Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Art Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2022

Articles 1 - 11 of 11

Full-Text Articles in Art Education

การพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้อัตลักษณ์จิตรกรรมฝาผนัง“ฮูปแต้มอีสาน” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พชร วงชัยวรรณ์ Jan 2022

การพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้อัตลักษณ์จิตรกรรมฝาผนัง“ฮูปแต้มอีสาน” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พชร วงชัยวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของอัตลักษณ์งานจิตรกรรมฮูปแต้มในจังหวัดขอนแก่น และเพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้อัตลักษณ์ฮูปแต้มอีสาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบบเจาะจง (purposive sampling) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมฮูปแต้มอีสาน และ 5) นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากศิลปะพื้นบ้านอีสาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และแบบบันทึกข้อมูลและรูปภาพลักษณะของอัตลักษณ์ฮูปแต้ม ระยะที่ 2 ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ แบบวัดความพึงพอใจผู้เรียน โดยการพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนครั้งนี้มีการตรวจสอบรับรองนวัตกรรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการสอนและออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ฮูปแต้มในจังหวัดขอนแก่นในแต่ละชุมชนมีการสร้างก่อนปี พ.ศ. 2500 เป็นฮูปแต้มที่จัดอยู่ในกลุ่มพื้นบ้าน เน้นเขียนภาพอย่างอิสระและเรียบง่าย ไม่เคร่งครัดในการจัดองค์ประกอบ ทำให้ฮูปแต้มในแต่ละสถานที่มีรูปแบบการเขียนที่หลากหลายเป็นเอกลักษณ์สะท้อนถึงความเป็นท้องถิ่น สามารถจัดกลุ่มเนื้อหาวรรณกรรมที่ปรากฏออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเรื่องราวทางศาสนา ได้แก่ พุทธประวัติ ไตรภูมิ พระเวสสันดรชาดก 2) กลุ่มวรรณกรรมท้องถิ่น ได้แก่ สังข์ศิลป์ชัย พระลัก-พระรามชาดก และ 3) กลุ่มภาพกาก ซึ่งเป็นภาพที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวอีสานในอดีต และในด้านการพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฮูปแต้มและสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมได้ 2. เนื้อหา สอนอย่างบูรณาการให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ฮูปแต้ม กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน และหลักการตลาดเบื้องต้น 3. กระบวนการสอน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ ขั้นศึกษาอัตลักษณ์ชุมชน ขั้นถอดรหัสอัตลักษณ์ ขั้นพัฒนาร่วมกับปราชญ์ ขั้นผลิตต้นแบบ และขั้นนำเสนอ 4. สื่อการเรียนรู้ ที่มีลักษณะผสมผสานทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ 5. …


การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์, ณหทัย อริยวัฒน์วงศ์ Jan 2022

การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์, ณหทัย อริยวัฒน์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวทางการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ โดยได้จากการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรม ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญที่ประกอบอาชีพทางศิลปะ จำนวน 24 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเกมมิฟิเคชัน 1 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการแนะแนวการศึกษา 1 คน จากการเลือกแบบเจาะจง และทำการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้นวัตกรรม ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนศิลปกรรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (มัธยมศึกษา) จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และทำการเก็บรวมรวมข้อมูลหลังจากการใช้นวัตกรรม ด้วยแบบประเมินความเข้าใจในตนเอง แบบประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนานวัตกรรมสรุปได้ว่า นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้ 1) Find Myself การใช้แบบประเมิน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประเมินความเหมาะสมของตนเองกับสาขาทางศิลปะ โดยใช้กลไกของเกมมิฟิเคชันในการขับเคลื่อนกิจกรรม 2) Based on True Stories การให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพทางด้านศิลปะแขนงต่าง ๆ 3) My Way in Art Careers การให้ข้อมูลสถาบันการศึกษาศิลปะในระดับมหาวิทยาลัย 4) Design your Life in Art Careers การตัดสินใจเลือกอาชีพและวางแผนการศึกษาในอนาคต ผลการทดลองสรุปได้ว่า 1) หลังการใช้นวัตกรรมกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่านักเรียนมีความเข้าใจในตนเองรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.32, …


การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าชุมชนสำหรับเยาวชน :กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง, ณัฐพล ศรีใจ Jan 2022

การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าชุมชนสำหรับเยาวชน :กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง, ณัฐพล ศรีใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการสร้างชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะชุมชนสำหรับเยาวชน : กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง เป็นงานวิจัยประเภทวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมและคณะ ด้านพุทธิพิสัยและด้านจิตพิสัย ทฤษฎีพหุศิลปศึกษาเชิงภูมิปัญญาไทย หลักการการจัดกิจกรรมศิลปะชุมชน และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบชุดกิจกรรมประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ 3) ปราชญ์ชุมชน 4) ครูผู้สอนในสถานศึกษาท้องถิ่น 5) ผู้จัดกิจกรรมศิลปะชุมชน รวมจำนวน 15 คน โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างชุดกิจกรรม คือแบบสัมภาษณ์ข้อมูลประวัติความเป็นมาและความสัมพันธ์ระหว่างงานลายคำกับชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลการใช้ชุดกิจกรรม ได้แก่ เยาวชนในเขตพื้นที่จังหวัดลำปาง อายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบอาสาสมัคร เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความเข้าใจองค์ความรู้งานลายคำสกุลช่างลำปาง 2) แบบวัดเจตคติต่อการเห็นคุณค่างานลายคำสกุลช่างลำปาง 3) แบบวัดระดับการเห็นคุณค่าจากการสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรม 5) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการสร้างสรรค์งานลายคำสกุลช่างลำปาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาเอกสารและสรุปผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถสรุปผลการวิจัยเป็นชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะชุมชนสำหรับเยาวชน ประกอบด้วยหลักการจัดกิจกรรม 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเนื้อหา 2) ด้านเทคนิค 3) ด้านรูปแบบกิจกรรม 4) ด้านการมีส่วนร่วม 5) ด้านการเผยแพร่ ชุดกิจกรรมแบ่งออกเป็น 4 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมเรียนรู้ชุมชนยลงานศิลปกรรม 2) กิจกรรม 4 เทคนิคของงานลายคำ 3) กิจกรรมร่วมมือสร้างสรรค์ ลายคำร่วมสมัย 4) กิจกรรมนิทรรศการสร้างศิลป์ถิ่นลำปาง ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนในพื้นที่จังหวัดลำปางมีความเข้าใจองค์ความรู้งานลายคำสกุลช่างลำปางเพิ่มขึ้นหลังการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับมาก (x̄=8.33) จากคะแนนเต็ม 10 และมีเจตคติที่ดีต่องานลายคำสกุลช่างลำปางเพิ่มขึ้นหลังการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับมากที่สุด (x̄=4.68) …


การพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน, วนาลี ชาฌรังศรี Jan 2022

การพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน, วนาลี ชาฌรังศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 ใช้ในการศึกษาข้อมูลเพื่อพัฒนารูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปะไทย 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะไทยนอกระบบโรงเรียน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดนิทรรศการ 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมประยุกต์ใช้ศิลปะไทย จำนวนด้านละ 3 คน โดยได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และเก็บข้อมูลจากการสังเกตการณ์การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะไทย จำนวน 3 กิจกรรม และการสังเกตการจัดนิทรรศการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 3 นิทรรศการ กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ เยาวชนอายุ 18-25 ปี ที่เข้าชมนิทรรศการ จำนวน 53 คน และเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร (Voluntary Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพื้นที่การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน แบบประเมินความสามารถในการประยุกต์ใช้ศิลปะไทยจากผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน จัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT คือ 1) ขั้นทบทวน สร้างประสบการณ์ความรู้ความเข้าใจ 2) ขั้นออกแบบ พัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอดและออกแบบผลงาน 3) ขั้นปฏิบัติ ลงมือสร้างสรรค์ผลงาน 4) ขั้นสรุป แสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์แนวทางการนำไปใช้ โดยนิทรรศการมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 พื้นที่การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม เนื้อหาของนิทรรศการแบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ 1) ศิลปะไทยประเพณี 2) ศิลปะไทยร่วมสมัย 3) การประยุกต์ใช้ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน ประกอบไปด้วยกิจกรรมการมีส่วนร่วม 5 …


การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์พื้นบ้านสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษา ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน, สุชาติ อิ่มสำราญ Jan 2022

การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์พื้นบ้านสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษา ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน, สุชาติ อิ่มสำราญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จังหวัดน่านมีความโดดเด่นด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญา โดยเฉพาะศิลปะผ้าทอพื้นบ้านที่นอกจากจะงดงามด้วยสีสันและความวิจิตรบรรจงของการทอแล้ว ลวดลายต่าง ๆ ยังมีความหมายที่สะท้อนถึงความเชื่อ สอดคล้องกับความนิยมของนักท่องเที่ยวที่ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งการอนุรักษ์ศิลปะผ้าทอพื้นบ้านสามารถทำได้ด้วยการอนุรักษ์ให้คงลักษณะสภาพเดิม และการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับยุคสมัย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน และพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานเชิงท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน มีการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะศึกษารูปแบบอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน และการจัดกิจกรรมศิลปะ ระยะพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบผสมผสาน ระยะศึกษาทดลองใช้กิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน 2) นักท่องเที่ยวไทยที่เคยมาเที่ยวจังหวัดน่าน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะ 4) ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะพื้นบ้านในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 5) ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกศิลปะพื้นบ้านกลุ่มตัวอย่าง และ 6) นักท่องเที่ยวไทย 3 กลุ่มช่วงวัย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบสังเกตการจัดกิจกรรม แบบสำรวจความคิดเห็น แบบประเมินการเห็นคุณค่า แบบสะท้อนคิด แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1) อัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน พบว่า 1.1) ลวดลายของศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มลายเรขาคณิต กลุ่มลายสิ่งของเครื่องใช้และลายเบ็ดเตล็ด กลุ่มลายธรรมชาติ 1.2) ความหมายของลวดลายศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มป้องกันปราบปราม กลุ่มเจริญเฟื่องฟู กลุ่มบูชาโชคลาภ กลุ่มงดงามคู่ครอง 1.3) สีของศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน มีจำนวนทั้งหมด 12 สี ได้แก่ สีดำ สีขาว สีแดง สีม่วง สีบานเย็น สีน้ำเงิน สีน้ำตาล สีเหลือง สีส้ม สีเขียว สีเงิน และสีทอง 1.4) สีของศิลปะผ้าทอจังหวัดน่านมีความสัมพันธ์กับความหมายตามความเชื่อมูเตลูในด้านการแสดงความรู้สึกตามทฤษฎีจิตวิทยาสีกับความรู้สึก แบ่งเป็นด้านการงานการเงิน ด้านการเรียน ด้านความรัก ด้านสุขภาพ ด้านแคล้วคลาดจากอันตราย ด้านดึงดูดพลังงานดี ๆ และด้านอื่น …


รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะตามแนวคิดการสอนพฤติกรรมศิลปะและการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาล, ณชนก หล่อสมบูรณ์ Jan 2022

รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะตามแนวคิดการสอนพฤติกรรมศิลปะและการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาล, ณชนก หล่อสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะตามแนวคิดการสอนพฤติกรรมศิลปะและการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาล และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ (1) ระยะพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ (2) ระยะการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ และ (3) ระยะการศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ ตัวอย่าง คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 18 คน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที รวม 48 ครั้ง โดยใช้แบบแผนการทดลอง Single Subject Design ประเภท A-B-A-B Design ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ เป็นการเรียนรู้เชิงรุก เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน รู้จักบทบาทของตนเอง และแสดงออกทางความคิด การกระทำ และอารมณ์อย่างเหมาะสม ประกอบด้วย 4 หลักการ ได้แก่ (1) การใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางในการพัฒนาประสบการณ์ทางปัญญาผ่านประสาทการรับรู้ต่าง ๆ (2) การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กเป็นผู้นำการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้น ในการเลือกและตัดสินใจ ลองผิดลองถูก และลงมือทำผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (3) การจัดกิจกรรมศิลปะให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก่ การวางแผน การกำหนดเป้าหมาย และการกำกับตนเอง และ (4) การจัดให้เด็กเกิดกระบวนการคิดผ่านการตั้งคำถาม การสาธิต และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นเกิดแรงบันดาลใจ (2) ขั้นแบ่งปัน และ (3) ขั้นลงมือทำ และ 2) เด็กมีความสามารถคิดบริหารจัดการตนสูงขึ้น โดยทุกองค์ประกอบมีคะแนนสูงขึ้น แสดงให้เห็นผ่านพฤติกรรมเมื่อใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ ประกอบด้วย (1) การยั้งคิดไตร่ตรอง เด็กสามารถอดทนรอคอย จดจ่อ ไม่ขัดจังหวะหรือพูด ปฏิบัติและยอมรับกฎกติกาโดยไม่ต่อต้าน (2) การยืดหยุ่นความคิด …


การพัฒนากิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี, สุภาพรรณ วงศ์ศักดิ์ศิริกุล Jan 2022

การพัฒนากิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี, สุภาพรรณ วงศ์ศักดิ์ศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี และ 3) ศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก งานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 ระยะศึกษารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กรณีศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจง ได้แก่ กรณีศึกษา: ครูผู้สอนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดกิจกรรมศิลปะทั้งวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ จำนวน 3 ท่าน และกรณีศึกษา: ผู้เรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 3 คน แบบพหุเทศะกรณี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เรียนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี 3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 ระยะพัฒนากิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ท่าน โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจงได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปศึกษา และด้านการสอนระดับประถมศึกษา ในระยะที่ 3 ขั้นทดสอบประสทิธิภาพของกิจกรรม นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 20 คน เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมและยินดีให้ข้อมูลในการทดลองกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมกิจกรรม 3) แบบประเมินการสร้างสรรค์ศิลปะ และ 4) แบบบันทึกการสะท้อนการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติ t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี มีองค์ประกอบ 4 ด้านได้แก่ แนวคิดและหลักการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก การจัดการเรียนรู้กิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก เนื้อหาสาระสำคัญของกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก และการประเมินการสร้างสรรค์ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก นำมาซึ่ง …


รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ธนวรรณ เจริญภัทราวุฒิ Jan 2022

รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ธนวรรณ เจริญภัทราวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศที่เหมาะสมกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ผู้เชี่ยวชาญด้านสันติวัฒนธรรม จำนวน 3 คน 2. ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ จำนวน 3 คน 3. ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมศิลปศึกษา จำนวน 3 คน 4. ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 คน และ 4. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2. แบบวัดความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศ 3. แบบสังเกตพฤติกรรม และ 4. แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 หลักการ (ERES) ดังนี้1) การสร้างความรู้ซึ้งถึงความรู้สึก (E: Empathy) ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ 2) การสร้างบทบาทสมมติ (R: Role Acting) โดยการสวมบทบาทสมมติผ่านหุ่นละคร 3) การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (E: Exchanging) เป็นการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลังเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้กับเพื่อนร่วมชั้น และ4) การแบ่งปัน และมีส่วนร่วมในความสำเร็จ (S: Sharing) โดยการนำผลงานศิลปะมาจัดแสดงร่วมกับเพื่อนร่วมชั้น เมื่อนำกิจกรรมฯไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าเฉลี่ยของความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศด้านที่มีความเปลี่ยนแปลงด้านความเข้าใจมากที่สุดคือ ด้านความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศอยู่ในระดับ มาก ( x̄ = 3.63) ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อกิจกรรมหลังการทดลอง พบว่า ความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.10, S.D. …


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย, ณัฐณิชา มณีพฤกษ์ Jan 2022

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย, ณัฐณิชา มณีพฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยและเพื่อพัฒนารูปแบบชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะศึกษาข้อมูล โดยการเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสังเกตการสอนในชั้นเรียนปฐมวัยที่มีการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 3 โรงเรียน และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 ท่าน ประกอบด้วย ครูปฐมวัย 2 ท่าน ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ (คอมพิวเตอร์) ที่สอนในระดับปฐมวัย 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปะเด็ก 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย 2 ท่าน 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปศึกษา 2 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกตการสอน และแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และ 2) ระยะทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 28 คน และครูปฐมวัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล แบบสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมศิลปะ แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจสำหรับนักเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับครูผู้สอน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยประกอบไปด้วย 4 หลักการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ประสบการณ์สุนทรียะ (Aesthetic Experiences) 2) ประสบการณ์การสร้างงานศิลปะ (Art making Experiences) 3) การเข้าสู่โลกศิลปะ (Encounters with art) และ 4) การเสริมแรง (Reinforcement) โดยมีกระบวนการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นสร้างแรงจูงใจและเชื่อมโยงประสบการณ์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสที่หลากหลาย ด้วยการใช้สื่อของจริงร่วมกับสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 2) ขั้นสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นการนำกิจกรรมศิลปะปฏิบัติแบบดั้งเดิมมาผสมผสานกับเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์งานศิลปะ และ …


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะจากกระดาษโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าศิลปะพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, มรุต มากขาว Jan 2022

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะจากกระดาษโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าศิลปะพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, มรุต มากขาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะจากกระดาษเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในศิลปะพื้นบ้าน 2) ศึกษาการนำชุดกิจกรรมศิลปะจากกระดาษไปใช้เพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าศิลปะพื้นบ้านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ​​3 ใช้เครื่องมือวิจัยจำนวน 2 ชุด คือ 1 เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาชุดกิจกรรม ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย 5 กลุ่ม คือ 1) ศิลปินพื้นบ้านที่ทำงานกระดาษ 2) ศิลปินสาขาทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ผลงานงานจากกระดาษ 3) นักออกแบบที่สร้างสรรค์ผลงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะพื้นบ้าน 4) ครูสอนวิชาศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5) นักวิชาการด้านศิลปศึกษาที่เชี่ยวชาญการใช้ชุมชนเป็นฐาน เครื่องมือศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย 1) แบบประเมินการเห็นคุณค่างานศิลปะพื้นบ้าน 2) แบบสังเกตพฤติกรรม และ 3) แบบสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ตอน ได้ดังนี้ ตอนที่ 1 ​ด้านรูปแบบชุดกิจกรรม พบว่า ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 1) รู้จักศิลปะพื้นบ้าน 2) สร้างสรรค์งานศิลป์ร่วมกับปราชญ์และ 3) จากงานศิลปะพื้นบ้านสู่งานออกแบบ โดยกิจกรรมทุกชุดจะประกอบไปด้วยหลักการ 3 หลักการ คือ 1) การสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ 2) การสะท้อนคิดการเรียนรู้และ 3) การสรุปองค์ความรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ ตอนที่ 2 เมื่อนำชุดกิจกรรมที่ออกแบบไปใช้พบว่า ผลการใช้ชุดกิจกรรม นักเรียนมีพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเห็นคุณค่าหลายระดับ คือ มีการเห็นคุณค่าในขั้นรับรู้ ​ที่นักเรียนสามารถบอกลักษณะ ชนิดและประเภทของงานศิลปะพื้นบ้านได้ สามารถตอบคำถามครูผู้สอนได้ การเห็นคุณค่าในขั้นการตอบสนองคุณค่าโดยมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็น คือ นักเรียนมีความสนใจในชุดกิจกรรมและให้ความร่วมมือทำกิจกรรมจนเสร็จ นอกจากนี้ยังมีความสนใจและแสดงอารมณ์ร่วมเชิงบวกต่อกิจกรรมหรือศิลปะพื้นบ้าน และระดับการเห็นคุณค่า ขั้นการรู้คุณค่า นักเรียนแสดงออกผ่านการบอกคุณค่าของงานศิลปะพื้นบ้านได้ มีการบันทึกสิ่งที่นักเรียนสนใจ มีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมและสามารถนำองค์ความรู้จากศิลปะพื้นบ้านมาต่อยอด ประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานของตนเอง จากการสะท้อนคิดพบว่า กิจกรรมศิลปะสามารถช่วยเสริมสร้างระดับการเห็นคุณค่าที่สูงขึ้นตามลำดับตั้งแต่การเห็นคุณค่า ขั้นรับรู้คุณค่า คือ นักเรียนมีความสนใจ ชื่นชอบกิจกรรม …


ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน, อริสรา วิโรจน์ Jan 2022

ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน, อริสรา วิโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อนำเสนอรูปแบบกิจกรรมศิลปะที่สร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะที่สร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรก ใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาข้อมูลรูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) แพทย์ และ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพาร์กินสัน จำนวน 3 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน จำนวน 3 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 3 คน 4) ผู้สูงวัยโรคพาร์กินสันที่ผ่านการเป็นโรคพาร์กินสันระยะแรกถึงระยะที่ 2.5 จำนวน 3 คน โดยได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ส่วนระยะที่สอง ใช้เครื่องมือจำนวน 6 ชุด ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน 2) แบบสะท้อนคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ต่อการทำกิจกรรมศิลปะ 3) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน 4) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตสำหรับโรคพาร์กินสัน (PDQ - 39) 5) แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมศิลปะ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสันต่อรูปแบบกิจกรรมศิลปะ โดยเก็บข้อมูลจากผู้สูงวัยโรคพาร์กินสันระยะแรกถึงระยะที่ 2.5 จำนวน 28 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 14 คน กลุ่มควบคุม 14 คนแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าสถิติ (t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน คือ “พาร์สร้างงานศิลป์” ซึ่งเป็นรูปแบบกิจกรรมที่ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ศิลปะการเคลื่อนไหว (Activation) ที่สร้างเสริมด้านร่างกาย 2) ร่วมใจสร้างงานศิลป์ (Participation) สร้างเสริมด้านสังคม 3) จินตนาการสู่งานสร้างสรรค์ (Creation) สร้างเสริมด้านปัญญา 4) ประสานสัมพันธ์งานศิลป์ (Co-ordination) …