Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 181 - 210 of 1773

Full-Text Articles in Engineering

Effect Of Salinity Contrast Between Formation Water And Injected Low Salinity Water On Low Salinty Water Flooding In Dolostone Formation, Nuttapol Junput Jan 2022

Effect Of Salinity Contrast Between Formation Water And Injected Low Salinity Water On Low Salinty Water Flooding In Dolostone Formation, Nuttapol Junput

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Low Salinity Waterflooding (LSWF) has gained substantial prominence in current scientific method for oil recovery improvement, owing to its simplicity, cost-effectiveness, and environmental friendliness as an Enhanced Oil Recovery (EOR) technique. Various studies have highlighted the crucial role of injected brine salinity and the concentration of Potential Determining Ions (PDI) in stimulate oil recovery mechanisms. However, the majority of these studies have predominantly concentrated on sandstone reservoirs. In light of the fact that over 50% of hydrocarbon reserves are situated in carbonate reservoirs, this research focuses specifically on dolomite reservoirs to examine the applicability and feasibility of implementing LSWF in …


Simulation Study On Co2 Enhanced Oil Recovery For Offshore Area In Thailand, Pariwat Wongsriraksa Jan 2022

Simulation Study On Co2 Enhanced Oil Recovery For Offshore Area In Thailand, Pariwat Wongsriraksa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Fossil fuels are widely used all over the world. It generates carbon dioxide (CO2) which is one of the main causes for climate change and global warming. One practical technology to reduce CO2 emission is carbon capture, utilization, and storage (CCUS) which includes the use of CO2 for enhanced oil recovery (CO2EOR) and storage in the geological reservoir. In Thailand, there are some potential geological reservoirs for CO2EOR due to crude properties, depth of the reservoir and oil saturation, especially in the Gulf of Thailand. However, the high temperatures gradient in the Gulf of Thailand can lead to higher minimum …


Effect Of Salinity Contrast Between Formation Water And Injected Low Salinity Water On Low Salinity Waterflooding In Shaly-Sandstone Formation, Sarun Phuenghansaporn Jan 2022

Effect Of Salinity Contrast Between Formation Water And Injected Low Salinity Water On Low Salinity Waterflooding In Shaly-Sandstone Formation, Sarun Phuenghansaporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Low salinity waterflooding is an improving oil recovery technique that is highly mentioned nowadays as it is cost-efficient and environmentally friendly. The technique involves injecting water with lower salinity compared to formation salinity to shift the surface equilibrium toward the liberation of oil from the rock surface. Nevertheless, successful of this technique depends on many parameters especially the presence of clays. Several types of clays can be found in oil reservoirs, and they may react to different cations in inject low salinity in different ways, resulting in different magnitudes of oil recovery. Moreover, the contrast of salinity between formation water …


Multi-Objective Vehicle Loading And Routing Problem For Fresh Fruit And Vegetable Transportation, Supisara Krairiksh Jan 2022

Multi-Objective Vehicle Loading And Routing Problem For Fresh Fruit And Vegetable Transportation, Supisara Krairiksh

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Multi-compartment refrigerated vehicles are recently utilized in the cold chain industry, due largely to their flexibility in storage capacities with different temperature settings. To better comprehend the costs and benefits of this vehicle type in fresh fruits and vegetable transportation, a multi-compartment vehicle routing and loading problem (MCVRLP) with three different objectives – namely (i) minimizing total transportation cost, (ii) minimizing CO2 emissions, and (iii) minimizing weight loss of fresh fruits and vegetable – is herein explored and solved by mathematical formulation and genetic-based evolutionary algorithm approaches. Based on our computational results, we find that large and complicated MCVRLP instances …


Influence Of Tidal Current On Microplastic Dynamics In Chao Phraya River Estuarine Ecosystem, Jiradet Tang-Siri Jan 2022

Influence Of Tidal Current On Microplastic Dynamics In Chao Phraya River Estuarine Ecosystem, Jiradet Tang-Siri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Microplastics (MPs) can be found almost everywhere in marine ecosystems. That is one of the issues of concern around the world, including in Thailand. Estuary ecosystems are also among the most disturbed. By the estuary ecosystem affected by both rivers and oceans, such as the mouth of the Chao Phraya River in Thailand. Due to the change in tide, it is necessary to study the effects of tidal currents on the depth of MPs. Water samples were collected at approximately 60 water levels in 24 hours. Samples and three water quality indicators were collected at Pak Nam Chao Phraya. The …


Wastewater-Based Epidemiology And Quantitative Microbial Risk Assessment Associated With Wastewater Contact Of Norovirus In Bangkok, Thailand, Nonnarit Sriporatana Jan 2022

Wastewater-Based Epidemiology And Quantitative Microbial Risk Assessment Associated With Wastewater Contact Of Norovirus In Bangkok, Thailand, Nonnarit Sriporatana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Norovirus is one of the leading causes of acute gastroenteritis worldwide. Wastewater surveillance offer significant benefits such as enhancing our understanding of the disease occurrence in the population, evaluating the effectiveness of pathogen reduction in the treatment process, and tracking the spread of pathogens in the environment which pose a health risk to humans. Hence, wastewater surveillance is crucial. In this study, the influent and effluent samples were collected bi-monthly from March 2020 to March 2021 from three distinct wastewater treatment plants in Bangkok. Wastewater samples were concentrated and subjected to quantitative polymerase chain reaction (qPCR) to assess norovirus concentrations. …


Simulation And Prototyping Of A Knee Assistive Device For Improved Gait Function, Khemwutta Pornpipatsakul Jan 2022

Simulation And Prototyping Of A Knee Assistive Device For Improved Gait Function, Khemwutta Pornpipatsakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to develop a knee-assistive device while walking. The research was separated into two sections: the gait support simulation in MATLAB and the prototype of the device. Data on body part positions and ground reaction force were collected from three adult Thai participants walking at a speed of 1.5 m/s to calculate knee moment. The simulation section provides support moments during walking using machine learning and artificial stiffness control strategy (MLASCS), composed of the kNN model and the instantaneous artificial stiffness per body mass (IASPB) equations. The MLASCS was used to determine the proper amount of support moment …


Nanoporous Cu-Based Catalytic Electrodes For Electrochemical Conversion Of Carbon Dioxide, Jidsucha Darayen Jan 2022

Nanoporous Cu-Based Catalytic Electrodes For Electrochemical Conversion Of Carbon Dioxide, Jidsucha Darayen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigates the strategies to enhance copper electrodes for carbon dioxides reduction reactions (CO2RR) for generation of valuable chemical products, including methanol and acetaldehyde. Through modifications of physical characteristics of electroplated copper electrodes, particularly introduction of porosity, and chemical composition, namely formation of copper oxides, the key performance parameters for CO2RR including selectivity, Faradaic efficiency, and energy efficiency are examined. Furthermore, the relationships between copper electrodes’ plating variables (current density, deposition time, and bath solution), porosity and compositions, and corresponding CO2RR performances are constructed. The study has demonstrated that the ratio of CuSO4 and H2SO4 of bath solution, current …


Biopolymer Nanocomposites For Food And Healthcare Applications, Tatiya Siripongpreda Jan 2022

Biopolymer Nanocomposites For Food And Healthcare Applications, Tatiya Siripongpreda

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation focuses on development of biopolymers by integrating nanomaterials to improve the properties of pristine polymers for enhancing the performances of chemical sensors and laser desorption/ionization mass spectroscopy (LDI-MS) applied for food quality control health monitoring and biomedical applications. The dissertation is divided into 4 parts: the first part, polylactic acid and cellulose were used for dual detection platform of biogenic amines for food spoilage indication. Highly porous PLA film is fabricated by adding nanosized calcium carbonate resulted in high sensing element entrapment. On another side of platform, pristine cellulose is modified with graphene oxide and exploited a substrate …


Critical Success Factors For Digital Transformation Implementation In The Construction Industry: An Integrated Fuzzy Cognitive Map And Ranking Analysis Approach, Tan Thanh Trang Jan 2022

Critical Success Factors For Digital Transformation Implementation In The Construction Industry: An Integrated Fuzzy Cognitive Map And Ranking Analysis Approach, Tan Thanh Trang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The process of digital transformation (DX) involves the systematic integration of digital technologies, processes, and skills at all levels and functions within an organization, industry, or ecosystem. The emergence and rapid spread of the coronavirus are accelerating DX in all industies and the construction industry is not an exception. Construction companies are on the verge of significant transformation driven by advancements and the adoption of digital technologies. However, knowledge and information about how to implement DX efficiently in construction firms are fragmented and limited. This leads to the failure of DX journey of the majority of construction firms. This research …


Stimuli-Responsive Chitosan-Based Hydrogels For Antibiotic Delivery, Tu Tran Vo Minh Jan 2022

Stimuli-Responsive Chitosan-Based Hydrogels For Antibiotic Delivery, Tu Tran Vo Minh

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to investigate hydrogels fabricated via green approaches for drug delivery application. Biocompatible polymer-based drug delivery systems (DDS) have gained popularity in recent years because of their ability to improve the efficacy and safety of drug delivery by providing targeted and sustained release of drugs to reduce the frequency of dosing, making it more convenient for patients. Chitosan is one of the polymers commonly used for this purpose due to their higher water retention and porosity, which create space for loading medicine into the matrix. However, the potential utilization of endogenous and exogenous stimuli controlling drug release still …


ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตและการผลิตลูทีนในจุลสาหร่าย Dunaliella Tertiolecta, พัทธ์ศริยา พงษ์ลำเจียกงาม Jan 2022

ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตและการผลิตลูทีนในจุลสาหร่าย Dunaliella Tertiolecta, พัทธ์ศริยา พงษ์ลำเจียกงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้ประเมินความเป็นไปได้ของการนำจุลสาหร่าย Dunaliella tertiolecta จากคลังเก็บสายพันธุ์ของห้องปฏิบัติการมาศึกษาการผลิตลูทีนภายใต้สภาวะความเค็ม, ปริมาณและแหล่งไนโตรเจน, ความเข้มแสงและความยาวคลื่นแสง และรูปแบบการให้อากาศที่แตกต่างกัน ดำเนินการทดลองเพาะเลี้ยงจุลสาหร่ายในขวดแก้วดูแรนขนาด 2 ลิตร (เส้นผ่านศูนย์กลาง 136 มิลลิเมตร x ความสูง 248 มิลลิเมตร) เป็นเวลา 8 วัน โดยปรับความความเค็มของอาหารเลี้ยงในช่วง 30 – 150 พีพีที ปริมาณไนโตรเจนในช่วง 3.1-18.6 มิลลิกรัม-ไนโตรเจน/ลิตร ในแหล่งไนโตรเจน NaNO3, Ca(NO3)2, Urea และ (NH4)2SO4 ที่ความเข้มแสง 67-402 ไมโครโมลโฟตอน/ตารางเมตร×วินาทีด้วยแสงสีแดง สีน้ำเงิน และแสงสีขาว โดยมีรูปแบบการให้อากาศเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.5% โดยปริมาตรและอากาศปกติที่ความเข้มข้นไนโตรเจน 150%-1,000% ผลการศึกษาพบว่าจุลสาหร่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในการเพาะเลี้ยงที่ความเค็ม 30 พีพีที ที่แหล่งไนโตรเจน Ca(NO3)2 ความเข้มข้น 1,000% ไนโตรเจน เพาะเลี้ยงด้วยหลอดไฟแอลอีดีสีขาวภายใต้ความเข้มแสง 402 ไมโครโมลโฟตอน/ตารางเมตร×วินาที ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.5% โดยปริมาตรที่อัตราการไหล 1.6 ลิตร/นาที โดยจุลสาหร่ายเจริญเติบโตได้สูงสุดที่ 549.91 ± 41.49 x 104 เซลล์/มิลลิลิตร ได้รับน้ำหนักแห้งสูงสุดเท่ากับ 1,397.3 ± 84.03 มิลลิกรัม/ลิตร และสามารถผลิตลูทีนได้เท่ากับ 3.25 ± 0.23 มิลลิกรัม/ลิตร หรือ 2.49 ± 0.08 มิลลิกรัม/กรัม ภายใต้สภาวะดังกล่าวจุลสาหร่าย Dunaliella tertiolecta สามารถผลิตโปรตีนได้ 46.44% โดยน้ำหนักแห้ง ซึ่งคิดเป็น 464.38 มิลลิกรัม/กรัม


ผลของชนิดกรดที่มีต่อระยะการเกิดและเสถียรภาพของกรดเปอร์ฟอร์มิก​, ณัฏฐณิชา วิปัชชา Jan 2022

ผลของชนิดกรดที่มีต่อระยะการเกิดและเสถียรภาพของกรดเปอร์ฟอร์มิก​, ณัฏฐณิชา วิปัชชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลของชนิดและความเข้มข้นกรดอนินทรีย์ที่มีผลต่อระยะเวลาการเกิด ความเสถียร และการสลายตัวของกรดเปอร์ฟอร์มิก โดยกรดที่นำมาศึกษามีจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ กรดซัลฟิวริก (H2SO4), กรดฟอสฟอริก (H3PO4), กรดไนตริก (HNO3) และกรดไฮโดรคลอริก (HCl) การสังเคราะห์กรดเปอร์ฟอร์มิกทำโดยการผสมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ กรดฟอร์มิก น้ำ และสารละลายกรด ในขวดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง ตัวอย่างมีทั้งที่มีการเติมและไม่เติมสารละลายกรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา การทดลองทำที่อุณหภูมิห้อง และติดตามการเปลี่ยนแปลงของกรดฟอร์มิกและเปอร์ฟอร์มิกด้วยเทคนิคการไทเทรตกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ หาปริมาณของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เหลือด้วยการไทเทรตกับสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต จากผลการทดลองพบว่าการมีกรดซัลฟิวริกในปฏิกิริยาสามารถเพิ่มอัตราการเกิดของกรดเปอร์ฟอร์มิกได้มากขึ้นและช่วยลดการสลายตัวของกรดเปอร์ฟอร์มิก สำหรับกรดฟอสฟอริกและกรดไนตริกจะไม่มีผลต่ออัตราการเกิดกรดเปอร์ฟอร์มิก แต่ช่วยชะลอการสลายตัวของกรดเปอร์ฟอร์มิกได้ ในขณะที่กรดไฮโดรคลอริกเร่งการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ทำให้ไม่เหมาะสำหรับการนำมาผลิตกรดเปอร์ฟอร์มิก นอกจากนี้ยังพบว่ากรดเปอร์ฟอร์มิกที่ผลิตขึ้นมาควรใช้ทันทีภายใน 12 ชั่วโมงหลังจากการเตรียม


การวัดค่าอิมพิแดนซ์ของเซลล์มะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดแบบ 2มิติ และ 3มิติ, วรธัน เจษฎาไกรสร Jan 2022

การวัดค่าอิมพิแดนซ์ของเซลล์มะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดแบบ 2มิติ และ 3มิติ, วรธัน เจษฎาไกรสร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวัดอิมพิแดนซ์ถูกนำไปใช้ในงานทางวิศวกรรมชีวภาพและการแพทย์ในหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบการเจริญเติบโตของเซลล์ การรวมตัวของกลุ่มเซลล์ การเคลื่อนตัวของกลุ่มเซลล์ รวมทั้งการตอบสนองต่อการรักษาโรคของกลุ่มเซลล์ต่างๆ ข้อดีของวิธีการวัดสัญญาณไฟฟ้าเมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคทางชีววิทยาคือ วิธีการไม่ซับซ้อน ใช้เวลาน้อย และความสามารถในการวัดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแตกต่างจากวิธีการวัดแบบเดิม เช่น การย้อมสีเซลล์ทำให้เกิดความเสียหายหรือทำลายตัวอย่างเซลล์ในการทดลอง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบการวัด ไมโครอิเล็กโทรด และกระบวนการทำงาน สำหรับวัดค่าอิมพิแดนซ์ของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ชนิด HT-29 ในรูปทรงสองมิติและสามมิติ ระบบที่ใช้ประกอบด้วยจานเพาะเลี้ยงชนิดก้นหลุมแบนและครึ่งทรงกลม ชุดจับไมโครอิเล็กโทรด และเครื่องวัดสัญญาณอิมพิแดนซ์ ในตอนเริ่มต้น เซลล์มะเร็งจำนวน 5000 เซลล์ในของเหลวปริมาตร 200 ไมโครลิตรถูกบรรจุในหลุมเพาะเลี้ยง และปล่อยให้เซลล์รวมตัวเป็นก้อนสามมิติเป็นเวลา 72 ชั่วโมง ไมโครอิเล็กโทรดที่ใช้วัดสัญญาณมีขนาด 200 ไมโครเมตร ถูกใส่เข้าไปในท่อซิลิโคนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 มิลลิเมตร ยาว 20 มิลลิเมตร โดยอิเล็กโทรดมีระยะห่างกัน 2.5 มิลลิเมตร ในการทดลองจะทำการบันทึกค่าอิมแดนซ์และบันทึกภาพการเปลี่ยนแปลงของก้อนเซลล์ทุก 24 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับเซลล์มะเร็งที่ได้รับการกระตุ้นด้วยยาที่มีความเข้มข้น 2.5 ,5 ,10 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าเซลล์ทดลองในแต่ละวันมีค่าอิมพิแดนซ์ที่ต่างกัน และเซลล์ที่ไม่ได้รับยามีค่าอิมพิแดนซืที่ต่างจากเซลล์ที่ได้รับยา โดยสัญญาณอิมพิแดนซ์ของเซลล์มะเร็งแบบสองมิติและสามมิติจะถูกนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อบอกความแตกต่างของอิมพิแดนซ์จากการเรียงตัวของเซลล์


การศึกษาและวิจัยสลักเหล็กทดแทนสลักอะลูมิเนียมที่ชำรุดของสะพานทหาร เอ็ม จี บี, ธัญญลักษณ์ เอี๊ยสกุล Jan 2022

การศึกษาและวิจัยสลักเหล็กทดแทนสลักอะลูมิเนียมที่ชำรุดของสะพานทหาร เอ็ม จี บี, ธัญญลักษณ์ เอี๊ยสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในทางทหารสะพานเป็นยุทโธปกรณ์ที่มีความสำคัญสำหรับการส่งกำลังทหารเข้าไปในพื้นที่สู้รบในยามสงคราม อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการใช้งานด้านงานเร่งด่วนฉุกเฉิน รวมทั้งงานบุกเบิกในการสร้างถนนหรือการใช้ในยามเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้แก่ น้ำท่วม ซึ่งเป็นเหตุทำให้ทางถูกตัดขาด ทหารช่างจึงใช้สะพานทหารในการเข้าไปแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย ในปัจจุบันสะพานทหาร เอ็ม จี บี เกิดการชำรุดในบริเวณข้อต่อของสลักสะพานจึงทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ รวมทั้งวัสดุที่ใช้ทำสลักสะพานนั้นเป็นวัสดุที่ไม่มีการผลิตเนื่องจากเป็นความลับทางการทหารของประเทศที่ผลิต การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับแรงเฉือนและโมเมนต์ดัดของสะพานทหาร เอ็ม จี บี และสร้างแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ นำผลที่ได้เปรียบเทียบและวิเคราะห์กับแรงเฉือนโมเมนต์ที่ได้ศึกษาเพื่อหาวัสดุเหล็กทดแทนวัสดุอะลูมิเนียมที่ชำรุด โดยจากการทดสอบความแข็งแรงของวัสดุเหล็ก S45C พบว่ามีความแข็งแรงและสามารถใช้ทดแทนวัสดุอะลูมิเนียมที่ชำรุดในปัจจุบันได้


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินด้วยข้อมูลดาวเทียม, สาโรช แสงเมือง Jan 2022

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินด้วยข้อมูลดาวเทียม, สาโรช แสงเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบุกรุกเข้ามาบนที่ดินของกองทัพบกเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทางกองทัพต้องหาวิธีบริหารจัดการด้านที่ดินเพื่อดูแลพื้นที่ และป้องกันผลกระทบต่อศักยภาพในการปฏิบัติงานในห้วงการฝึก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีแนวทางที่จะนำเทคโนโลยีเพื่อเข้ามาช่วยในการจัดการด้านพื้นที่ โดยนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเข้ามาใช้งาน วัตถุประสงค์คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของกองทัพจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม การวิเคราะห์โดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล, ลดเวลาในการสำรวจและจำนวนผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบพื้นที่ปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องลงไปบนพื้นที่จริง ซึ่งบางพื้นที่อาจเป็นพื้นที่เสี่ยงอันตราย ในการศึกษาได้ใช้วิธีการจำแนกประเภทข้อมูลแบบกำกับดูแล (Supervised Classification) โดยใช้วิธี Maximum Likelihood โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมต่างๆ ได้แก่ Landsat 5, Landsat 8, และ THEOS โดยได้เลือกพื้นที่ตัวอย่างคือตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ในการศึกษาครั้งนี้ได้จำแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้วยโปรแกรม GIS โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมทั้ง 3 ชนิด ที่ถูกบันทึกตามช่วงเวลาตลอดทั้งปี ผลวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพื้นที่ เช่น พื้นที่ป่าไม้เปลี่ยนเป็นพื้นที่การเกษตร และพื้นที่ปลูกสร้าง และพื้นที่การเกษตรเปลี่ยนเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรือพื้นที่อื่นๆ เป็นต้น ทำให้สามารถกำหนดพื้นที่ในการลงตรวจสอบได้แม่นยำ การศึกษาครั้งนี้ได้มีการทดสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถูกต้องรวม (Overall Accuracy) ซึ่งอยู่ในช่วง 70.00% – 93.33 % ถือว่าให้ค่าความถูกต้องรวมที่สูง นอกจากนี้ยังมีการคำนวนค่าสถิติตามทฤษฎีของ Cohen's kappa (K) ซึ่งอยู่ในช่วง 0.64 – 0.92 ซึ่งบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นของผลลัพธ์ที่ดีถึงดีมาก ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์นี้ได้ถูกแสดงผ่านระบบเว็บแอพพลิเคชั่น ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการจัดการ การแก้ปัญหาการบุกรุกบนพื้นที่ดินของกองทัพบกได้เป็นอย่างดี


การวิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้างก่อสร้างเฉพาะสำหรับโครงการก่อสร้างซึ่งใช้การจำลองสารสนเทศอาคาร, นพจิรา ฤกษ์ขจรนามกุล Jan 2022

การวิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้างก่อสร้างเฉพาะสำหรับโครงการก่อสร้างซึ่งใช้การจำลองสารสนเทศอาคาร, นพจิรา ฤกษ์ขจรนามกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไม่กี่ปีที่ผ่านมาการจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการส่งมอบโครงการก่อสร้างสมัยใหม่ งานวิจัยในอดีตจำนวนมากได้ศึกษาแง่มุมต่าง ๆ ของการนำ BIM ไปใช้ เช่น กระบวนการทำงาน, แบบจำลอง BIM, และ BIM Uses อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่เกี่ยวกับสัญญาจ้างก่อสร้างในโครงการซึ่งใช้ BIM (โครงการ BIM) ยังมีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากโครงการ BIM แตกต่างจากโครงการก่อสร้างทั่วไปในหลาย ๆ ด้าน องค์ประกอบและการจัดการสัญญาจ้างในโครงการ BIM (สัญญา BIM) จึงมีลักษณะเฉพาะตัว ในวิทยานิพนธ์นี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาโครงสร้างของสัญญาจ้างก่อสร้างที่เหมาะสมกับโครงการ BIM โดยเน้นการศึกษาเอกสารและเนื้อหาสำคัญของสัญญา BIM การวิจัยเริ่มจากการรวบรวมและวิเคราะห์มาตรฐาน แนวทาง คู่มือ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ BIM ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมก่อสร้างทั่วโลก จากนั้นจึงสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารจัดการสัญญา BIM เพื่อนำมาวิเคราะห์และร่างเอกสารสัญญา BIM และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสัญญา BIM ผลที่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเอกสารสัญญา BIM แต่ละรายการให้เหมาะสมกับโครงการ BIM ในประเทศไทย ผลลัพธ์หลักของงานวิจัยนี้คือ แนวทางสำหรับร่างเอกสารสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการ BIM ที่เหมาะสมสำหรับการวางแผนและบริหารโครงการ BIM ในอุตสาหกรรมก่อสร้างประเทศไทย เนื่องจากเอกสารสัญญา BIM ที่พัฒนาขึ้นสะท้อนระบบนิเวศของโครงการ BIM ในประเทศไทย จึงสามารถช่วยให้โครงการ BIM ในประเทศไทยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการโครงการ BIM


การพัฒนาการแปลภาษามือไทยด้วยคลังโปรแกรมมีเดียไพพ์, จักรพันธ์ สุทธิแพทย์ Jan 2022

การพัฒนาการแปลภาษามือไทยด้วยคลังโปรแกรมมีเดียไพพ์, จักรพันธ์ สุทธิแพทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์เพื่อแปลภาษามือไทยได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อช่วยลดปัญหาในการสื่อสารกับผู้พิการหรือบกพร่องทางการได้ยิน ในการศึกษานี้เป็นการประยุกต์ใช้คลังโปรแกรมมีเดียไพพ์เพื่อแปลภาษามือไทยโดยใช้การจับภาพท่ามือของภาษามือไทยด้วยกล้องเว็บแคมและระบุตำแหน่งสำคัญบนฝ่ามือด้วยคลังโปรแกรมมีเดียไพพ์ เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้กับแฟ้มข้อความในรูปแบบตารางที่ได้บันทึกตำแหน่งสำคัญและคำศัพท์ไว้จำนวน 35 คำ ใช้ขั้นตอนวิธีการค้นหาเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด K ตัว เพื่อเลือกคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกับท่ามือมากที่สุด ประมวลผลด้วยชุดคำสั่งภาษาไพทอนและแสดงผลการแปลบนจอภาพในทันที การประมวลผลใช้เพียงหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ทั่วไปจึงไม่จำเป็นต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง พบว่าระบบสามารถตรวจจับตำแหน่งสำคัญและแสดงผลการแปลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความแม่นร้อยละ 85.71


ผลของโอโซนต่อการกำจัดแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอในบ่อดินเลี้ยงกุ้งจำลอง, มงคล มิรัตนไพร Jan 2022

ผลของโอโซนต่อการกำจัดแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอในบ่อดินเลี้ยงกุ้งจำลอง, มงคล มิรัตนไพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของโอโซนต่อการกำจัดแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอในบ่อดินเลี้ยงกุ้งจำลอง โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ช่วง การทดลองช่วงที่ 1 เป็นการศึกษาลักษณะสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และปริมาณเชื้อก่อโรคกลุ่มวิบริโอในดิน พบว่าดินจากระบบบ่อเลี้ยงกุ้งกลางแจ้งมีค่าพีเอชเป็นกลาง อินทรียวัตถุและอินทรีย์คาร์บอนรวมอยู่ในระดับสูง และมีปริมาณเชื้อก่อโรคกลุ่มวิบริโอในดินเท่ากับ 1.0±0.0x103 ซีเอฟยู/ก. การทดลองช่วงที่ 2 เป็นการหาความเข้มข้นโอโซนตกค้างในน้ำสูงสุด (จุดอิ่มตัว) ในน้ำความเค็ม 5 พีพีที พบว่ามีค่าเฉลี่ย 1.43±0.03 มก./ล. โดยแปรผันอยู่ในช่วง 1.36 – 1.50 มก./ล. และการศึกษาผลของความเข้มข้นโอโซนตกค้างในน้ำ 4 ระดับ ได้แก่ 0.3, 0.6, 1.0 และ 1.5 มก./ล. และระยะเวลาการสัมผัส 5, 10, 30 และ 60 นาที ต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณเชื้อก่อโรคกลุ่มวิบริโอในดิน พบว่าความเข้มข้นโอโซนตกค้างในน้ำ 1.0 มก./ล. ที่ระยะเวลาสัมผัส 30 นาที สามารถกำจัดวิบริโอในดินได้ร้อยละ 98.6 และการทดลองช่วงที่ 3 เป็นการประยุกต์ใช้โอโซนในการควบคุมปริมาณเชื้อก่อโรคกลุ่มวิบริโอในระบบเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในบ่อดินจำลองสภาวะเหมือนจริงเป็นเวลา 45 วัน พบว่าการใช้โอโซนยังสามารถควบคุมปริมาณวิบริโอในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปริมาณวิบริโอในดินในชุดควบคุมมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมีค่าสูงสุด 9.48±1.73x105 ซีเอฟยู/ก. ในขณะที่ชุดทดลองที่มีการปรับสภาพดินด้วยโอโซนมีปริมาณวิบริโอในดินอยู่ในช่วง 6.5±2.12x103 – 1.25±0.29 x105 ซีเอฟยู/ก. ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณวิบริโอในน้ำ ทั้งนี้การเจริญเติบของกุ้งขาวแวนนาไม พบว่าทุกชุดการทดลองมีอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งใกล้เคียงกัน เท่ากับ 0.12±0.03 และ 0.13±0.02 ก./วัน อัตราการรอดตายร้อยละ 89.75±11.33 และ 89.60±5.43 และอัตราการแลกเนื้อเท่ากับ 1.96±0.25 และ 1.96±0.20 ตามลำดับ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพารามิเตอร์ทางคุณภาพน้ำอื่นๆ มีค่าไม่แตกต่างกันโดยอยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของกุ้งขาว


การคาดการณ์เวลาเดินทางบนท้องถนนระหว่างพิกัดสองจุดในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง, ปวริศ เวชวรรณกิจกุล Jan 2022

การคาดการณ์เวลาเดินทางบนท้องถนนระหว่างพิกัดสองจุดในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง, ปวริศ เวชวรรณกิจกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระยะเวลาเดินทางบนท้องถนนในกรุงเทพมหานครนั้นมีความไม่แน่นอน เนื่องจากความแออัดของการจราจร อย่างไรก็ดี ข้อมูลดังกล่าวกลับมีความสำคัญในการจัดเส้นทางการเดินรถเพื่อธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้ค่าประมาณการณ์ซึ่งอาจมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพของแผนงานดังกล่าวลดต่ำลง ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาตัวแบบที่สามารถการคาดการณ์ระยะเวลาเดินทางบนท้องถนนในกรุงเทพมหานครด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้พัฒนา หรือบูรณาการร่วมกับแผนงานเดิมได้ เริ่มต้น ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูล Mobile Probe จาก iTIC foundation จากนั้นจึงแปลงข้อมูลดังกล่าวออกเป็น Origin-Destination Pairs แล้วคัดเลือกเฉพาะชุดข้อมูลที่มีพิกัดอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานครไปใช้สร้างต้นแบบการเรียนรู้ของเครื่องผ่านอัลกอริทึมแบบต่าง ๆ จนได้อัลกอริทึมที่สามารถสร้างต้นแบบที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดได้ ผู้วิจัยพบว่า จากอัลกอริทึมต่าง ๆ Random forest ถือเป็นอัลกอริทึมที่สามารถสร้างต้นแบบที่มีศักยภาพสูงที่สุด ในขณะที่ XGBoost และ CatBoost มีแนวโน้มที่ดีในการนำไปพัฒนาต่อ เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการสร้างต้นแบบน้อย


การแยกปรอทออกจากน้ำทิ้งสังเคราะห์ด้วยน้ำมันพืชผ่านวิธีการสกัดและนำกลับด้วยระบบเยื่อแผ่นเหลวที่พยุงด้วยเส้นใยกลวง, กัญญาณัฐ ดวงจันทร์ Jan 2022

การแยกปรอทออกจากน้ำทิ้งสังเคราะห์ด้วยน้ำมันพืชผ่านวิธีการสกัดและนำกลับด้วยระบบเยื่อแผ่นเหลวที่พยุงด้วยเส้นใยกลวง, กัญญาณัฐ ดวงจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการสกัดและนำกลับปรอทออกจากน้ำทิ้งสังเคราะห์ด้วยน้ำมันพืชซึ่งเป็นสารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเยื่อแผ่นเหลวที่พยุงด้วยเส้นใยกลวง เป็นไปตามหลักการและพื้นฐานของวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย ผลการศึกษาพบว่าน้ำมันข้าวโพดมีประสิทธิภาพในการสกัดปรอทสูงที่สุด และยังสามารถเลือกสกัดปรอทออกจากไอออนโลหะอื่นที่ปนในน้ำทิ้งสังเคราะห์ได้ดี จากการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อร้อยละการสกัดและนำกลับปรอทด้วยการออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน พบว่า อุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-เบสของน้ำทิ้งสังเคราะห์ และความเข้มข้นของสารนำกลับ ส่งผลต่อร้อยละการสกัดและการนำกลับปรอทอย่างมีนัยสำคัญ สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดและนำกลับปรอท ได้แก่ อุณหภูมิ 323.15 เคลวิน ค่าความเป็นกรด-เบสของน้ำทิ้งสังเคราะห์เป็น 3 ความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริกเป็น 1.2 โมลต่อลิตร และอัตราการไหลของสารละลายป้อนและสารนำกลับที่ 100 มิลลิลิตรต่อนาที ได้ค่าร้อยละการสกัดและนำกลับปรอท 96.14 และ 40.13 ตามลำดับ กลไกการสกัดปรอทเกิดจากการจับกันด้วยพันธะฮาโลเจนของปรอทและกรดไขมันที่ตำแหน่งหมู่คาร์บอกซิลิก สนับสนุนด้วยการวิเคราะห์ทางสเปกโตรสโคปีร่วมกับทฤษฎีฟังก์ชันนอลความหนาแน่น คำนวณค่าพลังงานเอนทาลปีและพลังงานของกิบส์ได้ -23.71 และ 24.38 กิโลจูลต่อโมล ตามลำดับ นอกจากนี้การคำนวณหาค่าอันดับปฏิกิริยาและค่าคงที่ของปฏิกิริยาการสกัดและนำกลับปรอทด้วยวิธีอินทิเกรต ซึ่งได้ค่าอันดับปฏิกิริยาเท่ากับ 1 และ 0 ได้ค่าคงที่ปฏิกิริยาเท่ากับ 0.0262 นาที-1 และ 0.0011 มิลลิกรัมต่อลิตรต่อนาที ตามลำดับ อีกทั้งวิธีการสกัดปรอทด้วยน้ำมันข้าวโพดโดยใช้เยื่อแผ่นเหลวที่พยุงด้วยเส้นใยกลวงประสบความสำเร็จในการลดค่าความเข้มข้นของปรอทให้อยู่ภายใต้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งของประเทศไทย


การพัฒนาเครื่องมืออัตโนมัติสำหรับสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ของส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์เว็บเซอร์วิสแบบเรสต์ฟูล, วิภาดา กลึงเทศ Jan 2022

การพัฒนาเครื่องมืออัตโนมัติสำหรับสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ของส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์เว็บเซอร์วิสแบบเรสต์ฟูล, วิภาดา กลึงเทศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ นิยมนำซอฟต์แวร์กลับมาใช้ใหม่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นการลดต้นทุนในการพัฒนาซอฟต์แวร์ เอกสารต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบจึงมีความสำคัญในการอ้างอิง งานวิจัยนี้ ให้ความสนใจกับแผนภาพยูเอ็มแอลที่เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ จึงได้นำเสนอการออกแบบ และพัฒนาเครื่องมืออัตโนมัติสำหรับการสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ของส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์เว็บเซอร์วิสแบบเรสต์ฟูลโดยใช้เครื่องมือเสริม PlantUML ที่เป็นเครื่องมือเสริมสำหรับการสร้างแผนภาพ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้นำเครื่องมือเสริม PlantUML มาสร้างแผนภาพแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างคอนโทรลเลอร์ เมธอด และคุณลักษณะภายในของพารามิเตอร์ ที่นำเสนอในรูปแบบของแผนภาพยูเอ็มแอล ดังนั้น เมื่อนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ จะช่วยให้ปรับปรุงเอกสารส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ได้ง่ายยิ่งขึ้น และยังช่วยให้เอกสารตรงกับรหัสต้นฉบับ จากการประยุกต์ใช้เครื่องมือกับโครงการ ทำให้ได้ผลลัพธ์ของความถูกต้องเป็น 100%


การใช้ฝุ่นผงสังกะสีสำหรับการเตรียมวัสดุเชิงประกอบตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงซิงก์ออกไซด์/กราฟิติกคาร์บอนไนไตรด์เพื่อการสลายสีย้อม, วรรณวลี พรมสุวรรณ Jan 2022

การใช้ฝุ่นผงสังกะสีสำหรับการเตรียมวัสดุเชิงประกอบตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงซิงก์ออกไซด์/กราฟิติกคาร์บอนไนไตรด์เพื่อการสลายสีย้อม, วรรณวลี พรมสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงซิงก์ออกไซด์ (ZnO) โดยใช้ของเสียฝุ่นผงสังกะสีที่ได้จากกระบวนการชุบโลหะแบบจุ่มร้อนเป็นสารตั้งต้นผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มัล โดยศึกษาอิทธิพลของชนิดกรดที่ใช้ในการละลายฝุ่นผงสังกะสีและความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ใช้ในการตกตะกอนซิงก์ออกไซด์ ที่มีผลต่อเฟส สัณฐานวิทยา พื้นที่ผิวจำเพาะ และสมบัติการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงโดยการย่อยสลายสีย้อมอินทรีย์โรดามีนบีภายใต้การฉายแสงยูวี อนุภาคซิงก์ออกไซด์รูปทรงแบบแท่งที่เตรียมจากการละลายด้วยกรดไนตริกและตกตะกอนด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 6 M (ZnO(N-6M)) และผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมง ให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายสีย้อมสูงที่สุด (89.7%) ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับประสิทธิภาพการย่อยสลายสีย้อมของซิงก์ออกไซด์ทางการค้า (92.7%) งานวิจัยนี้ยังศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงภายใต้การฉายแสงที่ตามองเห็นของซิงก์ออกไซด์ที่สังเคราะห์ได้ผ่านการเตรียมเป็นวัสดุเชิงประกอบกับกราฟิติกคาร์บอนไนไตรด์ (g-C3N4) ทั้งนี้วัสดุเชิงประกอบ ZnO/g-C3N4 ที่เตรียมด้วยวิธีการบดผสมทางกายภาพ การกระจายผสมในตัวกลาง และการเผาแคลไซน์ร่วมระหว่าง ZnO และ g-C3N4 แสดงประสิทธิภาพตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงสำหรับการย่อยสลายสีย้อมโรดามีนบีภายใต้การฉายแสงที่ตามองเห็นต่ำกว่าประสิทธิภาพของ g-C3N4 เพียงอย่างเดียวอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่วัสดุเชิงประกอบ ZnO/g-C3N4 ที่สังเคราะห์ด้วยวิธีโซลโวเทอร์มัลที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง (1Z/gCN_Solv.150) แสดงประสิทธิภาพตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่ดีที่สุด สูงถึง 97.9% ซึ่งมีค่าสูงกว่าประสิทธิภาพการใช้ g-C3N4 เพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากวัสดุเชิงประกอบมีพื้นที่ผิวจำเพาะสูงกว่า(68.4 m2/g) และเกิดการสร้างโครงสร้างแบบเฮเทอโรจังก์ชันใน 1Z/gCN_Solv.150 ส่งผลให้มีอัตราการรวมตัวกันของอิเล็กตรอนและโฮลต่ำกว่า


การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการป้องกันอัคคีภัยกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา, อัยลดา วาปีทำ Jan 2022

การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการป้องกันอัคคีภัยกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา, อัยลดา วาปีทำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บ้านอยู่อาศัยในประเทศไทยเริ่มมีความสนใจในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าฯ ในหลายประเทศได้เกิดปัญหาการเกิดอัคคีภัยสร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สิน และชีวิต ในพื้นที่เกิดอัคคีภัยนักดับเพลิงจะมีความเสี่ยงอันตรายจากแรงดันกระแสไฟฟ้าที่สูงจึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ โดยศึกษาความคุ้มค่าของการติดตั้งอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉินและไมโครอินเวอร์เตอร์ ขนาด 5 kWp 1 Phase ในพื้นที่ภาคกลาง โดยจำลองการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าฯ 3 กรณี ได้แก่กรณีที่ 1 ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา แบบทั่วไป กรณีที่ 2 ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน และกรณีที่ 3 ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งไมโครอินเวอร์เตอร์ จากนั้นทำการสำรวจข้อมูล ราคาบ้านที่ติดตั้งไม่รวมทรัพย์สินภายในบ้านและราคาที่ดิน ราคาหลังคาบ้านที่ติดตั้ง ราคาระบบที่ติดตั้ง พื้นที่บ้านที่ติดตั้ง และนำข้อมูลที่ได้มาทำการหาราคาเฉลี่ย เมื่อได้ข้อมูลเบื้องต้นแล้วนำแต่ละระบบมาเปรียบเทียบค่าพลังงานที่ผลิตได้ โดยโปรแกรม PVSyst ค่าพลังงานที่ผลิตได้ตลอดระยะเวลาโครงการ 25 ปี เท่ากับ 160,380, 165,481 และ 168,961 kWh ตามลำดับ นำข้อมูลที่ได้ทำการคำนวณทางด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อหาความคุ้มค่าของโครงการ มูลล่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 55,434.83, 42,531.10 และ -44,171.64 ตามลำดับ อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 17.96%, 16.46% และ 10.67% ตามลำดับ ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 5.27, 5.79 และ8.52 ปี ตามลำดับ ต้นทุนต่อหน่วยไฟฟ้าตลอดอายุโครงการ (LCOE) 1.53, 1.61 และ 2.03 บาทต่อหน่วย จำลองเหตุการณ์การเกิดอัคคีภัยใน 3 เหตุการณ์ ได้แก่ เหตุการณ์ที่ 1 เกิดอัคคีภัยความเสียหายเพียงแค่ระบบผลิตไฟฟ้าฯ บนหลังคา เหตุการณ์ที่ 2 เกิดอัคคีภัยความเสียหายในบริเวณหลังคาบ้านอยู่อาศัยทั้งหมด และเหตุการณ์ที่ 3 เกิดอัคคีภัยความเสียหายทั้งอาคารบ้านอยู่อาศัย สืบค้นข้อมูลการเกิดอัคคีภัยในประเทศไทยพบว่ามีการเกิดอัคคีภัยระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นทุกๆปี จึงทำการสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญถึงมาตรฐานที่ใช้นิยมใช้ มาตรฐานวสท. และข้อกำหนดของการไฟฟ้า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอัคคีภัยที่พบมากที่สุดคือ อุปกรณ์เชื่อมต่อ (MC4) และอุณหภูมิแวดล้อมพื้นที่ติดตั้ง ผลการวิจัยพบว่าหากพิจารณาความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ในการติดตั้งกรณีที่ …


การวิเคราะห์ผลตอบสนองเชิงพลศาสตร์ในช่วงรอยต่อโครงสร้างทางรถไฟโดยใช้แผ่นวัสดุยืนหยุ่น, สุรพันธุ์ นพรัตน์ Jan 2022

การวิเคราะห์ผลตอบสนองเชิงพลศาสตร์ในช่วงรอยต่อโครงสร้างทางรถไฟโดยใช้แผ่นวัสดุยืนหยุ่น, สุรพันธุ์ นพรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานระบบราง มีแนวโน้มในการพัฒนาสูงขึ้นเป็นอย่างมาก จากข้อดีของการใช้งานที่มีความสะดวก การรับน้ำหนักบรรทุกได้สูง สามารถกำหนดเวลาได้แม่นยำ ประเทศที่มีสถิติความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบขนส่งทางรางอันดับต้นได้แก่ ประเทศจีน ที่ได้มีการวิจัยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมด้านระบบรางมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนารถไฟความเร็วสูง (High Speed Train) หนึ่งในปัญหาสำคัญที่พบคือ ปัญหาช่วงรอยต่อ (Track Transition) สาเหตุมาจากการเปลี่ยนรูปแบบทำให้ค่า Track Stiffness เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เกิดความเร่ง และแรงเชิงพลศาสตร์มากกว่าปกติ โครงสร้างจะเกิดความเสียหาย และในระยะยาวส่งผลให้เกิดการทรุดตัวบริเวณรอยต่อที่ไม่เท่ากัน จำเป็นต้องดูแลรักษาซ่อมบำรุงมากกว่าปกติ ปัจจุบันโครงสร้างทางรถไฟในประเทศไทยจะมีการพัฒนาทางรถไฟความเร็วสูงด้วยโครงสร้างทางแบบ Slab Track ด้วยเทคโนโลยี Chinese Railway Track System (CRTS Type III) จากประเทศจีน ในโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-ลาว-จีน พบว่ามีส่วนของเส้นทางที่เป็น Transition ระหว่าง Ballasted Track และ Slab Track ซึ่งในงานวิจัยนี้จะนำเอาโครงสร้างลดการสั่นสะเทือนประเภท Under Sleeper Pads (USPs) และ Under Slab Mat (USMs) มาใช้งานร่วมกัน เพื่อช่วยลดการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น และปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงค่า Track Stiffness ให้เหมาะสม จากการศึกษางานวิจัยในอดีต พบว่ามีการปัญหา Track Transition ด้วยวิธีการหลากหลาย แต่ยังไม่ได้มีการศึกษาในแง่ของการใช้งานร่วมกันในโครงสร้างช่วยลดการสั่นสะเทือนแบบผสมผสานที่มากเพียงพอ เป็นเหตุสมควรให้ต้องทำการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดการสั่นสะเทือน แรงกระแทก (Impact Load) และการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติม ในหัวข้อที่มีความเกี่ยวข้อง ต่อไป


แนวทางการส่งเสริมระบบการก่อสร้างแบบอุตสาหกรรม - กรณีศึกษาของประเทศไทย, อรณิช ธนากรรฐ์ Jan 2022

แนวทางการส่งเสริมระบบการก่อสร้างแบบอุตสาหกรรม - กรณีศึกษาของประเทศไทย, อรณิช ธนากรรฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การผลักดันการก่อสร้างให้เป็นระบบอุตสาหกรรม (Industrialized building system, IBS) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างเนื่องจากระบบดังกล่าวเป็นการก่อสร้างที่ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลาการก่อสร้าง อีกทั้งยังลดความสูญเปล่าของวัสดุในขั้นตอนการก่อสร้าง โดยจุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษารูปแบบการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรม จากนั้นศึกษาปัจจัย SWOT ของอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรมโดยใช้ทฤษฎี Internal Factor Evaluation Matrix (IFE Matrix) และ External Factor Evaluation Matrix (EFE Matrix) และนำเสนอแนวทางการส่งเสริมที่เหมาะสมโดยวิเคราะห์ด้วย TOWS Matrix และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการศึกษาพบว่า วิธีการก่อสร้างในประเทศไทยที่มีระดับความเป็นระบบอุตสาหกรรมมากที่สุดคือ การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete System) และการก่อสร้างระบบโมดูลาร์ (Modular System) ต่อมาได้ทำการประเมินและวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกจำนวน 28 ปัจจัย พบปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง 10 ปัจจัย, จุดอ่อน 4 ปัจจัย, โอกาส 8 ปัจจัย และอุปสรรค 6 ปัจจัย และค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักจาก IFE และ EFE Matrix เท่ากับ 2.82 และ 2.75 มีสถานการณ์อยู่ในตำแหน่งการประคับประคองและบำรุงรักษา (Hold and Maintain) แนวทางในการส่งเสริมการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรม ได้แก่ การสนับสนุนจากภาครัฐ การอบรมและพัฒนาความรู้ และโควตาโครงการก่อสร้างด้วยระบบอุตสาหกรรม


การพัฒนาชุดทดสอบสำหรับระบบควบคุมไฟถนนอัตโนมัติ บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Nb-Iot และ Lora, เกียรติศักดิ์ บุญประเสริฐ Jan 2022

การพัฒนาชุดทดสอบสำหรับระบบควบคุมไฟถนนอัตโนมัติ บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Nb-Iot และ Lora, เกียรติศักดิ์ บุญประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เสนอการพัฒนาชุดทดสอบสำหรับระบบควบคุมไฟถนนอัตโนมัติ บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี NB-IoTและ LoRa เพื่อพัฒนาระบบควบคุมไฟถนนระยะไกล และเปรียบเทียบการทำงานของระบบสื่อสารแบบ NB-IoT กับ LoRa ดำเนินงานวิจัยโดยศึกษารูปแบบของระบบควบคุมไฟถนนจากการไฟฟ้านครหลวงปัจจุบัน พัฒนาชุดทดสอบสำหรับระบบควบคุมไฟถนนอัตโนมัติ และทดสอบการวัดค่าความแรงสัญญาณต่ำสุดของสัญญาของระบบสื่อสารแต่ละชนิดที่สามารถเชื่อมต่อได้ และสั่งควบคุมการหรี่ไฟโดยผ่านระบบสื่อสารแบบไร้สายด้วยเทคโนโลยี LoRa และ NB-IoT (ทั้งของ AIS และ True) ผลที่ได้จากงานวิจัย (1) ชุดทดสอบระบบควบคุมไฟถนนที่ใช้อุปกรณ์บอร์ด Arduino ที่ใช้อุปกรณ์สื่อสาร NB-IoT AIS: DEVIO NB-SHIELD, NB-IoT Ture: True NB-IoT Developer Board และ LoRa : Heltec WIFI Lora Kit 32 สำหรับควบคุมและมอนิเตอร์ผ่านระบบคลาวด์เว็บไซต์ (2) การเปรียบเทียบสมรรถนะของระบบสื่อสาร NB-IoT ของ Ais, ระบบสื่อสาร NB-IoT ของ true และ LoRa ระบบทั้ง 3 สามารถตอบสนองการทำงานได้ตามโหมดต่างๆได้อย่างถูกต้อง และค่าความแรงสัญญาณต่ำสุดที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบได้คือ -93 dBm, -95 dBm และ -111 dBm ตามลำดับ ในส่วนของราคาของอุปกรณ์ของ NB-IoT ของ AIS และ True อยู่ที่ 3,845 บาท และ 3,805 บาท ส่วนของ LoRa อยู่ที่ 4,455 บาท


เทคนิคการรีซิงโครไนเซชันเปิดทางสำหรับคอนเวอร์เตอร์ที่เชื่อมต่อกริดชนิดเเหล่งจ่ายเเรงดัน, ณัฐกิตติ์ กิจชีววิทยา Jan 2022

เทคนิคการรีซิงโครไนเซชันเปิดทางสำหรับคอนเวอร์เตอร์ที่เชื่อมต่อกริดชนิดเเหล่งจ่ายเเรงดัน, ณัฐกิตติ์ กิจชีววิทยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอวิธีการควบคุมคอนเวอร์เตอร์ชนิดแหล่งจ่ายแรงดันที่เป็นคอนเวอร์เตอร์ประเภทสามระดับ โดยให้แนวทางการคำนวณและการออกแบบในแต่ละส่วนอย่างชัดเจนและเรียบง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้งาน วิธีการควบคุมที่นำเสนอจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก 1) การควบคุมของคอนเวอร์เตอร์ชนิดแหล่งจ่ายแรงดัน 2) การควบคุมเสมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซิงโครนัส 3) การควบคุมกระบวนการรีซิงโครไนซ์ เพื่อให้สามารถรองรับการทำงานในโหมดต่างๆ ของไมโครกริดได้ ประกอบด้วย โหมดแยกตัวอิสระ โหมดการเชื่อมต่อกับโครงข่าย และ การเปลี่ยนผ่านระหว่างโหมด วิทยานิพนธ์นี้จะให้ความสำคัญกับโหมดการรีซิงโครไนซ์ที่มีความท้าท้ายเป็นอย่างมาก ดังนั้นจะต้องพัฒนาให้คอนเวอร์เตอร์มีฟังก์ชันการทำงานเสมือนเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซิงโครนัสที่มีความยืดหยุ่นในการควบคุมทั้งความถี่และแรงดัน โดยอาศัยส่วนการควบคุมกระบวนการรีซิงโครไนเซชั่นที่ประกอบด้วยเวกเตอร์เฟสล็อกลูป (Vector Phase-Look-Loop: VPLL) และตัวควบคุมแรงดันที่ขั้ว (Terminal Voltage Control) ทำหน้าที่ปรับค่าความแตกต่างของ ความถี่ มุมเฟส และขนาดแรงดันของทางด้านคอนเวอร์เตอร์ให้ซิงโครไนซ์กับทางด้านโครงข่ายไฟฟ้าและสอดคล้องกับมาตรฐาน IEEE 1547-2018 ของการรีซิงโครไนซ์ของไมโครกริดกำหนดไว้ ผลการจำลองการทำงานด้วยโปรแกรม MATLAB/SIMULINK กับผลการทดลองด้วยอินเวอร์เตอร์สามระดับ แสดงให้เห็นว่าแนวคิดที่นำเสนอสามารถทำให้คอนเวอร์เตอร์ทำงานได้ทั้ง 4 โหมดของไมโครกริด และการเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น อีกทั้งควบคุมให้มุมเฟส ความถี่ และขนาดแรงดันสอดคล้องกับมาตรฐาน IEEE1547-2018 ที่กำหนด


การนับพลัคไวรัสโดยใช้ค่าขีดคู่และขั้นตอนวิธีสันปันน้ำ, นิตยา คำดี Jan 2022

การนับพลัคไวรัสโดยใช้ค่าขีดคู่และขั้นตอนวิธีสันปันน้ำ, นิตยา คำดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การนับจำนวนไวรัสด้วยจำนวน Plaque Forming Unit (PFU) เพื่อทำการทดลองในด้านต่างๆ เช่นการผลิตวัคซีน สามารถทำได้ด้วยการใช้ตาเปล่าซึ่งส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้า ใช้เวลานานและเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย การนับด้วยวิธีที่รวดเร็วและแม่นยำต้องคำนึงหลายปัจจัย เนื่องจาก PFU มีรูปร่างไม่แน่นอน ขอบไม่เด่นชัด ขนาดไม่สม่ำเสมอ รวมถึงความแตกต่างกันของสีระหว่าง PFU และพื้นหลังภายในจานหลุมไม่คงที่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอสร้างกรรมวิธีการนับ PFU แบบกึ่งอัตโนมัติจากภาพจานเพาะเลี้ยงที่ได้จากกล้องถ่ายรูปทั่วไปที่ไม่มีการควบคุมแสง เริ่มจากการจำแนก PFU กับพื้นหลังด้วยค่าขีดเริ่มเปลี่ยนแบบปรับตัวได้ โดยถ้าเป็น PFU ขนาดเล็กจะใช้ค่าขีดเริ่มเปลี่ยนบริเวณขอบและกลางหลุมแตกต่างกัน ขณะที่ถ้าเป็น PFU ขนาดใหญ่จะใช้ค่าขีดเริ่มเปลี่ยนเดียวกันทั้งหลุม ปัญหาเรื่องสีย้อมที่ต่างกันถูกแก้โดยใช้ผลต่างของสองช่องสัญญาณในปริภูมิสี CIE-XYZ ที่มีการถ่วงน้ำหนักให้ความสว่างของพื้นหลังเท่ากัน การแบ่งพื้นที่ของ PFU ที่ติดกันประกอบด้วยสองส่วนคือ กระบวนการวิธีสันปันน้ำร่วมกับการแปลงระยะทางและการใช้เกณฑ์ขนาดร่วมกับการขยายของจุดศูนย์กลางที่ได้จากภาพการแปลงระยะทางเป็นวงกลม จากการทดลองพบว่าเมื่อปรับค่าถ่วงน้ำหนักให้เหมาะสมแล้ว กรรมวิธีที่นำเสนอสามารถนับ PFU ผิดพลาดน้อยกว่าร้อยละ 10 สำหรับ PFU ที่เป็นสีขาว มีขอบราบเรียบและไม่มีรูตรงกลาง จึงสามารถนำมาใช้กับ PFU ของไวรัสไข้เลือดออก ไวรัสไข้ปวดข้อยุงลายและไวรัสไข้สมองอักเสบ การนับจะได้ผลผิดพลาดมากขึ้นสำหรับ PFU ที่มีสีชมพูปะปน เช่น ไวรัสไข้ซิก้าและ PFU ที่มีขอบฟุ้ง เช่น PFU ของไวรัสโคโรนา


การศึกษาการเบรกดาวน์ทางไฟฟ้าของเม็ดเลือดแดงสําหรับการตรวจจับมาลาเรีย, วีรดา หมัดสี Jan 2022

การศึกษาการเบรกดาวน์ทางไฟฟ้าของเม็ดเลือดแดงสําหรับการตรวจจับมาลาเรีย, วีรดา หมัดสี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มาลาเรียยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ป่วยจะลดลงทุกปี. การดื้อยาของเชื้อมาลาเรียส่งผลกระทบต่อการควบคุมโรคเป็นอย่างมาก. ดังนั้น การวินิจฉัยของมาลาเรียจำเป็นต้องมีความรวดเร็วและแม่นยำ. ปัจจุบันการตรวจหามาลาเรียมีหลายวิธี เช่น การตรวจหาด้วยกล้องจุลทรรศน์, การตรวจโดยใช้ชุดตรวจ RDTs, การตรวจด้วยวิธีการพีซีอาร์. ขีดจำกัดและความสามารถในการตรวจแต่ละวิธีนั้นมีความแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการคัดแยกเซลล์เลือดเพาะปกติและเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรีย และการตรวจหาดีเอ็นเอของมาลาเรีย โดยใช้แรงไดอิเล็กโตรโฟเรติก. การสลายเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรียด้วยหลักการอิเล็กโตรพอเร-ชัน. ตัวอย่างที่ใช้สำหรับการทดลอง คือ เซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ และเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรีย. การทดลองคัดแยกเซลล์เลือดปกติออกจากเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรียถูกทำที่อัตราส่วนจำนวนเซลล์ 1:10,000. เซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรียหลังผ่านกระบวนการคัดแยกจะถูกสลายที่แรงดัน 9 Vp, 100 kHz เพื่อสกัดสารพันธุกรรม. ตัวอย่างที่ได้จากการสลายเซลล์ถูกนำไปขยายปริมาณดีเอ็น-เอด้วยวิธีการพีซีอาร์. ผลิตผลที่ได้จากการทำพีซีอาร์จะถูกนำมาตรวจหาดีเอ็นของมาลาเรียด้วยวิธีการวัดอิมพีแดนซ์เชิงไดอิเล็กโตรโฟเรติก.