Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operational Research

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 31 - 60 of 242

Full-Text Articles in Engineering

แบบจำลองระบบจอดรถอัตโนมัติเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบ, อลงกรณ์ พรสุขศิริ Jan 2022

แบบจำลองระบบจอดรถอัตโนมัติเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบ, อลงกรณ์ พรสุขศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบจอดรถอัตโนมัตินั้นสามารถช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับที่จอดรถ และช่วยให้การลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์นั้นมีความคุ้มค่ามากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดขนาดของพื้นที่ที่ต้องใช้สำหรับจอดรถได้อีกด้วย ปัจจุบันระบบจอดรถอัตโนมัติมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรายนั้นๆ โดยงานวิจัยฉบับนี้จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยในการเลือกใช้ระบบจอดรถอัตโนมัติระหว่างระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดถาด(Pallet type) และระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดหุ่นยนต์(Robot type) ทั้งในด้านต้นทุน ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า และประสิทธิภาพของระบบโดยทั่วไป ประสิทธิภาพของระบบจอดรถอัตโนมัติจะคำนวณจากเวลาเฉลี่ยระหว่างตำแหน่งที่จอดรถที่ใกล้ที่สุดและไกลที่สุดเพียงสองตำแหน่งเท่านั้น จากการคำนวณดังกล่าวส่งผลให้มีความน่าเชื่อถือไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ดังนั้น งานวิจัยฉนับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินประสิทธิภาพของระบบจอดรถอัตโนมัติโดยการเปรียบเทียบระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดถาดและระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดหุ่นยนต์ ผ่านการแบบจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม SIMIO รวมไปถึงการวิเคราะห์ต้นทุน และปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า จากการศึกษา ผู้วิจัยพบว่าในด้านของประสิทธิภาพของสำหรับกระบวนการนำรถเข้าจอดนั้น ระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดหุ่นยนต์มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดถาด อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการนำรถออกจากระบบนั้นระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดถาดมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดหุ่นยนต์ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่าต้นทุนและปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวมของระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดหุ่นยนต์ต่ำกว่าระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดถาด


การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าสีแก้วโซดาไลม์, ทศพล สุเริงฤทธิ์ Jan 2022

การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าสีแก้วโซดาไลม์, ทศพล สุเริงฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการผลิตแก้วโซดาไลม์ ค่าสีของผลิตภัณฑ์ถือว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ต้องควบคุม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างค่าสีและปัจจัยในกระบวนการผลิตแก้วโซดาไลม์ ดังนั้นจุดประสงค์ของงานวิจัย คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าสี a (สีเขียว-สีแดง) และค่าสี b (สีน้ำเงิน-สีเหลือง) กับปัจจัยที่มาจากวัตถุดิบและเตาหลอมทั้งหมด 10 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณเหล็กออกไซด์รวม ปริมาณโซเดียมซัลเฟต ปริมาณโคบอลต์ อัตราการดึงน้ำแก้ว อุณหภูมิหลังคาเตาหลอมจุดที่สอง อุณหภูมิหลังคาเตาหลอมจุดที่สาม อุณหภูมิใต้เตาหลอมจุดที่สอง อุณหภูมิใต้เตาหลอมจุดที่สาม ค่าสัดส่วนก๊าซเชื้อเพลิงต่อก๊าซออกซิเจน และค่าพลังงานความร้อนของก๊าซเชื้อเพลิง ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน จากข้อมูลสายการผลิตจำนวน 770 ค่า จึงได้แบบจำลองถดถอยของค่าสี a ที่สามารถนำไปใช้งานได้ โดยมีเทอมปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อค่าสี a ทั้งหมด 3 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณเหล็กออกไซด์รวม (X1), ปริมาณโคบอลต์ (X3) และค่าสัดส่วนก๊าซเชื้อเพลิงต่อก๊าซออกซิเจน (X9) ซึ่งมีรูปแบบสมการ คือ a = - 21.07 - 5.202X1 + 5187X3 + 2.151X9 + 117185X32 - 601X3X9 และมีความสัมพันธ์ดังนี้ เมื่อปริมาณเหล็กออกไซด์รวมเพิ่มขึ้น ค่าสี a จะลดลง ทำให้แก้วมีสีเขียวเข้มขึ้น แต่ถ้าปริมาณโคบอลต์และค่าสัดส่วนก๊าซเชื้อเพลิงต่อก๊าซออกซิเจนเพิ่มขึ้น ค่าสี a จะเพิ่มขึ้น ทำให้แก้วมีสีเขียวอ่อนลง เนื่องจากโรงงานกรณีศึกษามีความต้องการให้ผลิตภัณฑ์แก้วโซดาไลม์สีเขียวอมฟ้าเล็กน้อย จึงกำหนดค่าเป้าหมายให้ค่าสี a เท่ากับ -1.22 และค่าต้นทุนรวมของวัตถุดิบ 3 ชนิดมีค่าต่ำที่สุด จากการหาค่าที่เหมาะสมของปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดค่าความพึงพอใจโดยรวมของผลตอบของตัวแปรตอบสนองทั้งสองมีค่าสูงที่สุด เป็น 0.82 ด้วยการปรับตั้งค่าปัจจัย ดังนี้ ปริมาณเหล็กออกไซด์รวมเป็น ร้อยละ 0.0618 ปริมาณโซเดียมซัลเฟตเป็น 10.8 กิโลกรัม ปริมาณโคบอลต์ 0.003911 กิโลกรัม และค่าสัดส่วนก๊าซเชื้อเพลิงต่อก๊าซออกซิเจนเป็น 9.60202 ทำให้ได้ค่าสี a เท่ากับ -1.22346 และค่าต้นทุนรวมของวัตถุดิบ …


การลดของเสียจากการรั่วของถุงลมในกระบวนการอบยาง, นินวัฒน์ นำลาภ Jan 2022

การลดของเสียจากการรั่วของถุงลมในกระบวนการอบยาง, นินวัฒน์ นำลาภ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อการลดอัตราของเสียที่เกิดขึ้นในแผนกอบยางของบริษัทผลิตยางรถยนต์แห่งหนึ่ง และเพื่อการควบคุมกระบวนการผลิตให้เกิดการกระจายตัวที่น้อยลง (Variation Reduction) โดยมุ่งเน้นในการสร้างมาตรฐานในระยะยาวสำหรับการนำไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสถิติมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการผลิต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การบันทึกข้อมูลของเสียที่ได้มาจากฐานข้อมูลของบริษัทกรณีศึกษา ในงานวิจัยนี้ใช้แนวทางในการดำเนินการโดยวิธี ซิกซ์ ซิกมา โดยได้ทำการนำขั้นตอน DMAIC มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการโดยมีทั้งหมด 5 ระยะ ได้แก่ ระยะนิยามปัญหา (Define phase: D) ระยะการวัด (Measure phase: M) ระยะการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา (Analysis phase: A) ระยะการปรับปรุงแก้ไขปัญหา (Improve phase: I) และระยะการตรวจติดตามควบคุม (Control phase: C) วิเคราะห์ข้อมูลและหาปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดของเสียในกระบวนการผลิตและคัดเลือกปัจจัยดังกล่าวมาทำการออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียล ผลจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตจากการใช้ค่าการปรับตั้งที่เหมาะสม พบว่าจำนวนของเสียที่เกิดจากการรั่วของถุงลมในกระบวนการอบยางลดลงจากเดิม 884 ppm เหลือ 379 ppm ของเสียที่เปลี่ยนแปลงคิดเป็นร้อยละ 57.13 หรือคิดมูลค่าความเสียหายลดลงไป 760,000 บาท ในส่วนของสัดส่วนของเสียก่อนการปรับปรุงอยู่ที่ร้อยละ 0.06 หลังการปรับปรุงอยู่ที่ร้อยละ 0.03 สัดส่วนของเสียที่เปลี่ยนแปลงคิดเป็นร้อยละ 50


การปรับปรุงการขนส่งภายในของชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงงานประกอบ, ปฏิพัทธ์ มณีรัตน์ Jan 2022

การปรับปรุงการขนส่งภายในของชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงงานประกอบ, ปฏิพัทธ์ มณีรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการปรับปรุงการขนส่งภายในของชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงประกอบกรณีศึกษา ปัจจุบันมีอัตราการใช้ประโยชน์ของรถลากไฟฟ้า (E-car) อยู่เพียง 68% โดยพนักงานขับรถลากไฟฟ้า (E-car) จะนำกล่องชิ้นส่วนไปส่งแต่ละจุดความต้องการ (Address) ทั้งหมด 27 จุดตามเส้นทางที่กำหนดไว้ 20 เส้นทาง ซึ่งยังไม่มีประสิทธิภาพเพราะทำให้ระยะทางรวมของเส้นทางการขนส่งมากและใช้รถลากไฟฟ้า (E-car) สำหรับขนส่งทั้งหมด 24 คัน งานวิจัยนี้ประยุกต์วิธีการออกแบบเส้นทางด้วยรูปแบบปัญหา Capacitated Vehicle Routing Problem (CVRP) ซึ่งวัตถุประสงค์สำหรับการออกแบบเส้นทางนี้ เพื่อให้ระยะทางรวมของเส้นทางการขนส่งภายในน้อยที่สุด และยังตอบสนองความต้องการใช้ชิ้นส่วนแต่ละจุดความต้องการ (Address) ได้โดยใช้ปัจจัยนำเข้าเช่น ปริมาณความต้องการใช้ชิ้นส่วน (Demand) แต่ละจุดความต้องการ (Address) ความสามารถในการบรรทุกของรถลากไฟฟ้า (E-car) ระยะทางของแต่ละจุดความต้องการ ผลการจัดเส้นทางใหม่จะได้เส้นทางการขนส่งภายใน 12 เส้นทาง โดยมีการทดสอบรอบเวลาการขนส่งตามเส้นทางการขนส่งแบบใหม่แต่ละรอบคำสั่งซื้อรายวัน เพื่อทำให้มั่นใจว่าเส้นทางที่ออกแบบใหม่นั้นสามารถใช้งานได้จริง ตามปริมาณความต้องการใช้ชิ้นส่วน (Demand) ที่คงที่ของแต่ละจุดความต้องการ (Address) ในโรงงานประกอบ จากการทดสอบพบว่า เส้นทางการขนส่งแบบใหม่สามารถทำให้ระยะทางรวมในการขนส่งชิ้นส่วนต่อรอบคำสั่งซื้อลดลง 26% และมีอัตราการใช้ประโยชน์ของรถลากไฟฟ้า (E-car) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 90% หรือมากขึ้นกว่าเดิม 22%


การประยุกต์ใช้โดโลไมต์จากดินตะกอนเหมืองหินปูนสำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด, กรบงกช วรนาถสุรงค์ Jan 2022

การประยุกต์ใช้โดโลไมต์จากดินตะกอนเหมืองหินปูนสำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด, กรบงกช วรนาถสุรงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้โดโลไมต์จากดินตะกอนเหมืองหินมาเป็นสารตัวเติมผสมกับมูลไก่สำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด โดยหาสัดส่วนที่ให้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์กรมวิชาการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ดินตะกอนเหมืองหิน และสามารถลดต้นทุนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดได้ โดยงานวิจัยนี้ ใช้ดินตะกอนเหมืองหินกรณีศึกษาในจังหวัดชุมพรที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าโดโลไมต์ นำมาผสมมูลไก่สำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดทั้งหมด 7 สัดส่วน ได้แก่ 0:100 (T0), 10:90 (T1), 20:80 (T2), 30:70 (T3), 40:60 (T4), 50:50 (T5) และ 60:40 (T6) และวางแผนการปลูกทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) กับผักสลัด 2 ชนิด คือ กรีนโอ๊ค และกรีนคอส โดยใช้ดินของจังหวัดปทุมธานี เพื่อทำการเปรียบเทียบกับสัดส่วนที่ควบคุม (T0) จำนวน 3 ซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนที่ T0 – T4 มีคุณสมบัติทางเคมีทั้งหมดผ่านเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์กรมวิชาการเกษตร คุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดินหลังปลูกดีขึ้นโดยเฉพาะสัดส่วนที่ T3 และ T4 สัดส่วนโดโลไมต์ที่มากขึ้นส่งผลให้ดินมีความโปร่งพรุนมากขึ้น ผลการเจริญเติบโตและผลผลิตในสัดส่วนที่ T0 – T4 นั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งกรีนโอ๊คและกรีนคอส แต่สัดส่วนที่ T4 ให้ผลผลิตน้อยสุด เพราะสัดส่วนของมูลไก่ที่เป็นแหล่งธาตุอาหารพืชหลักของผักสลัดน้อยลง ดังนั้นสัดส่วนโดโลไมต์จากดินตะกอนเหมืองหินกรณีศึกษาแห่งนี้ที่ใช้เป็นสารตัวเติมผสมกับมูลไก่สำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ที่ดีที่สุด คือ สัดส่วนของโดโลไมต์ต่อมูลไก่ที่ 30 : 70 (T3) ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดได้ถึง 24.41%


การพัฒนาฮิวริสติกส์สำหรับปัญหาการจัดสรรเที่ยวบินเข้าหลุมจอดอากาศยาน, วรกร เขาวงษ์ Jan 2021

การพัฒนาฮิวริสติกส์สำหรับปัญหาการจัดสรรเที่ยวบินเข้าหลุมจอดอากาศยาน, วรกร เขาวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลุมจอดอากาศยาน ถือเป็นหนึ่งในทรัพยากรสำคัญที่กำหนดความสามารถในการรองรับเที่ยวบินของท่าอากาศยาน โดยจำนวนหลุมจอดอากาศยานส่วนใหญ่นั้น มักถูกกำหนดจากโครงสร้างของท่าอากาศยานเอง ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละท่าอากาศยาน การวางแผนจัดสรรเที่ยวบินเข้าหลุมจอดอากาศยานที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสนามบินที่มีการจราจรหนาแน่น เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ ผู้วิจัยจึงได้ทำการจำลองปัญหาการจัดสรรเที่ยวบินเข้าหลุมจอดอากาศยาน (AGAP) แบบหลายวัตถุปรสงค์ ผ่านแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ แล้วทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีการเชิงพันธุกรรมแบบการจัดลำดับที่ไม่ถูกครอบงำ III (NSGA-III) ซึ่งในวิธีการดังกล่าว ผู้วิจัยได้สอดแทรกเงื่อนไขและข้อจำกัดต่าง ๆ ที่มักถูกละเลย เช่น ความเข้ากันได้ของอากาศยานและหลุมจอดอากาศยาน ตลอดจนการแบ่งกิจกรรมของเที่ยวบินให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติงานจริงของการท่าอากาศยาน ผู้วิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของฮิวริสติกส์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นที่น่าพึงพอใจ โดยฮิวริสติกส์ดังกล่าวสามารถค้นหาคำตอบที่มีคุณภาพดีเทียบเท่ากับคำตอบที่เหมาะสมที่สุดจาก CPLEX ในปัญหา AGAP แบบวัตถุประสงค์เดี่ยวขนาดเล็กได้ทั้ง 15 ปัญหา นอกจากนี้ ฮิวริสติกส์ที่ถูกพัฒนาขึ้นยังสามารถค้นหาคำตอบของปัญหา AGAP ทั้งแบบวัตถุประสงค์เดี่ยว และหลายวัตถุประสงค์ที่มีขนาดใหญ่ได้ ในขณะที่ CPLEX ไม่สามารถหาแม้คำตอบตั้งต้นได้ เนื่องจากประสบปัญหาความจำไม่เพียงพอ


แบบจำลองเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการสั่งผลิตจากวัตถุดิบคงคลังส่วนเกิน, คุลิกา ดาดาษ Jan 2021

แบบจำลองเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการสั่งผลิตจากวัตถุดิบคงคลังส่วนเกิน, คุลิกา ดาดาษ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอแบบจำลองเพื่อใช้ในการตัดสินใจสั่งผลิตเพิ่มจากวัตถุดิบคงคลังส่วนเกิน ซึ่งเป็นการหาปริมาณที่สั่งผลิตเพิ่มและปริมาณที่สั่งซื้อวัตถุดิบอื่นเพิ่มสำหรับใช้ในการผลิต ซึ่งกระบวนการนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดมูลค่าของวัตถุดิบคงคลังส่วนเกินที่จะถูกนำไปกำจัดในแต่ละเดือน และก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อธุรกิจด้วย งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่การศึกษาข้อมูลวัตถุดิบคงคลังส่วนเกินและวัตถุดิบคงคลังที่ถูกนำไปกำจัด รวมถึงศึกษาวิธีการสั่งผลิตเพิ่มในปัจจุบัน ขั้นตอนถัดมาเป็นการสร้างขั้นตอนในการจัดสรรวัตถุดิบคงคลังส่วนเกินอย่างง่ายโดยการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อผลิตเพิ่มเติมโดยใช้วัตถุดิบคงคลังส่วนเกินเท่าที่มี จากนั้นได้ออกแบบแบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้นตรงเพื่อนำมาใช้ในการหาปริมาณสั่งผลิตและสั่งซื้อวัตถุดิบเพิ่ม โดยตั้งสมการวัตถุประสงค์ให้เกิดต้นทุนโดยรวมน้อยที่สุดตามเป้าหมายของการตัดสินใจและกำหนดสมการเงื่อนไขที่สอดคล้องกับข้อจำกัดของกระบวนการที่มีวัตถุประสงค์หลักคือลดมูลค่าวัตถุดิบคงคลังส่วนเกิน และขั้นตอนถัดมาคือการประเมินผลการดำเนินงานจากแบบจำลองที่ออกแบบขึ้นด้วยการจำลองสถานการณ์ โดยที่ผลการดำเนินงานจะต้องมีต้นทุนที่น้อยที่สุด และมีมูลค่าวัตถุดิบคงคลังส่วนเกินที่ลดลงจากเดิม ผลของงานวิจัยพบว่าเมื่อนำแบบจำลองประยุกต์ใช้ในการจัดสรรวัตถุดิบคงคลังส่วนเกิน ร่วมกับการสั่งซื้อวัตถุดิบเพิ่มสำหรับการผลิตเพิ่ม สามารถลดมูลค่าวัตถุดิบคงคลังส่วนเกินได้โดยเฉลี่ย 25 % หรือคิดเป็นมูลค่าที่ลดลงได้เฉลี่ยประมาณ 2.13 แสนดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน และยังก่อให้เกิดผลกำไรแก่ธุรกิจเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 1.74 แสนดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าได้สร้างผลประโยชน์ให้แก่ธุรกิจได้ถึง 3.88 แสนดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน


การวัดกำลังพลวัตแฝง, ภูวเดช เสน่ห์เมือง Jan 2021

การวัดกำลังพลวัตแฝง, ภูวเดช เสน่ห์เมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้อมูลที่สำคัญในการประเมินความปลอดภัยในงานยกของหนักตามแนวทางชีวกลศาสตร์ คือ ข้อมูลกำลังยกสูงสุด ซึ่งหาได้จาก 2 แนวทางคือ การประเมินในภาวะสถิต และการประเมินภาวะพลวัต ที่มีความใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหว แต่เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา และความซับซ้อนในการคำนวณ จึงได้มีการประเมินในภาวะพลวัตแฝง (Semi Dynamic) มาใช้แทนการประเมินภาวะพลวัต จากการเปรียบเทียบแนวทางการประเมินกำลังยกสูงสุดในภาวะสถิตและพลวัตแฝงที่ความเร็วในการยกของที่ 0.73 และ 0.54 m/s จากอาสาสมัครทั้ง 8 คน เป็นชาย 4 คน และหญิง 4 คน ทดสอบกำลังยก 3 แบบ คือ 1.การใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ (Composite Strength) 2.กล้ามเนื้อแขน(Arm Strength) และ 3. กล้ามเนื้อไหล่(Shoulder Strength) ผลการศึกษาพบว่า การทดสอบกำลังแบบใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ วิเคราะห์ค่าโมเมนต์และแรงกดอัดบริเวณหลังส่วนล่าง (L5/S1) พบว่ากำลังยกสูงสุดในภาวะพลวัตแฝงที่ 0.73 และ 0.54 m/s มีค่าเฉลี่ยมากกว่าภาวะสถิตร้อยละ 27.21 และ 19.28 ตามลำดับ แต่ค่ากำลังสูงสุดที่ข้อต่อหลังส่วนล่าง (Maximum Joint Strength) ในภาวะพลวัตแฝงที่ 0.73 และ 0.54 m/s มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ากว่าภาวะสถิตร้อยละ 4.08 และ 6.34 ตามลำดับ และแรงกดอัดสูงสุดที่บริเวณหลังส่วนล่างในภาวะพลวัตแฝงที่ 0.73 และ 0.54 m/sมีค่าใกล้เคียงกับภาวะสถิต แสดงว่าการยกแบบเคลื่อนไหวสามารถยกของได้มากกว่าการยกแบบอยู่กับที่โดยที่การทำงานของกล้ามเนื้อหลังเพิ่มขึ้นไม่มาก และค่าความปลอดภัยยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับภาวะสถิต สำหรับผลวิเคราะห์ค่าโมเมนต์ที่ข้อต่อของข้อศอกขณะทดสอบกำลังของกล้ามเนื้อแขน พบว่ากำลังยกสูงสุดในภาวะพลวัตแฝงที่ 0.73 และ 0.54 m/s มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าภาวะสถิตร้อยละ 3.72 และ 4.19 ตามลำดับ แต่ค่ากำลังสูงสุดที่ข้อต่อของข้อศอกในภาวะพลวัตแฝงที่ 0.73 m/s มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าภาวะสถิต ร้อยละ 3.74 แต่ในภาวะพลวัตแฝงที่ 0.54 m/s มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับภาวะสถิต …


การปรับปรุงการพยากรณ์ความต้องการพัสดุบรรจุและนโยบายการเติมเต็มสินค้าคงคลังของพัสดุบรรจุสำหรับโรงงานผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ภมร สถิรมนวงศ์ Jan 2021

การปรับปรุงการพยากรณ์ความต้องการพัสดุบรรจุและนโยบายการเติมเต็มสินค้าคงคลังของพัสดุบรรจุสำหรับโรงงานผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ภมร สถิรมนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการพยากรณ์ความต้องการสินค้าสำเร็จรูป และการพัฒนาระบบเติมเต็มสินค้าคงคลังของพัสดุบรรจุของโรงงานผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อการวางแผนการผลิตที่คลาดเคลื่อน และการจัดเก็บพัสดุบรรจุที่สูงเกินจริง ทั้งนี้ผู้วิจัยพบว่า มูลค่าพัสดุคงคลังเฉลี่ยต่อเดือนของบริษัทกรณีศึกษามีค่าสูงถึงกว่า 92.3 ล้านบาท แต่อัตราการหมุนเวียนของพัสดุบรรจุเฉลี่ยมีค่าค่อนข้างต่ำที่ 3.05 รอบต่อปีเท่านั้น นอกจากนี้บริษัทกรณีศึกษา ยังไม่มีนโยบายการควบคุมปริมาณสินค้าคงคลังของพัสดุบรรจุอย่างเป็นระบบ ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอการปรับปรุงและพัฒนา โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ การพยากรณ์ความต้องการสินค้าที่มีความแม่นยำ และการควบคุมระดับสินค้าคงคลังของพัสดุบรรจุให้มีความสอดคล้องกับพัสดุบรรจุแต่ละประเภท สำหรับการปรับปรุงวิธีการพยากรณ์สินค้าสำเร็จรูป ผู้วิจัยเริ่มจากการจำแนกผลิตภัณฑ์ออกเป็นกลุ่มตามลำดับความสำคัญแบบ ABC (ABC Pareto analysis) จากนั้นจึงเลือกผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่สำคัญ (B285) ไปศึกษาต่อ ผ่านวิธีการพยากรณ์ และตัวชี้วัดความแม่นยำของการพยากรณ์แบบต่างๆ ผู้วิจัยพบว่าวิธีการพยากรณ์แบบดั้งเดิมมีความแม่นยำสูงที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ B285700 และ B2851000 ในขณะที่วิธี Autoregressive integrated moving average หรือ ARIMA นั้นมีความแม่นยำสูงที่สุด และมีค่าสูงกว่าการพยากรณ์แบบดั้งเดิม สำหรับผลิตภัณฑ์ B285345 ในส่วนของการพัฒนาระบบเติมเต็มสินค้าคงคลังของพัสดุบรรจุ ผู้วิจัยเริ่มจากการจำแนกพัสดุบรรจุออกเป็นกลุ่มตามลำดับความสำคัญแบบ ABC จากนั้นจึงเสนอให้เลือกใช้นโยบายทบทวนการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง (Continuous review policy) สำหรับพัสดุบรรจุที่สำคัญ (กลุ่ม A) และนโยบายทบทวนการสั่งซื้อตามช่วงเวลา (Periodic review policy) สำหรับพัสดุบรรจุที่สำคัญรองลงมา (กลุ่ม B และ C) ด้วยรอบระยะเวลาการทบทวนที่แตกต่างกัน ผู้วิจัยพบว่า การประยุกต์ใช้ระบบเติมเต็มพัสดุคงคลังที่นำเสนอสามารถลดมูลค่าการจัดเก็บพัสดุบรรจุคงคลังเฉลี่ยของกลุ่มผลิตภัณฑ์ B285 ในช่วงเวลาที่ทำการจำลองสถานการณ์ (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2564) ลงได้ 6.61 ล้านบาท หรือ 16.54% ตลอดจนสามารถเพิ่มอัตราการหมุนเวียนพัสดุคงคลังขึ้น จากเดิม 3.40 เป็น 4.07 หรือเพิ่มขึ้น 0.67 หน่วย


Analysis Of Inventory In A Food Repackaging Company, Chutipapha Thiantravan Jan 2021

Analysis Of Inventory In A Food Repackaging Company, Chutipapha Thiantravan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to evaluate the nature of business and apply a suitable inventory policy to a case study food-repackaging company. The company adopted bulk-purchasing to packaging inventory to realize the economy of scales. Because of the lacks of purchasing standard and monitoring, this inventory policy led to the overstock, deadstock, and obsolete packaging inventories as well as the fluctuation of inventory turnover rate. The further category analysis of the packaging inventories using ABC analysis reveals that special customized bags and packaging items have a long lead time due to international sourcing and high minimum order quantity (MOQ). As a …


Analyzing Nypd Stop, Question, And Frisk With Machine Learning Techniques, Passiri Bodhidatta Jan 2021

Analyzing Nypd Stop, Question, And Frisk With Machine Learning Techniques, Passiri Bodhidatta

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Although stops from “Stop, Question, and Frisk” program have decreased dramatically after the New York Police Department (NYPD) reform in 2013, the unnecessary stops and weapon use against innocent citizens remain critical problems. This study analyzes the stops during 2014 – 2019, using three tree-based machine learning approaches: Decision Tree, Random Forest, and XGBoost. Models for predicting stops that resulted in a conviction and police’s level of force used are developed and driving factors are identified. Results show that XGBoost outperformed other models in both predictions. The performance of Guilty Prediction was at 65.9% F1 score and 84.0% accuracy. For …


Comparison Of Dashboard Development Between Waterfall Model And Agile Methodologies, Siribhop Yooyongchuen Jan 2021

Comparison Of Dashboard Development Between Waterfall Model And Agile Methodologies, Siribhop Yooyongchuen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Agile Methodology is a concept that focus on communication between product developers and users. The objective is to make product be rapidly developed and effectively meets users’ needs. Objective of this study is to compare dashboard development method between agile methodology and waterfall model. There are 3 dimensions in comparison; speed of development, users’ satisfaction, and efficiency of dashboard. The study used descriptive and experimental research. The sample is dashboard users in Company L. The study is conducted by establishing timeline of dashboard development, semi-constructed interview, and survey applying Technology Acceptance Model and Theory of Planned Behavior. The result of …


การเพิ่มอัตราคุณภาพสินค้าดีของกระบวนการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ชนิดสั้น, เกวลี วรนันท์ Jan 2021

การเพิ่มอัตราคุณภาพสินค้าดีของกระบวนการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ชนิดสั้น, เกวลี วรนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อปรับปรุงอัตราคุณภาพของเส้นใยสังเคราะห์ชนิดสั้น โดยมุ่งเน้นในการลดปริมาณสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ รวมทั้งของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ซึ่งเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ถึง ตุลาคม 2563 และแสดงปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตด้วยกราฟพาเรโต แล้วทำการระดมความคิดเพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราคุณภาพด้วยแผนผังเหตุ และผล จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบปัญหาด้านคุณภาพเพื่อทำการประเมินความรุนแรงของการเกิดข้อบกพร่อง โอกาสในการเกิดข้อบกพร่อง และความสามารถในการตรวจจับข้อบกพร่อง เพื่อคำนวณหาค่าดัชนีความเสี่ยง โดยจะทำการเลือกปัญหาที่มีค่าดัชนีความเสี่ยงมากที่สุดได้แก่ 1) ลมเย็นออกไม่สม่ำเสมอ 2) การเคลื่อนที่ของถังใส่เส้นใยและลูกกลิ้งไม่สัมพันธ์กัน หลังจากทำการปรับปรุงปัญหาที่ส่งผลต่ออัตราคุณภาพ พบว่าอัตราคุณภาพสินค้าดีมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 92.97 เป็นร้อยละ 95.79 และอัตราคุณภาพสินค้าไม่ได้คุณภาพ และของเสียมีปริมาณลดลงจากเดิมร้อยละ 7.03 เป็นร้อยละ 4.21 ซึ่งคิดเป็นเงินจะมีกำไรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 130,892.63 บาท เมื่อทำการผลิตที่ 93 ตันต่อวัน หลังจากนั้นทางบริษัทกรณีศึกษาจึงทำการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็น 96 ตันต่อวัน


การลดของเสียในกระบวนการบรรจุนมพาสเจอร์ไรซ์ชนิดถุง, เกษธนา ลือกิจนา Jan 2021

การลดของเสียในกระบวนการบรรจุนมพาสเจอร์ไรซ์ชนิดถุง, เกษธนา ลือกิจนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการบรรจุนมพาสเจอร์ไรซ์โดยการลดสัดส่วนของเสียจากข้อบกพร่องประเภทซีลไม่ติดและปริมาตรไม่ถึงที่กำหนด ในการดำเนินงานได้ใช้หลักการซิกซ์ ซิกมาในการปรับปรุงกระบวนการเริ่มจากการศึกษาสภาพปัญหา จากนั้นทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยแผนผังก้างปลาและใช้การออกแบบการทดลองแบบพื้นผิวตอบสนองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน การออกแบบพื้นผิวผลตอบสนองแบบส่วนประสมกลางแบบ CCF และการวิเคราะห์การถดถอยในการหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความสมบูรณ์ในการซีล ปริมาตรในการบรรจุและปัจจัยที่มีนัยสำคัญ ผู้วิจัยได้ศึกษาปัจจัยที่อาจทำให้เกิดข้อบกพร่องประเภทซีลไม่ติดพบว่า ปัจจัยที่มีนัยสำคัญได้แก่ ระดับความร้อนในการซีลแนวนอนและระดับเวลาในการซีล ซึ่งควรปรับตั้งที่ระดับ 5 และระดับ 4 ตามลำดับ และได้ศึกษาปัจจัยที่อาจทำให้เกิดข้อบกพร่องประเภทปริมาตรไม่ถึงที่กำหนด พบว่าปัจจัยที่มีนัยสำคัญได้แก่ เวลาในการบรรจุและองศาหัวจ่ายน้ำนม ซึ่งควรปรับตั้งที่ระดับ 39และ 126 องศาตามลำดับ โดยสามารถลดสัดส่วนของเสียจากข้อบกพร่องประเภทซีลไม่ติดลงจากร้อยละ 0.9 ของปริมาณการผลิตเหลือร้อยละ 0 และสัดส่วนของเสียจากข้อบกพร่องประเภทปริมาตรไม่ถึงที่กาหนดลดลงจากร้อยละ 0.63 ของปริมาณการผลิตเหลือร้อยละ 0.04


การพยากรณ์ยอดขายรายวันของสินค้าที่มีราคาหลากหลายในธุรกิจค้าปลีกโดยใช้วิธีการเรียนรู้ของเครื่อง, ชยากร อุปกรณ์ Jan 2021

การพยากรณ์ยอดขายรายวันของสินค้าที่มีราคาหลากหลายในธุรกิจค้าปลีกโดยใช้วิธีการเรียนรู้ของเครื่อง, ชยากร อุปกรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีสาขาและหน่วยสินค้าจำนวนมาก การพยากรณ์ปริมาณความต้องการของผลิตภัณฑ์ของธุรกิจนี้ให้มีความแม่นยำมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะช่วงเวลาจัดโปรโมชั่นของสินค้าทำให้ความต้องการของสินค้ามีความผันผวน มีงานวิจัยต่างๆพบกว่า การใช้ตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องสามารถช่วยทำให้การพยากรณ์ให้มีความแม่นยำดังนั้นงานวิจัยนี้นำเสนอและเปรียบเทียบตัวแบบเพื่อใช้สำหรับการพยากรณ์ยอดขายรายวันของผลิตภัณฑ์ที่ขายดีที่สุดจาก 7 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มียอดขายสูงสุดได้แก่ นม นมผง ซอส ผงซักฟอก ผ้าอ้อม น้ำอัดลม และน้ำมัน จากบริษัทกรณีศึกษา โดยเปรียบเทียบผลการพยากรณ์ตัวแบบอนุกรมเวลา ตัวแบบการถดถอยเชิงพหุคูณ ตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่อง และตัวแบบผสม โดยพิจารณาการพยากรณ์ 4 รูปแบบ การพยากรณ์ยอดขายโดยตรงกับตัวแปรอิสระปกติ การพยากรณ์ลอการิทึมธรรมชาติของยอดขายกับตัวแปรอิสระที่เพิ่มข้อมูลยอดขายตัวเองในอดีต การพยากรณ์ลอการิทึมธรรมชาติของยอดขายกับตัวแปรอิสระ และการพยากรณ์ยอดขายโดยตรงกับตัวแปรอิสระที่เพิ่มข้อมูลยอดขายตัวเองในอดีต ความแม่นยำของตัวแบบการพยากรณ์ถูกเปรียบเทียบด้วยร้อยละค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สมบูรณ์ (MAPE) โดยตัวแบบที่ศึกษาในงานวิจัยนี้ได้แก่ TBATS, Multiple linear regression (MLR), XGBoost, Artificial Neural Network (ANN) และตัวแบบผสม โดยผลการศึกษาพบว่าตัวแบบ ANN ให้ผล MAPE ต่ำสุดที่ 16.04% หากแยกเป็นกลุ่มรูปแบบข้อมูลพบว่ากลุ่มที่มีฤดูกาลและแนวโน้ม และกลุ่มไม่มีฤดูกาลและไม่มีแนวโน้มนั้น ตัวแบบ ANN ได้ผลดีที่สุด ส่วนกลุ่มที่มีฤดูกาลแต่ไม่มีแนวโน้มพบว่าตัวแบบผสม (Hybrid Model) ได้ผลดีที่สุด


การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารโครงการก่อสร้างสถานีก๊าซธรรมชาติเหลว, ชานน จุละจาริตต์ Jan 2021

การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารโครงการก่อสร้างสถานีก๊าซธรรมชาติเหลว, ชานน จุละจาริตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการบริหารโครงการก่อสร้างสถานีก๊าซธรรมชาติเหลวให้สามารถส่งมอบได้ทันตามแผนงานที่กำหนดด้วยการประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสมจากองค์ความรู้ทั้งหมด 5 ด้านของแนวทางการบริหารโครงการด้วย PMBOK ในการปรับปรุงกระบวนการบริหารโครงการตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ นอกจากนี้ยังประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโครงการ ได้แก่ ซอฟต์แวร์การบริหารโครงการ ซึ่งประกอบไปด้วย โปรแกรม Microsoft Project, โปรแกรม Trello และโปรแกรม Sitearound และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบโทรทัศน์วงจรปิด และระบบบลูทูธ บีคอน เพื่อใช้สำหรับการติดตามและควบคุมโครงการระยะไกลแบบเรียลไทม์ จากผลการศึกษาพบว่าการบริหารโครงการตามแนวทางที่ได้นำเสนอมานั้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโครงการก่อสร้างสถานีก๊าซธรรมชาติเหลวได้ โดยพบว่าจำนวนกิจกรรมของโครงการที่แล้วเสร็จทันตามแผนงานที่กำหนดในปี พ.ศ. 2564 นั้นมีทั้งหมด 72 กิจกรรม จากทั้งหมด 76 กิจกรรม หรือคิดเป็น 95% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่ก่อนหน้านี้ที่มีจำนวนกิจกรรมของโครงการที่แล้วเสร็จทันตามแผนงานที่กำหนดทั้งหมด 123 กิจกรรม จากทั้งหมด 152 กิจกรรม หรือคิดเป็น 77% นอกจากนี้การลงทุนเพื่อติดตั้ง IoT ในโครงการก่อสร้างนั้นพบว่ามีความคุ้มค่าทางการเงินในการลงทุนเนื่องจากสามารถลดค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางของพนักงานบริษัทกรณีศึกษา และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากบริษัทกรณีศึกษาไปยังไซต์งานก่อสร้างด้วยรถยนต์ลงได้


การลดปัญหาแกนปูดของเทปพีวีซีโดยใช้แนวทางซิกซ์ ซิกมา, ฐานิดา กาเตชะ Jan 2021

การลดปัญหาแกนปูดของเทปพีวีซีโดยใช้แนวทางซิกซ์ ซิกมา, ฐานิดา กาเตชะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการผลิตเทปพีวีซีสำหรับลดสัดส่วนของเสียประเภทแกนเทปปูดที่มีความสูงเกินค่ามาตรฐานควบคุมที่ 2 มิลลิเมตร โดยนำหลักการและแนวคิดของซิกซ์ ซิกมามาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการภายใต้ 5 ขั้นตอน (DMAIC) เริ่มจากขั้นตอนการนิยามปัญหา โดยทำการศึกษากระบวนการผลิตเพื่อระบุหัวข้อปัญหา กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ถัดมาเป็นระยะการวัดเพื่อหาสาเหตุของปัญหา ในการวิเคราะห์ระบบการวัดเพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีความถูกต้องแม่นยำในระบบการวัดนี้ รวมถึงมีการระดมสมองจากทีมงานผู้ที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยแผนภาพแสดงสาเหตุและผล และใช้ FMEA ในการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาแกนเทปปูด จากนั้นคัดเลือกปัจจัยมาดำเนินการในขั้นตอนการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา โดยทำการออกแบบการทดลองแบบ Face-Center Composite Design (CCF) เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยนำเข้าที่ส่งผลต่อการปูดของแกนเทปอย่างมีนัยสำคัญ จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการปรัปบปรุงโดยจะนำปัจจัยที่ได้ มาปรับหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม แล้วนำมาทำการทดสอบเพื่อยืนยันผลในขั้นตอนการควบคุม ทำการกำหนดและติดตามแผนการควบคุมปัจจัยให้เป็นไปตามเป้าหมายต่อไป โดยผลหลังจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตเทป จะได้ว่ามีสี่ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปูดของแกนเทป ได้แก่ 1.การปรับความหนาของกาวที่ 20 um และ 2.การปรับแรงดัน Nip-pressure ที่ 1 บาร์ นอกจากนี้ในกระบวนการวิเคราะห์ ยังสามารถระบุปัจจัยที่สามารถยับยั้งการปูดของแกนเทปได้โดยการ 3.ปรับอุณหภูมิและ 4.เวลาในขั้นตอนการอบ log roll ที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ภายหลังจากการตั้งค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมของปัจจัยต่างๆ พบว่าความสูงของแกนเทปปูดเฉลี่ยถูกลดระดับลงและอยู่ในค่ามาตรฐานการส่งมอบให้ลูกค้า สามารถลดสัดส่วนของเสียของการเกิดแกนเทปปูดลงได้ จาก 40% เป็น 0% ของของเสียในปัจจุบัน ซึ่งให้ผลลัพธ์มากกว่าผลผลิตที่คาดหวัง นอกจากนี้ความสามารถของกระบวนการยังได้รับการปรับปรุงจาก Cp ที่ 1.15 เป็น 2.14 และ Cpk ที่ 0.14 เป็น 1.35 ซึ่งผ่านเกณฑ์การยอมรับที่ 1.33 ของโรงงาน


การจัดการสินค้าคงคลังบรรจุภัณฑ์วงจรรวมสำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการหลากหลาย​, ธัญญาทิพย์ จันทร์ผ่อง Jan 2021

การจัดการสินค้าคงคลังบรรจุภัณฑ์วงจรรวมสำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการหลากหลาย​, ธัญญาทิพย์ จันทร์ผ่อง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอนโยบายการจัดการวัสดุคงคลังเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของวัสดุคงคลังกลุ่มบรรจุภัณฑ์ 44 รายการของโรงงานเซมิคอนดักเตอร์แห่งหนึ่ง เพื่อลดค่าใช้จ่ายรวมด้านวัสดุคงคลัง และยังคงสามารถรักษาระดับการบริการไว้ที่ 95% ตามเป้าหมาย งานวิจัยนี้ เริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (เช่น ข้อมูลสินค้าคงคลัง เงื่อนไขการสั่งซื้อ และข้อจำกัด) จากนั้น จึงจำแนกกลุ่มวัสดุคงคลังตามระดับความสำคัญด้วยเทคนิค AHP ซึ่งแบ่งกลุ่มจากปัจจัย ดังนี้ 1. มูลค่าการใช้งาน 2. ระยะเวลานำ 3. ความถี่การใช้งาน ถัดมาจึงเป็นการแบ่งรูปแบบความต้องการโดยใช้ ADI และ CV2 พบว่าแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ 1. Smooth Demand 2. Erratic Demand 3. Lumpy Demand จากนั้นจึงนำมากำหนดนโยบายวัสดุคงคลัง ดังนี้ 1. วัสดุคงคลังกลุ่ม Smooth DemandและErratic Demandที่มีการตรวจสอบวัสดุคงคลังอย่างต่อเนื่องใช้นโยบาย (s, S) 2. วัสดุคงคลังกลุ่ม Smooth Demand และErratic Demandที่มีรอบการตรวจสอบเป็นระยะใช้นโยบายOUL และ (R, s, S) ตามลำดับ โดยการกำหนดรอบการสั่งแบบคงที่ 3. วัสดุคงคลังกลุ่ม Lumpy Demandใช้นโยบาย Base-Stock จากนั้นจึงทำการทดสอบนโยบายด้วยแบบจำลองสถานการณ์ ผลการทดสอบ พบว่า ปี2019 ค่าใช้จ่ายรวมลดลง 59.86% และระดับการให้บริการอยู่ที่ 99.42% และปี 2020 ค่าใช้จ่ายรวมลดลง 57.80% และระดับการให้บริการอยู่ที่ 99.35% สุดท้าย จึงทำการตรวจสอบความคงทนของนโยบายที่นำเสนอด้วยการวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยความต้องการ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 15% เมื่อความต้องการลดลง 50% ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดของโรงงานกรณีศึกษา


การปรับปรุงการทำงานของพนักงานซ่อมบำรุงเพื่อลดการสัมผัสสารตะกั่วในโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่ที่ผ่านการใช้งานแล้ว, ประภารัตน์ แดงสุวรรณ Jan 2021

การปรับปรุงการทำงานของพนักงานซ่อมบำรุงเพื่อลดการสัมผัสสารตะกั่วในโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่ที่ผ่านการใช้งานแล้ว, ประภารัตน์ แดงสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พนักงานซ่อมบำรุงในโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่ที่ผ่านการใช้งานแล้วมีความเสี่ยงอันตรายต่อการได้รับพิษจากตะกั่วในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการทำงานของพนักงานซ่อมบำรุงเพื่อลดการสัมผัสสารตะกั่วในโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่ที่ผ่านการใช้งานแล้ว การดำเนินการวิจัยเริ่มจาก 1) การตรวจวัดสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงาน การสังเกตลักษณะการทำงาน การสังเกตพฤติกรรมการทำงานและช่องทางการสัมผัสสารตะกั่ว 2) การประเมินความเสี่ยงอันตรายโด้ใช้ FMEA เป็นแนวทางในการวิเคราะห์หาสาเหตุ ระดับความเสี่ยง และการป้องกัน ผลการศึกษาพบว่า ช่องทางการสัมผัสเข้าสู่ร่างกายได้แก่ 1) ระบบทางเดินหายใจโดยการสูดดมไอควัน ฝุ่น ไอสารตะกั่ว 2) การสัมผัสทางผิวหนังจากของเหลวที่ปนเปื้อนสารตะกั่ว และ 3) ระบบทางเดินอาหารจากมือและร่างกายที่เปื้อนสารตะกั่ว ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสัมผัสสารตะกั่ว เรียงลำดับตามโอกาสในการสัมผัสดังนี้ 1) การฟุ้งกระจายของฝุ่นตะกั่ว 2) แหล่งความร้อนที่ทำให้เกิดไอของตะกั่ว 3) พื้นที่เปียกแฉะจากของเหลวที่ปนเปื้อนสารตะกั่ว 4) พฤติกรรมในการทำงาน 5) ระยะเวลาปฏิบัติงาน และ 6) การพักรับประทานอาหาร ส่วนการปรับปรุงการทำงาน ได้แก่ 1) การติดตั้งอุปกรณ์เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นตะกั่ว 2) การทำฉากกันความร้อนจากไอตะกั่ว 3) การใช้อุปกรณ์เสริมเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของพนักงานซ่อมบำรุง 4) การลดเวลาการทำงานสัมผัสกับความร้อน และ5) การสวมใส่ชุดป้องกัน นอกจากนี้ยังต้องมีมาตรการการเฝ้าระวังสิ่งที่คุกคาม และมาตรการเฝ้าระวังด้านสุขภาพ หลังการดำเนินการปรับปรุงการทำงานเป็นระยะเวลาสิบเดือนพบว่า สามารถลดโอกาสในการสัมผัสสารตะกั่วได้ชัดเจนในขั้นตอนการหลอมซึงลดลงจาก 12 คะแนน เหลือ 4 คะแนน เป็นค่าที่ยอมรับได้ และปริมาณตะกั่วในเลือดของพนักงานซ่อมบำรุงมีค่าลดลงจาก 461.70 µg/L (46.17 µg/dL) เหลือ 157.40 µg/L (15.74 µg/dL) ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติ


การวิเคราะห์พารามิเตอร์ของเครื่องบดหินผสมในการผลิตปูนมอร์ต้า, ปรัชญ์พล พวงศิริ Jan 2021

การวิเคราะห์พารามิเตอร์ของเครื่องบดหินผสมในการผลิตปูนมอร์ต้า, ปรัชญ์พล พวงศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปูนซีเมนต์มอร์ต้าได้รับการพัฒนาเพื่อใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมก่อสร้าง วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตปูนคือทราย กระบวนการบดเป็นกระบวนการหนึ่งของการผลิตเพื่อลดขนาดของหินปูนเป็นทรายให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ (ขนาด 0.1-0.6 มม.) ส่วนที่เหลือจะเป็นผงละเอียดที่มีขนาดเล็กกว่า 0.1 มม. อาจเป็นมลภาวะทางอากาศ ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดเก็บและกำจัดต่อไป การศึกษานี้จึงได้ทำการทดลองหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมที่สุดของเครื่องบดแบบลูกกลิ้งแนวตั้งเพื่อปรับปรุงการบดให้สามารถเพิ่มสัดส่วนของทรายที่ได้ขนาดและลดปริมาณผงหรือฝุ่นละเอียดลง จากผลการทดลองได้ค่าที่เหมาะสมของพารามิเตอร์สำหรับการปรับตั้งเครื่องบดแบบลูกกลิ้งแนวตั้งดังนี้ อัตราป้อนวัตถุดิบ 130 ตัน/ชั่วโมง แรงอัดบด 103 บาร์ ความเร็วในการหมุนของโต๊ะ 9.5 รอบต่อนาที และอัตราการดูดผงละเอียด 37,838 ลบ.ม./ชั่วโมง ทำให้สัดส่วนของทรายเพิ่มจาก 62.91% เป็น 77.34% คิดเป็นผลผลิตเพิ่มขึ้น 14% ในขณะที่สัดส่วนของผงละเอียดลดลงจาก 37% เป็น 14.80%


การปรับปรุงสถานีงานตรวจสอบถังแก๊สคลอรีนโดยใช้การประเมินทางสรีรวิทยาในการทำงาน และชีวกลศาสตร์, ภาณุพงศ์ ภาวิไล Jan 2021

การปรับปรุงสถานีงานตรวจสอบถังแก๊สคลอรีนโดยใช้การประเมินทางสรีรวิทยาในการทำงาน และชีวกลศาสตร์, ภาณุพงศ์ ภาวิไล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารคลอรีนที่มีความชื้นสูงสามารถกัดกร่อนถังโลหะบรรจุสารคลอรีนจนเกิดการรั่วไหล การนำถังมาบรรจุสารคลอรรีนใหม่จึงต้องมีการตรวจสอบและระบายน้ำออกจากถังโดยการยกถังคลอรีนคว่ำลง แต่การยกถังหนัก 50 กิโลกรัม จำนวน 100 ถังต่อคนต่อวัน และท่าทางการยกที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาการปวดหลังของพนักงาน ผลจากการประเมินภาระงานของพนักงานเพศชายทั้ง 10 คน พบว่าค่าแรงกดอัดสูงสุดที่กระดูกสันหลังส่วนล่างเฉลี่ยตลอดการยกอยู่ที่ 5,673.4 นิวตัน และ ผลจากการประเมินภาระความเหนื่อยล้าของงาน โดยวิเคราะห์อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในอนาคต จากการปรับปรุงการทำงานทั้ง 3 แนวทางพบว่า แนวทางการใช้อุปกรณ์ช่วยยกคลอรีนและการใช้กล้องงูสามารถลดค่าแรงกดอัดสูงสุดที่กระทำต่อกระดูกหลังส่วนล่างเหลือน้อยกว่า 1,224.8 นิวตัน และผลประเมินภาระความเหนื่อยล้าของงานอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยกลายเป็นงานภาระเบา แต่แนวทางการใช้พนักงาน 2 คนยกถังคลอรีนสามารถลดค่าแรงกดอัดสูงสุดที่กระทำต่อกระดูกสันหลังส่วนล่างได้น้อยกว่า 3,992.4 นิวตัน และผลประเมินภาระความเหนื่อยล้าของงานอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยเพียง 4 คนจากพนักงานทั้ง 10 คน ตามแนวทางประเมินของ Brouha ดังนั้นทางหน่วยงานกรณีศึกษาจึงได้เลือกแนวทางการใช้อุปกรณ์ช่วยยกและพลิกถังคลอรีน เนื่องจากมีความคุ้มค่าในการลงทุนเทียบกับระดับความปลอดภัยที่ได้รับ


การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวด้วยวิธีการแช่แข็งสำหรับโรงงานแปรรูปขั้นต้นแห่งหนึ่ง, ณัฏฐิกา แซ่โล้ว Jan 2021

การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวด้วยวิธีการแช่แข็งสำหรับโรงงานแปรรูปขั้นต้นแห่งหนึ่ง, ณัฏฐิกา แซ่โล้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มะพร้าวเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีความต้องการตลอดทั้งปี ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปีแต่มีปริมาณที่ไม่คงที่ โดยราคามะพร้าวจะแปรผกผันกับปริมาณผลผลิตมะพร้าว สำหรับกรณีศึกษาซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปผลผลิตมะพร้าวขั้นต้น มีผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าวเพื่อส่งเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์มะพร้าวภายในประเทศต่อไป พบว่าความไม่คงที่ของปริมาณผลผลิตมะพร้าวทำให้ทางธุรกิจกรณีศึกษาประสบปัญหาไม่สามารถจัดส่งผลิตภัณฑ์มะพร้าวได้ครบตามความต้องการของลูกค้า ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดนำวิธีการแช่แข็งมาใช้ในการแปรรูปผลผลิตมะพร้าวเพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์มะพร้าวให้ธุรกิจกรณีศึกษามีผลิตภัณฑ์มะพร้าวจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงินในการลงทุนแปรรูปเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวด้วยวิธีการแช่แข็ง โดยพิจารณาทางเลือกในการลงทุนทั้งในรูปแบบของการใช้บริการบริษัทรับฝากแช่แข็งและการลงทุนสร้างห้องเย็นสำหรับใช้งานภายในธุรกิจกรณีศึกษา โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มต้นจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจกรณีศึกษาเพื่อวิเคราะห์ทางเลือกการลงทุนที่เป็นไปได้ จากนั้นทำการวางแผนการผลิตรายเดือนเป็นระยะเวลา 24 เดือน และประมาณการทางด้านการเงินเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน โดยพิจารณาจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) และระยะเวลาคืนทุน ผลการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของการผลิตรายเดือนเป็นระยะเวลา 24 เดือน พบว่าทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนดีที่สุดคือการแช่แข็งผลิตภัณฑ์มะพร้าวโดยใช้บริการบริษัทรับฝากแช่แข็ง โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 5.28 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) เท่ากับ 25% และใช้ระยะเวลาคืนทุน 8 เดือน นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ความไวของตัวแปรที่เกี่ยวข้องพบว่าคำตอบสำหรับทางเลือกในการลงทุนจะไม่เปลี่ยนแปลงหากราคาขายผลิตภัณฑ์ลดลงไม่ต่ำกว่า 6% หรือราคาวัตถุดิบมะพร้าวเพิ่มขึ้นไม่เกิน 9% ของราคาปัจจุบัน


การปรับปรุงการพยากรณ์ความต้องการและนโยบายการเติมเต็มพัสดุคงคลังสำหรับชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตร, วรพล เดชาดำรงค์ชัย Jan 2021

การปรับปรุงการพยากรณ์ความต้องการและนโยบายการเติมเต็มพัสดุคงคลังสำหรับชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตร, วรพล เดชาดำรงค์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เครื่องจักรกลการเกษตรเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนการทำงานของเกษตรกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการทำงาน แต่เนื่องจากอุปกรณ์มีอายุการใช้งานที่จำกัดและอาจได้รับความชำรุดเสียหายหรือสึกหรอจากการใช้งานได้ จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อทดแทนความเสียหายอยู่เสมอ ดังนั้นผู้ให้บริการหลังการขายเครื่องจักรกลการเกษตรจึงต้องเตรียมพร้อมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการชิ้นส่วนอะไหล่อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จากการวิเคราะห์ความต้องการชิ้นส่วนอะไหล่ของบริษัทกรณีศึกษาพบว่ารูปแบบความต้องการของชิ้นส่วนอะไหล่มีลักษณะไม่คงที่และไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้ การเติมเต็มพัสดุคงคลังจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการพัสดุคงคลังเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการอะไหล่ของลูกค้าได้ทันเวลา งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในบริษัทกรณีศึกษา โดยได้ปรับปรุงวิธีการที่ใช้ในการพยากรณ์ความต้องการชิ้นส่วนอะไหล่ให้มีความแม่นยำขึ้นโดยใช้เทคนิคการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลาที่เหมาะสมกับรูปแบบความต้องการชิ้นส่วนอะไหล่ จากนั้นกำหนดนโยบายการเติมเต็มพัสดุคงคลัง โดยได้กำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพจากอัตราการตอบสนองต่อคำสั่งซื้อของลูกค้า และอัตราการขายสินค้าคงคลัง ผลการวิจัยพบว่าการกำหนดนโยบายการเติมเต็มพัสดุคงคลังแบบระดับพัสดุคงคลังเป้าหมายที่มีรอบการตรวจสอบรายสัปดาห์ มาใช้กับกลุ่มชิ้นส่วนอะไหล่ที่มีรูปแบบความต้องการคงที่สามารถปรับปรุงอัตราการตอบสนองต่อคำสั่งซื้อได้เพิ่มขึ้นจากเดิมโดยเฉลี่ยร้อยละ 16.48 นอกจากนี้การกำหนดนโยบายการเติมเต็มพัสดุคงคลังแบบพอดีกับความต้องการในแต่ละคาบที่มีรอบการตรวจสอบรายวัน มาใช้กับกลุ่มชิ้นส่วนที่มีรูปแบบความต้องการแบบมีฤดูกาลและแบบมีแนวโน้มโน้มพร้อมทั้งฤดูกาลสามารถเพิ่มอัตราการตอบสนองต่อคำสั่งซื้อของลูกค้าขึ้นได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 18.85 และร้อยละ 23.23 ตามลำดับ


การพยากรณ์ดัชนีสุขภาพของมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบเรียลไทม์ในโรงงานปิโตรเคมี โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง, วริศรา ขระเขื่อน Jan 2021

การพยากรณ์ดัชนีสุขภาพของมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบเรียลไทม์ในโรงงานปิโตรเคมี โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง, วริศรา ขระเขื่อน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกสารฉบับนี้นำเสนอการทำนายดัชนีสุขภาพของมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบเรียลไทม์ ที่ใช้ในโรงงานปิโตรเคมีกรณีศึกษาผ่านการใช้เซ็นเซอร์อัจฉริยะและแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่อง ที่ในปัจจุบันวิศวกรซ่อมบำรุง ใช้เทคนิคการบำรุงรักษาตามเวลาและตามเงื่อนไขในการตรวจสอบและวินิจฉัยสภาพของมอเตอร์เหนี่ยวนำเป็นระยะๆ ซึ่งส่งผลต่อมอเตอร์ยังคงขัดข้องเสียหาย โดยการพังเสียหายดังกล่าวบางครั้งทำให้กระบวนการผลิตทั้งหมดต้องหยุดเพื่อทำการบำรุงรักษาแบบฉุกเฉิน ส่งผลให้บริษัทสูญเสียรายได้มหาศาล ดังนั้น ผู้บริหารระดับสูงจึงตัดสินใจเปลี่ยนวิธีในการปฏิบัติงานเดิมเป็นการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์แบบเรียลไทม์แทน โดยเซ็นเซอร์อัจฉริยะถูกติดตั้งบนมอเตอร์เหนี่ยวนำนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับสถานะการทำงานของมอเตอร์และเพื่อระบุความผิดปกติของมอเตอร์ก่อนที่จะเกิดความล้มเหลวขึ้น โดยแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องทั้งสี่แบบที่ได้สร้างขึ้นมาของงานวิจัย ได้รับการตรวจสอบและเปรียบเทียบประสิทธิภาพผลลัพธ์เพื่อประเมินว่าแบบจำลองใดดีที่สุด ประกอบด้วย แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม , แบบจำลองการเพิ่มประสิทธิภาพอนุภาคฝูง, แบบจำลองต้นไม้การตัดสินใจส่งเสริมการไล่ระดับสีและแบบจำลองป่าไม้สุ่ม ซึ่งเมตริกประสิทธิภาพมาตรฐานที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสัมพัทธ์ระหว่างแต่ละแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องต่างๆ ประกอบด้วย ค่าความถูกต้องแม่นยำ , ค่าความแม่นยำ , การเรียกคืน , คะแนน F1 และ เส้นโค้ง AUC-ROC ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองการเพิ่มประสิทธิภาพอนุภาคฝูง ไม่เพียงแต่ได้ค่าความเที่ยงตรงแบบถ่วงน้ำหนักเฉลี่ยสูงสุดเท่านั้น แต่ยังสามารถแยกแยะสถานะดัชนีสุขภาพของมอเตอร์ของมอเตอร์เหนี่ยวนำได้ถูกต้องกว่ารุ่นอื่นๆ


การออกแบบทนทานของการตอกยาเม็ดในวัตถุดิบทางเภสัชกรรม, ศุภณัฐ พารารักษ์ Jan 2021

การออกแบบทนทานของการตอกยาเม็ดในวัตถุดิบทางเภสัชกรรม, ศุภณัฐ พารารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ยาเม็ดเป็นหนึ่งในรูปแบบเภสัชภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากความคงตัวและความสะดวกในการใช้ อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการผลิตมักพบปัญหาการเกิดของเสียซึ่งนำไปสู่กระบวนการผลิตซ้ำอันเป็นผลมาจากความแปรผันของวัตถุดิบ จากผลข้างต้นจึงทำให้งานวิจัยนี้พิจารณาความแปรผันของวัตถุดิบแกรนูลและประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลองทนทานรูปแบบ Taguchi L36 เพื่อกำหนดพารามิเตอร์การตอกเม็ดยาสำหรับวัตถุดิบแกรนูลที่แตกต่างกันให้ได้เม็ดยาที่ผ่านข้อกำหนดลักษณะทางกายภาพ วัตถุดิบแกรนูลแคลเซียมคาร์บอเนต 4 ชนิดถูกผลิตขึ้นภายหลังการศึกษาเบื้องต้นซึ่งกำหนดให้มีความชื้น (ZM) และกระบวนการผลิต (ZT) แตกต่างกัน โดยปัจจัยการตอกยาที่ควบคุมได้ 3 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาตรภายในเบ้า (XV), แรงตอก (XF), ความเร็วรอบการตอก (XS) ถูกกำหนดให้เป็นปัจจัยขาเข้าเพิ่มเติมซึ่งแต่ละปัจจัยประกอบด้วยระดับ 3 ระดับ ค่าตอบสนองที่ศึกษาอ้างอิงจากข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ซึ่งประกอบด้วยค่าน้ำหนัก (YW), Tensile Strength (YTS) และระยะเวลาการแตกตัว (YDT) โดยผลการทดลองที่ได้ถูกนำไปใช้สร้างแบบจำลอง 2 แบบ ได้แก่ Single Independent Response Model (SRM) และ Multiple Dependent Response Model (MRM) เมื่อเปรียบเทียบค่า AIC และ MAPE ของแบบจำลองเหล่านั้น พบว่า MRM มีความแม่นยำต่ำกว่าแต่กลับมีความโดดเด่นในการให้บริเวณผลลัพธ์ที่เป็นไปได้เทียบกับ SRM โดยพารามิเตอร์การตั้งค่าเครื่องตอกยาที่เหมาะสม ได้แก่ 1549.4 cm3, 3.49 N และ 36 rpm สำหรับปัจจัย XV, XF, และ XS ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ได้เม็ดยาที่ผ่านข้อกำหนดลักษณะทางกายภาพและลดผลกระทบจากความแปรผันของวัตถุดิบอย่างคงทน


ระบบสนับสนุนการจัดตารางและควบคุมการผลิต สำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์, อัจฉราพร เพชรเก่า Jan 2021

ระบบสนับสนุนการจัดตารางและควบคุมการผลิต สำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์, อัจฉราพร เพชรเก่า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้พัฒนาระบบสนับสนุนการจัดตารางและควบคุมการผลิตสำหรับกระบวนการผลิตเป็นแบบเครื่องจักรเดี่ยว โดยมีเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรขึ้นอยู่กับลำดับงานก่อนหน้า ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรโดยที่ยังคงสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ทันระยะเวลาการส่งมอบ รวมถึงช่วยควบคุมการผลิต ซึ่งงานวิจัยนี้เริ่มต้นตั้งแต่การศึกษาและรวบรวมข้อมูลลักษณะสินค้า เงื่อนไขการผลิต รวมถึงขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมบนพื้นที่การผลิต จากนั้นทำการศึกษาวิธีการฮิวริสติกและออกแบบวิธีการวางแผนการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้นำเสนอหลักการฮิวริสติกมาใช้ในการวางแผนการผลิต โดยประยุกต์จากกฎการจ่ายงานต่างๆ ระหว่าง EDD (Earliest Due Date), SPT (Shortest Processing Time) และ CUC (Closet Unvisited City) จากนั้นทำการออกแบบและพัฒนาระบบที่ช่วยสนับสนุนการจัดตารางและควบคุมการผลิตรวมถึงระบบฐานข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนคือ 1) การป้อนข้อมูลความต้องการสินค้าเข้าสู่ระบบ 2) การจัดตารางการผลิต 3) การส่งงานเข้าสู่การผลิต 4) การติดตามการผลิต และ 5) การปิดคำสั่งการผลิต ขั้นตอนถัดมาคือทำการทดสอบและประเมินผลวิธีการวางแผนการผลิตที่นำเสนอและระบบที่พัฒนาขึ้น ซึ่งผลของการประเมินในด้านประสิทธิผลของระบบ โดยทำการเปรียบเทียบผลรวมของเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรด้วยวิธีการวางแผนในปัจจุบันกับวิธีการวางแผนการผลิตที่นำเสนอ โดยใช้ข้อมูลในอดีตของงานที่ต้องผลิต ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2562 จนถึง เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2564 พบว่าสามารถลดเวลาในการปรับตั้งเครื่อง 36% โดยเฉลี่ย และในด้านประสิทธิภาพของระบบ พบว่าระบบที่นำเสนอนี้สามารถช่วยลดขั้นตอนในการจัดตารางการผลิตให้กับผู้ใช้งานอย่างมาก รวมทั้งสามารถติดตามและควบคุมผลผลิตได้ตามวัตถุประสงค์และผ่านเกณฑ์การประเมินผลการยอมรับจากผู้ใช้งาน


การปรับปรุงการกระทบของมือจับแบบไม่มีตัวหน่วงในรถกระบะโดยใช้แนวคิดซิกซ์ ซิกม่า, อาทิชา วัฒนะไมตรี Jan 2021

การปรับปรุงการกระทบของมือจับแบบไม่มีตัวหน่วงในรถกระบะโดยใช้แนวคิดซิกซ์ ซิกม่า, อาทิชา วัฒนะไมตรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการปรับปรุงการกระทบกันระหว่างส่วนจับและฐานของมือจับแบบไม่มีตัวหน่วง ซึ่งเป็นชิ้นส่วนภายในรถกระบะ โดยใช้หลักการของซิกซ์ ซิกม่า มือจับเป็นชิ้นส่วนภายในรถยนต์ถูกติดตั้งอยู่บริเวณผ้าหลังคาภายในรถยนต์ มีหน้าที่ช่วยการทรงตัวของผู้โดยสารขณะเดินทาง โดยมือจับในตลาดที่แต่ละผู้ผลิตรถยนต์นำมาใช้กับรถจริงมีอยู่ 3 ประเภท คือ มือจับแบบมีตัวหน่วง (Assist Grip with damper), มือจับแบบไม่มีตัวหน่วง (Assist Grip without damper) และมือแบบยึดติด (Assist Grip fixing type) โดยปัญหาการกระทบของมือจับที่เกิดขึ้นหลังจากใช้งานมือจับ มีเสียงกระทบระหว่างส่วนจับและฐานดังเกิดขึ้น และดังเกินมาตรฐานที่บริษัทกำหนดไว้ คือ เสียงกระทบต้องต่ำกว่า 95 เดซิเบล และจำนวนครั้งการกระทบน้อยกว่า 3 ครั้ง ซึ่งในการปรับปรุงการกระทบของมือจับ จะนำหลักการการปรับปรุงจากซิกซ์ ซิกม่า มาใช้ ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะนิยามปัญหา (Define phase), ระยะการวัดเพื่อกำหนดปัญหา (Measurement phase), ระยะการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุและปัจจัย (Analysis phase), ระยะการปรับปรุงกระบวนการ (Improvement phase) และ ระยะการควบคุมกระบวนการ (Control phase) หรือ DMAIC หลังจากผ่านขั้นตอนทั้งห้าของซิกซ์ ซิกม่า พบว่า มี 5 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการกระทบของมือคือ ค่า K ของสปริง วัสดุของมือจับ น้ำหนักของส่วนจับ พื้นที่การกระทบ และองศาของการใช้งาน เมื่อทำการปรับปรุงปัจจัยทั้งห้า เสียงกระทบระหว่างส่วนจับและฐานลดลงจากเฉลี่ยอยู่ที่ 96.4 เหลือ 91.6 เดซิเบล จำนวนครั้งการกระทบจาก 4 ครั้ง เหลือ 2 ครั้ง ซึ่งอยู่ในมาตรฐานที่บริษัทกำหนด สามารถนำมือจับแบบไม่มีตัวหน่วงสามารถนำไปใช้กับรถกระบะในบริษัทได้จริง และสามารถสร้างผลกำไรให้กับบริษัทถึง 4 ล้านบาทต่อปี


การพยากรณ์มูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบของประเทศไทย, อุรชา จันทรภา Jan 2021

การพยากรณ์มูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบของประเทศไทย, อุรชา จันทรภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเป็นสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญของประเทศไทย มีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับแรก ๆ ของประเทศ มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและเป็นรายได้หลักจากการส่งออกของประเทศ การพยากรณ์มูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบจะช่วยให้มองเห็นทิศทางของการส่งออก เพื่อวางแผนนโยบายการค้าหรือสนับสนุนการผลิตให้เกิดมูลค่ามากที่สุด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับพยากรณ์มูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบโดยรวมของประเทศไทย และมูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบไปประเทศคู่ค้าที่มีมูลค่าการส่งออกจากประเทศไทยมากที่สุด 2 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลียและประเทศญี่ปุ่นด้วยวิธีอนุกรมเวลา วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ วิธีการเรียนรู้ของเครื่อง และวิธีพยากรณ์แบบผสม โดยใช้ค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) ในการเปรียบเทียบความแม่นยำของตัวแบบพยากรณ์ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิธีการพยากรณ์ของงานวิจัยนี้เป็นข้อมูลรายเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 เป็นจำนวนทั้งหมด 156 เดือน วิธีที่ใช้ในการพยากรณ์ ได้แก่ Moving Average, Holt-Winters, SARIMA, Multiple Linear Regression, Artificial Neural Networks, Support Vector Regression, XGBoost, LSTM และวิธีพยากรณ์แบบผสม ผลการศึกษาพบว่า ตัวแบบพยากรณ์ที่มีความแม่นยำและเหมาะสมมากที่สุดสำหรับพยากรณ์มูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบโดยรวมของประเทศไทย มูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของประเทศไทยไปประเทศออสเตรเลียและประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ ตัวแบบพยากรณ์ผสมวิธี LSTM-XGB วิธี SARIMA-XGB และวิธี LSTM-SARIMA มีค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยเท่ากับ 6.63% 15.40% และ 6.27% ตามลำดับ


การลดระยะเวลาการแห้งตัวของงานพิมพ์ฉลาก, ณัฐพล บุญรักษา Jan 2021

การลดระยะเวลาการแห้งตัวของงานพิมพ์ฉลาก, ณัฐพล บุญรักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงพิมพ์กรณีศึกษาจำเป็นต้องลดระยะเวลาการผลิตงานพิมพ์ฉลากเพื่อให้ทันตามความต้องการของลูกค้า งานวิจัยนี้ พบขั้นตอนการรอให้งานพิมพ์ฉลากแห้งตัวใช้เวลามากที่สุดในการผลิต มีวัตถุประสงค์ต้องการลดระยะเวลาแห้งตัวของงานพิมพ์ฉลาก ผู้ศึกษาวิจัยพบว่าการรอแห้งตัวของงานพิมพ์ฉลาก ใช้เวลามากถึง 72 ชั่วโมง จากเวลาการผลิต 159.5 ชั่วโมงหรือคิดเป็น 45 % จึงตั้งคณะทำงานจำนวน 6 คนเพื่อระดมสมอง (Brainstorming) และหาปัจจัยที่จะส่งผลต่อการแห้งตัวของงานพิมพ์ฉลากโดยใช้แผนภาพก้างปลา (Fish bone) ในด้านต่างๆคือ คน (Man) เครื่องจักร (Machine) กระบวนการทำงาน (Method) วัตถุ (Material) และสิ่งแวดล้อม (Environment) พบปัจจัยทั้งหมด 15 ปัจจัยที่คาดว่าส่งผลต่อการแห้งตัวของงานพิมพ์ฉลาก นำปัจจัยให้คะแนนความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผล (Cause & Effect Matrix) และใช้กฎพาเรโต (Pareto) กฎ 80/20 ในการเรียงลำดับคะแนนความสำคัญ ซึ่งได้ 6 ปัจจัยคือ 1.ปริมาณของเม็ดสีในหมึกพิมพ์ 2.ปริมาณการปล่อยสารเคลือบ 3.ปริมาณการปล่อยหมึกพิมพ์ 4. อุณหภูมิห้องปิด 5.ปริมาณสารเร่งแห้งในหมึก 6. ปริมาณสารเร่งแห้งในสารเคลือบและออกแบบการทดลองเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาการแห้งตัวโดยเลือกการทดลองแบบฮาฟแฟคทอเรียล (Half-Factorial Design) หลังการทดลองพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการแห้งตัวของงานพิมพ์ฉลากคือ1)ปริมาณสารเคลือบ2)ปริมาณสารเร่งแห้งในหมึกและ3)ปริมาณสารเร่งแห้งในสารเคลือบ นำสามปัจจัยดังกล่าวมาออกแบบการทดลองหาระดับที่เหมาะสมเพื่อให้ฉลากแห้งเร็วที่สุดแต่ต้องไม่มีปัญหาด้านคุณภาพ ผลลัพธ์คือระดับปริมาณสารเคลือบ20% สารเร่งแห้งในหมึก3% และปริมาณสารเร่งแห้งในสารเคลือบ3% และทดสอบกับตัวอย่าง5 ชุดการทดลองเพื่อยืนยันผลการทดลองโดยอ้างอิงระดับปัจจัยการจากทดลองพบว่าระยะเวลาแห้งตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 31 ชั่วโมง จากเดิม 72 ชั่วโมง เวลาในการแห้งตัวลดลง 41 ชั่วโมง คิดเป็น 56 %


การประยุกต์ใช้ฮิวริสติกส์แบบ 2 ขั้น สำหรับการจัดตารางการผลิตในกระบวนการติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงบนแผ่นวงจร, พัฒนโชค อินทะโส Jan 2021

การประยุกต์ใช้ฮิวริสติกส์แบบ 2 ขั้น สำหรับการจัดตารางการผลิตในกระบวนการติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงบนแผ่นวงจร, พัฒนโชค อินทะโส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดตารางการผลิตในกระบวนการติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงบนแผ่นวงจร (Surface Mount Technology, SMT) เป็นกระบวนการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต เช่น เครื่องจักร วัตถุดิบ ผู้ปฏิบัติงาน รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ในการผลิต อย่างไรก็ดี การจัดตารางการผลิตในกระบวนการดังกล่าวกลับมีความซับซ้อน อันเนื่องมาจากความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ทั้งในมุมของจำนวนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประเภทของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงประเภทของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิตที่แตกต่างกันออกไป หากตารางการผลิตไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลทำให้ไม่สามารถส่งงานไปยังกระบวนการถัดไปได้ทันเวลา สูญเสียเวลาในการผลิตมากเกินความจำเป็น อีกทั้งยังส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์อีกด้วย งานวิจัยนี้จึงได้ทำการพัฒนาฮิวริสติกส์แบบ 2 ขั้น เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการจัดตารางการผลิตในกระบวนการดังกล่าว โดยในขั้นตอนการหาผลเฉลยเบื้องต้น ได้ประยุกต์ใช้กฎการส่งมอบงานที่เร็วที่สุด (Earliest Due Date, EDD) แล้วจึงทำการปรับปรุงผลเฉลยที่ได้ด้วยการบูรณาการระหว่างการปรับปรุงผลเฉลยเฉพาะถิ่น และอัลกอริทึมในการย้ายขอบเขตการค้นหา (Escape Mechanism) เพื่อค้นหาผลเฉลยที่ดีขึ้น จากนั้นทำการทดสอบฮิวริสติกส์ที่ถูกพัฒนาขึ้น โดยได้ทำการเปรียบเทียบคุณภาพของคำตอบที่ได้ กับตารางการผลิตในอดีตของบริษัทกรณีศึกษาแห่งหนึ่ง พบว่าวิธีการดังกล่าวสามารถลดระยะเวลาในการปิดงาน (Makespan) ลดระยะเวลาเตรียมงาน (Setup Time) และลดต้นทุนค่าล่วงเวลาลงร้อยละ 16, 27, 32 ตามลำดับ