Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operations Research, Systems Engineering and Industrial Engineering

Theses/Dissertations

2019

Institution
Keyword
Publication

Articles 241 - 245 of 245

Full-Text Articles in Engineering

วิธีการฮิวริสติกสำหรับปัญหาการรับและส่งพัสดุภายในวันทำการเดียวกัน, วิชญะ ศรีตระกูล Jan 2019

วิธีการฮิวริสติกสำหรับปัญหาการรับและส่งพัสดุภายในวันทำการเดียวกัน, วิชญะ ศรีตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และวิธีการฮิวริสติกสำหรับปัญหาการรับและส่งพัสดุภายในวันทำการเดียวกัน (Deterministic SDPD) โดยปัญหาดังกล่าวจัดเป็นปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถรูปแบบหนึ่ง ซึ่งรถสามารถเดินทางออกจากท่ารถได้ตามรอบรถ (wave) ที่กำหนดเท่านั้น นอกจากนี้เวลาการปรากฏ (arrival time) ของคำสั่งของลูกค้าทั้งหมดเป็นข้อมูลที่ทราบล่วงหน้าตั้งแต่ต้นวันทำการ ทั้งนี้คำสั่งของลูกค้าหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดรับ และจุดส่งพัสดุที่แตกต่างกัน และไม่จำเป็นต้องถูกมอบหมายให้อยู่ในรอบรถเดียวกัน แต่จำเป็นต้องจัดส่งพัสดุให้ทันภายในวันทำการ หากเลือกที่จะรับพัสดุของคำสั่งนั้นๆ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาผลกระทบของการเพิ่มจำนวนรอบรถในวันทำการที่มีต่อประสิทธิภาพของการหาคำตอบด้วยวิธีแม่นตรง (exact method) บนกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มสร้างขึ้นจำนวน 40 ตัวอย่าง โดยผู้วิจัยพบว่า การเพิ่มขึ้นของจำนวนรอบรถในวันทำการส่งผลให้ประสิทธิภาพการหาคำตอบด้วยวิธีแม่นตรงลดลงอย่างมาก ผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาฮิวริสติก Adaptive Large Neighborhood Search (ALNS) สำหรับปัญหาดังกล่าว ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการหาคำตอบแบบแม่นตรงแล้ว ผู้วิจัยพบว่า คำตอบที่ได้จาก ALNS ส่วนใหญ่มีคุณภาพเทียบเท่า หรือดีกว่าคำตอบที่ได้จากวิธีแม่นตรงภายใต้กรอบเวลาในการหาคำนวณที่จำกัด แต่กลับใช้เวลาในการหาคำตอบต่ำกว่ามาก


การวิเคราะห์การตัดสินใจเพื่อการจัดหาเครื่องจักรหนักในงานก่อสร้าง, ศุภิสรา พันธ์ดารา Jan 2019

การวิเคราะห์การตัดสินใจเพื่อการจัดหาเครื่องจักรหนักในงานก่อสร้าง, ศุภิสรา พันธ์ดารา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นโยบายการจัดหาเครื่องจักรมีความสำคัญต่อการดำเนินงานโครงการสร้างถนนให้เป็นไปอย่างราบรื่น การวิเคราะห์นโยบายดังกล่าวควรครอบคลุมทั้งปัจจัยเชิงปริมาณและปัจจัยเชิงคุณภาพซึ่งจะเป็นการดีกว่าการวิเคราะห์ที่เน้นปัจจัยเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงการวิเคราะห์นโยบายโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นและผลของการนำไปกำหนดเป็นนโยบายขององค์กร การดำเนินงานวิจัยได้สร้างผังโครงสร้างการตัดสินใจเชิงลำดับชั้นซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์หลัก 5 เกณฑ์ เกณฑ์รอง 6 เกณฑ์ และนโยบายทางเลือก 2 นโยบาย เกณฑ์หลักได้แก่ ค่าใช้จ่ายของเครื่องจักร ความง่ายต่อการซ่อมบำรุง อายุของเครื่องจักร ความสามารถของผู้บริการ และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายทางเลือกได้แก่ นโยบายซื้อเครื่องจักรใหม่ และนโยบายซ่อมคืนสภาพเครื่องจักรเดิม จากตัวอย่างในกรณีศึกษาได้ผลการวิเคราะห์การทดแทนเครื่องจักรว่าให้เลือกนโยบายซ่อมคืนสภาพเครื่องจักรเดิมสำหรับเครื่องจักรทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากผลการวิเคราะห์ของกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น โดยเครื่องจักรหนักที่มีอายุงาน 16-31 ปี ให้เลือกนโยบายซื้อเครื่องจักรใหม่ และเครื่องจักรหนักที่มีอายุงาน 3-6 ปี ให้เลือกนโยบายซ่อมคืนสภาพเครื่องจักรเดิม โดยเกณฑ์หลักที่มีความสำคัญอันดับต้น ได้แก่ ค่าใช้จ่ายของเครื่องจักร และความง่ายต่อการซ่อมบำรุง ส่วนเกณฑ์รองที่สำคัญอันดับต้น ได้แก่ ค่าปรับจากการส่งงานล่าช้า และอายุทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังพบว่าการกำหนดนโยบายซ่อมคืนสภาพเครื่องจักรเดิมส่งผลต่อการปรับปรุงเครื่องจักรหนักให้มีค่าความพร้อมใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 12%


การวิเคราะห์ปัจจัยในกระบวนการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนที่ส่งผลต่อค่าคุณสมบัติเชิงกล, สัจจะพจน์ คชวัฒน์ Jan 2019

การวิเคราะห์ปัจจัยในกระบวนการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนที่ส่งผลต่อค่าคุณสมบัติเชิงกล, สัจจะพจน์ คชวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของกระบวนการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนที่ส่งผลต่อค่าคุณสมบัติเชิงกลของโรงงานตัวอย่างดำเนินการทดลองโดยควบคุมอุณหภูมิหลังรีดละเอียด (FT) ที่ 830, 850, 870ºC ปริมาณธาตุ Boron(B) ที่ 10, 20, 30 ppm และอุณหภูมิชดเชยที่ขอบ (Te) ที่ 10, 20, 30ºC จากนั้นนำชิ้นงานไปตรวจวัดค่าคุณสมบัติเชิงกล ได้แก่ ค่าความเค้นจุดคราก ค่าความเค้นแรงดึงสูงสุด และค่าร้อยละของการยืดตัว รวมถึงตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคในเนื้อเหล็ก ผลการทดสอบพบว่า (1) อิทธิพลหลักของทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ อุณหภูมิหลังรีดละเอียด (FT), ปริมาณธาตุ Boron (B) และ อุณหภูมิชดเชยที่ขอบ (Te) มีผลต่อการผันแปรค่าเชิงกลของเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ขณะที่ปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสามไม่มีอิทธิพลทางสถิติที่ระดับ α=0.05 (2) การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอุณหภูมิหลังรีดละเอียด (FT) มีผลให้ค่าความเค้นจุดคราก (YS) และค่าความเค้นแรงดึงสูงสุด (TS) เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าร้อยละการยืดตัว (EL) ลดลง (3) การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิชดเชยที่ขอบ (Te) และปริมาณBoron (B) จะส่งผลให้ค่าร้อยละการยืดตัว (EL) เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าความเค้นจุดคราก (YS) และค่าความเค้นแรงดึงสูงสุด (TS) มีค่าลดลง (4) ระดับปัจจัยที่ส่งผลให้เหล็กมีคุณสมบัติความแข็งแรงต่ำสุดและมีความยืดสูงสุด ได้แก่ อุณหภูมิหลังรีดละเอียด (FT) 830ºC, ปริมาณBoron (B) 30 ppm และอุณหภูมิชดเชยที่ขอบ (Te) 30ºC ให้ผลลัพธ์ค่าความเค้นจุดคราก 206±5.0 MPa ค่าความเค้นแรงดึงสูงสุด 306±4.0 MPa และค่าร้อยละการยืดตัว 50±1.0% (5) ระดับปัจจัยที่ส่งผลให้เหล็กมีคุณสมบัติความแข็งแรงสูงสุดและมีความยืดต่ำสุด ได้แก่ อุณหภูมิหลังรีดละเอียด (FT) 870ºC, ปริมาณBoron (B) 10 ppm และอุณหภูมิชดเชยที่ขอบ (Te) 10ºC …


การออกแบบการจัดสรรพื้นที่แบบผสมผสาน กรณีศึกษา ตะกร้าจัดเก็บสินค้าและตะกร้ากระจายสินค้าในศูนย์กระจายสินค้าธุรกิจค้าปลีกวัสดุตกแต่งบ้าน, อรุณรัตน์ วลิตษรางศ์กุล Jan 2019

การออกแบบการจัดสรรพื้นที่แบบผสมผสาน กรณีศึกษา ตะกร้าจัดเก็บสินค้าและตะกร้ากระจายสินค้าในศูนย์กระจายสินค้าธุรกิจค้าปลีกวัสดุตกแต่งบ้าน, อรุณรัตน์ วลิตษรางศ์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แนวโน้มการขาดแคลนแรงงานในประเทศไทยและการเปลี่ยนแปลงของสภาพธุรกิจค้าปลีก ส่งผลให้ศูนย์กระจายสินค้าหลายแห่งประยุกต์นำอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุที่สามารถจัดเก็บและเคลื่อนย้ายสินค้าอัตโนมัติ ในงานวิจัยฉบับนี้นำเสนอกรณีศึกษาของบริษัทค้าปลีกวัสดุตกแต่งบ้าน ซึ่งได้นำอุปกรณ์ Vertical Lift Module (VLM) ซึ่งเป็นอุปกรณ์จัดเก็บและเคลื่อนย้ายตะกร้าอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ในศูนย์กระจายสินค้า โดย VLM เป็นอุปกรณ์เฉพาะทำหน้าที่จัดเก็บตะกร้าจัดเก็บสินค้าเพื่อรอการหยิบ และตะกร้ากระจายสินค้าเพื่อรอการส่ง จากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นพบว่าการจัดสรรปริมาณตะกร้าจัดเก็บสินค้าและตะกร้ากระจายสินค้าไม่เหมาะสม ทำให้มีประสิทธิภาพในการใช้อุปกรณ์ต่ำ ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาข้อมูลการดำเนินการในอดีต รวมถึงธรรมชาติของธุรกิจ และนำเสนอแบบจำลองสถานการณ์ เพื่อทดสอบผลกระทบของปัจจัยต่อไปนี้ (1) ปริมาณตะกร้าจัดเก็บสินค้าและตะกร้ากระจายสินค้าที่เหมาะสม (2) นโยบายการจัดสรรพื้นที่ของอุปกรณ์ และ (3) รูปแบบการเลือกเบิกตะกร้าสินค้า เมื่อพิจารณาแต่ละปัจจัยร่วมกันทำให้สามารถแบ่งสถานการณ์ได้เป็น 16 สถานการณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งอรรถประโยชน์ในการใช้พื้นที่ เวลาการทำงานของอุปกรณ์ และจำนวนครั้งในการเกิดบล็อกกิ้ง ของแต่ละสถานการณ์ จะถูกวิเคราะห์และเปรียบเทียบ โดยผลการวิเคราะห์แบบจำลองสถานการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การกำหนดปัจจัยที่เหมาะสมสามารถลดระยะเวลาทำงานลงได้ 4.08% จากการลดเวลาการทำงานของยานพาหนะลง และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานพื้นที่ของอุปกรณ์ขึ้นได้ 3.82% โดยไม่ทำให้ระบบเกิดบล็อกกิ้ง จากการใช้พื้นที่จัดเก็บสินค้าน้อยลง แม้จะมีสินค้าจำนวนเท่าเดิม


การพยากรณ์ความตรงและความขรุขระผิวชิ้นงานสำหรับการกลึงซีเอ็นซีโดยการประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียม, อริชยา เผือกหอม Jan 2019

การพยากรณ์ความตรงและความขรุขระผิวชิ้นงานสำหรับการกลึงซีเอ็นซีโดยการประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียม, อริชยา เผือกหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อพยากรณ์ความตรงและความขรุขระผิวชิ้นงาน ภายใต้กระบวนการการควบคุมด้วยเงื่อนไขการตัดและอัตราส่วนแรงตัดที่เกิดขึ้นในขณะกลึงซีเอ็นซีของชิ้นงานเหล็กกล้าคาร์บอน S45C ด้วยมีดคาร์ไบด์เคลือบผิว โดยมีเงื่อนไขการตัดที่ความเร็วตัด 100 - 260 เมตร/นาที อัตราการป้อนตัด 0.1 - 0.3 มิลลิเมตร/รอบ ความลึกในการตัด 0.2 - 0.8 มิลลิเมตร รัศมีจมูกมีดตัด 0.4 และ 0.8 มิลลิเมตร และมุมคายเศษวัสดุ -6 และ +11 องศา การแปลงฟูเรียร์อย่างเร็วถูกใช้เพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงตัดและความขรุขระผิวในโดเมนความถี่ โดยพบว่ามีความถี่ที่ตรงกัน อัตราส่วนแรงตัดจึงถูกประยุกต์ใช้เพื่อพยากรณ์ความขรุขระผิวชิ้นงานเฉลี่ย (Ra), ความขรุขระผิวชิ้นงานสูงสุด (Rz) และความตรงผิวชิ้นงาน (St) ในกระบวนการโดยที่เงื่อนไขการตัดไม่เปลี่ยนแปลงไป ค่าความตรงและความขรุขระผิวถูกคำนวณด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบสองชั้นป้อนไปข้างหน้า ซึ่งได้รับการฝึกฝนโดยใช้การเรียนรู้แบบแพร่ค่าย้อนกลับของเลเวนเบิร์ก-มาร์ควอร์ด จากการเปรียบเทียบผลการทดลอง พบว่าวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยสุดให้การพยากรณ์ที่มีค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 67.96%, 69.50% และ 59.29% ตามลำดับ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความแม่นยำสูง เมื่อทำการเปรียบเทียบกับโครงข่ายประสาทเทียมที่มีค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 61.19%, 67.96% และ 40.71% ตามลำดับ สำหรับชิ้นงานอะลูมิเนียม (Al 6063) อย่างไรก็ตาม การพยากรณ์ชิ้นงานเหล็กกล้าคาร์บอน (S45C) โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมที่ได้รับการฝึกสอนแล้วของค่าความขรุขระผิวชิ้นงานเฉลี่ย ค่าความขรุขระผิวชิ้นงานสูงสุด และค่าความตรงเบี่ยงหนีศูนย์มีค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 88.78%, 92.51% และ 91.89% ตามลำดับ ส่วนวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยสุดให้ค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 91.89%, 91.79% and 91.85% ตามลำดับ