Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 329

Full-Text Articles in Engineering

การกำหนดแนวทางของไทยเพื่อพิจารณาประเมินโครงการความช่วยเหลือด้านการคมนาคมขนส่งในประเทศเพื่อนบ้าน, ฐิฏิพัศถ์ ทรัพย์สอาด Jan 2017

การกำหนดแนวทางของไทยเพื่อพิจารณาประเมินโครงการความช่วยเหลือด้านการคมนาคมขนส่งในประเทศเพื่อนบ้าน, ฐิฏิพัศถ์ ทรัพย์สอาด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการทบทวนและวิเคราะห์แนวทางการให้ความช่วยเหลือโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในประเทศพม่า, สปป.ลาวและกัมพูชาที่รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุน โดยได้ศึกษาข้อมูลหลักเกณฑ์ของโครงการที่ให้ความช่วยเหลือ, ข้อมูลการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ รวมถึงการพิจารณาการประเมินความช่วยเหลือ จากรายงานต่างๆและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือจากทั้งหน่วยงานในไทยและต่างประเทศ หลังจากนั้นจึงสรุปภาพรวมโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่ทำการคัดเลือก และการสัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์เชิงลึกโครงการตัวอย่างทั้ง 7 โครงการ พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นหลัก ได้แก่ การพิจารณาเป็นรายโครงการโดยไม่ได้มองภาพรวมของอนุภูมิภาค การเน้นก่อสร้างโครงการใหม่มากกว่าบำรุงเส้นทางเดิม การขาดความร่วมมือแบบพหุภาคีกับประเทศผู้ให้ทุนอื่นๆ รวมถึงความช่วยเหลือที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากกว่าประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ อีกทั้งยังขาดการใช้มาตรฐานในระดับสากลโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม และขาดการวางแผนการบำรุงรักษาโครงการเมื่อสร้างแล้วเสร็จ จากปัญหาข้างต้น งานวิจัยนี้ได้เสนอให้ไทยต้องกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อส่งผลประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทยและอนุภูมิภาค โดยเสนอให้มีการประยุกต์มาตรฐาน OECD/DAC เพื่อตรวจสอบโดยมีการประเมินหลักเกณฑ์แบ่งเป็น 5 ด้านคือ 1) ความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 2) ด้านประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการและงบประมาณ 3) ด้านประสิทธิผลโดยดูผลประโยชน์ของการลงทุนต่อเงินทุน 4) ด้านสิ่งแวดล้อม เสนอให้ใช้มาตรฐานสากลเพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว และ 5) ด้านความยั่งยืน เสนอให้มีข้อกำหนดในสัญญาเกี่ยวกับการดูแลและรับผิดชอบโครงการ เพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพตลอดการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่ประเทศไทยควรใช้เพื่อพิจารณาประเมินโครงการความช่วยเหลือด้านการคมนาคมขนส่งในประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต


A Study Of Catalyst Type And Dispersion On Pyrolysis Of High Density Polyethylene, Ratchanon Chantanuson Jan 2017

A Study Of Catalyst Type And Dispersion On Pyrolysis Of High Density Polyethylene, Ratchanon Chantanuson

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study of catalyst type and dispersion on pyrolysis of high density polyethylene (HDPE) was investigated in batch and semi-batch reactor system. The separation system in semi-batch was rapidly separated between oil and gas products while in batch system was separated after cooling down process. The obtained oil products in semi-batch system had higher in short-chain hydrocarbon. Because the increased pressure and the high severity in batch system led to occur side reactions. Two types of catalyst were studied, Cat A was acid catalyst with 200 m2/g surface area and 20 A average pore diameter and HZSM-5 zeolite was stronger …


Chromatographic Separation Of Free Lutein And Fatty Acids In De-Esterified Marigold Oleoresin And Its Mathematical Modelling, Weerawat Clowutimon Jan 2017

Chromatographic Separation Of Free Lutein And Fatty Acids In De-Esterified Marigold Oleoresin And Its Mathematical Modelling, Weerawat Clowutimon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The petal of marigold flowers has been reported to be the richest source of a xanthophyll, namely lutein which exhibits strong antioxidant and anticancer properties. Although large amount of lutein can be obtained, the compound in the flowers exists as esterified lutein, which is not readily bio-available. As a result, a number of separation and purification steps are required after solvent extraction of marigold flowers. One of the key steps is de-esterification of lutein fatty acid esters in the extract, or namely marigold oleoresin, by the reaction of the oleoresin with alkali solution, e.g., KOH, to obtain free lutein. The …


Developing An Area Classification System From Mobile Phone Usage Data, Naruethai Thongphasook Jan 2017

Developing An Area Classification System From Mobile Phone Usage Data, Naruethai Thongphasook

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since human activities are vary by time and place, there have been many attempts to extract social behavior in spatial studies which included area use in the city. This information helps gaining advantages in city and facilities planning. Nowadays, many people carry mobile phone with them for communication purpose. This motivates us to analyze mobile phone usage in different area types. This thesis proposes method of an analysis for area use classification from mobile phone usage pattern. CDR data was used to define mobile phone usage pattern by hour from 1:00 to 24:00 and day of week from Monday to …


Coal Combustion Products Utilization For Soil Amendment, Tran Thi Anh Tuyet Jan 2017

Coal Combustion Products Utilization For Soil Amendment, Tran Thi Anh Tuyet

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, coal has a crucial role in generating energy all over the world. As a result, the consumption of coal creates a huge amount of coal combustion products, including bottom ash and fly ash. The coal ash has the potential characteristics to become a resource material in agriculture such as its texture, water holding capacity, bulk density, pH etc., and contains almost all the essential plant nutrients. However, most of the coal ash created is dumped into the landfill, which is a contributing factor in the environmental degradation. This study wants to use coal ash in agriculture as a way …


Theoretical Studies On Electronic Properties Of Curved Graphene Quantum Dots And Lithium Adsorption On Graphene Quantum Dots, Naruwan Pattarapongdilok Jan 2017

Theoretical Studies On Electronic Properties Of Curved Graphene Quantum Dots And Lithium Adsorption On Graphene Quantum Dots, Naruwan Pattarapongdilok

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Graphene quantum dots (GQDs), with their attractive properties, are of interest to apply for electronic devices. Therefore, this dissertation aimed to investigate the electronic of curved graphene quantum dots (CGQDs) and the adsorption of lithium on GQDs. For the first part, two shapes of flat GQDs, rhomboidal (RGQDs) and hexagonal (HGQDs), were modified to make CGQDs with different folding axes and angles. Stabilities and electronic properties of CGQDs were studied using PBE/DNP. The results showed that the deformation energies of GQDs depend on sizes and folding axes but not their shapes. HOMO-LUMO gap variations, both widening and narrowing the gap, …


การหาอุณหภูมิลิควิดัสของแก้วฐานบะซอลต์สำหรับการขึ้นรูปเส้นใย, นภาพร วัยบริสุทธิ์ Jan 2017

การหาอุณหภูมิลิควิดัสของแก้วฐานบะซอลต์สำหรับการขึ้นรูปเส้นใย, นภาพร วัยบริสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลขององค์ประกอบเคมีต่ออุณหภูมิลิควิดัสของแก้วฐานบะซอลต์ในระบบ SiO2-CaO-Al2O3-MgO-Fe2O3-Na2O-K2O สำหรับการดึงเป็นเส้นใย ผ่านการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อทำนายอุณหภูมิลิควิดัสที่สัมพันธ์กับส่วนผสมแก้ว โดยใช้ข้อมูลจากการวัดอุณหภูมิลิควิดัสด้วยเทคนิค DTA และ isothermal ของแก้วฐานบะซอลต์จำนวน 30 สูตร แก้วถูกเตรียมจากวัตถุดิบหลักคือ หินบะซอลต์จากแหล่งหินในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ทำการแปรส่วนผสมโดยวิธี Extreme Vertices Design ส่วนผสมถูกหลอมที่อุณหภูมิ 1450 องศาเซลเซียส และทำให้เย็นตัวอย่างฉับพลันในน้ำ ผลการวัดอุณหภูมิลิควิดัสของแก้วด้วยเทคนิค DTA และ Isothermal พบว่าทั้งสองวิธีได้อุณหภูมิใกล้เคียงกันโดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ เท่ากับ 0.91 โดยอุณหภูมิลิควิดัสของแก้วที่อยู่ในช่วงส่วนผสมเส้นใยบะซอลต์มีค่าระหว่าง 1190 – 1360 องศาเซลเซียส การผ่านกระบวนการทางความร้อนเพื่อให้แก้วตกผลึกพบว่าแก้วแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีเฟสผลึกหลักเป็นไดออปไซด์ และกลุ่มแอลไบต์ การทำนายอุณหภูมิลิควิดัสด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณจึงแบ่งเป็น 2 สมการ ตามเฟสผลึกหลักดังกล่าว ผลการพิจารณาเปรียบเทียบอุณหภูมิลิควิดัสที่ได้จากการคำนวณตามแบบจำลองที่สร้างขึ้นกับผลการวัดอุณหภูมิลิควิดัสทั้ง 2 วิธี พบค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจมีค่า ระหว่าง 0.72 - 0.82 ซึ่งบ่งชี้ว่าแบบจำลองนี้สามารถนำไปใช้ในการคำนวณหาอุณหภูมิลิควิดัสของแก้วในระบบนี้ในระดับที่ยอมรับได้


ผลของเทคนิคแช่แข็ง-ละลายที่มีต่อการสังเคราะห์ผงโบรอนคาร์ไบด์จากเซลลูโลสและกรดบอริก, วิภาวี จันทร์สุดา Jan 2017

ผลของเทคนิคแช่แข็ง-ละลายที่มีต่อการสังเคราะห์ผงโบรอนคาร์ไบด์จากเซลลูโลสและกรดบอริก, วิภาวี จันทร์สุดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาการสังเคราะห์โบรอนคาร์ไบด์ ด้วยการใช้กรดบอริกและไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลส โดยนำเทคนิคการแช่แข็ง-ละลายมาใช้ในขั้นตอนการผสมสารตั้งต้นเพื่อเพิ่มความเป็นเนื้อเดียวกันส่งเสริมการเกิดปฏิกิริยาระหว่างกรดบอริกและเซลลูโลส ทั้งนี้ได้ศึกษาอิทธิพลของการปรับเปลี่ยนอัตราส่วนโดยโมลระหว่างโบรอนและคาร์บอนในสารตั้งต้นเป็น 4:1, 5:1 และ 6:1 ระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการแช่แข็ง 3, 6 และ 12 ชั่วโมง รวมถึงจำนวนการทำซ้ำของการแช่แข็ง-ละลายจำนวน 1, 3 และ 5 รอบ ที่มีต่อลักษณะเฉพาะของพรีเคอเซอร์และองค์ประกอบเฟสของผลิตภัณฑ์ที่สังเคราะห์ได้ จากการศึกษาการเตรียมพรีเคอเซอร์พบว่าเมื่อระยะเวลาการแช่แข็งนานขึ้นและจำนวนรอบน้อย ส่งผลให้โครงสร้างจุลภาคของเซลลูโลสมีผิวเรียบกว่าการแช่แข็งด้วยระยะเวลาสั้นจำนวนหลายรอบ ซึ่งการแช่แข็งเป็นเวลา 3 ชั่วโมง จำนวน 5 รอบ ทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างกรดบอริกและเซลลูโลสได้มากที่สุด จากโครงสร้างจุลภาคแสดงให้เห็นว่าเซลลูโลสมีผิวขรุขระและบิดเบี้ยวมาก เมื่อนำไปเผาไพโรไลซิสที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส และสังเคราะห์ที่อุณหภูมิ 1350 องศาเซลเซียส เวลายืนไฟ 3 ชั่วโมง ภายใต้บรรยากาศอาร์กอน พบว่า Intensity ratio ของโบรอนคาร์ไบด์มีค่าสูงที่สุด (0.38) เมื่อใช้อัตราส่วนโดยโมลระหว่างกรดบอริกและไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลส 5:1 และ 6:1 ซึ่งพบว่าค่า C/B2O3 ที่ได้จากการทดลองหาค่า มีค่าใกล้เคียง 3.5 มากที่สุดนั่นคือมีค่าเท่ากับ 2.5 และ 3.9 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามผลองค์ประกอบเฟสของที่สังเคราะห์พบโบรอนคาร์ไบด์และโบรอนออกไซด์เฟสรอง และพบคาร์บอนเป็นเฟสหลัก


Investigation Of Asphaltene Aggregation Kinetics In The Presence Of Water-In-Oil Emulsion, Penpitcha Roengsamut Jan 2017

Investigation Of Asphaltene Aggregation Kinetics In The Presence Of Water-In-Oil Emulsion, Penpitcha Roengsamut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Asphaltene is a component of the petroleum liquid defined operationally. It represents the most refractory (or the heaviest fraction). It is well-known that changes in temperature, pressure, or composition can destabilize asphaltenes and cause aggregation and deposition in porous formations, production lines, and processing facilities (Sheu and Mullins 1995). This leads to the study of the behavior of asphaltene aggregation and parameters that could affect the rate of aggregation which, in this case, is water-in-oil emulsion. In addition, the asphaltene aggregation model derived by Haji-Akbari (2013) is applied as a framework in this study which explains the correlation between the …


Catalytic Activity Of Cu-Ceo2zro2 For Biodiesel Production, Wasupon Wongvitvichot Jan 2017

Catalytic Activity Of Cu-Ceo2zro2 For Biodiesel Production, Wasupon Wongvitvichot

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

CeO2-ZrO2 was synthesized by co-precipitation (CZ copre) and nanocasting (MSP CZ) methods for supporting 9%wt Cu catalyst loaded by deposition-precipitation (DP) method (CuCZ copre and Cu-MSP CZ, respectively). Both CuCZ copre and Cu-MSP CZ were used in esterification reaction for biodiesel production. Structure and specific surface area of the synthesized supports and catalysts were characterized by XRD and BET tecnhiques. It was found that the specific surface area of CZ copre was less than MSP CZ support. The XRD result of CuCZ copre exhibited the diffraction peak of CuO, indicating the agglomeration of Cu species on support while that of …


การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพแบบต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์มในไฮเดรตเอทานอลภาวะเหนือวิกฤต, วราลี จิยะพานิชกุล Jan 2017

การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพแบบต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์มในไฮเดรตเอทานอลภาวะเหนือวิกฤต, วราลี จิยะพานิชกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การผลิตเชื้อเพลิงจากน้ำมันปาล์มในเอทานอลภาวะเหนือวิกฤตเป็นการผลิตเชื้อเพลิงที่ได้มาจากแหล่งทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Renewable resource) อย่างแท้จริง เนื่องจากเอทานอลสามารถผลิตได้จากชีวมวลผ่านกระบวนการหมัก อย่างไรก็ตามการใช้เอทานอลเกรดเชื้อเพลิง (99.5% w/w) มีราคาแพงและใช้พลังงานสูงในการเพิ่มความบริสุทธิ์ ดังนั้นเพื่อเป็นการลดต้นทุนและพลังงานในการผลิต ในงานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันปาล์มในไฮเดรตเอทานอลภาวะเหนือวิกฤตในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง โดยทำการศึกษาผลของอัตราส่วนโดยโมลของเอทานอลต่อน้ำมันปาล์มช่วง 9:1–21:1 ร้อยละโดยน้ำหนักของน้ำในเอทานอลช่วง 4.40–20.0 และเวลาในการเกิดปฏิกิริยา ช่วง 2.0–28.0 นาที ที่มีผลต่อร้อยละมอนอกลีเซอไรด์และร้อยละเอทิลเอสเทอร์ จากการศึกษาโดยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง (Response surface methodology) ที่อุณหภูมิคงที่ 400 องศาเซลเซียส ความดัน 15 เมกะพาสคัล พบว่าปัจจัยหลักที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อร้อยละมอนอกลีเซอไรด์มากที่สุด คือ อัตราส่วนโดยโมลของเอทานอลต่อน้ำมันปาล์มและร้อยละของน้ำในเอทานอล ส่วนปัจจัยหลักที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อร้อยละเอทิลเอสเทอร์มากที่สุดคือ อัตราส่วนโดยโมลของเอทานอลต่อน้ำมันปาล์มและเวลาในการเกิดปฏิกิริยา โดยภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่ ร้อยละเอสเทอร์สูงสุดและร้อยละมอนอกลีเซอไรด์ต่ำกว่า 0.80 คือที่อัตราส่วนโดยโมลเอทานอลต่อน้ำมันปาล์ม 21:1 ร้อยละของน้ำในเอทานอล 12.77 และเวลาในการเกิดปฏิกิริยา 9.10 นาที ได้ร้อยละมอนอกลีเซอไรด์เท่ากับ 0.80 และร้อยละผลได้เอสเทอร์สูงสุดเท่ากับ 53.32 การวิเคราะห์สมบัติของเชื้อเพลิงชีวภาพที่ได้จากภาวะที่เหมาะสมยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานของไบโอดีเซล โดยพบว่ามีค่าความหนืดและค่าความเป็นกรดสูง เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาไม่สมบูรณ์ส่งผลให้มีปริมาณกรดไขมันอิสระเหลืออยู่ในผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพประมาณร้อยละ 22.65


Multi-Layered Elastic Medium Under Axisymmetric Loading And Surface Energy Effects, Kanin Tarntira Jan 2017

Multi-Layered Elastic Medium Under Axisymmetric Loading And Surface Energy Effects, Kanin Tarntira

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Multi-layered nano-scale structures have been found in a wide range of applications these days. Since the surface energy effect is presented at the nano-scale level, a novel calculation scheme is required to accurately capture the mechanical behaviors of such structures. In this study, a solution scheme for analysis of a multi-layered elastic medium with influence of surface energy effects subjected to axisymmetric loading by adopting Gurtin-Murdoch surface elasticity theory is presented. The standard Love's representation and Hankel integral transform are employed to derive the general solutions, and the obtained solutions are employed in the determination of the stiffness matrix for …


Transport Capacity Utilisation Improvement For Consumer Product Distribution, Krongmal Wichianbanjerd Jan 2017

Transport Capacity Utilisation Improvement For Consumer Product Distribution, Krongmal Wichianbanjerd

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Currently, Thailand's economic is growing. Several companies study strategies that advice the firms to gain competitive advantages. One of widely used strategies, that aids the firms to reduce cost and utilises their resources to focus on the firms' core competencies, is outsourcing non-core activities (e.g. a transportation process). A transportation process is one of the non-core activities that requires to be managed appropriately. Therefore, a third-party logistics (3PL) provider that has expertise in the logistics process has been established, and provides service in the logistics management. In this research, a 3PL company is considered as a case study company. A …


Prototype Development Of Small Scale Transportable Fuel Production System For Agricultural Byproducts, Jurarat Nisamaneenate Jan 2017

Prototype Development Of Small Scale Transportable Fuel Production System For Agricultural Byproducts, Jurarat Nisamaneenate

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective is to study the potential of peanut shell waste and cassava rhizome conversion using a modular fixed bed gasifier coupled with thermal integration unit. The thermal integration unit improved gasification reaction in which lower tar content and high gas production efficiency can be achieved. The air flow rate had integrated effects on product yield and composition; higher air flow rate resulted in higher gas yield with less tar and char. The result from peanut shell gasification indicated the optimal conditions without catalyst addition at air flow rate of 3.06 m3/hr where carbon and hydrogen conversions were 87.10% and …


การวิเคราะห์ความไม่แน่นอนของการติดตามความยาวรอยร้าวด้วยวิธีคอมพลายแอนซ์, กิตติภณ รุ่งวชิรา Jan 2017

การวิเคราะห์ความไม่แน่นอนของการติดตามความยาวรอยร้าวด้วยวิธีคอมพลายแอนซ์, กิตติภณ รุ่งวชิรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอขั้นตอนการคำนวณความไม่แน่นอนของความยาวรอยร้าวที่คำนวณจากคอมพลายแอนซ์ (Ua) (การคำนวณคอมพลายแอนซ์ (C) ใช้วิธีที่มาตรฐาน ASTM E647 แนะนำ) และศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ จากสภาวะทดสอบ 1) รูปร่างคลื่น (Wave shape) 2) ภาระสูงสุด 3) อัตราส่วนภาระ (R ratio) 4) ความยาวรอยร้าว 5) ความถี่ภาระ (Load frequency) 6) Sampling rate 7) จำนวนข้อมูลต่อรอบ (Number of data per cycle) 8) เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้อมูลช่วงปลดภาระนับจากตำแหน่งภาระสูงสุด (%Unload) 9) จำนวนรอบที่เก็บข้อมูลต่อเนื่อง 10) นิยามของความยาวรอยร้าวที่วัดจากขอบหน้ารอยร้าวเริ่มต้น (as0) ต่อ Ua นอกจากนี้จะศึกษาความสอดคล้องระหว่างความยาวรอยร้าวที่วัดจากขอบหน้ารอยร้าว (as) นิยามต่าง ๆ กับความยาวรอยร้าวที่คำนวณจากคอมพลายแอนซ์ (a) การนำเสนอขั้นตอนการคำนวณ Ua จะศึกษาขั้นตอนการคำนวณความไม่แน่นอนของปริมาณทั่วไป จากนั้นนำมาประยุกต์กับ a โดยพบว่าการคำนวณ Ua จะต้องมีข้อมูล 3 อย่างคือ ค่าเฉลี่ยและความไม่แน่นอนของปริมาณที่ใช้คำนวณ a (ความกว้างชิ้นทดสอบ, as0 และ C) และสมการลดข้อมูล (Data reduction equation) ที่ใช้คำนวณ a จากนั้นนำข้อมูลทั้งสามไปคำนวณ Ua ด้วยวิธีอนุกรมเทย์เลอร์ การศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ ต่อ Ua จะให้ภาระล้าแก่ชิ้นทดสอบที่สภาวะทดสอบต่าง ๆ ในข้างต้น แล้วเก็บข้อมูล ความเครียดที่ตำแหน่งกึ่งกลางด้านหลังชิ้นทดสอบ (Back-face strain, BFS), ระยะอ้าปากรอยร้าว (Crack mouth opening displacement, CMOD) และภาระ เพื่อคำนวณ C จากนั้นหาความไม่แน่นอน …


การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องแบบไม่สมมาตรในระบบไฟฟ้าโดยวิธีอิมพีแดนซ์ร่วมกับข้อมูลแจ้งเตือนแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์แบบเอเอ็มอาร์, ณัฐกฤตา ฤทธิ์รักษ์ Jan 2017

การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องแบบไม่สมมาตรในระบบไฟฟ้าโดยวิธีอิมพีแดนซ์ร่วมกับข้อมูลแจ้งเตือนแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์แบบเอเอ็มอาร์, ณัฐกฤตา ฤทธิ์รักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอ การประยุกต์การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องในระบบจำหน่ายไฟฟ้าโดยวิธีใช้ค่าอิมพีแดนซ์ (Impedance based method) ร่วมกับการใช้สัญญาณแจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์แบบเอเอ็มอาร์ โดยทดสอบการประมาณตำแหน่งความผิดพร่องแบบไม่สมมาตรในระบบจำหน่ายไฟฟ้า อาศัยการจำลองข้อมูลระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และข้อมูลเหตุการณ์ความผิดพร่องแบบไม่สมมาตร ได้แก่ ความผิดพร่องแบบเฟสเดียวลงดิน ความผิดพร่องแบบสองเฟส และความผิดพร่องแบบสองเฟสลงดิน ผ่านโปรแกรม ATP (Alternative transient program) ข้อมูลที่ได้จากการจำลองระบบจะนำไปวิเคราะห์ตำแหน่งความผิดพร่องโดยวิธีใช้ค่าอิมพีแดนซ์ เพื่อศึกษาความคลาดเคลื่อนของระยะทางความผิดพร่อง ผลการศึกษาพบว่า การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องในระบบจำหน่ายไฟฟ้าโดยวิธีใช้ค่าอิมพีแดนซ์ มีค่าความคลาดเคลื่อนของระยะทางความผิดพร่องอยู่ในช่วง 0-2 กิโลเมตร คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 7% เนื่องจากระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นระบบแบบเรเดียล ส่งผลให้ระยะทางความผิดพร่องที่คำนวณได้ ให้ค่าตำแหน่งความผิดพร่องได้หลายค่า ซึ่งเมื่อนำข้อมูลสัญญาณแจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์เอเอ็มอาร์มมาพิจารณาร่วมด้วย พบว่าข้อมูลสัญญาณแจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุลสามารถลดตำแหน่งความผิดพร่องที่เป็นไปได้ให้เหลือน้อยลงได้ เมื่อพิจารณาตำแหน่งความผิดพร่องที่เป็นไปได้ที่อยู่ใกล้เคียง กับสายย่อยที่มิเตอร์แจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุล สามารถลดค่าความคลาดเคลื่อนของระยะทางความผิดพร่องลงได้ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดไม่เกิน 4% และในกรณีความผิดพร่องแบบเฟสเดียวลงดิน พบว่าบางข้อมูลให้ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของระยะทางสายย่อยที่เกิดความผิดพร่องสูงกว่า ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนที่ได้จากกระประมาณตำแหน่งความผิดพร่องโดยวิธีอิมพีแดนซ์ คิดเป็น 18.60% ซึ่งเป็นผลมาจากการแบ่งระยะทางของสายย่อยที่มีระยะมากเกินไป เนื่องจากมิเตอร์ที่ติดตั้งในระบบไฟฟ้ากระจายตัวไม่สม่ำเสมอ


การศึกษาผลกระทบของการเชื่อมต่อผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กบนระบบส่งย่อย, นภสินธุ์ ศักดิ์วงศ์ Jan 2017

การศึกษาผลกระทบของการเชื่อมต่อผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กบนระบบส่งย่อย, นภสินธุ์ ศักดิ์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ นำเสนอตัวอย่างการศึกษาการเชื่อมต่อผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทกังหันแก๊สและกังหันไอน้ำกับระบบส่งย่อย 115 kV โดยจำลองด้วยโปรแกรม DIgSILENT เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อระบบไฟฟ้าในด้านต่างๆ เช่น ระดับแรงดันไฟฟ้า ขนาดกระแสลัดวงจร กำลังสูญเสีย แรงดันตกชั่วขณะ และเสถียรภาพ เป็นต้น ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวที่จ่ายกำลังด้วยค่าตัวประกอบกำลังที่เหมาะสม สามารถควบคุมระดับแรงดันไฟฟ้า และลดกำลังสูญเสียรวมในระบบไฟฟ้า แต่ในอีกด้าน ระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวอาจส่งผลให้กระแสลัดวงจรและแรงดันตกชั่วขณะมีค่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การแยกตัวของระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวอย่างกะทันหัน อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าได้ ซึ่งผลการศึกษาทั้งหมดจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนควบคุมและป้องกันระบบไฟฟ้า


การวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุนของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาร่วมกับแบตเตอรี่, บรมัตถ์ ต่างวิวัฒน์ Jan 2017

การวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุนของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาร่วมกับแบตเตอรี่, บรมัตถ์ ต่างวิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ต้นทุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีแนวโน้มลดลงทุกๆ ปี จนในปัจจุบัน การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคามีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้กับราคาค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศรวมทั้งประเทศไทย ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการรับซื้อไฟฟ้าที่จ่ายจากระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์คืนเข้าสู่ระบบจำหน่าย ทำให้เจ้าของบ้านยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านของตนขนาดเท่าไร นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ราคาของแบตเตอรี่ก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง การติดตั้งแบตเตอรี่ร่วมกับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาอาจช่วยลดต้นทุนโดยรวมของระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และค่าไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้าได้เช่นกัน โดยทั่วไป การวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุนเพื่อกำหนดขนาดของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับแบตเตอรี่ มักแก้ปัญหาด้วยวิธีการออปติไมเซชันแบบแคลคูลัส หรือแบบขั้นตอนเชิงวิวัฒนาการ เช่น วิธีเชิงพันธุกรรม เป็นต้น โดยพิจารณารูปแบบการรับและคายประจุของแบตเตอรี่ในรูปของอนุกรมเวลาซึ่งมีความซับซ้อนและอาจใช้เวลาในการแก้ปัญหานาน ดังนั้น ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จะนำเสนอวิธีการที่เรียบง่ายมากขึ้น โดยจะพิจารณาการรับและคายประจุของแบตเตอรี่อยู่ในรูปของก้อนพลังงานที่มีช่วงเวลาในการรับและคายประจุแน่นอนแล้วนำไปพิจารณาร่วมกับลักษณะการใช้ไฟฟ้าโดยตรง จากนั้นปัญหาดังกล่าวจะถูกแก้โดยการกำหนดขอบเขตของเซตคำตอบของปัญหาที่เป็นไปได้อย่างเป็นระบบแล้วเลือกค่าที่ดีที่สุดภายใต้เซตนั้นแทนการแก้ปัญหาด้วยวิธีการออปติไมเซชันโดยตรง ส่วนการคำนวณผลประโยชน์และต้นทุนยังคงใช้ในรูปของอนุกรมเวลาซึ่งมีผลการคำนวณที่แม่นยำ วิธีการที่นำเสนอได้ใช้ทดสอบกับลักษณะการใช้ไฟฟ้าของบ้านอยู่อาศัยโดยพิจารณาค่าไฟฟ้าเป็นแบบอัตราก้าวหน้า และกิจการขนาดกลางโดยพิจารณาค่าไฟฟ้าเป็นแบบอัตราตามช่วงเวลาของการใช้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มีความสมเหตุสมผลและใกล้เคียงกับงานวิจัยในอดีตที่ผ่านมา แต่มีความซับซ้อนของปัญหาลดลงอย่างมาก


การระบุตัวคนขับรถโดยใช้ฮิสโทแกรมและโครงข่ายประสาทเทียมจากข้อมูลความเร่ง, ณัฐธัญ วิโรจน์บุญเกียรติ Jan 2017

การระบุตัวคนขับรถโดยใช้ฮิสโทแกรมและโครงข่ายประสาทเทียมจากข้อมูลความเร่ง, ณัฐธัญ วิโรจน์บุญเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จนถึงปัจจุบันจำนวนตัวรับรู้ในรถยนต์มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดระบบอัจฉริยะต่าง ๆ ภายในรถยนต์ ข้อมูลจำนวนมากที่เกิดขึ้นจากตัวรับรู้เหล่านี้ส่งผลให้เกิดการศึกษาในการพยายามใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เกิดประโยขน์ งานวิจัยอย่างหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากคือการศึกษาพฤติกรรมการขับรถ เนื่องจากคนขับรถแต่ละคนมีพฤติกรรมต่างกัน การรู้ถึงพฤติกรรมการขับรถจึงทำให้สามารถระบุตัวคนขับรถได้ การทราบถึงบุคคลที่กำลังขับรถทำให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัย การประกันภัย หรือการอำนวยความสะดวก สิ่งนี้เองทำให้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการระบุตัวคนขับรถเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเมื่อไม่นานมานี้ งานวิจัยที่ผ่านมาส่วนมากมักใช้ข้อมูลจากตัวรับรู้จำนวนมากเพื่อระบุตัวคนขับรถและสามารถทำได้โดยมีความแม่นยำสูง อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยจำนวนหนึ่งแสดงให้เห็นว่าการระบุตัวคนขับรถสามารถทำได้โดยใช้ตัวรับรู้เพียงตัวเดียว แต่ค่าความแม่นยำของงานเหล่านี้ยังสามารถพัฒนาต่อได้ งานวิจัยนี้ได้เสนอระบบการระบุตัวคนขับรถโดยใช้เพียงข้อมูลจากตัวรับรู้ความเร่ง โดยมีการใช้ฮิสโทแกรมของความเร่งเป็นข้อมูลนำเข้าสู่โครงข่ายประสาทเทียม สถาปัตยกรรมระบบที่นำเสนอในงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบระบุตัวคนขับรถอื่นในอนาคต ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบนี้สามารถระบุตัวคนขับรถได้แม่นยำสูงสุดถึง 99 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ในงานวิจัยยังได้ทดสอบประสิทธิภาพในหลายแง่มุมซึ่งที่ผ่านมามีหลายงานวิจัยที่มองข้ามบางแง่มุมไป ดังนั้นการวัดผลในงานวิจัยนี้จึงสามารถใช้เป็นแนวทางในการวัดผลการระบุตัวคนขับรถอื่นในอนาคตได้เช่นกัน


เครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับแอปพลิเคชันแอนดรอยด์, ขวัญดี เพชรากานต์ Jan 2017

เครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับแอปพลิเคชันแอนดรอยด์, ขวัญดี เพชรากานต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประเมินความสามารถในการใช้งานแอปพลิเคชันโดยใช้วิธีการประเมินเชิงฮิวริสติกเป็นวิธีการประเมินความสามารถในการใช้งานส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่ได้รับความนิยม เนื่องจากสามารถดำเนินการประเมินได้ง่ายและค่าใช้จ่ายไม่สูงเมื่อเทียบกับวิธีประเมินแบบอื่น โดยการประเมินจะให้ผู้ประเมินทำการเปรียบเทียบการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ในแต่ละหน้าจอของแอปพลิเคชันกับหลักการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้หรือฮิวริสติก การประเมินจึงขึ้นกับการพิจารณาและประสบการณ์ในการออกแบบที่ผ่านมาของผู้ประเมินว่าสามารถตรวจพบข้อผิดพลาดในการออกแบบหรือไม่ อีกทั้งยังมีรายการประเมินตามฮิวริสติกในการออกแบบโดยต้องตรวจสอบเป็นจำนวนมาก ทำให้การประเมินทำได้ไม่ง่าย งานวิจัยนี้จึงนำเสนอการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยผู้ประเมินความสามารถในการใช้งานของส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์พกพาบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ในการตรวจสอบรายการประเมินการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้จากโค้ดของแอปพลิเคชันและรายงานข้อผิดพลาดในการออกแบบที่พบ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประเมินเชิงฮิวริสติกเป็นการประเมินที่ต้องทำโดยอาศัยผู้ประเมิน ผู้วิจัยจึงได้เลือกรายการประเมินจำนวน 19 รายการ ที่ไม่ต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้สึกของผู้ประเมิน และสามารถตรวจสอบได้อย่างอัตโนมัติมาพัฒนาเครื่องมือ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประเมินในการตรวจสอบความสามารถในการใช้งานส่วนต่อประสานกับผู้ใช้เทียบกับรายการประเมินบางส่วนได้ จากการทดสอบการประเมินส่วนต่อประสานผู้ใช้ของ 3 แอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ตามรายการประเมิน 19 รายการดังกล่าว พบว่าค่าเฉลี่ยของจำนวนจุดที่พบข้อผิดพลาดในการออกแบบเมื่อประเมินโดยใช้เครื่องมือ มีค่ามากกว่าเมื่อประเมินโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้และกลุ่มนักพัฒนาแอปพลิเคชันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 นอกจากนี้เครื่องมือยังช่วยลดเวลาในการประเมินและสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดในการออกแบบที่ผู้ประเมินทั้งสองกลุ่มตรวจไม่พบได้


Co2 Methanation Over Nial2o4 Spinel - Based Catalysts, Chanya Thamma Jan 2017

Co2 Methanation Over Nial2o4 Spinel - Based Catalysts, Chanya Thamma

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the present work, a series of NiO/NiAl2O4 catalysts were prepared by co-precipitation method with molar ratio of Ni/Al equal 1/2 at different precipitation temperatures (30 and 80oC) and calcination temperatures (500, 700, 900, and 1200oC). The catalyst properties were characterized by using N2 physisorption, X-ray diffraction, H2 – TPR, SEM, and TEM. The NiO/NiAl2O4 precipitated at 80oC and calcined at 900oC showed the best activity in CO2 methanation at 350oC with conversion 92% and 100% methane selectivity without CO formation. The optimal of NiO and NiAl2O4 composition at 24.7% and 75.3%wt could provide a stabilizing effect preventing the metal …


การเตรียมและสมบัติของยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์/ไวนิลแอซีเทต-เอทิลีนโคพอลิเมอร์/ซิลิกานาโนคอมพอสิต, ลักษมณ รักศักดิ์ศรี Jan 2017

การเตรียมและสมบัติของยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์/ไวนิลแอซีเทต-เอทิลีนโคพอลิเมอร์/ซิลิกานาโนคอมพอสิต, ลักษมณ รักศักดิ์ศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้ คือ การเตรียมยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ (อีเอ็นอาร์) ยางผสมของยางอีเอ็นอาร์/ไวนิลแอซีเทต-เอทิลีนโคพอลิเมอร์ (วีเออี) และนาโนคอมพอสิตของยางอีเอ็นอาร์/ วีเออี/นาโนซิลิกาภายใต้การบ่มด้วยซัลเฟอร์ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบดั้งเดิม ระบบกึ่งประสิทธิภาพ และระบบประสิทธิภาพ โดยใช้เททระเบนซิลไทยูแรมไดซัลไฟด์เป็นสารบ่มเร่งที่ไม่ปลดปล่อยสารก่อมะเร็ง ยางอีเอ็นอาร์ถูกเตรียมได้จากกระบวนการ ‘อินซิทู’ อิพ็อกซิเดชันของน้ำยางธรรมชาติข้นด้วย กรดฟอร์มิกและไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ที่อัตราส่วนโดยโมลต่างๆ กัน ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4–10 ชั่วโมง และถูกตรวจสอบเอกลักษณ์ด้วยเทคนิคอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรสโกปี ดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิงแคลอริเมทรี และ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน ยางอีเอ็นอาร์ 40 ได้ถูกเลือกเพื่อใช้เตรียมยางผสม 80/20 อีเอ็นอาร์/วีเออี และนาโนคอมพอสิตของ ยางผสม 80/20 อีเอ็นอาร์/วีเออี ด้วยนาโนซิลิกาปริมาณ 1, 2 และ 3 ส่วนโดยน้ำหนักยางร้อยส่วนด้วยเครื่องผสมแบบปิดและตามด้วยการบ่มในเครื่องอัดแบบที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ผลของอัตราส่วนระหว่างซัลเฟอร์และสารบ่มเร่งต่อพฤติกรรมการบ่ม สมบัติด้านความทนแรงดึงและการอบร้อน สมบัติทางความร้อน สมบัติเชิงกลพลวัต และ ความต้านทานน้ำมันได้ถูกตรวจสอบ โดยพบว่า พฤติกรรมการบ่มส่วนใหญ่ขึ้นกับอัตราส่วนระหว่างซัลเฟอร์และสารบ่มเร่ง การกระจายของวีเออีและนาโนซิลิกาในยางอีเอ็นอาร์ และอันตรกิริยาระหว่างนาโนซิลิกาและเมทริกซ์ของยาง ในขณะที่สมบัติด้านความทนแรงดึง สมบัติทางความร้อน และ สมบัติเชิงกลพลวัตขึ้นกับประเภทของการเชื่อมขวาง ความหนาแน่นของการเชื่อมขวาง ความมีขั้ว การกระจายของวีเออีและนาโนซิลิกาในยางอีเอ็นอาร์ และอันตรกิริยาระหว่างนาโนซิลิกา และเมทริกซ์ของยาง


การปรับสภาพตัวเร่งปฏิกิริยา Wo3/Tio2 ด้วยกรดกำมะถันเพื่อใช้ในการกำจัดไนตริกออกไซด์และโทลูอีนพร้อมกัน, กฤตยณัฐ เหล่าเลิศรัตนา Jan 2017

การปรับสภาพตัวเร่งปฏิกิริยา Wo3/Tio2 ด้วยกรดกำมะถันเพื่อใช้ในการกำจัดไนตริกออกไซด์และโทลูอีนพร้อมกัน, กฤตยณัฐ เหล่าเลิศรัตนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาทังสเตนออกไซด์บนตัวรองรับไทเทเนีย (WO3/TiO2) ในการกำจัดไนตริกออกไซด์ร่วมกับโทลูอีนที่มีอยู่ร่วมกันในแก๊สปล่อยทิ้ง โดยได้ทำการปรับสภาพตัวรองรับไทเทเนียด้วยสารละลายกรดกำมะถันเข้มข้น 0, 0.2 และ 0.5 โมล/ลิตร ก่อนนำไปใช้เตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยวิธีเคลือบฝังแบบเปียก ทำการวิเคราะห์คุณลักษณะของตัวเร่งปฏิกิริยา WO3/TiO2 ซึ่งประกอบด้วยเทคนิค Inductively Coupled Plasma-Optical Emission Spectroscopy (ICP-OES), Nitrogen Physisorption, X-ray Diffraction (XRD), NH3 Temperature Programmed Desorption (NH3-TPD) และ Pyridine Adsorption ทำการทดสอบประสิทธิภาพตัวเร่งปฏิกิริยาใน 3 ระบบ ได้แก่ การทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการรีดิวซ์แบบเลือกเกิดด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นปฏิกิริยาที่ใช้กำจัดไนตริกออกไซด์ การทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยปฏิกิริยาโทลูอีนออกซิเดชันที่เป็นปฏิกิริยาที่ใช้ในการกำจัดโทลูอีน และการทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยปฏิกิริยาโทลูอีนออกซิเดชันร่วมกับการทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการรีดิวซ์แบบเลือกเกิดด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นปฏิกิริยาที่ใช้ในการกำจัดโทลูอีนและไนตริกออกไซด์พร้อมกัน (ปฏิกิริยารวม) การทดสอบกระทำในช่วงอุณหภูมิ 120 - 450 °C สำหรับการกำจัดไนตริกออกไซด์ในกระบวนการรีดิวซ์แบบเลือกเกิดด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาพบว่า ตัวเร่งปฏิกิริยา WO3/TiO2 ที่ผ่านการปรับสภาพด้วยกรดกำมะถันเข้มข้น 0.2 โมล/ลิตร มีประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดไนตริกออกไซด์ ส่วนปฏิกิริยาโทลูอีนออกซิเดชันพบว่า ตัวเร่งปฏิกิริยา WO3/TiO2 ที่ผ่านและไม่ผ่านการปรับสภาพด้วยกรดกำมะถัน จะมีประสิทธิภาพในการกำจัดจัดโทลูอีนได้ใกล้เคียงกัน แต่ตัวเร่งปฏิกิริยา WO3/TiO2 ที่ผ่านการปรับสภาพด้วยกรดกำมะถันเข้มข้น 0.5 โมล/ลิตร สามารถเพิ่มปริมาณการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากขึ้น สำหรับปฏิกิริยารวม พบว่าที่อุณหภูมิสูง ตัวเร่งปฏิกิริยาจะมีความสามารถในการกำจัดไนตริกออกไซด์ได้ดีขึ้นเมื่อมีโทลูอีนอยู่ในระบบ เมื่อเทียบกับปฏิกิริยาในกระบวนการรีดิวซ์แบบเลือกเกิดด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาที่ปราศจากโทลูอีน


การเพาะเลี้ยงไดอะตอม Bacillaria Paxillifer เพื่อผลิตสารสีฟูโคแซนทินโดยใช้ซิลิกาที่สกัดจากเถ้าลอย, มาฆมาส ธวัชชัย Jan 2017

การเพาะเลี้ยงไดอะตอม Bacillaria Paxillifer เพื่อผลิตสารสีฟูโคแซนทินโดยใช้ซิลิกาที่สกัดจากเถ้าลอย, มาฆมาส ธวัชชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ของการเพาะเลี้ยงไดอะตอม Bacillaria paxillifer โดยใช้ ซิลิกาที่สกัดจากเถ้าลอยและศึกษาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเติบโตและการผลิตสารสี ฟูโคแซนทิน ผลการทดลองในส่วนแรกพบว่าซิลิกาในรูปสารละลายโซเดียมซิลิเกตที่สกัดได้จาก เถ้าลอยมีประสิทธิภาพในการเพาะเลี้ยงไดอะตอมได้ไม่แตกต่างจากการใช้ซิลิกาตามที่ระบุในอาหารสูตร F/2 โดยได้รับความหนาแน่นเซลล์สูงสุด 23.33 ± 0.44 x 104 เซลล์/มิลลิลิตร น้ำหนักเซลล์แห้ง 0.32 ± 0.02 กรัม/ลิตร อัตราการเติบโตจำเพาะสูงสุด 0.53 ± 0.03 วัน-1 ความเข้มข้นของสารสี ฟูโคแซนทิน 0.43 ± 0.01 มิลลิกรัม/ลิตร และปริมาณสารสีฟูโคแซนทินต่อน้ำหนักเซลล์แห้ง 1.34 ± 0.05 มิลลิกรัม/กรัม ในการทดลองต่อมาได้ทำการศึกษาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเติบโตและการผลิตสารสีฟูโคแซนทิน ผลการทดลองพบว่าการเพาะเลี้ยงไดอะตอมภายใต้คาร์บอนไดออกไซด์ 2% โดยปริมาตร ความเข้มแสง 15,000 ลักซ์ และการปรับสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อให้มีซิลิกาเพิ่มขึ้น 3 เท่าของปริมาณในอาหารสูตร F/2 และลดความเข้มข้นของไนโตรเจนเหลือ 30% ของปริมาณในอาหารสูตร F/2 สามารถเพิ่มการเติบโตและการผลิตฟูโคแซนทินของไดอะตอมได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับผลการทดลองในส่วนแรก โดยมีความหนาแน่นเซลล์สูงสุด 146.33 ± 1.25 x 104 เซลล์/มิลลิลิตร อัตราการเติบโตจำเพาะสูงสุด 1.73 ± 0.03 วัน-1 น้ำหนักเซลล์แห้ง 0.95 ± 0.03 กรัม/ลิตร ความเข้มข้นของสารสีฟูโคแซนทิน 3.18 ± 0.03 มิลลิกรัม/ลิตร และปริมาณสารสีฟูโคแซนทินต่อน้ำหนักเซลล์แห้ง 3.35 ± 0.09 มิลลิกรัม/กรัม และเมื่อทำการจำแนกสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ในไดอะตอมด้วย HPLC พบว่ามีสารสีฟูโคแซนทินประมาณ 60 – 80% ของปริมาณ แคโรทีนอยด์ทั้งหมด


ผลของการเติมโคเอเจนต์ต่อสมบัติของอนุภาคยางละเอียดยิ่งยวดที่วัลคาไนซ์อย่างสมบูรณ์ผ่านกระบวนการฉายลำอิเล็กตรอนสำหรับเป็นสารตัวเติมเพิ่มความเหนียวในพอลิเบนซอกซาซีน, รัตนาพร วงษ์คำชัย Jan 2017

ผลของการเติมโคเอเจนต์ต่อสมบัติของอนุภาคยางละเอียดยิ่งยวดที่วัลคาไนซ์อย่างสมบูรณ์ผ่านกระบวนการฉายลำอิเล็กตรอนสำหรับเป็นสารตัวเติมเพิ่มความเหนียวในพอลิเบนซอกซาซีน, รัตนาพร วงษ์คำชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของ ไตรเมทิลลอลโพรเพน ไตรเมทาคิเลต (TMPTMA) ต่อสมบัติทางกายภาพและทางความร้อนของยางธรรมชาติที่ผ่านการเชื่อมขวางโดยการรวมเทคนิคของการฉายลำอิเล็กตรอนและกระบวนการอบแห้งแบบพ่นฝอย โดยยางธรรมชาติจะถูกทำให้คงรูปด้วยปริมาณการฉายลำอิเล็กตรอนตั้งแต่ 0 - 350 กิโลเกรย์ จากผลการทดลองพบว่า ปริมาณเจล ความหนาแน่นในการเชื่อมขวาง อุณหภูมิการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว และอุณหภูมิการสลายตัวทางความร้อนที่การสูญเสียน้ำหนัก 5 % ของยางธรรมชาติที่ผ่านการวัลคาไนซ์ จะมีค่าเพิ่มสูงขึ้นด้วยการเพิ่มขึ้นของปริมาณลำอิเล็กตรอนและปริมาณสารโคเอเจนต์ โดยมีค่าสูงที่สุดเมื่อถูกวัลคาไนซ์ด้วยปริมาณลำอิเล็กตรอนเป็น 350 กิโลเกรย์และที่ปริมาณการเติม 9 phr และยังพบว่าสัดส่วนการบวมตัวและค่าน้ำหนักโมเลกุลของยางระหว่างการเชื่อมขวางจะมีค่าต่ำที่สุดอีกด้วย เนื่องจากเกิดการเชื่อมขวางอย่างสมบูรณ์ของน้ำยางธรรมชาติเกิดเป็นโครงสร้างเชื่อมขวางเป็นร่างแหแบบสามมิติ (three-dimensional structure) อีกทั้งอนุภาคยางละเอียดยิ่งยวดที่วัลคาไนซ์อย่างสมบูรณ์ของยางธรรมชาติจะถูกใช้เป็นสารตัวเติมเพิ่มความเหนียวในพอลิเมอร์ ชนิดพอลิเบนซอกซาซีน ผลของความทนทานต่อแรงกระแทกของพอลิเบนซอกซาซีนคอมพอสิทจะมีค่าสูงที่สุดเมื่อเติมด้วยยางธรรมชาติที่ถูกวัลคาไนซ์ด้วยปริมาณลำอิเล็กตรอน 350 กิโลเกรย์ และค่าความทนทานต่อแรงกระแทกของพอลิเบนซอกซาซีนคอมพอสิทที่ถูกปรับปรุงความเหนียวด้วยอนุภาคยางที่มีการเติมโคเอเจนต์จะมีค่าสูงสุดที่ปริมาณการเติมโคเอเจนต์ที่ 3 phr จากผลการทดลองนี้ สรุปได้ว่าอนุภาคยางที่วัลคาไนซ์อย่างสมบูรณ์จะสามารถปรับปรุงความต้านทานต่อแรงกระแทกของพอลิเบนซอกซาซีนคอมพอสิท รวมทั้งยังสามารถใช้เป็นสารตัวเติมเพิ่มความเหนียวในพอลิเบนซอกซาซีนได้อีกด้วย


การสร้างและตรวจสอบคุณลักษณะของแอคชัวเอเตอร์นิวเมติกส์สำหรับระบบของไหลจุลภาค, ศิวพล ฉายแก้ว Jan 2017

การสร้างและตรวจสอบคุณลักษณะของแอคชัวเอเตอร์นิวเมติกส์สำหรับระบบของไหลจุลภาค, ศิวพล ฉายแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้พัฒนาแอคชัวเอเตอร์นิวเมติกส์ซึ่งมีโครงสร้างที่สำคัญอยู่ 3 ส่วน คือ ชั้นควบคุมสำหรับลมอัด ชั้นของไหลสำหรับของไหลที่มีอนุภาคพลาสติกหรือเซลล์ ฟิล์มบางที่กั้นกลางระหว่างชั้นควบคุมและชั้นของไหล อย่างไรก็ตามวิธีการสร้างฟิล์มบางในอดีตค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการศึกษาจึงมี 2 ประเด็น คือ การศึกษากระบวนการสร้างชิพของไหลจุลภาคและฟิล์มบางด้วยชั้นสังเวย กับการศึกษาผลของขนาดของแอคชัวเอเตอร์กับการเปลี่ยนแปลงแรงดันต่อระยะกระดกของฟิล์มบาง ขั้นตอนการสร้างแอคชัวเอเตอร์เริ่มจากชั้นควบคุม ที่สามารถสร้างได้ด้วยวิธีซอฟต์ลิโทกราฟ (Soft Lithography) ด้วยสารโพลีไดเมททิลไซโลเซน (Polydimethylsiloxane-PDMS) ในขณะที่ฟิล์มบางจำเป็นต้องใช้เทคนิคการปั่นเหวี่ยงสารโพลีไดเมททิลไซโลเซนบนชั้นสังเวย โดยชั้นสังเวยได้ใช้สารโพลีไวนิลแอลกฮอลล์ (Polyvinyl Alcohol) หลังจากจึงนำชิ้นงานทั้งสองมาประสานกันด้วยเทคนิคการคายประจุแบบโคโรน่า แล้วกำจัดชั้นสังเวยออกด้วยน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 120 oC ในขั้นตอนสุดท้ายจึงนำพอร์ตลมอัดมาเชื่อมต่อและประสานกับกระจกสไลด์ สำหรับการทดสอบสมบัติของแอคชัวเอเตอร์นิวเมติกส์จะเริ่มจากการหาค่าความแข็งแรงสำหรับการเชื่อมประสานชิ้นงานทั้งสองส่วน ซึ่งพบว่าแรงดันอากาศสูงสุดที่ไม่ทำให้ชิ้นงานฉีกขาดเท่ากับ 25 kPa ในขั้นตอนต่อไปจึงหาระยะกระดกในช่วงความดัน 0-27 kPa สำหรับแอคชัวเอเตอร์ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีฟิล์มบางหนาประมาณ 100 µm ผลการทดลองแสดงว่าการควบคุมพารามิเตอร์ในกระบวนการผลิตชิ้นงานยังทำได้ไม่ดีนัก และมีผลต่อระยะกระดกตัวค่อนข้างมาก โดยระยะกระดกที่ 25 kPa สำหรับแอคชัวเอเตอร์ขนาด 1500, 2000 และ 2500 µm เท่ากับ 238±52, 354±43 and 493±33 µm ตามลำดับ เมื่อกระตุ้นแอคชัวเอเตอร์ที่ 1, 5 และ 20 Hz ที่แรงดันอากาศคงที่เท่ากับ 25 kPa พบว่าแอคชัวเตอร์ทุกขนาดจะตอบสนองได้ดีที่ความถี่ 1 Hz นอกจากนั้นยังพบว่าเมื่อกระตุ้นไปแล้วจำนวน 50,000 ครั้ง ระยะกระดกของแอคชัวเตอร์ทุกขนาดก็ไม่เปลี่ยนแปลงนัก ส่วนการทดสอบการรั่วไหลของของเหลวที่แรงดันอากาศ 35 kPa พบว่าสามารถใช้แอคชัวเอเตอร์นิวเมติกส์ขนาด 2000 µm ปิดกั้นการไหลของของเหลวที่ 0.5 ml/min แต่ไม่สามารถปิดกั้นการไหลที่ 1 ml/min ในท่อลึก 300 µm ได้


การวิเคราะห์คานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, ธีร์ธวัช โกยแก้วพริ้ง Jan 2017

การวิเคราะห์คานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, ธีร์ธวัช โกยแก้วพริ้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำลังรับแรงของคานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กโดยการวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยทำการสร้างแบบจำลองคานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนโดยใช้อิพอกซีและสลักเกลียวเพื่อยึดแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กด้านข้างคานทั้งสองด้าน จากนั้นวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ และเปรียบเทียบการวิเคราะห์กับผลการทดลองจากงานวิจัยในอดีต จากผลการวิเคราะห์พบว่าแบบจำลองสามารถให้ค่ากำลังรับแรงเฉือนของคานได้ใกล้เคียงกับผลการทดลอง โดยมีความคลาดเคลื่อนมากที่สุด 6% เมื่อเปรียบเทียบผลการทดลองแล้วจึงทำการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อกำลังรับแรงเฉือนของคานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก ได้แก่ ความหนาของแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก กำลังรับแรงอัดของแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก ค่าพลังงานการแตกหัก (Gf) ของแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก จำนวนสลักเกลียว และการจัดเรียงตัวของสลักเกลียว แล้วเปรียบเทียบผลกับคานคอนกรีตที่ไม่ได้เสริมกำลัง จากการวิเคราะห์พบว่าการเสริมกำลังด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่มีความหนา 10 15 และ 20 มิลลิเมตร ทำให้คานสามารถรับแรงเฉือนเพิ่มขึ้น 101% 106% และ 110% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก พบว่ากำลังรับแรงเฉือนมีค่าเพิ่มขึ้น 87% 101% และ 104% เมื่อกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตมีค่าเท่ากับ 50 70 และ 90 MPa ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่าเมื่อแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยมีค่า Gf เท่ากับ 4.04 8.82 และ 9.66 N/mm สามารถเพิ่มกำลังรับแรงเฉือน 100% 101% และ 106% เมื่อเทียบกับคานคอนกรีตที่ไม่ได้เสริมกำลัง ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนสลักเกลียว พบว่าการใช้สลักเกลียวจำนวน 4 6 8 และ 10 สลักเกลียว ทำให้กำลังรับแรงเฉือนมีค่าสูงขึ้น 71% 88% 101% และ 92% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการจัดเรียงตัวของสลักเกลียว พบว่าการจัดเรียงตัวสลักเกลียวแบบสมมาตรทำให้คานรับแรงเฉือนได้น้อยกว่าการจัดเรียงตัวของสลักเกลียวแบบทแยง


การพัฒนาระบบฐานความรู้สำหรับตรวจสอบรายละเอียดของแบบรูปและรายการประกอบแบบที่ไม่สมบูรณ์ในโครงการก่อสร้างอาคารสูง, สิรีธร นะมะมุติ Jan 2017

การพัฒนาระบบฐานความรู้สำหรับตรวจสอบรายละเอียดของแบบรูปและรายการประกอบแบบที่ไม่สมบูรณ์ในโครงการก่อสร้างอาคารสูง, สิรีธร นะมะมุติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบที่ผิดพลาดส่งผลกระทบต่อโครงการในหลายด้าน เช่น ต้นทุน, ระยะเวลา, คุณภาพ และความปลอดภัย โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างอาคารสูงที่มีความซับซ้อนอาจพบปัญหาการขาดรายละเอียดของแบบรูปและรายการประกอบแบบจากความผิดพลาดของมนุษย์ งานวิจัยในอดีตพยายามเสนอการลดข้อผิดพลาดโดยเน้นกรณีศึกษาของการออกแบบไม่สมบูรณ์ที่เคยเกิดขึ้นในโครงการ แต่ยังขาดการพัฒนาระบบเพื่อป้องกันการเกิดความผิดพลาด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุในเอกสารการออกแบบที่ไม่สมบูรณ์ และพัฒนาระบบฐานความรู้สำหรับสนับสนุนการตรวจสอบเอกสารการออกแบบที่ไม่สมบูรณ์ของผู้ออกแบบ งานวิจัยนี้แบ่งการศึกษาและเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การสำรวจจากแบบสอบถามเกี่ยวกับสาเหตุเรื่องแบบรูปและรายการประกอบแบบผิดพลาด และการสัมภาษณ์สาเหตุและปัญหาจากเอกสารการออกแบบที่ไม่สมบูรณ์เพื่อนำมาพัฒนาระบบฐานความรู้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนที่ 1 พบว่าเอกสารการออกแบบไม่สมบูรณ์เป็นรูปแบบที่พบมาก และช่วงระหว่างการก่อสร้างโครงการยังพบการปรับปรุงและแก้ไขเอกสารการออกแบบจำนวนมาก ซึ่งคำแนะนำของผู้ตอบแบบสอบถามสำหรับการแก้ปัญหาการออกแบบผิดพลาดคือการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดจากกรณีศึกษาในโครงการก่อสร้างที่ผ่านมา และการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ในการทำงานก่อสร้างเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดความผิดพลาด รวมถึงการหาแนวทางป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด ผลการสัมภาษณ์ส่วนที่ 2 เรื่องการออกแบบไม่สมบูรณ์ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพงานในโครงการก่อสร้างอาคารสูงพบว่า สาเหตุเกิดจากแบบรูปขาดรายละเอียดต่างๆของวัสดุ และรายการประกอบแบบขาดรายละเอียดขั้นตอนการทำงาน ขั้นตอนสุดท้ายคือการสร้างระบบฐานความรู้จากแผนภาพต้นไม้ตัดสินใจ โดยแผนภาพต้นไม้ตัดสินใจถูกพัฒนาจากข้อมูลกรณีศึกษาการออกแบบไม่สมบูรณ์ที่ส่งผลกระทบด้านคุณภาพจากการสัมภาษณ์ หลังจากนั้นนำแผนภาพต้นไม้ตัดสินใจมาประเมินค่าความน่าเชื่อถือและความถูกต้อง ซึ่งแผนภาพที่ผ่านเกณฑ์จะถูกนำมาพัฒนาระบบฐานความรู้สำหรับตรวจสอบแบบรูปและรายการประกอบแบบที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งระบบนี้สามารถสนับสนุนผู้ออกแบบที่ขาดประสบการณ์เพื่อลดข้อผิดพลาดในการออกแบบ


การปรับปรุงผิว Incoloy 825 ด้วยวิธีอะลูมิไนซิงแบบผง, วิมุติ ตงศิริ Jan 2017

การปรับปรุงผิว Incoloy 825 ด้วยวิธีอะลูมิไนซิงแบบผง, วิมุติ ตงศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในวิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการปรับปรุงผิวโลหะผสมเกรด INCOLOY 825 ด้วยวิธีอะลูมิไนซิง แบบผง ใช้อุณหภูมิการทำอะลูมิไนซิงที่ 700, 800 และ 900 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1, 2.25, 4 และ 6.25 ชั่วโมง โครงสร้างจุลภาคของชั้นเคลือบอะลูมิไนด์ตรวจสอบและวิเคราะห์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์แสง กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และเทคนิควิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ ทดสอบการเกิดออกซิเดชันที่อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 50 ชั่วโมง พบว่ามีชั้นเคลือบ 2 ชั้น ชั้นเคลือบด้านนอกจะประกอบไปด้วยเฟสของสารประกอบ Ni2Al3, NiAl3 และ Fe2Al5 และชั้นเคลือบด้านในจะประกอบไปด้วยเฟสของสารประกอบ Ni3Al และ Fe3Al ผลจากชุดเอกซ์เรย์สเปคโตรสโคปีแบบกระจายพลังงานแสดงให้เห็นการกระจายตัวของธาตุโครเมียมบริเวณชั้นรอยต่อระหว่างชั้นเคลือบด้านในกับวัสดุพื้น ผลจากเทคนิควิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์แสดงให้เห็นว่าธาตุโครเมียมที่อยู่บริเวณชั้นรอยต่อจะอยู่ในรูปของอะตอมของธาตุโครเมียม ความหนาเฉลี่ยของชั้นเคลือบจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการเคลือบเพิ่มขึ้น ค่าพลังงานก่อกัมมันต์สำหรับการทำอะลูมิไนซิงแบบผงบนโลหะผสมเกรด INCOLOY 825 มีค่าเท่ากับ 70.64 กิโลจูลต่อโมล ผลการทดสอบการเกิดออกซิเดชันแสดงให้เห็นว่าชิ้นงานที่ผ่านการเคลือบจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าชิ้นงานโลหะผสมเกรด INCOLOY 825


การออกแบบและสร้างชุดต้นแบบของเครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสมของแผงเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับระบบผลิตไฟฟ้า โดยใช้วงจรคอนเวอร์เตอร์แบบซีต้า ด้วยวิธีการควบคุมจุดกำลังสูงสุดแบบโมดิฟายอะแดปทีฟการรบกวนและการสังเกต, ดวงพร เล็กอุทัย Jan 2017

การออกแบบและสร้างชุดต้นแบบของเครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสมของแผงเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับระบบผลิตไฟฟ้า โดยใช้วงจรคอนเวอร์เตอร์แบบซีต้า ด้วยวิธีการควบคุมจุดกำลังสูงสุดแบบโมดิฟายอะแดปทีฟการรบกวนและการสังเกต, ดวงพร เล็กอุทัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอเครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสมของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยประกอบด้วยวงจรคอนเวอร์เตอร์แบบซีต้าและกระบวนการหาจุดกำลังสูงสุดแบบโมดิฟายอะแดปทีฟการรบกวนและการสังเกต เนื่องจากการต่อระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์กับโหลดคงที่ จะทำให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด หากความเข้มแสงที่ฉายส่องให้กับแผง ไม่เหมาะสมกับค่าความต้านทานโหลด เครื่องปรับจุดการทำงานนี้จะประพฤติตัวเสมือนโหลด ที่สามารถปรับค่าความต้านทานได้อัตโนมัติ ช่วยให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเมื่อต่อกับโหลดคงที่แม้จะถูกบังแสงแดด และเป็นกำลังไฟฟ้าสูงสุด ณ ความเข้มแสงขณะนั้น วิทยานิพนธ์นี้ได้จำลองแบบโดยใช้โปรแกรม PSIM และสร้างชุดต้นแบบของเครื่องปรับ จุดทำงานที่เหมาะสมเพื่อนำมาทดลองกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 1 แผง ขนาด 20 วัตต์ และ 2 แผงอนุกรม รวม 40 วัตต์ ที่ความเข้มแสงเต็มที่ 100% หรือเท่ากับ 900 วัตต์/ตารางเมตร และ ที่ความเข้มแสงลดลงเหลือ 80% 50% และ 20% ตามลำดับ จากผลการทดสอบพบว่าเครื่องปรับ จุดทำงานที่เหมาะสมสามารถช่วยให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดทุกค่า ความเข้มแสง แต่เนื่องจากการสูญเสียภายในเครื่องปรับจุดทำงานจึงทำให้มีผลต่อกำลังไฟฟ้าที่โหลดได้รับ กล่าวคือ ที่ความเข้มแสง 100% และ 80% แผงเซลล์ฯ ให้กำลังไฟฟ้ามากกว่ากรณีที่ไม่มี เครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามโหลดได้รับกำลังไฟฟ้ามากกว่า สำหรับกรณีที่มี การใช้เครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสมของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ณ ความเข้มแสงในการทดลองเท่ากับ 50% และ 20%