Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Curriculum and Instruction Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2021

Articles 1 - 10 of 10

Full-Text Articles in Curriculum and Instruction

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการจัดการความหมายร่วมกันและแนวคิดการอ่านบทละครเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้เรียนระดับต้น, กวิตา ฟองสถาพร Jan 2021

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการจัดการความหมายร่วมกันและแนวคิดการอ่านบทละครเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้เรียนระดับต้น, กวิตา ฟองสถาพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการจัดการความหมายร่วมกันและแนวคิดการอ่านบทละครเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้เรียนระดับต้น การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 4) นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์ ตัวอย่างคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ศิลป์ภาษาญี่ปุ่น ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ จำนวน 11 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 4 วงจร ต่อเนื่อง 16 สัปดาห์ รวม 48 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการพูดภาษาญี่ปุ่นร่วมกับเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริคส์ที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบ Wilcoxon signed - rank test ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีหลักการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจะเกิดขึ้นดีผ่านการทำความเข้าใจบทละครที่เสมือนจริง ทำให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับภาษาและเห็นความเชื่อมโยงระหว่างภาษา ลักษณะการใช้ภาษา และวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรม 2) การเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม จะช่วยส่งเสริมผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างการทำกิจกรรม จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3) การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกพูดผ่านการแสดงละคร จะส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักภาษาและเหมาะสมกับบริบทต่างๆ 4) การเรียนรู้จะเกิดได้ดี หากมีการสะท้อนคิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลย้อนกลับ ทำให้รู้จุดแข็งและจุดที่ต้องนำไปพัฒนาต่อไป โดยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) รู้ภาษาอย่างเข้าใจ 2) นำภาษาไปฝึกฝน 3) แสดงละครกระตือรือร้น 4) สะท้อนคิดสู่การพัฒนา 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นในภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น


การพัฒนาชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น, ภิชา ใบโพธิ์ Jan 2021

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น, ภิชา ใบโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี จำนวน 13 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินทักษะการสร้างสัมพันธภาพและการประเมินทักษะการสร้างสัมพันธภาพโดยใช้ศูนย์การประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบวิลคอกซัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วยกิจกรรมจำนวน 8 กิจกรรม ที่ใช้การเล่านิทานด้วยเทคนิคการเล่านิทานรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเรื่องราวและสามารถเชื่อมโยงมุมมองของนักเรียนกับมุมมองของตัวละคร ประกอบกับการใช้กระบวนการของละครสร้างสรรค์เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน มุ่งเน้นให้มีการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ท่าทาง และการทำงานร่วมกับผู้อื่นผ่านการแสดงละครจากเรื่องราวของนิทานที่ได้รับฟัง โดยชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นนี้มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 1) แนวคิดและลักษณะสำคัญของชุดกิจกรรม 2) วัตถุประสงค์ของชุดกิจกรรม 3) กิจกรรมในชุดกิจกรรม จำนวน 8 กิจกรรม โดยมีลักษณะเป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ และการทำงานร่วมกันกับเพื่อน โดยลำดับกิจกรรมจากระดับความยากง่ายและความซับซ้อนของเนื้อหานิทาน จากคุณลักษณะหรือทักษะที่ใกล้ตัว ไม่ซับซ้อน และมีความเป็นรูปธรรม ไปสู่ทักษะที่ซับซ้อนและยากขึ้นตามลำดับ รวมถึงเริ่มจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล ไปสู่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับกลุ่ม 4) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ในแต่ละกิจกรรมมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นการจูงใจก่อนเล่า (2) ขั้นการเล่าเรื่องเพื่อเชื่อมโยง (3) ขั้นการเตรียมความพร้อมก่อนแสดงละคร (4) ขั้นการแสดงละครจากเรื่อง (5) ขั้นการสรุปและสะท้อนคิด 5) แนวทางการใช้ชุดกิจกรรม และ 6) แนวทางการประเมินผล 2. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น ปรากฏว่า ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมนักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการมีทักษะการสร้างสัมพันธภาพสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาจำแนกตามองค์ประกอบของทักษะการสร้างสัมพันธภาพ พบว่า ทุกองค์ประกอบมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นองค์ประกอบด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีม ที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเขียนตามแนวคิดการตอบสนองต่อการช่วยเหลือร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อแสดงความคิดเห็นสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, ปิยพงษ์ พรมนนท์ Jan 2021

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเขียนตามแนวคิดการตอบสนองต่อการช่วยเหลือร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อแสดงความคิดเห็นสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, ปิยพงษ์ พรมนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนการสอนเขียนตามแนวคิดการตอบสนองต่อการช่วยเหลือร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อแสดงความคิดเห็นสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย มีการดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเขียน ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษอังกฤษเพื่อแสดงความคิดเห็น ระยะที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1 ห้องเรียน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง ใช้ระยะเวลาในการทดลองทั้งสิ้น 18 สัปดาห์ และ ระยะที่ 4 การนำเสนอกระบวนการเรียนการสอนเขียนฉบับสมบูรณ์ มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อแสดงความคิดเห็น และเกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และสถิติการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีหลักการที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี หากนักเรียนได้รับการคัดกรองหรือประเมินการเขียนจะช่วยให้นักเรียนสะท้อนปัญหาหรือสิ่งที่นักเรียนติดขัดในการเขียน อันจะนำไปสู่การวางแผนกระบวนการช่วยเหลือด้านการเขียน 2) การเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คลุมเครือ แล้วให้นักเรียนลงมือสืบค้นข้อมูลเพื่อหาคำตอบจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จะช่วยให้นักเรียนสะท้อนคิด ทบทวน ตัดสินใจ เพื่อเลือกแนวทางในการเขียนของตนเอง ภายใต้กระบวนการช่วยเหลือด้านการเขียนที่หลากหลาย 3) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีผ่านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนมีการแลกเปลี่ยนความรู้ สะท้อนความคิด หรือประสบการณ์ร่วมกัน จะช่วยให้นักเรียนวางแผนหรือตัดสินใจในการเขียน ภายใต้กระบวนการช่วยเหลือที่หลากหลายและเหมาะสม 4) การเรียนรู้ที่สงเสริมให้นักเรียนมีโอกาสคิด พิจารณา ไตร่ตรอง และประเมินจุดอ่อนหรือจุดที่ควรปรับปรุง เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนางานเขียนของตนเอง โดยกระบวนการเรียนการสอนเขียนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก และ 1 ขั้นตอนเตรียมการ ได้แก่ เตรียมการและวางแผน 1. เรียนรู้ปัญหา 2. ชวนคิด พิจารณา 3. สร้างสรรค์งานเขียน และ 4. สะท้อนคิดเพื่อแลกเปลี่ยนปรับปรุง 2. ผลการศึกษาประสิทธิผลของของกระบวนการเรียนการสอนเขียนที่พัฒนาขึ้น พบว่า 2.1) ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนหลังการทดลองสูงกว่าการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบแต่ละด้าน …


การพัฒนาโปรแกรมลดจริยธรรมหลุดตามแนวคิดลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุรไกร นันทบุรมย์ Jan 2021

การพัฒนาโปรแกรมลดจริยธรรมหลุดตามแนวคิดลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุรไกร นันทบุรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาโปรแกรมลดจริยธรรมหลุดตามแนวคิดลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2. ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม วิธีการดำเนินงานวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหา โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรม โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยเพื่อนำมาพัฒนาโปรแกรม การหาคุณภาพของโปรแกรม และการทดลองนำร่อง วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัย การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโปรแกรม และปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และการวิเคราะห์ผลการทดลองนำร่องโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลเชิงคุณภาพ ระยะที่ 3 การหาประสิทธิผลโดยการทดลองใช้โปรแกรมโดยรูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดลอง ทดสอบก่อน ระหว่าง และหลังเรียนด้วยโปรแกรมจำนวน 5 ครั้ง กับกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 37 คนเข้าสู่กลุ่มทดลอง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1. แบบทดสอบจริยธรรมหลุดแบบคู่ขนานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2. แบบสัมภาษณ์ 3. แบบบันทึกการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้คะแนนจากแบบทดสอบจริยธรรมหลุดโดยใช้สถิติแบบบรรยาย และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณจากแบบทดสอบจริยธรรมหลุด การสัมภาษณ์ และการบันทึกการเรียนรู้โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 4 การปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรม ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. โปรแกรมมีหลักการ 6 ข้อ ได้แก่ 1) การนำผู้เรียนเผชิญสถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง 2) การให้ผู้เรียนวางแผนอนาคตตามสถานการณ์ 3) การช่วยเหลือผู้เรียนในการสร้างทางเลือกเพื่อตัดสินใจ 4) การสนับสนุนให้ผู้เรียนกำกับติดตามตนเอง 5) การอภิปรายผลการเรียนรู้ 6) การสรุปผลการเลือก โปรแกรมมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในแต่ละฉากทัศน์ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเผชิญสถานการณ์และปัญหา 2) ขั้นรับรู้ตนเอง 3) ขั้นวางแผนมุ่งอนาคตและสร้างทางเลือก 4) ขั้นดำเนินการตามแผนการมุ่งอนาคต 5) ขั้นอภิปรายถึงสาเหตุและผลของการตัดสินใจ 6) ขั้นสร้างกรอบทางจริยธรรม โปรแกรมประกอบไปด้วยกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ละ 3 ฉากทัศน์รวมจำนวน 12 ฉาก ระยะเวลาจัดกิจกรรมฉากทัศน์ละ 100 นาที รวมระยะเวลาของโปรแกรมทั้งหมด 12 …


ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบสอบโดยใช้เกมเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, วิศรุฒม์ เอมสมบูรณ์ Jan 2021

ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบสอบโดยใช้เกมเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, วิศรุฒม์ เอมสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบสอบโดยใช้เกมเป็นฐานและ 2) ศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบสอบโดยใช้เกมเป็นฐาน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ แบบสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ บันทึกการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้และเกมการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบสอบโดยใช้เกมเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบสอบโดยใช้เกมเป็นฐาน มีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ในระหว่างเรียน จากระยะแรกที่อยู่ในระดับต่ำ ระดับกลางและระดับสูง ร้อยละ 37.5, 60 และ 2.5 ตามลำดับ เป็นความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ระยะหลังอยู่ในระดับต่ำ ระดับกลางและระดับสูง ร้อยละ 22.5, 17.5 และ 60 ตามลำดับ


Development Of A Curriculum Based On Content And Language Integrated Learning And Competency-Based Education For Enhancing Business English Writing Ability Of Undergraduate Students, Meassnguon Saint Jan 2021

Development Of A Curriculum Based On Content And Language Integrated Learning And Competency-Based Education For Enhancing Business English Writing Ability Of Undergraduate Students, Meassnguon Saint

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were 1) to develop a curriculum based on content and language integrated language learning and competency-based education for enhancing business English writing ability of undergraduate students 2) to investigate the effectiveness of a developed curriculum. The research and development process consists of four phases: 1) studying the research problem and significance, and learning approaches, 2) developing a curriculum based on content and language integrated learning and competency-based education, 3) studying the effectiveness of the developed curriculum, and 4) revising and improving the developed curriculum. This pre-experimental research involved 13 undergraduate students in the business major …


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, กชกร แฝงเมืองคุก Jan 2021

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, กชกร แฝงเมืองคุก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานแขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสังเกตการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาจำแนกตามองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การระบุประเด็นปัญหา 2) การรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐาน 3) การตั้งสมมติฐาน 4) การสรุปอ้างอิง และ 5) การประเมินข้อสรุป นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกองค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ดีขึ้น ทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกตามองค์ประกอบ


ผลการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบทที่มีต่อความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ชิงชัย เตียเจริญ Jan 2021

ผลการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบทที่มีต่อความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ชิงชัย เตียเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบทระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลองทั้งโดยภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบ 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 จำนวน 1 กลุ่ม ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน มีนักเรียนจำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 100 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการแต่งบทร้อยกรอง แบบบันทึกความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนรายบุคคล แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน และแผนการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ 1. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองโดยภาพรวมของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบท พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาจำแนกตามองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบของทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านฉันทลักษณ์ ด้านเนื้อหาสาระ ด้านการใช้ถ้อยคำ และด้านกวีโวหาร มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกองค์ประกอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบท พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบทมีความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านวิทยาศาสตร์และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ศุภิสรา นาคผจญ Jan 2021

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านวิทยาศาสตร์และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ศุภิสรา นาคผจญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1) ศึกษาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีชีวสังคมภูมิหลังแตกต่างกัน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านวิทยาศาสตร์ และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ และ 3) สร้างสมการทำนายการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ 2 กรุงเทพฯ จำนวน 410 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ แบบวัดแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์และแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต (arithmetic mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และสร้างสมการทำนายถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำถึงต่ำ ทั้งในกลุ่มรวมและเมื่อจำแนกตามชีวสังคมภูมิหลัง 2) แรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4) แรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเองทางวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 5) แรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ (X1) และการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านวิทยาศาสตร์ (X2) สามารถทำนายการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ได้ร้อยละ 5.60 มีสมการทำนาย ดังนี้ Y = 3.634 + (.316)(X1) + (.211)(X2)


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดรูปแบบการปรับมโนทัศน์และรูปแบบการแปลงของเลช เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, สุธารัตน์ สมรรถการ Jan 2021

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดรูปแบบการปรับมโนทัศน์และรูปแบบการแปลงของเลช เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, สุธารัตน์ สมรรถการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ การเรียนการสอนตามแนวคิดรูปแบบการปรับมโนทัศน์และรูปแบบการแปลงของเลช เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3) การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น และ 4) การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 7 สัปดาห์ รวม 35 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีหลักการสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนพบปัญหาหรือสถานการณ์ที่มโนทัศน์ของผู้เรียนไม่สามารถแก้ไขหรืออธิบายได้ 2) การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยการสังเกต รวบรวมข้อมูล หรือศึกษาจากทฤษฎีต่าง ๆ 3) การนำเสนอความรู้ทางคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบตัวแทนทางคณิตศาสตร์ที่หลากหลายและมีความสัมพันธ์กับมโนทัศน์นั้น 4) การที่ผู้เรียนใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์เพื่อนำเสนอความรู้ทางคณิตศาสตร์ และ 5) การนำเสนอขั้นตอนวิธีการหาคำตอบได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกระตุ้นความสงสัย 2) การวางแผนเพื่อปรับมโนทัศน์ 3) การปรับมโนทัศน์โดยใช้ตัวแทนที่หลากหลาย 4) การสรุปความหมายของมโนทัศน์ใหม่ และ 5) การนำไปใช้ 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า คะแนนเฉลี่ยของมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยของมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์จำแนกตามองค์ประกอบ พบว่า การบอกลักษณะเฉพาะ การบอกคำจำกัดความ และการบอกตัวอย่าง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น