Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Civil and Environmental Engineering

PDF

Chulalongkorn University

2019

Articles 31 - 60 of 63

Full-Text Articles in Engineering

การบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นต่ำโดยถังปฏิกรณ์ฟิล์มชีวภาพชนิดตัวกลางเคลื่อนที่, วราลี วิศาลโภคะ Jan 2019

การบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นต่ำโดยถังปฏิกรณ์ฟิล์มชีวภาพชนิดตัวกลางเคลื่อนที่, วราลี วิศาลโภคะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นต่ำโดยถังปฏิกรณ์ฟิล์มชีวภาพชนิดตัวกลางเคลื่อนที่ (Moving Bed Biofilm Reactor, MBBR) ในการศึกษาทำการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการโดยใช้ถังปฏิกรณ์ปริมาตร 2 ลิตร (ปริมาตรถังที่ยังไม่มีตัวกลาง) จำนวน 2 ถังต่ออนุกรมกัน เติมตัวกลางพลาสติกของบริษัท Aqwise ปริมาณร้อยละ 50 ของปริมาตรถัง เดินระบบแบบต่อเนื่องด้วยน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้นบีโอดี 50-200 มก./ล. และควบคุมอัตราการเติมอากาศที่ 2.5 ล./นาที การทดลองช่วงแรกทำการทดลองโดยเปลี่ยนแปลงค่าอัตราภาระสารอินทรีย์ต่อพื้นที่ตัวกลาง (Surface Area Loading Rate, SALR) ที่เข้าถังแรกเท่ากับ 2.0, 3.0, 3.9, 7.9 ก.ซีโอดี/ตร.ม.-วัน และความเข้มข้นแอมโมเนียคงที่ 20 มก./ล. เวลากักน้ำถังละ 3 ชม. ผลการทดลองพบว่า ทั้ง 4 สภาวะที่ทำการเดินระบบ มีประสิทธิภาพการบำบัดสารอินทรีย์และบำบัดแอมโมเนียไนโตรเจนเฉลี่ย ร้อยละ 97.9 และ 98.9 ตามลำดับ และเมื่ออัตราภาระสารอินทรีย์ต่อพื้นที่ตัวกลางเพิ่มขึ้น ฟิล์มชีวภาพที่ยึดเกาะตัวกลางจะมีความหนามากขึ้น อัตราการหลุดของฟิล์มชีวภาพสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณจุลชีพแขวนลอยในระบบเพิ่มขึ้น ที่อัตราภาระสารอินทรีย์ต่อพื้นที่ตัวกลางสูงสุดที่ 7.9 ก.ซีโอดี/ตร.ม.-วัน ปริมาณจุลชีพที่ยึดเกาะบนตัวกลางมีค่าสูงถึง 6,650 มก.ของแข็งแขวนลอยระเหยได้/ล.ของถังปฏิกรณ์ ปริมาณจุลชีพแขวนลอยมีค่าเท่ากับ 141.2 มก.ของแข็งแขวนลอยระเหยได้/ล. การทดลองช่วงที่ 2 เป็นการศึกษาผลของเวลากักน้ำต่อการทำงานของระบบ MBBR ทำการเปลี่ยนแปลงค่าเวลากักน้ำที่ 4, 3, 2 และ 1 ชั่วโมง โดยกำหนดอัตราภาระสารอินทรีย์ต่อพื้นที่ตัวกลางคงที่ที่ 4.87 ก.บีโอดี/ตร.ม./วัน ผลการทดลองพบว่า เวลากักน้ำไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี โดยระบบสามารถกำจัดซีโอดีได้มากกว่าร้อยละ 90 ทั้ง 4 สภาวะที่เดินระบบ แต่เวลากักน้ำมีผลกับประสิทธิภาพการบำบัดแอมโมเนีย โดยเมื่อเวลากักน้ำลดลงส่งผลให้ประสิทธิภาพการบำบัดแอมโมเนียของระบบสูงขึ้น เนื่องจากที่เวลากักน้ำต่ำ จุลชีพแขวนลอยในระบบมีปริมาณน้อยลง ส่งผลให้จุลชีพที่ยึดเกาะบนตัวกลางเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้นที่เวลากักน้ำต่ำสุด ฟิล์มชีวภาพที่ยึดเกาะบนตัวกลางจึงมีความหนามากที่สุด โดยมีค่าสูงถึง 8,670 มก.ของแข็งแขวนลอยระเหยได้/ล.ของถังปฏิกรณ์ ส่วนปริมาณจุลชีพแขวนลอยจะมีค่าต่ำสุด โดยมีค่าเท่ากับ 52.6 มก.ของแข็งแขวนลอยระเหยได้/ล. …


An Application Of Line Of Balance And Building Information Modeling For Optimal Resource And Schedule: A Case Study Of An Elevated Highway Construction, Thanakon Uthai Jan 2019

An Application Of Line Of Balance And Building Information Modeling For Optimal Resource And Schedule: A Case Study Of An Elevated Highway Construction, Thanakon Uthai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Project scheduling is an essential tool to support construction operations completing the project under limited time and cost. The linear infrastructure project such as elevated highway construction involves a large scale of working area and complexity of management. Recently, schedules are planned manually based on planners’ experience and intuition which may consume time and lead to human-errors. Moreover, the presentations of schedule by using the existing methods dose not cover the overview of projects in various aspects. The objective of this research is to establish an application of Line of Balance (LOB) and Building Information Modeling (BIM) for optimal resource …


Development Of A Readiness Model For The Application Of Precast Concrete In Housing Construction: A Case Study In Myanmar, Aung Phone Myint Jan 2019

Development Of A Readiness Model For The Application Of Precast Concrete In Housing Construction: A Case Study In Myanmar, Aung Phone Myint

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Precast concrete construction has been verified that it is one of the solutions for the growth of urbanization and housing development. In addition, it helps to reduce the labor requirement and material wastage in construction. However, the use of precast concrete technology is not still popular and not widely used within the Myanmar housing construction industry. Moreover, there is no readiness assessment model encompassed the readiness of construction industry including major stakeholders who are representatives of the construction industry for accepting the new technology. Therefore, the aim of this study is to develop a readiness model that can assess the …


Surface Water-Groundwater Interaction Processes For Groundwater Pumping Management In Saigon River Basin, Long Thanh Tran Jan 2019

Surface Water-Groundwater Interaction Processes For Groundwater Pumping Management In Saigon River Basin, Long Thanh Tran

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since the 1990s, the excessive extraction of groundwater of Saigon River basin is dramatically increased and groundwater resources of Saigon River basin have been facing dramatically drawdown groundwater level in the downstream area. The study attempted to develop groundwater modeling through employing SW-GW interaction parameters and incorporate the concept of sustainable pumping yield to detect optimal pumping management under growing water demand in Saigon River Basin. According to field observed soil moisture, the study recognized the average monthly percolation rate of sand clay loam, sand clay, and clay varies 2-4.5 mm/day, 1.5-3.5 mm/day, and 0.5-2 mm/day, respectively to rainfall intensity …


ผลของตัวกลางต่อการกำจัดซีโอดีและไนโตรเจน ในถังปฏิกรณ์ฟิล์มชีวภาพเบดเคลื่อนที่, เพ็ญพนิต โพธิ์สวัสดิ์ Jan 2019

ผลของตัวกลางต่อการกำจัดซีโอดีและไนโตรเจน ในถังปฏิกรณ์ฟิล์มชีวภาพเบดเคลื่อนที่, เพ็ญพนิต โพธิ์สวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาชนิดตัวกลางและปริมาณการบรรจุที่เหมาะสมต่อการเกาะของจุลินทรีย์ รวมถึงประเมินประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดชีวภาพชนิดเบดเคลื่อนที่โดยใช้ตัวกลาง 2 ชนิดคือตัวกลางพีวีเอเจล และตัวกลางพลาสติกพีอี นอกจากนี้ยังศึกษาผลของการเติมอนุภาคเหล็กนาโนที่ส่งผลต่อการสร้างไบโอฟิล์ม โดยทดลองในถังปฏิกรณ์ที่มีระยะเวลากักเก็บ 4 ชั่วโมง ใช้น้ำเสียสังเคราะห์ซึ่งเตรียมจากกลูโคสที่ความเข้มข้น 500 1,000 2,000 และ 3,000 มิลลิกรัมซีโอดีต่อลิตร มีอัตราน้ำเสียเข้าระบบ 18 ลิตรต่อวัน ผลการทดลองพบว่าปริมาณการบรรจุร้อยละ 10 20 และ 30 ของตัวกลางพีวีเอเจล มีประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีอยู่ที่ร้อยละ 86 - 89 โดยปริมาณบรรจุตัวกลางพีวีเอเจลที่ร้อยละ 20 ให้ประสิทธิภาพสูงที่สุดคือร้อยละ 89.13 ± 6.12 และมีอัตราการบำบัดซีโอดีจำเพาะเท่ากับ 425.86 ± 69.79 มิลลิกรัมซีโอดีต่อลิตรต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบชนิดตัวกลางพลาสติกพีอีกับตัวกลางพีวีเอเจล พบว่าการใส่ตัวกลางพลาสติกทั้งสองชนิดที่มีพื้นที่ผิวเท่ากันให้ประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีเฉลี่ยไม่แตกต่างกันในช่วงร้อยละ 78.62 - 80.25 (ทดสอบทางสถิติด้วยเทคนิค t-test) กรณีที่ทดลองด้วยอนุภาคเหล็กนาโน พบว่ามีประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ทดสอบด้วยเทคนิค t-test) ส่วนการบำบัดไนโตรเจนในระบบชีวภาพเบดเคลื่อนที่พบว่าทุกการทดลองมีประสิทธิภาพการบำบัดทีเคเอ็นอยู่ในช่วงร้อยละ 33.88 – 38.49 ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญ (ทดสอบทางสถิติด้วยเทคนิค t-test) สำหรับการวิเคราะห์การเกาะของจุลินทรีย์บนตัวกลางด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่าจุลินทรีย์จะเกาะติดเฉพาะรอบนอกของตัวกลางพีวีเอเจล และเกาะอยู่พื้นที่ช่องว่างภายในของตัวกลางพลาสติกพีอี และมีรูปร่างส่วนใหญ่ของจุลินทรีย์เป็นกลุ่มเส้นใย แต่เมื่อใช้อนุภาคเหล็กนาโนในการทดลองจะพบสัดส่วนของจุลินทรีย์รูปท่อนเพิ่มสูงขึ้น ส่วนองค์ประกอบทางเคมีของสารไบโอฟิล์มพบว่ามีสัดส่วนโปรตีนสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตในทุกการทดลอง แต่ตัวกลางพีวีเอเจลมีความเข้มข้นของโปรตีนน้อยกว่าตัวกลางพลาสติกพีอี ดังนั้นจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าชนิด รูปทรงของตัวกลาง และการเติมอนุภาคเหล็กนาโนส่งผลเพียงบางส่วนต่อแนวโน้มของการเกาะติดของจุลินทรีย์ แต่ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบําบัดซีโอดีและไนโตรเจน


ผังการไหลและวัฏจักรชีวิตของการจัดการกรดซัลฟิวริกจากแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด, กนกพร อินแตง Jan 2019

ผังการไหลและวัฏจักรชีวิตของการจัดการกรดซัลฟิวริกจากแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด, กนกพร อินแตง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558-2560 มีปริมาณแบตเตอรี่ใช้แล้วชนิดตะกั่ว-กรดคิดเป็นร้อยละ 88 จากแบตเตอรี่ใช้แล้วทั้งหมด ซึ่งองค์ประกอบหลักอย่างตะกั่ว และ พลาสติกมีการรีไซเคิลอย่างเป็นระบบ แต่กรดซัลฟิวริกในแบตเตอรี่นั้น มักถูกจัดการโดยการปล่อยผสมรวมกับน้ำเสียของโรงงานหรือปรับสภาพแล้วแยกตะกอนที่เกิดขึ้นไปฝังกลบ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเปรียบเทียบแนวทางการจัดการกรดซัลฟิวริกใช้แล้วจากแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด ผลการศึกษาพบว่าปริมาณของแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดและปริมาณกรดซัลฟิวริกในประเทศไทยด้วยการสร้างแผนผังการไหล พบว่ามีการส่งออกแบตเตอรี่มากกว่าการนำเข้า และ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดใช้แล้วมีแนวโน้มถูกจัดการอย่างถูกต้องที่เพิ่มขึ้น การตกผลึกยิปซัมด้วยการเติมแคลเซียมไฮดรอกไซด์ พบว่าปริมาณตะกอนแคลเซียมซัลเฟตที่เกิดขึ้นแปรผันตามค่าพีเอชสุดท้ายของสารละลายตะกอนที่ได้ส่วนใหญ่เป็นยิปซัมในระบบผลึกเป็นโมโนคลินิก เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของกรด ผลึกรูปแผ่นมีขนาดและมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างลดลง ขณะที่ผลึกรูปแท่งและรูปเข็มมีความยาวและปริมาณเพิ่มขึ้นและ การตกตะกอนแคลเซียมซัลเฟตจากกรดซัลฟิวริกใช้แล้วจากแบตเตอรี่ ด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ10 พบว่าโลหะที่เจือปน เช่น แมกนีเซียม มีผลทำให้ขนาดของผลึกเล็กลงเมื่อเทียบกับผลึกยิปซัมจากธรรมชาติ ตะกอนที่ได้เป็นยิปซัมในระบบผลึกเป็นโมโนคลินิกและ เกิดขึ้นรูปแท่งเพียงอย่างเดียวในการเปรียบเทียบผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของการจัดการกรดซัลฟิวริกใช้แล้ว1ตัน ทั้ง 3 วิธี ได้แก่ การฟื้นฟูสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่การปรับสภาพให้เป็นกลาง และ การผลิตเป็นยิปซัมในโปรแกรม SimaPro 8.3 และ ใช้วิธีการคำนวณผลกระทบ CML-IA baseline พบว่าผลกระทบหลักของทั้ง 3 วิธี คือ ด้านการก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อมนุษย์ ด้านการก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อแหล่งน้ำจืด และ ด้านการก่อให้เกิดสภาวะความเป็นกรด โดยสาเหตุหลักของแต่ละวิธีมาจากการใช้ไฟฟ้า ตะกอนไปหลุมฝังกลบ และ น้ำเสีย ตามลำดับ


การบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นทีเคเอ็นสูงโดยระบบร่วมถังโปรยกรองและถังกรองกึ่งไร้อากาศ, ชุตาภา มงคลอุปถัมภ์ Jan 2019

การบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นทีเคเอ็นสูงโดยระบบร่วมถังโปรยกรองและถังกรองกึ่งไร้อากาศ, ชุตาภา มงคลอุปถัมภ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการบำบัดน้ำเสียทีเคเอ็นความเข้มข้นสูง โดยใช้ระบบถังโปรยกรองร่วมกับถังกรองกึ่งไร้อากาศที่พีเอช 6 เพื่อป้องกันกลิ่นของก๊าซแอมโมเนีย โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ซึ่งเตรียมจากน้ำตาลกลูโคสที่ความเข้มข้น 2,000 มก.ซีโอดี/ล.และ 150 มก.ไนโตรเจน/ล. โดยแบ่งออกเป็น 4 การทดลอง คือ การทดแทนน้ำเสียใหม่ร้อยละ 16 32 50 และ 68 โดยเดินระบบในถังโปรยกรองเพื่อกำจัดซีโอดีและบำบัดแอมโมเนียไปเป็นไนเตรทแล้วบำบัดต่อด้วยถังกรองกึ่งไร้อากาศเพื่อกำจัดไนเตรทแล้วเวียนน้ำกลับไปที่ถังโปรยกรองก่อนจะถ่ายน้ำที่บำบัดแล้วออกและทดแทนด้วยน้ำเสียสังเคราะห์ใหม่ไปเรื่อยๆ จนประสิทธิภาพของระบบคงที่ ผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีของระบบโดยรวมคิดเป็น ร้อยละ 97-98 เป็นประสิทธิภาพของถังกรองไร้อากาศร้อยละ 86-93 และถังโปรยกรองอีกร้อยละ 19-75 และมีอัตราการบำบัดซีโอดีสูงสุดของถังกรองกึ่งไร้อากาศและถังโปรยกรองอยู่ที่ 459.82±13.44 และ 117.80±8.45 มก.ซีโอดี/ล.-วัน ตามลำดับ มีประสิทธิภาพในการบำบัดแอมโมเนียของทั้งระบบอยู่ที่ร้อยละ 53-100 และมีอัตราไนตริฟิเคชันจำเพาะสูงสุดที่ถังโปรยกรองอยู่ที่ 1.37 ก.-ไนโตรเจน/ตร.ม.-วัน และมีอัตราดีไนตริฟิเคชันจำเพาะสูงสุดที่ถังกรองกึ่งไร้อากาศอยู่ที่ 6.15±0.56 ก.-ไนโตรเจน/ตร.ม.-วัน ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าระบบร่วมนี้ที่การทดแทนน้ำเสียร้อยละ 50 ดีที่สุด ซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำบัดไนโตรเจนทั้งหมดได้สูงถึงร้อยละ 37 และมีประสิทธิภาพในการบำบัดแอมโมเนียที่ถังโปรยกรองสูงถึงร้อยละ 97 แต่ประสิทธิภาพในการบำบัดไนเตรทที่ถังกรองกึ่งไร้อากาศและซีโอดีของแต่ละการทดแทนน้ำเสียมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันมากนักอยู่ที่ประมาณร้อยละ 95-99


การทำนายปริมาณการใช้สารส้มในระบบผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอุดรธานี โดยใช้โปรแกรมเหมืองข้อมูล, จินตวัฒน์ ละชินลา Jan 2019

การทำนายปริมาณการใช้สารส้มในระบบผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอุดรธานี โดยใช้โปรแกรมเหมืองข้อมูล, จินตวัฒน์ ละชินลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้โปรแกรม RapidMiner V.9.2 ใช้ทำนายปริมาณสารส้มที่ใช้ในระบบผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอุดรธานี โดยข้อมูลอินพุต 4 ตัวแปร คือ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำดิบ ความขุ่นของน้ำดิบ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำก่อนกรอง และความขุ่นของน้ำก่อนกรอง ข้อมูลเอาต์พุต คือ ปริมาณสารส้ม ในการสร้างแบบจำลองใช้ข้อมูลตั้งแต่ตุลาคม 2556 ถึงเมษายน 2561 จำนวน 4,029 ชุด ใช้ทฤษฎี 6 ทฤษฎี ดังนี้ W-LinearRegression W-MultilayerPerceptron W-REPTree W-M5P W-M5Rules และ Gradient Boosted Tree (GBT) และทดลองทั้งหมด 24 รูปแบบ เพื่อหาแบบจำลองที่ดีที่สุดในแต่ละรูปแบบ จากนั้นตรวจสอบแบบจำลองโดยใช้ข้อมูลชุดเดิมที่ใช้สร้างแบบจำลองและข้อมูลตั้งแต่พฤษภาคม 2561 ถึงเมษายน 2562 จำนวน 1,089 ชุด นอกจากนี้นำมาประยุกต์ใช้ลดปริมาณการใช้สารส้ม การวิเคราะห์ความอ่อนไหว จากการทดลองสรุปได้ว่า แบบจำลองที่สามารถใช้ในแต่ละรูปแบบได้ มีทั้งหมด 10 แบบจำลอง ซึ่งแบบจำลองที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด คือ แบบจำลองที่ 8 ใช้ในโรงผลิตน้ำบ้านนิคมในช่วงฤดูร้อนเท่านั้น โดยใช้ทฤษฎี GBT ได้ค่า RMSE เท่ากับ 2.049 ค่า MAE เท่ากับ 1.264 เมื่อนำแบบจำลองทั้ง 10 แบบจำลองมาใช้งาน พบว่า แบบจำลองที่ 1 5 6 และ 7 ใช้ในโรงผลิตน้ำบ้านถ่อน แบบจำลองที่ 2 8 และ 9 ใช้ในโรงผลิตน้ำบ้านนิคม แบบจำลองที่ 3 และ 10 ใช้ร่วมทั้งโรงผลิตน้ำบ้านถ่อนและบ้านนิคม และแบบจำลองที่ 4 ใช้ได้ทั้ง 3 โรงผลิตน้ำเฉพาะฤดูร้อน เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ลดปริมาณการใช้สารส้ม พบว่า แบบจำลองที่ลดปริมาณการใช้สารส้มได้มากที่สุด คือ …


การดูดซับไอบูโพรเฟนโดยตัวกลางดูดซับแบบโครงข่ายโลหะสารอินทรีย์ Mil-53(Al) ที่เคลือบเมโสพอรัสซิลิกา, บุญฤทธิ์ ศิริรังสรรค์กุล Jan 2019

การดูดซับไอบูโพรเฟนโดยตัวกลางดูดซับแบบโครงข่ายโลหะสารอินทรีย์ Mil-53(Al) ที่เคลือบเมโสพอรัสซิลิกา, บุญฤทธิ์ ศิริรังสรรค์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประส่งค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับสารตกค้างจากยากลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ไอบูโพรเฟน (IBP) ในนำ้เสียสังเคราะห์ โดยตัวกลางดูดซับโครงข่ายโลหะอินทรีย์ MIL-53(Al) และ MIL-53(Al) ที่เคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาที่สัดส่วนต่างๆ นอกจากนี้ยังศึกษาเสถียรภาพของ MIL-53(Al) ในนำ้เสียสังเคราะห์ทั้งก่อนและหลังการเคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกา รวมถึงการศึกษาการนำตัวกลางดูดซับกลับมาใช้ใหม่ภายหลังจากฟื้นสภาพตัวกลางดูดซับด้วยเมธานอล จากผลการทดลองกระบวนการดูดซับภายใต้ระบบทีละเท พบว่า MIL-53(Al) มีอัตราเร็วในการดูดซับไอบูโพรเฟนสูงกว่าถ่านกัมมันต์ชนิดผง (PAC) โดยเข้าสู่สมดุลภายใน 75 นาที และเมื่อทำการเคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาที่สัดส่วนต่างๆ พบว่าอัตราเร็วในการดูดซับเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยใช้ระยะเวลาในการเข้าสู่สมดุลภายใน 25 และจลนพลศาสตร์การดูดซับของตัวกลางดูดซับทั้งหมดสอดคล้องกับจลนพลศาตร์การดูดซับเสมือนลำดับที่ 2 ในขณะที่ตัวกลางดูดซับเมโสพอรัสซิลิกาเพียงอย่างเดียวไม่พบการดูดซับ โดย MIL-53(Al) มีความสามารถในการดูดซับสูงสุด เมื่อเคลือบเมโสพอรัสซิลิกาที่สัดส่วนโดยโมลของ MIL-53(Al) ต่อเตตระเอธิลออร์โธซิลิเกต (TEOS) เท่ากับ 1:0.48 มีความสามารถในการดูดซับไอบูโพรเฟนสูงกว่าสัดส่วนอื่นๆ และไอโซเทอมการดูดซับสอดคล้องกับแบบจำลองของเรดลิช-ปีเตอร์สัน ถึงแม้ว่าการเคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาจะมีประสิทธิภาพในการดูดซับลดลง แต่ยังมีความสามารถในการดูดซับใกล้เคียงกับ PAC จากการศึกษาเสถียรภาพพบว่า MIL-53(Al) ที่เคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกามีเสถียรภาพเพิ่มขึ้นและมีการชะละลายของสารอินทรีย์และโลหะน้อยลง นอกจากนี้ MIL-53(Al) ที่เคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 2 ครั้งหลังจากสกัดด้วยเมทานอล ในขณะที่ MIL-53(Al) ไม่สามารถในการดูดซับไอบูโพรเฟนได้อีกเมื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งที่ 2 เนื่องจากการพังทลายของโครงสร้าง


ผลของภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่อประสิทธิภาพของถังกรองไร้อากาศและ ผลของความลึกชั้นทรายต่อประสิทธิภาพของถังกรองทรายชีวภาพ, พัชราภรณ์ เที่ยงทอง Jan 2019

ผลของภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่อประสิทธิภาพของถังกรองไร้อากาศและ ผลของความลึกชั้นทรายต่อประสิทธิภาพของถังกรองทรายชีวภาพ, พัชราภรณ์ เที่ยงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของภาระบรรทุกสารอินทรีย์และระยะเวลาเก็บกักต่ออัตราการบำบัดและ ประสิทธิภาพถังกรองไร้อากาศและผลของความลึกชั้นทรายต่อประสิทธิภาพของถังกรองทรายชีวภาพ โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่เตรียมจากน้ำตาลทรายซึ่งมีความเข้มข้นเริ่มต้น 1,000 มิลลิกรัมซีโอดีต่อลิตรตลอดทั้งการทดลอง ปรับอัตราการไหลเข้าของน้ำเสีย 4 ค่า ได้แก่ 24 , 48 , 96 และ 192 ลิตรต่อวัน คิดเป็นภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 0.5 , 1 , 2 และ 4 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน ตามลำดับ และใช้ถังกรองไร้อากาศออกเป็น 4 ถังต่อแบบอนุกรมโดยให้ไหลแบบตามกัน (Plug Flow) เพื่อให้มีระยะเวลาเก็บกักน้ำเสียตั้งแต่ 0.0625-2 วัน เดินระบบแบบไหลต่อเนื่องและควบคุมค่าพีเอชระหว่าง 7.0-7.5 ผลการทดลองพบว่าที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 0.5 , 1 , 2 และ 4 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน มีระยะเวลาเก็บกักน้ำเสียรวม 2 , 1 , 0.5 และ 0.25 วัน ตามลำดับ สามารถบำบัดสารอินทรีย์ได้ถึงร้อยละ 84.76 , 93.06 , 91.90 และ 88.58 ตามลำดับ มีค่าซีโอดีที่สามารถย่อยสลายได้เท่ากับ 861.0±30.6 มิลลิกรัมต่อลิตร มีค่าสัมประสิทธิ์ของปฏิกิริยาลำดับที่ 1 (k1) อยู่ที่ 18.8±2.40 วัน-1 และมีค่าซีโอดีที่ไม่สามารถบำบัดได้เท่ากับ 128.2±16.3 มิลลิกรัมต่อลิตร และพบว่าเมื่อเดินระบบร่วมกับถังกรองทรายชีวภาพที่ความลึกชั้นทราย 80 , 60 , 40 , 20 และ 0 เซนติเมตร ระบบมีค่าประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีอยู่ที่ร้อยละ 92-94 โดยถังกรองทรายชีวภาพช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีร้อยละ 1-5 ปริมาณซัลไฟด์ในน้ำทิ้งจากถังกรองทรายชีวภาพที่ความลึกชั้นทรายต่างๆลดลงอยู่ในช่วง 16-18 มิลลิกรัมซัลไฟด์ต่อลิตร โดยที่ความลึกชั้นทราย 80 , 60 , …


การวิเคราะห์แนวทางการลดของเสีย: กรณีศึกษาของกระบวนการผลิตขวดเพท, พีรพล วงศ์บุญนาค Jan 2019

การวิเคราะห์แนวทางการลดของเสีย: กรณีศึกษาของกระบวนการผลิตขวดเพท, พีรพล วงศ์บุญนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ขวดเพทได้รับความนิยมแก่ผู้บริโภคเพราะมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการใช้งาน แต่ในกระบวนการผลิตนั้นมักจะก่อให้เกิดของเสียพลาสติกขึ้นมา ในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่วิเคราะห์จุดกำเนิดของเสียและหาข้อเสนอแนะที่เหมาะสมในการลดของเสียพลาสติก ในการวิจัยได้ใช้การวิเคราะห์การไหลของมวลสารเพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานของการใช้ทรัพยากร ค้นหาจุด Hot spot และนำไปสู่การประเมินแนวทางจัดการของเสียพลาสติกให้ตรงจุดมากที่สุด งานวิจัยได้ออกแบบการเก็บข้อมูลโดยการพัฒนาและออกแบบแบบฟอร์มใบรายงานการผลิต การสัมภาษณ์ การศึกษาคู่มือ ตลอดจนการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการลดของเสียพลาสติกจากกระบวนการเป่าขวดเพท และนำองค์ความรู้ที่รวบรวมได้ไปใช้งานจริงในการปฏิบัติงาน ผลการศึกษาพบว่าแผนกฉีดพรีฟอร์มเกิดของเสียจากการเซ็ตอัพมากที่สุด แผนกเป่าขวดเพท ก่อให้เกิดของเสียประเภทอื่นๆที่อยู่นอกเหนือจากการจำแนกประเภทมากที่สุด แนวทางการลดของเสียที่แนะนำให้ดำเนินการเพื่อลดของเสียพลาสติกในภาพรวม คือ การปรับปรุงระบบสนับสนุนของกระบวนการผลิต ได้แก่ ระบบน้ำ ระบบลม, ลำดับต่อมา คือ การสร้างองค์ความรู้แก่พนักงาน, การใช้เอกสารประกอบการทำงาน, สุดท้าย คือ การรักษาสภาพเครื่องจักรให้มีความสมบูรณ์ทั้งก่อนและระหว่างทำการผลิต แนวทางการปรับปรุงที่ดำเนินการสามารถทำให้ของเสียในภาพรวมลดลงได้


การใช้ประโยชน์จากกากตะกอนอุตสาหกรรมเลนส์แว่นตาพลาสติก, ศรัณย์พร อุ่นเพชร Jan 2019

การใช้ประโยชน์จากกากตะกอนอุตสาหกรรมเลนส์แว่นตาพลาสติก, ศรัณย์พร อุ่นเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมเลนส์แว่นตาพลาสติก ใช้การวิเคราะห์ผังการไหลของวัสดุ คัดเลือกของเสียจากการศึกษาผังการไหลของวัสดุที่ส่งไปหลุมฝังกลบ และยังนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก ได้แก่ ตะกอนเจียแม่พิมพ์ ตะกอนบำบัดน้ำเสียโรงแม่พิมพ์ และตะกอนบำบัดน้ำเสียรวมแบบชีวภาพ ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของตะกอน พบว่าตะกอนบำบัดน้ำเสียโรงแม่พิมพ์มีซีเรียมอยู่ และตะกอนทั้งสามชนิดยังพบว่ามีซิลิกา และอะลูมินา เป็นองค์ประกอบ จึงศึกษาแนวทางการนำกลับซีเรียมจากตะกอนบำบัดน้ำเสียโรงแม่พิมพ์ และนำตะกอนทั้ง 3 ชนิดมาใช้ประโยชน์เป็นวัสดุทดแทนทราย ในการผลิตมอร์ต้าร์ ใช้อัตราส่วนปูนซีเมนต์ต่อทรายเท่ากับ 1 : 2 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 0.55 และ 0.50 ศึกษาอัตราส่วนแทนที่ของเสียลงในทราย ร้อยละ 10, 20, 30, 40 และ 50 โดยน้ำหนัก เวลาบ่ม 7, 14 และ 28 วัน การศึกษาการนำกลับซีเรียม ความบริสุทธิ์สูงสุดของซีเรียมร้อยละ 38.28 ชนิดของกรดและอุณหภูมิมีผลต่อความบริสุทธิ์ของซีเรียม ผลการศึกษาการผลิตมอร์ต้าร์ที่แทนที่ทรายมากขึ้นด้วยตะกอนบำบัดน้ำเสียรวม และตะกอนบำบัดน้ำเสียโรงแม่พิมพ์ พบว่าความหนาแน่น และกำลังรับแรงอัดลดลง ส่วนการดูดซึมน้ำเพิ่มขึ้น ส่วนมอร์ต้าร์ที่แทนที่ทรายด้วยตะกอนเจียแม่พิมพ์ เมื่อแทนที่มากขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่น และกำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้นจนถึงจุดหนึ่งแล้วต่ำลง ส่วนการดูดซึมน้ำพบว่าไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับมาตรฐานปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (มอก. 15-2547) พบว่ามอร์ต้าร์ที่แทนที่ทรายด้วยตะกอนบำบัดน้ำเสียรวม และตะกอนบำบัดน้ำเสียโรงแม่พิมพ์ไม่ผ่านมาตรฐานทุกอัตราส่วนที่ทำการศึกษา ส่วนมอร์ต้าร์ที่แทนที่ทรายด้วยตะกอนเจียแม่พิมพ์พบว่าผ่านมาตรฐานทุกอัตราส่วนที่ทำการศึกษา โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมในการแทนที่ตะกอนเจียแม่พิมพ์คือร้อยละ 30 โดยน้ำหนัก และเวลาบ่ม 28 วัน การทดสอบการชะละลายของโลหะหนักจากมอร์ต้าร์ พบว่าค่าการชะละลายของโลหะหนักไม่เกินตามที่มาตรฐานกำหนด


การสร้างและประสิทธิภาพของเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน, อริยะ กาญจนโกมุท Jan 2019

การสร้างและประสิทธิภาพของเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน, อริยะ กาญจนโกมุท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเม็ดตะกอนโดยใช้เวลาตกตะกอนที่แตกต่างกัน โดยใช้ถังปฏิกิริยาแบบทีละเท การทำงานของระบบเป็นรอบการบำบัด ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือการเติมน้ำเสียสังเคราะห์จากซูโครสความเข้มข้นซีโอดี ในถังปฏิกิริยา 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณแอมโมเนียมคลอไรด์ 380 มิลลิกรัมต่อลิตร การเติมอากาศโดยควบคุมความเร็วการเติมอากาศ 3.5 เซนติเมตรต่อวินาที การตกตะกอน และการทิ้งน้ำโดยใช้สัดส่วนการทดแทนน้ำเสีย 50% โดยไม่มีการทิ้งตะกอนและเปลี่ยนแปลงเวลาตกตะกอน 60 30 15 5 และ 2 นาที ผลการทดลองค่า MLSS เฉลี่ยที่ 30,200 31,600 26,750 15,733 และ 9,770 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ค่า SVIคงที่อยู่ในช่วง 13.2-19.5 มิลลิลิตรต่อกรัม มีอัตราการบำบัดซีโอดีจำเพาะคงที่ 6.29-10.81 มิลลิกรัมซีโอดีต่อมิลลิกรัม MLSS ต่อวัน ขนาดเม็ดตะกอนในระบบที่เริ่มต้นใช้เวลาตกตะกอน 60 นาที พบเม็ดตะกอนขนาดเล็กเป็นส่วนมาก ซึ่งเม็ดตะกอนดังกล่าวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร และเมื่อลดเวลาตกตะกอนลงเหลือ 30 15 5 และ 2 นาที เม็ดตะกอนมีขนาดใหญ่ขึ้น และเม็ดตะกอนขนาดใหญ่ที่สุดในระบบมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร โดยมีความหนาแน่นของตะกอนจุลินทรีย์อยู่ในช่วง 1.025-1.342 g/mL ต่อมาการทดลองส่วนที่ 2 เลือกใช้เวลาตกตะกอน 15 นาที และเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการทดแทนน้ำเสีย 50% 60% 70% 80% และ 90% ผลการทดลองค่า MLSSเฉลี่ยที่ 17,240, 18,590, 10,207, 7,293 และ 4,030 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ค่า SVI คงที่อยู่ในช่วง 19.5-27.0 มิลลิลิตรต่อกรัม มีอัตราการบำบัดซีโอดีจำเพาะคงที่ 6.29-10.39 มิลลิกรัมซีโอดีต่อมิลลิกรัม MLSS ต่อวัน …


การหาปริมาณของเสียในการก่อสร้างจากภาพถ่ายดิจิตอลและโมเดล 3 มิติ, กาญจนพจน์ ศรีสุขใส Jan 2019

การหาปริมาณของเสียในการก่อสร้างจากภาพถ่ายดิจิตอลและโมเดล 3 มิติ, กาญจนพจน์ ศรีสุขใส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การก่อสร้างเป็นงานที่ก่อให้เกิดของเสียจากกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก โดยของเสียจากการก่อสร้างจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการจัดการกับของเสียยังเป็นภาระต่อค่าใช้จ่ายของโครงการ จึงทำให้เกิดการละเลยต่อการจัดการอย่างเหมาะสม โครงการก่อสร้างยังไม่มีวิธีการหรือเครื่องมือที่สะดวกต่อการวัดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการหรือในแต่ละช่วงเวลา งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอระบบหาปริมาณของเสียจากการก่อสร้างโดยใช้ภาพถ่ายดิจิตอลและโมเดล 3 มิติ ระบบในงานวิจัยนี้จะถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้วัตถุตัวอย่างที่มีปริมาตรแน่นอน โดยใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือและโปรแกรมในการวิเคราะห์ปริมาตรจากโมเดล 3 มิติ จากนั้นจึงนำระบบไปทดสอบกับของเสียจากการก่อสร้าง ที่นำมาจากโครงการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรร ประกอบไปด้วย อิฐมวลเบา อิฐแดง คอนกรีต กระเบื้องพื้น และกระเบื้องหลังคา งานวิจัยนี้ยังได้มีการพัฒนาเพื่อให้ระบบที่ออกแบบไว้สามารถหาปริมาณของเสียจากการก่อสร้างได้รวดเร็วยิ่งขึ้นโดยใช้ภาพถ่ายจากวิดีโอ จากการวิเคราะห์ผลจากระบบพบว่าผลการทดสอบมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ในค่าจำกัดของความสอดคล้องที่ 95 เปอร์เซ็นต์ ของผลลัพธ์จากกลุ่มตัวอย่าง อย่างไรก็ตามระบบยังมีข้อจำกัดในการหาปริมาณของเสีย โดยมีหลายขั้นตอนยังต้องใช้ทักษะของคนในการปรับปรุงโมเดล 3 มิติ งานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อโครงการก่อสร้างในการหาปริมาณของเสียจากการก่อสร้างเพื่อนำไปสู่การจัดการอย่างเหมาะสมกับชนิดของเสียต่อไป


การตรวจสอบภาพถ่ายรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก, ชนมน จารูญนาม Jan 2019

การตรวจสอบภาพถ่ายรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก, ชนมน จารูญนาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตรวจสอบรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กในปัจจุบัน วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจสอบโดยการร่างลักษณะและประเมินขนาดความกว้างรอยแตกร้าวเบื้องต้น ซึ่งจะต้องใช้เวลา กำลังคน และค่าใช้จ่ายสูงในการทำงาน จึงได้มีการนำเทคโนโลยีการบันทึกภาพรอยแตกร้าวนำมาปรับปรุงใช้ในการตรวจสอบอาคาร ในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเอาเทคโนโลยีการบันทึกภาพรอยแตกร้าวเข้ามาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งการบันทึกภาพด้วยกล้องถ่ายภาพ และการบันทึกภาพจากอากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวี (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) อีกทั้งยังทำการเปรียบเทียบการตรวจสอบดังกล่าวกับการตรวจสอบที่ใช้ทั่วไปคือการตรวจสอบโดยการประเมินด้วยสายตา และยังหาข้อบกพร่องในเรื่องระยะการถ่ายภาพที่เหมาะสมอีกด้วย จากผลการศึกษาสามารถหาระยะการถ่ายภาพที่เหมาะสมได้ และจากการเปรียบเทียบการตรวจสอบด้วยวิธีการประเมินด้วยสายตา วิธีการตรวจสอบภาพถ่ายจากกล้องถ่ายภาพ และวิธีการตรวจสอบภาพถ่ายจาก UAV พบว่าวิธีการตรวจสอบภาพถ่ายจาก UAV เป็นวิธีที่มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับความกว้างรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นจริง เหมาะสมที่จะใช้ในการตรวจสอบภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กต่อไป


การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นของเขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วน, นันทวุฒิ อินทรียงค์ Jan 2019

การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นของเขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วน, นันทวุฒิ อินทรียงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหากัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทยมีความรุนแรงอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณอ่าวไทยตอนบน ที่ซึ่งมีลักษณะเป็นหาดโคลน มีเพียงโครงสร้างที่สามารถส่งถ่ายน้ำหนักและแรงลงสู่ชั้นดินที่ลึกลงไปเท่านั้นที่สามารถสร้างในพื้นที่โคลนนี้ได้ การใช้โครงสร้างเสาเข็มปักลงในดินและมีชิ้นส่วนลักษณะคล้ายกำแพงในบริเวณผิวน้ำ โดยขอนิยามว่า “เขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วน” อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการป้องกันพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นฐานรากอ่อน อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการทำงานของเขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วนยังไม่ได้รับการพิสูจน์ จึงเป็นเหตุให้การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติคลื่นและลักษณะทางกายภาพของโครงสร้าง กับความสามารถในการสะท้อนและการส่งผ่านคลื่น แบบจำลองทางกายภาพ 2 มิติถูกพัฒนาในอ่างจำลองคลื่น ภายใต้เงื่อนไขคลื่นสม่ำเสมอที่ถูกสร้างจากเครื่องกำเนิดคลื่นด้วยความชันคลื่น (Hi/L) ในช่วง 0.010 – 0.025 แบบจำลองเขื่อนกันคลื่นถูกสร้างจากเหล็กกล่องด้วยการเปลี่ยนแปลงความลึกการจมจาก 0.075 – 0.300 เมตร และช่องว่างระหว่างเสาเปลี่ยนแปลงจาก 0.5 – 1.5 เมตร ระดับน้ำนิ่งและความหนาของเขื่อนกันคลื่นทีค่าคงที่เท่ากับ 0.45 และ 0.0375 เมตร ตามลำดับ การทดลอง 120 กรณีถูกดำเนินการโดยมีวัดขนาดของความสูงคลื่นด้านหน้าและหลังโครงสร้าง แล้วคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่น จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นมีความสัมพันธ์กับความหนาโครงสร้างสัมพัทธ์ (b/L), ความลึกโครงสร้างสัมพัทธ์(D/d), ปัจจัยความไม่เต็มส่วนของเขื่อนกันคลื่น​, ความลึกสัมพัทธ์ (d/L), ความสูงคลื่นสัมพัทธ์ (Hi/d) และความชันคลื่น (Hi/L) ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนของคลื่นมีค่าลดลงอย่างเอกซ์โพเนนเชียลเมื่อ b/L, d/L, Hi/d หรือ Hi/L เพิ่มขึ้น แต่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อ D/d เพิ่มขึ้น ทั้งในกรณีที่คลื่นล้นและไม่ล้นข้ามโครงสร้าง อีกทั้งเมื่อคลื่นล้นข้ามโครงสร้างจะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนของคลื่นลดลง สำหรับผลลัพธ์ของการส่งผ่านคลื่นพบว่าการส่งผ่านคลื่นมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างเอกซ์โพเนนเชียลเมื่อ b/L, d/L, Hi/d หรือ Hi/L เพิ่มขึ้น แต่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อปัจจัยความไม่เต็มส่วนของเขื่อนกันคลื่นเพิ่มขึ้น ทั้งในกรณีที่คลื่นล้นและไม่ล้นข้ามโครงสร้าง อีกทั้งค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านยังเพิ่มขึ้นเมื่อคลื่นสามารถล้นข้ามโครงสร้างได้ นอกจากนี้ยังพบว่าการเปลี่ยนแปลงช่องว่างระหว่างเสาไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่อค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่น ในการศึกษานี้ได้พัฒนาสมการของสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นด้วยวิธีการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อน เพื่อสนับสนุนการออกแบบโครงสร้างในการบรรเทาปัญหากัดเซาะชายฝั่งสำหรับพื้นที่แบบหาดโคลนในอนาคต


การเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางของผู้โดยสารระบบราง กรณีศึกษา รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายใต้, ธนพร กรีวงษ์ Jan 2019

การเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางของผู้โดยสารระบบราง กรณีศึกษา รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายใต้, ธนพร กรีวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากรูปแบบอื่นไปสู่ระบบราง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางที่เปลี่ยนไปและปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย งานวิจัยนี้จึงเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายใต้ ตั้งแต่สถานีปู่เจ้าฯจนถึงสถานีเคหะฯ ที่เดินทางเป็นประจำ มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางจากที่ทำงานหรือจากสถานศึกษากลับสู่ที่พัก ไม่มีการเปลี่ยนที่พัก ที่ทำงาน หรือสถานศึกษาหลังจากที่ส่วนต่อขยายเปิด ใช้แบบสอบถามข้อมูลพฤติกรรมการเดินทางทั้งก่อนและหลังการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย และศึกษาแนวโน้มการใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย โดยใช้คำถามสถานการณ์สมมุติซึ่งมี 3 ตัวแปร คือ เวลาการปล่อยขบวนรถ การเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีสำโรง และค่าโดยสาร ผลการศึกษาจากรวบรวมข้อมูลตัวอย่างผู้โดยสารพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเดินทางในอดีตโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะ มีทั้งกลุ่มที่เดินทางโดยใช้รถไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทาง และกลุ่มที่เดินทางโดยไม่ใช้รถไฟฟ้า และพบว่า การเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีสำโรง เวลาการปล่อยขบวนรถและค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้แนวโน้มการใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายลดลง รวมทั้งปัจจัยอื่นที่นอกจากการให้บริการของรถไฟฟ้าก็มีผลต่อแนวโน้มการใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเช่นกัน


ผลกระทบของปริมาตรแทนที่และสภาวะความชื้นของเศษหินแกรนิตต่อสมบัติของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์และคอนกรีต​​, ปภัสรา วรวัฒน์นฤนาท Jan 2019

ผลกระทบของปริมาตรแทนที่และสภาวะความชื้นของเศษหินแกรนิตต่อสมบัติของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์และคอนกรีต​​, ปภัสรา วรวัฒน์นฤนาท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของมวลรวมละเอียดรีไซเคิลจากเศษแกรนิตต่อคุณสมบัติของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์และคอนกรีต ส่วนผสมจีโอโพลิเมอร์ถูกผลิตโดยใช้มวลรวมรีไซเคิลจากเศษแกรนิตร้อยละ 0, 25 และ 50 สภาวะของความชื้นในมวลรวมละเอียดถูกควบคุมให้อยู่ในสภาวะอิ่มตัวผิวแห้ง (SSD) แห้งในอากาศ (AD) และ อบแห้ง (OD) จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าอนุภาคแกรนิตสามารถใช้เป็นมวลรวมละเอียดในจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์และคอนกรีตได้ ส่วนผสมมอร์ต้าร์ที่มีมวลรวมจากแกรนิตร้อยละ 50 มีค่ากำลังรับแรงอัดที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 42.9-51.4 MPa หรือคิดเป็นร้อยละ 88.1-121.1 ของตัวอย่างที่มีส่วนผสมของทรายธรรมชาติ 100% นอกจากนั้นยังพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการต้านทานต่อกรดของมอร์ต้าร์ที่ผสมมวลรวมรีไซเคิลเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนผสมควบคุม อย่างไรก็ตามระยะเวลาการก่อตัวของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ลดลงเมื่อใช้มวลรวมที่อยู่ในสภาวะ SSD นอกจากนี้จากผลการทดสอบคอนกรีต พบว่ากำลังรับแรงอัดที่อายุบ่ม 28 วันของจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่ใช้มวลรวมรีไซเคิลจากหินแกรนิตมีค่าอยู่ในช่วง 25.3 ถึง 32.5 MPa ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับคอนกรีตที่ใช้ทรายธรรมชาติล้วน กำลังดัดของคอนกรีตที่ผสมมวลรวมรีไซเคิลจากแกรนิตมีการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญเมื่อใช้มวลรวมในสภาวะแห้งในอากาศ (AD) หรืออบแห้ง (OD) ผลการทดสอบบ่งชี้ว่าไม่มีความแตกต่างที่เด่นชัดสำหรับการต้านทานการหลุดล่อนเมื่อถูกเผาไฟของจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่ผสมมวลรวมรีไซเคิลจากหินแกรนิตในปริมาณที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตลดลงเมื่อความชื้นในมวลรวมมีเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกันกับในกรณีของมอร์ต้าร์


ระบบแผงรายงานซึ่งสามารถใช้กับการจำลองสารสนเทศอาคารสำหรับติดตามและควบคุมโครงการก่อสร้าง, พิมพ์พิสุทธิ์ นันทภาณุวัฒน์ Jan 2019

ระบบแผงรายงานซึ่งสามารถใช้กับการจำลองสารสนเทศอาคารสำหรับติดตามและควบคุมโครงการก่อสร้าง, พิมพ์พิสุทธิ์ นันทภาณุวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การติดตามและควบคุมโครงการก่อสร้างโดยทั่วไปจะอาศัยเอกสารกระดาษเป็นหลัก ซึ่งมักจะเกิดข้อผิดพลาดรวมถึงไม่สามารถจัดระเบียบและเรียกใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้สะดวก การจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) เป็นแนวคิดสมัยใหม่ซึ่งสามารถใช้จัดการจัดการข้อมูลสารสนเทศในทุกขั้นตอนของโครงการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้พัฒนาระบบซึ่งเชื่อมต่อแบบจำลอง BIM กับแผงรายงานสถานะของโครงการ ซึ่งสามารถรายงานความก้าวหน้าของโครงการ การจ่ายเงินงวดสำหรับผู้รับจ้างก่อสร้าง และความก้าวหน้าของงานก่อสร้างแต่ละส่วนโดยแสดงผ่านแบบจำลองสามมิติ งานวิจัยเริ่มจากศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการติดตามและควบคุมความก้าวหน้าของโครงการก่อสร้างทั่วไป จากนั้นจึงพัฒนากระบวนการติดตามและควบคุมโครงการโดยอาศัย BIM ซึ่งจะถูกนำไปใช้สำหรับพัฒนาโครงสร้างสถาปัตยกรรมระบบของแผงรายงาน ระบบที่พัฒนาขั้นนี้ใช้โปรแกรม Autodesk Revit สำหรับพัฒนาแบบจำลอง BIM, Microsoft Excel สำหรับจัดเก็บข้อมูล, Dynamo สำหรับเชื่อมต่อโปรแกรม Autodesk Revit และ Excel รวมถึง Unity สำหรับการสร้างแผงรายงาน กระบวนการและระบบแผงรายงานถูกนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการก่อสร้างอาคารจริง ผลลัพธ์และข้อคิดเห็นจากผู้ใช้ระบบได้ถูกนำมาปรับปรุงเพื่อให้ได้ระบบที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด


ประสิทธิภาพในการประสานรอยแตกของมอร์ตาร์ซ่อมแซมตัวเองโดยใช้สปอร์ของแบคทีเรียประเภทชักนำให้เกิดการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต, วนาลี ภานุพรประพงศ์ Jan 2019

ประสิทธิภาพในการประสานรอยแตกของมอร์ตาร์ซ่อมแซมตัวเองโดยใช้สปอร์ของแบคทีเรียประเภทชักนำให้เกิดการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต, วนาลี ภานุพรประพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการซ่อมแซมตัวเองของมอร์ตาร์ที่ผสมไมโครแคปซูลของสปอร์แบคทีเรียชนิดชักนำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต โดยห่อหุ้มสปอร์ของแบคทีเรียด้วยโซเดียมอัลจิเนตเพื่อให้สปอร์สามารถดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของการขึ้นรูปมอร์ตาร์ได้ ปริมาณไมโครแคปซูลที่เลือกใช้ในการศึกษา คือ ร้อยละ 0, 0.5 และ 1.0 โดยน้ำหนักของซีเมนต์ ชนิดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ มอร์ตาร์รูปทรงลูกบาศก์ ขนาด 50 มม. สำหรับทดสอบกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วัน และมอร์ตาร์รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีรอยบากบริเวณฐาน ขนาด 280 x 177.5 x 50 มม. สำหรับทดสอบประสิทธิภาพในการซ่อมแซมรอยแตก ซึ่งวัดผลจากความกว้างและพื้นที่รอยแตกด้วยกระบวนการประมวลผลภาพจากภาพถ่ายดิจิตอล จากการศึกษาพบว่าไมโครแคปซูลที่บรรจุสปอร์ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการซ่อมแซมรอยแตกเพิ่มขึ้น โดยมอร์ตาร์ที่มีปริมาณไมโครแคปซูลร้อยละ 1.0 สามารถซ่อมแซมรอยแตกได้สมบูรณ์ที่รอยแตกกว้างที่สุดขนาด 0.8 มม. ภายใน 3 วันหลังจากพ่นน้ำ นอกจากนี้ยังศึกษาผลของปริมาณไมโครแคปซูลต่อกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วัน ความพรุน และการดูดซึมน้ำของมอร์ตาร์ จากผลการทดสอบพบว่าปริมาณไมโครแคปซูลไม่ส่งผลต่อกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วัน ความพรุน และการดูดซึมน้ำของมอร์ตาร์ อย่างไรก็ตามเมื่อเติมสารอาหารสำหรับแบคทีเรียลงในมอร์ตาร์จะส่งผลให้กำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วันของมอร์ตาร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ


การพัฒนาผนังฉนวนสำเร็จรูปด้วยแกนคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก, วรากร อิ่มรักษา Jan 2019

การพัฒนาผนังฉนวนสำเร็จรูปด้วยแกนคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก, วรากร อิ่มรักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาผนังฉนวนสำเร็จรูปแกนคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก โดยผนังมีวัสดุแกนกลางเป็นฉนวนทำจากคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก ปิดผิวหน้าทั้ง 2 ด้านด้วยแผ่นซีเมนต์บอร์ดในลักษณะของผนังแบบแซนวิช (Sandwich panels) เพื่อให้ได้ผนังที่มีความต้านทานความร้อน ความทนไฟ และประหยัดพลังงานสูงกว่าผนังทั่วไป ในการศึกษานี้พิจารณาแผ่นผนังขนาดความกว้าง 0.60 เมตร ความสูง 2.40 เมตร และหนา 0.12 เมตร ใช้คอนกรีตความหนาแน่นต่ำมากที่มีค่าความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 200 - 300 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร การพัฒนาเริ่มจากการวิเคราะห์ออกแบบด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ เพื่อเสริมให้แผ่นผนังสามารถทนต่อแรงกระแทกได้เพียงพอตามมาตรฐาน จึงเพิ่มการประสานระหว่างแผ่นซีเมนต์บอร์ดด้วยก้อนลูกบาศก์คอนกรีตขนาด 0.1x0.1x0.1 เมตร3 ทาปูนกาวจำนวน 6 ก้อน กระจายรอบแผ่นผนัง จากนั้นจึงผลิตแผ่นผนังต้นแบบ ผลการทดสอบหาค่าสภาพการนำความร้อน (Thermal conductivity, k) ตามมาตรฐานการทดสอบ ASTM C518 ในห้องปฏิบัติการพบว่าแผ่นผนังที่พัฒนามีค่าสภาพการนำความร้อนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าผนังประเภทต่างๆ ที่นิยมใช้งานในปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ผลการทดสอบความแข็งแรงของผนังตามมาตรฐาน BS 5234 ได้แก่ การทดสอบความแข็งแรงของผนังโดยใช้การกระแทกด้วยวัสดุแข็งขนาดเล็ก (Small hard body impact) และผลการทดสอบความแข็งแรงของผนังโดยใช้การกระแทกด้วยวัสดุอ่อนนุ่มขนาดใหญ่ (Large soft body impact) ก็แสดงให้เห็นว่าผนังที่พัฒนาขึ้นนี้มีความแข็งแรงในระดับ Medium duty (MD) ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้งานเป็นผนังกั้นห้องในอาคารพักอาศัย สำนักงาน และอาคารพาณิชย์ทั่วไป


แบบจำลองพฤติกรรมการเลือกใช้ยานพาหนะร่วมกัน: กรณีศึกษาผู้ใช้รถจักรยานยนต์รับจ้างในกรุงเทพมหานคร, วีรชัย โสธนนันทน์ Jan 2019

แบบจำลองพฤติกรรมการเลือกใช้ยานพาหนะร่วมกัน: กรณีศึกษาผู้ใช้รถจักรยานยนต์รับจ้างในกรุงเทพมหานคร, วีรชัย โสธนนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบริการมอเตอร์ไซค์แชริ่งจะเป็นทางเลือกในเดินทางที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและเป็นทางเลือกการเดินทางของประชาชนในกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางของผู้โดยสารที่ใช้รถจักรยานยนต์รับจ้างมาเป็นการใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่ง โดยเจาะจงกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้โดยสารที่ใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างเพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่ย่านศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพมหานครจำนวน 349 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงกล่าวอ้างด้วยการจำลองสถานการณ์สมมติ 6 สถานการณ์และสร้างแบบจำลองโลจิสติคทวินามบนพื้นฐานของทฤษฎีอรรถประโยชน์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรม Rstudio จากผลของการศึกษาพบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการเลือกใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่งอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เวลาและค่าใช้จ่ายของรถจักรยานยนต์รับจ้าง ความเต็มใจจ่ายในการใช้บริการ ระยะเวลาเดินที่ยอมรับได้ ความถี่ในการใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างต่อสัปดาห์ การมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ สำหรับตัวแปรระยะทางในการเดินทาง สถานะภาพการสมรส จำนวนรถจักรยานยนต์และจำนวนรถยนต์ในครอบครองครอบครองส่งผลเชิงลบต่อการเลือกใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่ง โดยมูลค่าเวลาในการเดินทางของผู้โดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้างของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเท่ากับ 5.63 บาทต่อนาที


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างทางยกระดับ, สิทธิณัฐ ศรีน้อย Jan 2019

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างทางยกระดับ, สิทธิณัฐ ศรีน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางใหม่ในการติดตามความคืบหน้าในงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แทนการใช้งานเอกสารประกอบการติดตามความคืบหน้าอย่างในปัจจุบันซึ่งยากต่อการนำไปเปรียบเทียบกับสภาพงานตามจริงของโครงการ การวิจัยนี้จึงนำเสนอระบบการติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างผ่านการสร้างแบบจำลองความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) ซึ่งเกิดจากการดึงข้อมูลของแผนการทำงานจากโปรแกรมจัดการโครงการและแบบจำลองสามมิติจากระบบสารสนเทศอาคาร (BIM) โดยแบบจำลองความเป็นจริงเสริมที่ได้สามารถแสดงสภาพของโครงการตามแผนงานตามวันที่กำหนด จากนั้นแบบจำลองความเป็นจริงเสริมจะถูกนำมาซ้อนทับลงบนวิดีโอของสภาพงานจริงซึ่งได้จากการใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ในการสำรวจโครงการ จากการทดสอบระบบการติดตามความคืบหน้าในงานวิจัยกับกรณีศึกษาโครงการก่อสร้างทางยกระดับ พบว่าผลลัพธ์ที่ได้ทำให้สามารถวิเคราะห์ความคืบหน้าของงานก่อสร้างโดยการเปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างแบบจำลองความเป็นจริงเสริมและสภาพงานจริง ระบบจะทำการสร้างภาพเสมือนของโครงสร้างงานทางยกระดับและแสดงความก้าวหน้าซ้อนทับบนโครงสร้างจริงเพื่อแสดงความก้าวหน้าหรือล่าช้าจากแผนงาน สำหรับการวิจัยในอนาคตการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์อาจนำมาใช้ร่วมกับการศึกษานี้เพื่อวิเคราะห์ความคืบหน้าของการก่อสร้างโดยอัตโนมัติ


ระบบส่งผ่านสารสนเทศในโครงการที่ใช้ Bim สำหรับการจัดการอาคาร, สุธาสินี ทาแดง Jan 2019

ระบบส่งผ่านสารสนเทศในโครงการที่ใช้ Bim สำหรับการจัดการอาคาร, สุธาสินี ทาแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมก่อสร้าง BIM สามารถถูกนำมาใช้ตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร ตั้งแต่ขั้นตอนวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง จนถึงปฏิบัติการและบำรุงรักษา (Operation & Maintenance, O&M) ถึงแม้ว่า BIM จะถูกนำมาใช้สำหรับการบริหารจัดการอาคาร (Facility Management, FM) ในช่วง O&M แต่การประยุกต์ใช้ในงานดังกล่าวยังค่อนข้างจำกัด อุปสรรคที่สำคัญคือกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีความซับซ้อนและการส่งผ่านข้อมูลก็มักจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ งานวิจัยนี้ได้พัฒนาระบบเพื่อดึงข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นจากแบบจำลอง as-built BIM และส่งผ่านไปยังกระบวนการ FM ระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือกระบวนการทำงาน (work process) ได้แก่ กระแสงาน (workflow), การแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (information exchange), รวมถึงบทบาทและความรับผิดชอบ (roles and responsibilities) ของแต่ละฝ่าย ส่วนที่สองคือซอฟต์แวร์ประยุกต์ (software application) ซึ่งแสดงในรูปแบบของ Graphic User Interface (GUI) โดยใช้ภาษาโปรแกรม Python ระบบทั้งสองส่วนนี้ถูกพัฒนาขึ้นจากแนวคิดที่ได้รับจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้าน BIM และผู้จัดการอาคาร ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์สำหรับการจัดการอาคารสำนักงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อแสดงประสิทธิภาพและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยเริ่มจากการระบุและตรวจสอบข้อมูลและสารสนเทศสำหรับ FM ในแบบจำลอง as-built BIM จากนั้นจึงเป็นการดึงและส่งต่อข้อมูลและสารสนเทศจากแบบจำลองเข้าสู่กระบวนการ FM สุดท้ายผลลัพธ์จะถูกแสดงโดยซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้น การประยุกต์นี้แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้สำหรับการวางแผนปฏิบัติการและบำรุงรักษาอาคาร ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเจ้าของอาคาร, ผู้จัดการอาคาร และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ FM


พฤติกรรมการรับแรงดัดของคานคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กภายใต้ภาวะการกัดกร่อน, อาณสิทธิ์ การินทอง Jan 2019

พฤติกรรมการรับแรงดัดของคานคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กภายใต้ภาวะการกัดกร่อน, อาณสิทธิ์ การินทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นโครงสร้างที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่เนื่องจากเหล็กเสริมมีความทนทานต่อการกัดกร่อนที่ต่ำ ปัญหาการกัดกร่อนภายในโครงสร้างเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการรับแรงของโครงสร้างที่ลดลงเนื่องจากสูญเสียปริมาณเหล็กเสริมไป ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานโครงสร้างได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กให้สามารถรับกำลังภายใต้สภาวะการกัดกร่อนได้ดีขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กผสมเส้นใยเหล็กภายใต้ภาวะการกัดกร่อน ด้วยการศึกษาอิทธิพลของปริมาณเส้นใยที่ใช้ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกัดกร่อน และอิทธิพลของปริมาณเส้นใยที่ใช้ต่อพฤติกรรมของคานที่สภาวะการกัดกร่อน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาคือ ระดับการกัดกร่อน (ร้อยละ 0, 2 และ 5) และปริมาณเส้นใยเหล็กที่ใช้ผสม (ร้อยละ 0, 0.5, 1.0 และ 1.5 โดยปริมาตรคอนกรีต) โดยศึกษาจากตัวอย่างคานทั้งหมด 12 ตัวอย่าง ผลการทดสอบพบว่า ปริมาณการใช้เส้นใยที่ในปริมาณที่เหมาะสมทำให้ความกว้างรอยแตกร้าวเนื่องจากการกัดกร่อนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยการผสมเส้นใยร้อยละ 1.0 ช่วยลดความกว้างรอยแตกร้าวลงได้ถึงร้อยละ 63.55 ที่การกัดกร่อนร้อยละ 2 และลดลงร้อยละ 27.96 ที่การกัดกร่อนร้อยละ 5 และการผสมเส้นใยช่วยทดแทนกำลังรับแรงดัดที่สูญเสียเนื่องจากการกัดกร่อนได้ โดยการผสมเส้นใยร้อยละ 0.5 สามารถทดแทนกำลังที่สูญเสียไปร้อยละ 101.3 ที่การกัดกร่อนร้อยละ 2 และ การผสมเส้นใยร้อยละ 1.0 สามารถทดแทนกำลังที่สูญเสียไปร้อยละ 101.2 ที่การกัดกร่อนร้อยละ 5 อีกทั้งเส้นใยเหล็กยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายแรงไปยังเหล็กเสริมรับแรงดึงและช่วยให้พฤติกรรมการรับแรงดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กไม่เปลี่ยนแปลงไปภายใต้ภาวะการกัดกร่อน


Balancing Mass Transit Ridership Through Land Use Development, Achara Limmonthol Jan 2019

Balancing Mass Transit Ridership Through Land Use Development, Achara Limmonthol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The utmost utility of the transit system can be supported by the balance of ridership. It is not only gaining more operational benefits but also enhancing the efficiency of the system as a whole. Transit Oriented Development (TOD) is defined as an integration between land use and transportation, which focuses on the station areas. Land use characteristics are the essential factors that affect trip generation and trip attraction. Some types of land use generate trips mainly during peak hours. Meanwhile, some other types generate trips during off-peak hours. This dissertation therefore focuses on the balancing mass transit ridership through land …


Shear Wave Velocity Measurement Of Bangkok Clay Under Triaxial Testing With Various Stress Paths, Sirichai Pethrung Jan 2019

Shear Wave Velocity Measurement Of Bangkok Clay Under Triaxial Testing With Various Stress Paths, Sirichai Pethrung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Orientation paths of shear wave velocity for clayey soil subjected to multiple triaxial loading tests are dependent on complicated factors direction of stresses, void ratio, coefficient of earth pressure at rest, etc. However, most suggested the mean effective stress could provide a suitable correlation as well. In the present study, an identify the shear wave velocity under triaxial undrained small loading-unloading test , monotonic triaxial drained compression test , triaxial drained loading-unloading test , triaxial stress control test , drained triaxial extension , and undrained triaxial extension measured using the bender elements was presented. These results are indicated that the …


A Study On Intermediate Debonding For Steel Beams Strengthened With Fiber Reinforced Polymer Plates, Tosporn Prasertsri Jan 2019

A Study On Intermediate Debonding For Steel Beams Strengthened With Fiber Reinforced Polymer Plates, Tosporn Prasertsri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

There are limited previous works focusing on the occurrence of intermediate debonding in steel beams strengthened with fiber reinforced polymer (FRP) plates. Tested beams in the past experiments invoked an intermediate debonding by creating notch in steel beams. An anchorage system at FRP termination points was installed on some tested beams in literature. This research uses an initial bond defect to induce an intermediate debonding at the FRP-steel interface. The bond behavior of FRP-steel interface was investigated through the FRP-steel joints under the single lap shear testing. A four-point bending test was conducted to examine the flexural properties of FRP-strengthened …


Modified Response Spectrum Analysis For Computing Seismic Demands Of Multi-Tower Building Sharing A Common Podium, Tarek Youssef Jan 2019

Modified Response Spectrum Analysis For Computing Seismic Demands Of Multi-Tower Building Sharing A Common Podium, Tarek Youssef

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To design irregular tall buildings, performance-based design (PBD) approach, which requires nonlinear response history analysis (NLRHA), is the most accurate method. However, PBD approach is not always used in the current design practice because of its complexity, and as allowed in ASCE 7-16, design engineer can use code-based approach such as response spectrum analysis (RSA) procedure. This paper aims to investigate the accuracy of RSA procedure when applied to irregular tall buildings, and in particular for multi-tower buildings sharing a common podium. Also, a modified response spectrum analysis (MRSA) procedure previously proposed for computing shear demand in regular tall buildings, …


Fundamental Solutions Of Multi-Layer Elastic Media With Couple Stress Theory, Wipavee Wongviboonsin Jan 2019

Fundamental Solutions Of Multi-Layer Elastic Media With Couple Stress Theory, Wipavee Wongviboonsin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis presents fundamental solutions of a two-dimensional, elastic, multi-layered medium under surface loadings by taking the influence of material micro-structure into account. An underlying mathematical model for simulating such small-scale influence is established within the continuum-based framework via the well-known couple stress theory. For each material layer, the generalized Navier’s equation governing the displacement field is established and the method of Fourier integral transform is applied to derive its general solution in a transformed space. A set of boundary conditions and the continuity of fields along the material interfaces are enforced to obtain a system of linear algebraic equations …