Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 301 - 329 of 329

Full-Text Articles in Engineering

The Effect Of Adsorption On Photocatalytic Degradation Of Phenyl Urea Herbicides On Zinc Oxide, Sutaporn Meephon Jan 2017

The Effect Of Adsorption On Photocatalytic Degradation Of Phenyl Urea Herbicides On Zinc Oxide, Sutaporn Meephon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The effect of adsorption on photocatalytic degradation was studied by using zinc oxide with different morphologies and exposed surfaces as the photocatalyst. Polar zinc-terminated surface and polar oxygen-terminated surface are dominating planes on the top and bottom of a crystal of ZnO conventional particles, while non-polar surface is the main plane on the side of ZnO nanorods. These surfaces affect the adsorption behavior of phenylurea herbicides, i.e. diuron, linuron and 3,4-dichloroaniline. Consequently, they cause the difference in photocatalytic degradation rate and intermediate products formed during the degradation. The adsorption capacity of ZnO conventional particles is about twice as high as …


Effects Of Modification Of Γ-Al2o3 Support By La And Ce On Pt Dispersion And Oxygen Mobility For Co Oxidation, Thanawat Wandondaeng Jan 2017

Effects Of Modification Of Γ-Al2o3 Support By La And Ce On Pt Dispersion And Oxygen Mobility For Co Oxidation, Thanawat Wandondaeng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Effects of La or Ce modified Pt/γ-Al2O3 catalysts on Pt dispersion and oxygen mobility of catalyst were investigated by CO oxidation reaction. 0, 0.01, 0.05, 0.10 and 0.15 molar ratio of La or Ce to Al was doped on Pt/γ-Al2O3 catalysts (0.3wt%Pt) by impregnation method. The CO oxidation activities in terms of light-off temperature (T50) and turnover frequencies (TOF) corresponded to Pt dispersion, oxygen mobility as characterized by various analytical techniques such as X-ray diffraction (XRD), N2-physisorption, CO-pulse chemisorption, and temperature programed desorption of CO2 (CO2-TPD). The results indicated that the addition of La on Pt/γ-Al2O3 catalysts increased the dispersion …


Effect Of Operating Variables Of Corona Discharge Reactor Onbenzene Removal Efficiency, Thanunwut Thanahirunthitichote Jan 2017

Effect Of Operating Variables Of Corona Discharge Reactor Onbenzene Removal Efficiency, Thanunwut Thanahirunthitichote

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Volatile organic compound (VOC) has been known as one of air pollutants generated by the fast growth of industry and social development. There were many kind of VOC which is harmful for humans and environments. All concerned organization requested controlling of these problems. As a result, there were many technologies developed for handling and degrading such VOC. Among these technologies, corona discharge reactor has been known as a promising means because of its effectiveness and compactness. In this work, benzene was selected as a model VOC pollutant. Performance of multi-channeled corona discharge reactor for removal of benzene was experimentally examined …


การแก้ปัญหาการจัดตารางปฏิบัติงานนักบินของสายการบินราคาประหยัดโดยใช้วิธีเมตาฮิวริสติก, กนกพร อารยิกานนท์ Jan 2017

การแก้ปัญหาการจัดตารางปฏิบัติงานนักบินของสายการบินราคาประหยัดโดยใช้วิธีเมตาฮิวริสติก, กนกพร อารยิกานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันจำนวนเที่ยวบินของสายการบินราคาประหยัดมีเพิ่มมากขึ้นตามความต้องการของลูกค้าที่นิยมเดินทางด้วยเครื่องบิน ต้นทุนฝ่ายปฏิบัติการด้านพนักงานมีค่าใช้จ่ายสูงเป็นอันดับสองรองจากน้ำมันแต่ด้วยทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดจึงจำเป็นต้องจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม งานวิจัยนี้จึงเป็นการแก้ปัญหาการจัดสรรนักบินที่สามารถปฏิบัติการบินในแต่ละรูปแบบเที่ยวบินในตารางรายเดือนได้ ปัญหานี้มีความซับซ้อนทั้งกฏและข้อบังคับที่ต้องพิจารณาเป็นข้อจำกัดหลักและรอง ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตามตามประกาศกรมการบินพลเรือนตามประกาศอย่างเคร่งครัด เนื่องจากเป็นสายการบินราคาประหยัดจึงมุ่งเน้นที่จะลดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้งานวิจัยจึงมีเป้าหมายที่จะช่วยปรับภาระงาน จัดสรรตารางงานนักบินของระดับงานอาวุโส และปรับการกระจายรูปแบบเที่ยวบินให้นักบินแต่ละคนเท่าเทียมกันอีกด้วย ปัญหาการจัดตารางปฏิบัติงานเป็นปัญหาที่มีขนาดใหญ่และข้อจำกัดหลายด้านจึงเสนอวิธีเมตาฮิวริสติกเพื่อการจัดตารางปฏิบัติงานนักบินของสายการบินราคาประหยัด อัลกอริทึมแบบผสมระหว่างวิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนกร่วมกับอัลกอริทึมการผสมพันธุ์ผึ้ง (MOEA/D-HBMO) จึงถูกประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหามากวัตถุประสงค์และการจัดตารางปฏิบัติงานนักบินที่ซับซ้อนนี้ ผลที่ได้จากงานวิจัยพบว่าอัลกอริทึม MOEA/D-HBMO มีประสิทธิภาพดีที่สุดทั้งปัญหาขนาดเล็ก กลาง และใหญ่


การแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบมากวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบลักษณะตัวยูขนาน, เพ็ญนภัส จิรชัย Jan 2017

การแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบมากวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบลักษณะตัวยูขนาน, เพ็ญนภัส จิรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบมากวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบลักษณะตัวยูขนาน เป็นการแก้ปัญหาโดยการพิจารณาทุกวัตถุประสงค์ไปพร้อมๆกัน ซึ่งจัดเป็นปัญหาแบบยาก (NP-Hard) ดังนั้นการค้นหาคำตอบจึงต้องนำวิธีการทางฮิวริสติก (Heuristic) มาช่วยเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความเหมาะสม งานวิจัยนี้จึงนำเสนออัลกอริทึมใหม่ คือ วิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนกประยุกต์รวมกับอัลกอริทึมการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตตามภูมิศาสตร์ ( The Multi-Objective Evolutionary Optimization Hybridised With The Biogeography-Based Optimization Algorithm: MOEA/D-BBO) สำหรับแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมลักษณะตัวยูขนานที่มีมากวัตถุประสงค์ โดยงานวิจัยนี้มีจำนวนวัตถุประสงค์ 4 วัตถุประสงค์ คือ จำนวนสถานีงานน้อยที่สุด จำนวนสถานีน้อยที่สุด ความแตกต่างของภาระงานระหว่างสถานีงานมีค่าน้อยที่สุด และความสัมพันธ์ของงานที่ไม่เกี่ยวเนื่องกันภายในสถานีงานมีค่าน้อยที่สุด พร้อมทั้งทำการเปรียบเทียบสมรรถนะของอัลกอริทึม MOEA/D-BBO กับอัลกอริทึมอื่นๆ ที่เป็นที่นิยม คือ การหาค่าที่เหมาะสมที่สุดแบบการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตตามภูมิศาสตร์ (BBO) และวิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนก (MOEA/D) จากผลการทดลองพบว่า MOEA/D-BBO มีสมรรถนะในการแก้ปัญหาดีกว่า MOEA/D และ BBO ทั้งด้านการลู่เข้าสู่กลุ่มคำตอบที่เหมาะสมที่สุดที่แท้จริง ด้านการกระจายของกลุ่มคำตอบ ด้านอัตราส่วนของคำตอบที่ไม่ถูกครอบงำ ส่วนด้านจำนวนของคำตอบที่ไม่ถูกครอบงำ MOEA/D-BBO มีสมรรถนะดีกว่าอัลกอริทึมอื่น สำหรับโจทย์ปัญหาขนาดเล็ก และขนาดกลางบางโจทย์ ด้านเวลาในการค้นหาคำตอบนั้น MOEA/D-BBO ใช้เวลานานที่สุด แต่ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ยอมรับได้ (นานที่สุดไม่เกิน 1 ชั่วโมง)


การลดความสูญเสียจากปริมาตรบรรจุของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแบบกระป๋อง, ชานิดา กัมพลานนท์ Jan 2017

การลดความสูญเสียจากปริมาตรบรรจุของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแบบกระป๋อง, ชานิดา กัมพลานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปริมาตรน้ำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สกัดจากผลไม้ภายในกระป๋อง และหาค่าการปรับตั้งปัจจัยของเครื่องบรรจุที่เหมาะสมเพื่อให้มูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุน้อยลง ขั้นตอนการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาในงานวิจัยนี้เลือกใช้เครื่องมือแผนผังสาเหตุและผล และเลือกใช้เมทริกซ์ความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลในการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปริมาตรบรรจุ ในขั้นตอนการปรับปรุงได้ทำการทดลองเพื่อหาระดับที่เหมาะสมของปัจจัย โดยอาศัยวิธีการพื้นผิวตอบสนองแบบส่วนประสมกลางชนิดแบบ Faced Central Composite Design: CCF จากนั้นจึงทำการสร้างสมการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้ากับมูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุเพื่อหาค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมที่ทำให้มูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุมีค่าน้อยที่สุด พบว่าค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสม คือ ความยาวของท่อระบายเท่ากับ 106 มิลลิเมตร ระดับของวาล์วปิดแก๊ส CO2 เท่ากับระดับ 1 ระดับของวาล์วที่ไล่อากาศและไล่แก๊ส CO2 เท่ากับระดับ 3 ค่าความดันภายในถังเก็บเท่ากับ 3.5 บาร์ และค่าระดับน้ำผลิตภัณฑ์ภายในถังเก็บเท่ากับ 45 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นทางผู้วิจัยได้จัดทำวิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการตรวจสอบลักษณะของโอริง และสร้างแผ่นตรวจสอบลักษณะกระป๋องก่อนเข้ากระบวนการบรรจุ หลังจากปรับปรุงพบว่าค่าเฉลี่ยปริมาตรน้ำผลิตภัณฑ์ภายในกระป๋อง ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปริมาตรน้ำผลิตภัณฑ์ภายในกระป๋อง และมูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุหลังการปรับปรุงต่อ 1 รอบการผลิตมีค่าเท่ากับ 254.63 มิลลิลิตร 1.37 มิลลิลิตร และ 3,978 บาท ตามลำดับ ซึ่งค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากก่อนปรับปรุง และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานลดลงจากก่อนปรับปรุงทำให้มูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุลดลงจากก่อนปรับปรุงเท่ากับ 6,679 บาทต่อ 1 รอบการผลิต คิดเป็นความสูญเสียที่ลดลง 62.67 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคาดว่าสามารถลดความสูญเสียได้ 3,205,920 บาทต่อปี สุดท้ายทางผู้วิจัยได้จัดทำแผนควบคุม และวิธีการปฏิบัติงานใหม่ของการตั้งค่าเครื่องบรรจุ


การออกแบบฮิวริสติกเพื่อใช้ในการออกแบบและปรับปรุงสายการผลิต, ญาณวโรตม์ พงศ์เศรษฐไพศาล Jan 2017

การออกแบบฮิวริสติกเพื่อใช้ในการออกแบบและปรับปรุงสายการผลิต, ญาณวโรตม์ พงศ์เศรษฐไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบสายการผลิตมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้รับสายการผลิตที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการและข้อจำกัดของเจ้าของสายการผลิตได้ ซึ่งสายการผลิตจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละโรงงาน โดยทั่วไปนั้นสายการผลิตจะถูกออกแบบโดยผู้มีประสบการณ์สูงด้วยวิธีการลองผิดลองถูก ซึ่งจะอาศัยการประเมินว่าสายการผลิตที่ทำการออกแบบมานั้นทำได้ตรงตามความต้องการหรือข้อจำกัดของเจ้าของสายการผลิตหรือไม่ย่อม หากสายการผลิตไม่สามารถทำได้ตรงตามความต้องการหรือข้อจำกัดจะทำการปรับปรุงสายการผลิต ทำให้การออกแบบสายการผลิตแต่ครั้งใช้ระยะเวลานาน มีค่าใช้จ่ายสูง และจำเป็นต้องพึ่งพาผู้มีประสบการณ์สูงซึ่งมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้การประเมินสายการผลิตแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้ตัวประเมินที่ถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งจากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าตัวประเมินสายการผลิตจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนั้นในงานวิจัยฉบับนี้จะนำเสนอวิธีการออกแบบสายการผลิตที่สามารถใช้ได้ทั้งการออกแบบสายการผลิตใหม่และทำการปรับปรุงสายการผลิตที่มีอยู่เดิม ซึ่งวิธีการที่ทำการออกแบบมานั้นสามารถใช้งานได้ง่าย หาคำตอบได้อย่างรวดเร็วและไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์สูงในการออกแบบ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ โดยวิธีการที่ทำการออกแบบมาจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยส่วนแรกคือการหาคำตอบเริ่มต้นด้วยหลักการหาค่าเหมาะสมสุด และ อัลกอริทึมการจัดสรรแล้วพอดีที่สุด และในส่วนที่สองจะอาศัยหลักการการหาคำตอบข้างเคียงในการปรับปรุงคำตอบ โดยการหาคำตอบข้างเคียงจะทำการหาผ่านวิธีการที่ทำการออกแบบขึ้น นอกจากนี้งานวิจัยฉบับนี้ยังได้ทำการรวบรวมตัวประเมินที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะสายการผลิตในแต่ละด้าน รวมไปถึงวิธีการชี้วัดหรือวิธีการคำนวณเพื่อใช้ในการประเมินสายการผลิตและสามารถเปรียบเทียบได้ เพื่อให้ผู้ทำการประเมินและผู้ที่นำผลการประเมินไปใช้สามารถวิเคราะห์สมรรถนะของสายการผลิตได้อย่างแม่นยำและเที่ยงตรงโดยใช้ตัวชี้วัดสำหรับการประเมินสมรรถนะสายการผลิต


การสร้างแบบจำลองพยากรณ์น้ำท่าสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีสถานีวัดในลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน, ณัฐนนท์ สงวนศัพท์ Jan 2017

การสร้างแบบจำลองพยากรณ์น้ำท่าสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีสถานีวัดในลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน, ณัฐนนท์ สงวนศัพท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้อมูลปริมาณน้ำท่ามีความสำคัญต่อการวางแผนและการจัดการทรัพยากรน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการเกิดอุทกภัย หรือ ภัยแล้ง ซึ่งในบางพื้นที่ลุ่มน้ำไม่มีการบันทึกข้อมูลปริมาณน้ำท่าหรือมีการบันทึก แต่สถิติข้อมูลไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้งาน ดัชนีทางอุกทกวิทยาจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่า วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้นำเสนอวิธีการในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่าในบริเวณที่ไม่มีสถานีวัดน้ำท่าจำนวน 34 ลุ่มน้ำย่อยในบริเวณลุ่มน้ำปิงตอนบนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยทำการศึกษาในช่วงปี 2549-2557 ผู้วิจัยได้นำเทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยมาประยุกต์ใช้ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีน้ำท่ากับลักษณะทางกายภาพของลุ่มน้ำจำนวน 7 ตัว ได้แก่ สัมประสิทธิ์น้ำท่า ดัชนีการไหลพื้นฐาน ดัชนีความอ่อนไหวของน้ำท่าต่อน้ำฝนตามฤดูกาล เปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของปริมาณน้ำท่า เปอร์เซนไทล์ที่ 50 ของปริมาณน้ำท่า เปอร์เซนไทล์ที่ 5 ของปริมาณน้ำท่า ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ และผลต่างของปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายปีเฉลี่ย โดยใช้ช่วงความเชื่อมั่นจากตัวแบบการถดถอยในการจำกัดชุดพารามิเตอร์ของแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า และใช้ตัวชี้วัด NSE* และ Reliability ในการประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลอง ผลการศึกษาพบว่าดัชนีน้ำท่าที่มีความสามารถในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่ามากที่สุดคือเปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของปริมาณน้ำท่า สัมประสิทธิ์น้ำท่า ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ ผลต่างของปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายปีเฉลี่ย และดัชนีความอ่อนไหวของน้ำท่าต่อน้ำฝนตามฤดูกาล มีความสามารถในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่าน้อยที่สุด โดยเปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของปริมาณน้ำท่า สัมประสิทธิ์น้ำท่า ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ และผลต่างของปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายปีเฉลี่ยใช้ได้ดีในบริเวณลุ่มน้ำย่อยที่มีลักษณะการใช้ที่ดินแบบเกษตรกรรมและมีขนาดเล็ก


การแก้ปัญหาการจัดสมดุลและจัดสรรพนักงานหลายทักษะบนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมลักษณะขนานแบบมากวัตถุประสงค์, ชินวิชญ์ สินธุเดชากุล Jan 2017

การแก้ปัญหาการจัดสมดุลและจัดสรรพนักงานหลายทักษะบนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมลักษณะขนานแบบมากวัตถุประสงค์, ชินวิชญ์ สินธุเดชากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดสมดุลและจัดสรรพนักงานหลายทักษะบนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมลักษณะขนานแบบมากวัตถุประสงค์ภายใต้ปัญหาประเภทที่ 2 โดยทักษะที่หลากหลายเกิดจากความทุพพลภาพของและความชำนาญของพนักงาน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาแบบเอ็นพีแบบยาก (NP-hard) ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะได้คำตอบที่ดีที่สุด (Optimal Solution) ในระยะเวลาที่จำกัด โดยวิธีที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาลักษณะนี้ คือวิธีการทางฮิวริสติก งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการแบบผสมระหว่างวิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนกร่วมกับอัลกอริทึมการบรรจวบโดยมี (A Hybrid Multi-Objective Evolutionary and Combinatorial Optimization with Coincidence Algorithm with Template : AMOEA/D-COIN/WT) มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาโดยมีจำนวนวัตถุประสงค์ทั้งสิ้น 4 วัตถุประสงค์ ซึ่งจะพิจารณาค่าที่เหมาะสมที่สุดไปพร้อมๆกัน ได้แก่ ได้แก่ รอบเวลาดำเนินการน้อยที่สุด จำนวนสถานีน้อยที่สุด ความแตกต่างของภาระงานระหว่างสถานีงานน้อยที่สุด และความไม่เกี่ยวเนื่องกันของขั้นงานน้อยที่สุด พร้อมกันนี้ได้ทำการเปรียบเทียบสมรรถนะของ AMOEA/D-COIN/WT กับอัลกอริทึมอื่นๆที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้ ได้แก่ อัลกอริทึมการบรรจวบ (COIN) และ วิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนก (MOEA/D) โดยตัวชี้วัดสมรรถนะทั้งหมด 6 ตัว ผลที่ได้จากการทดลองคือ อัลกอริทึม AMOEA/D-COIN/WT สามารถค้นพบคำตอบในแต่ละฟังก์ชันวัตถุประสงค์ที่มีค่าต่ำที่สุดที่ดีกว่าในเกือบทุกโจทย์ปัญหา ส่วนในด้านของตัวชี้วัดนั้น อัลกอริทึม AMOEA/D-COIN/WT มีสมรรถนะในการแก้ปัญหาที่ดีกว่า COIN และ MOEA/D ในด้านการลู่เข้าหาคำตอบที่แท้จริงของทุกโจทย์ปัญหาตัวอย่างที่นำมาวิจัย ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาแบบมากวัตถุประสงค์ ถึงแม้การกระจายตัวของกลุ่มคำตอบและจำนวนของคำตอบที่ไม่ถูกครอบงำจะไม่ดีเท่า COIN และใช้เวลาในการค้นหาคำตอบที่นานกว่า COIN และMOEA/D แต่ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ยอมรับได้ (นานที่สุดไม่เกิน 1 ชั่วโมง)


การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากตะกอนบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมเบียร์ร่วมกับวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล, ปริญญ์รัฐ หนูสงค์ Jan 2017

การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากตะกอนบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมเบียร์ร่วมกับวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล, ปริญญ์รัฐ หนูสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเงื่อนไขในกระบวนการคาร์บอไนซ์และสัดส่วนผสมในการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากตะกอนบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมเบียร์ร่วมกับวัสดุเหลือใช้จากการผลิตไบโอดีเซล ได้แก่ กากดินฟอกสีและกลีเซอรอลดิบ ในงานวิจัยนี้ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน (1) ศึกษาเงื่อนไขในการคาร์บอไนซ์กากตะกอนบำบัดน้ำเสียที่มีผลต่อปริมาณคาร์บอนคงตัวในระดับสูงด้วยวิธีการออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียล โดยมีปัจจัยนำเข้า ได้แก่ อุณหภูมิและเวลาในการคาร์บอไนซ์ระหว่าง 100 ถึง 700 องศาเซลเซียส และเวลา 10 ถึง 120 นาที ตามลำดับ (2) ศึกษาเงื่อนไขของสัดส่วนผสมระหว่างกากตะกอนบำบัดน้ำเสีย กากดินฟอกสี และกลีเซอรอลดิบที่มีผลต่อปริมาณคาร์บอนคงตัวและค่าความร้อนในระดับสูงด้วยวิธีการออกแบบการทดลองแบบผสม (3) คำนวณผลิตภาพด้านพลังงานของเชื้อเพลิงอัดแท่ง จากการวิจัยพบว่า (1) เงื่อนไขที่เหมาะสมในการคาร์บอไนซ์กากตะกอนบำบัดน้ำเสีย คือ อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 30 นาที โดยเงื่อนไขดังกล่าวมีปริมาณคาร์บอนคงตัวสูงสุดร้อยละ 10.01 ± 0.30 โดยน้ำหนัก (2) เงื่อนไขที่เหมาะสมของสัดส่วนผสมระหว่างกากตะกอนบำบัดน้ำเสียร่วมกับกากดินฟอกสี โดยมีกลีเซอรอลดิบเป็นตัวเชื่อมประสานที่ร้อยละ 30 ของของผสม พบว่าอัตราส่วนกากตะกอนบำบัดน้ำเสียร้อยละ 95 ต่อกากดินฟอกสีร้อยละ 5 ให้ปริมาณคาร์บอนคงตัวสูงสุดร้อยละ 3.05 ± 0.05 โดยน้ำหนัก และค่าความร้อนสูงสุด 3,548.10 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม (3) ผลิตภาพด้านพลังงานหรือสัดส่วนของค่าพลังงานของเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ได้ต่อค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตมีค่าสูงสุดเท่ากับ 11.29


การวิเคราะห์ภาพถ่ายการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลายด้วยวิธีแยกสัญญาณแบบเอมพีริเคิลโมด, พณสรรค์ งามศิริจิตร Jan 2017

การวิเคราะห์ภาพถ่ายการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลายด้วยวิธีแยกสัญญาณแบบเอมพีริเคิลโมด, พณสรรค์ งามศิริจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้วิธีแยกสัญญาณแบบเอมพิริเคิลโมด (EMD) ในการวิเคราะห์สัญญาณการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลาย (DAS) วิธีการดังกล่าวเกิดจากการควบรวมระหว่างวิธีแยกสัญญาณแบบเอมพิริเคิลโมดกับการวิเคราะห์สัญญาณแบบฟูเรียร์ (EMD-Fourier) เข้าไว้ด้วยกัน สัญญาณจากการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลายจะถูกแยกย่อยออกมาเป็นชุดสัญญาณพื้นฐาน (IMFs) ที่มีความถี่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะแตกต่างไปจากการวิเคราะห์แบบดั้งเดิมที่ให้ค่าความถี่ของชุดสัญญาณออกมาเพียงค่าเดียว ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์ของการดำเนินการ ชุดข้อมูลสัญญาณการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลายที่ถูกประเมินจากแพทย์แล้วว่าเป็นการบีบตัวแบบปกติจำนวน 18 ชุดสัญญาณได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ ด้วยวิธีการแปลงสัญญาณนำเข้า (pre-processing) ที่แตกต่างกัน 4 วิธีการ ได้แก่ วิธีเฉลี่ยสัญญาณเท่ากับศูนย์ (AVG), วิธีเฉลี่ยสัญญาณเท่ากับศูนย์เข้าร่วมกับวิธีอัตสหสัมพันธ์ (AVGAUTO), วิธีเฉลี่ยสัญญาณแบบพหุนาม (POLY), วิธีเฉลี่ยสัญญาณแบบพหุนามเข้าร่วมกับวิธีอัตสหสัมพันธ์ (POLYAUTO) ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาบ่งชี้ว่า วิธีการวิเคราะห์สัญญาณแบบควบรวมระหว่างวิธีแยกสัญญาณแบบเอมพิริเคิลโมดและวิธีการวิเคราะห์สัญญาณแบบฟูเรียร์สามารถลดค่าอัตราส่วนระหว่างความแปรปรวนต่อค่าเฉลี่ย (SD-to-mean ratio) ลงได้ จาก 144.9% เหลือเพียง 22% โดยระดับการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการแปลงสัญญาณนำเข้า ผู้วิจัยยังพบอีกว่า ค่าเฉลี่ยจากวิธีการควบรวมมีค่าค่อนข้างนิ่งและมีค่าความแปรปรวนต่ำเมื่อเทียบกับการวิเคราะห์สัญญาณแบบดั้งเดิมด้วยวิธีฟูเรียร์ นอกจากนี้ ค่าความถี่ของสัญญาณพื้นฐานที่ 3 จากวิธีการวิเคราะห์สัญญาณแบบควบรวมยังมีค่าตรงกันกับค่ามาตราฐานการบีบตัวของกระเพาะอาหารแบบปกติทางการแพทย์ในเชิงสถิติที่ 3.00 รอบต่อวินาที หากแต่มีค่าความแปรปรวนที่ต่ำกว่าการวิเคราะห์สัญญาณแบบดั้งเดิมด้วยวิธีฟูเรียร์


การวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงโม่หิน, พนิต ผาสุก Jan 2017

การวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงโม่หิน, พนิต ผาสุก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้ทำการวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงโม่หิน โดยขั้นตอนในการผลิตหินนั้นประกอบไปด้วย 3 กระบวนการด้วยกันคือ 1) กระบวนการบรรจุแร่หิน มีเครื่องจักรในกระบวนการได้แก่ รถขุดไฮดรอลิก 2) กระบวนการขนส่งแร่หิน มีเครื่องจักรในกระบวนการได้แก่ รถบรรทุกสิบล้อ และ 3) กระบวนการโม่หิน ซึ่งมีเครื่องจักรในกระบวนการได้แก่เครื่องโม่ต่างๆ โดยที่มีเครื่องจักรที่สำคัญในกระบวนการได้แก่ ปากโคน (Cone Crusher) จากการค้นหาปัญหาพบว่า การผลิตหินต่ำกว่าเป้าหมายมาก ซึ่งเกิดจากเครื่องจักรในทั้ง 3 กระบวนการนั้นส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมและมีปัญหาการขัดข้องที่รุนแรงเกินกว่าที่จะใช้การบำรุงรักษาเชิงป้องกันเพียงอย่างเดียวมาจัดการหรือประยุกต์ใช้ โดยในกระบวนการบรรจุแร่หินและขนส่งแร่หินนั้นพบว่า มีค่าความสามารถของกระบวนการ (Cpk) ของการผลิตหินเพียง 0.15 และมีค่าความพร้อมใช้งานของรถขุดไฮดรอลิกและรถบรรทุกสิบล้อต่ำสุดอยู่ที่ 69.67% และ 44.06 % ตามลำดับ ในส่วนของกระบวนการโม่หินนั้นพบว่าค่าความพร้อมใช้งานของปากโคน อยู่ที่ 30.45% เมื่อวิเคราะห์หารากสาเหตุของการขัดข้องพบว่าเกิดจาก 1) เครื่องจักรอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ขาดการจัดการให้เครื่องจักรอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 2)ไม่มีแผนบำรุงรักษา 3) การใช้งานและการบำรุงรักษาไม่ถูกต้อง ดังนั้นในการศึกษานี้จึงได้สนใจที่จะทำการวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร โดยประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่งเป็นตัวขับเคลื่อนให้ทุกคนมีส่วนร่วม โดยแบ่งวงจรเดมมิ่งเป็น 3 วงจร วงจรที่ 1 เป็นการประเมินสภาพเครื่องจักร และทำให้เครื่องจักรอยู่ในสภาพสมบูรณ์ วงจรที่ 2 เป็นการสร้างแผนงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันและแผนบำรุงรักษาด้วยตนเอง วงจรที่ 3 เป็นการสร้างแผนพัฒนาบุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องจักร การประเมินผลหลังจากการปรับปรุงพบว่า การขัดข้องของรถขุดไฮดรอลิกและ รถบรรทุกสิบล้อน้อยลงโดยค่าความพร้อมใช้งานต่ำสุดเพิ่มขึ้นเป็น 85.62 % และ 85.34% ตามลำดับ ในส่วนการขัดข้องของปากโคน มีค่าความพร้อมใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 90.56% และค่าความสามารถของกระบวนการผลิตหินเพิ่มขึ้นเป็น 0.56 และได้คู่มือการใช้งานเครื่องจักรรวมถึงการบำรุงรักษา สำหรับรถขุดไฮดรอลิก และรถบรรทุกสิบล้อ


สมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผสม Pla/Pp ที่มีสารเพิ่มความเข้ากันได้, พัทธานันท์ จริยะกุลสิทธิ์ Jan 2017

สมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผสม Pla/Pp ที่มีสารเพิ่มความเข้ากันได้, พัทธานันท์ จริยะกุลสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิแลกติกแอซิด (PLA) และพอลิโพรพิลีน (PP) ที่ใส่และไม่ใส่พอลิโพรพิลีนกราฟต์มาเลอิกแอนไฮไดร์ (PP-g-MAH) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารเพิ่มความเข้ากันได้ (Compatibilizer) และมีไดคิวมิลเปอร์ออกไซด์ (DCP) ทำหน้าที่เป็นสารริเริ่มปฎิกิริยา (Initiator) โดย (1) ทำการผสม PLA/PP ที่อัตราส่วนดังนี้ 70/30, 50/50, และ 30/70 โดยน้ำหนัก ซึ่งในแต่ละอัตราส่วนจะมีการเติม PP-g-MAH ที่ปริมาณ 0.3 และ 0.7phr พร้อมกับการเติม DCP ที่ปริมาณ 0.03 และ 0.07 phr ด้วยเครื่องอัดรีดแบบสองสกรู (Twin screw extruder) ที่อุณหภูมิ 175-195 องศาเซลเซียสเพื่อให้ได้เป็นเม็ดของพอลิเมอร์ผสม (2) นำเม็ดของพอลิเมอร์ผสมที่ได้ไปขึ้นรูปเป็นชิ้นงานทดสอบด้วยเครื่องกดอัด (Compression moulding) เพื่อทำการทดสอบสมบัติเชิงกลได้แก่ ความทนแรงดึงสูงสุด, ความทนแรงดึง ณ จุดคราก, มอดูลัสของยัง, ร้อยละการยืดตัว ณ จุดขาด, ความแข็งและความทนแรงกระแทก (3) ศึกษาอิทธิพลของสารเพิ่มความเข้ากันได้ (PP-g-MAH), สารริเริ่มปฎิกิริยา (DCP) และอัตราส่วนของพอลิเมอร์ที่มีต่อสมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผสม จากผลการทดลองพบว่า (1) การเพิ่ม PP ใน PLA มีผลให้ค่าสมบัติเชิงกลได้แก่ ความทนแรงดึงสูงสุด, ความทนแรงดึง ณ จุดคราก, มอดูลัสของยัง, ความแข็งและความทนแรงกระแทกลดลง ในขณะที่ร้อยละการยืดตัว ณ จุดขาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (2) การเพิ่ม PP-g-MAH และ DCP ลงในพอลิเมอร์ผสม PLA/PP ในทุกสัดส่วนมีผลให้สมบัติเชิงกลต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (3) ที่อัตราส่วน PLA/PP/PP-g-MAH/DCP เท่ากับ 70/30/0.3/0.03 จะให้ค่าความทนแรงดึงสูงสุด, ความทนแรงดึง ณ จุดครากและความแข็งสูงที่สุดเท่ากับ 26.75 MPa, 22.53 MPa และ …


แนวทางการวิเคราะห์การสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ของสายงานผลิตไฟฟ้า, พีรวัจน์ ชัยมณีรัตน์ Jan 2017

แนวทางการวิเคราะห์การสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ของสายงานผลิตไฟฟ้า, พีรวัจน์ ชัยมณีรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ กับสายงานผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานทางด้านการเงิน และระบบการบริหารจัดการองค์กรโดยมีตัวชี้วัดคือ ค่ากำไรเชิงเศรษฐศาสตร์โดยเปรียบเทียบระหว่างกำไรหลังจากหักภาษี กับต้นทุนเงินทุน โดยมีสมมติฐานการจัดเก็บรายได้จากสัญญาการซื้อขายไฟฟ้าภายใน ที่ประกอบด้วยค่าความพร้อมจ่าย และรายได้จากค่าเชื้อเพลิง และใช้วิธีการวิเคราะห์ความไวในการกำหนดเป้าหมายของแผนการเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ ซึ่งได้แก่ แผนเพิ่มส่วนต่างค่าเชื้อเพลิง, แผนเพิ่มค่าความพร้อมจ่าย และแผนลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ควบคุมได้ ใช้วิธีการคำนวณอัตราต้นทุนเงินทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ของสายผลิตไฟฟ้าซึ่งเท่ากับ 6.43% และกำหนดภาษีเชิงเศรษฐศาสตร์ 20% และวิเคราะห์กำไรเชิงเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างของโรงไฟฟ้าในสายงาน 5 โรงไฟฟ้า ซึ่งได้แก่ โรงไฟฟ้า A และ D ประเภทพลังงานความร้อนร่วม 2 โรงไฟฟ้าถ่านหิน B โรงไฟฟ้าพลังน้ำ C และโรงไฟฟ้า E พลังงานความร้อน ที่ใช้น้ำมันเตาและน้ำมันปาล์มเป็นเชื้อเพลิง โดยในปี พ.ศ.2558 ในภาพรวมสายงานค่า EPสูงกว่าค่าประมาณการ 3,617 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากแผนกลยุทธ์ ทั้ง 3 แผนจำนวน 753 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบค่าจริงกำไรเชิงเศรษฐศาสตร์ พ.ศ.2558 กับ ปี 2559 พบว่าภาพรวมสายงานผลิตไฟฟ้ามีค่าลดลง 512 ล้านบาท และโรงไฟฟ้า A ลดลง 64 ล้านบาท, โรงไฟฟ้า B เพิ่มขึ้น 1,312 ล้านบาท, โรงไฟฟ้า C ลดลง 58 ล้านบาท, โรงไฟฟ้า D เพิ่มขึ้น 91 ล้านบาท, โรงไฟฟ้า E ลดลง 161 ล้านบาท โดยโรงไฟฟ้า A ,B, D ควรเน้น SIP ด้านเพิ่มส่วนต่างค่าเชื้อเพลิงค่าเชื้อเพลิง เพิ่มค่าความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้า C ควรเน้นเพิ่มส่วนเกินชั่วโมงความพร้อมจ่ายและโรงไฟฟ้า E ควรเน้น ด้านลดค่าใช้จ่ายที่ควบคุมได้พร้อมทั้งขยายผลการศึกษาค่า EP โรงไฟฟ้าในสังกัดอื่นๆ


การวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนา และการระบุความสำคัญของสถานีในเครือข่ายขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานคร, พิชญา ณ บางช้าง Jan 2017

การวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนา และการระบุความสำคัญของสถานีในเครือข่ายขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานคร, พิชญา ณ บางช้าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เครือข่ายขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครเป็นเครือข่ายขนส่งมวลชนทางรางในเมืองเครือข่ายแรกของประเทศไทย ซึ่งในปี พ.ศ. 2572 เครือข่ายดังกล่าวจะมีจำนวนสถานีทั้งหมด 285 สถานี และจะเป็นหนึ่งในเครือข่ายขนส่งมวลชนทางรางที่มีขนาดใหญ่ติด 5 อันดับแรกของโลก ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษารูปแบบการพัฒนาของเครือข่ายดังกล่าวตั้งแต่เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2542 จนถึง พ.ศ. 2572 ในทุกลำดับการขยายผ่านทฤษฎีเครือข่ายซับซ้อน โดยอาศัยตัวชี้วัดเครือข่ายทั้งหมด 7 ชนิดในการอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจากรูปแบบการพัฒนาเครือข่ายในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ทำการพัฒนาตัวชี้วัดรวบยอดเชิงประสิทธิภาพเครือข่าย และเชิงการเป็นจุดแพร่กระจายผลกระทบ เพื่อระบุสถานีที่มีความสำคัญ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเครือข่ายในอนาคตได้ จากผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดระดับเครือข่ายโดยภาพรวม อันประกอบไปด้วย ค่าเส้นผ่านศูนย์กลางเครือข่าย ดัชนีแกมมา และค่าเอนโทรปีมาตรฐานของเครือข่าย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีค่าเฉลี่ยของค่าความเป็นศูนย์กลาง Degree อยู่ในช่วง [1.91,2.27] สถานีที่มีค่าความเป็นศูนย์กลาง Closeness สูงมักอยู่บริเวณกึ่งกลางของเครือข่าย ในขณะที่สถานีที่มีค่าความเป็นศูนย์กลาง Betweenness สูงมักอยู่บนเส้นทางรัศมีที่เชื่อมต่อระหว่างกึ่งกลางเมืองและชานเมือง สำหรับผลจากตัวชี้วัดรวบยอดที่ใช้เพื่อระบุความสำคัญของสถานีนั้น พบว่าสถานีที่มีความสำคัญเชิงประสิทธิภาพเครือข่ายสูงมักจะอยู่บริเวณสถานีที่มีค่า Degree สูง และเน้นไปในเส้นทางที่เป็นทางผ่านระหว่างจุดเชื่อมต่อออกไปทางชานเมือง โดยมีการกระจายอยู่หลายจุดทั่วทั้งเครือข่าย ในขณะที่สถานีที่มีความสำคัญเชิงการเป็นจุดแพร่กระจายผลกระทบสูงมักอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของเครือข่ายเพียงเท่านั้น


ผลกระทบของสัดส่วนการผสมทรายเคลือบเรซินที่มีผลต่อคุณสมบัติและต้นทุน, ภูวดล ศิริวิมลพันธุ์ Jan 2017

ผลกระทบของสัดส่วนการผสมทรายเคลือบเรซินที่มีผลต่อคุณสมบัติและต้นทุน, ภูวดล ศิริวิมลพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสัดส่วนการผสมทรายเคลือบเรซินที่มีค่าคุณสมบัติอยู่ในช่วงความต้องการของลูกค้า และเพื่อลดต้นทุนวัตถุดิบของทรายเคลือบเรซิน เนื่องจากก่อนการปรับปรุง แต่ละสูตรการผลิตจะถูกผสมจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และยังไม่มีวิธีการที่แน่ชัดสำหรับการหาสัดส่วนการผสมเพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ทำให้ต้องเสียเวลาในการลองผิดลองถูกเพื่อให้ได้ค่าคุณสมบัติตามที่ต้องการและเกิดต้นทุนวัตถุดิบที่สูงเกินความจำเป็น งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์การออกแบบการทดลองแบบส่วนประสมกลาง เพื่อหาสัดส่วนการผสมทรายเคลือบเรซินที่เหมาะสม โดยมีปัจจัยนำเข้าทั้งหมด 5 ปัจจัยได้แก่ ทรายเอ ทรายบี เรซินเอ เรซินบี และเปอร์เซ็นต์เรซิน และมีตัวแปรตอบสนองทั้งหมด 7 ปัจจัย ได้แก่ ความทนแรงดัดโค้ง การขยายตัวทางความร้อน ปริมาณการสูญเสียหลังการเผา ค่าความโก่งงอ อุณหภูมิต่ำสุดที่ทรายเซตตัว ค่าแก๊ส และต้นทุนวัตถุดิบในส่วนของทรายและเรซิน จากนั้นทำการทดลองและวิเคราะห์ผลการทดลองเพื่อหาสมการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้ากับตัวแปรตอบสนองโดยใช้เทคนิคการคัดเลือกตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Regression) ชนิดการเลือกตัวแปรโดยวิธีการลดตัวแปรอิสระ (Backward Elimination) จากนั้นทำการหาสัดส่วนการผสมใหม่ด้วยวิธีการหาจุดที่เหมาะสม ผลที่ได้จากการหาสัดส่วนการผสมใหม่ทั้งหมด 25 สูตรการผลิต พบว่าค่าคุณสมบัติทั้ง 6 ชนิดของทั้ง 25 สูตรการผลิตอยู่ในช่วงการยอมรับของโรงงาน และสามารถลดต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ลง 28.36% จากต้นทุนวัตถุดิบที่ได้จากสัดส่วนการผสมเก่า ซึ่งคิดเป็นต้นทุนที่ลดลง 42,293,318 บาทต่อปี


การลดสัดส่วนรอยแตกบริเวณขอบยางในการผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์, วรุตม์ รังรองรัตน์ Jan 2017

การลดสัดส่วนรอยแตกบริเวณขอบยางในการผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์, วรุตม์ รังรองรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนรอยแตกบริเวณขอบยาง ในกระบวนการผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์ของโรงงานกรณีศึกษา ซึ่งปัญหานี้ก่อให้เกิดความสูญเสียมากกว่า 20 ล้านบาทต่อปี แนวทางการปรับปรุงมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิตโดยใช้วัตถุดิบ วิธีการ และเครื่องจักรที่มีอยู่ โดยไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนั้นกระทบต่อคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ การศึกษาแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของปัญหาจากบันทึกการผลิต และเก็บข้อมูลลักษณะของปัญหาเพิ่มเติมจากตัวอย่างยางจริงที่เกิดปัญหารอยแตก พบว่ายางรุ่น 90/90-14EG ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขอบยาง 14 นิ้ว หน้ายางกว้าง 90 มม. แก้มยางสูง 81 มม. มีความสูญเสียมากที่สุดถึง 4 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.31 จากปริมาณการผลิตทั้งหมด 2) ประเมินความสามารถของกระบวนการตรวจสอบปัญหา พบว่าพนักงานสามารถตรวจสอบคัดแยกปัญหารอยแตกได้อย่างถูกต้องทั้งหมด และจากการประเมินความสามารถในการวัดขนาดของปัญหา พบว่ามีความแม่นและเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ 3) วิเคราะห์และคัดกรองสาเหตุเบื้องต้นของปัญหา โดยใช้วิธีการทดสอบสมมติฐานที่ระดับความเชื่อมั่น 95% พบว่าสาเหตุของปัญหารอยแตกของยางรุ่นตัวอย่างมีสามประการ คือ ขนาดของแบบยาง ความกว้างของชิ้นส่วนหน้ายาง และแรงดันไอน้ำที่ใช้ในการขึ้นรูปแบบยาง 4) ดำเนินการทดลองเพื่อลดปัญหารอยแตกโดยใช้วิธีการออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบ็ห์นเคน โดยพิจารณา 3 ปัจจัย ปัจจัยละ 3 ระดับ และทดสอบความมีนัยสำคัญของปัจจัยโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อปัญหารอยแตกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้แก่ ขนาดของแบบยาง อันตรกิริยาระหว่างขนาดของแบบยางกับความกว้างของชิ้นส่วนหน้ายาง และอันตรกิริยาระหว่างขนาดของแบบยางกับแรงดันที่ใช้ในการขึ้นรูป ค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับยางรุ่นตัวอย่าง คือ ขนาดของแบบยาง 180 มม. ความกว้างชิ้นส่วนหน้ายาง 186 มม. และแรงดันที่ใช้ในการขึ้นรูป 0.12 เมกะปาสคาล 5) ปรับปรุงมาตรฐานการผลิต 6) ติดตามผลการใช้มาตรฐานใหม่ในกระบวนการผลิตจริงเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี พบว่าสามารถลดสัดส่วนรอยแตกบริเวณขอบยางของยางรุ่นตัวอย่างจากร้อยละ 7.31 เหลือเพียงร้อยละ 1.04 โดยเฉลี่ย คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียที่ลดลงได้มากกว่า 3 ล้านบาทต่อปี


การหาสัดส่วนที่เหมาะสมของการใช้หินฝุ่นเป็นส่วนผสมในการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จโดยวิธีซิกซ์ ซิกมา, วีระชัย อารีรักษ์ Jan 2017

การหาสัดส่วนที่เหมาะสมของการใช้หินฝุ่นเป็นส่วนผสมในการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จโดยวิธีซิกซ์ ซิกมา, วีระชัย อารีรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาสัดส่วนที่เหมาะสมของการใช้หินฝุ่นเป็นส่วนผสมในการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จกรณีศึกษาของโรงงานผลิตคอนกรีตตัวอย่าง โดยนำแนวทางซิกซ์ ซิกมามาประยุกต์ใช้ ซึ่งแนวทางซิกซ์ ซิกมาจะมีระยะการทำงาน 5 ระยะ ได้แก่ ระยะนิยามปัญหา (Define Phase) ระยะตรวจวัดปัญหา (Measurement Phase) ระยะการวิเคราะห์ปัญหา (Analysis Phase ) ระยะการแก้ไขปรับปรุง (Improvement Phase ) และระยะสุดท้าย คือ ระยะการควบคุมกระบวนการ (Control Phase ) ในงานวิจัยนี้จะดำเนินการตามขั้นตอนตามระยะการทำงาน 5 ระยะ ดังนี้ 1.) ระยะการนิยามปัญหา ทำการพิจารณาการปัญหาคุณภาพคอนกรีตที่ต่ำกว่ามาตรฐานทำให้เพิ่มสัดส่วนเผื่อของปูนซีเมนต์ให้มากขึ้นจากมาตรฐานในการผลิตคอนกรีตประมาณ 30 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คิดเป็นต้นทุนส่วนเผื่อปูนซีเมนต์จากสูตรมาตรฐานประมาณ 1 ล้านบาทในช่วง 6 เดือน ทางโรงงานมีความต้องการลดส่วนเผื่อปูนซีเมนต์ลงโดยมีความต้องการที่จะนำหินฝุ่นซึ่งเป็นวัสดุทดแทนที่สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมกับมวลรวมละเอียด 2.) ระยะตรวจวัด จะเริ่มด้วยการทำการตรวจสอบระบบการวัดซึ่งได้ผลการตรวจสอบผ่านเกณฑ์การยอมรับ จากนั้นทำการวิเคราะห์หาปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลาจนได้ 17 ปัจจัย และทำการคัดกรองปัจจัยต่าง ๆ ด้วย Cause and Effect Matrix ทำให้เหลือปัจจัย 4 ปัจจัย 3.)ระยะของการวิเคราะห์ปัญหา ทำการวิเคราะห์ปัจจัยทั้ง 4 ด้วยวิธีการทางสถิติ ทำให้สรุปได้ว่า ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อค่ากำลังอัดคอนกรีตอย่างแท้จริง 4.) ระยะการปรับปรุงแก้ไข ใช้วิธีการออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียล ทำการทดลองซ้ำ 2 ครั้ง ทำให้ได้ค่าที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัย 5.)ระยะควบคุม จะดำเนินการโดยนำสัดส่วนหินฝุ่นที่เหมาะสมไปเป็นส่วนผสมในคอนกรีตผสมเสร็จ หลังจากการปรับปรุงได้ทำการเปรียบเทียบต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตคอนกรีตระหว่างก่อนการปรับปรุงและหลังการปรับปรุง พบว่าหลังการปรับปรุงส่งผลให้ลดปริมาณส่วนเผื่อปูนซีเมนต์ลงได้ คิดเป็นต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลงได้ที่ 67 บาทต่อลูกบาศก์เมตร


การเปรียบเทียบระดับรูปสัญลักษณ์ในแถวลำดับของสัญรูปสำหรับการออกแบบตัวช่วยในการตัดสินใจ, ศิถี วังเอี่ยมเสริมสุข Jan 2017

การเปรียบเทียบระดับรูปสัญลักษณ์ในแถวลำดับของสัญรูปสำหรับการออกแบบตัวช่วยในการตัดสินใจ, ศิถี วังเอี่ยมเสริมสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แถวลำดับของสัญรูปหรือภาษาภาพถูกขนานนามว่าเป็นรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเชิงตัวเลขในบริบทของความเสี่ยงที่มีประสิทธิผลสูงสุด แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มผู้ใช้งานแต่ละระดับการคำนวณมีรูปแบบการประมวลผลข้อมูลจากแถวลำดับของสัญรูปแตกต่างกันประกอบกับระดับรูปสัญลักษณ์อาจส่งผลต่อการแปลความหมายข้อมูลที่แตกต่างกันของกลุ่มคนแต่ละระดับการคำนวณ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการเปรียบเทียบระดับรูปสัญลักษณ์ในแถวลำดับของสัญรูปสำหรับการออกแบบตัวช่วยในการตัดสินใจที่เหมาะสมกับประชากรไทยแต่ละระดับการคำนวณเพื่อประเมินประสิทธิผล คือ การทดสอบระดับการรับรู้ข้อมูล การทดสอบความเข้าใจและการทดสอบการดึงข้อมูลกลับมาใช้ ประสิทธิภาพ คือ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบความเข้าใจ ความพึงพอใจ คือ การทดสอบระดับการเข้าถึงข้อมูล โดยเริ่มจากการแบ่งกลุ่มกลุ่มผู้ทดสอบตามลักษณะส่วนบุคคลด้วยแบบทดสอบระดับการคำนวณและระดับการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน หลังจากนั้นผู้ทดสอบจะถูกสุ่มเพื่อทำการทดสอบอิทธิพลของระดับรูปสัญลักษณ์เพียง 1 ระดับจากทั้งหมด 3 ระดับรูปสัญลักษณ์ในแถวลำดับของสัญรูป จากการทดลองพบว่ากลุ่มคนระดับการคำนวณต่ำสามารถแปลความหมายข้อมูลเชิงตัวเลขซึ่งนำเสนอด้วยแถวลำดับของสัญรูปที่ระดับรูปสัญลักษณ์กลางหรือสัญลักษณ์รูปคนได้ถูกต้องที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับการวัดผลด้านการเข้าถึงข้อมูล ในทางตรงกันข้ามอิทธิพลของระดับรูปสัญลักษณ์ไม่ส่งผลต่อการแปลความหมายข้อมูลและคะแนนการเข้าถึงข้อมูลของกลุ่มคนระดับการคำนวณสูง หากเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้ข้อมูลที่ระดับรูปสัญลักษณ์ต่ำหรือสัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพบว่ากลุ่มคนทั้งสองระดับการคำนวณมีระดับการรับรู้ข้อมูลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามผลจากการทดลองนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการนำเสนอข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจที่มีประสิทธิผลในการสื่อสารกับกลุ่มคนแต่ละระดับการคำนวณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับกลุ่มคนระดับการคำนวณต่ำเพื่อเพิ่มความสามารถในการแปลความหมายข้อมูลเชิงตัวเลขให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นและผลจากการทดลองยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบสื่ออินโฟกราฟฟิกที่มีประสิทธิผลในการสื่อสารภายในสังคม


การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงต้นทุนในการลดจุดดำในอุตสาหกรรมการฉีดพลาสติก, ศุภโชค เส็งหนองแบน Jan 2017

การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงต้นทุนในการลดจุดดำในอุตสาหกรรมการฉีดพลาสติก, ศุภโชค เส็งหนองแบน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาในกระบวนการฉีดพลาสติกที่ส่งผลกับคุณภาพของงานมากที่สุดคือจุดดำ (Black dot) วิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาจุดดำนั้นมีด้วยกันหลายวิธีด้วยกันโดยงานวิจัยนี้จะเน้นที่การเลือกวิธีการลดปัญหาจุดดำต่างเงื่อนไขกันทั้งในส่วนของราคาต่อหน่วย ปริมาณการผลิตต่อครั้ง เพื่อเลือกวิธีการและค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภทสำหรับโรงงานกรณีศึกษานี้ ก่อนการปรับปรุงด้วยวิธีการถอดสกรูขัดทำความสะอาดมีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 72,500 บาทต่อเดือน (ค่าเครื่องจักร, ค่าล่วงเวลา, ค่าขนส่ง, ค่าอุปกรณ์ เป็นต้น) งานวิจัยนี้จะนำทฤษฎีซิกซ์ ซิกม่า(Six Sigma)ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน Define, Measure, Analyze, Improveและ Control (DMAIC)มาใช้ และใช้Cause and Effect Diagram, Cause and Effect Matrix และ FMEAในการคัดเลือกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดจุดดำและใช้ 2k Factorial Designในการหาปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญกับจุดดำ ผลที่ได้จากวิธีแรกคือการถอดสกรูขัดทำความสะอาดนั้นสามารถลดจุดดำจากเดิมลงได้ 50% ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับการผลิตชิ้นงานที่มีราคาต่อหน่วยค่อนข้างสูง หรือชิ้นงานที่มีการผลิตจำนวนมากวิธีที่สองคือ การใช้เม็ดพลาสติกชนิดพิเศษสำหรับล้างสกรูโดยเฉพาะโดยวิธีนี้จะให้ผลการลดจุดดำได้ ประมาณ 25% ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับการชิ้นงานที่มีราคาต่อหน่วยไม่สูงมากและการผลิตปริมาณน้อยต่อครั้งโดยหลังจากที่นำวิธีการลดจุดดำและคำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปสำหรับวิธีที่ได้เลือกให้เหมาะสมกับชนิดและประเภทของงานนั้นสามารถลดค่าใช้จ่ายที่คิดเป็นมูลค่าเพิ่มได้ถึง 144,000 บาทต่อปี


การพยากรณ์ปริมาณสายโทรเข้าสำหรับศูนย์บริการลูกค้าธนาคารพาณิชย์, ศิริเทพ จันทร์บุญแก้ว Jan 2017

การพยากรณ์ปริมาณสายโทรเข้าสำหรับศูนย์บริการลูกค้าธนาคารพาณิชย์, ศิริเทพ จันทร์บุญแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์จะพัฒนาเทคนิคการพยากรณ์ปริมาณสายโทรเข้าของธนาคารพาณิชย์สำหรับรายเดือนและรายวันของกลุ่มบริการ 5 กลุ่มบริการ ได้แก่ กลุ่มบริการบัตรเครดิต กลุ่มบริการอิเล็กทรอนิกส์และบัตรกดเงินสด กลุ่มบริการข้อมูลบัญชีเงินฝาก กลุ่มบริการอายัดบัญชี และกลุ่มบริการสำหรับกลุ่มลูกค้าพิเศษ สำหรับการพยากรณ์รายเดือนทำการเปรียบเทียบระหว่าง วิธีเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average) วิธีปรับให้เรียบเอ็กโปเนนเชียล (Exponential Smoothing Methods) วิธีการของบอกซ์-เจนกินส์ (ARIMA) และวิธีปัจจุบันของธนาคาร ผลการวิจัยพบว่าการพยากรณ์รายเดือน สำหรับกลุ่มบริการบัตรเครดิต กลุ่มบริการอิเล็กทรอนิกส์และบัตรกดเงินสด กลุ่มบริการข้อมูลบัญชีเงินฝาก กลุ่มบริการอายัดบัญชี และกลุ่มบริการสำหรับกลุ่มลูกค้าพิเศษด้วยวิธีการพยากรณ์แบบบอกซ์-เจนกินส์ให้ค่าพยากรณ์ที่ดีที่สุดเกือบทุกกรณี เมื่อวัดด้วยค่ารากที่สองของค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Root Mean Squared Error: RMSE) มีค่าลดลงจาก 31,239.99 51,653.49 17,962.78 9,096.84 และ 6,375.80 เป็น 22,233.65 34,491.97 15,058.23 7,683.65 และ 4,264.49 ตามลำดับ และค่าร้อยละของค่าสัมบูรณ์ของค่าความคลาดเคลื่อน (Mean Absolute Percentage Error: MAPE) มีค่าลดลงจาก 9.25% 13.22% 9.52% 8.38% และ 6.18% เป็น 6.58% 8.15% 7.27% 4.43% และ 4.66% ตามลำดับ สำหรับการพยากรณ์รายวัน ทำการคำนวณหาดัชนีรายวันจากข้อมูลในอดีต จากนั้นทำการพยากรณ์ปริมาณสายรายวันโดยการนำดัชนีรายวันไปคูณกับค่าเฉลี่ยรายวันจากผลของการพยากรณ์รายเดือนที่ดีที่สุด ผลการวิจัยพบว่า เมื่อวัดด้วยค่า RMSE ลดลงจาก 1,303.92 2,327.07 773.19 749.16 และ 416.37 เป็น 1,115.52 2,187.68 613.67 710.40 และ 326.63 ตามลำดับ เมื่อวัดด้วยค่า MAPE ลดลงจาก 11.74% 17.26% 12.63% 9.74% และ 11.79% เป็น …


กรอบการออกแบบระบบการผลิตอย่างรวดเร็วสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม, สุวรา บุญภากร Jan 2017

กรอบการออกแบบระบบการผลิตอย่างรวดเร็วสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม, สุวรา บุญภากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมั่นใจว่าระบบการผลิตนั้นเท่าทันกับความต้องการอยู่เสมอ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีการแข่งขันกันสูงจากจำนวนผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น และมักขาดความรู้ในการออกแบบระบบการผลิต ทำให้เสียเวลาและทรัพยากรไปกับการตัดสินใจแบบลองผิดลองถูก คำถามที่น่าสนใจคือ ระบบการผลิตควรประกอบด้วยอะไรบ้าง และการออกแบบระบบการผลิตควรพิจารณาข้อมูลใด งานวิจัยนี้นำเสนอกรอบในการออกแบบระบบการผลิตเพื่อลดการพึ่งพาความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้ผู้ออกแบบสามารถออกแบบได้รวดเร็วขึ้น กรอบความคิดนี้ประกอบด้วยองค์ประกอบในระบบการผลิต โครงสร้างข้อมูลในการออกแบบ หลักการออกแบบระบบการผลิตแต่ละส่วน ได้แก่ ผลลัพธ์ที่ต้องได้จากการออกแบบ ข้อมูลนำเข้า ตัวแปรที่ต้องพิจารณาและหลักการตัดสินใจ ความสัมพันธ์ระหว่างการออกแบบแต่ละส่วน รวมทั้งตัวชี้วัดสำหรับควบคุมทิศทางการออกแบบให้ตรงตามจุดประสงค์ของการออกแบบระบบการผลิต โดยงานวิจัยนี้เกิดจากการศึกษาการออกแบบอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจริง และการศึกษาหลักการการออกแบบระบบการผลิตของงานวิจัยต่างๆ นำมาวิเคราะห์ผ่านการแยกย่อยความต้องการ (Requirements Decomposition) ซึ่งสามารถสร้างเป็นกรอบการออกแบบระบบการผลิตในรูปแบบของคำอธิบายผ่านแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram, DFD) และนำไปสู่การสร้างระบบสนับสนุน เพื่อใช้ออกแบบระบบการผลิตได้อย่างมีประสิทธิผล ผลลัพธ์จากงานนี้ ถูกประเมินการใช้งานผ่านการนำเสนอกรอบการออกแบบระบบการผลิตนี้กับผู้ใช้งานทั้งสองฝ่าย คือ ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบระบบการผลิต และผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้มั่นใจว่าผลลัพธ์มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้งานต่อไป


การประยุกต์ใช้วิธีเชิงวิวัฒนาการแบบมากวัตถุประสงค์สำหรับการจัดสมดุลคู่สายการประกอบรูปตัวยู, สุชานันท์ ตันชนะประดิษฐ์ Jan 2017

การประยุกต์ใช้วิธีเชิงวิวัฒนาการแบบมากวัตถุประสงค์สำหรับการจัดสมดุลคู่สายการประกอบรูปตัวยู, สุชานันท์ ตันชนะประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สายการประกอบรูปตัวยูเป็นส่วนที่สำคัญซึ่งถูกนำมาใช้ร่วมกับระบบผลิตแบบทันเวลาพอดี ในงานวิจัยนี้จึงศึกษาปัญหาการจัดสมดุลของคู่สายการประกอบรูปตัวยูในรูปแบบผลิตภัณฑ์ผสม โดยสายการประกอบรูปตัวยูสองสายถูกจัดวางในลักษณะขนานแบบประชิดกัน ปัญหาการจัดสมดุลคู่สายการประกอบรูปตัวยูในงานวิจัยนี้อยู่ในรูปแบบปัญหาการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดแบบมากวัตถุประสงค์ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 วัตถุประสงค์ที่ต้องทำการหาค่าที่ดีที่สุดไปพร้อมกัน ได้แก่ จำนวนสถานีงานน้อยที่สุด จำนวนสถานีน้อยที่สุด ความไม่สัมพันธ์ของขั้นงานน้อยที่สุด ความไม่สมดุลของภาระงานระหว่างสถานีน้อยที่สุด และความไม่สมดุลของภาระงานภายในสถานีน้อยที่สุด เนื่องจากปัญหาการจัดสมดุลเป็นปัญหาเอ็นพีแบบยาก (NP-Hard) จึงใช้วิธีการทางฮิวริสติกในการแก้ปัญหาการหาค่าที่เหมาะสมที่สุด งานวิจัยนี้จึงประยุกต์ใช้วิธีการหาค่าที่เหมาะสมแบบฝูงอนุภาคโดยยึดหลักการจำแนก (Multi-Objective Particle Swarm Optimization based on decomposition: MOPSO/D) และทำการเปรียบเทียบสมรรถนะกับอัลกอริทึมที่สามารถแก้ปัญหาหลายวัตถุประสงค์ได้ดี ได้แก่ วิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนก (Multi-objective Evolutionary Algorithm Based on Decomposition: MOEA/D) และ วิธีการหาค่าที่เหมาะสมแบบฝูงอนุภาค (Multi-Objective Particle Swarm Optimization Algorithm: MOPSO) จากผลการทดลองพบว่า MOPSO/D มีสมรรถนะในด้านการลู่เข้าสู่กลุ่มคำตอบที่เหมาะสมที่สุด ด้านการลู่เข้าและความหลากหลาย และด้านอัตราส่วนที่ไม่ถูกครอบงำที่ดีกว่าอัลกอริทึมอื่น สำหรับด้านการกระจายตัวของกลุ่มคำตอบ MOPSO มีสมรรถนะที่ดีที่สุด


การกําหนดนโยบายคงคลังของสินค้ากึ่งสําเร็จรูปในกระบวนการผลิตสีนํ้ามัน, อารยะ ปัญญาเสริฐ Jan 2017

การกําหนดนโยบายคงคลังของสินค้ากึ่งสําเร็จรูปในกระบวนการผลิตสีนํ้ามัน, อารยะ ปัญญาเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการกำหนดนโยบายคลังพัสดุที่เหมาะสมสำหรับสินค้ากึ่งสำเร็จรูปคงคลังในโรงงานผลิตสีน้ำมัน ซึ่งสินค้ากึ่งสำเร็จรูปคือแม่สีเฉดสีต่างๆ ที่ถูกผลิตขึ้นในโรงงานผลิตสีน้ำมันและถูกจัดเก็บในพื้นที่ผลิต แม่สีเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญของสีน้ำมันซึ่งโดยปกติแม่สีจะถูกใช้ในกระบวนการแต่งสีรวมไปถึงการปรับคุณภาพเฉดสี หนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยในในโรงงานผลิตสีน้ำมันคือการขาดแคลนแม่สีในกระบวนการผลิตซึ่งทำให้การผลิตสีน้ำมันหยุดชะงักและเกิดการรอคอย นั้นอาจเป็นผลให้สินค้าสำเร็จรูปล่าช้ากว่าแผนการผลิตที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น งานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาระบบการบริหารจัดการแม่สีคงคลังโดยการประยุกต์ใช้นโยบายคลังพัสดุแบบจุดสั่งเติมที่กำหนดรอบทบทวนและปริมาณที่สั่งเติมคงที่ (r, s, Q model) ด้วยเป้าหมายระดับการให้บริการสอดคล้องกับนโยบายบริษัทที่ระดับบริการ 99% และไม่เพิ่มระดับแม่สีคงคลังเฉลี่ย นโยบายคลังพัสดุในงานวิจัยนี้ถูกกำหนดโดยคำนึงถึงข้อกำจัดของการดำเนินการและการผลิตในโรงงานผลิตสีน้ำมัน รวมไปถึงรูปแบบของปริมาณความต้องการที่ไม่แน่นอนและระยะเวลาในการผลิต นโยบายคลังพัสดุและกำหนดวิธีการตัดสินใจสั่งผลิตแม่สีคงคลังที่กำหนดขึ้นได้นำไปทดสอบด้วยวิธีการจำลอง (Simulation) เพื่อแสดงลักษณะของปริมาณความต้องการที่เกิดขึ้นจริงและพิสูจน์ความสามารถของวิธีการที่งานวิจัยได้กำหนดขึ้น การทดสอบเป็นการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการในการบริหารควบคุมแม่สีคงคลังที่เกิดขึ้นจริงในอดีต ผลลัพธ์จากการจำลองได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของวิธีการใหม่ในการควบคุมแม่สีคลังคงซึ่งสามารถปรับปรุงระดับการให้บริการของแม่สี 11 เฉดสีจาก 14 เฉดสีให้ดีขึ้นตามเป้าหมาย และยังสามารถลดระดับแม่สีคงคลังเฉลี่ยอย่างเห็นได้ชัดทำให้ต้นทุนถือครองโดยรวมลดลง 24.09% ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถลดจำนวนครั้งในการสั่งเติมได้ 20.18% และช่วยให้การบริหารจัดการแม่สีคงคลังทำได้อย่างเป็นระบบ


การพยากรณ์ในกระบวนการสำหรับความขรุขระผิวชิ้นงานในการกลึงอะลูมิเนียม, อาทิตยา ชัยจรีนนท์ Jan 2017

การพยากรณ์ในกระบวนการสำหรับความขรุขระผิวชิ้นงานในการกลึงอะลูมิเนียม, อาทิตยา ชัยจรีนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความขรุขระผิวชิ้นงานอะลูมิเนียมในขณะตัดกับค่าอัตราส่วนแรงตัดที่วัดได้ในขณะตัดจริง ภายใต้เงื่อนไขการตัดต่างๆบนเครื่องกลึงซีเอ็นซี โดยที่งานวิจัยนี้ได้ทำการวัดสัญญาณแรงตัดที่เกิดขึ้นในขณะตัดด้วย ไดนาโมมิเตอร์ ผ่านเครื่องขยายสัญญาณก่อนนำมาคำนวณ ซึ่งอัตราส่วนแรงตัดที่ถูกนำมาพิจารณาคืออัตราส่วนแรงป้อนตัดต่อแรงตัดหลัก แล้วนำอัตราส่วนที่ได้มาประยุกต์ใช้ในสมการพัฒนาสมการการพยากรณ์ความขรุขระผิวชิ้นงานร่วมกับเงื่อนไขการตัดได้แก่ ความเร็วตัด อัตราป้อนตัด รัศมีจมูกมีด ความลึกในการตัด และอัตราส่วนแรงตัด จากผลการทดลองพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความขรุขระผิวชิ้นงานและเงื่อนไขการตัดต่างๆ มีความสัมพันธ์กันดังนี้ ความขรุขระผิวชิ้นงานจะมีค่าลดลงเมื่ออัตราป้อนตัด และความลึกในการตัดต่ำ ซึ่งตรงกันข้ามกับความเร็วตัด และรัศมีจมูกมีด สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างแรงตัดพลวัตกับความขรุขระผิวชิ้นงานด้วยวิธีประยุกต์ใช้การแปลงฟูเรียร์อย่างรวดเร็ว ผลการทดลองพบว่าแรงตัดพลวัตและความขรุขระผิวชิ้นงานมีความถี่ตรงกัน ดังนั้นพิสูจน์ได้ว่าอัตราส่วนแรงตัดสามารถใช้พยากรณ์ความขรุขระผิวชิ้นงานในขณะตัด ทั้งนี้สมการจากงานวิจัยนี้ได้พัฒนามาจากผลการทดลองในรูปของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ค่าสัมประสิทธิ์ในฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลสามารถคำนวณได้จากการใช้สมการถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จากผลการทดลองการนำเสนอสมการพยากรณ์ความขรุขระผิวชิ้นงานไประยุกต์ในกระบวนการตัดจริงพบว่าสมการพยากรณ์ความขรุขระผิวเฉลี่ย และความขรุขระผิวสูงสุดสามารถใช้พยากรณ์ความขรุขระผิวชิ้นงานในขณะตัดได้โดยมีค่าความแม่นยำเท่ากับ 88.03% และ 89.55% ตามลำดับ


การปรับปรุงเทคนิคการหาปริมาณเถ้าในถ่านหินบนสายพานด้วยวิธีเทคนิคส่งผ่านรังสีแกมมาสองพลังงาน, จอมพล ขุนธิวงศ์ Jan 2017

การปรับปรุงเทคนิคการหาปริมาณเถ้าในถ่านหินบนสายพานด้วยวิธีเทคนิคส่งผ่านรังสีแกมมาสองพลังงาน, จอมพล ขุนธิวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงเทคนิคการส่งผ่านรังสีแกมมาสองพลังงานสำหรับการหาปริมาณเถ้าในถ่านหินบนสายพานลำเลียง ซึ่งโดยทั่วไปเทคนิคนี้มักใช้รังสีแกมมาพลังงาน 59.6 keV จากต้นกำเนิดรังสีอะเมริเซียม-241 (241Am) รังสีแกมมาพลังงาน 356 keV จากต้นกำเนิดรังสีแบเรียม-133 (133Ba) และรังสีแกมมาพลังงาน 662 keV จากต้นกำเนิดรังสีซีเซียม-137 (137Cs) และใช้หัววัดรังสีแกมมาชนิดโซเดียมไอโอไดด์(ทัลเลียม) ในการวัดรังสีแกมมาที่ส่งผ่านตัวอย่าง แต่ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงการนำหัววัดรังสีชนิดบิสมัสเจอร์มาเนต (BGO) มาใช้แทนหัววัดรังสีแกมมาชนิด NaI(Tl) เนื่องด้วยหัววัดรังสีชนิด BGO มีประสิทธิภาพการวัดรังสีแกมมาพลังงานรังสีสูงได้ดีกว่า ซึ่งผลการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพวัดรังสีแกมมาพลังงานดังกล่าวของหัววัดรังสีทั้งสองชนิด พบว่า หัววัดรังสีชนิด BGO ขนาด 2 นิ้ว x 2นิ้ว มีค่าประสิทธิภาพการวัดรังสีแกมมาพลังงาน 59.6 keV และ 662 keV 36.11% และ 11.04% ตามลำดับ เมื่อออกแบบระบบวัดให้มีคอลิเมเตอร์สองชั้นของตะกั่วและทองแดงขนาดรู 3 มม. ครอบหัววัดรังสี ทำให้ได้ค่าประสิทธิภาพการวัดรังสีนั้นเป็น 20.53% และ 10.49% ตามลำดับ หัววัดรังสีชนิด BGO มีข้อดีกว่าหัววัดรังสีชนิด NaI(Tl) ในเรื่องของการไม่ปรากฏ Iodine escape peak ในหัววัด ที่จะส่งผลรบกวนต่อการวัดรังสีระดับพลังงาน 59.6 keV ได้ และเมื่อทำการสร้างกราฟปรับเทียบจากความสัมพันธ์เชิงเส้นของอัตราส่วนฟังก์ชั่นล็อกของการวัดรังสีที่ผ่านตัวอย่างถ่านหินของรังสีแกมมาพลังงานต่ำต่อการวัดของรังสีแกมมาพลังงานสูง กับ ปริมาณเถ้าในถ่านหินที่ได้จากวิธีวิเคราะห์มาตรฐานทางเคมี ได้สมการเชิงเส้นของกราฟความสัมพันธ์ที่มีค่าแสดงความสัมพันธ์เชิงเส้นของการสอดคล้องกันดีของข้อมูล และโดยการแทนค่าในสมการเชิงเส้นของกราฟปรับเทียบนี้ทำให้สามารถวิเคราะห์ปริมาณเถ้าในตัวอย่างถ่านหินอื่นๆ จำนวน 6 ตัวอย่าง ได้จากการวัดรังสีแกมมาแบบส่งผ่านสองพลังงานที่พัฒนามานี้ และเมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ที่ได้กับผลการวิเคราะห์ทางเคมีนั้น มีค่าแตกต่างกันอยู่ในช่วงระหว่าง -12.76 ถึง +9.99


การพัฒนาผลึกซีเซียมไอโอไดด์โดยเทคนิคการเจือสารร่วมหลายชนิด, อิมรอน วาเด็ง Jan 2017

การพัฒนาผลึกซีเซียมไอโอไดด์โดยเทคนิคการเจือสารร่วมหลายชนิด, อิมรอน วาเด็ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พัฒนาผลึกซีเซียมไอโอไดด์เพื่อการตรวจวัดรังสี โดยวิธีการปลูกแบบบริดจ์แมน-สต็อกบาร์เกอร์ (Bridgman-Stockbarger) และศึกษาถึงการพัฒนาผลึกโดยการเจือผลึกด้วยแคลเซียม (Ca) หรือ แทลเลียม (Tl) หรือ เจือร่วมกันทั้งสองชนิด คือ ผลึก CsI(Ca), CsI(Tl) และCsI(Tl,Ca) โดยควบคุมให้มีอัตราการปลูกผลึกหรือตกผลึกของผลึก CsI(Tl) คือ 0.65 มิลลิเมตร/ชั่วโมง และอัตรา 0.57 มิลลิเมตร/ชั่วโมง สำหรับผลึก CsI(Ca) และ CsI(Tl,Ca) โดยมีสัดส่วนการผสม CsI ต่อสารเจือ คือ 99.65 : 0.35 ผลึก CsI(Ca), CsI(Tl) และผลึก CsI(Tl,Ca) ที่ปลูกได้นั้นมีความใส โดยผลึกทั้งสามก้อนมีโครงสร้างผลึกแบบคิวบิกที่มีการจัดเรียงอะตอมแบบพหุสัณฐาน โดยมีโครงสร้างเดียวที่เด่นชัด คือ โครงสร้างผลึกระนาบ (110) โดยที่ผลึก CsI(Tl) นั้นมีคุณภาพเชิงโครงสร้างผลึกดีที่สุด และรองลงมา คือ ผลึก CsI(Tl,Ca) แต่ว่าผลึก CsI(Ca) นั้นมีโครงสร้างผลึกระนาบเด่นชัดพอกัน 2 ระนาบ คือ ระนาบ (110) และ ระนาบ (211) คุณสมบัติเชิงแสงของผลึกที่มีการเจือด้วยสารต่างนั้น พบว่า ผลึก CsI(Ca), CsI(Tl,Ca) มีการเปล่งแสงย่านสีฟ้าที่ความยาวคลื่นประมาณ 420-450 นาโนเมตร และสำหรับกรณีผลึก CsI(Tl) เปล่งแสงย่านสีส้มที่ความยาวคลื่นประมาณ 590 นาโนเมตร โดยที่ผลึก CsI(Tl) มีประสิทธิภาพสัมพัทธ์ของการเปล่งแสงได้ดีที่สุด และรองลงมาคือ ผลึก CsI(Tl,Ca) และ CsI(Ca) ตามลำดับ ซึ่งคุณสมบัติเชิงแสงนี้มีความสอดคล้องกับผลการศึกษาการส่องผ่านแสงของผลึกที่พบว่า ผลึก CsI(Tl), CsI(Ca) และ CsI(Tl,Ca) มีค่า Eg คือ 2.21 อิเล็กตรอนโวลต์, 2.88 อิเล็กตรอนโวลต์ และ 2.48 …


Space Utilisation Strategy For Thailand Underground Transit Station. A Case Study Of Thailand Cultural Centre Underground Station, Wirasinee Tongsoo Jan 2017

Space Utilisation Strategy For Thailand Underground Transit Station. A Case Study Of Thailand Cultural Centre Underground Station, Wirasinee Tongsoo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The ridership of Thailand underground station continuously increases every year. On the other hand, space management of terminal of underground station does not success as expected. The main reason is space does not have strategy to handle. majority of renter rarely stay until the completion of the rental contract, and they prefer to break the contract, pay the fine and move business elsewhere. According to research, there is no research study about this for Thailand underground station. In order to create appreciate plan for Thailand underground station in 2022. The strategy is core to integrate plan. Passengers would be attracted …


Effect Of Operating Conditions And Ion Contaminations On Electro Coagulation And Oxidation Processes For Water Quality Improvement, Vouchlay Theng Jan 2017

Effect Of Operating Conditions And Ion Contaminations On Electro Coagulation And Oxidation Processes For Water Quality Improvement, Vouchlay Theng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study is to investigate the effect of ion contaminations and operating conditions on Electro Coagulation (EC) and Oxidation (EO) in turbidity and natural organic matter (NOM) removal. The experiments were conducted in 4 liters column. Ferrous and calcium were chosen as contaminated ions. The operating condition was varied in terms of initial pH and current density. 100 NTU turbidity and 70 mg/L NOM were synthesized from bentonite and humic acid (HA), respectively. The results showed that bipolar arrangement of electrodes with 2 cm gap was the optimal condition in terms of gas flow rate and electrode …