว่านิวไคลด์กัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งในประเทศจีนเคลื่อนที่ไปยังชายฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนาม จากนั้นมุ่งหน้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในขณะที่นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่รั่วไหลจากโรงไฟฟ้า Ninh Thuan เคลื่อนที่ไปยังทิศตะวันตกของโรงไฟฟ้า และเปลี่ยนทิศการเคลื่อนที่ไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือก่อนมุ่งหน้าเข้าสู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาค่าปริมาณรังสีสมมูลยังผลสุทธิในบริเวณที่ได้รับผลกระทบทางรังสีจากโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งพบว่า ค่าปริมาณรังสีสมมูลยังผลสุทธิ ณ บริเวณดังกล่าวมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ความปลอดภัยทางรังสี (1 mSv) ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบทางรังสีอย่างมีนัยสำคัญเมื่อโรงไฟฟ้าทั้ง 4 แห่งเกิดอุบัติเหตุระดับรุนแรง


Development Of Technique For Screening Liquids In Unopened Bottle Using Low Energy X-Ray Transmission, Parkphum Orachorn Jan 2017

Development Of Technique For Screening Liquids In Unopened Bottle Using Low Energy X-Ray Transmission, Parkphum Orachorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since August 2006 after the discovery of terrorists' attempts to explode airplanes with liquid explosives in United Kingdom, each airline passenger is allowed to carry only a maximum of 100 ml liquid in each container and a total of not more than 1,000 ml in carry-on luggage. This measure was adopted to prevent bringing sufficient amount of fuel oil, alcohol, hydrogen peroxide or other flammable and explosive liquids into the aircraft. In this research, X-ray transmission technique was experimentally investigated using low energy X-rays between 13.6 - 43.5 keV emitted from 238Pu radioisotopic source and linear attenuation coefficient of liquids …


การพัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ที่บันทึกภาพโดยใช้กล้องดิจิทัลสำหรับคัดกรองของเหลว, นพรัตน์ แก้วใหม่ Jan 2017

การพัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ที่บันทึกภาพโดยใช้กล้องดิจิทัลสำหรับคัดกรองของเหลว, นพรัตน์ แก้วใหม่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์โดยใช้กล้องถ่ายภาพดิจิทัลสำหรับคัดกรองของเหลวติดไฟจากการหาค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสี ระบบถ่ายภาพด้วยรังสีประกอบด้วยกล้องถ่ายภาพดิจิทัลร่วมด้วยแผ่นเรืองรังสีเป็นฉากรับภาพถ่ายรังสีและควบคุมกล้องด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผ่าน USB ภาพถ่ายด้วยรังสีของของเหลวชนิดต่าง ๆ ที่บรรจุในขวดพลาสติกบางทรงเหลี่ยมความกว้าง 6 เซนติเมตร โดยใช้ค่าความต่างศักย์ของเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ระหว่าง 90 -160 กิโลโวลต์ ภาพถ่ายด้วยรังสีถูกวิเคราะห์ด้วยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมา ซึ่งใช้เทคนิคการคำนวณหาค่าและเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีของของเหลวใด ๆ เทียบกับของน้ำที่ถูกถ่ายภาพด้วยปริมาณรังสีเอ็กซ์ด้วยเงื่อนไขเดียวกัน จากผลการทดลองพบว่า เทคนิคการถ่ายภาพและซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้คัดแยกของเหลวชนิดติดไฟและของเหลวชนิดที่ไม่ติดไฟได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถนำเทคนิคนี้ไปพัฒนาต่อยอดในงานด้านรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้เกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้นได้


การประเมินความสามารถในการทำนายของโปรแกรม Relap/Scdapsim Mod 3.4 อ้างอิงกับการทดลอง Pbf Sfd 1-4, ณัฐวรา บาริศรี Jan 2017

การประเมินความสามารถในการทำนายของโปรแกรม Relap/Scdapsim Mod 3.4 อ้างอิงกับการทดลอง Pbf Sfd 1-4, ณัฐวรา บาริศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในอดีตที่ผ่านมาได้เกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ที่สร้างความเสียหายร้ายแรงและส่งผลกระทบต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอส์แลนด์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ด้วยเหตุนี้ปัญหาด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญและมีการริเริ่มดำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การวิจัยครั้งนี้จึงได้เลือกศึกษาประเด็นของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อทำนายพฤติกรรมที่อาจจะเกิดขึ้นในแกนปฏิกรณ์ เนื่องจากโปรแกรมสามารถจำลองเหตุการณ์ ประเมินการเกิดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และได้เลือกใช้โปรแกรม RELAP/SCDAPSIM MOD3.4 ซึ่งสามารถทำนายพฤติกรรมของเชื้อเพลิงและระบบต่างๆของเครื่องปฏิกรณ์ในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุระดับรุนแรงในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ เช่น สามารถจำลองพฤติกรรมของระบบหล่อเย็น การปล่อยผลผลิตฟิชชัน อัตราการสร้างไฮโดรเจนภายใต้สภาวะชั่วคราว ความร้อน ความดัน อัตราการไหล การออกซิเดชันของแท่งเชื้อเพลิง การหลอมละลายของมัดเชื้อเพลิง ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างซึ่งเกิดจากการทรุดตัวและความไม่เสถียรในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โดยได้ทำการประเมินความสามารถในการทำนายของโปรแกรม RELAP/SCDAPSIM MOD 3.4 อ้างอิงกับการทดลอง PBF SFD 1-4 (Power Burst Facility Severe Fuel Damage Test 1-4) และใช้เงื่อนไขจากการทดลองในการวิเคราะห์พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลการคำนวณ ซึ่งได้แก่ ระดับน้ำในแกนปฏิกรณ์ อุณหภูมิของเชื้อเพลิง ปลอกเชื้อเพลิง และโครงห่อหุ้มแกนปฏิกรณ์ (shroud) และอัตราการเกิดก๊าซไฮโดรเจน จากผลการคำนวณพบว่าโปรแกรม RELAP/SCDAPSIM MOD 3.4 สามารถทำนายผลการทดลองได้ใกล้เคียงกับผลการทดลองจริงและมีความแม่นยำในการคำนวณผล อย่างไรก็ตามยังมีบางช่วงที่ไม่สอดคล้องกับผลการทดลองซึ่งอาจเป็นผลมาจากวิธีการป้อนข้อมูลในไฟล์ข้อมูลนำเข้าหรือโมเดลบางส่วนที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาต่อไป


การพัฒนารถหุ่นยนต์ต้นแบบสำหรับระบุตำแหน่งต้นกำเนิดรังสีแกมมา, ตะวัน กลิ่นผกา Jan 2017

การพัฒนารถหุ่นยนต์ต้นแบบสำหรับระบุตำแหน่งต้นกำเนิดรังสีแกมมา, ตะวัน กลิ่นผกา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันได้มีการใช้งานสารกัมมันตรังสีอย่างแพร่หลาย เป็นเหตุให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุทางรังสีหรือการปนเปื้อนทางรังสีขึ้นได้ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสีจำเป็นที่จะต้องเข้าไปตรวจหาตำแหน่งต้นกำเนิดรังสี เพื่อทำการเก็บกู้ต้นกำเนิดรังสีในภายหลัง ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสีได้รับรังสีจากการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการได้รับรังสีโดยไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสี ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะทำการพัฒนารถหุ่นยนต์ต้นแบบสำหรับระบุตำแหน่งต้นกำเนิดรังสีแกมมาขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสีสามารถอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดรังสีขณะตรวจหาตำแหน่งต้นกำเนิดรังสีแกมมา ซึ่งรถหุ่นยนต์ต้นแบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นนี้ใช้หลักการทำงานของล้อแบบแมคานุม (Mecanum wheel) ทำให้รถหุ่นยนต์ต้นแบบสามารถเคลื่อนที่ได้หลายทิศทาง (Omni directional) โดยไม่ต้องใช้การควบคุมบังคับเลี้ยวล้อเหมือนรถทั่วๆ ไป การทำงานของรถหุ่นยนต์ต้นแบบมีโหมดควบคุมการทำงาน 2 โหมดคือ โหมดควบคุมด้วยคนผ่านทางจอยสติก และโหมดควบคุมอัตโนมัติ ซึ่งทั้ง 2 โหมดจะทำงานผ่านทางอุปกรณ์รับส่งคลื่นวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ การทำงานในขั้นแรกจะทำงานในโหมดควบคุมด้วยคนผ่านทางจอยสติก โดยรถหุ่นยนต์ต้นแบบจะถูกควบคุมให้เคลื่อนที่เข้าไปยังพื้นที่ที่ต้องการ หลังจากนั้นผู้ควบคุมจะเปลี่ยนโหมดการทำงานไปเป็นโหมดควบคุมอัตโนมัติ ซึ่งในโหมดนี้จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์กับระบบวัดรังสีแกมมา เพื่อให้รถหุ่นยนต์ตรวจหาตำแหน่งต้นกำเนิดรังสีแกมมา ผลจากการทดสอบปรากฏว่ารถหุ่นยนต์ต้นแบบมีรัศมีควบคุมได้ไกล 60 เมตร โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง สามารถเคลื่อนที่บนพื้นราบด้วยความเร็วสูงสุด 2.12 กม./ชั่วโมง ระยะเวลาทำงานประมาณ 15 นาที เคลื่อนที่ได้ระยะทางทั้งหมดประมาณ 530 เมตร ความแม่นยำในการตรวจหาทิศทางที่มีความแรงรังสีสูงสุดอยู่ในช่วง ±10 องศา โดยอยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสีแกมมาที่ระยะประมาณ 30 เซนติเมตร