Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Civil and Environmental Engineering

2017

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 46

Full-Text Articles in Engineering

Influence Of Crumbed Para Rubber Modifier In Aggregate Blend On Deformation Resistance Properties Of Hot Mix Asphalt, Hatthaphone Silimanotham Jan 2017

Influence Of Crumbed Para Rubber Modifier In Aggregate Blend On Deformation Resistance Properties Of Hot Mix Asphalt, Hatthaphone Silimanotham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research presents the influence of crumbed para rubber which is added into a portion of aggregate in hot mix asphalt (HMA) during the batch mixing process or called "Dry Process". The dry process has an advantage on its simplicity of quality inspection and less modification in the hot mix plant production process. This study has investigated the effects of adding crumbed para rubber particles on the engineering properties related to permanent deformation resistance of asphalt concrete. In this study, the asphalt mixture is prepared via Marshall Mix design, which contained with limestone and asphalt cement of Pen 60/70 at …


Quantification Of Seismic Performance Factors For Circular Concrete-Filled Steel Tube Diagrid Structures, Nattanai Kuangmia Jan 2017

Quantification Of Seismic Performance Factors For Circular Concrete-Filled Steel Tube Diagrid Structures, Nattanai Kuangmia

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In 21st century, diagrid structures become more popular lateral force-resisting systems for high-rise buildings world-wide. It consists of several grids of diagonal members on building perimeter serving as both lateral bracing and vertical-load carrying members. Since the diagrid structure is a relatively new type of lateral force-resisting system, current building codes do not explicitly provide the seismic performance factors (SPFs) for this system to use in design process. This thesis aims to determine appropriate SPFs for the diagrid structure incorporating circular concrete-filled steel tube to enable structural engineers to design this system according to seismic performance expected in building codes. …


Analysis Of Near Interface Cracks By Weakly Singular Boundary Integral Equation Method, Pisit Watanavit Jan 2017

Analysis Of Near Interface Cracks By Weakly Singular Boundary Integral Equation Method, Pisit Watanavit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis presents a weakly singular boundary integral equation method for analysis of sub-interface cracks in a three-dimensional, linearly elastic, multi-material domain. The formulation is established in a general framework allowing finite bodies, general material anisotropy and loading conditions, arbitrarily shaped cracks, and curved material interface to be treated. A system of integral equations governing the unknown data on the boundary, the crack surface and the material interface are established using a pair of weakly singular, weak-form displacement and traction integral equations and the continuity along the material interface. A symmetric Galerkin boundary element method together with the standard finite …


Development Of Novel Electrocoagulation Reactor (Ecr) For Turbidity Removal And Decolorization From Textile Industry Wastewater, Penghour Hong Jan 2017

Development Of Novel Electrocoagulation Reactor (Ecr) For Turbidity Removal And Decolorization From Textile Industry Wastewater, Penghour Hong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

High concentration of dyes together with turbidity were frequently found in the effluents of textile industry wastewater, which are the toxic substances. To remove these contaminants, the combination between electrocoagulation process (EC) and separation has been proposed in this study. The objective of this present work is to design and evaluate the new electrocoagulation reactor (ECR) for treating dye and turbidity from synthetic textile wastewater. The optimization of electrode configuration and design parameter were examined with the batch column reactor for containing 4 liters of wastewater. The result showed that monopolar arrangement within the inner gap 1.5 cm and current …


Multi-Layered Elastic Medium Under Axisymmetric Loading And Surface Energy Effects, Kanin Tarntira Jan 2017

Multi-Layered Elastic Medium Under Axisymmetric Loading And Surface Energy Effects, Kanin Tarntira

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Multi-layered nano-scale structures have been found in a wide range of applications these days. Since the surface energy effect is presented at the nano-scale level, a novel calculation scheme is required to accurately capture the mechanical behaviors of such structures. In this study, a solution scheme for analysis of a multi-layered elastic medium with influence of surface energy effects subjected to axisymmetric loading by adopting Gurtin-Murdoch surface elasticity theory is presented. The standard Love's representation and Hankel integral transform are employed to derive the general solutions, and the obtained solutions are employed in the determination of the stiffness matrix for …


Contact Problems With Surface Stress Effects, Supakorn Tirapat Jan 2017

Contact Problems With Surface Stress Effects, Supakorn Tirapat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation presents a theoretical study of contact problems with consideration of surface energy effects by adopting a complete Gurtin-Murdoch theory of surface elasticity. The fundamental solution of a layered elastic half-space subjected to axisymmetric surface loading is obtained by using Love's representation and the Hankel integral transform. The analytical solutions for both displacement and stress fields are expressed in terms of semi-infinite integrals, which can be accurately evaluated by employing a numerical quadrature scheme. The obtained solutions are employed as the required influence functions in the investigation of axisymmetric indentation on a layered elastic medium with frictionless and adhesive …


Life-Cycle Reliability Assessment Of Existing Rc Bridge Structures Under Multiple Hazards Using Inspection Data, Thanapol Yanweerasak Jan 2017

Life-Cycle Reliability Assessment Of Existing Rc Bridge Structures Under Multiple Hazards Using Inspection Data, Thanapol Yanweerasak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study presented a novel methodology to estimate the life-cycle reliability of existing reinforced concrete (RC) corroded bridges under multiple hazards. The life-cycle reliability of a bridge girder under traffic load and airborne chloride hazards was compared with that of a bridge pier under seismic ground motion and airborne chloride hazards. When predicting the life-cycle reliability of existing RC corroded bridges, inspection results could be used to estimate the current material corrosion level. Random variables associated with the estimation of time-variant steel weight loss will be updated to be consistent with the given inspection results by using Sequential Monte Carlo …


การประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการมูลฝอยชุมชนจากสถานประกอบการ, ณัฐณิชา พุทธเกษม Jan 2017

การประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการมูลฝอยชุมชนจากสถานประกอบการ, ณัฐณิชา พุทธเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการมูลฝอยโดยเน้นการคัดแยกมูลฝอยและจัดการที่แหล่งกำเนิด เพื่อหาทางเลือกการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสมทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์ โดยงานวิจัยนี้ทำการศึกษาในอาคารสถานประกอบการทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต คอนโดมิเนียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงแรม ซึ่งมีแนวทางการจัดการมูลฝอยทั้งหมด 5 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 การฝังกลบ ทางเลือกที่ 2 การรีไซเคิลและการฝังกลบ ทางเลือกที่ 3.1 การรีไซเคิล การผลิตก๊าซชีวภาพ และการฝังกลบ ทางเลือกที่ 3.2 การรีไซเคิล การนำเศษอาหารไปทำอาหารสัตว์ และการฝังกลบ และทางเลือกที่ 4 การรีไซเคิล การผลิตก๊าซชีวภาพ การผลิตเชื้อเพลิงมูลฝอยอัดแท่ง (RDF) และการฝังกลบ โดยในงานวิจัยนี้ใช้วิธีประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) และกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) และคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) และประเมินความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้การประเมินต้นทุนการบำบัดมลพิษ (Abatement cost) จากผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบทางกายของกรณีศึกษาซูเปอร์มาร์เก็ตพบเศษอาหารมากที่สุดร้อยละ 35 และแนวทางการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ ทางเลือกที่ 4 สำหรับกรณีศึกษาคอนโดมิเนียมมีองค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยเป็นเศษอาหารมากที่สุดร้อยละ 53.62 และการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ ทางเลือกที่ 2 สำหรับกรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ องค์ประกอบมูลฝอยพบกระดาษมากสุดร้อยละ 33 สำหรับแนวทางการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ ทางเลือกที่ 2 และกรณีศึกษาสุดท้าย คือ โรงแรมพบองค์ประกอบมูลฝอยมีเศษอาหารมากสุดร้อยละ 29 โดยการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ แนวทางเลือกที่ 2 จากการศึกษาสรุปได้ว่าอาคารแต่ละประเภทมีลักษณะการดำเนินกิจกรรมที่แตกต่างกัน ส่งผลให้องค์ประกอบมูลฝอยมีความแตกต่างตามไปด้วย จึงทำให้การจัดการมูลฝอยแต่ละประเภทอาคารมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน


Weakly Singular Boundary Integral Equation Method For Analysis Of Generalized T-Stresses Of Cracks In 3d Coupled-Field Media, Naruethep Sukulthanasorn Jan 2017

Weakly Singular Boundary Integral Equation Method For Analysis Of Generalized T-Stresses Of Cracks In 3d Coupled-Field Media, Naruethep Sukulthanasorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis presents the development of a weakly singular boundary integral equation method for the analysis of the generalized T-stress of isolated cracks embedded in a coupled-field whole space. A pair of weak-form integral equations, one for crack-face generalized traction and the other for the gradient of the crack-face generalized displacement, is established in a general framework allowing various types of materials including elastic, piezoelectric, piezomagnetic and piezoelectromagnetic solids, general crack geometry and loading conditions to be handled in a unified fashion. In addition, the final governing integral equations contain only weakly singular kernels and this, as a result, renders …


Study Of Liquefaction Mechanism In Chiang Rai Province, Lindung Zalbuin Mase Jan 2017

Study Of Liquefaction Mechanism In Chiang Rai Province, Lindung Zalbuin Mase

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทางภาคเหนือของประเทศไทยได้เผชิญภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้งคือ แผ่นดินไหวที่ศูนย์กลางอยู่ ที่เมืองทาร์เลย์ในประเทศเมียนมาปี ค.ศ. 2011 และแผ่นดินไหว ที่อ.แม่ลาว จ.เชียงรายในปี ค.ศ. 2014 งานวิจัยนี้จึงดำเนินการศึกษาการเกิดทรายเหลวระหว่างการเกิดแผ่นดินไหวโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย งานวิจัยนี้เริ่มจากการวิเคราะห์ด้วยสูตรเชิงประสบการณ์โดยใช้ข้อมูลในหลายพื้นที่ในภาคเหนือ การศึกษาผลตอบสนองแผ่นดินไหวสามารถนำไปใช้ประเมินผลของการแผ่ขยายของคลื่นแผ่นดินไหวในชั้นดินได้ นอกเหนือจากนี้ มีการสำรวจพื้นที่ด้วยการทดสอบไมโครทริมเมอร์และการวิเคราะห์สเปกตรัมคลื่นผิวดินบริเวณพื้นที่ที่เคยเกิดทรายเหลวในระหว่างแผ่นดินไหวทั้งสองครั้ง การวิเคราะห์ผลตอบสนองต่อการเกิดทรายเหลวแบบหนึ่งมิติเพื่อสังเกตพฤติกรรมพลศาสตร์ของชั้นดินพบว่า ชั้นทรายชั้นแรกและชั้นที่สองของบริเวณที่ทำการศึกษามีโอกาสการเกิดทรายเหลวค่อนข้างสูง นอกเหนือจากนี้ ผลวิเคราะห์การแผ่ขยายของคลื่นพบว่า ที่บริเวณอ.แม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา อาจเกิดความเสียหายต่ออาคารความสูงปานกลางจากการขยายตัวของคลื่นแผ่นดินไหวได้ เนื่องจากการสั่นพ้องระหว่างดินและโครงสร้าง ส่วนผลการสำรวจพื้นที่ยังพบว่าสภาพทางธรณีวิทยาประกอบไปด้วยชั้นดินตะกอนของแม่น้ำที่มีความต้านทานต่อแรงเฉือนค่อนข้างต่ำ พฤติกรรมของดินพวกนี้ระหว่างการแผ่ขยายคลื่นน่าจะโอกาสเกิดทรายเหลวได้ง่าย การศึกษานี้น่าใช้แนะนำวิศวกรท้องถิ่นเพื่อให้ตระหนักถึงความไม่ปลอดภัยต่อแผ่นดินไหวและการเกิดทรายเหลวในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายได้


Travel Time Estimation And Prediction For Urban Arterial Roads, Porntep Puangprakhon Jan 2017

Travel Time Estimation And Prediction For Urban Arterial Roads, Porntep Puangprakhon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Travel time information has been accepted as the core of advanced traveler information systems (ATIS) and advanced traffic management systems (ATMS). Providing the accurate travel time information to traffic operators and travelers allows them to make informed decisions, leading to more advantage for individual road users and the entire transportation system. Most of the traffic information providers normally deliver the current traffic conditions or current travel times to public assuming the state of traffic remains constant in the near future. Aimed at the more effective applications, short-term future traffic conditions have been proposed as a valuable piece of information in …


การวิเคราะห์ผลตอบสนองของชั้นดินกรุงเทพต่อแผ่นดินไหวโดยคำนึงถึงความแปรปรวนของความเร็วคลื่นเฉือนในดิน, ภาณุสรณ์ เปล่งสิริ Jan 2017

การวิเคราะห์ผลตอบสนองของชั้นดินกรุงเทพต่อแผ่นดินไหวโดยคำนึงถึงความแปรปรวนของความเร็วคลื่นเฉือนในดิน, ภาณุสรณ์ เปล่งสิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันประเทศไทยประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงบ่อยครั้งขึ้น เช่นในปี พ.ศ.2554 และ พ.ศ.2557 เกิดแผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานคร ผู้คนที่อาศัยอยู่ภายในอาคารสูงสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นไหวได้อย่างชัดเจน เนื่องจากชั้นดินเหนียวอ่อนหนาสามารถขยายกำลังคลื่นสั่นไหวได้ แม้จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวจะอยู่ไกลก็ตาม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผลตอบสนองของชั้นดินกรุงเทพจากคลื่นสั่นไหวโดยคำนึงถึงความแปรปรวนของความเร็วคลื่นเฉือนของชั้นดิน ใช้แบบจำลองมอนติคาลโลเพื่อวิเคราะห์ผลเชิงสถิติของผลตอบสนองต่อแผ่นดินไหว ด้วยการสุ่มข้อมูลชั้นดินจากแบบจำลองทางธรณีวิทยา 3 มิติของชั้นดินกรุงเทพและประยุกต์ใช้สมการความสัมพันธ์ของความเร็วคลื่นเฉือนกับกำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำและจำนวนครั้งการตอกมาตรฐาน อีกทั้งใช้ค่าคุณสมบัติทางพลศาสตร์ของชั้นดินเหนียวที่ประมาณได้จากค่าดัชนีพลาสติก การวิเคราะห์จะใช้คลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้ที่สถานีตรวจวัดแม่สายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวทาร์เลย์ในปี พ.ศ.2554 ส่งผ่านมาถึงชั้นดินกรุงเทพด้วยแบบจำลองการลดทอนพลังงานคลื่นรุ่นใหม่ ในการวิเคราะห์หาผลตอบสนองต่อแผ่นดินไหวด้วยวิธีหนึ่งมิติแบบไม่เชิงเส้นด้วยโปรแกรม DEEPSOIL และแสดงผลตอบสนองต่อแผ่นดินไหวของชั้นดินกรุงเทพในรูปของ ความเร่งงผิวดินสูงสุด ความเร่งเชิงสเปคตรัม และแฟกเตอร์กำลังขยายของชั้นดิน อีกทั้งยังหาความสัมพันธ์ของค่าเฉลี่ยความเร็วคลื่นเฉือน 30 เมตรแรก (VS30) และความหนาของชั้นดินอ่อน ที่มีต่อแฟกเตอร์กำลังขยายของชั้นดิน นอกจากนี้ยังสามารถนำผลตอบสนองเชิงสเปคตรัมจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวทาร์เลย์มาเปรียบเทียบกับกฎหมายการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว ซึ่งงานวิจัยนี้สามารถแสดงผลตอบสนองต่อแผ่นดินไหวได้คลอบคลุมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และแสดงให้เห็นว่าชั้นดินอ่อนสามารถขยายกำลังของคลื่นสั่นไหวได้อย่างชัดเจน อีกทั้งเสนอผลทางสถิติของการวิเคราะห์ผลตอบสนองต่อแผ่นดินไหวเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการออกแบบอาคารรับแรงแผ่นดินไหวในอนาคตได้อย่างเหมาะสม


Seismic Effects Of Cornice Projection In Masonry-Infill Reinforced Concrete Buildings In Bhutan, Tek Nath Kararia Jan 2017

Seismic Effects Of Cornice Projection In Masonry-Infill Reinforced Concrete Buildings In Bhutan, Tek Nath Kararia

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bhutan is located in utmost active seismic zone in the belt of the Himalayan region. However, there is a prevailing architectural requirement of cornice projections away from the perimeter columns at each floor proportional to the floor level to increase floor area and retain Bhutanese architectural style. This irregular projection with thick solid brick walls resting at the edge of cantilever projection affects the structural response during a strong earthquake. To date, there is not adequate investigation on the effects of such cornice projection on seismic performance of buildings. In this study, Nonlinear Response History Analysis (NLRHA) using vertical ground …


การแกซิฟิเคชันของขี้เลื่อยจากอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ในเตาปฏิกรณ์แบบไซโคลน, อดิศา วงศ์วานรุ่งเรือง Jan 2017

การแกซิฟิเคชันของขี้เลื่อยจากอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ในเตาปฏิกรณ์แบบไซโคลน, อดิศา วงศ์วานรุ่งเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงของการแกซิฟิเคชันขี้เลื่อยจากอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ในเตาปฏิกรณ์ไซโคลนซึ่งช่วยให้อนุภาคขนาดเล็กได้รับความร้อนโดยตรงจากผนังของไซโคลนเข้าสู่อนุภาคทำให้เกิดปฏิกิริยา และคัดแยกผลิตภัณฑ์ของแข็งที่เกิดขึ้นออกจากแก๊สผลิตภัณฑ์ได้ในขณะเดียวกัน ขี้เลื่อยที่ใช้เป็นขี้เลื่อยผสมระหว่างไม้ยางและไม้เบญจพรรณ มีขนาดอนุภาค 150-250 ไมโครเมตร สภาวะการทำงาน คือ อุณหภูมิ 700 800 และ 900 องศาเซลเซียส ที่อัตราส่วนสมมูล 0.15 0.30 0.45 และ 0.60 อัตราการไหลของแก๊สเข้าระบบ 0.36 0.78 และ 1.56 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส อัตราส่วนสมมูล 0.30 โดยวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ดังนี้ องค์ประกอบของแก๊สเชื้อเพลิง (CO, CO2, CH4, H2 และ CnHm) ค่าการแปรสภาพของคาร์บอน และไฮโดรเจนของวัตถุดิบ ค่าความร้อนของแก๊สเชื้อเพลิง และค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนของระบบผลิตแก๊สเชื้อเพลิง จากการทดลองพบว่าอุณหภูมิมีผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิง โดยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าการแปรสภาพของคาร์บอน และไฮโดรเจน ค่าความร้อนของแก๊สผลิตภัณฑ์ และค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนของระบบผลิตแก๊สเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันอัตราส่วนสมมูลก็ส่งผลเช่นเดียวกันกับอุณหภูมิ โดยประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนสมมูลจนถึงค่าสูดที่สุด จากนั้นประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงของระบบจะลดต่ำลงเมื่ออัตราส่วนสมมูลเพิ่มขึ้น โดยอุณหภูมิ และอัตราส่วนสมมูลที่ให้ประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงสูงที่สุดคือ 900 องศาเซลเซียส ที่อัตราส่วนสมมูล 0.45 สำหรับอัตราการไหลของแก๊สเข้าระบบที่ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงสูงที่สุด คือ 0.78 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง


พฤติกรรมการรับแรงเฉือนของรอยต่อแบบแห้งคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปที่เสริมด้วยแผ่นยางอีลาสโตเมอริค, วริศร์ ศิริโสม Jan 2017

พฤติกรรมการรับแรงเฉือนของรอยต่อแบบแห้งคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปที่เสริมด้วยแผ่นยางอีลาสโตเมอริค, วริศร์ ศิริโสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประยุกต์ใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปในงานก่อสร้างประเภทช่วงยาวให้ผลที่ดีมาก ทั้งในด้านความประหยัด คุณภาพงานที่สูง การก่อสร้างที่รวดเร็วและผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงน้อย ในอดีตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปแต่ละชิ้นจะเชื่อมต่อกันโดยอาศัยอีพ็อกซีเป็นตัวเชื่อมประสาน แต่การใช้อีพ็อกซีจะทำให้การก่อสร้างเสียเวลามาก ต่อมาจึงได้มีการใช้งานรอยต่อแบบแห้งขึ้น ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม รอยต่อแบบแห้งก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้งาน นั่นคือผิวสัมผัสระหว่างชิ้นส่วนแต่ละชิ้นหรือบริเวณสลักรับแรงเฉือนไม่สามารถต่อเข้ากันได้อย่างแนบสนิทพอดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรอยต่อประเภทหลายสลัก ส่งผลให้รอยต่อไม่สามารถรับแรงเฉือนได้อย่างเต็มที่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกำลังรับแรงเฉือนของรอยต่อแบบแห้ง โดยอาศัยแผ่นยางอีลาสโตเมอริค และได้ทำการทดสอบชิ้นส่วนตัวอย่าง เปรียบเทียบกับรอยต่อแบบแห้ง ผลการทดสอบเปรียบเทียบกำลังรับแรงเฉือนและพฤติกรรมขณะรับแรงของรอยต่อ การใช้ยางอีลาสโตเมอริคช่วยลดความเข้มข้นของความเค้นและช่วยกระจายแรงได้ดีขึ้นจากพฤติกรรมการวิบัติของสลักรับแรงเฉือนแต่มีกำลังรับแรงเฉือนน้อยกว่ารอยต่อแบบแห้งประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ผลการปรับเปลี่ยนใช้ยางอีลาสโตเมอริค 60IRHD และ 70IRHD รอยต่อมีพฤติกรรมรับแรงคล้ายกัน และตำแหน่งการใส่ยางกับสลักรับแรงเฉือน ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมขณะรับแรงของรอยต่อ


การกำจัดสารพีวีเอในน้ำเสียจากกระบวนการลอกแป้งด้วยกระบวนการร่วมโคแอกกูเลชั่น-อัลตราฟิลเตรชัน, ชาญชนะ จิตตะโสภี Jan 2017

การกำจัดสารพีวีเอในน้ำเสียจากกระบวนการลอกแป้งด้วยกระบวนการร่วมโคแอกกูเลชั่น-อัลตราฟิลเตรชัน, ชาญชนะ จิตตะโสภี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาการกำจัดสารพีวีเอในน้ำเสียพีวีเอสังเคราะห์และน้ำเสียกระบวนการลอกแป้งด้วยกระบวนการโคแอกกูเลชันและกระบวนการอัลตราฟิลเตรชัน จากการศึกษากระบวนการโคแอกกูเลชันพบว่าสารสร้างตะกอน MgCl2 500 mg/L ที่ความเข้มข้นสารโพลิเมอร์ชนิดไม่มีประจุ (Poly ethylene oxide) 0.1 mg/L ที่ค่าพีเอช 8 มีประสิทธิภาพในการกำจัดสารพีวีเอมากที่สุด เท่ากับ 21.90% และมีประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่น และค่าซีโอดี เท่ากับ 12.5% และ 36.59% ตามลำดับ สำหรับน้ำเสียพีวีเอสังเคราะห์ 10.5 g/L และเมื่อศึกษาน้ำเสียกระบวนการลอกแป้งพบว่าปริมาณสารสร้างตะกอน MgCl2 ที่เหมาะสมเท่ากับ 1,000 mg/L มีประสิทธิภาพในการกำจัดสารพีวีเอเท่ากับ 14.83% และมีประสิทธิภาพในการกำจัดความขุ่น และค่าซีโอดีเท่ากับ 86.60% และ 8.99% ตามลำดับ
กระบวนการโคแอกกูเลชันจึงเป็นเพียงการบำบัดขั้นต้นเพื่อลดความขุ่นก่อนเข้าสู่ระบบอัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนเพื่อลดการอุดตันที่ผิวเมมเบรน การศึกษาระบบอัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนเพื่อกำจัดสารพีวีเอในน้ำเสียพีวีเอสังเคราะห์โดยไม่ผ่านกระบวนการโคแอกกูเลชัน พบว่าที่ความดันทรานส์เมมเบรนเท่ากับ 2 bar และที่ขนาดรูพรุน 150 kDa มีประสิทธิภาพในการกำจัดสาร พีวีเอมากที่สุดเท่ากับ 90.25% และมีประสิทธิภาพในการกำจัดความขุ่น ค่าซีโอดี เท่ากับ 70.59% และ 83.44% ตามลำดับ ที่ความเข้มข้นน้ำเสียพีวีเอสังเคราะห์ 400 mg/L เมื่อศึกษากระบวนการร่วมโคแอกกูเลชัน-อัลตราฟิลเตรชันในน้ำเสียกระบวนการลอกแป้ง โดยใช้ MgCl2 เป็นสารสร้างตะกอน จากการทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการกำจัดสารพีวีเอมากที่สุด คือที่ขนาดรูพรุน 150 kDa


การพัฒนากระบวนการร่วมทางกายภาพ-เคมีเพื่อผลิตน้ำหล่อเย็นและน้ำในหม้อไอน้ำจากน้ำใต้ดิน, สุพัตรา ศรีสันต์ Jan 2017

การพัฒนากระบวนการร่วมทางกายภาพ-เคมีเพื่อผลิตน้ำหล่อเย็นและน้ำในหม้อไอน้ำจากน้ำใต้ดิน, สุพัตรา ศรีสันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาหนึ่งที่มักพบในการนำน้ำบาดาลมาใช้เป็นน้ำทดแทน (Makeup Water) ในระบบหล่อเย็นและหม้อไอน้ำ คือ ความกระด้างของน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดตะกรันในระบบ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดความกระด้างและซิลิกาในน้ำบาดาลด้วยกระบวนการผสมผสานระหว่างกระบวนการทางเคมีและนาโนฟิลเตรชัน โดยทำการทดลองกับน้ำบาดาลสังเคราะห์ที่มีคุณภาพคล้ายกับน้ำบาดาลตัวอย่าง สารเคมีที่ใช้ในการทดลองกระบวนการทางเคมี ได้แก่ 1) ปูนขาว 2) สารส้ม 3) PACl 4) ปูนขาวร่วมกับสารส้ม และ 5) ปูนขาวร่วมกับ PACl โดยตัวแปรที่พิจารณาในการศึกษานี้ ได้แก่ คุณภาพน้ำหลังผ่านกระบวนการทางเคมี-นาโนฟิลเตรชัน และการอุดตันของนาโนฟิลเตรชันเมมเบรน โดยพิจารณาจากพารามิเตอร์ ดังต่อไปนี้ 1) ค่าฟลักซ์ของน้ำสะอาดที่ถูกเทียบค่าด้วยน้ำ DI (Normality Flux, J/J0) 2) อัตราการไหลของน้ำสะอาดที่ถูกเทียบค่า (Normalized Permeate Flow, NPF) และ 3) การวิเคราะห์พื้นผิวเมมเบรนด้วย SEM-EDX ผลการศึกษาพบว่า ในกระบวนการทางเคมี ที่ปริมาณปูนขาว 360 มก./ล. (mg/l) และ PACl 1.2x10-4 โมลอลูมินัม/ล. (mol Al/l) มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการกำจัดความกระด้างทั้งหมดและซิลิกา ทั้งนี้กระบวนการผสมผสานระหว่างกระบวนการทางเคมีและนาโนฟิลเตรชันสามารถกำจัดความกระด้างทั้งหมดและซิลิการวมได้มากกว่า 96.3±0.0 และ 70.8±0.1 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยน้ำหลังผ่านการบำบัดมีความกระด้างและปริมาณซิลิกาผ่านมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับระบบหล่อเย็นของ Japan Refrigeration and Air Conditioning Industry Association (JRA) นอกจากนี้กระบวนการทางเคมีโดยการเติมปูนขาวร่วมกับ PACl ยังช่วยลดการเกิดการอุดตันของนาโนฟิลเตรชันเมมเบรน ส่งผลให้นาโนฟิลเตรชันเมมเบรนมีอัตราการนำน้ำกลับสูงที่สุด ที่มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และที่อัตราการน้ำกลับดังกล่าว %J/J0 และ %NPF ลดลง 6.0 และ 0.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งผลการทดลองสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์พื้นผิวของเมมเบรนด้วย SEM-EDX พบว่าฟาวแลนท์ที่ผิวเมมเบรนมีลักษณะเป็นคราบ ไม่เห็นเป็นผลึกที่ชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากกรณีน้ำที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี ซึ่งจะเห็นผลึกได้ชัดและรวมตัวเป็นชั้นหนา


การย่อยสลายของวัสดุภาชนะบรรจุอาหารแบบใช้แล้วทิ้งในหลุมฝังกลบที่รับขยะเศษอาหาร, ปาณิศา ศิริบุรมย์ Jan 2017

การย่อยสลายของวัสดุภาชนะบรรจุอาหารแบบใช้แล้วทิ้งในหลุมฝังกลบที่รับขยะเศษอาหาร, ปาณิศา ศิริบุรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาการย่อยสลายของวัสดุที่ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารแบบใช้แล้วทิ้งในสภาวะมีและไร้ออกซิเจนในช่วงเวลา 90 วัน รวมถึงผลการสลายตัวของวัสดุดังกล่าวต่อกระบวนการภายในถังปฏิกรณ์หลุมฝังกลบ ในช่วงเวลา 120 วัน แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ชุด ได้แก่ ชุดควบคุม ชุดวัสดุกระดาษ ชุดวัสดุพอลิสไตรีนโฟม และชุดวัสดุพลาสติกชีวภาพชนิดพีแอลเอ โดยทำการหมักร่วมกับขยะเศษอาหาร ผลการศึกษาพบว่าการสูญเสียน้ำหนักเป็นตัวชี้วัดที่สามารถใช้เปรียบเทียบการย่อยสลายในสภาวะมีและไร้ออกซิเจนของวัสดุกระดาษและวัสดุพลาสติกชีวภาพพีแอลเอได้ โดยกระดาษมีการสูญเสียน้ำหนักใกล้เคียงกันในทั้งสองสภาวะ ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยสลายของกระดาษ (K) เท่ากับ 0.005 และ 0.003 ต่อสัปดาห์ ในสภาวะมีออกซิเจนและไร้ออกซิเจนตามลำดับ ส่วนพีแอลเอเกิดการสูญเสียน้ำหนักในปริมาณและความเร็วที่ใกล้เคียงกันในทั้งสองสภาวะโดยสัมประสิทธิ์การย่อยสลาย (K) ของสภาวะมีและไร้ออกซิเจนเท่ากับ 0.0006 และ 0.0007 ต่อสัปดาห์ตามลำดับ ส่วนโฟมไม่สามารถหาค่าสัมประสิทธิ์การย่อยสลายของวัสดุพอลิสไตรีนโฟม (K) ได้ เนื่องจากข้อมูลมีความแปรปรวนสูง จากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ สำหรับลักษณะทางกายภาพพบว่าการเสียหายของวัสดุโฟมในสภาวะมีออกซิเจนมากจากความเข้มข้นของกรดอินทรีย์ที่สูงกว่าสภาวะไร้ออกซิเจนถึง 4 เท่า โดยกรดอินทรีย์มีผลต่อความคงทนของพอลิสไตรีน สำหรับผลการศึกษาของวัสดุต่างๆต่อกระบวนการภายในถังปฏิกรณ์หลุมฝังกลบพบว่าประเภทวัสดุส่งผลต่อการยุบตัวของขยะ สมบัติน้ำชะ และการเกิดแก๊สชีวภาพ โดยถังชุดควบคุมเกิดการยุบตัวมากที่สุดตามด้วยถังชุดวัสดุกระดาษ ถังชุดวัสดุพอลิสไตรีนโฟม และถังชุดพลาสติกชีวภาพพีแอลเอที่ร้อยละ 43.42 40.79 34.29 และ 26.07 ตามลำดับ สอดคล้องกับปริมาณน้ำที่คงค้างในถังโดยในชุดควบคุมน้อยที่สุด ทั้งนี้พบว่าการกระจายน้ำส่งผลต่อการย่อยสลายในหลุมฝังกลบโดยถังที่มีวัสดุบรรจุอยู่เกิดการย่อยสลายได้ช้ากว่าและมีปริมาณน้ำคงค้างสูงกว่า ส่วนผลการย่อยสลายต่อชี้วัดของน้ำชะขยะและแก๊สชีวภาพพบว่าวัสดุมีผลโดยอ้อมกล่าวคือวัสดุสามารถขัดขวางการไหลของน้ำทำให้การกระจายน้ำต่ำ และปฏิกิริยาการย่อยเกิดได้ไม่เป็นไปตามทฤษฎี


Optimum Patch Design For Repairing Cracked Steel Plates Using Genetic Algorithm, Bach Kim Do Jan 2017

Optimum Patch Design For Repairing Cracked Steel Plates Using Genetic Algorithm, Bach Kim Do

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research presents a design optimization process that combines the finite element (FE) method, genetic programming (GP), and optimization solvers, i.e., genetic algorithm (GA) and nonlinear programming, for double-sided fiber-reinforced polymer (FRP) patches used to repair center-cracked steel plates under tension fatigue. An optimization statement is to minimize the patch volume and reduce the stress intensity factor (SIF) range at crack tips below the fatigue threshold range. A detailed three-dimensional (3D) FE model of patch-repaired cracked plates is developed to compute SIF. A total of 864 FE models of patch-repaired cracked plates with different combinations of design parameters are then …


Factors Affecting Building Damage And People's Preparedness For Earthquake In Chiang Rai, Narongdej Intaratchaiyakit Jan 2017

Factors Affecting Building Damage And People's Preparedness For Earthquake In Chiang Rai, Narongdej Intaratchaiyakit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

On May 5, 2014, an earthquake with a magnitude of 6.3 on the Richter scale occurred in Chiang Rai, Thailand. This earthquake was the strongest earthquake in Thailand at the Mae Lao District region. It also caused building damage and casualties. In this research, 277 participants living in village no.2 and village no.7 of Dong Mada, a sub-district at Mae Lao district in Chiang Rai, were selected. A questionnaire was used to interview these participants, and the data were analyzed by Chi-square, Fisher's exact test, a Mann-Whitney U test, and a Kruskal-Wallis test. The objective of this study was to …


Prototype Development Of Small Scale Transportable Fuel Production System For Agricultural Byproducts, Jurarat Nisamaneenate Jan 2017

Prototype Development Of Small Scale Transportable Fuel Production System For Agricultural Byproducts, Jurarat Nisamaneenate

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective is to study the potential of peanut shell waste and cassava rhizome conversion using a modular fixed bed gasifier coupled with thermal integration unit. The thermal integration unit improved gasification reaction in which lower tar content and high gas production efficiency can be achieved. The air flow rate had integrated effects on product yield and composition; higher air flow rate resulted in higher gas yield with less tar and char. The result from peanut shell gasification indicated the optimal conditions without catalyst addition at air flow rate of 3.06 m3/hr where carbon and hydrogen conversions were 87.10% and …


Performance And Internal Environment Of Partial Nitrification-Entrapped Cells Under Changes In Cell-To-Matrix Ratio And Substrate Concentrations, Pattaraporn Kunapongkiti Jan 2017

Performance And Internal Environment Of Partial Nitrification-Entrapped Cells Under Changes In Cell-To-Matrix Ratio And Substrate Concentrations, Pattaraporn Kunapongkiti

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, partial nitrification performance was investigated in entrapped cell-based reactors prepared using phosphorylated polyvinyl alcohol gel (PPVA) and operated using oxygen limiting strategy. The study was divided into three main parts: 1) to investigate the community of nitrite-oxidizing bacteria (NOB) in the reactors operated at different bulk dissolved oxygen (DO) concentrations, 2) to investigate the effect of cell-to-matrix ratio (1% and 4%) on partial nitrification performance of the entrapped-cell-based reactors and to observe internal environment, microbial community, and microbial localization within the gel matrix during long-term operation of the reactors, and 3) to study effect of ammonia and …


Roles Of Dissimilatory Nitrate Reduction To Ammonium In Biological Nitrogen Removal System, Pokchat Chutivisut Jan 2017

Roles Of Dissimilatory Nitrate Reduction To Ammonium In Biological Nitrogen Removal System, Pokchat Chutivisut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Biological nitrogen removal system is a wastewater treatment process that normally utilizes nitrification-denitrification to convert nitrogen wastes to unharmful gaseous products. However, apart from these two pathways, dissimilatory nitrate reduction to ammonium (DNRA) can also compete with denitrification for nitrate and yield ammonium waste as the end product. The aim of this research is to extend knowledge on the DNRA pathway, including the study on its occurrence and microorganisms responsible for the process. To observe the presence of DNRA, microbial sludge from aquacultures which utilized biological nitrogen removal processes was applied to examine the pathway of DNRA in these systems. …


Study Of Gas-Liquid Absorption In Terms Of Bubble-Fluid Hydrodynamic And Mass Transfer Parameter: Liquid Phase And Gas Phase, Prajak Sastaravet Jan 2017

Study Of Gas-Liquid Absorption In Terms Of Bubble-Fluid Hydrodynamic And Mass Transfer Parameter: Liquid Phase And Gas Phase, Prajak Sastaravet

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research focus on study the effect of continuous system on the bubble hydrodynamic and mass transfer parameters (Qg, QL, DBd, UBd a, kL and kLa). The experiment were set up in a cylindrical acrylic column with 0.15 m inside diameter and 1 m in height. ILALR was setup an acrylic plate for liquid recirculation. Moreover, mass transfer determination, liquid phase was removed dissolved oxygen by using sodium sulphite (Na2SO3). The bubble hydrodynamic mechanisms are investigated by the high speed camera (100 images/sec) and image analysis program is used to determine the bubble hydrodynamic parameters. The bubbles are generated by …


Development Of Novel Electrocoagulation Reactor (Ecr) For Turbidity Removal And Decolorization From Textile Industry Wastewater, Penghour Hong Jan 2017

Development Of Novel Electrocoagulation Reactor (Ecr) For Turbidity Removal And Decolorization From Textile Industry Wastewater, Penghour Hong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

High concentration of dyes together with turbidity were frequently found in the effluents of textile industry wastewater, which are the toxic substances. To remove these contaminants, the combination between electrocoagulation process (EC) and separation has been proposed in this study. The objective of this present work is to design and evaluate the new electrocoagulation reactor (ECR) for treating dye and turbidity from synthetic textile wastewater. The optimization of electrode configuration and design parameter were examined with the batch column reactor for containing 4 liters of wastewater. The result showed that monopolar arrangement within the inner gap 1.5 cm and current …


Effect Of Operating Conditions And Ion Contaminations On Electro Coagulation And Oxidation Processes For Water Quality Improvement, Vouchlay Theng Jan 2017

Effect Of Operating Conditions And Ion Contaminations On Electro Coagulation And Oxidation Processes For Water Quality Improvement, Vouchlay Theng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study is to investigate the effect of ion contaminations and operating conditions on Electro Coagulation (EC) and Oxidation (EO) in turbidity and natural organic matter (NOM) removal. The experiments were conducted in 4 liters column. Ferrous and calcium were chosen as contaminated ions. The operating condition was varied in terms of initial pH and current density. 100 NTU turbidity and 70 mg/L NOM were synthesized from bentonite and humic acid (HA), respectively. The results showed that bipolar arrangement of electrodes with 2 cm gap was the optimal condition in terms of gas flow rate and electrode …


การประเมินประสิทธิภาพของการซ่อมแซมรอยร้าวคอนกรีตโดยวิธีการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์, กานต์ จันทร์ประสิทธิ์ Jan 2017

การประเมินประสิทธิภาพของการซ่อมแซมรอยร้าวคอนกรีตโดยวิธีการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์, กานต์ จันทร์ประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการประเมินคุณสมบัติของการซ่อมแซมรอยร้าวด้วยวิธีการชักนำให้เกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์ หรือวิธีเอ็มไอซีพี (Microbially induced calcium carbonate precipitation; MICP) โดยใช้แบคทีเรียชนิดบาซิลลัส สฟีรีคัส สายพันธุ์ ATCC22257 ซึ่งเป็นแบคทีเรียในกลุ่มที่สามารถตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตได้ การเตรียมสารเคมีทำโดยการแยกสารละลายออกเป็น 2 ส่วน ประกอบไปด้วย ยูเรีย และสารละลายซึ่งมีส่วนผสมของเชื้อจุลินทรีย์ แคลเซียมคลอไรด์ และสารอาหารสำหรับเชื้อแบคทีเรีย ในการซ่อมแซมคอนกรีตนั้นจะใช้การหยอดสารเคมีทุก 24 ชม. เป็นเวลา 20 วัน ในการศึกษานี้จะเตรียมตัวอย่างมอร์ตาร์ขนาด 15 ลบ.ซม. โดยตัวอย่างที่มีรอยร้าวจะเตรียมโดยใช้แผ่นทองแดงความหนา 0.4 มม. ใส่ไว้ที่ความลึก 2 ซม. ระหว่างการหล่อก้อนตัวอย่าง ทำการประเมินประสิทธิภาพของการซ่อมแซมด้วย 1) การวัดขนาดของรอยร้าวโดยใช้เลนส์ขยายขนาด 40 เท่าด้วยกล้องถ่ายรูปโทรศัพท์มือถือ 2) การทดสอบค่ากำลังรับแรงอัด 3) การทดสอบความสามารถในการซึมผ่านของน้ำ และ 4) การวัดคลื่นความถี่อัลตร้าโซนิค โดยเปรียบเทียบผลการประเมินระหว่างตัวอย่างควบคุม ตัวอย่างที่มีรอยร้าว และตัวอย่างที่ซ่อมแซม ผลการทดลองพบว่าขนาดของรอยร้าวลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากทำการซ่อมแซมไปทั้งสิ้น 6 วัน และการเปลี่ยนแปลงขนาดรอยร้าวเริ่มคงที่เมื่อผ่านไป 12 วัน โดยหลังทำการซ่อมแซมทั้งสิ้น 20 วัน พบว่าสามารถลดขนาดรอยร้าวได้ถึงร้อยละ 84.87 ซึ่งสอดคล้องกับการวัดค่าความเร็วคลื่นความถี่อัลตร้าโซนิคที่ส่งผ่านตัวอย่าง โดยความเร็วคลื่นความถี่หลังผ่านการซ่อมแซมมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.06 อีกทั้งหลังการซ่อมแซมพบว่าค่ากำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้นกว่าตัวอย่างแบบมีรอยร้าวร้อยละ 27 และคิดเป็นร้อยละ 89.4 จากตัวอย่างแบบไม่มีรอยร้าว นอกจากนั้นหลังการซ่อมแซมยังพบว่าระยะการซึมของน้ำลดลงจากตัวอย่างที่มีรอยร้าวร้อยละ 27.21 และมากกว่าตัวอย่างแบบไม่มีรอยร้าวร้อยละ 108.86 จึงสรุปได้ว่าการซ่อมแซมโดยวิธีวิธีการชักนำให้เกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์นั้นสามารถใช้เป็นทางเลือกสำหรับการซ่อมแซมรอยร้าวได้


แบบจำลองเพื่อประเมินสมรรถนะสำหรับองค์กรซึ่งใช้การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร, ธนิต อภิวรกุลพัฒน์ Jan 2017

แบบจำลองเพื่อประเมินสมรรถนะสำหรับองค์กรซึ่งใช้การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร, ธนิต อภิวรกุลพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) เข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจาก BIM เป็นเทคโนโลยีที่สามารถบริหารจัดการงานก่อสร้างโดยสร้างแบบจำลองดิจิตอลอาคารก่อนการสร้างจริงซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบ วิศวกรรม และการก่อสร้าง (Architecture Engineering and Construction, AEC) ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ BIM สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทได้แก่ ประโยชน์ที่สามารถวัดค่าได้ และ ประโยชน์ที่ไม่สามารถวัดค่าได้ การประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ BIM ในองค์กรมักจะยุ่งยากและซับซ้อน อย่างไรก็ตามกระบวนการดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กร AEC อีกทั้งในปัจจุบันยังไม่มีกรอบการประเมินประสิทธิภาพจากการนำ BIM มาใช้ที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐาน งานวิจัยนี้ได้พัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ประเมินสมรรถนะการใช้ BIM สำหรับองค์กร โดยอาศัยตัวชี้วัดที่สำคัญในการดำเนินงาน (Critical Performance Indicator, CPI) ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์องค์กร AEC นอกจากนั้นยังได้นำแนวคิดการประเมินองค์กรแบบสมดุล (Balanced Scorecard, BSC) มาเป็นพื้นฐานในการสร้างแบบจำลองการประเมินนี้ ในแบบจำลองที่เสนอ CPI ประกอบด้วย 4 มุมมอง ได้แก่ มุมมองด้านการเงิน มุมมองด้านลูกค้า มุมมองด้านกระบวนการภายใน และมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต ผลลัพธ์เบื้องต้นได้จากการตอบแบบสอบถามเชิงลึกของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ ตัวชี้วัดในการดำเนินงาน (Key Performance Indicator, KPI) ที่ใช้สำหรับในการประเมินสมรรถนะการใช้ BIM ในองค์กร AEC จำนวน 30 ตัว ตัวชี้วัดเหล่านี้ได้ถูกนำไประยุกต์ใช้จริงกับองค์กรกรณีศึกษาเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแบบการประเมิน ผลลัพธ์ที่ได้ในขั้นตอนนี้ คือ CPIs ที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะการใช้ BIM สำหรับองค์กรจำนวน 25 CPIs เช่น การเปลี่ยนแปลงของแบบก่อสร้าง ความพึงพอใจและการรักษาลูกค้า ความสามารถในการเตือนและการเฝ้าระวังปัญหาที่เกิดจากสิ่งก่อสร้าง และความสามารถต่อการใช้เครื่องมือ BIM ช่วยในการนำเสนอลูกค้า/ผู้ว่าจ้าง เป็นต้น นอกจากนั้นงานวิจัยยังได้เสนอคำแนะนำสำหรับการสร้างรูปแบบการประเมินสมรรถนะการใช้ BIM สำหรับองค์กร เพื่อให้องค์กรที่สนใจสามารถสร้างแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการประเมินของตนเองได้อย่างเหมาะสม


การวิเคราะห์คานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, ธีร์ธวัช โกยแก้วพริ้ง Jan 2017

การวิเคราะห์คานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, ธีร์ธวัช โกยแก้วพริ้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำลังรับแรงของคานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กโดยการวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยทำการสร้างแบบจำลองคานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนโดยใช้อิพอกซีและสลักเกลียวเพื่อยึดแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กด้านข้างคานทั้งสองด้าน จากนั้นวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ และเปรียบเทียบการวิเคราะห์กับผลการทดลองจากงานวิจัยในอดีต จากผลการวิเคราะห์พบว่าแบบจำลองสามารถให้ค่ากำลังรับแรงเฉือนของคานได้ใกล้เคียงกับผลการทดลอง โดยมีความคลาดเคลื่อนมากที่สุด 6% เมื่อเปรียบเทียบผลการทดลองแล้วจึงทำการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อกำลังรับแรงเฉือนของคานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก ได้แก่ ความหนาของแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก กำลังรับแรงอัดของแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก ค่าพลังงานการแตกหัก (Gf) ของแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก จำนวนสลักเกลียว และการจัดเรียงตัวของสลักเกลียว แล้วเปรียบเทียบผลกับคานคอนกรีตที่ไม่ได้เสริมกำลัง จากการวิเคราะห์พบว่าการเสริมกำลังด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่มีความหนา 10 15 และ 20 มิลลิเมตร ทำให้คานสามารถรับแรงเฉือนเพิ่มขึ้น 101% 106% และ 110% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก พบว่ากำลังรับแรงเฉือนมีค่าเพิ่มขึ้น 87% 101% และ 104% เมื่อกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตมีค่าเท่ากับ 50 70 และ 90 MPa ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่าเมื่อแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยมีค่า Gf เท่ากับ 4.04 8.82 และ 9.66 N/mm สามารถเพิ่มกำลังรับแรงเฉือน 100% 101% และ 106% เมื่อเทียบกับคานคอนกรีตที่ไม่ได้เสริมกำลัง ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนสลักเกลียว พบว่าการใช้สลักเกลียวจำนวน 4 6 8 และ 10 สลักเกลียว ทำให้กำลังรับแรงเฉือนมีค่าสูงขึ้น 71% 88% 101% และ 92% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการจัดเรียงตัวของสลักเกลียว พบว่าการจัดเรียงตัวสลักเกลียวแบบสมมาตรทำให้คานรับแรงเฉือนได้น้อยกว่าการจัดเรียงตัวของสลักเกลียวแบบทแยง


อัตราส่วนการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยเถ้าถ่านหินบิทูมินัสคัดขนาด, นารีมาลย์ สกุลดีเย๊าะ Jan 2017

อัตราส่วนการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยเถ้าถ่านหินบิทูมินัสคัดขนาด, นารีมาลย์ สกุลดีเย๊าะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาการพัฒนากำลังของมอร์ตาร์โดยการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยวัสดุปอซโซลาน ได้แก่ เถ้าถ่านหินบิทูมินัสคัดขนาด เถ้าถ่านหินลิกไนต์จากแม่เมาะ ในอัตราร้อยละ 20,40,60,80 โดยน้ำหนัก และซิลิกาฟูมในอัตราร้อยละ 5,7,9,11 โดยน้ำหนัก โดยเปรียบเทียบกับมอร์ตาร์ธรรมดา ศึกษาถึงคุณสมบัติทางกายภาพและส่วนประกอบทางเคมี รวมทั้งทำการทดสอบสมบัติของปูนซีเมนต์ผสมวัสดุปอซโซลานแต่ละชนิด เช่น ระยะเวลาก่อตัว การพัฒนากำลังรับแรงอัด การใช้หลักการเลี้ยวเบนโดยรังสีเอ็กซ์ (X-Ray Diffraction) เพื่อวิเคราะห์ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในซีเมนต์เพสต์ที่ผสมวัสดุปอซโซลาน รวมทั้งศึกษาการเปลี่ยนแปลงความร้อนด้วยวิธีไอโซเทอร์มอลคอนดักชันแคลอรีมิเตอร์ ผลการทดสอบสรุปได้ว่า เถ้าถ่านหินบิทูมินัสคัดขนาด สามารถจัดเป็นวัสดุปอซโซลานตามข้อกำหนดใน ASTM C618 เป็น Class F มีลักษณะรูปร่างกลม มีผลึกเป็นแบบอสัณฐาน และเมื่อนำมาใช้แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ พบว่า กำลังรับแรงอัดของมอร์ตาร์ลดลงในช่วงอายุต้นและมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อระยะเวลาเพิ่มขึ้น สามารถใช้แทนที่ได้ถึงร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก โดยใช้สัดส่วนระหว่างวัสดุประสานต่อทรายเท่ากับ 1 ต่อ 2.75 และปริมาณน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.485 และปริมาณแคลเซียมไฮดรอกไซด์ลดลง เนื่องจากถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาปอซโซลาน ซึ่งเมื่อพิจารณาจากผล Reitveld Refinement สนับสนุนว่าเกิดสารประกอบแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตอยู่ในรูปอสัณฐานที่ส่งผลต่อความแข็งแรงและกำลังอัดที่มากกว่าซีเมนต์เพสต์ธรรมดา อีกทั้งการใช้เถ้าถ่านหินบิทูมิมัสคัดขนาดสามารถลดความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาไฮเดรชันได้ ช่วยเพิ่มระยะเวลาก่อตัวให้นานขึ้น เหมาะกับการงานโครงสร้างคอนกรีตหลา ที่ต้องการลดความร้อนเพื่อป้องกันการแตกร้าวของโครงสร้าง