Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 181 - 210 of 216

Full-Text Articles in Engineering

การวิเคราะห์เปรียบเทียบแผงโซล่าเซลล์มือสองและแผงโซล่าเซลล์ใหม่สำหรับโรงไฟฟ้าลอยน้ำ, สมบัติ พรมมาพิษ Jan 2022

การวิเคราะห์เปรียบเทียบแผงโซล่าเซลล์มือสองและแผงโซล่าเซลล์ใหม่สำหรับโรงไฟฟ้าลอยน้ำ, สมบัติ พรมมาพิษ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการโซล่าฟาร์มได้ทำการเปลี่ยนแผงโซล่าเซลล์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากแผงโซล่าเซลล์รุ่นใหม่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีราคาที่ถูกลง ผู้ประกอบการมีปัญหาเรื่องการใช้ประโยชน์จากแผงโซล่าเซลล์เดิมที่ถูกเปลี่ยนออก สามารถนำไปเพิ่มมูลค่ามากกว่าการจำหน่ายไปต่างประเทศหรือไม่ การนำแผงโซล่าเซลล์ไปติดตั้งในรูปแบบลอยน้ำสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ได้ 10-15% ซึ่งมีโครงการนำร่องผลิตไฟฟ้าเพื่อขายไฟให้ลูกค้าในรูปแบบ Private PPA โดยได้นำแผงโซล่าเซลล์มือสองมาติดตั้งร่วมกับแผงโซล่าเซลล์ใหม่ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความคุ้มค่าการลงทุน มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 615.36 kW โดยติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มือสอง 246 kWp หรือคิดเป็น 40% และแผงโซล่าเซลล์ใหม่ 369.36 kWp หรือคิดเป็น 60% ในพื้นที่โรงผลิตน้ำประปา อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เริ่มจัดเก็บข้อมูล ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึง ตุลาคม 2565 เป็นระยะเวลา 1 ปี จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์มือสองและแผงโซล่าเซลล์ใหม่ ได้ข้อสรุปว่า แผงโซล่าเซลล์ใหม่มีปริมาณพลังงานไฟฟ้าผลิตได้จริงมากกว่าแผงโซล่าเซลล์มือสอง 13% ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านความคุ้มค่า แผงโซล่าเซลล์ใหม่มีความคุ้มค่ามากกว่าแผงโซล่ามือสอง โดยแผงโซล่าเซลล์มือสองคิดมูลค่า 500 บาท/แผ่น มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value) เท่ากับ 4.11 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (Internal Rate Return) เท่ากับ 27.84 % และมีระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period) 3.4 ปี มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิของต้นทุนต่อหน่วยการผลิตฟ้าตลอดอายุการใช้งานเท่ากับ 0.53 บาท/หน่วย และแผงโซล่าเซลล์ใหม่ คิดมูลค่าแผง 4,723 บาท/แผ่น มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value) เท่ากับ 7.64 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (Internal Rate Return) เท่ากับ 30.57 % และมีระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period) 3.1 ปี มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิของต้นทุนต่อหน่วยการผลิตฟ้าตลอดอายุการใช้งานเท่ากับ 0.45 บาท/หน่วย


การลดพลังงานต่อหน่วยการผลิต โดยการเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ กรณีศึกษา เครื่องจักร Electrolytic De Flash And Water Jet, สวัสดิ์ อินทองคำ Jan 2022

การลดพลังงานต่อหน่วยการผลิต โดยการเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ กรณีศึกษา เครื่องจักร Electrolytic De Flash And Water Jet, สวัสดิ์ อินทองคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่องการลดพลังงานต่อหน่วยการผลิต (Specific Energy Consumption : SEC) โดยการเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ (Overall Equipment Effectiveness : OEE) กรณีศึกษาเครื่องจักร Electrolytic De flash and Water jet นี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการใช้พลังงานไฟฟ้าในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด ไม่เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อลดค่า SEC และเพิ่มค่า OEE ที่เครื่องจักรหมายเลข TEBM2-6 วิธีการวิจัยประกอบด้วย 1. ศึกษาหลักการเพิ่ม OEE คือการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ ช่วยให้การประเมินประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของเครื่องจักร นำมาใช้ในการปรับปรุงเครื่องจักรให้มีประสิทธิผลโดยรวมสูงสุด 2. ศึกษาหลักการลด SEC คือค่าการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิต ค่านี้มีประโยชน์ที่จะช่วยบอกว่ามีการใช้พลังงานเฉลี่ยเท่าใดในการผลิตสินค้าต่อ 1 หน่วย การติดตามและควบคุมค่าการใช้พลังงาน เป็นวิธีการจัดการการอนุรักษ์พลังงานที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง ค่า SEC เป็นตัวบ่งชี้การใช้พลังงาน SEC สูงหมายถึงการใช้พลังงานประสิทธิภาพต่ำ ถ้า SEC ต่ำหมายถึงการใช้พลังงานประสิทธิภาพสูง 3.ศึกษาหลักการ Equivalent Unit : EU คือเทคนิคหน่วยเทียบสำเร็จรูป ด้วยความที่ผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีขนาดที่หลากหลายและขั้นตอนการผลิตที่ยากง่ายแตกต่างกัน จึงต้องคำนวณหาปริมาณผลผลิตใหม่ ให้เป็นหน่วยเดียวกันก่อน ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่าวิธีที่จะทำให้ค่า OEE เพิ่มขึ้น คือการปรับปรุงโดยใช้หลักการทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการทำงานเป็นอัตโนมัติ เพื่อลดความสูญเปล่าในการผลิต (Loss time) หลังการปรับปรุงสามารถสรุปผลจากการศึกษาวิจัยได้คือทำให้ค่า OEE เพิ่มขึ้นเฉลี่ยจาก 50% เป็น 73% เพิ่มขึ้น 23% ค่า SEC ลดลงเฉลี่ยจาก 1.98 kWh/EU เป็น 1.32 kWh/EU ลดลง 0.66 kWh/EU และได้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจาก 3,039 Lot size เป็น 5,477 Lot size เพิ่มขึ้น 80%


การประเมินประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา, สุกานดา แสงใส Jan 2022

การประเมินประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา, สุกานดา แสงใส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ศึกษาการออกแบบของระบบผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์บนหลังคาแบบโมโนคริสตัลไลน์ จากโปรแกรม PVSyst เพื่อเปรียบเทียบกับปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงจากการติดตั้งระบบของโรงงานอุตสาหกรรม ขนาด 223.56 kW ในพื้นที่ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และศึกษาต้นทุนทางการเงินของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเปรียบเทียบกับการลดพลังงานไฟฟ้าก่อนและหลังติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา โดยเปรียบเทียบความเข้มแสงและค่าพลังงานไฟฟ้าจากค่าพยากรณ์จากโปรแกรม PVSyst เทียบกับค่าค่าเข้มแสงจากการเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์ Meteonorm ที่ติดตั้งภายในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม และพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ในทางทฤษฎี โดยการวิจัยพบว่าความเข้มแสงจากทั้งสองแหล่งมีความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 7.88% ซึ่งทำให้ผู้ที่สนใจต้องการวิเคราะห์ค่าความเข้มแสงในพื้นที่ใกล้เคียงสามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้พยากรณ์ผลเพิ่มเติมจากโปรแกรม PVSyst เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการพยากรณ์ได้ รวมถึงมีการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการนำพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา ซึ่งพิจารณาถึงความคุ้มค่าเพื่อให้ได้ผลประหยัดไฟฟ้าและระยะเวลาคืนทุน โดยพบว่าระยะเวลาคืนทุนมีระยะเวลาอยู่ที่ 3 ปี 2 เดือน จนถึง 4 ปี 9 เดือน ขึ้นอยู่กับค่า Ft และหน่วยไฟฟ้าที่ผู้ใช้ไฟสามารถนำไปใช้ได้


Strengthening Of Reinforced Concrete Members With Lap Splices Using Steel Collars, Aji Ejaz Jan 2022

Strengthening Of Reinforced Concrete Members With Lap Splices Using Steel Collars, Aji Ejaz

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bond splitting failure of substandard lap splices have caused extensive damage to many structures during earthquakes. Existing methods to strengthen substandard lap splices primarily involve wrapping the substandard lap spliced regions with jackets possessing mainly in-plane stiffness. Hence, the efficiency of such techniques is compromised due to the lateral bulging of concrete and flexural bending of jackets. This study investigated hollow steel section (HSS) collars which offer axial and flexural stiffness in mitigating splitting failures associated with lap splices not conforming to current design codes. Three lap splice lengths, mainly 20, 28, and 35 times the bar diameter (db) were …


Photocatalytic Films For Efficient Gas Phase Co2 Reduction Into Value-Added Chemicals, Mohammad Fereidooni Jan 2022

Photocatalytic Films For Efficient Gas Phase Co2 Reduction Into Value-Added Chemicals, Mohammad Fereidooni

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A viable method to lower the atmospheric CO2 concentration is artificial photosynthesis, which converts CO2 and H2O into products with added value. Herein, the catalytic activity of thin photocatalytic films was examined in water vapor, batch, and flow reactor configurations for CO2 reduction. In addition to the experimental study, a theoretical analysis of the reaction mechanism over silica-modified amorphous TiO2 (AM-TiO2-SiO2) and indium tin oxide (ITO) photocatalysts is conducted. In the case of AM-TiO2-SiO2, the research shows that surfaces with low loading of SiO2 groups have a higher affinity for certain target molecules (T-M). This affinity accelerates adsorption and reaction …


เทคนิคการเพิ่มกระแสผิดพร่องสำหรับอินเวอร์เตอร์ชนิดเชื่อมต่อกริด, ปรีณาพรรณ ปัญญา Jan 2022

เทคนิคการเพิ่มกระแสผิดพร่องสำหรับอินเวอร์เตอร์ชนิดเชื่อมต่อกริด, ปรีณาพรรณ ปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบไฟฟ้าแบบไมโคร กริด ทำให้เกิดผลกระทบกับระบบไฟฟ้าดั้งเดิมหลายประการ ประเด็นสำคัญที่กล่าวถึงในวิทยานิพนธ์นี้คือ การเปลี่ยนแปลงของระดับกระแสผิดพร่องในระบบไฟฟ้า เมื่อโครงสร้างของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออินเวอร์เตอร์ไม่สามารถจ่ายกระแสผิดพร่องในปริมาณเช่นเดียวกับเครื่องจักรกลซิงโครนัส ทำให้กระแสผิดพร่องมีขนาดน้อยเกินไป โดยเฉพาะเมื่อระบบที่เป็นไมโคร กริดเกิดการแยกโดดออกจากระบบ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการจ่ายกระแสผิดพร่องของอินเวอร์เตอร์แบบเชื่อมต่อกริด โดยการควบคุมให้อินเวอร์เตอร์จ่ายกระแสผิดพร่องที่มีขนาดมากกว่า 2 เท่าของกระแสพิกัดในขณะที่ยังเชื่อมต่อกับระบบเมื่อเกิดสภาวะแรงดันตก ภายใต้พิกัดกระแสและพิกัดแรงดันของอินเวอร์เตอร์ แนวคิดที่ใช้ในการเพิ่มขนาดกระแสคือ การใช้ความถี่เรโซแนนซ์ของตัวกรองแบบ LCL ที่เป็นวงจรกรองทั่วไปที่ใช้ในอินเวอร์เตอร์ โดยที่อินเวอร์เตอร์สามารถทำงานได้ทั้งสองโหมดและสามารถเปลี่ยนโหมดระหว่างการทำงานแบบปกติ ไปยังโหมดการทำงานเมื่อเกิดความผิดพร่องในระบบ และสามารถกลับมาทำงานได้ในโหมดการทำงานปกติเมื่อกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ โดยทดสอบด้วยผลการจำลองผ่านโปรแกรม Matlab Simulink และอินเวอร์เตอร์ในห้องปฏิบัติการ จากผลการทดสอบทั้งในการจำลองและการทดสอบจริงเมื่อเกิดแรงดันตกหรือความผิดพร่องที่แรงดันที่จุดเชื่อมต่อ อินเวอร์เตอร์จ่ายกระแสรีแอคทีฟความถี่ปกติได้ตามข้อกำหนดของระบบไฟฟ้าได้และสามารถเชื่อมต่อระบบกลับมาในโหมดปกติเมื่อแรงดันกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ อัลกอริทึมที่นำเสนอสามารถจ่ายกระแสความถี่สูงขณะเกิดแรงดันตกที่มีขนาดมากถึง 2.4 เท่าของกระแสพิกัดได้ โดยที่ขนาดกระแสและแรงดันด้านออกของอินเวอร์เตอร์มีขนาดไม่เกินพิกัด ทำให้อินเวอร์เตอร์เชื่อมต่อกับระบบได้โดยไม่ปลดตัวเองออกจากวงจร และกลับคืนสู่การควบคุมในโหมดปกติได้เมื่อแรงดันที่จุดเชื่อมต่อกลับเข้าสู่ค่าปกติ


การหาลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยอิเล็กโทรโรเทชัน, รักดี บรรดาตั้ง Jan 2022

การหาลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยอิเล็กโทรโรเทชัน, รักดี บรรดาตั้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการหาลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยอิเล็กโทรโรเทชัน. ลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงขึ้นอยู่กับค่าพารามิเตอร์ไฟฟ้า ได้แก่ ค่าความเก็บประจุไฟฟ้าเยื่อหุ้มเซลล์ และค่าสภาพนำไฟฟ้าภายในเซลล์. การประมวลผลภาพถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการหาอัตราเร็วการหมุนของเซลล์เม็ดเลือดแดงเนื่องจากมีความรวดเร็วและความแม่นยำ. โปรแกรมสำหรับการประมวลผลภาพกระทำบนซอฟต์แวร์ MATLAB. งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองอิเล็กโทรโรเทชันกับเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติจำนวน 50 เซลล์ และเซลล์เม็ดเลือดแดงเพาะติดเชื้อมาลาเรียจำนวน 100 เซลล์. อิเล็กโทรดที่ใช้เป็นอิเล็กโทรดแบบ 4 ขั้ว. สัญญาณแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการทดลองมีขนาด 1.5 – 3 Vp ความถี่ 10 kHz – 5 MHz. ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ขนาดของแรงดันไฟฟ้ามีผลต่ออัตราการหมุนของเซลล์ โดยที่อัตราเร็วการหมุนของเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติมากกว่าเซลล์ติดเชื้อมาลาเรีย. ความถี่การหมุนสูงสุดและความถี่ตัดข้ามที่ได้จากอัตราเร็วการหมุน ถูกนำไปใช้วิเคราะห์หาค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า. ผลการวิเคราะห์แสดงว่า เซลล์ปกติมีค่าความเก็บประจุไฟฟ้าเยื่อหุ้มเซลล์สูงกว่าเซลล์ติดเชื้อ แต่ค่าสภาพนำไฟฟ้าภายในเซลล์ของเซลล์ปกติต่ำกว่าเซลล์ติดเชื้อ. นอกจากนี้ อิเล็กโทรดขั้วสลับ 2 ชุด ถูกนำมาใช้ทดลองเพื่อเพิ่มปริมาณงานในการทดลอง. ผลการทดลองพบว่าสามารถเพิ่มปริมาณงานการทดลองได้ด้วยอิเล็กโทรดขั้วสลับ. อย่างไรก็ตาม การประกอบชิ้นงานทำได้ยากและใช้เวลานานกว่าอิเล็กโทรดแบบ 4 ขั้ว.


การศึกษาจลนศาสตร์ไฟฟ้าของหยดน้ำในฉนวนเหลวภายใต้สนามไฟฟ้า, วิกานดา นันทนาวุฒิ Jan 2022

การศึกษาจลนศาสตร์ไฟฟ้าของหยดน้ำในฉนวนเหลวภายใต้สนามไฟฟ้า, วิกานดา นันทนาวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาจลนศาสตร์ไฟฟ้าของหยดน้ำที่อยู่ในฉนวนเหลว ได้แก่ การเสียรูปร่าง การเคลื่อนที่ การรวมตัว และการแยกตัว ด้วยการทดลองและการจำลองเชิงตัวเลขเพื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อจลนศาสตร์ไฟฟ้าของหยดน้ำ. รูปแบบแรกที่ศึกษา คือ หยดน้ำอยู่บนอิเล็กโทรดโดยมีตัวกลางเป็นน้ำมันแร่และน้ำมันทานตะวัน. ผลการทดลองพบว่าการเสียรูปของหยดน้ำเพิ่มขึ้นตามสนามไฟฟ้า. การเสียรูปของหยดน้ำในน้ำมันทานตะวันมีค่าสูงกว่าเนื่องจากคุณสมบัติสภาพยอมสัมพัทธ์ที่สูงและความตึงผิวที่ต่ำของน้ำมัน. เมื่อสนามไฟฟ้าสูงถึงค่าวิกฤต การแยกตัวเกิดขึ้นที่บริเวณปลายแหลมของหยด. การจำลองสามารถแสดงการเสียรูปของหยดน้ำได้แม่นยำและทำนายค่าสนามไฟฟ้าวิกฤตได้. รูปแบบที่สอง คือ การรวมตัวของหยดในน้ำมันแร่และน้ำมันซิลิโคนกับผิวน้ำด้านล่าง. ผลการทดลองพบว่าประจุเพิ่มแรงไฟฟ้าที่กระทำกับหยดน้ำ ช่วยให้ประสิทธิภาพของกระบวนการเชื่อมรวมเพิ่มขึ้นในแง่ของเวลา. อย่างไรก็ตาม หยดน้ำที่มีประจุรวมตัวเพียงบางส่วนที่สนามไฟฟ้าต่ำกว่ากรณีที่ไม่มีประจุ. เมื่อสนามไฟฟ้าสูง หยดน้ำที่มีประจุในน้ำมันแร่ไม่รวมตัวกับผิวน้ำ หรือแตกตัวในระหว่างการเคลื่อนที่. พฤติกรรมดังกล่าวไม่เกิดขึ้นในน้ำมันซิลิโคน เนื่องจากความตึงผิวของน้ำมันมีค่าสูง ช่วยให้หยดน้ำรวมตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ. การจำลองสามารถแสดงการเสียรูปของหยดน้ำที่มีและไม่มีประจุก่อนการรวมตัวได้ใกล้เคียงกับผลการทดลอง รวมทั้งแสดงการรวมตัวรูปแบบสมบูรณ์ของหยดน้ำได้. แม้ว่าการจำลองไม่สามารถแสดงพฤติกรรมอื่นเมื่อสนามไฟฟ้ามีค่าสูง เช่น การแยกตัวของหยดน้ำทุติยภูมิ การไม่รวมตัว หรือ การแตกตัว แต่ผลการจำลองแสดงให้เห็นว่าหยดน้ำในน้ำมันซิลิโคนมีเสถียรภาพดีกว่า ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับการทดลอง.


การทำนายค่าฝุ่น Pm2.5 ทั้งในเชิงแผนที่และเชิงเวลาด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก, ณัฏฐ์ ศิริสัมพันธ์ Jan 2022

การทำนายค่าฝุ่น Pm2.5 ทั้งในเชิงแผนที่และเชิงเวลาด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก, ณัฏฐ์ ศิริสัมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

PM2.5 เป็นอนุภาคขนาดเล็กที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศไทย การหายใจนำฝุ่น PM2.5 เข้าไปสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคทางเดินหายใจและโรคหัวใจเสื่อมสภาพ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร งานวิจัยนี้เสนอแบบจำลองที่ใช้การเรียนรู้เชิงลึกเพื่อทำนายค่าฝุ่น PM2.5 ในระดับประเทศซึ่งเป็นการทำนายทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา โดยแบบจำลองที่นำเสนอมีชื่อว่า SimVP-CFLL-ML มีพื้นฐานมาจากแบบจำลองการทำนายวิดีโอที่เรียกว่า "SimVP" และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำนายค่าฝุ่น PM2.5 ในช่วงที่มีค่าฝุ่นสูง SimVP ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมสองประการ คือ 1.Cross-Feature Learning Layer (CFLL) ซึ่งใช้ 1x1 convolution layer เพื่อเรียนรู้ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะและ 2.Masking Layer (ML) ซึ่งใช้สำหรับคำนวณค่าลอสเฉพาะส่วนที่สำคัญที่ต้องการทำนาย โดยในที่นี้คือส่วนที่เป็นประเทศไทย การทดลองดำเนินการโดยใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากกรมควบคุมมลพิษของประเทศไทยและโครงการ Sensor For All (SFA) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองของเราเหนือกว่าแบบจำลองพื้นฐานทั้งหมด โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการจำแนกช่วงที่ค่าฝุ่นมีค่าสูง แบบจำลองของเราได้ผลลัพธ์ค่าคะแนน F1 สูงกว่าแบบจำลองพื้นฐานที่ดีที่สุดถึง 3.51%


ระบบสนับสนุนการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลลำดับซ้ำเรียงต่อเนื่องแบบสั้นสำหรับนิติวิทยาศาสตร์, ณัฏฐชัย กุลธรรมนิตย์ Jan 2022

ระบบสนับสนุนการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลลำดับซ้ำเรียงต่อเนื่องแบบสั้นสำหรับนิติวิทยาศาสตร์, ณัฏฐชัย กุลธรรมนิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลำดับซ้ำเรียงต่อเนื่องแบบสั้น (Short Tandem Repeat) หรือเอสทีอาร์ (STR) เป็นลำดับที่ซ้ำกันเป็นชุด ๆ ที่พบได้ในจีโนม (Genome) ของมนุษย์และมีประโยชน์มากในนิติวิทยาศาสตร์ เช่น การยืนยันตัวบุคคล การหาความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เทคโนโลยีการลำดับเบสยุคใหม่ (Next-Generaton Sequencing: NGS) เช่น ForenSeq Signature Prep สามารถหาลำดับ STRs และให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโครงสร้างประชากรได้ ถึงแม้ว่าเอสทีอาร์ที่ได้จากเทคโนโลยีนี้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ไม่มีแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สใดที่รวมการจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูลของเอสทีอาร์ไว้ในแพลตฟอร์มเดียว ผู้ใช้งานอาจต้องใช้หลายโปรแกรมในการวิเคราะห์ข้อมูลเอสทีอาร์ จากนั้นรวบรวมผลลัพธ์ลงในฐานข้อมูลแยกหรือโฟลเดอร์ระบบไฟล์ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ระบบที่นำเสนอ STRategy เป็นเว็บแอพพลิเคชันที่มีระบบการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเอสทีอาร์ โดย STRategy อนุญาตให้ผู้ใช้งานเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูลหลังจากนั้นระบบจะวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ ระบบนี้ถูกออกแบบให้ใช้ในองค์กรหรือห้องปฏิบัติการ จึงมีระบบการกำหนดสิทธิผู้ใช้ระบบตามบทบาท (Role Based Access Control) เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลตามสิทธิของแต่ละบุคคลเท่านั้น ระบบถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสูง และได้ปฏิบัติตามแนวคิดสถาปัตยกรรม 3-เลเยอร์ หลักการออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ รวมถึงมีการใช้แบบรูป (Design patterns) ต่าง ๆ เพื่อรองรับการเพิ่มโมดูลการวิเคราะห์และโมดูลการแสดงผล รวมถึงการพัฒนาต่อยอดได้ง่ายในอนาคต


การใช้รถโดยสารประจำทางเป็นโหนดที่ขอบในเครือข่ายยานพาหนะ, ณัฐนนท์ มานพ Jan 2022

การใช้รถโดยสารประจำทางเป็นโหนดที่ขอบในเครือข่ายยานพาหนะ, ณัฐนนท์ มานพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเติบโตของเครือข่ายไร้สายแบบแอดฮอกบนยานพาหนะได้ทำให้เกิดการพัฒนาแอปพลิเคชันบนยานพาหนะต่าง ๆ มากมาย เพื่อตอบรับสนองต่อการเติบโตนี้โครงร่างระบบการคำนวณแบบขอบบนยานพาหนะจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งเน้นไปที่การติดตั้งโหนดที่ขอบที่มักติดตั้งที่สถานีรับส่งสัญญาณข้างทาง อย่างไรก็ตามการติดตั้งสถานีในพื้นที่ขนาดใหญ่ต้องพิจารณาให้ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการมากที่สุด งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอโครงร่างระบบใหม่ชื่อว่า Buses as an Infrastructure ซึ่งได้มีการใช้งานให้รถโดยสารประจำทางเป็นโหนดที่ขอบในการให้บริการทรัพยากรในการคำนวณและบริการอื่น ๆ แก่ผู้ใช้งาน โดยงานวิจัยนี้ได้มีการใช้ข้อได้เปรียบของระบบขนส่งสาธารณะที่มีอยู่แล้วเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโหนดที่ขอบแบบดั้งเดิม อีกทั้งงานวิจัยนี้ยังได้เสนอฮิวริสติกอัลกอรึทึมสำหรับการคำนวณหาการติดตั้งโหนดที่ขอบบนรถโดยสารประจำทางโดยให้ลำดับความสำคัญแก่จำนวนงานที่เกิดขึ้นคู่กับการใช้เทคนิคการเลือก N ลำดับสูงสุด โดยได้ทำการทดลองบนสภาพแวดล้อมจำลองและบนชุดข้อมูลจริง ผลการทดลองเมื่อเทียบกับรูปแบบที่โหนดที่ขอบติดตั้งอยู่กับสถานีรับส่งสัญญาณข้างทางแสดงให้เห็นว่าฮิวริสติกอัลกอรึทึมที่นำเสนอสามารถให้จำนวนยานพาหนะที่โหนดที่ขอบสามารถให้บริการได้สูงขึ้นกว่า 6.08% - 52.20% และสามารถให้จำนวนยานพาหนะที่โหนดที่ขอบสามารถให้บริการได้สูงขึ้น 15.23% เมื่อเทียบกับรูปแบบที่โหนดที่ขอบติดตั้งอยู่กับสถานีรับส่งสัญญาณข้างทางบนสภาพแวดล้อมจำลองและให้ผลรวมของระยะเวลาที่ติดต่อสื่อสารกันได้สูงขึ้น 54.24% เมื่อเทียบกับรูปแบบที่โหนดที่ขอบติดตั้งอยู่กับสถานีรับส่งสัญญาณข้างทางบนชุดข้อมูลจริง


เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการรู้จำภาพวัสดุกระเป๋าถือแบรนด์เนมปลอม, พศสรัล อภิปวินท์วงศา Jan 2022

เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการรู้จำภาพวัสดุกระเป๋าถือแบรนด์เนมปลอม, พศสรัล อภิปวินท์วงศา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปลอมแปลงสินค้าด้านแฟชั่นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกับกระเป๋าแบรนด์หรู เนื่องจากมีความยากลำบากต่อการตรวจสอบความแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการตรวจสอบสินค้ามือสองที่เคยผ่านการใช้งานมาแล้ว ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการตรวจสอบกระเป๋าของแท้และของปลอมทั้งในผู้ซื้อและผู้ขายโดยเฉพาะในช่วงล็อคดาวน์ระหว่างเหตุการณ์โรคระบาด Covid-19 ที่จำกัดการเดินทาง งานวิจัยนี้เสนอการประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกโครงข่ายปราสาทคอนโวลูชัน เพื่อจำแนกภาพในระดับพิกเซล ร่วมกับการนำการสกัดคุณลักษณะสำคัญพื้นผิวแบบ LBP มาพัฒนาการเรียนรู้ของแบบจำลอง โดยใช้แบบจำลองวีจีจี 16 และ เดนซ์เน็ต121 โดยใช้ stratified 5-Fold cross validation เพื่อประเมินแบบจำลอง ซึ่งการเปรียบเทียบผลการทดลองของการใช้แบบจำลองพื้นฐาน และการใช้แบบจำลองพื้นฐานร่วมกับการสกัดคุณลักษณะสำคัญแบบ LBP ทั้งนี้แบบจำลอง โครงข่ายปราสาทแบบเดนซ์เน็ต121 ร่วมกับการสกัดคุณลักษณะสำคัญแบบ LBP ให้ค่าความแม่นยำสูงสุดที่ 95% จากการจำแนกภาพกระเป๋าของแท้ ของปลอม และวัสดุอื่น เป็นการจำแนกรูปภาพแบบหลายประเภท และเมื่อนำการสกัดคุณลักษณะแบบ LBP ร่วมกับแบบจำลองทำให้ค่าความแม่นยำการทำนายผลลัพธ์ที่สูงขึ้น


ไวยากรณ์ไฮเพอร์แมพสำหรับแมพเชิงต้นไม้อันดับเคเชิงระนาบ, วรวุฒิ โคเมฆารัตน์ Jan 2022

ไวยากรณ์ไฮเพอร์แมพสำหรับแมพเชิงต้นไม้อันดับเคเชิงระนาบ, วรวุฒิ โคเมฆารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ต่างเผชิญกับปัญหาที่มีโครงสร้างซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และต้องการเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่ออธิบายปัญหาเหล่านี้ แม้กราฟจะเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้แสดงระบบที่ซับซ้อน แต่ก็ยังขาดส่วนประกอบบางอย่างที่สำคัญต่อการรับรู้ความซับซ้อนของวัตถุทางเรขาคณิต ซึ่งสามารถแสดงแทนได้ด้วยแมพและไฮเพอร์แมพ เนื่องจากมีองค์ประกอบหลักที่เรียกว่า หน้า เพิ่มเติมจากส่วนประกอบพื้นฐานอื่น ๆ ในกราฟ จึงเป็นเครื่องมือที่ครอบคลุมและยืดหยุ่นยิ่งขึ้นในการแสดงและวิเคราะห์โครงสร้างเชิงเรขาคณิต งานวิจัยนี้จะเสนอแนวทางใหม่ในการผลิตแมพโดยใช้ไวยากรณ์ไฮเพอร์แมพ โดยปรับการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไฮเพอร์แมพให้นิยามบนจุดยอดและหน้า แทนวิธีการเดิมซึ่งนิยามบนจุดยอดและเส้นเชื่อม เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการควบคุมและจัดการเกี่ยวกับหน้าของไฮเพอร์แมพ เนื่องจากหน้ามีบทบาทสำคัญในการนิยามไฮเพอร์แมพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของแมพเชิงระนาบ ไวยากรณ์ที่นำเสนอในงานนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำความเข้าใจและตรวจจับโครงสร้างย่อยของไฮเพอร์แมพ โดยยกตัวอย่างการสร้างแมพเชิงระนาบของกราฟเชิงต้นไม้อันดับเค (เมื่อเคเป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าไม่เกินสาม) โดยใช้ไวยากรณ์ไฮเพอร์แมพที่มีเพียงกฎการผลิตเดียว ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำไวยากรณ์ที่นำเสนอในงานนี้ไปใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาคุณสมบติและโครงสร้างของแมพเชิงระนาบ รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในสายงานต่าง ๆ เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์ ทอพอโลยี และทฤษฎีกราฟ


การเปรียบเทียบการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมด้วยภาพซ้อนทับ Pet-T1 และ Pet-Dti, ปรเมษฐ์ วงษา Jan 2022

การเปรียบเทียบการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมด้วยภาพซ้อนทับ Pet-T1 และ Pet-Dti, ปรเมษฐ์ วงษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อสร้างแม่แบบภาพเพทมาตรฐานบริเวณสมองขึ้นมาใหม่ และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกระบวนการซ้อนทับภาพเพทระหว่างแม่แบบภาพเพทบริเวณสมองที่สร้างขึ้นกับแม่ภาพเพทบริเวณสมองแบบเดิมที่มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน แม่แบบภาพเพทมาตรฐานบริเวณสมองสร้างขึ้นมาจากภาพเพท กับภาพเอ็มอาร์ไอแบบ DTI จากข้อมูลภาพถ่ายทางรังสีจากกลุ่มอาสาสมัครที่มีภาวะความจำปกติ จำนวน 24 คน อายุระหว่าง 42-79 ปี ซึ่งกลุ่มอาสาสมัครดังกล่าวจะต้องทำการถ่ายเพทบริเวณสมองที่มีการฉีดสารเภสัชรังสี 11C-PIB เข้าไปในร่างกาย และทำการถ่ายภาพเอ็มอาร์ไอบริเวณสมองด้วยเทคนิค T1 และเทคนิค DTI จากนั้นทำการแก้ไขค่ากระแสไฟฟ้ารบกวน การกำจัดคลื่นสัญญาณรบกวน และการสร้างแผนที่โดยวิธี Whole-brain probabilistic tractography จากภาพถ่ายเอ็มอาร์ไอเทคนิค DTI โดยแผนที่ดังกล่าวที่ถูกสร้างขึ้นมาจะถูกนำไปใช้ในขั้นตอนการซ้อนทับ และขั้นตอนการ Normalize กับภาพเพทเพื่อช่วยในการกำหนดขอบเขตภายในบริเวณเนื้อสมอง หลังจากนั้นทำการประเมินความถูกต้องของการซ้อนทับของภาพแม่แบบภาพเพทมาตรฐาน โดยการประเมินการซ้อนทับกับภาพเพทในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมในระยะเริ่มต้นที่เข้ารับการถ่ายภาพเพทบริเวณสมองด้วยการตรวจแบบเดียวกัน จากนั้นทำการประเมินและให้คะแนนความถูกต้องในการซ้อนทับของภาพเพทกับแม่แบบภาพเพทมาตรฐานบริเวณสมองโดยรังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์จำนวน 3 คน ด้วยวิธีการแบบปกปิดข้อมูล แล้วทำการเปรียบเทียบค่าคะแนนดังกล่าวโดยใช้การทดสอบทางสถิติแบบ Wilcoxon Signed Ranks test การประเมินความสอดคล้องภายในโดยใช้สถิติ Fleiss Kappa test และสถิติ Cohen’s weighted Kappa test ผ่านโปรแกรม SPSS ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 นอกจากนี้ในงานวิจัยได้ทำการหาค่า Dice similarly coefficient เพิ่มเติม เพื่อเปรียบเทียบความถูกต้องของการซ้อนทับดังกล่าว ผลการศึกษาวิจัยพบว่าคะแนนประเมินความถูกต้องในการซ้อนทับของภาพเพทกับแม่แบบมาตรฐานภาพเพทบริเวณสมองที่สร้างขึ้นด้วยวิธีการใหม่มีค่าสูงกว่าแม่แบบมาตรฐานภาพเพทบริเวณสมองที่สร้างขึ้นด้วยวิธีการเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับค่า Dice similarly coefficient ที่พบว่ามีค่าสูงสุดในแม่แบบมาตรฐานภาพเพทบริเวณสมองที่สร้างขึ้นด้วยวิธีการใหม่ อย่างไรก็ตามพบว่าผลการประเมินค่าความสอดคล้องภายในอยู่ในระดับสอดคล้องกันแบบเล็กน้อย ซึ่งจากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวสรุปได้ว่า แม่แบบมาตรฐานภาพเพทบริเวณสมองที่สร้างขึ้นมาใหม่โดยใช้ภาพเอ็มอาร์ไอเทคนิค DTI มาร่วมด้วย มีการซ้อนทับของภาพที่ดีกว่าเดิมและเหมาะสมในการที่จะนำไปใช้ในการช่วยวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีสภาวะโรคสมองเสื่อม


การพัฒนาระบบฝึกเดินพร้อมการประเมินผลการเดินด้วยอุปกรณ์ไลดาร์, ศุภรักษ์ ศักดารักษ์ Jan 2022

การพัฒนาระบบฝึกเดินพร้อมการประเมินผลการเดินด้วยอุปกรณ์ไลดาร์, ศุภรักษ์ ศักดารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ฝึกเดินที่มีการนำอุปกรณ์วัดระยะทางด้วยแสง หรือ อุปกรณ์ไลดาร์ มาประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลการเดิน และนำข้อมูลการเดินที่อุปกรณ์ไลดาร์เก็บได้ มาทำการประมวลผลเป็นตัวแปรการเดินต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำโดยไม่จำเป็นต้องทำการปรับเทียบทุกครั้งก่อนใช้งาน และ ไม่จำเป็นต้องติดวัตถุลงบนร่างกายของผู้ใช้งานก็สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างแม่นยำ โดยในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการทดสอบความถูกต้องและความแม่นยำในการเก็บข้อมูลโดยเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ถ่ายภาพความเคลื่อนไหวทางคลินิก โดยจากการทดสอบพบว่า จากความคลาดเคลื่อนในการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงระยะทาง และ ความคลาดเคลื่อนในการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงเวลา ที่ต่ำกว่า 10% โดยสรุป จากการทดสอบกับระบบเก็บข้อมูลการเดินมาตรฐานทางการแพทย์ มีความเป็นไปได้ที่จะนำอุปกรณ์ฝึกเดินพร้อมระบบวัดระยะทางด้วยแสงที่พัฒนาขึ้นนี้ มาใช้งานในการเก็บข้อมูลการเดินจริงได้ ซึ่งระบบฝึกเดินที่พัฒนาขึ้นนี้ จะมีประโยชน์ในการกายภาพบำบัดและการฟื้นฟูร่างกายแบบทางไกล


การประยุกต์ใช้คิวซีเอ็มเซนเซอร์ในการวิเคราะห์อันตรกิริยาเพื่อการตรวจวัด Aggregatibacter Actinomycetemcomitans, สาธิต รอดภักดีกุล Jan 2022

การประยุกต์ใช้คิวซีเอ็มเซนเซอร์ในการวิเคราะห์อันตรกิริยาเพื่อการตรวจวัด Aggregatibacter Actinomycetemcomitans, สาธิต รอดภักดีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ไบโอเซนเซอร์ชนิดควอตซ์คริสตัลไมโครบาลานซ์ (quartz crystal microbalance, QCM) ในการวิเคราะห์อันตรกิริยาระหว่างแบคทีเรียก่อโรคปริทันต์ชนิด Aggregatibacter actinomycetemcomitans กับโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่จำเพาะเพื่อการตรวจวัดแบคทีเรียก่อโรคปริทันต์ ไบโอเซนเซอร์สำหรับการตรวจวัดถูกสร้างขึ้นโดยใช้คิวซีเอ็มเซนเซอร์ ชนิด 30 เมกะเฮิรตซ์ ที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวอิเล็กโทรดทองด้วย 11-mercaptoundecanoic acid (11-MUA) และได้ประเมินความหนาแน่นการเรียงตัวของชั้น 11-MUA ด้วยเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมตรี จากนั้นทำการตรึงโมโนโคลนอลแอนติบอดีชนิด Anti-A. actinomycetemcomitans กับ 11-MUA โดยใช้ 1-ethyl-3-(3-dimethylaminopropyl) carbodiimide/N-hydroxysuccinimide (EDC/NHS) เพื่อใช้แอนติบอดีทำหน้าที่เป็นสารรู้จำทางชีวภาพ (biorecognition element) สำหรับการตรวจวัด A. actinomycetemcomitans การวิเคราะห์อันตรกิริยาระหว่างแบคทีเรียกับแอนติบอดีชนิด anti-A. actinomycetemcomitans ทำด้วยกัน 4 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 ใช้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงความถี่ (∆F) ซึ่งผลการศึกษาบ่งชี้ว่าสามารถใช้ข้อมูล ∆F ในการจำแนกความสามารถในการจับกันระหว่างแอนติบอดีและเซลล์แบคทีเรียชนิดต่าง ๆ ได้ โดยคู่แอนติบอดีและเซลล์แบคทีเรียที่มีความจำเพาะต่อกันมีรูปแบบ ∆F ที่แสดงให้เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของ ∆F ที่ขึ้นกับความเข้มข้น รูปแบบที่ 2 ใช้ค่าอนุพันธ์อันดับหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงความถี่ (dF/dT) ซึ่งผลการศึกษาบ่งชี้ว่าสามารถใช้วิธีนี้จำแนกความจำเพาะของแอนติบอดีชนิด Anti-A. actinomycetemcomitans กับแบคทีเรียต่างชนิดได้ โดยเมื่อเกิดการจับกันระหว่างแอนติบอดีและเซลล์ที่มีความจำเพาะกัน ค่า dF/dT จะเปลี่ยนแปลงเป็นลบ และค่า dF/dT แสดงให้เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบที่ขึ้นกับความเข้มข้นเช่นเดียวกับข้อมูล ∆F รูปแบบที่ 3 ใช้ข้อมูลเวลาการตอบสนอง (τ) ซึ่งผลการศึกษาบ่งชี้ว่าการจับกันระหว่างแอนติบอดีกับเซลล์ A. actinomycetemcomitans ที่ความเข้มข้นสูงสุด (1.16 × 108 เซลล์/มิลลิลิตร) ให้ค่า τ เฉลี่ยเพียง 143 วินาที ทำให้ทราบผลลัพธ์ของการจับกันระหว่างแอนติบอดีกับเซลล์ A. actinomycetemcomitans รวดเร็วกว่าการติดตามจากข้อมูล ∆F ถึง 3 เท่า รูปแบบที่ 4 ใช้ข้อมูลความชันของการตอบสนอง …


การแปลงกระแสงานยอว์ลที่มีข้อจำกัดช่วงเวลาไปเป็นไทมด์ออโตมาตา, ณรงค์กร วงศ์สิทธิไพฑูรย์ Jan 2022

การแปลงกระแสงานยอว์ลที่มีข้อจำกัดช่วงเวลาไปเป็นไทมด์ออโตมาตา, ณรงค์กร วงศ์สิทธิไพฑูรย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระแสงานยอว์ลเป็นหนึ่งในกระแสงานทางธุรกิจที่ทันสมัย กระแสงานยอว์ลให้การแสดงเป็นภาพขั้นตอนกระแสงานของงานทางธุรกิจที่เข้าใจง่าย สามารถกำหนดเวลาการทำงานของงานภายในกระแสงานยอว์ลได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะเน้นให้นำกระแสงานยอว์ลทั่วไปมาเพิ่มขีดความสามารถโดยการเพิ่มข้อจำกัดแบบช่วงเวลาให้กับแต่ละสัญลักษณ์งานในกระแสงานยอว์ล ผ่านค่าเฉลี่ยของข้อจำกัดของช่วงเวลาในรูปของขอบเขตล่าง และขอบเขตบนของเวลาที่สามารถเสร็จสิ้นการทำงานถูกกำหนดให้กับงานทางธุรกิจแต่ละงานในกระแสงานเพื่อรับมือกับปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นของประสิทธิภาพด้านเวลาในกระแสงานกระบวนการทางธุรกิจ ในการจำลองพฤติกรรมของกระแสงานยอว์ลที่มีข้อจำกัดช่วงเวลาจะถูกแปลงเป็นออโตมาตาที่กำหนดเวลาไว้ที่สอดคล้องกัน และจำลองโดยใช้เครื่องมือ UPPAAL วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีการเสนอชุดของกฎการแปลงเพื่อเป็นแนวทางในการแปลงของสัญลักษณ์ยอว์ลข้อจำกัดของช่วงเวลาให้อยู่ในรูปแบบของไทมด์ออโตมาตา และเสนอเว็บแอปพลิเคชันในการแปลงกระแสงานยอว์ลที่มีข้อจำกัดช่วงเวลาเป็นออโตมาตา โดยผลลัพธ์ที่เป็นไทมด์ออโตมาตาจะถูกแปลงอย่างถูกต้อง และจำลองโดยใช้เครื่องมือจำลอง UPPAAL


แบบจำลองคุณภาพซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซเพื่อการวัดคุณภาพอย่างอัตโนมัติ, อัรกอม มะแดเฮาะ Jan 2022

แบบจำลองคุณภาพซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซเพื่อการวัดคุณภาพอย่างอัตโนมัติ, อัรกอม มะแดเฮาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันได้มีการนำเสนอแบบจำลองคุณภาพซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซหลายแบบจำลองเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ แต่แบบจำลองเหล่านั้นมีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นการประเมินตามความคิดส่วนตัวซึ่งต้องอาศัยผู้ใช้ในการประเมิน และแบบจำลองดังกล่าวต้องการข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง เพื่อเสริมการประเมินคุณภาพซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่เป็นอยู่ให้ทำได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์นี้จึงได้นำเสนอแบบจำลองคุณภาพซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซใหม่ที่ชื่อว่าโอเอสเอส-เอคิวเอ็ม โดยมีเป้าหมายเพื่อการวัดคุณภาพซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซอย่างอัตโนมัติ แบบจำลองโอเอสเอส-เอคิวเอ็มได้นำเสนอตัววัดคุณภาพและเครื่องมืออัตโนมัติที่สามารถดึงข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซจากกิตฮับ ซอร์ซโค้ด โซนาร์คิวบ์ และสแต็กเอกซ์เชนจ์ ทำให้สามารถกำหนดคะแนนคุณภาพของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ โอเอสเอส-เอคิวเอ็มได้รับการตรวจสอบจากวิศวกรซอฟต์แวร์ที่มีประสบการณ์ในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ นอกจากนี้การจัดลำดับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซโดยเครื่องมือโอเอสเอส-เอคิวเอ็มยังถูกนำไปเปรียบเทียบกับการจัดลำดับด้วยวิธีอื่น และพบว่าการจัดลำดับของโอเอสเอส-เอคิวเอ็มมีสหสัมพันธ์ระดับต่ำมากถึงปานกลางในทิศทางตรงกันข้ามกับวิธีจัดลำดับอื่น ๆ ตามความคิดเห็นและความนิยมของผู้ใช้ และมีสหสัมพันธ์ระดับปานกลางในทิศทางเดียวกันกับวิธีการจัดลำดับอื่นที่เน้นการตรวจสอบความมั่นคงที่ซอฟต์แวร์โดยตรง ทั้งนี้เนื่องจากโอเอสเอส-เอคิวเอ็มครอบคลุมปัจจัยคุณภาพหลายอย่างที่ไม่ได้ถูกพิจารณาโดยวิธีการจัดลำดับอื่น ๆ ดังกล่าว โอเอสเอส-เอคิวเอ็มจึงให้ข้อมูลด้านคุณภาพของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซในเชิงลึกที่ดีกว่า


การวิเคราะห์รูปแบบการสัญจรด้วยเท้าของธุรกิจในเขตวัฒนาในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19, ญาณิศา นวลอนันต์ Jan 2022

การวิเคราะห์รูปแบบการสัญจรด้วยเท้าของธุรกิจในเขตวัฒนาในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19, ญาณิศา นวลอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปีค.ศ.2020 - 2022 ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมากจากโควิด-19 การประกาศใช้มาตรการเพื่อควบคุมสถานะการณ์แพร่ระบาดส่งผลให้หลายธุรกิจขาดทุนสะสมและปิดกิจการลง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ข้อมูลการสัญจรด้วยเท้าที่ใช้ในงานวิจัยนี้ได้จากการติดตามโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบนิรนามร่วมกับระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบธุรกิจในเขตวัฒนา จังหวัดกรุงเทพฯ โดยเป้าหมายของงานวิจัย คือ ศึกษาและเปรียบเทียบประเภทธุรกิจด้วยรูปแบบการสัญจรด้วยเท้า ซึ่งจัดกลุ่มขนาดสถานที่ตามจำนวนการสัญจรด้วยเท้าเฉลี่ยต่อวันแล้วเปรียบเทียบด้วยเงื่อนไขความแตกต่างระหว่างอัตราส่วนค่าเฉลี่ยการสัญจรด้วยเท้าของกลุ่มและสถานที่ อีกทั้งข้อมูลการสัญจรด้วยเท้าสามารถวิเคราะห์ผลกระทบประกาศมาตรการจากรัฐบาล และการฟื้นตัวธุรกิจโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างปริมาณการสัญจรด้วยเท้าด้วยสถิติทดสอบ Friedman และ Wilcoxon Signed-Rank จากงานวิจัยนี้พบว่าธุรกิจแต่ละประเภทมีรูปแบบการสัญจรด้วยเท้าค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์และสัมพันธ์กับจำนวนการสัญจรด้วยเท้าเฉลี่ยต่อวัน ผลการเปรียบเทียบสถานที่ตัวอย่างที่ผ่านเงื่อนไข/สถานที่ตัวอย่างทั้งหมดของธุรกิจบาร์และสถานบันเทิง 130/204, ธุรกิจศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาล 143/204, ธุรกิจอาคารสำนักงาน 199/282, ธุรกิจร้านอาหาร 304/480 และธุรกิจร้านค้าปลีกและห้างสรรพสินค้า 145/180 การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน), เคอร์ฟิว และห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย ส่งผลให้จำนวนการสัญจรด้วยเท้าลดลงและคงที่อยู่ในระดับต่ำที่สุดในช่วงระยะเวลาที่ศึกษา การสั่งปิดธุรกิจบาร์และสถานบันเทิงครั้งที่2 ใช้เวลาสองเดือนเพื่อควบคุมจำนวนการสัญจรด้วยเท้าให้อยู่ในระดับต่ำซึ่งระหว่างที่ประกาศใช้มีบางช่วงเวลาที่จำนวนการสัญจรด้วยเท้าเพิ่มขึ้นสวนทางกับจุดประสงค์ของมาตรการ และจากสถิติทดสอบพบว่าในเดือนตุลาคม ค.ศ.2022 ไม่มีธุรกิจประเภทใดฟื้นตัวเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการระบาดโควิด-19


การติดตามการทรุดตัวของแผ่นดินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ช่วงปี ค.ศ. 2018 – 2022 ด้วยเทคนิคอินซาร์แบบอนุกรมเวลา โดยใช้ซอฟต์แวร์ Mintpy, ณัฏฐริณีย์ เอี้ยวรัตนวดี Jan 2022

การติดตามการทรุดตัวของแผ่นดินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ช่วงปี ค.ศ. 2018 – 2022 ด้วยเทคนิคอินซาร์แบบอนุกรมเวลา โดยใช้ซอฟต์แวร์ Mintpy, ณัฏฐริณีย์ เอี้ยวรัตนวดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการตรวจวัดและติดตามการทรุดตัวของแผ่นดินด้วยการประมวลผลเทคนิคอินซาร์แบบอนุกรมเวลา วิธี Small Baseline บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประมวลผลผ่านซอฟต์แวร์ MintPy โดยใช้ชุดข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-1 ซึ่งเป็นข้อมูลในวงโคจรขาขึ้น ช่วงปี ค.ศ. 2017 – 2022 และชุดข้อมูลในวงโคจรขาลง ช่วงปี ค.ศ. 2018 – 2022 ผลการวิจัยตรวจพบค่าอัตราการเคลื่อนตัวอยู่ในช่วงน้อยกว่า -30 ถึงมากกว่า 10 มม./ปี โดยในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีค่าอัตราการทรุดตัวค่อนข้างคงที่ ส่วนปริมณฑลตรวจพบในบางพื้นที่ที่มีค่าอัตราการทรุดตัวสูงในช่วง 35 ถึง 40 มม./ปี เช่น บริเวณอำเภอบ้านแพ้วและอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอบางพลีและอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นต้น ในงานวิจัยได้มีการคัดเลือกพื้นที่ที่มีแนวโน้มการทรุดตัวสูงและหาระดับความสัมพันธ์ของผลลัพธ์ทั้งสองชุดด้วยค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ โดยมีค่าอยู่ในช่วง 0.6 – 0.9 หมายถึงข้อมูลมีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยยะสำคัญและมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้สามารถสนับสนุนได้ว่ามีการทรุดตัวเกิดขึ้นจริงและควรมีการติดตามการทรุดตัวของแผ่นดินต่อไป นอกเหนือจากนี้ผลลัพธ์การทดสอบทางสถิติ t-test ร่วมกับข้อมูลจากสถานีอ้างอิงค่าพิกัดแบบต่อเนื่องทั้งหมด 7 สถานี พบสถานีที่มีค่าอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินสอดคล้องกัน ในชุดวงโคจรขาขึ้น 4 สถานี ในชุดข้อมูลวงโคจรขาลง 2 สถานี และตรวจพบสถานีที่ข้อมูลไม่สอดคล้องกันแบ่งได้ 2 รูปแบบคือ ข้อมูลจากภาคสนามเร็วกว่าข้อมูลอินซาร์และข้อมูลจากภาคสนามช้ากว่าข้อมูลอินซาร์ อาจมีสาเหตุมาจากข้อมูลอินซาร์มีการบันทึกบนชั้นดินในขณะที่ข้อมูลภาคสนามมีการเก็บบนอาคารที่มีการวางโครงสร้างแข็งแรง ข้อมูลภาคสนามมีน้อยเกินไปรวมไปถึงข้อมูลอินซาร์มีการเฉลี่ยจุดผลลัพธ์การทรุดตัวบริเวณรอบมาด้วย


การประเมินประสิทธิภาพของการใช้สมาร์ทโฟนที่มีจีเอ็นเอสเอสแบบสองความถี่ในการคำนวณงานดินด้วยวิธีการรังวัดหาตำแหน่งแบบจลน์ในทันที, นันทพงศ์ ตันตระกูล Jan 2022

การประเมินประสิทธิภาพของการใช้สมาร์ทโฟนที่มีจีเอ็นเอสเอสแบบสองความถี่ในการคำนวณงานดินด้วยวิธีการรังวัดหาตำแหน่งแบบจลน์ในทันที, นันทพงศ์ ตันตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการหาปริมาณดินที่ใช้ในการถมที่ดินว่างเปล่ามีค่าใช้จ่ายสูงต้องมีทีมสำรวจอย่างน้อย 4 คนผู้แต่งจึงต้องการนำสมาร์ตโฟนแบบสองความถี่ที่จะสามารถหาตำแหน่งด้วยวิธีการหาตำแหน่งแบบจลน์ในทันทีด้วยวิธีตําแหน่งอ้างอิงเสมือนมาช่วยในการหาปริมาณดินโดยทำการทดสอบบนพื้นที่ขนาด 11,145 ตารางเมตรโดยจะนำไปเปรียบเทียบกับวิธีดั้งเดิมที่ใช้กล้องสำรวจโดยทำการลงพื้นที่สำรวจปักหมุดทดสอบ 21 หมุดแล้วนำสมาร์ตโฟนพร้อมอุปกรณ์ล๊อคตำแหน่งและค่าระดับไปรังวัดด้วยวิธีการหาตำแหน่งแบบจลน์ในทันทีด้วยวิธีตําแหน่งอ้างอิงเสมือนโดยเชื่อมต่อกับข้อมูลสถานีค่าอ้างอิงพิกัดแบบต่อเนื่องของกรมที่ดินในจุดทดสอบโดยรังวัดในเวลากลางคืนเก็บข้อมูลทุก 1 วินาทีเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 21 หมุดแล้วนำข้อมูลมาประมวลผลร่วมกับข้อมูลค่าแก้นาฬิกาดาวเทียม, วงโคจรดาวเทียม, ค่าแก้ชั้นบรรยากาศและค่าแก้เสาอากาศแล้วนำค่าพิกัดที่ได้ไปคำนวณปริมาณดินที่ใช้ในการถมโดยผลลัพธ์จากสมาร์ตโฟนแบบสองความถี่ได้ความถูกต้องที่ดีที่สุดทางราบ 4 cm ทางดิ่ง 8 cm โดยใช้เวลาในการลู่เข้ามากสุด 40 นาทีซึ่งเมื่อนำไปคำนวณปริมาณดินเปรียบเทียบกับวิธีเดิม ในทางสถิติจะมีปริมาณดินต่างกันไม่เกิน +-10% ทำให้สามารถสรุปได้ว่าการใช้สมาร์ตโฟนแบบสองความถี่สามารถนำมาใช้ในงานคำนวณปริมาณงานดินแทนวิธีการใช้กล้องสำรวจได้และมีค่าใช้จ่ายในการทำงานน้อยกว่าวิธีเดิมกว่า 5 เท่า


การประยุกต์ใช้แบบจำลองการแพร่กระจายฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (Pm2.5) จากภาคการจราจรบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ธรรมลักษณ์ รัตนวรชัย Jan 2022

การประยุกต์ใช้แบบจำลองการแพร่กระจายฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (Pm2.5) จากภาคการจราจรบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ธรรมลักษณ์ รัตนวรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไทยประสบปัญหาฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน (PM2.5) เกินค่ามาตรฐานในบรรยากาศมาเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชน ภาพลักษณ์และส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ในการใช้แบบจำลอง AERMOD ในการจำลองการแพร่กระจายของความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เพื่อศึกษาสภาวการณ์ของฝุ่นละออง PM2.5 ในปี พ.ศ.2561-2563 บริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดขอบเขตพื้นที่ 2.5 กิโลเมตร x 2.5 กิโลเมตร มีการนำเข้าข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษสู่แบบจำลองที่ประกอบไปด้วย แหล่งกำเนิด PM2.5 จากการจราจรที่แบ่งตามประเภทรถยนต์จากรายงานสถิติการจราจร ซึ่งมีทั้งข้อมูลการจราจรภาคพื้นดินและการจราจรบนทางพิเศษ การกำหนดความผันแปรปริมาณจราจรจำแนกตามประเภทยานพาหนะนั้นวิเคราะห์ข้อมูลจากวิดีโอกล้อง CCTV บริเวณถนนบรรทัดทองเป็นเวลา 7 วันตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ได้กำหนดปริมาณ PM2.5 ที่พัดพามาจากนอกพื้นที่ศึกษาที่เจาะจงตามข้อมูลทิศทางลมรายชั่วโมงและข้อมูลตรวจวัด PM2.5 จากสถานีในบริเวณต้นลม ผลที่ได้ในปี พ.ศ.2561-2563 พบว่าข้อมูลในปี พ.ศ.2563 มีความแม่นยำมากที่สุด โดยปี พ.ศ.2563 พบว่าที่ค่าสูงสุดความเข้มข้น PM­2.5 เฉลี่ย 1 ชั่วโมง (Hotspot) อยู่บริเวณแยกพงษ์พระราม ที่ความเข้มข้นเท่ากับ 343.68 µg/m3 ตามลำดับ โดยมีสัดส่วนของแหล่งกำเนิดมลพิษ (Source contribution) มาจากการจราจรภาคพื้น 7.68 µg/m3 (2.21%) จากทางพิเศษ 302.08 µg/m3 (87.90%) และจากการพัดพาของ PM2.5 นอกพื้นที่ศึกษา 34 µg/m3 (9.89%) และสัดส่วนของแหล่งกำเนิดมลพิษจากประเภทของยานพาหนะทั้ง 4 ประเภท พบว่ามาจากรถยนต์ประเภท Personal car 112.97 µg/m3 (32.87%) Light duty 3.64 µg/m3 (1.06%) Heavy duty 192.68 µg/m3 (56.07%) Other vehicle 0.39 µg/m3 (0.11%) …


ค่าจลนพลศาสตร์ของการบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นต่ำด้วยเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ, วีร์สุดา รับสิริ Jan 2022

ค่าจลนพลศาสตร์ของการบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นต่ำด้วยเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ, วีร์สุดา รับสิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการสร้างเม็ดตะกอนจุลินทรีย์ ประสิทธิภาพและอัตราการบำบัดซีโอดี และค่าจลนพลศาสตร์ของการบำบัดน้ำเสียด้วยเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้อากาศที่ความเข้มข้นซีโอดี 50-1000 มิลลิกรัมต่อลิตร เดินระบบในถังปฏิกิริยาเอสบีอาร์โดยมีน้ำตาลทรายเป็นแหล่งคาร์บอนที่ความเข้มข้นซีโอดีเริ่มต้นในระบบ 500 มิลลิกรัมซีโอดีต่อลิตร และแอมโมเนียมคลอไรด์เป็นแหล่งไนโตรเจนที่ความเข้มข้นแอมโมเนียมเท่ากับ 100 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร รอบการบำบัด 4 ชั่วโมง ความเร็วในการเติมอากาศ 3.5 เซนติเมตรต่อวินาที ระยะเวลาตกตะกอน 15 นาที และสัดส่วนทดแทนน้ำเสียร้อยละ 60 ผลการทดลองพบว่า หลังจากเดินระบบแล้ว 28 วัน เริ่มพบการก่อตัวของเม็ดตะกอนในระบบ หลังจากนั้นเปลี่ยนความเข้มข้นซีโอดีเริ่มต้น 1,000 500 250 100 และ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยคงสัดส่วน C:N เท่ากับ 10:1 โดยเดินระบบเช่นเดียวกับการสร้างเม็ดตะกอน พบว่าที่ความเข้มข้นซีโอดีที่สูงที่สุดของระบบ ขนาดเม็ดตะกอนที่พบในระบบจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ความเข้มข้นซีโอดีที่ต่ำ โดยขนาดเม็ดตะกอนที่ใหญ่ที่สุดมีขนาด 5 มิลลิเมตร ค่า MLSS เฉลี่ยเท่ากับ 19,195±5,089 7,699±2,619 7,160±945 3,553±1,259 และ 1,365±671 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ระบบเม็ดตะกอนดังกล่าวมีค่า SVI5 อยู่ระหว่าง 14-35 มิลลิลิตรต่อกรัม และค่า SVI30 อยู่ระหว่าง 12-24 มิลลิลิตรต่อกรัม ตลอดการทดลอง ความหนาแน่นของตะกอนที่ความเข้มข้นซีโอดี 50 100 และ 500 มิลลิกรัมต่อลิตร ใกล้เคียงกันอยู่ที่ 1.096-1.123 กรัมต่อมิลลิลิตร ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีทุกความเข้มข้นมีค่าเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 94 และจากการหาอัตราการบำบัดจำเพาะที่ความเข้มข้นซีโอดีต่างๆ พบว่าเป็นไปตามสมการของโมโนด์ (Monod’s Equation) โดยมีค่าอัตราการบำบัดซีโอดีจำเพาะสูงสุดของระบบ (km) เท่ากับ 15.2±2.88 มิลลิกรัมซีโอดีต่อมิลลิกรัมMLVSSต่อวัน และความเข้มข้นที่อัตราการบำบัดเท่ากับครึ่งหนึ่งของอัตราบำบัดสูงสุด (KS) เท่ากับ 121±74 มิลลิกรัมต่อลิตร


การบำบัดน้ำเสียแอมโมเนียมความเข้มข้นสูงโดยเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ, สิริณิศา สุขวิบูลย์ Jan 2022

การบำบัดน้ำเสียแอมโมเนียมความเข้มข้นสูงโดยเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ, สิริณิศา สุขวิบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการสร้างเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้อากาศและอัตราการบำบัดของน้ำเสียที่มีแอมโมเนียมสูง ผลการทดลองพบว่าเกิดเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้อากาศในน้ำเสียแอมโมเนียมสูง (200 mg-N/l) มีลักษณะใกล้เคียงกันกับน้ำเสียแอมโมเนียมต่ำ (50 mg-N/l) ระบบมีค่าดัชนีปริมาตรตะกอนเฉลี่ย (SVI) ในถังปฏิกรณ์ที่ 1 และ 2 เท่ากับ 23.07±3.1 และ 20.46±2.7 มิลลิลิตรต่อกรัมตามลำดับ ค่าปริมาณของแข็งแขวนลอย (MLSS) ในถังปฏิกรณ์ที่ 1 และ 2 เท่ากับ 10,784±608 และ 11,067±678 มิลลิกรัมต่อลิตรตามลำดับ ความเข้มข้นตะกอนก้นถังในถังปฏิกรณ์ที่ 1 และ 2 เท่ากับ 33,732±2468 และ 34,696±1741 มิลลิกรัมต่อลิตรตามลำดับ พบขนาดเม็ดตะกอนในถังฏิกรณ์ที่ 1 และ 2 เท่ากับ 3.4±0.9 และ 4.5±1.0 มิลลิเมตร ความหนาแน่นของตะกอนจุลินทรีย์เท่ากับ 1.166±0.01 กรัมต่อมิลลิลิตร โครงสร้างตะกอนอัดแน่นและมีการกระจายตัวทั่วถังปฏิกรณ์ทั้งสองถังเมื่อเดินระบบเป็นระยะเวลา 85 วัน เม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้อากาศที่เกิดขึ้นสามารถบำบัดน้ำเสียแอมโมเนียมความเข้มข้น 200 mg-N/l ภายใน 2 วัน อัตราการบำบัดเป็นไปตาม Monod’s kinetic โดยมีค่าอัตราการบำบัดแอมโมเนียมสูงสุด (Km) เท่ากับ 33.9±3.3 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตรต่อชั่วโมงและความเข้มข้นแอมโมเนียมที่อัตราการย่อยสลายครึ่งหนึ่งของอัตราการย่อยสลายสูงสุด (Ks) เท่ากับ 67.9±15.9 มิลลิกรัมต่อลิตร


การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าสีแก้วโซดาไลม์, ทศพล สุเริงฤทธิ์ Jan 2022

การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าสีแก้วโซดาไลม์, ทศพล สุเริงฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการผลิตแก้วโซดาไลม์ ค่าสีของผลิตภัณฑ์ถือว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ต้องควบคุม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างค่าสีและปัจจัยในกระบวนการผลิตแก้วโซดาไลม์ ดังนั้นจุดประสงค์ของงานวิจัย คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าสี a (สีเขียว-สีแดง) และค่าสี b (สีน้ำเงิน-สีเหลือง) กับปัจจัยที่มาจากวัตถุดิบและเตาหลอมทั้งหมด 10 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณเหล็กออกไซด์รวม ปริมาณโซเดียมซัลเฟต ปริมาณโคบอลต์ อัตราการดึงน้ำแก้ว อุณหภูมิหลังคาเตาหลอมจุดที่สอง อุณหภูมิหลังคาเตาหลอมจุดที่สาม อุณหภูมิใต้เตาหลอมจุดที่สอง อุณหภูมิใต้เตาหลอมจุดที่สาม ค่าสัดส่วนก๊าซเชื้อเพลิงต่อก๊าซออกซิเจน และค่าพลังงานความร้อนของก๊าซเชื้อเพลิง ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน จากข้อมูลสายการผลิตจำนวน 770 ค่า จึงได้แบบจำลองถดถอยของค่าสี a ที่สามารถนำไปใช้งานได้ โดยมีเทอมปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อค่าสี a ทั้งหมด 3 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณเหล็กออกไซด์รวม (X1), ปริมาณโคบอลต์ (X3) และค่าสัดส่วนก๊าซเชื้อเพลิงต่อก๊าซออกซิเจน (X9) ซึ่งมีรูปแบบสมการ คือ a = - 21.07 - 5.202X1 + 5187X3 + 2.151X9 + 117185X32 - 601X3X9 และมีความสัมพันธ์ดังนี้ เมื่อปริมาณเหล็กออกไซด์รวมเพิ่มขึ้น ค่าสี a จะลดลง ทำให้แก้วมีสีเขียวเข้มขึ้น แต่ถ้าปริมาณโคบอลต์และค่าสัดส่วนก๊าซเชื้อเพลิงต่อก๊าซออกซิเจนเพิ่มขึ้น ค่าสี a จะเพิ่มขึ้น ทำให้แก้วมีสีเขียวอ่อนลง เนื่องจากโรงงานกรณีศึกษามีความต้องการให้ผลิตภัณฑ์แก้วโซดาไลม์สีเขียวอมฟ้าเล็กน้อย จึงกำหนดค่าเป้าหมายให้ค่าสี a เท่ากับ -1.22 และค่าต้นทุนรวมของวัตถุดิบ 3 ชนิดมีค่าต่ำที่สุด จากการหาค่าที่เหมาะสมของปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดค่าความพึงพอใจโดยรวมของผลตอบของตัวแปรตอบสนองทั้งสองมีค่าสูงที่สุด เป็น 0.82 ด้วยการปรับตั้งค่าปัจจัย ดังนี้ ปริมาณเหล็กออกไซด์รวมเป็น ร้อยละ 0.0618 ปริมาณโซเดียมซัลเฟตเป็น 10.8 กิโลกรัม ปริมาณโคบอลต์ 0.003911 กิโลกรัม และค่าสัดส่วนก๊าซเชื้อเพลิงต่อก๊าซออกซิเจนเป็น 9.60202 ทำให้ได้ค่าสี a เท่ากับ -1.22346 และค่าต้นทุนรวมของวัตถุดิบ …


การลดของเสียจากการรั่วของถุงลมในกระบวนการอบยาง, นินวัฒน์ นำลาภ Jan 2022

การลดของเสียจากการรั่วของถุงลมในกระบวนการอบยาง, นินวัฒน์ นำลาภ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อการลดอัตราของเสียที่เกิดขึ้นในแผนกอบยางของบริษัทผลิตยางรถยนต์แห่งหนึ่ง และเพื่อการควบคุมกระบวนการผลิตให้เกิดการกระจายตัวที่น้อยลง (Variation Reduction) โดยมุ่งเน้นในการสร้างมาตรฐานในระยะยาวสำหรับการนำไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสถิติมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการผลิต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การบันทึกข้อมูลของเสียที่ได้มาจากฐานข้อมูลของบริษัทกรณีศึกษา ในงานวิจัยนี้ใช้แนวทางในการดำเนินการโดยวิธี ซิกซ์ ซิกมา โดยได้ทำการนำขั้นตอน DMAIC มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการโดยมีทั้งหมด 5 ระยะ ได้แก่ ระยะนิยามปัญหา (Define phase: D) ระยะการวัด (Measure phase: M) ระยะการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา (Analysis phase: A) ระยะการปรับปรุงแก้ไขปัญหา (Improve phase: I) และระยะการตรวจติดตามควบคุม (Control phase: C) วิเคราะห์ข้อมูลและหาปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดของเสียในกระบวนการผลิตและคัดเลือกปัจจัยดังกล่าวมาทำการออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียล ผลจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตจากการใช้ค่าการปรับตั้งที่เหมาะสม พบว่าจำนวนของเสียที่เกิดจากการรั่วของถุงลมในกระบวนการอบยางลดลงจากเดิม 884 ppm เหลือ 379 ppm ของเสียที่เปลี่ยนแปลงคิดเป็นร้อยละ 57.13 หรือคิดมูลค่าความเสียหายลดลงไป 760,000 บาท ในส่วนของสัดส่วนของเสียก่อนการปรับปรุงอยู่ที่ร้อยละ 0.06 หลังการปรับปรุงอยู่ที่ร้อยละ 0.03 สัดส่วนของเสียที่เปลี่ยนแปลงคิดเป็นร้อยละ 50


การปรับปรุงการขนส่งภายในของชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงงานประกอบ, ปฏิพัทธ์ มณีรัตน์ Jan 2022

การปรับปรุงการขนส่งภายในของชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงงานประกอบ, ปฏิพัทธ์ มณีรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการปรับปรุงการขนส่งภายในของชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงประกอบกรณีศึกษา ปัจจุบันมีอัตราการใช้ประโยชน์ของรถลากไฟฟ้า (E-car) อยู่เพียง 68% โดยพนักงานขับรถลากไฟฟ้า (E-car) จะนำกล่องชิ้นส่วนไปส่งแต่ละจุดความต้องการ (Address) ทั้งหมด 27 จุดตามเส้นทางที่กำหนดไว้ 20 เส้นทาง ซึ่งยังไม่มีประสิทธิภาพเพราะทำให้ระยะทางรวมของเส้นทางการขนส่งมากและใช้รถลากไฟฟ้า (E-car) สำหรับขนส่งทั้งหมด 24 คัน งานวิจัยนี้ประยุกต์วิธีการออกแบบเส้นทางด้วยรูปแบบปัญหา Capacitated Vehicle Routing Problem (CVRP) ซึ่งวัตถุประสงค์สำหรับการออกแบบเส้นทางนี้ เพื่อให้ระยะทางรวมของเส้นทางการขนส่งภายในน้อยที่สุด และยังตอบสนองความต้องการใช้ชิ้นส่วนแต่ละจุดความต้องการ (Address) ได้โดยใช้ปัจจัยนำเข้าเช่น ปริมาณความต้องการใช้ชิ้นส่วน (Demand) แต่ละจุดความต้องการ (Address) ความสามารถในการบรรทุกของรถลากไฟฟ้า (E-car) ระยะทางของแต่ละจุดความต้องการ ผลการจัดเส้นทางใหม่จะได้เส้นทางการขนส่งภายใน 12 เส้นทาง โดยมีการทดสอบรอบเวลาการขนส่งตามเส้นทางการขนส่งแบบใหม่แต่ละรอบคำสั่งซื้อรายวัน เพื่อทำให้มั่นใจว่าเส้นทางที่ออกแบบใหม่นั้นสามารถใช้งานได้จริง ตามปริมาณความต้องการใช้ชิ้นส่วน (Demand) ที่คงที่ของแต่ละจุดความต้องการ (Address) ในโรงงานประกอบ จากการทดสอบพบว่า เส้นทางการขนส่งแบบใหม่สามารถทำให้ระยะทางรวมในการขนส่งชิ้นส่วนต่อรอบคำสั่งซื้อลดลง 26% และมีอัตราการใช้ประโยชน์ของรถลากไฟฟ้า (E-car) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 90% หรือมากขึ้นกว่าเดิม 22%


การศึกษาการเปรียบเทียบความต้านทานต่อการโจมตีของกรดเปอร์ฟอร์มิกของภาชนะบรรจุที่ทำจาก แก้วไพเร็กซ์, พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง และพอลิโพรพิลีน, นลพรรณ หน่อนิล Jan 2022

การศึกษาการเปรียบเทียบความต้านทานต่อการโจมตีของกรดเปอร์ฟอร์มิกของภาชนะบรรจุที่ทำจาก แก้วไพเร็กซ์, พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง และพอลิโพรพิลีน, นลพรรณ หน่อนิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาเปรียบเทียบความต้านทานต่อการโจมตีของกรดเปอร์ฟอร์มิกของวัสดุ 3 ชนิดได้แก่ แก้วไพเร็กซ์, พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง และพอลิโพรพิลีน การทดลองเริ่มด้วยการเตรียมสารละลายกรดเปอร์ฟอร์มิกโดยมีอัตราส่วนโดยโมลระหว่างกรดฟอร์มิกและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่แตกต่างกัน 3 อัตราส่วนได้แก่ 1:0.8, 1:1.6 และ 1:3.2 จากนั้นทำการแบ่งสารละลายที่เตรียมขึ้นออกเป็น 3 ส่วนแยกบรรจุในภาชนะที่ทำจาก แก้วไพเร็กซ์, พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง และพอลิโพรพิลีน สารตัวอย่างถูกเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องและทำการวัดความเข้มข้นของ กรดฟอร์มิกและกรดเปอร์ฟอร์มิกด้วยการไทเทรตกับสารละลายมาตรฐานโซเดียมไฮดรอกไซด์ วัดความเข้มข้นของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ด้วยการไเทรตกับสารละลายมาตรฐานโพแตสเซียมเปอร์แมงกาเนต ผลการทดลองพบว่าอัตราส่วนโดยโมลที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อความเข้มข้นของกรดเปอร์ฟอร์มิกที่เกิดขึ้นที่แตกต่างกัน ทำให้เห็นผลของการโจมตีของกรดเปอร์ฟอร์มิกที่แตกต่างกัน โดยลำดับความต้านทานต่อการโจมตีของกรดเปอร์ฟอร์มิกเรียงลำดับดังนี้คือ พอลิโพรพิลีน < พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง < แก้วไพเร็กซ์


ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอัตราการระบายอากาศตาม ข้อมูลความหนาแน่นของบุคคลในอาคารสำนักงานเพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด-19, พิชชาพร ประพิณศรี Jan 2022

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอัตราการระบายอากาศตาม ข้อมูลความหนาแน่นของบุคคลในอาคารสำนักงานเพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด-19, พิชชาพร ประพิณศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศผ่านระบบทางเดินหายใจเป็นสิ่งที่มนุษย์เผชิญมาตั้งแต่อดีต การควบคุมสภาพแวดล้อมสามารถลดปริมาณเชื้อโรค และความเสี่ยงในการติดเชื้อของผู้ใช้งานพื้นที่ได้ ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาแบบจำลองค่าความเสี่ยงในการติดเชื้อร่วมกับดัชนีชี้วัดระยะห่างทางสังคม และประสิทธิภาพอุปกรณ์ป้องกันซึ่งแบบจำลองมีความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยเพียง 10.78 เปอร์เซ็นต์จากตัวอย่างสถานการณ์จริงทั้งหมด 11 สถานการณ์ แบบจำลองใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นคนกับอัตราการระบายอากาศในพื้นที่ได้ เพื่อใช้กำหนดมาตรการป้องกันโรคติดต่อ เช่น การกำหนดความหนาแน่นคนในพื้นที่ การกำหนดระยะเวลาเข้าใช้ และการสวมใส่หน้ากากอนามัย ในงานวิจัยนี้วิเคราะห์จำนวนคนที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่เมื่อมีการระบายอากาศที่จำกัด กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานของ ASHRAE 62.1 และวิเคราะห์หาอัตราการระบายอากาศที่เหมาะสมกับจำนวนคนที่เข้าออกโดยพื้นที่มีการรักษาค่าความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ยอมรับได้ พื้นที่ตัวอย่าง คือ พื้นที่สำนักงาน ร้านอาหาร และบาร์ ผลการวิจัยพบว่า เมื่อกำหนดระยะเวลาที่อยู่ในพื้นที่เป็นเวลา 1 – 3 ชั่วโมงและค่าความเสี่ยงในการติดเชื้อไม่เกิน 0.01 – 0.05 ในที่ที่มีการระบายอากาศจำกัด การใส่หน้ากากอนามัยจะรับความหนาแน่นได้สูงกว่าการไม่ใส่หน้ากากอนามัย โดยเพิ่มขึ้นได้ 51.52 – 800.00 เปอร์เซ็นต์เมื่อพิจารณาค่าความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ยอมรับได้มีค่าไม่เกิน 0.02 หากยอมรับค่าที่มากขึ้นได้จะทำให้พื้นที่สามารถรับคนได้มากขึ้น ในขณะที่การปรับอัตราการระบายอากาศตามจำนวนคนที่เข้าออกพื้นที่เพื่อรักษาค่าความเสี่ยงในการติดเชื้อให้ไม่เกิน 0.02 ในช่วงเวลาที่อยู่ในพื้นที่ 3 ชั่วโมง การใส่หน้ากากอนามัยจะทำให้สามารถลดอัตราการระบายอากาศลง แต่ยังคงมีค่าสูงกว่าค่าการระบายอากาศมาตรฐาน จึงกล่าวได้ว่า การระบายอากาศตามมาตรฐานมีค่าไม่เพียงพอในการรักษาค่าความเสี่ยงในการติดเชื้อให้ไม่เกิน 0.02 ในช่วงเวลาที่อยู่ในพื้นที่ 3 ชั่วโมง การปรับค่าดังกล่าวส่งผลให้ค่าพลังงานและค่าไฟฟ้าสูง ซึ่งในกรณีไม่ใส่หน้ากากอนามัย และใส่หน้ากากอนามัยสูงกว่าถึง 1,351 – 1,802 และ 169 – 269 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ


การวางแผนขยายกําลังผลิตไฟฟ้าร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานโดยคํานึงถึงรูปแบบการผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียน การสมดุลกําลังไฟฟ้ารายชั่วโมงตลอดทั้งปี เงื่อนไขบังคับเชิงพื้นที่ และการตอบสนองของโรงไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงโหลด, รฐนนท์ เดี่ยววิไล Jan 2022

การวางแผนขยายกําลังผลิตไฟฟ้าร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานโดยคํานึงถึงรูปแบบการผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียน การสมดุลกําลังไฟฟ้ารายชั่วโมงตลอดทั้งปี เงื่อนไขบังคับเชิงพื้นที่ และการตอบสนองของโรงไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงโหลด, รฐนนท์ เดี่ยววิไล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวางแผนขยายกำลังผลิตไฟฟ้านั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ระบบผลิตไฟฟ้าที่มีความพร้อมจ่าย มีเสถียรภาพและความเชื่อถือได้เพียงพอที่จะรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตได้ เพื่อให้ได้ระบบไฟฟ้าที่สามารถทำได้จริง ผู้วางแผนขยายกำลังผลิตไฟฟ้าจึงต้องมีเครื่องมือช่วยในการวางแผนที่สามารถพิจารณาถึงเงื่อนไขต่างๆ ทั้งทางเศรษฐศาสตร์ ทางเทคนิค ทางสิ่งแวดล้อม และเงื่อนไขที่สนใจอื่นๆ เช่น เงื่อนไขบังคับเชิงพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่ระบบผลิตไฟฟ้าจะพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมากขึ้นเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เครื่องมือดังกล่าวต้องสามารถวางแผนขยายกำลังผลิตไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับความไม่แน่นอนและความผันผวนจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งการใช้ระบบกักเก็บพลังงานก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นดังกล่าว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอวิธีการวางแผนขยายกำลังผลิตไฟฟ้าร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานโดยคำนึงถึงรูปแบบการผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียน การสมดุลกำลังไฟฟ้ารายชั่วโมง เงื่อนไขบังคับเชิงพื้นที่ และการตอบสนองของโรงไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงโหลด โดยจะนำเสนอวิธีสร้างแบบจำลองการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่เสมือนจริง มีการนำเสนอวิธีการแบ่งระดับความต้องการใช้ไฟฟ้า และเงื่อนไขสมดุลกำลังไฟฟ้าของกำลังผลิตไฟฟ้าและความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ระดับตามความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงโหลดของโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาเงื่อนไขจำเพาะเชิงพื้นที่ในการตัดสินใจเพิ่มโรงไฟฟ้าเพื่อให้มั่นใจว่าโรงไฟฟ้าใหม่จะสามารถสร้างได้จริงตามแผน และท้ายที่สุด วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังนำเสนอวิธีวางแผนขยายกำลังผลิตไฟฟ้าร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งประกอบไปด้วยแบบจำลองการสั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน การคำนวณดัชนีความเชื่อถือได้ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน และการตัดสินใจขยายขนาดระบบกักเก็บพลังงาน วิธีการที่นำเสนอนี้ถูกทดสอบกับฐานข้อมูลสำหรับจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2566-2580 เพื่อจัดทำแผนขยายกำลังผลิตไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย