Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 301 - 314 of 314

Full-Text Articles in Engineering

การออกแบบพื้นที่หยิบความเร็วสูงสำหรับผลิตภัณฑ์แสงสว่าง, จินตชาติ ชาติพาณิชย์ Jan 2019

การออกแบบพื้นที่หยิบความเร็วสูงสำหรับผลิตภัณฑ์แสงสว่าง, จินตชาติ ชาติพาณิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ศูนย์กระจายสินค้าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการควบคุมการไหลของสินค้าในห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ในระดับค่าใช้จ่ายกับค่าแรงงานที่เหมาะสมศูนย์กระจายสินค้าจึงต้องทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์รูปแบบความต้องการลูกค้าจากข้อมูลในอดีตดังเช่นศูนย์กระจายสินค้าไฟฟ้าแสงสว่างของบริษัทกรณีศึกษาที่ทำหน้าที่จัดเก็บและกระจายสินค้าที่มีขนาดน้ำหนักและรูปทรงที่แตกต่างกันอีกทั้งยังแตกหักง่ายจึงต้องอาศัยความระมัดระวังในการขนย้าย จากสภาพและธรรมชาติของสินค้าที่กล่าวมาข้างต้นส่งผลให้กิจกรรมการหยิบเป็นกิจกรรมที่อาศัยชั่วโมงแรงงาน-คนมากที่สุดโดยสูญเสียไปกับการเดินทางและการค้นหาสินค้า นอกจากการวิเคราะห์ข้อมูลของศูนย์กระจายสินค้าที่ศึกษาเบื้องต้นพบว่ารูปแบบคำสั่งซื้อส่วนใหญ่ของลูกค้ามีลักษณะที่มีจำนวนรายการต่อคำสั่งซื้อและปริมาณสินค้าอยู่ในระดับที่ต่ำในขณะที่อาศัยนโยบายการจัดเก็บแบบสุ่มและจัดเก็บในหน่วยของพาเลทความไม่สอดคล้องกันของรูปแบบความต้องการและวิธีการจัดเก็บส่งผลให้เวลาเฉลี่ยในการหยิบต่อคำสั่งซื้ออยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่ผู้บริหารกำหนดไว้ที่ 10 นาทีต่อคำสั่งซื้อ ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอการประยุกต์ใช้ Fast Picking Area (FPA) เพื่อลดเวลาในการเดินทางลงสำหรับการออกแบบการทดลองจะพิจารณาปัจจัยด้านขนาดพื้นที่ของ FPA, การจัดอันดับสินค้า, การปันส่วนพื้นที่สินค้า และ การจัดวางสินค้าโดยอาศัยการนำข้อมูลในอดีตไปทดสอบแบบจำลองสถานการณ์แบบ Monte Carlo เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลการออกแบบซึ่งผลการออกแบบที่ดีที่สุดสามารถลดเวลาการทำงานเฉลี่ยรวมต่อปีลงได้ 2768 ชั่วโมงเทียบเท่ากับการลดแรงงานคนลง 1.33 FTE ส่งผลให้เวลาเฉลี่ยในการหยิบต่อคำสั่งซื้ออยู่ที่ 7.9 นาทีต่อคำสั่งซื้อซึ่งเร็วกว่าเวลาที่ทำได้ในปัจจุบันที่ 10 นาทีต่อคำสั่งซื้อ


การออกแบบกรอบการทำงานในการเก็บความต้องการผู้ใช้และทดสอบระบบของระบบสารสนเทศ กรณีศึกษาสถาบันการเงิน, พงษ์ลดา โอทาตะวงค์ Jan 2019

การออกแบบกรอบการทำงานในการเก็บความต้องการผู้ใช้และทดสอบระบบของระบบสารสนเทศ กรณีศึกษาสถาบันการเงิน, พงษ์ลดา โอทาตะวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากสถาบันการเงินกรณีศึกษามีข้อจำกัดทางด้านความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศจึงมีการจ้างบริษัทภายนอกเพื่อสนับสนุนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เช่นเดียวกับกรณีศึกษาระบบการออกเอกสารในสถาบันการเงิน สถาบันการเงินได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้าเกี่ยวกับความผิดพลาดในการออกเอกสารที่เกิดจากการทำงานของระบบและความผิดพลาดของมนุษย์ในการดำเนินงาน ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการออกแบบกรอบการทำงานในการเก็บความต้องการของผู้ใช้และการทดสอบการใช้งานในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ ป้องกันข้อผิดพลาดในการทำงานของระบบและกำหนดนโยบายกระบวนการตรวจสอบคุณภาพเอกสารก่อนส่งมอบให้ลูกค้าเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากความผิดพลาดของมนุษย์ในการปฏิบัติงาน การวัดความพึงพอใจโดยรวม (System Usability Scale) ในการใช้งานกรอบการทำงานแสดงให้เห็นว่าหลังจากเสนอกรอบการทำงานในการเก็บความต้องการของผู้ใช้และการทดสอบการใช้งานระบบให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ ระดับความพึงพอใจที่มีต่อกรอบการทำงานใหม่และกรอบการทำงานเดิมในการเก็บความต้องการของผู้ใช้และการทดสอบการใช้งานเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.93 และ 20.00 ตามลำดับ หลังจากหกเดือนที่มีการดำเนินการใช้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพของเอกสารพบว่าไม่มีข้อร้องเรียนจากลูกค้าเกี่ยวกับความผิดพลาดในการออกเอกสาร


การออกแบบการจัดสรรพื้นที่แบบผสมผสาน กรณีศึกษา ตะกร้าจัดเก็บสินค้าและตะกร้ากระจายสินค้าในศูนย์กระจายสินค้าธุรกิจค้าปลีกวัสดุตกแต่งบ้าน, อรุณรัตน์ วลิตษรางศ์กุล Jan 2019

การออกแบบการจัดสรรพื้นที่แบบผสมผสาน กรณีศึกษา ตะกร้าจัดเก็บสินค้าและตะกร้ากระจายสินค้าในศูนย์กระจายสินค้าธุรกิจค้าปลีกวัสดุตกแต่งบ้าน, อรุณรัตน์ วลิตษรางศ์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แนวโน้มการขาดแคลนแรงงานในประเทศไทยและการเปลี่ยนแปลงของสภาพธุรกิจค้าปลีก ส่งผลให้ศูนย์กระจายสินค้าหลายแห่งประยุกต์นำอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุที่สามารถจัดเก็บและเคลื่อนย้ายสินค้าอัตโนมัติ ในงานวิจัยฉบับนี้นำเสนอกรณีศึกษาของบริษัทค้าปลีกวัสดุตกแต่งบ้าน ซึ่งได้นำอุปกรณ์ Vertical Lift Module (VLM) ซึ่งเป็นอุปกรณ์จัดเก็บและเคลื่อนย้ายตะกร้าอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ในศูนย์กระจายสินค้า โดย VLM เป็นอุปกรณ์เฉพาะทำหน้าที่จัดเก็บตะกร้าจัดเก็บสินค้าเพื่อรอการหยิบ และตะกร้ากระจายสินค้าเพื่อรอการส่ง จากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นพบว่าการจัดสรรปริมาณตะกร้าจัดเก็บสินค้าและตะกร้ากระจายสินค้าไม่เหมาะสม ทำให้มีประสิทธิภาพในการใช้อุปกรณ์ต่ำ ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาข้อมูลการดำเนินการในอดีต รวมถึงธรรมชาติของธุรกิจ และนำเสนอแบบจำลองสถานการณ์ เพื่อทดสอบผลกระทบของปัจจัยต่อไปนี้ (1) ปริมาณตะกร้าจัดเก็บสินค้าและตะกร้ากระจายสินค้าที่เหมาะสม (2) นโยบายการจัดสรรพื้นที่ของอุปกรณ์ และ (3) รูปแบบการเลือกเบิกตะกร้าสินค้า เมื่อพิจารณาแต่ละปัจจัยร่วมกันทำให้สามารถแบ่งสถานการณ์ได้เป็น 16 สถานการณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งอรรถประโยชน์ในการใช้พื้นที่ เวลาการทำงานของอุปกรณ์ และจำนวนครั้งในการเกิดบล็อกกิ้ง ของแต่ละสถานการณ์ จะถูกวิเคราะห์และเปรียบเทียบ โดยผลการวิเคราะห์แบบจำลองสถานการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การกำหนดปัจจัยที่เหมาะสมสามารถลดระยะเวลาทำงานลงได้ 4.08% จากการลดเวลาการทำงานของยานพาหนะลง และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานพื้นที่ของอุปกรณ์ขึ้นได้ 3.82% โดยไม่ทำให้ระบบเกิดบล็อกกิ้ง จากการใช้พื้นที่จัดเก็บสินค้าน้อยลง แม้จะมีสินค้าจำนวนเท่าเดิม


การพยากรณ์ความตรงและความขรุขระผิวชิ้นงานสำหรับการกลึงซีเอ็นซีโดยการประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียม, อริชยา เผือกหอม Jan 2019

การพยากรณ์ความตรงและความขรุขระผิวชิ้นงานสำหรับการกลึงซีเอ็นซีโดยการประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียม, อริชยา เผือกหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อพยากรณ์ความตรงและความขรุขระผิวชิ้นงาน ภายใต้กระบวนการการควบคุมด้วยเงื่อนไขการตัดและอัตราส่วนแรงตัดที่เกิดขึ้นในขณะกลึงซีเอ็นซีของชิ้นงานเหล็กกล้าคาร์บอน S45C ด้วยมีดคาร์ไบด์เคลือบผิว โดยมีเงื่อนไขการตัดที่ความเร็วตัด 100 - 260 เมตร/นาที อัตราการป้อนตัด 0.1 - 0.3 มิลลิเมตร/รอบ ความลึกในการตัด 0.2 - 0.8 มิลลิเมตร รัศมีจมูกมีดตัด 0.4 และ 0.8 มิลลิเมตร และมุมคายเศษวัสดุ -6 และ +11 องศา การแปลงฟูเรียร์อย่างเร็วถูกใช้เพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงตัดและความขรุขระผิวในโดเมนความถี่ โดยพบว่ามีความถี่ที่ตรงกัน อัตราส่วนแรงตัดจึงถูกประยุกต์ใช้เพื่อพยากรณ์ความขรุขระผิวชิ้นงานเฉลี่ย (Ra), ความขรุขระผิวชิ้นงานสูงสุด (Rz) และความตรงผิวชิ้นงาน (St) ในกระบวนการโดยที่เงื่อนไขการตัดไม่เปลี่ยนแปลงไป ค่าความตรงและความขรุขระผิวถูกคำนวณด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบสองชั้นป้อนไปข้างหน้า ซึ่งได้รับการฝึกฝนโดยใช้การเรียนรู้แบบแพร่ค่าย้อนกลับของเลเวนเบิร์ก-มาร์ควอร์ด จากการเปรียบเทียบผลการทดลอง พบว่าวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยสุดให้การพยากรณ์ที่มีค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 67.96%, 69.50% และ 59.29% ตามลำดับ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความแม่นยำสูง เมื่อทำการเปรียบเทียบกับโครงข่ายประสาทเทียมที่มีค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 61.19%, 67.96% และ 40.71% ตามลำดับ สำหรับชิ้นงานอะลูมิเนียม (Al 6063) อย่างไรก็ตาม การพยากรณ์ชิ้นงานเหล็กกล้าคาร์บอน (S45C) โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมที่ได้รับการฝึกสอนแล้วของค่าความขรุขระผิวชิ้นงานเฉลี่ย ค่าความขรุขระผิวชิ้นงานสูงสุด และค่าความตรงเบี่ยงหนีศูนย์มีค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 88.78%, 92.51% และ 91.89% ตามลำดับ ส่วนวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยสุดให้ค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 91.89%, 91.79% and 91.85% ตามลำดับ


พฤติกรรมการรับแรงดัดของคานคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กภายใต้ภาวะการกัดกร่อน, อาณสิทธิ์ การินทอง Jan 2019

พฤติกรรมการรับแรงดัดของคานคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กภายใต้ภาวะการกัดกร่อน, อาณสิทธิ์ การินทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นโครงสร้างที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่เนื่องจากเหล็กเสริมมีความทนทานต่อการกัดกร่อนที่ต่ำ ปัญหาการกัดกร่อนภายในโครงสร้างเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการรับแรงของโครงสร้างที่ลดลงเนื่องจากสูญเสียปริมาณเหล็กเสริมไป ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานโครงสร้างได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กให้สามารถรับกำลังภายใต้สภาวะการกัดกร่อนได้ดีขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กผสมเส้นใยเหล็กภายใต้ภาวะการกัดกร่อน ด้วยการศึกษาอิทธิพลของปริมาณเส้นใยที่ใช้ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกัดกร่อน และอิทธิพลของปริมาณเส้นใยที่ใช้ต่อพฤติกรรมของคานที่สภาวะการกัดกร่อน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาคือ ระดับการกัดกร่อน (ร้อยละ 0, 2 และ 5) และปริมาณเส้นใยเหล็กที่ใช้ผสม (ร้อยละ 0, 0.5, 1.0 และ 1.5 โดยปริมาตรคอนกรีต) โดยศึกษาจากตัวอย่างคานทั้งหมด 12 ตัวอย่าง ผลการทดสอบพบว่า ปริมาณการใช้เส้นใยที่ในปริมาณที่เหมาะสมทำให้ความกว้างรอยแตกร้าวเนื่องจากการกัดกร่อนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยการผสมเส้นใยร้อยละ 1.0 ช่วยลดความกว้างรอยแตกร้าวลงได้ถึงร้อยละ 63.55 ที่การกัดกร่อนร้อยละ 2 และลดลงร้อยละ 27.96 ที่การกัดกร่อนร้อยละ 5 และการผสมเส้นใยช่วยทดแทนกำลังรับแรงดัดที่สูญเสียเนื่องจากการกัดกร่อนได้ โดยการผสมเส้นใยร้อยละ 0.5 สามารถทดแทนกำลังที่สูญเสียไปร้อยละ 101.3 ที่การกัดกร่อนร้อยละ 2 และ การผสมเส้นใยร้อยละ 1.0 สามารถทดแทนกำลังที่สูญเสียไปร้อยละ 101.2 ที่การกัดกร่อนร้อยละ 5 อีกทั้งเส้นใยเหล็กยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายแรงไปยังเหล็กเสริมรับแรงดึงและช่วยให้พฤติกรรมการรับแรงดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กไม่เปลี่ยนแปลงไปภายใต้ภาวะการกัดกร่อน


อิเล็กโทรดสังกะสีโครงสร้างสามมิติสำหรับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศทุติยภูมิ, จีราภรณ์ จักรโนวรรณ Jan 2019

อิเล็กโทรดสังกะสีโครงสร้างสามมิติสำหรับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศทุติยภูมิ, จีราภรณ์ จักรโนวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศได้รับความสนใจจากงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศมีความหนาแน่นของพลังงานสูง มีความปลอดภัย และราคาถูก อย่างไรก็ตามปัญหาหลักที่เกิดขึ้นของแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศซึ่งพบในแบตเตอรี่ทุติยภูมิ พบว่าโครงสร้างและรูปร่างของขั้วไฟฟ้าสังกะสีมีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการอัดประจุและคายประจุ ในระหว่างการอัดประจุไฟฟ้าพบว่าอนุภาคของสังกะสีก่อตัวเป็นรูปร่างแบบกิ่งก้าน ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการลัดวงจรของแบตเตอรี่ ในงานวิจัยนี้มุ้งเน้นที่จะใช้คาร์บอนสักหลาดเป็นตัวรองรับกระแส เพื่อสังเคราะห์ขั้วไฟฟ้าสังกะสีที่มีโครงสร้างสามมิติสำหรับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศแบบทุติยภูมิ ขั้วไฟฟ้าสังกะสีถูกเตรียมโดยการติดคาร์บอนสักหลาดลงบนแผ่นทองแดงด้วยสารยึกเกาะ โดยมีส่วนผสมคือ กราไฟต์ พอลิไวนิลลิดีนฟลูออไรด์ และผงคาร์บอน ในอัตราส่วน 87 : 10 : 3 โดยน้ำหนัก สมบัติทางไฟฟ้าเคมีของขั้วไฟฟ้าสังกะสีถูกศึกษาด้วยเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมตทรี เทคนิคทาเฟลพาไรเซชัน และเทคนิคโครโนแอมเพอร์โรเมตทรี จากผลการทดสอบพบว่าการละลายและการชุบสังกะสีบนคาร์บอนสังหลาดถูกควบคุมด้วยการแพร่ สัญฐานวิทยาของสังกะสีบนคาร์บอนสักหลาดจากสารละลายอิเล็กโทรไลต์ซิงค์เคทพบว่ามีลักษณะคล้ายฟองน้ำเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่ายทำให้มีพื้นที่ผิวของสังกะสีสูง และไม่ปรากฎสัญฐานวิทยาแบบกิ่งก้าน จากการศึกษาในระบบแบตเตอรี่สังกะสีอากาศพบว่าขั้วไฟฟ้าสังกะสีที่ใช้คาร์บอนสักหลาดหนา 3 มิลลิเมตร และคาร์บอนสักหลาดหนา 1 มิลลิเมตร เป็นตัวรองรับกระแส จะให้ค่าประสิทธิภาพการอัด-คายประจุร้อยละ 85 และ 83 ตามลำดับ มีค่าประสิทธิภาพการกักเก็บพลังงานต่อรอบการชารจ์ร้อยละ 37 และ 32 ตามลำดับ และมีค่าความจุกระแสไฟฟ้า 2.23 มิลลิแอมป์ชั่วโมง และ 2.22 มิลลิแอมป์ชั่วโมง ตามลำดับ ที่ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 10 มิลลิแอมป์ต่อตารางเซนติเมตร โดยรวมแล้วพบว่าคาร์บอนสักหลาดหนา 3 มิลลิเมตร จะให้ประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีกว่าคาร์บอนสักหลาดหนา 1 มิลลิเมตรเนื่องจากมีพื้นที่ผิวสัมผัสในการใช้งานที่มากกว่า และคาร์บอนสักหลาดเป็นวัสดุที่ให้ผลดีในการใช้งานสำหรับเป็นตัวรองรับกระแสสำหรับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศ


ระบบควบคุมแบบปรับตัวได้พร้อมการควบคุมแรงฉุดลากสำหรับหุ่นยนต์ขับเคลื่อนสองล้อ, ไม้ไฑ ดะห์ลัน Jan 2019

ระบบควบคุมแบบปรับตัวได้พร้อมการควบคุมแรงฉุดลากสำหรับหุ่นยนต์ขับเคลื่อนสองล้อ, ไม้ไฑ ดะห์ลัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์สองล้อเพื่อให้การลื่นไถลที่ล้อให้น้อยที่สุดถือเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับหุ่นยนต์ที่ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีคน ปกติแล้วการควบคุมแรงฉุดลากนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพลศาสตร์ของการเคลื่อนที่เช่น ค่าความเฉื่อยและแรงเสียดทาน รวมถึงการประมาณค่าสัดส่วนของการลื่นไถลที่ล้อกับพื้น ซึ่งมักจะต้องใช้การคำนวณที่มีความสลับซับซ้อน ในงานวิจัยนี้เราจะใช้ตัวควบคุมแรงฉุดลากที่ปรับตัวได้ หรือ Model following control (MFC) โดยจะแปลงในอยู่ในรูปของเวลาแบบไม่ต่อเนื่อง (discrete time model) การทดลองจะใช้หุ่นยนต์แบบสองล้อที่ควบคุมแรงฉุดลากแบบจำลองการไถล เทียบกับการควบคุมโดยใช้ตัวควบคุมแบบพีดี ตามเส้นวิถีการเคลื่อนที่แบบเส้นตรง รวมถึงการทดสอบการประมาณค่าแรงฉุดลากสูงสุดของหุ่นยนต์ และทดสอบการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ขึ้นและลงบนทางลาดชัน


อุปกรณ์ช่วยเดินแบบพาสซีฟสำหรับผู้มีภาวะเท้าตก, ทศวรรษ กิจศิริเจริญชัย Jan 2019

อุปกรณ์ช่วยเดินแบบพาสซีฟสำหรับผู้มีภาวะเท้าตก, ทศวรรษ กิจศิริเจริญชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะเท้าตก (Foot-drop) คือภาวะที่ไม่สามารถควบคุมบริเวณปลายเท้าและสูญเสียการรับรู้อากัปกิริยา เป็นผลกระทบจากโรคทางระบบประสาทหรืออาจเกิดจากการดำรงชีวิตประจำวัน ภาวะเท้าตกสามารถทำให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจได้ เช่น การเกิดอุบัติเหตุจากการสะดุดในระหว่างการก้าวเดินและปัญหาด้านบุคลิกภาพ ปัจจุบันมีผู้ประสบภาวะเท้าตกจำนวนมากการรักษาให้หายขาดหรือดีขึ้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัว ดังนั้นผู้เกิดภาวะเท้าตกแบบใดก็ตามจึงมีความต้องการอุปกรณ์ในการช่วยการเดิน ปัจจุบันมีการใช้กายอุปกรณ์ทั้งแบบล็อกข้อเท้าและแบบให้ข้อเท้าให้ตัวได้ แม้ว่าจะสามารถช่วยการก้าวเดินได้บางส่วน แต่การเดินปกติของมนุษย์จะมีช่วงที่เท้าของคนเราสามารถตกลงมาได้ และเมื่ออุปกรณ์ค้ำขาได้ล็อคข้อเท้าให้อยู่ในตำแหน่งคงที่ตลอดเวลา จึงทำให้ทำท่าการเดินไม่เป็นธรรมชาติเนื่องจากเท้าที่ถูกยึดอยู่ในมุมคงที่ ที่ผ่านมามีงานวิจัยต่าง ๆ ได้นำระบบแอกทีพเช่นการใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานกล อาทิอากาศอัดความดันมาใช้เพื่อให้สามารถควบคุมการทำงานให้สามารถเดินได้เป็นธรรมชาติมากขึ้น รวมถึงสามารถเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวมากขึ้น แต่เนื่องจากอุปกรณ์แอกทีพดังกล่าวมีความซับซ้อนและมีขนาดและน้ำหนักมากรวมถึงราคาที่สูง ทำให้ไม่เหมาะกับการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน งานวิจัยนี้มุ่งพัฒนาการแก้ปัญหาสภาวะเท้าตกด้วยการออกแบบกายอุปกรณ์ที่ใช้กลไกสภาพพาสซีฟที่สามารถช่วยให้ผู้ใช้ที่มีสภาวะเท้าตก โดยมีกลไกล็อคข้อเท้าไม่ให้ตกในตอนที่ยกเท้าและเมื่อส้นเท้ากระทบกับพื้นกลไกทำให้เท้าตบลงมาได้ ทำให้สามารถเดินได้ต่อเนื่อง โดยมีท่าทางการเดินที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น


การจำลองแบบเชิงตัวเลขสำหรับการแจกแจงอุณหภูมิในเหล็กแท่งในระหว่างการลำเลียง, ปวร สุภชัยพานิชพงศ์ Jan 2019

การจำลองแบบเชิงตัวเลขสำหรับการแจกแจงอุณหภูมิในเหล็กแท่งในระหว่างการลำเลียง, ปวร สุภชัยพานิชพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากการตรวจสอบอุณหภูมิเหล็กแท่งในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในระหว่างการลำเลียงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อกระบวนผลิตแต่สามารถทำได้ยาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองเชิงตัวเลขที่สามารถทำนายการแจกแจงอุณหภูมิของเหล็กแท่งในระหว่างการลำเลียงได้ รวมถึงการตรวจสอบผลที่ได้จากแบบจำลองกับผลที่ได้จากการวัดอุณหภูมิเหล็กแท่งจริงด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน ในงานวิจัยนี้เลือกใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์ดิฟเฟอเรนซ์แบบสองมิติในการแก้ปัญหาการนำความร้อนภายในเหล็กแท่ง เพื่อคำนวณการแจกแจงอุณหภูมิของเหล็กแท่งภายใต้สภาวะที่ไม่มีฉนวนกันความร้อนและมีฉนวนกันความร้อนที่ความหนาต่าง ๆ ในระหว่างการลำเลียง ซึ่งเหล็กแท่งในแบบจำลองจะถูกพิจารณาว่ามีการสูญเสียความร้อนสู่สิ่งแวดล้อมผ่านการพาความร้อนและการแผ่รังสีความร้อนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการนำผลการแจกแจงอุณหภูมิของเหล็กแท่งที่ได้จากแบบจำลองมาคำนวณความร้อนที่สูญเสียสู่สิ่งแวดล้อมต่อเวลารวมถึงปริมาณความร้อนที่ต้องใช้ในการอุ่นเหล็กแท่งที่ถูกลำเลียงมาเป็นเวลาต่าง ๆไปที่อุณหภูมิ 1250 องศาเซลเซียส ผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของเหล็กแท่งที่ได้จากแบบจำลองนั้นมีค่าแตกต่างจากค่าที่ได้จากการวัดจริงด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนอยู่ที่ร้อยละ 9.827 เมื่อเทียบกับค่าที่ได้จากการตรวจวัดและความหนาของฉนวนกันความร้อนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออุณหภูมิของเหล็กแท่งในระหว่างการลำเลียง ซึ่งงานวิจัยนี้อาจเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบตรวจสอบและควบคุมอุณหภูมิรวมถึงการสูญเสียพลังงานความร้อนของเหล็กแท่งในกระบวนการผลิตเหล็กได้ในอนาคต


การบริหารการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการนำ Bim มาใช้ในองค์การ Aec, รุ่งอนันต์ พระพรเพ็ญ Jan 2019

การบริหารการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการนำ Bim มาใช้ในองค์การ Aec, รุ่งอนันต์ พระพรเพ็ญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงแบบจำลองธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม เทคโนโลยีที่เข้ามามีผลกระทบ (disruptive technology) ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งได้นำการจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) เข้ามาใช้อย่างกว้างขวาง BIM จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่องค์กรด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และก่อสร้าง (Architecture, Engineering, and Construction, AEC) นำมาใช้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงองค์กรมีความซับซ้อนเนื่องจากขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น วัฒนธรรมขององค์กร ทรัพยากรที่องค์กรมี ความพร้อมและทักษะของผู้นำการเปลี่ยนแปลง งานวิจัยนี้เสนอแนวทางในการเปลี่ยนแปลงองค์กรซึ่งนำ BIM มาใช้ ทฤษฎีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสองทฤษฎีถูกนำมาใช้สร้างกรอบแนวคิดเบื้องต้น ข้อมูลที่จำเป็นถูกรวบรวมจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ 11 ท่านจากองค์กรเจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้รับจ้างก่อสร้าง และที่ปรึกษา เราสามารถแบ่งรูปแบบการเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ 3 รูปแบบตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างองค์กร โดยสองรูปแบบแรกเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยองค์กรตนเองเป็นหลัก ส่วนอีกรูปแบบอาศัยองค์กรที่ปรึกษาเป็นหลัก ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงองค์กร BIM ขึ้นอยู่กับ ผู้นำ BIM และวัฒนธรรมองค์กร


การพัฒนาผนังฉนวนสำเร็จรูปด้วยแกนคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก, วรากร อิ่มรักษา Jan 2019

การพัฒนาผนังฉนวนสำเร็จรูปด้วยแกนคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก, วรากร อิ่มรักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาผนังฉนวนสำเร็จรูปแกนคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก โดยผนังมีวัสดุแกนกลางเป็นฉนวนทำจากคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก ปิดผิวหน้าทั้ง 2 ด้านด้วยแผ่นซีเมนต์บอร์ดในลักษณะของผนังแบบแซนวิช (Sandwich panels) เพื่อให้ได้ผนังที่มีความต้านทานความร้อน ความทนไฟ และประหยัดพลังงานสูงกว่าผนังทั่วไป ในการศึกษานี้พิจารณาแผ่นผนังขนาดความกว้าง 0.60 เมตร ความสูง 2.40 เมตร และหนา 0.12 เมตร ใช้คอนกรีตความหนาแน่นต่ำมากที่มีค่าความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 200 - 300 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร การพัฒนาเริ่มจากการวิเคราะห์ออกแบบด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ เพื่อเสริมให้แผ่นผนังสามารถทนต่อแรงกระแทกได้เพียงพอตามมาตรฐาน จึงเพิ่มการประสานระหว่างแผ่นซีเมนต์บอร์ดด้วยก้อนลูกบาศก์คอนกรีตขนาด 0.1x0.1x0.1 เมตร3 ทาปูนกาวจำนวน 6 ก้อน กระจายรอบแผ่นผนัง จากนั้นจึงผลิตแผ่นผนังต้นแบบ ผลการทดสอบหาค่าสภาพการนำความร้อน (Thermal conductivity, k) ตามมาตรฐานการทดสอบ ASTM C518 ในห้องปฏิบัติการพบว่าแผ่นผนังที่พัฒนามีค่าสภาพการนำความร้อนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าผนังประเภทต่างๆ ที่นิยมใช้งานในปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ผลการทดสอบความแข็งแรงของผนังตามมาตรฐาน BS 5234 ได้แก่ การทดสอบความแข็งแรงของผนังโดยใช้การกระแทกด้วยวัสดุแข็งขนาดเล็ก (Small hard body impact) และผลการทดสอบความแข็งแรงของผนังโดยใช้การกระแทกด้วยวัสดุอ่อนนุ่มขนาดใหญ่ (Large soft body impact) ก็แสดงให้เห็นว่าผนังที่พัฒนาขึ้นนี้มีความแข็งแรงในระดับ Medium duty (MD) ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้งานเป็นผนังกั้นห้องในอาคารพักอาศัย สำนักงาน และอาคารพาณิชย์ทั่วไป


การควบคุมแรงดันอย่างเหมาะที่สุดด้วยกราฟคุณลักษณะกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟกับแรงดันสำหรับระบบจำหน่ายที่มีระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายตัว, พงศธร เรืองจันทร์ Jan 2019

การควบคุมแรงดันอย่างเหมาะที่สุดด้วยกราฟคุณลักษณะกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟกับแรงดันสำหรับระบบจำหน่ายที่มีระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายตัว, พงศธร เรืองจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายตัวในระบบจำหน่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาแรงดันเกินในสายป้อน การใช้ความสามารถในการชดเชยกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟของอินเวอร์เตอร์ด้วยกราฟคุณลักษณะ Q(U) เป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหาแรงดันเกินได้ วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอวิธีการปรับตั้งค่ากราฟคุณลักษณะ Q(U) โดยประยุกต์ใช้ปัญหาการไหลของกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟที่เหมาะที่สุด ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการจำแนกกลุ่มแบบเคมีน ทดสอบกับระบบไฟฟ้าจริงของสถานีไฟฟ้าอุบลราชธานี 2 วงจรที่ 7 ผลการทดสอบพบว่า สามารถควบคุมแรงดันให้อยู่ในเกณฑ์ 0.95 - 1.05 pu. ที่กำหนด ช่วยลดปริมาณความต้องการกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ และช่วยลดปริมาณกำลังไฟฟ้าสูญเสียในแต่ละวันของระบบจำหน่ายได้ เมื่อเปรียบเทียบผลกับกราฟคุณลักษณะ Q(U) ที่ปรับตั้งค่าตามมาตรฐาน IEEE 1547-2018 อย่างไรก็ตาม กราฟคุณลักษณะ Q(U) จะสามารถแก้ไขปัญหาแรงดันตามที่กล่าวได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข 2 ประการ คือ โหลดการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกราย ในช่วงเวลาที่กำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีค่าสูงสุด จะต้องมีปริมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดของแต่ละราย และจำเป็นต้องควบคุมขนาดแรงดันที่สถานีไฟฟ้าต้นทางให้อยู่ในช่วง 0.95 – 1.00 pu.


การประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงลึกเพื่อเพิ่มความจำเพาะในการตรวจคัดกรองภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วจากสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, จันทัปปภา จันทร์ครบ Jan 2019

การประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงลึกเพื่อเพิ่มความจำเพาะในการตรวจคัดกรองภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วจากสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, จันทัปปภา จันทร์ครบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation: AF) เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นภัยเงียบและพบได้บ่อย โดยเมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดหลอดเลือดสมองตีบตัน (Ischemic stroke) ดังนั้นการตรวจคัดกรองสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วจึงมีความสำคัญ ปัจจุบันมีการพัฒนาอุปกรณ์พกพาที่สามารถตรวจจับภาวะนี้ของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง โดยอัลกอริทึมที่ใช้จะให้ค่าความไวสูงในการตรวจจับ ซึ่งจะทำให้ค่าความจำเพาะนั้นต่ำ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ได้ทำการนำการเรียนรู้เชิงลึก (Deep learning) มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มค่าความจำเพาะในการตรวจจับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว โดยมีตัวรบกวนที่สำคัญได้แก่ ภาวะหัวใจปกติ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นก่อนจังหวะ และภาวะหัวใจห้องล่างเต้นก่อนจังหวะ โดยงานวิจัยนี้ได้นำเอาโครงข่ายคอนโวลูชันมาใช้แยกแยะภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วทั้งข้อมูลภาพและข้อมูลอนุกรมเวลา ซึ่งค่าความไวและค่าความจำเพาะของโมเดลที่ฝึกจากข้อมูลภาพสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจอยู่ที่ร้อยละ 84.67 และ 96.33 ตามลำดับ จากนั้นนำโมเดลที่ได้ไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ตรวจคัดกรองภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ใช้อัลกอริทึมที่มีความซับซ้อนน้อย พบว่าได้ค่าความไวและค่าความจำเพาะอยู่ที่ร้อยละ 96.97 และ 100 ตามลำดับ และโมเดลที่ทำการแยะแยะกลุ่มสัญญาณภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วกับกลุ่มสัญญาณที่ไม่ใช่ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ได้จากข้อมูลอนุกรมเวลาให้ค่าความไวและค่าความจำเพาะของอยู่ที่ร้อยละ 98.33 และ 99.33 ตามลำดับ จากนั้นนำข้อมูลของกลุ่มสัญญาณที่ไม่ใช่ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมาทำการแยกประเภทได้ค่าความถูกต้องสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 92.33 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าค่าความจำเพาะสามารถถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นได้เมื่อนำการเรียนรู้เชิงลึกมาประยุกต์เพื่อสร้างโมเดลสำหรับการคัดแยกภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วจากภาวะอื่น ๆ


Preparation Of Ba0.5sr0.5(Co0.8fe0.2)1-Xtaxo3-Δ Perovskite Anode For Solid Oxide Electrolysis Cell And Comparison Of Electrochemical Performance And Durability With The Basic Anodes, Patthiya Prasopchokkul Jan 2019

Preparation Of Ba0.5sr0.5(Co0.8fe0.2)1-Xtaxo3-Δ Perovskite Anode For Solid Oxide Electrolysis Cell And Comparison Of Electrochemical Performance And Durability With The Basic Anodes, Patthiya Prasopchokkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Among perovskite anodes in solid oxide electrolysis cell (SOEC), Ba0.5Sr0.5Co0.8Fe0.2O3-δ (BSCF) has gained much attention due to its relatively high performance. However, the BSCF still suffers from chemical instability. In this study, partial substituting higher valance Ta5+ (5, 10, 15 and 20 mol%) at the B-site (Co2+/Fe3+) of BSCF was investigated to improve its structural stability. The Ba0.5Sr0.5(Co0.8Fe0.2)1-xTaxO3-δ (BSCFTax, 0 ≤ x ≤ 0.20) were synthesized by citrate-EDTA complexing method. The BSCF and BSCFTa0.05 exhibited the single phase perovskite while segregation of Ta2O5 and Ta3N5 were observed in other samples. The symmetrical half-cell having the yttria stabilized zirconia (YSZ) as …