Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Construction Engineering and Management

Chulalongkorn University

2018

Articles 31 - 44 of 44

Full-Text Articles in Engineering

การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศและกลุ่มจุดสามมิติในการวางแผนวิธีก่อสร้าง:กรณีศึกษา โครงการก่อสร้างทางยกระดับ, ธีรพล จิรธรรมคุณ Jan 2018

การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศและกลุ่มจุดสามมิติในการวางแผนวิธีก่อสร้าง:กรณีศึกษา โครงการก่อสร้างทางยกระดับ, ธีรพล จิรธรรมคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผู้วางแผนวิธีทำงานต้องอาศัยข้อมูลสภาพพื้นที่ปัจจุบันเพื่อออกแบบวิธีการทำงานที่สะท้อนกับสภาพความเป็นจริงเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้และมีความปลอดภัย อย่างไรก็ตามในโครงการประเภทโครงสร้างพื้นฐานถนนและทางยกระดับซึ่งมีลักษณะพื้นที่ก่อสร้างขนาดใหญ่และมีระยะทางมาก การวางแผนวิธีทำงานจากข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบันหรือรายละเอียดไม่ชัดเจนอาจส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนและไม่สามารถปฏิบัติงานตามแผนงาน งานวิจัยนี้จึงเสนอกรอบแนวคิดการประยุกต์ใช้ต้นแบบเสมือนช่วยวางแผนวิธีทำงานก่อสร้าง โดยอ้างอิงข้อมูลสภาพพื้นที่จากแบบจำลองกลุ่มจุดสามมิติ ที่ได้มาจากการประมวลผลภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนบังคับ ซึ่งช่วยทำให้สามารถสร้างแบบจำลองพื้นที่ขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว และต่อมาจึงพิสูจน์กรอบแนวคิดการประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพพื้นที่ในการวางแผนวิธีทำงานก่อสร้างด้วยการสร้างต้นแบบเสมือนแสดงวิธีทำงาน 3 กิจกรรมก่อสร้างในโครงการกรณีศึกษา ซึ่งผลลัพธ์ของการประยุกต์กรอบแนวคิดดังกล่าวคือ ต้นแบบเสมือนวิธีจัดการพื้นที่กองเก็บวัสดุ ต้นแบบเสมือนการทำงานของเครื่องจักร และต้นแบบเสมือนขั้นตอนการขนส่งวัสดุเข้าพื้นที่ก่อสร้าง จากกรอบแนวคิดดังกล่าว งานวิจัยนี้ยังได้พัฒนาระบบช่วยวางแผนวิธีทำงานก่อสร้างของโครงเหล็กเลื่อน LG-VPS (Launching Gantry - Virtual Prototyping System) ในกิจกรรมการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งถัดไปซึ่งใช้สมมติฐานวิธีทำงานและพารามิเตอร์ควบคุมเครื่องจักรบนพื้นฐานจากโครงการกรณีศึกษาในการพัฒนาระบบสร้างต้นแบบเสมือนให้สามารถแสดงวิธีทำงานได้อย่างอัตโนมัติ


สมบัติเชิงกลของมอร์ตาร์เสริมท่อนาโนคาร์บอนและเส้นใยพอลิโพรไพลีนภายหลังอุณหภูมิสูง, นราธิป บุญชู Jan 2018

สมบัติเชิงกลของมอร์ตาร์เสริมท่อนาโนคาร์บอนและเส้นใยพอลิโพรไพลีนภายหลังอุณหภูมิสูง, นราธิป บุญชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้ท่อนาโนคาร์บอนและเส้นใยพอลิ โพรไพลีน (PP) ต่อการต้านทานสภาวะเพลิงไหม้ของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์มอร์ตาร์โดยตัวอย่างจะถูก น าไปเผาที่อุณหภูมิ400 ถึง 1,000 องศาเซลเซียส และประเมินความต้านทานต่อสภาวะเพลิงไหม้ โดยท าทดสอบหาค่าก าลังคงค้างและตรวจสอบการหลุดล่อนของตัวอย่าง ในการศึกษานี้จะใช้ท่อ นาโนคาร์บอนแบบผนังหลายชั้นผสมในปริมาณ 0%, 0.1%, 0.25% และ 0.50% โดยน้ าหนักของ ซีเมนต์ในขณะที่การผสมเส้นใย PP ในปริมาณร้อยละ 0.2 (โดยปริมาตร) มีวัตถุประสงค์เพื่อลด การหลุดล่อนของมอร์ตาร์ส าหรับส่วนผสมที่ไม่มีเส้นใย PP ผลการทดสอบบ่งชี้ว่าการผสมท่อนาโน คาร์บอน 0.1% สามารถเพิ่มก าลังอัดได้ร้อยละ 8 นอกจากนั้นยังพบว่ามอร์ตาร์ที่ผสมท่อนาโน คาร์บอนร้อยละ 0.1 มีก าลังดัดมากที่สุดซึ่งมีค่าเท่ากับ 12.22 MPa หลังจากการสัมผัสความร้อนที่ อุณหภูมิสูงพบว่าก าลังรับแรงของตัวอย่างมีค่าลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตัวอย่างสัมผัสกับความ ร้อนที่อุณหภูมิ1,000 องศาเซลเซียส จะพบว่าก าลังอัดของมอร์ตาร์มีค่าคงค้างอยู่ในช่วงร้อยละ 6.63 ถึง 12.60 อย่างไรก็ตามการผสมเส้นใย PP สามารถช่วยลดการหลุดล่อนของมอร์ตาร์ได้


การซึมผ่านของอนุภาคไอทะเลในตัวอย่างมอร์ตาร์ผสมเถ้าลอยต่างชนิดในบริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย, นันทวิทย์ อาษานอก Jan 2018

การซึมผ่านของอนุภาคไอทะเลในตัวอย่างมอร์ตาร์ผสมเถ้าลอยต่างชนิดในบริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย, นันทวิทย์ อาษานอก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศไทยที่ห้อมล้อมไปด้วยชายฝั่งทะเล อีกทั้งยังตั้งอยู่ในสภาวะอากาศร้อนชื้น ด้วยปัจจัยเหล่านี้ทำให้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กบริเวณชายฝั่งประเทศไทยนั้นมีแนวโน้มที่จะเสื่อมสภาพเนื่องจากการเกิดสนิมของเหล็กเสริมภายในเนื้อคอนกรีต อันเนื่องมาจากคลอไรด์ แม้ว่าโครงสร้างนั้นจะไม่ได้สัมผัสกับน้ำทะเลโดยตรง งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาความเข้มข้นของละอองคลอไรด์ในจังหวัดพังงาในระยะเวลา 84 วัน และจังหวัดชลบุรีในระยะเวลา 353 วัน โดยการใช้ตัวอย่างมอร์ตาร์ขนาด 10 ซม.x10 ซม.x10 ซม. ที่ผสมเถ้าลอยชนิดทั้งสิ้น 3 ชนิด ได้แก่ เถ้าลอยแม่เมาะ (class C), เถ้าลอย BLCP (class C) และเถ้าลอยจากประเทศญี่ปุ่น (class C) โดยการใช้เถ้าลอยทดแทนซีเมนต์ในปริมาณ 30% โดยน้ำหนัก ควบคุม w/b = 0.55 ในทุกสัดส่วนผสม และบ่มในน้ำเป็นระยะเวลาทั้ง 28 วัน การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลปริมาณคลอไรด์สะสมในแต่ละชั้นความลึก รวมทั้งศึกษาผลกระทบของเนื่องจากการชะล้างของคลอไรด์ที่ผิวหน้า(washout effect) อีกประการหนึ่งจากการศึกษาพบว่าเถ้าลอยที่นำมาใช้นั้น ถึงแม้ว่าจัดอยู่ในประเภทเดียวกันตามมาตรฐาน ASTM แต่ผลการซึมผ่านของคลอไรด์เข้าไปในมอร์ต้านั้นมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังพบว่าการชะล้างคลอไรด์ที่ผิวหน้าที่มีผลกระทบต่อปริมาณคลอไรด์ที่ผิวหน้าผ่านการวิเคราะห์จากปริมาณน้ำฝนสะสมในจังหวัดพังงา


ผลกระทบของลักษณะมาตรฐานรถโดยสารและสถานะทางกฎหมายของผู้ประกอบการต่อสถิติการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารในประเทศไทย : กรณีศึกษา รถโดยสารระหว่างจังหวัดเส้นทางหมวด 3, ปณิธิ สามนคร Jan 2018

ผลกระทบของลักษณะมาตรฐานรถโดยสารและสถานะทางกฎหมายของผู้ประกอบการต่อสถิติการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารในประเทศไทย : กรณีศึกษา รถโดยสารระหว่างจังหวัดเส้นทางหมวด 3, ปณิธิ สามนคร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารประจำทางโดยจากสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ภาครัฐจึงมีนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดอุบัติเหตุ เช่น นโยบายยกเลิกการนำรถตู้โดยสารมาให้บริการเป็นรถโดยสารประจำทางและการกำหนดให้ผู้ประกอบการรถโดยสารต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล งานวิจัยนี้จะศึกษาปัจจัยด้านลักษณะของมาตรฐานรถและสถานะทางกฎหมายของผู้ประกอบการเพื่อให้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าควรดำเนินนโยบายดังกล่าวหรือไม่ โดยในการศึกษานี้ได้ใช้แนวทางเดียวกับการศึกษาในอดีตสำหรับเส้นทางรถโดยสารประจำทางระหว่างกรุงเทพและต่างจังหวัด (เส้นทางหมวด 2) ซึ่งใช้แบบจำลองถดถอยปัวส์ซองและแบบจำลองถดถอยทวินามเชิงลบในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรลักษณะผู้ประกอบการและตัวแปรมาตรฐานรถ โดยจะศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของเส้นทางหมวด 3 หรือเส้นทางระหว่างจังหวัดสู่จังหวัด ผลการศึกษาพบว่าจำนวนรถตู้โดยสาร รถโดยสารปรับอากาศและรถโดยสาร 2 ชั้นในเส้นทางส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญ แต่สำหรับสถานะของผู้ประกอบการนั้นยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนว่าการเป็นนิติบุคคลจะทำให้การให้บริการมีความปลอดภัยมากกว่า การกำหนดนโยบายเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของรถโดยสารจึงควรมุ่งเน้นไปที่ลักษณะการบริหารจัดการ และการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยของรถแต่ละประเภท


การออกเเบบอย่างเหมาะสมสำหรับสะพานโครงข้อหมุนเหล็กด้วยวิธีฮาร์โมนีเสิร์ช, ปรัญญู จันภูตระกูล Jan 2018

การออกเเบบอย่างเหมาะสมสำหรับสะพานโครงข้อหมุนเหล็กด้วยวิธีฮาร์โมนีเสิร์ช, ปรัญญู จันภูตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงข้อหมุนเหล็กเป็นโครงสร้างที่นิยมใช้ทั่วไปในการก่อสร้างสะพาน หลังคา และโครงสร้างอื่นๆเนื่องจากเป็นโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบาแต่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้มาก งานวิจัยนี้ศึกษาการออกแบบสะพานโครงข้อหมุนเหล็ก 2 มิติเพื่อหาน้ำหนักที่น้อยที่สุดของสะพานโดยควบคุมความยาวช่วงและความสูงที่มากที่สุดของสะพาน การออกแบบอย่างเหมาะสมของสะพานโครงข้อหมุนเหล็กในที่นี้จะพิจารณาตัวแปรหลักทั้งขนาดหน้าตัดชิ้นส่วนและรูปร่างที่เหมาะสมของสะพานโดยใช้วิธีฮาร์โมนีเสิร์ช ซึ่งเลียนแบบการเรียบเรียงทำนองเพลงของนักดนตรี การออกแบบสะพานใช้วิธี LRFD และอ้างอิงมาตรฐาน AASHTO


การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าผสมเส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ, ปาณิศา แสงแก้ว Jan 2018

การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าผสมเส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ, ปาณิศา แสงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่า (Cellular Lightweight Concrete; CLC) โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 2 ชนิด ได้แก่ เส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ กลุ่มตัวอย่างทดสอบแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ คอนกรีต CLC แบบปกติ, คอนกรีต CLC ผสมเส้นใยปาล์ม, คอนกรีต CLC ผสมถ่านชีวภาพ, คอนกรีต CLC ผสมเส้นในปาล์มและถ่านชีวภาพ จากผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนเส้นใยปาล์มที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่น กำลังอัด กำลังดึง การถ่ายเทความร้อนของคอนกรีต CLC สูงขึ้น แต่อัตราส่วนการดูดซึมน้ำลดลง สัดส่วนของถ่านชีวภาพที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่นเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย กำลังอัด กำลังดึง สูงขึ้น อัตราการดูดซึมน้ำและการถ่ายเทความร้อนลดลง งานวิจัยนี้ยังศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้งานด้านคุณสมบัติและเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมในการนำไปใช้งานมี 2 กลุ่ม ได้แก่ คอนกรีต CLC (โฟมร้อยละ 50) ผสมถ่านชีวภาพร้อยละ 15 และคอนกรีต CLC (โฟมร้อยละ 60) ผสมเส้นใยปาล์มและถ่านชีวภาพร้อยละ 1.5 และ 10 กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีความสามารถถ่ายเทความร้อนได้ต่ำ ซึ่งช่วยประหยัดการใช้พลังงานเครื่องปรับอากาศภายในอาคารได้ ในด้านเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้และมีประโยชน์ในการลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียต่อปี ดังนั้นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นส่วนผสมในคอนกรีต CLC นั้น จึงช่วยพัฒนาคุณสมบัติบางประการหากใส่ในปริมาณที่เหมาะสม เป็นแนวทางในการกำจัดของเสียและสามารถพัฒนาต่อยอดการผลิตคอนกรีต CLC ได้ในอนาคต


การสำรวจโครงสร้างจุลภาคและพฤติกรรมกำลังของดินเหนียวบวมตัวที่ปรับปรุงด้วยปูนขาวและซีเมนต์, สุวิจักขณ์ สิทธิอวิรุทธ์ Jan 2018

การสำรวจโครงสร้างจุลภาคและพฤติกรรมกำลังของดินเหนียวบวมตัวที่ปรับปรุงด้วยปูนขาวและซีเมนต์, สุวิจักขณ์ สิทธิอวิรุทธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดินเหนียวบวมตัวถือว่าเป็นดินที่ก่อให้เกิดปัญหาในงานวิศวกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องมาจากดินชนิดนี้มีค่าการบวมตัวสูงส่งผลให้เกิดการแตกร้าวเสียหายต่อชั้นผิวทางและฐานรากอาคาร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของดินเหนียวแม่เมาะซึ่งเป็นดินบวมตัวธรรมชาติด้วยปูนขาวและปูนซีเมนต์ เพื่อนำมาใช้เป็นวัสดุในงานทาง โดยจะศึกษาคุณสมบัติทางด้านกำลังและการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางจุลภาคของดินเหนียวที่ถูกปรับปรุงคุณภาพนี้ ดินเหนียวแม่เมาะถูกนำมาทดสอบคุณสมบัติพื้นฐานเบื้องต้นเป็นลำดับแรก หลังจากนั้นทำการปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวโดยการเพิ่มเสถียรภาพด้วยปูนขาวและปูนซีเมนต์ที่อัตราส่วนผสม 6 8 10 และ 12% ตัวอย่างดินแต่ละส่วนผสมจะถูกนำมาทดสอบหาค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดี่ยว ค่าซีบีอาร์ (CBR) ค่าโมดูลัสคืนตัว และค่าความเร็วคลื่นที่เดินทางผ่านตัวอย่างดินด้วยการทดสอบด้วยวิธีการสั่นพ้องปลายอิสระ (Free-free resonant method) ผลการทดสอบดินเหนียวที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยสารผสมเพิ่มพบว่าค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดี่ยวและค่าซีบีอาร์มีการพัฒนากำลังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าตามระยะเวลาบ่มที่แตกต่างกัน ค่ากำลังรับแรงของดินตัวอย่างที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์มีค่ามากกว่าการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนขาว ในขณะเดียวกันการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนขาวสามารถลดการบวมตัวได้ดีกว่าการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์ จากผลการทดสอบยังสังเกตเห็นว่าค่าความเค้นเบี่ยงเบนและความเค้นรอบข้างมีอิทธิพลอย่างมากต่อค่าโมดูลัสคืนตัวของดินเหนียวที่ปรับปรุงด้วยสารเคมี เมื่อทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นเบี่ยงเบนและค่าโมดูลัสยืดหยุ่นพบว่าเมื่อค่าความเบี่ยงเบนเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นมีค่าลดลง การหาความเร็วคลื่นในดินด้วยการทดสอบด้วยวิธีการสั่นพ้องปลายอิสระพบว่า ค่าความเร็วคลื่นปฐมภูมิ (P-wave) และคลื่นทุติยภูมิ (S-wave) ที่วัดจากตัวอย่างดินเหนียวที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์มีค่าเพิ่มขึ้นทีละน้อยตามระยะเวลาบ่ม ในทางกลับกันพบว่าค่าความเร็วคลื่นที่วัดจากตัวอย่างที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนขาวมีค่าลดลงหลังจากระยะเวลาบ่ม 28 วัน งานวิจัยสังเกตการเปลี่ยนโครงสร้างทางจุลภาคของดินเหนียวก่อนและหลังปรับปรุงด้วยสารเคมี ด้วยภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) และเครื่องวิเคราะห์ตัวอย่างโดยเทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ (XRF) และเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (XRD) โดยผลการทดสอบพบว่าการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนขาวและปูนซีเมนต์จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาไฮเดรชันและปอซโซลานิก ซึ่งทั้งสองปฏิกิริยานี้จะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ของแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (CSH) และเอททริงไกต์ (Et) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่มีส่วนช่วยในการพัฒนากำลังและลดการบวมตัวของดินเหนียวที่ถูกปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนขาวและปูนซีเมนต์


การประเมินกำลังของเสาวัสดุผสมโดยใช้ฐานข้อมูลการทดสอบ, วรพล ฮ้อแสงชัย Jan 2018

การประเมินกำลังของเสาวัสดุผสมโดยใช้ฐานข้อมูลการทดสอบ, วรพล ฮ้อแสงชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอการประเมินสมการทำนายกำลังของเสาวัสดุผสมตามข้อกำหนด AISC 360-16 และมาตรฐาน Eurocode 4 โดยได้รวบรวมข้อมูลผลการทดสอบเสาวัสดุผสมจากงานวิจัยในอดีตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ถึง ปัจจุบัน เพื่อสร้างฐานข้อมูลการทดสอบเสาวัสดุผสม และได้ใช้ข้อมูลผลการทดสอบจำนวน 76 426 และ 347 ตัวอย่าง ในการประเมินความแม่นยำและความปลอดภัยของสมการทำนายกำลังสำหรับเสาเหล็กหุ้มด้วยคอนกรีต เสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตหน้าตัดกลมและหน้าตัดสี่เหลี่ยม ตามลำดับ โดยพบว่า สมการทำนายกำลังตามข้อกำหนด AISC 360-16 สามารถทำนายกำลังของเสาเหล็กหุ้มด้วยคอนกรีตและเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตภายใต้แรงอัดกระทำตรงศูนย์ได้อย่างปลอดภัย แม้ว่ากำลังของวัสดุที่ใช้จะสูงกว่าขอบเขตกำลังของวัสดุที่ระบุไว้ในข้อกำหนด ในขณะที่ สมการทำนายกำลังตามมาตรฐาน Eurocode 4 ทำนายกำลังสูงกว่าผลการทดสอบบางตัวอย่างสำหรับเสาเหล็กหุ้มด้วยคอนกรีตและเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมที่ใช้เหล็กรูปพรรณที่มีหน่วยแรงครากสูงกว่าขอบเขตที่ระบุไว้ในมาตรฐาน นอกจากนี้ ฐานข้อมูลการทดสอบได้ถูกใช้ในการวิเคราะห์การถดถอยเชิงสัญลักษณ์เพื่อศึกษาผลกระทบของขนาดเสาต่อหน่วยแรงอัดสูงสุดของเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตหน้าตัดกลม โดยพบว่า ผลกระทบของขนาดเสาต่อหน่วยแรงอัดสูงสุด ขึ้นอยู่กับขนาดของท่อเหล็ก อัตราส่วนเหล็กรูปพรรณ และกำลังอัดของคอนกรีต งานวิจัยนี้ยังได้นำเสนอแนวทางในการสร้างเส้นโค้งปฏิสัมพันธ์กำลังของเสาวัสดุผสมในรูปแบบไร้หน่วยจากผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงสัญลักษณ์สำหรับช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตหน้าตัดกลม โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับเส้นโค้งปฏิสัมพันธ์รูปแบบไร้หน่วยสำหรับเสาคอนกรีตเสริมเหล็กภายใต้แรงในแนวแกนและแรงดัดกระทำร่วมกัน


พฤติกรรมของเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กรูปพรรณรับแรงกระทำเยื้องศูนย์, รณพีร์ รุ่งมงคลรัตน์ Jan 2018

พฤติกรรมของเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กรูปพรรณรับแรงกระทำเยื้องศูนย์, รณพีร์ รุ่งมงคลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาพฤติกรรมของเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กรูปพรรณรับแรงกระทำเยื้องศูนย์ รูปแบบการทดสอบประกอบด้วย เสารับแรงกระทำตรงศูนย์ เสารับแรงกระทำเยื้องศูนย์ และคานรับแรงดัด หน้าตัดท่อสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 150x150 มิลลิเมตร เติมด้วยคอนกรีตที่มีกำลังรับแรงอัดประลัยเฉลี่ยเท่ากับ 22.5 เมกะปาสคาล ที่เสริมด้วยเหล็กรูปพรรณรูปตัวเอช (H) ขนาด 100x9.30 กิโลกรัมต่อเมตร เสามีความสูง 450 มิลลิเมตร และคานมีความยาว 1500 มิลลิเมตร ตัวแปรทดสอบที่ศึกษาได้แก่ ระยะเยื้องศูนย์ (0, 15 และ 30 มิลลิเมตร) และการติดตั้งหรือไม่ติดตั้งสลักรับแรงเฉือน จากการทดสอบพบว่า (1) เสาจะมีกำลังรับแรงอัดมากที่สุดเมื่อแรงกระทำตรงศูนย์ โดยกำลังรับแรงอัดจะลดลงเมื่อแรงกระทำห่างจากจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัดมากขึ้น (2) การติดตั้งสลักรับแรงเฉือนช่วยเพิ่มกำลังรับแรงอัด ให้สาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กรูปพรรณ และช่วยเพิ่มความต้านทานการโก่งเดาะเฉพาะที่ของตัวอย่างที่รับแรงกระทำเยื้องศูนย์ (3) เสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กรูปพรรณมีกำลังรับแรงอัดมากกว่าผลรวมของกำลังรับแรงอัดจากท่อเหล็ก เหล็กรูปพรรณ และคอนกรีต ที่มีขนาดและวัสดุเดียวกัน และมากกว่าผลรวมของกำลังรับแรงอัดจากเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตและเหล็กรูปพรรณ เนื่องจากพฤติกรรมเชิงประกอบของวัสดุ และคอนกรีตถูกโอบรัดโดยเสาท่อเหล็กและท่อเหล็ก ศึกษาสมการเส้นโค้งปฏิสัมพันธ์กำลังรับแรงอัดและแรงดัดจากข้อกำหนด AISC360-16และมาตรฐาน Eurocode4 พบว่าการประยุกต์ใช้สูตรการคำนวณจากข้อกำหนด AISC 360-16 และมาตรฐาน Eurocode4 ใกล้เคียงกับผลการทดสอบ โดยทำนายค่ากำลังรับแรงกระทำตรงศูนย์ไว้สูงกว่าผลการทดสอบ แต่ทำนายค่ากำลังรับแรงกระทำเยื้องศูนย์และแรงดัดต่ำกว่าผลการทดสอบ


พฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนและคอนกรีตโดยใช้อีพอกซีเสริมท่อนาโนคาร์บอน, อมเรศ มธุรส Jan 2018

พฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนและคอนกรีตโดยใช้อีพอกซีเสริมท่อนาโนคาร์บอน, อมเรศ มธุรส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน (CFRP) และคอนกรีตโดยใช้อีพอกซีเสริมท่อนาโนคาร์บอน (CNTs) โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา คือประเภทของท่อนาโนคาร์บอน ประกอบด้วย แบบผนังชั้นเดียว (SWCNTs) และแบบผนังหลายชั้น (MWCNTs) ปริมาณของท่อนาโนคาร์บอนที่ปริมาณ 0.25, 0.50, 1.00 และ 2.00% ของปริมาณอีพอกซี และประเภทของอีพอกซี ประกอบด้วยอีพอกซีชนิดค่าความหนาแน่นเท่ากับ 1.30 และ 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร ผลการศึกษาพบว่าพลังงานการต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัสและหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุดมีค่าเพิ่มขึ้นสูงสุด 51.11% และ 56.47% ตามลำดับ เมื่อใช้ SWCNTs ที่ 1.00% ของปริมาณอีพอกซีในอีพอกซีค่าความหนาแน่น 1.30 กิโลกรัมต่อลิตร อย่างไรก็ตามการใช้ SWCNTs และ MWCNTs เสริมอีพอกซีที่ความหนาแน่น 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร มีแนวโน้มให้พลังงานการต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัส หน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุด รวมถึงค่าการเลื่อนไถลสูงสุดที่ลดลง สำหรับรูปแบบการหลุดล่อนโดยส่วนใหญ่มีการแยกตัวที่วัสดุประสานและคอนกรีต ทั้งนี้การใช้อีพอกซีที่ความหนาแน่น 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร โดยการใช้อีพอกซีเสริม SWCNTs ที่ปริมาณ 0.25% ของปริมาณอีพอกซี มีการหลุดล่อนจากการสูญเสียการยึดเหนี่ยวของวัสดุเชื่อมประสาน และการใช้ MWCNTs 0.25% ของปริมาณอีพอกซีมีการหลุดล่อนจากการแตกหักของคอนกรีต จากการตรวจสอบการยึดเหนี่ยวภายในชั้นของอีพอกซีและการยึดเหนี่ยวของอีพอกซีกับ CFRP ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน พบว่าให้ผลสอดคล้องกับผลของหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุด โดยผลของชุดทดสอบที่มีหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูง มีลักษณะการยึดเกาะหรือการรวมตัวของอีพอกซีที่ดีและช่องว่างของอีพอกซีน้อย จึงแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของท่อนาโนคาร์บอนที่มีการปรับปรุงคุณสมบัติของอีพอกซี


Development Of Causal Relationship Model Of Knowledge Sharing In Construction Projects, Lambada Roeun Jan 2018

Development Of Causal Relationship Model Of Knowledge Sharing In Construction Projects, Lambada Roeun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Knowledge sharing among construction project members is very crucial for improving project success and project performance. It can also reduce mistakes in the construction process. Project management has been growing more complicated, and project members need to learn best practice from others. Currently, knowledge sharing is not well performed yet; especially, few research studies have been focused on the relationship evaluation of supporting factors that affect knowledge sharing from different contexts in construction projects. Therefore, this study aims to develop the causal relationship model of supporting factors from psychological, individual, organizational, and technological factors that affect mediators – knowledge sharing …


Development Of Causal Relationship Model Of Knowledge Sharing In Construction Projects, Lambada Roeun Jan 2018

Development Of Causal Relationship Model Of Knowledge Sharing In Construction Projects, Lambada Roeun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Knowledge sharing among construction project members is very crucial for improving project success and project performance. It can also reduce mistakes in the construction process. Project management has been growing more complicated, and project members need to learn best practice from others. Currently, knowledge sharing is not well performed yet; especially, few research studies have been focused on the relationship evaluation of supporting factors that affect knowledge sharing from different contexts in construction projects. Therefore, this study aims to develop the causal relationship model of supporting factors from psychological, individual, organizational, and technological factors that affect mediators – knowledge sharing …


การวิเคราะห์ชั้นดินโดยการวิเคราะห์คลื่นผิวดินหลายโหมดแบบย้อนกลับ, ถิรวัฒน์ ซิ้มเล่มกิม Jan 2018

การวิเคราะห์ชั้นดินโดยการวิเคราะห์คลื่นผิวดินหลายโหมดแบบย้อนกลับ, ถิรวัฒน์ ซิ้มเล่มกิม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้เสนอวิธีการสำรวจชั้นดินด้วยวิธีการตรวจวัดคลื่นผิวดินแบบพาสซีฟแบบใหม่ใช้ชื่อว่า Power of Phase (POP) และการวิเคราะห์แบบย้อนกลับที่คำนึงถึงผลการสั่นไหวของโหมดที่สูงขึ้นของคลื่นผิวดิน การสร้างเส้นโค้งการกระจายของความเร็วคลื่นเฉือนด้วยวิธีการใหม่นี้ไม่จำเป็นต้องหารากของสมการเบสเซลจึงไม่จำเป็นต้องใช้ปริพันธ์เชิงเส้นรอบรูปวงกลมที่มีสมมติฐานว่าทุกจุดบนเส้นรอบรูปวงกลมต้องหาค่าได้ หรือในทางปฏิบัติคือ จำเป็นต้องมีจีโอโฟนเพื่อวัดการเคลื่อนที่ของผิวดินทุกจุดบนเส้นรอบรูปวงกลมเหมือนวิธีการที่ได้รับความนิยมในอดีต เช่น SPAC และ CCA เป็นต้น โดยหลักการการสร้างเส้นโค้งการกระจายด้วยวิธี POP คือการหาความสัมพันธ์ของเฟสของคลื่นผิวดินที่ได้จากการตรวจวัด จึงเป็นผลให้เส้นโค้งการกระจายที่คำนวณได้มีความซับซ้อนในการวิเคราะห์น้อยลงและมีความถูกต้องมากขึ้นในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยยังได้พัฒนาวิธีการวิเคราะห์แบบย้อนกลับที่คำนึงถึงผลของการสั่นไหวในโหมดที่สูงขึ้นของคลื่นผิวดิน ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์ชั้นดินที่ความเร็วคลื่นเฉือนไม่ได้เพิ่มขึ้นตามความลึก ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการทวนสอบกระบวนการที่ได้พัฒนาขึ้นกับสัญญาณคลื่นที่สร้างจากแบบจำลองชั้นดินตามระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์และผลตรวจวัดคลื่นผิวดินในสนามที่มีโครงสร้างพื้นดินแตกต่างกัน ซึ่งพบว่าวิธี POP สามารถคำนวณเส้นโค้งการกระจายได้ใกล้เคียงกับเส้นโค้งการกระจายทางทฤษฎีมากกว่าวิธี SPAC และการวิเคราะห์แบบย้อนกลับที่คำนึงโหมดการสั่นไหวของคลื่นผิวดินโหมดที่สูงขึ้นแสดงแยกแยะโครงสร้างชั้นดินได้ละเอียดกว่าการวิเคราะห์จากการสั่นไหวในโหมดพื้นฐานอย่างเดียว


A Bim-Database-Integrated System For Evaluating Building Life-Cycle Costs Using A Multi-Parametric Model, Hang Thi Thu Le Jan 2018

A Bim-Database-Integrated System For Evaluating Building Life-Cycle Costs Using A Multi-Parametric Model, Hang Thi Thu Le

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Life-cycle cost analysis (LCCA) has become an essential requirement of the sustainable procurement for many construction projects. Conventional building LCCA methods are extremely complex and time-consuming due to repetitive works, numerous required data, scattered data inputs, and various regulatory requirements, which subsequently lead to inaccurate building life-cycle costs (LCC). Building information modeling (BIM) offers a revolutionary information technology, which can overcome the asperities of the conventional building LCCA. This research develops the BIM-database-integrated system for evaluating building life-cycle costs using a multi-parametric model (BIM-BLCC). The BIM-BLCC consists of four interrelated modules. The relational database management module collects and organizes the …