Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Electrical and Computer Engineering

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 30 of 57

Full-Text Articles in Engineering

ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตกระเบื้องปูพื้นคอนกรีต : กรณีศึกษา, ญาณพิมพ์พา จำเนียรเจริญสุข Jan 2019

ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตกระเบื้องปูพื้นคอนกรีต : กรณีศึกษา, ญาณพิมพ์พา จำเนียรเจริญสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานผลิตกระเบื้องปูพื้นคอนกรีต ผลวิเคราะห์การใช้พลังงานปี 2560-2562 ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยระหว่างผลผลิตกับการใช้พลังงานไฟฟ้ามีค่า R2 0.34 เนื่องจากผลผลิตของกระเบื้องปูพื้นคอนกรีตมีหลายกลุ่มสินค้าที่มีการใช้พลังงานต่างกัน จึงแบ่งกลุ่มสินค้าเป็น 2 กลุ่ม คือ Terrazzo Tile และ Other Tiles เมื่อวิเคราะห์การถดถอยระหว่างผลผลิตสินค้ากลุ่ม Terrazzo Tile กับการใช้พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากมีอุปกรณ์เครื่องวัดการใช้พลังงานค่า R2 อยู่ที่ 0.92 เมื่อวิเคราะห์โดยใช้ค่าพลังงานจำเพาะและกราฟ CUSUM สินค้า Terrazzo Tile พบว่าปี 2561 และ 2562 ประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่ำกว่าปี 2560 เนื่องจากค่า SEC สูงกว่า เพื่อกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานเลือกข้อมูลที่มีค่า SEC ต่ำจำนวน 6 เดือนมาเป็นตัวแทนเดือนที่มีศักยภาพการใช้พลังงานสูง โรงงานตัวอย่างจะมีศักยภาพการประหยัดพลังงานจากกลุ่มสินค้า Terrazzo Tile อยู่ที่ 417,488 kWh ต่อปี จากการวิจัยนี้พบว่าเพื่อให้การวิเคราะห์การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพควรติดตั้งอุปกรณ์เครื่องวัดการใช้พลังงานทุกกระบวนการผลิตสำหรับวิเคราะห์การใช้พลังงานทุกกลุ่มสินค้า


การปรับปรุงอาคารสำนักงานเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ : กรณีศึกษาอาคารอำนวยการ องค์การเภสัชกรรม, ยชนา เชาวนะกมล Jan 2019

การปรับปรุงอาคารสำนักงานเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ : กรณีศึกษาอาคารอำนวยการ องค์การเภสัชกรรม, ยชนา เชาวนะกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากรอบอาคารของอาคารสำนักงาน อาคารอำนวยการ องค์การเภสัชกรรม ให้กรอบอาคารมีค่าการถ่ายเทความร้อนเป็นไปตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ฉบับที่ 2 (ปี พ.ศ.2550) รวมทั้งวิเคราะห์ผลทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุนของมาตรการทางการเงินและความคุ้มทุน วิธีการศึกษาการใช้วิธีการจำลองอาคารด้วยโปรแกรม Building Energy Code Software version 1.0.6 (BEC v.1.0.6) โดยรวบรวมข้อมูลกรอบอาคาร อุปกรณ์ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และระบบปรับอากาศ จากการจำลองอาคารพบว่า ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมทั้งผนังด้านนอกอาคาร (OTTV) เท่ากับ 34.102 W/m² ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือต่ำกว่า 50 W/m² ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคาร (RTTV) เท่ากับ 19.433 W/m² ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือ 15 W/m² มีค่ากำลังไฟฟ้าส่องสว่างสูงสุด (LPD) เท่ากับ 14.461 W/m² ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือ 14 W/m² ค่าการประเมินศักยภาพด้านพลังงานของระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน (EER) ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือต่ำกว่า 3.22 W/W และค่าการใช้พลังงานทั้งหมดของอาคารเท่ากับ 813,300 kWh/Year ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคือสูงกว่าอาคารอ้างอิง พลังงานที่ใช้ในอาคารส่วนใหญ่มาจากระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และระบบปรับอากาศ คิดเป็นร้อยละ 76.75 ของการใช้พลังงานทั้งหมด ทั้งนี้ถ้าต้องการลดการใช้พลังงานเพื่อการอนุรักษ์พลังงานของอาคาร จำเป็นต้องปรับปรุงโดยการเปลี่ยนหลอดไฟเป็นแอลอีดี การติดตั้งฉนวนกันความร้อนชนิดโพลิสไตรีนโฟมที่หลังคา และการเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนเฉพาะเครื่องที่ไม่ผ่านเกณฑ์ให้เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นจะได้ค่า RTTV 13.605 W/m² ค่า LPD 6.627 W/m² ค่า EER มากกว่า 3.22 W/W มาตรการนี้ทำให้ค่า RTTV ลดลงร้อยละ 30 ซึ่งทำให้อาคารมีการใช้พลังงานรวมลดลงร้อยละ 29.66 โดยมีผลประหยัด 964,972 บาทต่อปี มีระยะเวลาคืนทุน 6 ปี 5 เดือน


การวิเคราะห์ต้นทุนไฟฟ้าของการผลิตสมุนไพรด้วยวิธีการจัดสรรต้นทุน, รัชญา ฤาชัยตระกูล Jan 2019

การวิเคราะห์ต้นทุนไฟฟ้าของการผลิตสมุนไพรด้วยวิธีการจัดสรรต้นทุน, รัชญา ฤาชัยตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ต้นทุนค่าไฟฟ้าส่วนกลางที่มีการใช้ร่วมกันของผลิตภัณฑ์ 7 ประเภท ที่ผลิตจากแผนกผลิตสมุนไพร ในรอบ 1 ปี ของโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่ง ทางภาคเหนือ เป็นมูลค่า 881,139.50 บาท โดยวิเคราะห์และกำหนดการจัดสรรปันส่วน (Allocation Base Analysis) ของต้นทุนพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะอาศัยหลักเกณฑ์ที่ใช้จัดสรรปันส่วน (Cost Allocation Criteria) คือ 1) Naive 2) Causal Relation และ 3) Benefit Received และอาศัยฐานที่ใช้จัดสรรปันส่วน (Cost Allocation Base) คือ 1) ชั่วโมงเครื่องจักร (Machine-Hours 2) ชั่วโมงแรงงานทางตรง (Direct Labor-Hours) และ 3) ต้นทุนการใช้วัตถุดิบ (Direct Material Usage) จากผลการวิจัยพบว่า ในการจะเลือกใช้หลักเกณฑ์และฐานเพื่อนำมาจัดสรรปันส่วนพลังงานไฟฟ้าในการผลิตจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม โดยพบว่าโรงพยาบาลไม่ได้มุ้งเน้นแสวงหากำไรเป็นหลัก แต่มุ่งเน้นช่วยเหลือชุมชน ดังนั้นการเลือก Causal Relation เป็นหลักเกณฑ์ (Criteria) จึงเหมาะสมมากที่สุด ส่วนด้านกระบวนการและวัตถุดิบในการผลิตของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน การเลือก ชั่วโมงเครื่องจักร จึงเหมาะสมมากที่สุดในการวิเคราะห์ต้นทุนค่าไฟฟ้า โดยนำชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตมาวิเคราะห์


การศึกษาปัจจัยและประเมินการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย, ภัทรลดา สินทรัพย์ Jan 2019

การศึกษาปัจจัยและประเมินการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย, ภัทรลดา สินทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ รวมทั้ง ได้ประเมินการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งนำแบบจำลองการเลือกซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคของศูนย์วิจัยพลังงานแห่งเอเชียแปซิฟิกมาประยุกต์ใช้ในการคาดการณ์การเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยปัจจัยที่มีความสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้ประเมินค่า 5 ระดับ ตามแนวทางของ Likert Scale และผลจากการคาดการณ์การเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าประเภท รย.1 ในปี ค.ศ. 2050 ของประเทศไทย ได้คาดการณ์เป็น 2 ภาพเหตุการณ์คือ ภาพเหตุการณ์พื้นฐาน และภาพเหตุการณ์ที่มีนโยบายส่งเสริมอย่างเข้มข้นเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยอ้างอิงจากรถยนต์ไฟฟ้า 3 ชนิด ได้แก่ รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ซึ่งผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อทั้งภาครัฐและเอกชนในการกำหนดนโยบายและพัฒนาคุณลักษณะของรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้ง โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง


ศึกษาเปรียบเทียบระบบน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างแบบแผ่นเรียบและแบบหลอดแก้วสุญญากาศ, อภิวัฒน์ สุขาภิรมย์ Jan 2019

ศึกษาเปรียบเทียบระบบน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างแบบแผ่นเรียบและแบบหลอดแก้วสุญญากาศ, อภิวัฒน์ สุขาภิรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องนี้ได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ ระหว่างแบบแผ่นเรียบและแบบหลอดแก้วสุญญากาศ จากการเก็บข้อมูลจริงเป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน โดยวิเคราะห์จากปัจจัยที่อาจจะมีผลต่ออุณหภูมิของน้ำ เช่น ความเข้มแสงอาทิตย์ ความชื้นในอากาศ อุณหภูมิอากาศ น้ำเข้า-ออกแผงรับความร้อน พบว่าสภาพอากาศมีผลต่อการผลิตน้ำร้อนมากที่สุด โดยในวันที่แสงแดดดีจะทำความร้อนได้สูงแต่ในวันที่ฝนตกจะไม่สามารถทำความร้อนได้ และแผงทำความร้อนทั้งสองแบบมีช่วงการทำความร้อนที่ไม่เท่ากัน โดยที่แผงทำความร้อนแบบแผ่นเรียบจะมีช่วงเวลาที่สามารถเพิ่มอุณหภูมิของน้ำได้แคบกว่าแบบหลอดแก้วประมาณ 1.5-2 ชั่วโมงต่อวัน แต่ช่วงเวลา09.00-15.00 แผงแบบแผ่นเรียบสามารถทำความร้อนได้สูงกว่าแบบหลอดแก้วสุญญากาศ ทั้งนี้ประสิทธิภาพรวมตลอดวันของแผงทั้งสองชนิดมันจะขึ้นอยู่กับปริมาณแสงแดดแต่ละช่วงเวลาของวันนั้นๆ โดยปริมาณแสงแดดมากน้อยไม่เท่ากันแต่ละช่วงเวลา จะส่งผลต่อความได้เปรียบเสียเปรียบของแผงทำน้ำร้อนทั้งสองขนิด นอกจากนี้ยังพบว่าแผงแบบแผ่นเรียบมีอัตราการสูญเสียความร้อนที่สูงกว่าแบบหลอดแก้วสุญญากาศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอณุหภูมิบริเวณที่ทำการทดลองโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน โดยปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้แผงทั้งสองชนิดได้มีผลได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันไป ทางด้านจุดคุ้มทุนพบว่า ทั้งสองระบบมีจุดคืนทุนไม่ต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับราคาขายในท้องตลาด


การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์โรงไฟฟ้าพลังงานลม, ปรีชญา อุ่นใจ Jan 2019

การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์โรงไฟฟ้าพลังงานลม, ปรีชญา อุ่นใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ภายในปี พ.ศ. 2563 มีแผนที่จะเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานลมรวม 270 เมกกะวัตต์ โดยใช้ราคารับซื้อไฟฟ้าอ้างอิงเฉลี่ยไม่สูงกว่า 2.44 บาทต่อหน่วย การศึกษานี้จึงได้วิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของโรงไฟฟ้าพลังงานลมเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดระบบเงินเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) สำหรับการวิเคราห์ต้นทุนและผลตอบแทนโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาดเล็กในประเทศไทย (90 เมกกะวัตต์) ได้ดำเนินการศึกษาทั้งหมด 3 โครงการ ภาคกลางที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดชัยภูมิ และภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ในเวลา 1 ปีคือ 179.75 GWh, 227.06 GWh และ 182.91 GWh โดยใช้เงินลงทุน 6,026 ล้านบาทต่อโครงการ ผลจากการวิเคราะห์เงินลงทุนและผลตอบแทนของโครงการที่แบ่งออกเป็น 3 กรณี ในกรณีฐาน คิดโดยใช้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่ 2.44 บาท กรณีที่ 2 คิดโดยใช้กรณีฐานรวมกับผลประโยชน์ที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ (Intangible Benefit) และกรณีที่ 3 คิดโดยใช้กรณีฐานรวมกับ Adder คือได้เงินสนับสนุน 3.5 บาท เป็นระยะเวลา 10 ปี ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในกรณีที่ 1 ของทั้ง 3 โครงการไม่สามารถที่จะดำเนินโครงการได้ เนื่องจากค่า FIRR น้อยกว่า i (6%) และ B/C Ratio มีค่าน้อยกว่า 1 เมื่อคิดในกรณีที่ 2 ที่รวม intangible benefit และในกรณีที่ 3 ที่คิดรวม Adder ทำให้โครงการมีความคุ้มค่าที่นักลงทุนจะลงทุน ซึ่งมี 2 โครงการในจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดชัยภูมิ ที่มีค่า B/C Ratio ในกรณีที่คิดรวม Intangible Benefit มีค่ามากกว่า B/C Ratio ในกรณีที่คิดรวม Adder หมายความว่าประโยชนฺที่รัฐหรือชุมชนจะได้รับมีมากกว่าที่นักลงทุนจะได้รับ …


การศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงน้ำแข็งในประเทศไทย, สุจิตรา จำนงบุตร Jan 2019

การศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงน้ำแข็งในประเทศไทย, สุจิตรา จำนงบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกลุ่มโรงงานน้ำแข็งที่เป็นโรงงานควบคุม โดยศึกษาข้อมูลจากรายงานการจัดการพลังงานของโรงงานน้ำแข็งจำนวน 80 แห่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2558 - 2561 ซึ่งมีการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมมากกว่า 500 ล้านหน่วย (GWh) ต่อปี เฉลี่ยต่อแห่ง 6.25 ล้านหน่วยต่อปี และคัดเลือกกลุ่มโรงงานตัวอย่างจำนวน 20 แห่ง มาวิเคราะห์ค่าการใช้พลังงานจำเพาะ (SEC) โดยละเอียด พบว่าค่า SEC หรือประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงงานน้ำแข็งมีค่าตั้งแต่ 59 -133 kWh/ตัน และมีค่าเฉลี่ยที่ 98 kWh/ตัน เมื่อวิเคราะห์รายประเภทโรงงานน้ำแข็งพบว่า โรงงานผลิตน้ำแข็งหลอดและโรงงานผลิตน้ำแข็งซองมีค่า SEC เฉลี่ยเท่ากันที่ 94 kWh/ตัน ในขณะที่โรงงานที่ผลิตทั้งน้ำแข็งซองและน้ำแข็งหลอดมีค่า SEC เฉลี่ยที่ 104 kWh/ตัน การศึกษายังพบว่าโรงงานน้ำแข็งที่ผลิตน้ำแข็งประเภทเดียวกัน มีปริมาณการผลิตใกล้เคียงกัน แต่มีค่า SEC ต่างกันมากถึง 31% โดยข้อมูลจากรายงานการจัดการพลังงานแสดงให้เห็นว่า โรงงานที่มีค่า SEC สูงกว่ามีชั่วโมงการทำงานต่อปีมากกว่าถึง 65% ส่งผลให้การใช้พลังงานไฟฟ้าสูงกว่าในขณะที่ผลิตน้ำแข็งได้ปริมาณใกล้เคียงกัน สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการผลิตที่ต่ำกว่าและศักยภาพในการอนุรักษ์พลังงานที่สูงกว่า โรงงานน้ำแข็งมีค่า SEC เฉลี่ยต่ำที่สุด 59 kWh/ตัน เมื่อวิเคราะห์สมการถดถอย การใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามปริมาณการผลิตและเป็นไปตามความสัมพันธ์เชิงเส้น ส่วนค่า SEC ลดลงเมื่อการผลิตน้ำแข็งมากขึ้น โดยพลังงานที่ใช้สามารถแยกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่คงที่ไม่ขึ้นกับปริมาณการผลิตและส่วนที่แปรผันตามปริมาณการผลิต โดยส่วนแรกคิดเป็น 11.86% ของพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยที่ใช้ในการผลิตน้ำแข็งในแต่ละเดือน การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและการบำรุงรักษาทำความสะอาด เป็นมาตรการที่นิยมใช้ในโรงงานน้ำแข็ง ทำให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน


การศึกษาเชิงเปรียบเทียบข้อกำหนดมาตรฐานการจัดการพลังงานสากล Iso 50001:2018 และกฎหมายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับโรงงานและอาคารควบคุม, กิตติคุณ สินอุปการ Jan 2019

การศึกษาเชิงเปรียบเทียบข้อกำหนดมาตรฐานการจัดการพลังงานสากล Iso 50001:2018 และกฎหมายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับโรงงานและอาคารควบคุม, กิตติคุณ สินอุปการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบข้อกำหนดมาตรฐานการจัดการพลังงานสากล ISO 50001:2018 กับการจัดการพลังงานตาม พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) จากการเปรียบเทียบข้อกำหนดพบว่า ISO 50001:2018 มีความใกล้เคียงกับ พ.ร.บ. เป็นอย่างมาก โดยหัวข้อหลักของ ISO 50001:2018 ครอบคลุมข้อกำหนดทั้งหมดของ พ.ร.บ. ทั้งนี้ มีหัวข้อที่แตกต่างจากข้อกำหนดตาม พ.ร.บ. จำนวน 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ (1) บริบทขององค์กร (2) การวางแผน (3) การสนับสนุน (4) การจัดหา และ (5) การปรับปรุง ซึ่ง ISO 50001:2018 มีความแตกต่างจาก ISO 50001:2011 จำนวน 2 หัวข้อ ได้แก่ หัวข้อที่ 4.1 ความเข้าใจองค์กรและบริบทขององค์กร และหัวข้อที่ 10.2 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ได้จากการศึกษาทำให้ทราบว่าองค์กรที่ดำเนินการตาม พ.ร.บ. อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นโรงงานควบคุม หรืออาคารควบคุม สามารถเข้าสู่มาตรฐาน ISO 50001:2018 ได้ โดยใช้เอกสารเดิมที่จัดทำตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ. โดยจะต้องจัดทำเอกสารเพิ่มเติมตามข้อกำหนด 5 หัวข้อ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งนี้ เอกสารทั้งหมดจะต้องจัดทำให้เป็นรูปแบบตามข้อกำหนด ISO 9001 ส่วนองค์กรที่ได้รับการรับรองตาม ISO 50001:2011 และต้องการเข้าสู่ ISO 50001:2018 ต้องจัดทำเอกสารเพิ่มเติม เช่น วิสัยทัศน์องค์กร พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ด้านการจัดการพลังงาน รวมถึงการวิเคราะห์ SWOT Analysis เพื่อให้เข้าใจบริบทขององค์กร เป็นต้น


การประเมินทางเศรษฐศาสตร์และประสิทธิภาพหลังการติดตั้งระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา : กรณีศึกษาห้างสรรพสินค้า, เขมณัฏฐ์ พรหมมินทร์ Jan 2019

การประเมินทางเศรษฐศาสตร์และประสิทธิภาพหลังการติดตั้งระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา : กรณีศึกษาห้างสรรพสินค้า, เขมณัฏฐ์ พรหมมินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประเมินความคุ้มค่าของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา โดยทั่วไปประเมินจากข้อมูลที่ได้จากการจำลองระบบโดยโปรแกรม PVsyst ซึ่งใช้คำนวนและประมาณปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่จะผลิตได้ก่อนการติดตั้งระบบ งานวิจัยนี้ทำการประเมินความคุ้มค่าจากข้อมูลการใช้งานเป็นเวลา 1 ปีของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบ on grid ที่ติดตั้งจริงบนหลังคา และใช้งานเพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 998.4kWp จากการศึกษาข้อมูลการชี้ให้เห็นว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคานั้นสามารถใช้ทดแทนความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่ห้างสรรสินค้าต้องการได้บางส่วน ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงมากกว่าผลผลิตที่คำนวนได้จากการจำลองระบบโดยโปรแกรม PVsyst เนื่องจากมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมร่วมกับค่ารังสีอาทิตย์ที่ตรวจวัดได้ตลอดปีมากกว่าการคาดการณ์ พลังงานที่มากกว่าการคำนวนดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐศาสตร์จากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงนั้นดีกว่าการประเมินก่อนการลงทุน และต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยพลังงานเท่ากับ 1.29 บาทต่อ 1kWh อย่างไรก็ตามระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ยังไม่สามารถผลิตไฟฟ้าที่พร้อมจ่ายได้ตลอดเวลา เนื่องจากพลังงานที่ผลิตได้จะแปรผันตามค่ารังสีอาทิตย์ ณ เวลานั้น จึงเหมาะเป็นระบบที่ใช้เสริมเพื่อช่วยประหยัดรายจ่ายด้านพลังงานเท่านั้น


การประเมินประสิทธิภาพพลังงานหลังการเข้าใช้งานของอาคารประหยัดพลังงานที่ได้รับรางวัลตามเกณฑ์ Leed 2009, ยศยา ภัทรภูมีมิตร Jan 2019

การประเมินประสิทธิภาพพลังงานหลังการเข้าใช้งานของอาคารประหยัดพลังงานที่ได้รับรางวัลตามเกณฑ์ Leed 2009, ยศยา ภัทรภูมีมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการขอการรับรองการเป็นอาคารประหยัดพลังงานจากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม มีตั้งแต่การทำตามข้อกำหนดขององค์กรในขั้นตอนการออกแบบ มีการประเมินว่าอาคารที่ออกแบบมีค่าการประหยัดพลังงานเท่าไหร่ รวมถึงการตรวจสอบวัสดุและทดสอบระบบในช่วงการก่อสร้างแล้วเสร็จ ว่าอาคารยังสามารถประหยัดพลังงานได้ตามที่องค์กรรับรองไว้หรือไม่ แต่ยังไม่มีการตรวจสอบไปถึงการประเมินค่าการประหยัดพลังงานของอาคารจากโปรแกรมคำนวณตั้งต้นว่ามีความคลาดเคลื่อนมากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับค่าการใช้พลังงานที่เกิดขึ้นจริงของอาคารหลังการเข้าอยู่อาศัย งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาหาตัวแปรความแตกต่างและเปรียบเทียบค่าการใช้พลังงานรวมของอาคารระหว่างการประเมินค่าการใช้พลังงานของอาคารโดย LEED ซึ่งใช้โปแกรม Energy Plus ในการคำนวณ เปรียบเทียบกับการคำนวณโดยโปรแกรม BEC และค่าการใช้พลังงานจริงของอาคารจากใบเสร็จชำระเงินค่าไฟฟ้า พบว่าตัวแปรที่มีผลต่อการคำนวณค่าการใช้พลังงานของอาคารระหว่างโปรแกรม Energy Plus และโปรแกรม BEC คือการระบุพื้นที่ใช้งานของอาคารที่ไม่เท่ากันและตัวแปรที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ของโปรแกรม BEC ที่ถูกกำหนดไว้ตามการเลือกประเภทของอาคารคือ ชั่วโมงการใช้งาน จำนวนผู้ใช้อาคาร อัตราการระบายอากาศ และค่าความต้านทานความร้อนของฟิล์มอากาศด้านนอก ทั้งยังมีส่วนที่โปรแกรม BEC ไม่สามารถระบุค่าได้เทียบเท่ากับโปแกรม Energy Plus คือการกำหนดสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารและสภาพภูมิอากาศ ต่อมาเมื่อทำการพิจารณาค่าการใช้พลังงานรวมของอาคาร พบว่าการทำนายค่าการใช้พลังงานรวมของอาคารจาก LEED มีค่าความแตกต่างจากค่าการใช้พลังงานจริงมากกว่าการคำนวณจากโปรแกรม BEC อาจเกิดจากค่าตัวเลขของตัวแปรที่ใช้ในการป้อนเข้ามีความคลาดเคลื่อนไปจากค่าการใช้งานจริง


Optimal Planning Of Wind-Based Distributed Generation And Reactive Power Management In A Distribution System, Ovi Eka Putri Jan 2019

Optimal Planning Of Wind-Based Distributed Generation And Reactive Power Management In A Distribution System, Ovi Eka Putri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In recent years, the incremental load demand leads to the higher presence of distributed generation (DG) in distribution system. Renewable energy-based DG has been much appreciated due to the techno-eco-environmental benefit. Wind-based DG is one of most promising renewable energy based-DG. However, in the technical aspect, distribution system planning with wind-based DG alone is not fruitful enough due to limited reactive power support. Capacitor bank is one of available devices for reactive power management in distribution system. So, installing wind-based DG and capacitor bank in distribution system is one of alternative solutions to improve electrical power system performance in term …


Grid-Friendly Dispatch Strategy Of Pv Generation System With Battery Energy Storage, Sarute Srisontisuk Jan 2019

Grid-Friendly Dispatch Strategy Of Pv Generation System With Battery Energy Storage, Sarute Srisontisuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

High PV penetration reduces stability tolerance due to the lower of system inertia and system ramp capability. To handle higher PV penetration issues, the system operator and PV owners should consider the operation improvement. For the system operator, critical system ramp capability with respect to PV penetration ratio can be useful to determine the lower bound of system ramp capability for handling N-1 contingency and expected disturbances. In the case study, test results reveal that the system can operate securely with PV penetration ratio up to 40%, in which it will require system ramp capability in the range of 0.05-0.09 …


Automatic Method For Avian Red Blood Cell And Heterophil Counting Using Iterative Thresholding, Tanapat Autaiem Jan 2019

Automatic Method For Avian Red Blood Cell And Heterophil Counting Using Iterative Thresholding, Tanapat Autaiem

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand is one of the top broiler exporters. Red blood cell (RBC) and white blood cell (WBC) counting is one of the most basic methods for health screening process. Because the mammalian and avian blood is different, the mammalian blood analyzing techniques cannot be used, so the counting is done manually. This thesis proposes an automatic counting method for avian RBCs and heterophils, the most common type of avian WBC. The detection of avian RBC is challenging because of elliptic nucleated cell, the possibility of overlapped cells, and various staining. Otsu’s multiple thresholding method is used to automatically extract nuclei …


Application Of Battery Energy Storage System For Frequency Regulation Of Mae Hong Son Microgrid, Arnon Teawnarong Jan 2019

Application Of Battery Energy Storage System For Frequency Regulation Of Mae Hong Son Microgrid, Arnon Teawnarong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Mae Hong Son microgrid in an isolated mode has low inertia. Therefore, when a disturbance occurs, the system frequency is subjected to a large deviation, which may lead to a blackout. The installation of a battery energy storage system (BESS) will improve the frequency response performance of the microgrid system in both islanding and grid-connected modes. The objective of this thesis is to investigate and compare BESS control methods for providing primary and secondary frequency response. The results show that the control of BESS for providing primary frequency response using virtual droop and virtual inertia approaches can reduce the frequency …


การพัฒนาแอปพลิเคชันจำแนกความสุกผลทุเรียนจากเสียงเคาะโดยใช้โครงข่ายประสาทคอนโวลูชัน, เวียงชัย คาระมาตย์ Jan 2019

การพัฒนาแอปพลิเคชันจำแนกความสุกผลทุเรียนจากเสียงเคาะโดยใช้โครงข่ายประสาทคอนโวลูชัน, เวียงชัย คาระมาตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทุเรียนเป็นหนึ่งในผลไม้ที่ได้รับความนิยมในการบริโภคภายในประเทศไทย การตรวจสอบความสุกของทุเรียนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการซื้อขายในตลาดผลไม้และการส่งออก การตรวจสอบความสุกทุเรียนสามารถตรวจสอบได้หลายวิธี ในวิทยานิพนธ์เล่มนี้ใช้วิธีเคาะและฟังเสียงเพื่อบอกความสุก ปกติการฟังเสียงจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการฟัง ดังนั้นจึงได้ออกแบบแอปพลิเคชันจำแนกความสุกผลทุเรียนจากเสียงเคาะโดยใช้โครงข่ายประสาทคอนโวลูชัน การเก็บข้อมูลเสียงเคาะทุเรียนได้รับคำแนะนำจากพ่อค้าคนกลางในจังหวัดจันทบุรีและบอกว่าทุเรียนที่เคาะมีความสุกในระดับใด การเก็บข้อมูลเสียงใช้ตัวอย่างทุเรียนพันธุ์หมอนทองจำนวน 30 ลูก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามระดับความสุก ได้แก่ ทุเรียนสุก ทุเรียนสุกปานกลาง และทุเรียนไม่สุก กลุ่มละ 10 ลูก จากนั้นนำเสียงเคาะมาเพื่อแยกชุดข้อมูลเสียงสำหรับการเรียนรู้ ความยาวเสียงประมาณ 0.3 วินาที หรือความยาวที่ครอบคลุมเสียงเคาะหนึ่งครั้ง กระบวนการเรียนรู้ใช้การกระบวนการเรียนรู้เชิงลึกแบบคอนโวลูชัน (CNN) และกระบวนการการสกัดคุณลักษณะของเสียงด้วยสัมประสิทธิ์เมลฟรีเคว็นซีเซปสตรอล (MFCC) จากการทดลองพบว่าค่าความถูกต้องของแบบจำลองมีความถูกต้อง 90.78% สำหรับชุดข้อมูลตรวจสอบความถูกต้อง และความถูกต้อง 89.47% สำหรับชุดข้อมูลทดสอบ เมื่อได้แบบจำลองแล้วนำไปใช้ในแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เพื่อสะดวกต่อการใช้งานของผู้บริโภคและชาวสวนทุเรียน การออกแบบแอปพลิเคชันเป็นการส่งข้อมูลผ่านระบบ HTTP Protocol ที่อยู่ในรูปแบบเอพีไอ


การศึกษากระแสรั่วของกับดักเสิร์จที่มีแรงดันพิกัด 21 Kv, จีระวัฒน์ นาคเวช Jan 2019

การศึกษากระแสรั่วของกับดักเสิร์จที่มีแรงดันพิกัด 21 Kv, จีระวัฒน์ นาคเวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กับดักเสิร์จเป็นอุปกรณ์ป้องกันในระบบไฟฟ้าที่สำคัญ ทำหน้าที่จำกัดแรงดันเกินเสิร์จที่เกิดขึ้นจากฟ้าผ่าหรือการสวิตชิงเพื่อป้องกันอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบไฟฟ้า เมื่อมีการตรวจรับหรือก่อนนำกับดักเสิร์จไปติดตั้งใช้งานจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบสภาพของกับดักเสิร์จ หรือเมื่อติดตั้งใช้งานไประยะหนึ่งกับดักเสิร์จอาจเริ่มเกิดการเสื่อมสภาพขึ้น จำเป็นจะต้องมีการประเมินสภาพกับดักเสิร์จก่อนที่จะเกิดความเสียหาย วิธีการหนึ่งซึ่งมีความถูกต้องสำหรับการประเมินสภาพของกับดักเสิร์จคือการพิจารณาค่ากระแสรั่วเชิงความต้านทาน นอกจากนี้อุณหภูมิของกับดักเสิร์จขณะติดตั้งใช้งานก็เป็นอีกดัชนีที่สามารถบ่งบอกถึงการเสื่อมสภาพของกับดักเสิร์จได้เช่นกัน แต่จำเป็นจะต้องทราบความสัมพันธ์ของดัชนีเหล่านี้กับสภาพของกับดักเสิร์จ วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ที่จะตรวจวัดกระแสรั่วและอุณหภูมิของกับดักเสิร์จแรงดันพิกัด 21 kV ทั้งที่ยังไม่ได้ติดตั้งใช้งาน ที่ผ่านการใช้ติดตั้งใช้งานมาเป็นระยะเวลาที่หลากหลาย และกับดักเสิร์จที่เสื่อมสภาพ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาวิธีการ พร้อมเกณฑ์ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินสภาพของกับดักเสิร์จ ซึ่งจะเป็นประโชน์ต่อการปฏิบัติงานบำรุงรักษา และช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับระบบจำหน่ายไฟฟ้า


การปรับปรุงอัลกอริทึมการหลบหลีกสิ่งกีดขวางสำหรับอากาศยานไร้คนขับโดยใช้เรดาร์สามมิติ, ณัฐพล เตชะพันธ์งาม Jan 2019

การปรับปรุงอัลกอริทึมการหลบหลีกสิ่งกีดขวางสำหรับอากาศยานไร้คนขับโดยใช้เรดาร์สามมิติ, ณัฐพล เตชะพันธ์งาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการหลบหลีกสิ่งกีดขวางสำหรับอากาศยานสี่ใบพัด สิ่งสำคัญคือ ตัวรับรู้และ ลักษณะของสิ่งกีดขวาง รูปร่างและการทำงานของอากาศยานสี่ใบพัดอาจมีการติดตั้ง อุปกรณ์อื่นๆ และยังแบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักมากเพื่อให้ใช้ได้นาน เพื่อลดภาระในส่วนนี้ จึงต้องอาศัยตัวรับรู้สำหรับค้นหาสิ่งกีดขวางที่มีน้ำหนักเบา และอาศัยการประมวล ผลที่ไม่ซับซ้อนจึงถูกเลือก งานวิจัยนี้นำเสนอประมาณขนาดและตำแหน่งของสิ่ง กีดขวางนั้น เพื่อกำหนดเส้นทางหลบหลีกโดยใช้ตัวรับรู้เรดาร์สามมิติ สัญญาณที่ได้ จากตัวรับรู้เรดาร์ไม่สามารถแสดงถึงขนาดจริง และตำแหน่งของสิ่งกีดขวาง อัลกอริ ทึมเคมีนถูกใช้สำหรับแยกกลุ่มของข้อมูลที่เป็นจุด วิธีกำลังสองตํ่าสุดสำหรับวงกลม ถูกใช้สำหรับประมาณสิ่งกีดขวาง โดยรัศมีแทนขนาดของวัตถุและจุดศูนย์กลางแทน ตำแหน่งของวัตถุผลจากการประมาณตำแหน่งมีความใกล้เคียงค่าจริง แต่ผลจากการ ประมาณขนาดจะมีค่าเล็กกว่าค่าจริง จึงเพิ่มตัวแปรเพื่อขยายขนาดของการประมาณ ขนาด เมื่อได้ข้อมูลของสิ่งกีดขวางแล้ว โดยอาศัยอัลกอริทึมอาร์อาร์ทีเพื่อค้นหาเส้น ทางในการบินหลบหลีกสิ่งกีดขวาง เพื่อลดเวลาในการค้นหาเส้นทาง เราได้ลดพื้นที่ การค้นหาเส้นทางในทิศทางจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้าย ผลการจำลองการสร้างเส้น ทางหลบหลีกจากขนาด และตำแหน่งแหน่งที่ถูกประมาณแสดงให้เห็นว่า อากาศยาน สี่ใบพัดสามารถบินหลบสิ่งกีดขวางได้


ระบบแจ้งเตือนการช่วยเหลือผู้ป่วยบนพื้นฐานการติดตามท่ามือและขั้นตอนวิธีเหมือนฮาร์ที่ถูกดัดแปร, ธนภัทร รัชธร Jan 2019

ระบบแจ้งเตือนการช่วยเหลือผู้ป่วยบนพื้นฐานการติดตามท่ามือและขั้นตอนวิธีเหมือนฮาร์ที่ถูกดัดแปร, ธนภัทร รัชธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human-Computer Interaction: HCI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวันของเรา โดยหนึ่งในการประยุกต์ใช้ที่สำคัญคือการใช้งานด้านการแพทย์ งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นไปที่การออกแบบระบบที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้วยการสื่อสารด้วยเสียงสามารถติดต่อกับผู้ดูแลได้โดยง่ายโดยใช้การแสดงท่าทางมือ ซึ่งได้ใช้อุปกรณ์เป็น Raspberry Pi ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กและราคาถูกเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้โดยง่าย สำหรับการทำงานของระบบนั้นได้ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ในส่วนแรกระบบจะตรวจหาท่ากำมือเพื่อใช้เป็นสัญญาณในการเริ่มระบบแจ้งเตือน ซึ่งได้ใช้กระบวนวิธีแบบฮาร์สำหรับการตรวจจับ ผลการทดลองพบว่ามีความแม่นยำในการตรวจจับสูงโดยมีค่า F1-Score อยู่ที่ 0.991 ส่วนที่สองระบบจะรับภาพที่ได้จากการตรวจจับในตอนแรกเพื่อกำหนดพื้นที่และทำการแบ่งส่วนพื้นผิวมนุษย์ (Human Skin Segmentation) เพื่อลดความซับซ้อนของข้อมูลภาพ ก่อนที่จะส่งภาพไปยังโครงข่ายประสาทแบบคอนโวลูชั่นเพื่อจำแนกท่าทางนิ้วมือ 1 - 5 นิ้ว โดยในงานวิจัยนี้ได้ใช้สถาปัตยกรรมแบบ MobileNetV2 ที่มีความเร็วในการประมวลผลสูงสำหรับการจำแนก และได้ใช้ภาพมือขาว/ดำจำนวน 19,000 ภาพสำหรับการฝึกสอนโมเดล โดยผลลัพธ์จากการจำแนกท่ามือมีความถูกต้องมากกว่า 96% ผลลัพธ์ที่ได้จากการจำแนกท่ามือจะถูกแปลเป็นข้อความตามที่ได้กำหนดไว้และส่งไปยังแอพพลิเคชั่น LINE ของผู้ดูแลต่อไป วิธีการนี้ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถสือสารกับผู้ดูแลได้โดยง่ายและยังช่วยลดความตึงเครียดของผู้ดูเลเนื่องจากไม่จำเป็นต้องอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา


การศึกษาผลกระทบของแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนชนิดอินเวอร์เตอร์ต่อกระแสลัดวงจรในระบบส่งกำลังไฟฟ้า, ธรรมชาติ เพ็ชรนพรัตน์ Jan 2019

การศึกษาผลกระทบของแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนชนิดอินเวอร์เตอร์ต่อกระแสลัดวงจรในระบบส่งกำลังไฟฟ้า, ธรรมชาติ เพ็ชรนพรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้จะพิจารณาระบบป้องกันในระบบส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ระดับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 22 kV ถึง 500 kV ที่ถูกติดตั้งอยู่ภายในสถานีไฟฟ้าแรงสูงทั้งหมด 252 สถานี มีประเด็นหลักที่ศึกษา 3 ประเด็น คือ 1) ศึกษาผลกระทบจากกระแสผิดพร่องที่ลดลงต่อการปรับตั้งค่าระบบป้องกัน 2) ศึกษาผลกระทบจากอินเวอร์เตอร์ในโหมดควบคุมกระแสไฟฟ้าต่อขนาดแรงดันไฟฟ้าลำดับลบ และนำเสนอการใช้อินเวอร์เตอร์ในโหมดควบคุมแรงดันไฟฟ้าเพื่อลดขนาดแรงดันไฟฟ้าลำดับลบเมื่อเกิดความผิดพร่องแบบไม่สมมาตร และ 3) ศึกษาความเป็นไปได้ในการชดเชยกระแสผิดพร่องด้วยการปรับเพิ่มการผลิตสำรองพร้อมจ่ายและ/หรือการใช้ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ ผลการจำลองการทำงานด้วยโปรแกรม DIgSILENT Powerfactory ตามมาตรฐาน IEC 60909 แสดงถึงผลการศึกษาที่มีต่อ 3 ประเด็นข้างต้นดังนี้ 1) ในกรณีที่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์และพลังงานลมในสัดส่วน 36% ของกำลังผลิตทั้งหมด จะส่งผลให้ระบบป้องกันภายในสถานีไฟฟ้าแรงสูงจำนวน 26 สถานี ตรวจจับกระแสผิดพร่องลดลงมากกว่า 10% ของค่าที่ปรับตั้งไว้ ซึ่งมากกว่าย่านที่รับได้ตามแนวปฏิบัติของ กฟผ. 2) อินเวอร์เตอร์ในโหมดควบคุมแรงดันไฟฟ้าสามารถช่วยชดเชยกระแสผิดพร่องในลำดับบวกและลำดับลบได้อย่างเหมาะสม ซึ่งช่วยทำให้แรงดันไฟฟ้าลำดับลบมีขนาดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับในกรณีที่ใช้อินเวอร์เตอร์ในโหมดควบคุมกระแสไฟฟ้า และ 3) การปรับเพิ่มกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายและการใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่สามารถช่วยเพิ่มกระแสผิดพร่องภายในระบบส่งให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ของค่าปรับตั้งอุปกรณ์ป้องกัน


ฟลักซ์เทียมและตัวสังเกตที่มีเสถียรภาพในวงกว้างสำหรับการควบคุมแบบไร้เซนเซอร์วัดตำแหน่งของมอเตอร์ซิงโครนัสรีลักแตนซ์, ธันวา ภิญโญภาวศุทธิ Jan 2019

ฟลักซ์เทียมและตัวสังเกตที่มีเสถียรภาพในวงกว้างสำหรับการควบคุมแบบไร้เซนเซอร์วัดตำแหน่งของมอเตอร์ซิงโครนัสรีลักแตนซ์, ธันวา ภิญโญภาวศุทธิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประมาณตำแหน่งโรเตอร์ของมอเตอร์ซิงโครนัสรีลักแตนซ์โดยอาศัยแบบจำลองของมอเตอร์มีข้อดีคือไม่รบกวนการทำงานของมอเตอร์ และมีย่านการใช้งานที่ค่อนข้างกว้าง แม้ว่าในอดีตจะมีงานวิจัยหลายฉบับที่ได้นำเสนอตัวสังเกตฟลักซ์เพื่อการประมาณตำแหน่งโรเตอร์ไว้ แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีงานวิจัยใดสามารถรับประกันเสถียรภาพของตัวสังเกตที่นำเสนอได้ ดังนั้นงานวิทยานพินธ์นี้จึงมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อนำเสนอตัวสังเกตฟลักซ์ซึ่งสามารถพิสูจน์เสถียรภาพในวงกว้างได้ โดยอาศัยแบบจำลองทางพลวัตใหม่ของมอเตอร์ซิงโครนัสรีลักแตนซ์บนฐานฟลักซ์เทียม ฟลักซ์เทียมสำหรับมอเตอร์ซิงโครนัสรีลักแตนซ์ที่นำเสนอมีข้อดีคล้ายกับแม่เหล็กถาวรของมอเตอร์ซิงโครนัสคือ มีขนาดที่รู้หรือคำนวณได้จากข้อมูลของกระแสสเตเตอร์ และมีมุมเฟสที่ให้ข้อมูลของตำแหน่งโรเตอร์ที่ต้องการรวมอยู่ด้วย ตำแหน่งและความเร็วของโรเตอร์สามารถหาได้จากฟลักซ์เทียมที่ประมาณได้โดยใช้เทคนิคเฟสล็อกลูปเชิงเวกเตอร์ แนวคิดและทฤษฎีทั้งหมดที่นำเสนอถูกทดสอบในเบื้องต้นโดยการจำลองด้วยโปรแกรม Matlab/Simulink และนำไปใช้กับระบบจริงเพื่อประมาณตำแหน่งและความเร็วโรเตอร์ในระบบควบคุมแบบไร้ตัวตรวจจับตำแหน่ง ผลการจำลองและผลการทดลองกับระบบจริงยืนยันความถูกต้องของแนวคิดและทฤษฎีที่ได้นำเสนอในงานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้


การพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานภายในบ้านโดยใช้การเรียนรู้แบบถ่ายโอน, ปิยพัทธ์ ลีรักษาเกียรติ Jan 2019

การพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานภายในบ้านโดยใช้การเรียนรู้แบบถ่ายโอน, ปิยพัทธ์ ลีรักษาเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการเรียนรู้ด้วยเครื่องถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมกับการใช้ชีวิตประจำวัน และถูกนำมาประยุกต์ใช้กับบ้าน หรือที่อยู่อาศัย เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) มาพยากรณ์พฤติกรรมการเข้าออกห้องของผู้อยู่อาศัย และควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อย่างไรก็ตาม โครงข่ายประสาทเทียมสามารถเรียนรู้ และทำนายพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยได้เพียงพฤติกรรมเดียวเท่านั้น เมื่อโครงข่ายประสาทเทียมถูกนำไปพยากรณ์ผู้อยู่อาศัยใหม่ ซึ่งมีพฤติกรรมแตกต่างจากผู้อยู่อาศัยเดิม จะส่งผลต่อความถูกต้อง และความแม่นยำของค่าพยากรณ์ แม้ว่าปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นสามารถแก้ปัญหาด้วยการเก็บข้อมูลผู้อยู่อาศัยใหม่ แต่การเก็บข้อมูลให้มากพอสำหรับสอนโครงข่ายประสาทเทียมอาจต้องใช้ระยะเวลานาน ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอระบบบริหารจัดการพลังงานภายในบ้าน (Home Energy Management System: HEMS) ที่มีราคาไม่สูงด้วยการนำโครงข่ายประสาทเทียมมาใช้ นอกจากนี้ยังนำการเรียนรู้แบบถ่ายโอน (Transfer Learning) ซึ่งเป็นเทคนิคที่สำคัญมาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแก่โครงข่ายประสาทเทียม ที่สามารถลดปริมาณข้อมูล และระยะเวลาสำหรับการสอนโครงข่ายประสาทเทียม ผลลัพธ์จากการทดลองพบว่า เมื่อโครงข่ายประสาทเทียมถูกปรับปรุงด้วยการเรียนรู้แบบถ่ายโอน ทำให้การทำนายพฤติกรรมการเข้าออกห้องของผู้อยู่อาศัยใหม่มีความแม่นยำ และถูกต้องมากยิ่งขึ้น ตามปริมาณข้อมูลที่สอนแก่โครงข่ายประสาทเทียม ค่าความถูกต้องมีค่าสูงสุดประมาณ 95% ด้วยการใช้ตารางความสัมพันธ์ระหว่างค่าพยากรณ์ และค่าจริง (Confusion Matrix) เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพ ยิ่งกว่านั้น การควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยค่าพยากรณ์จากโครงข่ายประสาทเทียมยังสามารถช่วยจำกัดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น และลดค่าใช้จ่ายภายในบ้านแก่ผู้อยู่อาศัยได้อีกด้วย


การควบคุมแรงดันอย่างเหมาะที่สุดด้วยกราฟคุณลักษณะกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟกับแรงดันสำหรับระบบจำหน่ายที่มีระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายตัว, พงศธร เรืองจันทร์ Jan 2019

การควบคุมแรงดันอย่างเหมาะที่สุดด้วยกราฟคุณลักษณะกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟกับแรงดันสำหรับระบบจำหน่ายที่มีระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายตัว, พงศธร เรืองจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายตัวในระบบจำหน่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาแรงดันเกินในสายป้อน การใช้ความสามารถในการชดเชยกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟของอินเวอร์เตอร์ด้วยกราฟคุณลักษณะ Q(U) เป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหาแรงดันเกินได้ วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอวิธีการปรับตั้งค่ากราฟคุณลักษณะ Q(U) โดยประยุกต์ใช้ปัญหาการไหลของกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟที่เหมาะที่สุด ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการจำแนกกลุ่มแบบเคมีน ทดสอบกับระบบไฟฟ้าจริงของสถานีไฟฟ้าอุบลราชธานี 2 วงจรที่ 7 ผลการทดสอบพบว่า สามารถควบคุมแรงดันให้อยู่ในเกณฑ์ 0.95 - 1.05 pu. ที่กำหนด ช่วยลดปริมาณความต้องการกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ และช่วยลดปริมาณกำลังไฟฟ้าสูญเสียในแต่ละวันของระบบจำหน่ายได้ เมื่อเปรียบเทียบผลกับกราฟคุณลักษณะ Q(U) ที่ปรับตั้งค่าตามมาตรฐาน IEEE 1547-2018 อย่างไรก็ตาม กราฟคุณลักษณะ Q(U) จะสามารถแก้ไขปัญหาแรงดันตามที่กล่าวได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข 2 ประการ คือ โหลดการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกราย ในช่วงเวลาที่กำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีค่าสูงสุด จะต้องมีปริมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดของแต่ละราย และจำเป็นต้องควบคุมขนาดแรงดันที่สถานีไฟฟ้าต้นทางให้อยู่ในช่วง 0.95 – 1.00 pu.


การศึกษาลักษณะสมบัติทางไฟฟ้าสถิตและจลนศาสตร์ไฟฟ้าของอนุภาคในน้ำมันฉนวน, พนิตตา โรจน์ธนวณิชย์ Jan 2019

การศึกษาลักษณะสมบัติทางไฟฟ้าสถิตและจลนศาสตร์ไฟฟ้าของอนุภาคในน้ำมันฉนวน, พนิตตา โรจน์ธนวณิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษากลศาสตร์ทางไฟฟ้าของอนุภาคในน้ำมันฉนวนภายใต้สนามไฟฟ้าเป็นหนทางหนึ่งในการศึกษาลักษณะเชิงปริมาณของประจุบนอนุภาคในน้ำมันฉนวน. วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาพฤติกรรมการรับและคายประจุของอนุภาคตัวนำและอนุภาคฉนวน ในน้ำมันฉนวนภายใต้สนามไฟฟ้า. วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาคือ การสังเกตพฤติกรรมทางจลนศาสตร์ทางไฟฟ้าของอนุภาคในน้ำมันฉนวน เพื่อดูความสัมพันธ์ของประจุกับการเคลื่อนที่. การศึกษาทำโดยการวัดประจุบนอนุภาคทั้งในสภาวะสถิตและในระหว่างการเคลื่อนที่. ระบบวัดประจุที่ใช้ประกอบด้วยถ้วยฟาราเดย์แบบอนุภาคเคลื่อนที่ผ่านและวงจรวัดประจุ. ความเร็วของอนุภาคสามารถคำนวณได้จากความสัมพันธ์ระหว่างสมการแรงคูลอมบ์ แรงโน้มถ่วง และแรงต้านความหนืดของตัวกลาง. การทดลองวัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของอนุภาค เมื่อใช้อิเล็กโทรดแบบระนาบขนานและแบบทรงกลมกับระนาบ แสดงให้เห็นว่าความเร็วในการเคลื่อนที่ของอนุภาคเพิ่มขึ้นตามขนาดแรงดันที่เพิ่มขึ้น. การวัดประจุบนอนุภาคทำได้โดยใช้ถ้วยฟาราเดย์แบบอนุภาคเคลื่อนที่ผ่านกับวงจรวัดประจุและถ้วยฟาราเดย์กับอิเล็กโตรมิเตอร์ ใช้เวลาในการอัดประจุนาน 15 s ถึง 240 s. การทดลองพบว่าค่าประจุที่วัดได้จากอุปกรณ์ถ้วยฟาราเดย์แบบอนุภาคเคลื่อนที่ผ่านกับวงจรวัดประจุสอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่กับผลการวัดด้วยถ้วยฟาราเดย์กับอิเล็กโตรมิเตอร์ แต่ค่าที่ได้มีขนาดต่ำกว่า. ขนาดของอิเล็กโทรดมีผลต่อการวัดประจุด้วยวงจรวัดประจุ. อิเล็กโทรดที่มีขนาดกว้างให้ค่าผลการวัดสูงกว่าอิเล็กโทรดที่มีขนาดเล็ก. สำหรับการสูญเสียประจุของอนุภาคในน้ำมันฉนวน อิเล็กโทรดที่ใช้ในการวัดประจุมีสองตำแหน่งคือ A และ B ซึ่ง A ห่างจาก B เป็นระยะ 2 cm โดยที่อนุภาคเคลื่อนที่ถึงตำแหน่ง B มีค่ามากกว่าตำแหน่ง A. เมื่ออนุภาคเคลื่อนที่จะมีการสูญเสียประจุเกิดขึ้น ส่งผลให้ประจุที่วัดได้จากตำแหน่ง B มีค่าน้อยกว่าตำแหน่ง A.


การทำนายกำลังผลิตของโซลาร์เซลล์โดยใช้โมเดลประมาณค่าและตัวกรองคาลมาน, พีรพล จิรนันทเจริญ Jan 2019

การทำนายกำลังผลิตของโซลาร์เซลล์โดยใช้โมเดลประมาณค่าและตัวกรองคาลมาน, พีรพล จิรนันทเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอแนวทางในการทำนายกำลังผลิตของโซลาร์เซลล์โดยใช้แบบจำลอง Auto Regressive Integrated Moving Average (ARIMA) และ Kalman filter algorithm แนวทางในการทำนายนี้ทำนายกำลังผลิตแบบเวลาจริงของสถานี Photovoltaic (PV) ใดๆที่ต้องการทราบโดยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะทำนายกำลังผลิตทุกๆ 5 นาที จุดมุ่งหมายของการใช้ Kalman filter algorithm เพื่อติดตามกำลังผลิตแบบเวลาจริงของสถานีที่ต้องการทราบค่ากำลังผลิตในกรณีที่ข้อมูลกำลังผลิตขาดหายไปในบางช่วงเวลา Kalman filter มีข้อดีที่ไม่ต้องใช้ข้อมูลในอดีตจำนวนมากในการทำนายและติดตามข้อมูลที่ต้องการ แต่เนื่องจาก Kalman filter algorihm ต้องการข้อมูลการวัดค่าแบบเวลาจริงเพื่อปรับแก้ในสมการดังนั้นเราจึงได้เสนอแบบจำลองการคำนวณค่าประมาณกำลังผลิต Estimator model เพื่อคำนวณค่ากำลังผลิตแบบเวลาจริงเพื่อนำไปใช้ใน Kalman filter algorithm ซึ่ง Estimator model จะคำนวณค่าประมาณกำลังผลิตแบบเวลาจริงของสถานีที่เราต้องการทำนายจากข้อมูลค่ากำลังผลิตแบบเวลาจริงของสถานีข้างเคียง จากนั้นจึงส่งผลลัพธ์นั้นไปใช้ในการทำนายกำลังผลิตจาก Kalman filter algorithm พบว่าผลลัพธ์ที่ได้มีความใกล้เคียงกับค่าจริงโดยสามารถดูได้จากค่าดัชนีชี้วัดความแม่นยำ นอกจากนั้นเรายังเปรียบเเทียบผลลัพธ์ของการทำนายกับ Persistence Model และ Artificial Neural Network ซึ่งผลลัพธ์ปรากฏว่า ARIMA-Kalman ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า Persistence Model และมีความแม่นยำใกล้เคียงกับ Artificial Neural Network ที่ใช้กันมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน แต่ ARIMA-Kalman มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องใช้ข้อมูลกำลังผลิตของสถานีที่ต้องการทำนายกำลังผลิตเป็นจำนวนมากในการทำนาย


การปรับปรุงระบบป้องกันและคุณภาพไฟฟ้าสำหรับระบบไมโครกริดบ้านขุนแปะในจังหวัดเชียงใหม่, วันนพ คณานุสรณ์ Jan 2019

การปรับปรุงระบบป้องกันและคุณภาพไฟฟ้าสำหรับระบบไมโครกริดบ้านขุนแปะในจังหวัดเชียงใหม่, วันนพ คณานุสรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอแนวทางการปรับปรุงระบบไมโครกริดบ้านขุนแปะจังหวัดเชียงใหม่ โดยเน้นการศึกษา 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การปรับปรุงระบบป้องกันภายในระบบไมโครกริด และ 2) การปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้าด้านแรงดันและความถี่ของระบบไมโครกริด ในประเด็นการปรับปรุงระบบป้องกันจะพิจารณาการทำงานของไมโครกริดทั้งในแบบเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าหลัก และแบบแยกโดด โดยนำเสนอการใช้รีโคลสเซอร์เป็นอุปกรณ์ป้องกัน พร้อมทำการจัดแบ่งเขตป้องกันและกำหนดตำแหน่งติดตั้ง นอกจากนี้ยังนำเสนอกระบวนการหาค่าปรับตั้งค่าสำหรับอุปกรณ์ป้องกันกันที่มีการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ป้องกันในเขตป้องกันต่างๆ ทั้งนี้ค่าปรับตั้งดังกล่าวจะอาศัยการวิเคราะห์กระแสลัดวงจรของระบบไมโครกริดจากโปรแกรม DIgSILENT Powerfactory ซึ่งทำให้ได้ค่าปรับตั้งกลุ่มพารามิเตอร์ของรีโคลสเซอร์ที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของไมโครกริดในแต่ละโหมดได้ ในส่วนของการปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้าจะพิจารณาเฉพาะการทำงานแบบแยกโดด ที่คำนึงถึงความผันผวนของโหลด ความผันผวนของกำลังผลิตไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้ากระจายตัวชนิดพลังงานแสงอาทิตย์ และชนิดพลังน้ำ วิทยานิพนธ์นี้ได้ประยุกต์ใช้เทคนิคการควบคุมอินเวอร์เตอร์ของระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มีพฤติกรรมเสมือนกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซิงโครนัสที่มีส่วนควบคุมดรูปกำลัง-ความถี่ และส่วนควมคุมแรงดันแบบอัตโนมัติรวมอยู่ด้วย เพื่อช่วยลดทอนผลกระทบจากความผันผวนดังกล่าวข้างต้นต่อคุณภาพไฟฟ้าทางด้านแรงดันและความถี่ของไมโครกริด จากผลการจำลองการทำงานแสดงให้เห็นว่าระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่นอกจากจะสามารถช่วยประสานการผลิตกำลังไฟฟ้าระหว่างแหล่งผลิตไฟฟ้ากระจายตัวได้แล้ว ยังสามารถช่วยลดทอนผลกระทบจากความผันผวนของแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวและโหลดอีกด้วย ซึ่งทำให้การทำงานของไมโครกริดแบบแยกโดดมีคุณภาพไฟฟ้าในด้านความถี่และแรงดันสอดคล้องกับมาตรฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้


แบบจำลองเพื่อการออกแบบระบบโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์สำหรับเมืองอัจฉริยะรักษ์สิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ริรินดา ถิระศุภะ Jan 2019

แบบจำลองเพื่อการออกแบบระบบโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์สำหรับเมืองอัจฉริยะรักษ์สิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ริรินดา ถิระศุภะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

“EGAT Eco Plus” เป็นโครงการเมืองอัจฉริยะโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานระบบสื่อสารสำหรับเมืองอัจฉริยะ กฟผ. สนญ. จะต้องรองรับการออกแบบเป็นโมดูลเพื่อให้การออกแบบมีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการใช้งานที่เปลี่ยนไป วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอแบบจำลองเพื่อการออกแบบระบบโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์สำหรับเมืองอัจฉริยะรักษ์สิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และแนวคิดของตัวควบคุมระบบคลาวด์เมืองอัจฉริยะ โดยผู้วิจัยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์แบบกำหนดการเชิงเส้น (linear programming: LP) เพื่อหาคำตอบการจัดสรรทรัพยากรของศูนย์ข้อมูลให้กับคำร้องขอเพื่อให้บริการแบบสีเขียวสูงสุด โดยการใช้พลังงานสีเขียวในศูนย์ข้อมูลจากแหล่งผลิตพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่สูงสุดเพื่อสร้างการคำนวณรักษ์สิ่งแวดล้อมในเมืองอัจฉริยะ และผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบกับวิธีการจัดสรรภารกิจที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน คือวิธีวนรอบ (round robin) อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของเมืองอัจฉริยะ กฟผ. จึงเป็นที่มาให้ผู้วิจัยศึกษาองค์ความรู้และเกณฑ์การประเมินเพื่อสร้างศูนย์ข้อมูลแบบยั่งยืนรักษ์สิ่งแวดล้อม คือ สัมประสิทธิ์พลังงานสีเขียว ค่าเฉลี่ยการใช้พลังงานสีเขียวของภารกิจแต่ละประเภท ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากพลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดศูนย์ข้อมูลแบบยั่งยืนของ กฟผ. สนญ. ได้ โดยสรุปแบบจำลองสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานจริงได้เพื่อรองรับโปรแกรมประยุกต์ของเมืองอัจฉริยะ กฟผ. สนญ. โดยการปรับลักษณะโปรแกรมประยุกต์แต่ละชนิดที่จะมีใช้งานในเมืองอัจฉริยะ ได้แก่ ชนิดของภารกิจ ขนาดแกนคำนวณที่ต้องการใช้งาน ขนาดของเครือข่ายที่ต้องการ ขนาดของหน่วยเก็บ ขนาดของข้อมูล และค่าการประวิงเวลาในระบบสื่อสารสูงสุด รวมทั้งคุณลักษณะของศูนย์ข้อมูล ได้แก่ ความจุของแกนคำนวณ ขนาดเครือข่ายที่สามารถให้บริการได้ ขนาดหน่วยเก็บ ซึ่งพารามิเตอร์เหล่านี้เป็นส่วนสำคัญและเกี่ยวข้องในการให้บริการระบบคลาวด์แก่หน่วยงานหรือลูกค้าที่อยู่ตามอาคารต่าง ๆ ใน กฟผ. สนญ. อีกทั้งสามารถใช้กับการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่มีการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหลายแหล่งที่แตกต่างกัน เช่น แหล่งผลิตพลังงานจากกริด หรือแหล่งผลิตพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ และหน่วยกักเก็บพลังงานสำรอง เป็นต้น


การพยากรณ์กำลังผลิตไฟฟ้ารายภาคจากพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้โครงข่ายประสาทเชิงลึกร่วมกับการปรับจูนไฮเปอร์พารามิเตอร์, สุกฤษฎ์ ใจดี Jan 2019

การพยากรณ์กำลังผลิตไฟฟ้ารายภาคจากพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้โครงข่ายประสาทเชิงลึกร่วมกับการปรับจูนไฮเปอร์พารามิเตอร์, สุกฤษฎ์ ใจดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เทคโนโลยีพลังงานปัจจุบันนำไปสู่การขยายตัวของโครงข่ายสมาร์ทกริดซึ่งเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายแง่มุม เช่น การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนพลังงานแสงอาทิตย์ ความก้าวหน้าระบบสำรองพลังงาน และความสมดุลระหว่างการผลิตและใช้พลังงาน เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลให้เกิดข้อดีหลายแง่มุม เช่น การผลิต การสำรอง และการใช้พลังงานภายในเน็ตเวิร์กเอง ดังนั้นโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบจำหน่ายหลัก แต่อย่างไรก็ตามเน็ตเวิร์กส่วนใหญ่พึ่งพาพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งมีความผันผวนตามสภาพอากาศ ดังนั้นการมีระบบพยากรณ์จะช่วยรักษาเสถียรภาพของเน็ตเวิร์ก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอวิธีการพยากรณ์กำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบวกกลับร่วมกับการปรับปรุงความแม่นยำในการพยากรณ์ด้วยเทคนิคต่างๆ ได้แก่ การปรับจูนไฮเปอร์พารามิเตอร์ การคัดเลือกตัวแปร การหาค่าเฉลี่ยเชิงพื้นที่ การหาค่าเฉลี่ยนเคลื่อนที่แบบเอกซ์โพเนนเชียลของความเข้มแสงอาทิตย์ และการเอนเซมเบิลค่าพยากรณ์พลังงานไฟฟ้าจากแต่ละแบบจำลอง ข้อมูลอินพุตสำหรับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ประกอบไปด้วย ข้อมูลจากแบบจำลองพยากรณ์อากาศและข้อมูลจากอุปกรณ์ตรวจวัด วิธีที่นำเสนอศึกษาแยกเป็น 2 กรณี ได้แก่ การพยากรณ์กำลังผลิตรวมของ 7 โรงไฟฟ้า การพยากรณ์พลังงานแสงอาทิตย์บนตึกภาควิชา ผลลัพธ์ที่ได้พบว่าแบบจำลองเอนเซมเบิลให้ค่าความผิดผลาดอยู่ที่ 6.94% RMSE ซึ่งลดลง 1.71% เมื่อเทียบกับแบบจำลองอินพุตที่ดีที่สุด เมื่อเราเปรียบชนิดของโหนดจาก GRU เป็น CuDNNGRU ค่า RMSE เพิ่มขึ้นน้อยกว่า 1% แต่เวลาในการฝึกสอนลดลงมากกว่าเท่าตัว


การพยากรณ์ค่าอุณหภูมิของน้ำมันด้านบนในหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังสำหรับการประเมินสมรรถนะโดยใช้แบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่อง, สุวพันธุ์ อริเดช Jan 2019

การพยากรณ์ค่าอุณหภูมิของน้ำมันด้านบนในหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังสำหรับการประเมินสมรรถนะโดยใช้แบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่อง, สุวพันธุ์ อริเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อายุการใช้งานที่สูญเสียไปจากการใช้งานหม้อแปลงมีสาเหตุหลักมาจากค่าอุณหภูมิที่เกิดขึ้นภายในหม้อแปลง ได้แก่ค่าอุณหภูมิขดลวดและอุณหภูมิน้ำมัน หม้อแปลงที่ทำงานในสภาวะการจ่ายโหลดและอุณหภูมิแวดล้อมค่าหนึ่งจะเกิดความร้อนภายในที่แตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพในปัจจุบันและการเสื่อมสภาพในอดีตของหม้อแปลง วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องที่สามารถเรียนรู้พฤติกรรมการเกิดความร้อนภายในหม้อแปลงโดยใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อพยากรณ์ค่าอุณหภูมิน้ำมันด้านบนและอุณหภูมิขดลวดของหม้อแปลงที่จะเกิดขึ้นก่อนการใช้งานจริง ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาหาอายุการใช้งานที่คาดว่าจะสูญเสียไปของหม้อแปลงแต่ละตัวเพื่อใช้ในการวางแผนการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าและการเลือกบำรุงรักษาอุปกรณ์ นอกจากนี้การใช้ขอบเขตการพยากรณ์ช่วยตรวจสอบข้อมูลพฤติกรรมทางความร้อนของหม้อแปลงเพื่อใช้ตรวจหาสัญญานที่อาจบ่งชี้ความผิดปกติหรือการเสื่อมสภาพของหม้อแปลงได้ โดยจากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าข้อมูลจากแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องสามารถพยากรณ์อายุการใช้งานที่สูญเสียของหม้อแปลงได้ใกล้เคียงกับการใช้ข้อมูลที่ตรวจวัดได้จริง นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอการสร้างขอบเขตการพยากรณ์เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยในการติดตามความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางความร้อนของหม้อแปลงซึ่งมีประโยชน์ในการบริหารจัดการหม้อแปลง


การตัดสินใจระหว่างการผลิตเองกับการจ้างผลิตสำหรับผลิตชิ้นส่วนเครื่องกำเนิดไอน้ำ, วริศรา เจียรจินดา Jan 2019

การตัดสินใจระหว่างการผลิตเองกับการจ้างผลิตสำหรับผลิตชิ้นส่วนเครื่องกำเนิดไอน้ำ, วริศรา เจียรจินดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนเครื่องตัดชนิดเลเซอร์สำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องกำเนิดไอน้ำ โดยทำการศึกษาจากการเปรียบเทียบระหว่างการลงทุนซื้อเครื่องตัดสำหรับใช้เอง และการจ้างผู้อื่นตัดชิ้นส่วนให้ เปรียบเทียบจากต้นทุนทั้งหมดของทั้งสองวิธีการ ผลการศึกษาข้อมูลของโรงงาน ณ ปี พ.ศ.2562 พบว่ามีการจ้างผู้อื่นตัดโดยเฉลี่ยเดือนละ 2,374,142.73 มิลลิเมตรต่อเดือน โดยวัดจากความยาวของเส้นรอบรูป และหากลงทุนซื้อเครื่องตัดเพื่อใช้งานเองจะต้องใช้งานตัดทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 943,587.38 มิลลิเมตรต่อเดือน จึงจะคุ้มค่า ซึ่งทางโรงงานมีค่าเฉลี่ยในการตัดมากกว่าจุดปริมาณคุ้มทุน จึงสมควรแก่การเลือกวิธีลงทุนซื้อเครื่องตัดมาเพื่อใช้งานเองภายในโรงงาน


การวิเคราะห์แนวทางการลดการระเบิดของชุดตัวเก็บประจุที่สถานีไฟฟ้าระดับแรงดัน 22 กิโลโวลต์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ณัฐวัฒน์ นามลักษณ์ Jan 2019

การวิเคราะห์แนวทางการลดการระเบิดของชุดตัวเก็บประจุที่สถานีไฟฟ้าระดับแรงดัน 22 กิโลโวลต์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ณัฐวัฒน์ นามลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์แนวทางการลดการระเบิดของชุดตัวเก็บประจุที่สถานีไฟฟ้าระดับแรงดัน 22 กิโลโวลต์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยนำโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ ได้แก่ EMTP/ATP, PQView รวมทั้ง DIgSILENT PowerFactory มาใช้วิเคราะห์สาเหตุที่มีผลต่อตัวเก็บประจุที่สถานีไฟฟ้า ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลสถานีไฟฟ้าวิหารแดง จังหวัดสระบุรี ซึ่งนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านคุณภาพไฟฟ้าในช่วงเวลาทรานเชียนต์ (Transient) และที่สภาวะปกติ (Steady state) รวมถึงมีการศึกษาผลกระทบของฮาร์มอนิกส์ที่เกิดขึ้นเมื่อระบบที่นำมาวิเคราะห์มีการเชื่อมต่อกับโหลดประเภทต่างๆ ได้แก่ โรงไฟฟ้าโซลาเซลล์ โรงหลอมเหล็ก รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ยกแรงดันแรงสูงคาปาซิเตอร์ โดยการจำลองแบบมีการเชื่อมต่อกับสายป้อน 1 บริเวณต้นสาย กลางสาย และปลายสาย ผลการศึกษาพบว่า ในสภาวะทรานเชียนต์ ผลกระทบจากกระแสเกินและแรงดันเกินที่เกิดขึ้นกับตัวเก็บประจุมีผลน้อยมากเมื่อเชื่อมต่ออยู่ในระบบไฟฟ้า 22 กิโลโวลต์ แรงดันและกระแสขณะเกิดทรานเชียนต์ของชุดตัวเก็บประจุที่ได้มีค่าน้อยกว่าค่ามาตรฐาน IEEE ที่เกี่ยวข้อง และในสภาวะปกติ การระเบิดของชุดตัวเก็บประจุที่สถานี มีโอกาสเกิดขึ้นเนื่องจากค่ากระแสฮาร์มอนิกส์ในระบบที่ไหลผ่านชุดตัวเก็บประจุที่สถานี และเมื่อระบบมีการเชื่อมต่อกับภาระโหลดที่กล่าวมาข้างต้น รูปแบบและคุณลักษณะของการเกิดฮาร์มอนิกส์เรโซแนนซ์จะมีความแตกต่างกันตามแต่ละประเภทของภาระโหลด การวิเคราะห์ระบบดังกล่าวได้ทำการวิเคราะห์ที่ปริมาณกำลังไฟฟ้าที่ใช้งานจริงในช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งนี้จึงได้มีแนวทางการลดฮาร์มอนิกส์เพื่อลดการระเบิดของชุดตัวเก็บประจุที่สถานีไฟฟ้าระดับแรงดัน 22 กิโลโวลต์