Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Civil and Environmental Engineering

PDF

Chulalongkorn University

2019

Articles 1 - 30 of 63

Full-Text Articles in Engineering

บทบรรณาธิการ, ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ Jun 2019

บทบรรณาธิการ, ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

No abstract provided.


กลยุทธ์การวางแผนเส้นทางการขนส่งทางทะเล, นารถสิรินธร์ เนติฤทธิ์ Jun 2019

กลยุทธ์การวางแผนเส้นทางการขนส่งทางทะเล, นารถสิรินธร์ เนติฤทธิ์

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

การขนส่งสินค้าทางทะเลมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบันอันเนื่องมาจากความต้องการสินค้า มีมากขึ้น ทำให้มีการขนส่งเพิ่มขึ้นตามลำดับ เมื่อทำการขนส่งสินค้าย่อมต้องคำนึง ถึงเส้นทางที่ใช้ ในการขนส่ง จึงเกิดการใช้กลยุทธ์เพื่อการวางแผนเส้นทางการขนส่งทางทะเล บทความนี้มี วัตถุประสงค์หลักเพื่อได้ทราบถึงกลยุทธ์ที่สำคัญต่อเจ้าของเรือ บริษัทสายเรือและนักเดินเรือที่ส่ง ผลต่อการวางแผนเส้นทางการขนส่งทางทะเล โดยได้ทำการศึกษาวิเคราะห์และทบทวนวรรณกรรม เกี่ยวข้อง จากผลการศึกษาสรุปพอสังเขปได้ว่ากลยุทธ์การวางแผนเส้นทางการขนส่งทางทะเลสำหรับ เจ้าของเรือนั้นประกอบไปด้วย กลยุทธ์การออกแบบเรือและขนาดของเรือ ซึ่งมีผลต่อการเลือกเส้นทาง และพิจารณาถึงขีดความสามารถในการผ่านคลอง กลยุทธ์การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการออกแบบ เรือส่งผลให้ การเดินเรือมีความแม่นยำ ประหยัดพลังงานและมีความปลอดภัย ในส่วนของบริษั ท สายเรือมีผลต่อกลยุทธ์ในด้านการเลือกตลาด เพื่อดูปริมาณสินค้าและแนวโน้มทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกท่าเรือต้นทางและปลายทาง กลยุทธ์การเลือกใช้ Hub and Spoke จึงเกิดการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและเกิดการเชื่อมโยงทางการขนส่ง รวมไปถึง กลยุทธ์การลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า ส่วนกลยุทธ์ที่มีผลต่อนักเดินเรือ ได้แก่ ด้านความปลอดภัย ลดระยะเวลาและระยะทาง รวมไปถึงการเลือกเส้นทางและรูปแบบในการเดินเรือ ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้ ไม่ว่ากลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่ง หรือหลายกลยุทธ์ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเส้นทางทั้งสิ้น เพราะการ เดินเรือทุกเที่ยวย่อมต้องการให้เกิดประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุดในเรื่องของต้นทุน เวลา และโดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย ของลูกเรือ ตัวเรือ และสินค้า


กลยุทธ์การส่งเสริมการใช้ท่าเรือเวียงเชียงแสนเพื่อเชื่อมต่อแหล่งท่องเที่ยว ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน, สุมาลี สุขดานนท์ Jun 2019

กลยุทธ์การส่งเสริมการใช้ท่าเรือเวียงเชียงแสนเพื่อเชื่อมต่อแหล่งท่องเที่ยว ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน, สุมาลี สุขดานนท์

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการจัดการท่องเที่ยวแม่น้ำโขง ผ่านท่าเรือเวียงเชียงแสน เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในแม่น้ำโขงของอำเภอเชียงแสน ซึ่งเครื่องมือที่นำมาวิเคราะห์ได้แก่ PESTEL (Political–Economic–Social–Technology–Environmental–Legal Analysis) โดยข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบด้วยข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งได้จากการสำรวจภาคสนามและสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลทุติยภูมิจากการทบทวนเอกสารและงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าท่าเรือเวียงเชียงแสนเป็นท่าเรือที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในแม่น้ำโขงค่อนข้างสูง สามารถเชื่อมต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญโดยเฉพาะพื้นที่จีนตอนใต้ ทั้งนี้หน่วยงานหลักที่ควรเข้ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของท่าเรือเวียงเชียงแสนมาใช้ คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย


การศึกษาลักษณะและพฤติกรรมการเดินทาง ของผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ - เตาปูน), พงศธร โง้วกาญจนนาค, ภาม เรืองหนู Jun 2019

การศึกษาลักษณะและพฤติกรรมการเดินทาง ของผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ - เตาปูน), พงศธร โง้วกาญจนนาค, ภาม เรืองหนู

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทาง ลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ ของผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งในขณะที่ทำการศึกษารถไฟฟ้าสายสีม่วงยังไม่มีการเชื่อมเส้นทาง กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีเตาปูน ดังนั้นการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จึงมีการ แก้ไขชั่วคราวการเชื่อมต่อโดยให้บริการรถโดยสารสาธารณะเชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูนและสถานี บางซื่อ (สายสีน้ำเงิน) และมีรถไฟเชื่อมต่อระหว่างสถานีบางซ่อนและสถานีบางซื่อในช่วงเวลาเร่งด่วน โดยประมาณเวลาเดินทางที่เพิ่มขึ้นจากการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าโดยสมบูรณ์อยู่ที่ 15-20 นาที จากปัญหา นี้จึงทำให้ผู้คนที่สัญจรในเส้นทางนี้ อาจจะมีการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางเป็นรูปแบบอื่นที่ใช้เวลา เดินทางน้อยกว่า และถูกเน้นย้ำโดยปริมาณผู้โดยสารในภายหลัง ซึ่งพบว่าปริมาณผู้โดยสารโดยเฉลี่ย หลังจากมีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีเตาปูนในปี 2560 นั้น มากกว่าปริมาณผู้โดยสาร ในปีก่อนหน้าประมาณสามเท่า ที่ 52,000 คน และ 18,500 คน ตามลำดับในการศึกษาครั้งนี้มี การรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,409 ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่าลักษณะโดยส่วนใหญ่ ของกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิง มีอายุเฉลี่ยที่ 34 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี มีราย ได้บุคคลและรายได้ครัวเรือนต่อเดือนที่ระดับ 10,000 - 20,000 บาท และ 20,000 - 50,000 บาท มีสมาชิกครอบครัว 4 คน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่พักอาศัยและที่ทำงาน สำหรับพฤติกรรมการเดิน ทางในปัจจุบันนั้น พบว่าส่วนใหญ่มีที่พักอาศัยเป็นต้นทางหรือปลายทาง มีวิธีการเดินทางเข้าสู่สถานี เป็นการเดินทาง โดยมีค่าเฉลี่ยของระยะทาง ค่าใช้จ่ายและเวลาเท่ากับ 3,781.61 เมตร 15.76 บาท และ 11.41 นาที ตามลำดับ และสำหรับการออกจากสถานีใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยมีค่าเฉลี่ยของ ระยะทาง ค่าใช้จ่าย และเวลาเท่ากับ 7,007.49 เมตร 32.79 บาท และ 27.04 นาที ตามลำดับ โดย เดินทางเพื่อไปทำงานมีค่าใช้จ่ายและเวลาเดินทางรวมโดยเฉลี่ยเท่ากับ 64.01 บาท และ 54.51 นาที ใช้บริการ 4-5 วันต่อสัปดาห์และเป็นการเดินทางแบบไปกลับ โดยใช้รถไฟฟ้าทั้งไปและกลับ สำหรับ การเดินทางในอดีตนั้น พบว่าใช้รถตู้เป็นส่วนใหญ่โดยมีค่าใช้จ่ายและเวลาเฉลี่ยเท่ากับ 68.93 บาท …


พฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร, ตฤณวรรษ ปานสอน, เกษม ชูจารุกุล Jun 2019

พฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร, ตฤณวรรษ ปานสอน, เกษม ชูจารุกุล

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

งานวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและตรวจสอบทัศนคติของผู้ใช้รถยนต์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจ ในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้รถยนต์ในกรุงเทพมหานคร ข้อมูลที่ใช้ใน การวิเคราะห์ได้มาจากแบบสอบถาม โดยความสัมพันธ์ภายในแบบจำลองมาจากทฤษฎีการยอมรับ เทคโนโลยี หรือ Technology Acceptance Model (TAM) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 401 ตัวอย่าง พบว่าแต่ละตัวแปรในแบบจำลอง ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญกับตัวแปรความตั้งใจ ที่จะใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบจำลองพบว่า ตัวแปรสังเกตได้มีความสอดคล้องกับตัวแปรแฝงเป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์โครงสร้าง เชิงสาเหตุพบว่าแบบจำลองสมมติฐานมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ นอกจากนี้ความตั้งใจ ในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าสามารถอธิบายได้จากตัวแปรแฝงภายใน ได้แก่ ทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ไฟฟ้า การรับรู้ถึงความสะดวกในการใช้งาน การรับรู้ถึงประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้า การยอมรับทางด้านราคา และบรรทัดฐานทางสังคม โดยความสัมพันธ์มีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.527, 0.405, 0.403, 0.278 และ 0.259 ตามลำดับ ตัวแปรเชิงทัศนคติสามารถอธิบายความ แปรปรวนของความตั้งใจในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของผู้ใช้รถยนต์ได้ร้อยละ 42 การทราบและเข้าใจ ถึงทัศนคติที่ส่งผลต่อความตั้งในการใช้งานจะช่วยให้ผู้วางแผนหรือผู้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ รถยนต์ไฟฟ้าทราบว่า ควรจะส่งเสริมหรือควบคุมนโยบายที่เหมาะสมในกลุ่มเป้าหมาย


ผลกระทบของการเข้าถึงระบบขนส่งและปัจจัยเชิงพื้นที่ต่อราคา คอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, นิธิกร เชื้อเจ็ดตน, ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ Jun 2019

ผลกระทบของการเข้าถึงระบบขนส่งและปัจจัยเชิงพื้นที่ต่อราคา คอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, นิธิกร เชื้อเจ็ดตน, ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

บทความนี้นำเสนอการศึกษาผลกระทบจากปัจจัยด้านลักษณะต่าง ๆ ของคอนโดมิเนียม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยทางด้านกายภาพ ปัจจัยทางด้าน ตำแหน่งที่ตั้ง และปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมของคอนโดมิเนียม ที่ส่งผลต่อราคาคอนโดมิเนียม โดยใช้แบบจำลอง Hedonic Price ในการวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบสมการถดถอยเชิงเส้นตรง (Linear Regression) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วยข้อมูลคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลรวมทั้งสิ้น 1,058 แห่ง ซึ่งเป็นข้อมูลคอนโดมิเนียมที่เปิดขายระหว่าง พ.ศ.2550 ถึง พ.ศ.2559 จากการประมาณค่าพารามิเตอร์ของแบบจำลองด้วยวิธีกำลังสองที่น้อยที่สุด (OLS) และ การใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Spatial Analysis Technique) พบว่าราคาคอนโดมิเนียมจะมี ราคาลดลง 1,380 บาทต่อตารางเมตร สำหรับทุก ๆ ระยะทาง 1 กิโลเมตร ที่เพิ่มขึ้นจากสถานีรถไฟฟ้า ออกไป ปีที่ส่งผลให้ราคาคอนโดมิเนียมมีราคาสูงที่สุดคือปี พ.ศ.2559 นอกจากนั้นยังพบว่าย่านธุรกิจ หลักของกรุงเทพมหานครที่ทำให้ราคาคอนโดมิเนียมมีราคาสูงกว่าย่านอื่น คือ ย่านสีลม ตามด้วย ย่านอโศก และย่านทองหล่อตามลำดับ


การปรับปรุงระบบการจัดเก็บในศูนย์กระจายสินค้า, พัฒนพงษ์ แสงหัตถวัฒนา, อรณิชา อนุชิตชาญชัย Jun 2019

การปรับปรุงระบบการจัดเก็บในศูนย์กระจายสินค้า, พัฒนพงษ์ แสงหัตถวัฒนา, อรณิชา อนุชิตชาญชัย

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

ในการหยิบสินค้าตามใบเบิกสินค้าแบบหลายคำสั่งต่อรอบ ตำแหน่งการจัดเก็บสินค้ามีผล อย่างมากต่อระยะเวลาในการเบิกจ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับศูนย์กระจายสินค้าในธุรกิจจัดส่งสินค้า ถึงบ้าน ดังนั้นในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นปรับปรุงระบบการจัดเก็บของศูนย์กระจายสินค้าเพื่อลดระยะเวลา ในการเบิกจ่ายสินค้า โดยทำการเปรียบเทียบนโยบายในการจัดเก็บ 3 รูปแบบ ประกอบด้วย (1) ระบบจัดเก็บตามกลุ่มประเภทสินค้าทั่วไป (2) ระบบจัดเก็บแบบตามลำดับของสินค้า และ (3) ระบบการจัดเก็บตามความสัมพันธ์ของสินค้าในใบเบิกสินค้า ซึ่งผลจากการจำลองสถานการณ์ พบว่าการจัดเก็บแบบตามความสัมพันธ์ของสินค้าให้ผลที่ดีที่สุด และการจัดสรรพื้นที่สำหรับเบิกจ่าย รวดเร็ว (Forwarding Area) ให้ผลที่ดีกับทุกรูปแบบการจัดเก็บ


Wind Load Analysis Of A High-Rise Building By Computational Fluid Dynamics, Canh Thiet Phung Jan 2019

Wind Load Analysis Of A High-Rise Building By Computational Fluid Dynamics, Canh Thiet Phung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As new buildings become taller due to limited land area, often irregular in shapes for esthetics and some design constraints, wind load formula provided in design codes/standards cannot be applied because of the limitations. Wind tunnel test (WTT) is thus the suggested approach to obtain appropriate wind load for the design of such buildings. However, WTT is costly and time-consuming as it often requires much preparation of the small-scale model of the target building, instrumentation, and numerous realistic blocks of surrounding buildings (SBs). In this study, the CFD's accuracy will be evaluated by comparing its results to WTT by a …


Analysis Of Demand On Shared Mobility Packages In University Campus, Sandar Win Jan 2019

Analysis Of Demand On Shared Mobility Packages In University Campus, Sandar Win

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Shared mobility is the emerging service and comes in various forms. In Chulalongkorn University, innovative shared mobility services such as shared bicycle (CU Bike), small electric vehicle sharing (Ha:mo) and ride sharing tricycle (Muvmi) are offered along with conventional free bus (Pop bus) circulation. This study aimed to explore the attributes of the monthly mobility package which have effect on student’s decision while offering the integrated service package for CU students. Two phases of questionnaire surveys were conducted to find out the satisfaction on existing mobility services quality, barriers that discourage students from using shared mobilities, and factors that influence …


ผลของปริมาณบอแรกซ์และเถ้าแกลบต่อสมบัติของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูง, กิตติ์ จันทร์ประสิทธิ์ Jan 2019

ผลของปริมาณบอแรกซ์และเถ้าแกลบต่อสมบัติของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูง, กิตติ์ จันทร์ประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาสมบัติของวัสดุจีโอโพลิเมอร์ที่ผสมบอแรกซ์ที่เรียกว่า “บอโรอลูมิโนซิลิเกต (BASG)” ซึ่งเป็นหนึ่งในวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเชื่อมประสานของจีโอโพลิเมอร์ทำจากเถ้าลอยแคลเซียมสูง โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NH) โซเดียมซิลิเกต (NS) และบอแรกซ์ ทุกส่วนผสมใช้สัดส่วนเถ้าลอยต่อทรายคงที่เท่ากับ 1:2.75 โดยน้ำหนัก ใช้อัตราส่วน NS/NH โดยน้ำหนักเท่ากับ 1:1, 0.75:1 และ 0.5:1 ใช้บอแรกซ์แทนที่ NS ในปริมาณ 0%, 10%, 20% และ 30% โดยน้ำหนัก และศึกษาการใช้เถ้าแกลบ (RHA) ในการพัฒนากำลังรับแรงและความทึบน้ำของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ โดยใช้ RHA ในปริมาณ 0%, 3.6%, 4.8% และ 6.0% โดยน้ำหนักของเถ้าลอย จากการทดสอบพบว่าการแทนที่ NS ด้วยบอแรกซ์ส่งผลให้ความสามารถทำงานได้และความแข็งแรงของมอร์ต้าร์ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนผสมควบคุมที่ไม่ผสม RHA พบว่า BASG มอร์ต้าร์ที่ผสม RHA มีกำลังอัด กำลังดัด และความทึบน้ำที่ดีกว่า ผลการทดสอบโครงสร้างระดับจุลภาคบ่งชี้ว่าการใส่ RHA ช่วยเพิ่มสัดส่วน Si/Al ของจีโอโพลิเมอร์เจล โดยกำลังรับแรงอัดของ BASG มอร์ต้าร์ที่ผสม RHA มีค่าสูงสุดเท่ากับ 58.6 MPa


การบริหารการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการนำ Bim มาใช้ในองค์การ Aec, รุ่งอนันต์ พระพรเพ็ญ Jan 2019

การบริหารการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการนำ Bim มาใช้ในองค์การ Aec, รุ่งอนันต์ พระพรเพ็ญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงแบบจำลองธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม เทคโนโลยีที่เข้ามามีผลกระทบ (disruptive technology) ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งได้นำการจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) เข้ามาใช้อย่างกว้างขวาง BIM จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่องค์กรด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และก่อสร้าง (Architecture, Engineering, and Construction, AEC) นำมาใช้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงองค์กรมีความซับซ้อนเนื่องจากขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น วัฒนธรรมขององค์กร ทรัพยากรที่องค์กรมี ความพร้อมและทักษะของผู้นำการเปลี่ยนแปลง งานวิจัยนี้เสนอแนวทางในการเปลี่ยนแปลงองค์กรซึ่งนำ BIM มาใช้ ทฤษฎีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสองทฤษฎีถูกนำมาใช้สร้างกรอบแนวคิดเบื้องต้น ข้อมูลที่จำเป็นถูกรวบรวมจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ 11 ท่านจากองค์กรเจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้รับจ้างก่อสร้าง และที่ปรึกษา เราสามารถแบ่งรูปแบบการเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ 3 รูปแบบตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างองค์กร โดยสองรูปแบบแรกเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยองค์กรตนเองเป็นหลัก ส่วนอีกรูปแบบอาศัยองค์กรที่ปรึกษาเป็นหลัก ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงองค์กร BIM ขึ้นอยู่กับ ผู้นำ BIM และวัฒนธรรมองค์กร


การศึกษาอายุการใช้งานและผลกระทบที่ได้รับจากระบบกรองน้ำบาดาลเพื่อกำจัดฟลูออไรด์: กรณีศึกษา หมู่บ้านบ้านใหม่ในฝัน ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน, กิตติคุณ เสมอภาค Jan 2019

การศึกษาอายุการใช้งานและผลกระทบที่ได้รับจากระบบกรองน้ำบาดาลเพื่อกำจัดฟลูออไรด์: กรณีศึกษา หมู่บ้านบ้านใหม่ในฝัน ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน, กิตติคุณ เสมอภาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอายุการใช้งาน การเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงทางสุขภาพเบื้องต้น และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบกรองน้ำที่ทำการติดตั้งในหมู่บ้านบ้านใหม่ในฝัน ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน จากการศึกษาพบว่า น้ำขาออกจากระบบมีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำบาดาลสำหรับบริโภค ซึ่งเมื่อทำการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของผู้ได้รับผลประโยชน์ พบว่า ค่าดัชนีความเป็นอันตรายเนื่องจากฟลูออไรด์มีค่าลดลงจนถึงระดับน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ ส่วนการประเมินอายุการใช้งานของระบบการกำจัดฟลูออไรด์ และสารคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำด้วยระบบคอลัมน์ พบว่า ที่ความสูงของชั้นกรองที่ 25.00 ซม. อัตราการกรอง 2.30 มล./นาทีสามารถกำจัดฟลูออไรด์และสารคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำได้ดีที่สุด ด้วยมีระยะเวลาที่จุดเบรกทรูยาวนาน มีค่าอัตราการใช้สารกรองต่ำ และระยะเวลาการสัมผัสสารของชั้นกรองสูง และจากการทำนายอายุการใช้งานของสารกรอง ตามสมการ ของ Thomas พบว่า การกำจัดฟลูออไรด์และคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำด้วยระบบคอลัมน์ ที่ความสูงชั้นกรองที่ 25.00 ซม. อัตราการกรอง 2.30 มล./นาที สารกรองมีค่าความสามารถในการดูดซับสูงสุด และจากการศึกษาผ่านสมการ Bohart and Adam พบว่าการกำจัดฟลูออไรด์เป็นไปตามความสัมพันธ์ดังสมการ Y=429X–6.430 โดย Y คือ เวลาเบรกทรู(นาที) และ X คือ ความสูงของชั้นกรองถ่านกระดูก(ซม.)ที่อัตราการกรอง 0.01 ลบ.ม./ชม. ส่วนการกำจัดสารคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำ พบว่า สมการความสัมพันธ์คือ Y=50,931X–934 โดยที่ Y คือ เวลาเบรกทรู(นาที) และ X คือ ความสูงชั้นกรองถ่านกัมมันต์(ซม.) ที่อัตราการกรอง 0.01 ลบ.ม./ชม. และจากการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโครงการ พบว่า ความคุ้มค่าของโครงการกรณีภาครัฐลงทุนให้ และส่งมอบชาวบ้าน มีมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ(NPV) คือ 6,448.36 บาท อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนโครงการ(B/C Ratio) 1.008 อัตราผลตอบแทนโครงการ(IRR) ร้อยละ 4.407 และระยะเวลาคืนทุน(PB) 0 ปี ส่วนกรณีชาวบ้านลงทุนด้วยตัวเองและจัดการทั้งหมด พบว่ามูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ คือ -365,822.50 บาท อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนโครงการ ร้อยละ 0.6909 อัตราผลตอบแทนโครงการ และระยะเวลาคืนทุน ไม่สามารถหาค่าได้


การศึกษาการประยุกต์ใช้แผ่นยางพารารมควันเป็นยางรองใต้หมอนในทางรถไฟที่มีหินโรยทางในการใช้งานระยะยาวเพื่อลดการสึกหรอและจำนวนรอบของการซ่อมบำรุงรักษา, ศุภกร รอดการทุกข์ Jan 2019

การศึกษาการประยุกต์ใช้แผ่นยางพารารมควันเป็นยางรองใต้หมอนในทางรถไฟที่มีหินโรยทางในการใช้งานระยะยาวเพื่อลดการสึกหรอและจำนวนรอบของการซ่อมบำรุงรักษา, ศุภกร รอดการทุกข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เครือข่ายรถไฟส่วนใหญ่ในโลกเป็นทางรถไฟที่ใช้หินโรยทาง เมื่อปริมาณการจราจรสะสมมากขึ้นหินโรยทางจะเสื่อมสภาพมากขึ้นเนื่องจากมวลรวมแตก รอยขีดข่วนและการขัดสี ดังนั้นความพยายามที่จะลดการสึกหรอของหินโรยทางเพื่อลดต้นทุนการบำรุงรักษาจึงเป็นหัวข้อสำคัญสำหรับทางรถไฟและนักวิจัยจำนวนมาก ทางเลือกที่พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จคือการใช้แผ่นรองใต้หมอนซึ่งเป็นวัสดุแบบยืดหยุ่น (USP) ระหว่างอนุภาคของหินโรยทางและหมอนรถไฟ วัสดุโพลีเมอร์สังเคราะห์ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการรถไฟ USP หลายชนิดและสามารถลดการเสื่อมสภาพของหินโรยทางและรวมถึงการลดการสั่นสะเทือนได้ จากการศึกษาล่าสุดพบว่ายางธรรมชาติสามารถทำหน้าที่คล้ายกับ USP ได้เช่นกัน เนื่องจากยางธรรมชาติมีอยู่มากในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะตรวจสอบประสิทธิภาพในเชิงลึกในฐานะ USP ในการศึกษานี้ USP ยางธรรมชาติได้รับการติดตั้งในการทดสอบภายใต้การจราจรที่หนาแน่นโดยใช้การทดสอบกล่องรับแรงกระทำซ้ำภายใต้สภาพฐานรากที่แข็ง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า USP ยางธรรมชาติสามารถลดปริมาณการแตกของอนุภาคหินโรยทางลงได้อย่างมากเมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มี USP


A Business Success Evaluation Of Market Entry Mode Types In Myanmar Construction, Naw Ruth Po Gay Jan 2019

A Business Success Evaluation Of Market Entry Mode Types In Myanmar Construction, Naw Ruth Po Gay

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The optimal entry mode decision and knowing the critical success factors are important for successful international market expansion. However, there are not many studies for developing Asian countries, such as Myanmar. Investors need to know what factors influence entry mode decision and business success. Therefore, the objectives of this study are 1) to identify the factors that influence entry modes decision, 2) to identify the critical success factors of entry modes for business, 3) to identify the significant factors that affect business success. The questionnaire survey using a five-point Likert scale was developed and distributed in Yangon, the commercial city …


Seismic Enhancement Of Reinforced Concrete Columns With Lap Splices Using External Steel Collars, Pochara Kruavit Jan 2019

Seismic Enhancement Of Reinforced Concrete Columns With Lap Splices Using External Steel Collars, Pochara Kruavit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigated the behavior of reinforced concrete (RC) columns with lap splices and mechanical splices. The study conducted the full-scale test and predicted a lateral load capacity using the proposed numerical model. The test configuration was a cantilever column subjected to a cyclic lateral loading and a constant gravity load. The tested specimens consisted of the RC column without lap splices, RC columns with spliced reinforcement including lap splices and mechanical splices, and RC column with lap splices strengthened by external steel collars. The experimental result indicated that the lateral load capacity of the RC column with mechanical splices …


The Performance Of Automatic Adaptive Edge-Based Smoothed Finite Element Method In Engineering Mechanics Applications, Vu Hoang Le Jan 2019

The Performance Of Automatic Adaptive Edge-Based Smoothed Finite Element Method In Engineering Mechanics Applications, Vu Hoang Le

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The thesis investigates the performance of an edge-based smoothed finite element method (ES-FEM) combined with an automatic mesh refinement (AMR) algorithm to provide the solutions of in-plane elastic engineering mechanics applications. The ES-FEM adopts a strain smoothing technique over the edges adjoining the two adjacent triangular-shape meshes, whilst a layer of singular yet compatible five-node elements in addition to standard three-node ES-FEs can be employed to overcome the problems associated with stress singularity. The proposed framework enables the effective model construction of realistic engineering structures with complex geometry at modest computational resources. The AMR algorithm adopts the newest node bisection …


Strength Analysis Of Concrete-Encased Cellular Steel Columns, Worakarn Anuntasena Jan 2019

Strength Analysis Of Concrete-Encased Cellular Steel Columns, Worakarn Anuntasena

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigates the compression behavior of bare cellular steel columns and concrete-encased cellular steel (CECS) columns subjected to concentric and eccentric loadings. First, the experimental study of the cellular steel and CECS columns was conducted in the laboratory. For the cellular steel columns subjected to concentric loading, the failure mode of the bare cellular steel columns was local buckling at both web and flanges at the hole section. All cellular steel columns exhibited yielding and hardening behavior. The cellular columns had the average yield loads less than the parent column by 15 %. For the CECS and CES columns …


Development Of Flotation Enhanced Stirred Tank (Fest) Process For Petroleum Hydrocarbons Removal From Drill Cuttings, Marina Phea Jan 2019

Development Of Flotation Enhanced Stirred Tank (Fest) Process For Petroleum Hydrocarbons Removal From Drill Cuttings, Marina Phea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This work aims to develop the treatment process for the removal of total petroleum hydrocarbons (TPH) from DC by using the combination of air floatation and stirring processes, called Flotation Enhanced Stirred Tank (FEST). Initially, stirring, induced air flotation (IAF), and dissolved air flotation (DAF) are individually investigated over DC washing. Afterward, the combination process between “stirring-DAF” and “stirring-IAF-DAF” are continuously observed for finding the better conditions of TPH removal efficiency. To optimize the operational terms of the treatment process, the Design of Experiment (DOE) is applied to design the experimental conditions within the central composite design-response surface methodology (CCD-RSM). …


ทัศนคติของนักเรียนต่อการใช้งานทางข้ามบริเวณโรงเรียน, ณัฐสัญญ์ ปัญญาวิสุทธิชัย Jan 2019

ทัศนคติของนักเรียนต่อการใช้งานทางข้ามบริเวณโรงเรียน, ณัฐสัญญ์ ปัญญาวิสุทธิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เขตบริเวณโรงเรียนเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนผู้เดินเท้าจำนวนมากโดยเฉพาะนักเรียน การข้ามถนนในบริเวณโรงเรียนที่มีจำนวนมากนำมาซึ่งโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการข้ามถนน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทัศนคติในการข้ามถนนและต้องการลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียนในอนาคต โดยได้รวบรวมทัศนคติของนักเรียนต่อการใช้งานทางข้ามบริเวณโรงเรียน ด้วยการใช้แบบสอบถามข้อมูลทัศนคติในการข้ามถนนและประสบการณ์ในการข้ามถนนบริเวณโรงเรียน นอกจากนี้งานวิจัยชิ้นนี้ยังศึกษาทัศนคติด้านความปลอดภัยในการข้ามถนนภายใต้สถานการณ์สมมติ โดยพิจารณาองค์ประกอบ 4 ปัจจัยได้แก่ สัญญาณไฟคนข้ามถนน สัญลักษณ์เตือนผู้ขับขี่ ทางแยกและสิ่งกีดขวางบริเวณทางข้าม ในส่วนของทัศนคติในการข้ามถนนและประสบการณ์การข้ามถนนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Principal Component Analysis (PCA) ในการแบ่งกลุ่ม เพื่อนำไปหาความสัมพันธ์ของความรู้สึกปลอดภัยในการข้ามถนนเทียบกับตัวแปรอื่นโดยการใช้การวิเคราะห์ถดถอยแบบเส้นตรง ผลการศึกษาจากรวบรวมข้อมูลนักเรียนโดยการใช้แบบสอบถามเป็นจำนวน 430 ชุดพบว่า เพศหญิงจะมีทัศนคติต่อการข้ามถนนที่ปลอดภัยกว่า ได้รับประสบการณ์ในการข้ามถนนที่แย่กว่า สำหรับการวิเคราะห์สถานการณ์จำลองพบว่า สัญญาณไฟคนข้ามถนนเป็นองค์ประกอบที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการข้ามถนนมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าทางข้ามที่มีทางแยกและสิ่งกีดขวางร่วมกัน จะมีความปลอดภัยในการข้ามถนนต่ำกว่าทางข้ามอื่น


แบบจำลองการตัดสินใจของรัฐเพื่อการต่อสัญญาสัมปทานโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมภายใต้ความไม่แน่นอนโดยวิธีเรียลออปชัน, อภิชัย รักประสงค์ Jan 2019

แบบจำลองการตัดสินใจของรัฐเพื่อการต่อสัญญาสัมปทานโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมภายใต้ความไม่แน่นอนโดยวิธีเรียลออปชัน, อภิชัย รักประสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้สัญญาร่วมลงทุน (Public Private Partnership, PPP) ที่ใกล้สิ้นสุดสัญญา กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการต้องว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการดำเนินการโครงการซึ่งอาจมีได้หลายรูปแบบ โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินและความเสี่ยงใน 3 แนวทาง ได้แก่ (1) รัฐรับผิดชอบในการดำเนินโครงการเอง (2) รัฐต่อสัญญาโดยวิธี PPP Net Cost และ (3) รัฐต่อสัญญาโดยวิธี PPP Gross Cost สำหรับประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบโครงการ แบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินและความเสี่ยงที่ใช้ในการศึกษา มีขั้นตอนดังนี้ (1) สร้างแบบจำลองทางการเงินของโครงการในแต่ละทางเลือก โดยใช้โครงการทางด่วนศรีรัชเป็นกรณีศึกษา (2) พยากรณ์ปริมาณจราจรและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยวิธี Double Moving Average, Standard Normal Probability และ Geometric Brownian Motion (3) วิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินที่รัฐและเอกชนคาดว่าจะได้รับ โดยใช้อัตราคิดลดที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของกระแสเงินในโครงการ (4) วิเคราะห์ความอ่อนไหว เพื่อระบุตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์พบว่า รัฐควรเลือกใช้สัญญา PPP Gross Cost ในการต่อสัญญา เพราะเป็นแนวทางที่คาดว่ารัฐจะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และผลจากการวิเคราะห์ความอ่อนไหวพบว่า ตัวแปรเสี่ยงจราจรที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนทางการเงินมากที่สุด คือ ปริมาณจราจรสาย A-B ส่วนตัวแปรเสี่ยงค่าใช้จ่ายดำเนินการที่มีผลกระทบมากที่สุด คือ งานจัดเก็บค่าผ่านทาง ในการศึกษานี้จึงได้เสนอการจัดการความเสี่ยงโดยการใช้สัญญาสัมปทานระยะสั้นและใช้วิธีเรียลออปชั่นในการประเมินมูลค่าในการต่อสัญญาถัดไป เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของรัฐและภาคเอกชน


การปลดปล่อยคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำและไอออนจากกระบวนการดูดซับฟลูออไรด์ด้วยถ่านกระดูกและถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ด, กฤษกร ศรีรังสิต Jan 2019

การปลดปล่อยคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำและไอออนจากกระบวนการดูดซับฟลูออไรด์ด้วยถ่านกระดูกและถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ด, กฤษกร ศรีรังสิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดฟลูออไรด์ด้วยถ่านกระดูก (BC) และถ่านกระดูกที่ถูกกระตุ้นด้วยสารโซเดียมไฮดรอกไซด์และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ รวมถึงศึกษาการปลดปล่อยสารคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำ (DOC) จากถ่านกระดูก และศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับ DOC ด้วยถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ด (GAC) จากการศึกษาแบบทีละเทพบว่า BC มีประสิทธิภาพในการกำจัดฟลูออไรด์มากกว่าถ่านกระดูกที่ถูกกระตุ้นด้วยสารเคมี เนื่องจากการกระตุ้นด้วยสารเคมีทำให้สารไฮดรอกซีอะพาไทต์ (HAP) ภายในวัสดุดูดซับลดลง โดยจลนพลศาสตร์และไอโซเทอมการดูดซับฟลูออไรด์ด้วย BC สอดคล้องกับสมการจลนพลศาสตร์การดูดซับอันดับหนึ่งเสมือนและไอโซเทอมการดูดซับแบบเส้นตรง ขณะที่จลนพลศาสตร์และไอโซเทอมการดูดซับ DOC ด้วย GAC สอดคล้องกับสมการจลนพลศาสตร์การดูดซับอันดับสองเสมือนและไอโซเทอมการดูดซับแบบเส้นตรงและแบบเรดลิชและปีเตอร์สัน สำหรับการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของไอออน พบว่าฟลูออไรด์ ฟอสเฟต (PO43-) และแคลเซียม (Ca2+) เป็นไอออนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ทั้งนี้กลไกหลักของการกำจัดฟลูออไรด์และ Ca2+ คือการแลกเปลี่ยนไอออนและการตกตะกอนจากปฏิกิริยาทางเคมี ตามลำดับ และผลจากการแลกเปลี่ยนไอออนของฟลูออไรด์ทำให้ PO43- ถูกปลดปล่อยออกสู่สารละลาย จากการศึกษาแบบคอลัมน์พบว่าการเพิ่มความสูงของชั้นวัสดุดูดซับ ส่งผลให้เวลา ณ จุดความเข้มข้นเบรกทรูเพิ่มมากขึ้นในขณะที่อัตราการใช้วัสดุดูดซับลดลง โดยกราฟเบรกทรูที่ได้จากการทดลองทั้งกรณีการดูดซับฟลูออไรด์โดยถ่านกระดูกและการดูดซับ DOC โดย GAC สอดคล้องกับแบบจำลองของโทมัส ขณะที่การปลดปล่อย DOC ของระบบคอลัมน์ BC มีค่ามากที่สุดในช่วงเริ่มต้นการทดลองและลดลงตามระยะเวลา


การดูดซับสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนโดยวัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ที่ทำการคาร์บอไนซ์, จิรภิญญา โอทอง Jan 2019

การดูดซับสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนโดยวัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ที่ทำการคาร์บอไนซ์, จิรภิญญา โอทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้วัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ที่ทำการคาร์บอไนซ์เพื่อดูดซับสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทน โดยทำการสังเคราะห์วัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ (MOFs) ชนิด MIL-53(Al), ZIF-8(Zn) และ HKUST-1(Cu) ที่อุณหภูมิห้อง และนำมาผ่านกระบวนการคาร์บอนไนเซชันที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส ภายในก๊าซไนโตรเจน ( carbonized MIL-53(Al), carbonized ZIF-8(Zn) และ Carbonized HKUST-1(Cu)) เพื่อเพิ่มเสถียรภาพในวัฏภาคน้ำ และศึกษาดูดซับสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ คลอโรฟอร์ม(TCM), โบรโมฟอร์ม(TBM), โบรโมไดคลอรามีเทน (BDCM) และไดโบรโมคลอรามีเทน (DBCM) แบบทีละเทในน้ำประปา โดยทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับกับถ่านกัมมันต์ชนิดผงเกรดการค้า (PAC) จากผลการทดลองพบว่าตัวดูดซับที่ทำการคาร์บอไนซ์มีประสิทธิภาพในการดูดซับสูงกว่าตัวดูดซับแบบปกติ carbonized MIL-53(Al) มีอัตราเร็วในการดูดซับสารไตรฮาโลมีเทนทั้ง 4 ชนิดสูงกว่า carbonized MOFs อีก 2 ตัวและใกล้เคียงกับ PAC โดยจลนพลศาสตร์การดูดซับของสารไตรฮาโลมีเทนของ carbonized MIL-53(Al) และถ่านกัมมันต์ชนิดผงเกรดการค้า เป็นไปตามจลนพลศาสตร์การดูดซับลำดับที่ 2 เสมือน และเข้าสู่สภาวะสมดุลภายในระยะเวลา 40 นาที และ 60 นาที ตามลำดับ การศึกษาไอโซเทอมการดูดซับพบว่า carbonized MIL-53(Al) สามารถดูดซับสารไตรฮาโลมีเทนได้ดีกว่า PAC โดยสามารถดูดสารโบรโมฟอร์มได้ดีที่สุด (TCM


การวิเคราะห์ผังการไหลและการประเมินวัฏจักรชีวิตของทองคำจากกระบวนการรีไซเคิลซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของคอมพิวเตอร์, วริษฐา พงษ์หิรัญ Jan 2019

การวิเคราะห์ผังการไหลและการประเมินวัฏจักรชีวิตของทองคำจากกระบวนการรีไซเคิลซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของคอมพิวเตอร์, วริษฐา พงษ์หิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปริมาณซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดแผงวงจรหลักและการ์ดแสดงผลของคอมพิวเตอร์ประเภทตั้งโต๊ะที่เกิดขึ้นในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2558-2561 สามารถจำแนกตามแหล่งกำเนิดได้แก่ ครัวเรือน สำนักงานและโรงแรม/อะพาร์ตเมนต์ อุตสาหกรรมและการนำเข้าและส่งออก โดยพบว่าปริมาณมากกว่าร้อยละ 68 ถูกจัดการโดยผู้ประกอบการที่ไม่ใช่โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งยังไม่มีการควบคุมกระบวนการหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการอย่างชัดเจน งานวิจัยนี้จึงศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบของกระบวนการรีไซเคิลซากแผงวงจรชนิดที่มีโลหะมีค่าสูงได้แก่ หน่วยความจำ ซีพียูและส่วนประกอบของการ์ดแสดงผล ที่ใช้กรดกัดทองเป็นสารชะละลายทองคำโดยมีและไม่มีการจัดการของเสีย และเลือกกระบวนการที่ใช้สารประกอบไซยาไนด์เป็นสารชะละลายโดยมีการจัดการของเสียอย่างเหมาะสมเป็นกรณีอ้างอิง กระบวนการที่ใช้กรดกัดทองเป็นสารชะละลายสามารถนำกลับคืนทองคำได้เฉลี่ยร้อยละ 95.25 ที่ความบริสุทธิ์ของทองคำแตกต่างกันตามองค์ประกอบของสารชะละลายแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แต่ละชนิด โดยปริมาณสารเคมีที่ใช้และทองคำที่นำกลับคืนจากกระบวนการรีไซเคิลซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยกรดกัดทองและสารประกอบไซยาไนด์จะถูกวิเคราะห์ในผังการไหลและประเมินผลกระทบด้วยโปรแกรม SimaPro เวอร์ชัน 9.0.0.35 ตามลำดับ ซึ่งงานวิจัยพบว่า แนวทางในการลดผลกระทบของกระบวนการคือ การแยกโลหะชนิดอื่นๆออกจากน้ำเสียเพื่อเข้าสู่กระบวนการนำกลับคืนและบำบัดน้ำเสียส่วนที่เหลือ ส่วนตะกอนสามารถกำจัดด้วยวิธีการฝังกลบหรือการเผาทำลายในเตาเผาเฉพาะของเสียอันตรายตามความเหมาะสม ทั้งนี้ กระบวนการที่ใช้กรดกัดทองจะสามารถให้ผลกระทบต่ำกว่ากระบวนการที่ใช้สารประกอบไซยาไนด์ที่มีการจัดการของเสียอย่างเหมาะสม เมื่อมีการลดการใช้สารเคมีด้วยการชะละลายซ้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป


ผลของความเข้มข้นน้ำเข้าและอัตราการเวียนน้ำในการบำบัดซีโอดีและไนโตรเจน ด้วยถังกรองชีวภาพแบบเติมอากาศแยกชั้นชนิดไหลขึ้น, ยุทธกิจ ชูสุทธิ์ Jan 2019

ผลของความเข้มข้นน้ำเข้าและอัตราการเวียนน้ำในการบำบัดซีโอดีและไนโตรเจน ด้วยถังกรองชีวภาพแบบเติมอากาศแยกชั้นชนิดไหลขึ้น, ยุทธกิจ ชูสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอัตราการเวียนน้ำต่อประสิทธิภาพในการกำจัดไนโตรเจนและค่าจลนพลศาสตร์ของถังกรองชีวภาพแบบเติมอากาศแยกชั้นชนิดไหลขึ้น โดยใช้ถังปฏิกิริยาทรงกระบอกปริมาตร 10 ลิตร ใส่ตัวกลางพลาสติกพื้นที่ผิวจำเพาะ 859 ตร.ม.ต่อลบ.ม.เต็มปริมาตรถัง ด้านบน 60% ของถังเป็นส่วนเติมอากาศและด้านล่าง 40% ของถังเป็นส่วนไม่เติมอากาศ ใช้น้ำเสียสังเคราะห์มีค่าซีโอดีและแอมโมเนียม-ไนโตรเจนเริ่มต้น 500 มก./ล. และ 50 มก.ไนโตรเจน/ล. ตามลำดับ ระยะเวลาเก็บกักน้ำเสีย 8 ชั่วโมง คิดเป็นภาระบรรทุกซีโอดี 1.58 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทดลองเปลี่ยนค่าอัตราการเวียนน้ำกลับต่อน้ำเสียเข้าระบบ (MLR) อยู่ที่ 0.5:1 1:1 2:1 และ 5:1 ผลการทดลองพบว่าการบำบัดซีโอดีในทุกอัตราการเวียนน้ำมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันอยู่ที่ 95.0±0.7% มีซีโอดีออกไปกับน้ำทิ้ง 26±4 มิลลิกรัมต่อลิตร ความแตกต่างอยู่ที่การกำจัดไนโตรเจนทั้งหมด ที่ MLR 0.5:1 1:1 2:1 และ 5:1 มีประสิทธิภาพในการกำจัดไนโตรเจนทั้งหมด 34.8% 47.1% 62.0% และ 76.2% มีความเข้มข้นของไนเตรต-ไนโตรเจนในน้ำทิ้ง 31.4±0.4 25.6±0.3 18.3±0.5 และ 10.6±0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ในการทดลองหาค่าจลนพลศาสตร์โดยเปลี่ยนความเข้มข้นของน้ำเสียเข้า ใช้ระยะเวลาเก็บกักน้ำเสีย 8 ชั่วโมง MLR 2:1 โดยความเข้มข้นซีโอดีต่อแอมโมเนียม-ไนโตรเจนในน้ำเสียขาเข้าเป็น 100:10 200:20 500:50 1000:100 และ 1500:150 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นอันดับที่ 1 ทั้งหมด โดยช่วงที่ไม่มีการเติมอากาศ (แอนอกซิก) มีค่าคงที่ของปฏิกิริยา (k1) สำหรับการบำบัดซีโอดีอยู่ที่ 0.842 ชั่วโมง-1 และค่า k1 สำหรับการกำจัดไนเตรต-ไนโตรเจนอยู่ที่ 2.07 ชั่วโมง-1 ขณะเดียวกันช่วงที่มีการเติมอากาศ (ออกซิก) มีค่า k1 สำหรับการบำบัดซีโอดีอยู่ที่ 2.41 ชั่วโมง-1 และค่า k1 การเกิดไนเตรต-ไนโตรเจนอยู่ที่ 0.194 …


อิทธิพลของสถาปัตยกรรมระบบรากและชีวกลศาสตร์รากของหญ้าแฝกต่อการเสริมกำลังดิน, ณฐพล วรกมล Jan 2019

อิทธิพลของสถาปัตยกรรมระบบรากและชีวกลศาสตร์รากของหญ้าแฝกต่อการเสริมกำลังดิน, ณฐพล วรกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในพื้นที่มรสุมเขตร้อน เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย มีการใช้หญ้าแฝกอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นวิธีประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการเพิ่มเสถียรภาพของลาดดินและป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน ความแพร่หลายและยั่งยืนของการใช้หญ้าแฝกต่อวิศวกรรมนิเวศวิทยาเป็นผลมาจากระบบรากของหญ้าแฝกซึ่งสามารถหยั่งลึกลงไปในดินได้กว่า 3 เมตร หญ้าแฝกได้ถูกนำมาใช้หลากหลายงานในทางวิศวกรรมนิเวศวิทยาและการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เสถียรภาพของลาดดิน ป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน ตลอดจน การบำบัดดิน งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของรากหญ้าแฝกต่อกำลังรับแรงเฉือนของงดิน ตัวอย่างหญ้าแฝกสายพันธุ์สงขลาสามซึ่งเป็นหญ้าแฝกลุ่มถูกเลือกมาใช้ในการศึกษา กล่องไรโซบล็อกถูกนำมาใช้สังเกตระบบสถาปัตยกรรมรากของหญ้าแฝก โดยตัวอย่างหญ้าแฝกในกล่องไรโซบล็อกจะถูกปลูกในเถ้าแกลบสีดำเพื่อการสังเกตรากได้อย่างชัดเจน จากนั้นใช้กระบวนการภาพถ่ายในการหาค่าอัตราส่วนรากด้านข้าง สำหรับเรื่องกำลังของรากตัวอย่างหญ้าแฝกจะปลูกในดินลูกรังที่มักจะพบเจอในบริเวณที่ลาดชัน ดำเนินการทดสอบแรงดึงของรากหญ้าแฝกเพื่อหาค่ากำลังรับแรงดึงและโมดูลัสของราก ในทางตรงข้ามการดำเนินการทดสอบแรงเฉือนทางตรงของตัวอย่างดินที่มีหญ้าแฝกในสภาพอิ่มตัวด้วยน้ำเพื่อหาผลการเพิ่มกำลังรับแรงเฉือนของเนื่องจากรากหญ้าแฝก หลังจากดำเนินการทดสอบในห้องปฏิบัติการเสร็จสิ้น ผลการทดสอบทั้งหมดจะถูกนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชีวกลศาสตร์กับสมบัติทางกายภาพของรากได้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังรับแรงดึงหรือโมดูลัสกับเส้นผ่าศูนย์กลางและ/หรือความหนาแน่นของรากในสภาพแห้ง ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของกำลังรับแรงเฉือนในดินเนื่องจากรากสามารถเชื่อมโยงไปที่ค่ากำลังรับดึงของราก อัตราส่วนรากด้านข้าง และชีวมวลของรากแห้ง ข้อมูลจากงานวิจัยนี้สามารถใช้สนับสนุนการใช้หญ้าแฝกสำหรับเพิ่มเสถียรภาพของลาดดินได้


การเสริมกำลังรับแรงบิดขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน, ศิวกร สร้อยศักดิ์ Jan 2019

การเสริมกำลังรับแรงบิดขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน, ศิวกร สร้อยศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการรับแรงบิดขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่เสริมกำลังโดยการพันรอบด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน (CFRP) ในการทดสอบประกอบด้วยองค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 12 ตัวอย่าง ประกอบด้วยตัวอย่างทดสอบที่ไม่มีการเสริมกำลังจำนวน 6 ตัวอย่าง และที่มีการพันรอบด้วยแผ่น CFRP จำนวน 6 ตัวอย่าง โดยตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ระยะเรียงเหล็กปลอก (75 และ 150 mm) ประเภทมุมของอมาตรฐานของเหล็กปลอก (135 และ 90 องศา) และแรงอัดตามแนวแกน(0 ตัน และ 27 ตัน) ผลการทดสอบที่ศึกษาในงานวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการวิบัติ ระยะเรียงรอยร้าว มุมของรอยร้าว ความเครียดที่เหล็กเสริมและแผ่น CFRP และความสัมพันธ์ระหว่างแรงบิดกับมุมบิดของตัวอย่างทดสอบ ผลจากการทดสอบพบว่า การเสริมกำลังด้วย CFRP สามารถเพิ่มกำลังรับแรงบิดของคานและเสาคอนกรีตเสริมเหล็กได้อย่างน้อย 190% การเพิ่มมุมงอขอของเหล็กปลอกในคานที่เสริมกำลังด้วยแผ่น CFRP และเสาคอนกรีตเสริมเหล็กไม่มีผลต่อการเพิ่มกำลังรับแรงบิด และการเพิ่มปริมาณเหล็กเสริมไม่มีผลต่อการเพิ่มกำลังรับแรงบิดในเสาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาที่เสริมกำลังด้วยแผ่น CFRP เปรียบเทียบกำลังรับแรงบิดจากการทดสอบกับสมการทำนาย สมการที่เหมาะสมกับการทำนายกำลังรับแรงบิดของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก คานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังด้วยแผ่น CFRP และเสาคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังด้วยแผ่น CFRP คือ มาตรฐาน ACI318-14, Rahal และคณะ (2013), มาตรฐาน fib Bulletin 14 (2001) และ He และคณะ (2014) ตามลำดับ


การพัฒนากระบวนการเมมเบรนแบบผสมผสาน (ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส และเมมเบรนชนิดนาโนฟิลเตรชัน) เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม, เอื้ออนุช ศรีน้อย Jan 2019

การพัฒนากระบวนการเมมเบรนแบบผสมผสาน (ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส และเมมเบรนชนิดนาโนฟิลเตรชัน) เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม, เอื้ออนุช ศรีน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาในการนำน้ำบาดาลมาใช้คือ ความกระด้างของน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดตระกรันในระบบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกำจัดความกระด้างด้วยกระบวนการเมมเบรนผสมผสาน(ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส-อัลตราฟิลเตรชัน/นาโนฟิลเตรชัน) โดยทดลองกับน้ำบาดาลสังเคราะห์ สารดึงที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการฟอร์เวิร์ดออสโมซิสได้แก่ 1) โซเดียมคลอไรด์ 2) แมกนีเซียมซัลเฟต และ 3) อีดีทีเอ ซึ่งพารามิเตอร์ที่พิจารณาในกระบวนการนี้คือ ค่าฟลักซ์ของสารดึงหลังผ่านกระบวนการ ผลการศึกษาพบว่าสารดึงทั้ง 3 ชนิดมีความดันออสโมติกมากกว่าน้ำบาดาล โดยสารละลายโซเดียมคลอไรด์ และแมกนีเซียมซัลเฟตที่ความเข้มข้น 0.6 โมลต่อลิตร ให้ค่าฟลักซ์เท่ากับเท่ากับ 5.74 และ 4.82 ลิตรต่อตารางเมตร ชั่วโมง ในการเลือกใช้สารดึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของกระบวนการที่ใช้ฟื้นฟูสภาพด้วย ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้กระบวนการนาโนฟิลเตรชันในการฟื้นฟูสภาพสารดึง เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์การกำจัดที่สูงกว่าอัลตราฟิลเตรชัน และจากการออกแบบการทดลองด้วยโปรแกรม Minitab พบว่าสารสะลายแมกนีเซียมซัลเฟตให้ฟลักซ์ที่สูงที่สุด นอกจากนี้คุณภาพน้ำที่ได้จากกระบวนการนาโนฟิลเตรชันมีความกระด้างและซิลิกาผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับระบบหล่อเย็นของ Japanese Refigeration and Air Conditioning Industry Association (JRA)


การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบจามจุรีกับเศษผักผลไม้ด้วยระบบภาชนะปิดขนาดเล็ก, ไพฑูรย์ พัชรบำรุง Jan 2019

การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบจามจุรีกับเศษผักผลไม้ด้วยระบบภาชนะปิดขนาดเล็ก, ไพฑูรย์ พัชรบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองทำปุ๋ยหมักระบบภาชนะปิดแบบใช้อากาศขนาดห้องปฏิบัติการที่ขนาด 1.25 ลิตร ด้วยของเสียอินทรีย์ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ เศษผักผลไม้ (VFW) เศษใบจามจุรี (LW) และเศษกิ่งไม้ (WW) ร่วมกับปุ๋ยหมักสมบูรณ์ (MC) จากการทำปุ๋ยหมักภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 4 ชุดที่ซึ่งมีการเติมอากาศที่แตกต่างกัน ได้แก่ ชุดการทดลอง A ซึ่งไม่มีจำนวนรอบในการเติมอากาศ ชุดการทดลอง B ซึ่งมีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 8 รอบต่อวัน ชุดการทดลอง C ซึ่งมีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 4 รอบต่อวันและชุดการทดลอง D ซึ่งมีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 2 รอบต่อวัน และ 5 อัตราส่วนวัตถุดิบที่แตกต่างกัน ได้แก่ การทดลองอัตราส่วนที่ 1 ซึ่งมี VFW เป็นหลัก การทดลองอัตราส่วนที่ 2 ซึ่งมี LW เป็นหลัก การทดลองอัตราส่วนที่ 3 ซึ่งมี WW เป็นหลัก การทดลองอัตราส่วนที่ 4 ซึ่งมี VFW และ LW ในปริมาตรเท่ากันและการทดลองอัตราส่วนที่ 5 ซึ่งมี VFW LW และ WW ในปริมาตรเท่ากัน รวมทั้งสิ้น 20 การทดลอง ภายในระยะเวลา 20 วัน และใช้เกณฑ์คุณภาพเบื้องต้น เกณฑ์คุณภาพและการสูญเสียน้ำหนักในการวัดคุณภาพของปุ๋ยหมัก ผลการทดลองพบว่า การทดลองที่ 4 และชุดการทดลอง B มีผลทำให้ปุ๋ยหมักจากการทดลองผ่านเกณฑ์คุณภาพเบื้องต้นครบทุกตัวแปรมากที่สุด การทดลองที่ 4 และชุดการทดลอง A มีผลทำให้ปุ๋ยหมักจากการทดลองผ่านเกณฑ์คุณภาพมากที่สุด และส่วนการทดลองที่ 1 และชุดการทดลอง A มีผลทำให้ปุ๋ยหมักจากการทดลองมีการสูญเสียน้ำหนักมากที่สุด สรุปผลการทดลองได้ว่า อัตราส่วนวัตถุดิบที่เป็น VFW และ LW ในปริมาตรเท่ากัน และชุดการทดลองที่มีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 4 …


การประยุกต์ใช้เถ้าลอยและกากคอนกรีตในการผลิตฉนวนกันความร้อนและกำแพงกั้นเสียง, ชัชพงศ์ ณ ป้อมเพชร Jan 2019

การประยุกต์ใช้เถ้าลอยและกากคอนกรีตในการผลิตฉนวนกันความร้อนและกำแพงกั้นเสียง, ชัชพงศ์ ณ ป้อมเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้เถ้าลอยและกากคอนกรีตเป็นองค์ประกอบในการขึ้นรูปมอร์ตาร์ในลักษณะของการแทนที่ปูนซีเมนต์ และแทนที่มวลรวมละเอียดตามลำดับ โดยเถ้าลอยที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เถ้าลอยถ่านหินลิกไนต์ เถ้าลอยถ่านหินบิทูมินัส และเถ้าลอยจากเตาเผาขยะชุมชน ส่วนกากคอนกรีตที่ใช้ในการศึกษาคือกากคอนกรีตจากโรงผลิตคอนกรีต งานวิจัยนี้ได้ศึกษาทั้งสมบัติทางเคมี และสมบัติทางกายภาพของเถ้าลอยและกากคอนกรีต รวมถึงสมบัติเพื่อการนำมอร์ตาร์ที่มีเถ้าลอยและกากคอนกรีตเป็นองค์ประกอบไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ การรับแรงอัด สมบัติเชิงความร้อน และสมบัติเชิงเสียงของผลิตภัณฑ์ สำหรับเถ้าลอยและมอร์ตาร์ที่มีเถ้าลอยเป็นองค์ประกอบได้ศึกษาการชะละลายโลหะหนักด้วยวิธี Toxicity Characteristic Leaching Procedures (TCLP) วิธี Synthetic Precipitation Leaching Procedure (SPLP) และวิธี Waste Extraction Test (WET) เพิ่มเติม จากการศึกษาพบว่าเพื่อให้ได้มอร์ตาร์ที่มีความต้านแรงอัดตามมาตรฐาน มอก. 59-2561 จะสามารถใช้เถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์ได้ร้อยละ 25 - 50 สำหรับกากคอนกรีตสามารถใช้แทนที่มวลรวมละเอียดได้ถึงร้อยละ 100 ในด้านสมบัติเชิงความร้อนพบว่าผลิตภัณฑ์มีค่าสภาพการนำความร้อนอยู่ระหว่าง 0.08 – 0.33 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน ซึ่งถือว่ามีสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี แต่ในด้านสมบัติเชิงเสียงพบว่าผลิตภัณฑ์ยังมีสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ของกำแพงกั้นเสียงที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกำหนด สำหรับการศึกษาปริมาณโลหะหนักในเถ้าลอยพบว่าโดยส่วนใหญ่มีค่าไม่เกินมาตรฐานยกเว้นปริมาณตะกั่ว (Pb) และสารหนู (As) ในเถ้าลอยจากเตาเผาขยะชุมชนที่ชะละลายด้วยวิธี TCLP และเถ้าลอยถ่านหินลิกไนต์ชะละลายด้วยวิธี WET ตามลำดับ แต่เมื่อนำเถ้าลอยขึ้นรูปเป็นมอร์ตาร์พบว่าผลิตภัณฑ์มีปริมาณโลหะหนักโดยส่วนใหญ่ลดลงและมีค่าไม่เกินมาตรฐาน


การลดก๊าซเรือนกระจกจากการอนุรักษ์พลังงานและการจัดการขยะมูลฝอยของอาคาร : กรณีศึกษาอาคารศูนย์การค้า, ณัฐวดี ปลื้มชิงชัย Jan 2019

การลดก๊าซเรือนกระจกจากการอนุรักษ์พลังงานและการจัดการขยะมูลฝอยของอาคาร : กรณีศึกษาอาคารศูนย์การค้า, ณัฐวดี ปลื้มชิงชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารศูนย์การค้าเป็นหนึ่งในอาคารพาณิชย์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่สูงมากต่อปี ทุกกิจกรรมในอาคารสามารถเป็นแหล่งกำเนิดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งการใช้พลังงานและการเกิดขยะมูลฝอย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้พลังงานและการจัดการขยะมูลฝอยในอาคาร โดยใช้การประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นท์องค์กร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน และการจัดการขยะมูลฝอยจากข้อเสนอแนะ ทั้งนี้ ได้ทำการศึกษากิจกรรม จากอาคารศูนย์การค้าในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาจำนวน 5 อาคาร ใช้ระยะเวลาศึกษาและรวบรวมข้อมูลเป็นระยะเวลา 1 ปี (ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ.2561) จากการศึกษาพบว่ากิจกรรมหลักที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกอาคารคือการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยปริมาณการใช้พลังงานมีความสอดคล้องกับขนาดของพื้นที่ เช่นเดียวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นตามขนาดพื้นที่อาคารอย่างมีนัยสำคัญ และเศษอาหารเป็นสัดส่วนที่พบมากที่สุดในสัดส่วนของขยะมูลฝอยที่จะถูกส่งกำจัดยังหลุมฝังกลบ จากการศึกษามาตรการอนุรักษ์พลังงานและวิเคราะห์ MAC จะแสดงผลประโยชน์การลงทุนของมาตรการอนุรักษ์พลังงานดังกล่าว ทั้งประโยชน์ในแง่สิ่งแวดล้อมที่จะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกและในแง่ทางเศรษฐศาตร์ที่จะลดต้นทุนในการดำเนินกิจการ การศึกษาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นท์องค์กร (CFO), การวิเคราะห์ Marginal Abatement Cost (MAC), การวิเคราะห์มาตรการอนุรักษ์พลังงาน และแนวทางการจัดการขยะมูลฝอย จะเป็นข้อมูลตัวอย่างที่อาคารศูนย์การค้าทั่วไปสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาคารได้เช่นเดียวกัน