Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 76

Full-Text Articles in Education

Performance Analysis On Bandwidth Consumption Of The College Of Computer Science Dmmmsu-Sluc, Floribeth P. Cuison, Belinda M. Dungan Oct 2018

Performance Analysis On Bandwidth Consumption Of The College Of Computer Science Dmmmsu-Sluc, Floribeth P. Cuison, Belinda M. Dungan

Journal of Education Studies

This study focuses in the overall evaluation of the network infrastructure of the College of Computer Science. In order to do so, the researchers identified the available resources of the network, investigated applications consuming large amount of bandwidth over the network and elicited desired bandwidth allocation per user. Throughout the study, the researchers have employed descriptive and longitudinal research methodology.Upon examining the results of the documentary analysis, the researchers educed that the network facility, though complete, is not sufficient with the demand of the users. This is caused by the misuse of the internet connection. Based from the 10 days …


Enhancement Of Critical Reading And Critical Thinking Skills Of Sixth Grade Students With Reading Difficulties By Using A Mindtool-Based Scaffolded Reading, Chattrawan Lanchwathanakorn, Jaitip Na-Songkhla Oct 2018

Enhancement Of Critical Reading And Critical Thinking Skills Of Sixth Grade Students With Reading Difficulties By Using A Mindtool-Based Scaffolded Reading, Chattrawan Lanchwathanakorn, Jaitip Na-Songkhla

Journal of Education Studies

This research were to 1) study and develop a mindtool-based scaffolded reading instruction system with evidence-based intervention, 2) study the results of implementing a mindtool-based scaffolded reading instruction system and 3) propose a mindtool-based scaffolded reading instruction system. There were three phases in the study; Phase 1: Development of research framework, Phase 2: Development of a mindtool-based scaffolded reading instruction system and Phase 3: Proposing a mindtool-based scaffolded reading instruction system. The research instruments were content analysis form, an opinion questionnaire, participation recording form, scaffolded reading instruction system on LMS, four basic reading skill tests, reading comprehension test, critical reading …


Computer And Internet Literacy Course Of The College Of Computer Science For The Municipality Of Agoo, Clarisa V. Albarillo, Emely A. Munar, Maria Concepcion G. Balcita Oct 2018

Computer And Internet Literacy Course Of The College Of Computer Science For The Municipality Of Agoo, Clarisa V. Albarillo, Emely A. Munar, Maria Concepcion G. Balcita

Journal of Education Studies

The main objective of the study is to provide ICT awareness, literacy and skills development to the barangay officials of Agoo, La Union. Specifically, it aimed the following objectives: 1) to determine the profile of the respondents in terms of personal information, educational background and availability of computer unit and background in using computer; 2) to determine the effectiveness of the CILC in terms of services delivered, timeliness of the service, and improvement on the computer and internet knowledge of the trainees; and 3) to determine the level of relevance of the training sessions of the CILC. The study used …


Investigate Cloud-Based E-Portfolio, An Explicit Tool For Learning Transitions, Suthanit Wetcho Oct 2018

Investigate Cloud-Based E-Portfolio, An Explicit Tool For Learning Transitions, Suthanit Wetcho

Journal of Education Studies

Cloud-based E-Portfolio is a new way of using portfolio in learning progress which is not only the product of learning is shown but also the process of their works. A systematic collection of their works and reflections of their own background learning help learners face the transitions. Both taking a step to another class or level and connecting between new and previous learning experience. E-Portfolio is a systematic collection of evidences which is showing the students? true abilities in terms of progress, knowledge, skills and attitudes. E-Portfolio can be served as a powerful pedagogical implement for self-reflection to control their …


Profiling Bscs Students Learning Style Preferences In Relation To Their Mobile Phone Utility, Joe Anthony M. Milan, Maria Concepcion G. Balcita, Nema Rose D. Rivera Oct 2018

Profiling Bscs Students Learning Style Preferences In Relation To Their Mobile Phone Utility, Joe Anthony M. Milan, Maria Concepcion G. Balcita, Nema Rose D. Rivera

Journal of Education Studies

Every learner in a classroom preferentially learns and understands lessons in different ways. This study aims to describe the BSCS students learning preferences in relation to their mobilephone utility. Specifically, to determine the learning preferences of BSCS Students; the uses of mobile phones; and the association of the BSCS Students? learning styles and their mobile phone utility. In order to achieve the objectives of the study, a quantitative approach using questionnaire was taken to gather the data in which the descriptive method of research was employed. Perceptual Learning Style Preference Survey Questionnaire and Learning Style Survey, and Mobile Learning Survey …


Improving The Performance Of Pre-Service Teachers In Genetics Through An Interactive Software, Maria Cristina B. Bandarlipe Oct 2018

Improving The Performance Of Pre-Service Teachers In Genetics Through An Interactive Software, Maria Cristina B. Bandarlipe

Journal of Education Studies

This research aimed to improve the performance of pre-service teachers in Genetics and develop their TPACK (Technological, Pedagogical, and Content Knowledge) confidence level using an interactive software. The one-group pretest-posttest experimental design was used to examine the Pre-service teachers? TPACK and to test the effectiveness of a validated interactive software. Twenty-seven pre-service teachers served as the respondents for the study. The quantitative data was collected using the two instruments as pre and posttests, namely the TPACK in Science Survey developed by Graham, Burgoyne, Smith, St Calir & Harris. (2009) and a validated 30 ? item pretest/posttest on Genetics concepts. Based …


The Analysis Of Current Situation, Ideal Situation And Factors Supporting Transformational Leadership In Workplace, Nalinee Klangthong, Pornsook Tantraroongroj Oct 2018

The Analysis Of Current Situation, Ideal Situation And Factors Supporting Transformational Leadership In Workplace, Nalinee Klangthong, Pornsook Tantraroongroj

Journal of Education Studies

Research purposes were 1) to investigate the current situation and the ideal situation of transformational leadership 2) to investigate the current usage of Computer Supported Cooperative Work (CSCW) and 3) to investigate the current situation and the ideal situation of workplace learning. The sample group was consisted of 400 samples from four private organizations in Thailand. The result of this analysis demonstrated that among four dimensions of transformational leadership, Idealized Influence was the highest mean scores for both current situation and ideal situation. Regarding the current usage of Computer Supported Cooperative Work (CSCW), most employees agree that CSCW can enhance …


การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิด Steam ร่วมกับการสอนเชิงผลิตภาพเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการ และความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3, เจนจิรา สันติไพบูลย์, วิสูตร โพธิ์เงิน Jul 2018

การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิด Steam ร่วมกับการสอนเชิงผลิตภาพเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการ และความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3, เจนจิรา สันติไพบูลย์, วิสูตร โพธิ์เงิน

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลการประเมินทักษะกระบวนการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM ร่วมกับ การสอนเชิงผลิตภาพ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM ร่วมกับการสอนเชิง ผลิตภาพ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียนตามแนวคิด STEAM ร่วมกับการสอนเชิงผลิตภาพ แบบแผนการวิจัย The One Shot Case Study กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 23 คน โรงเรียนอนุบาล เทศบาลอ้อมน้อย 2 เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินทักษะกระบวนการ 3) แบบประเมินการสร้างสรรค์ผลงาน 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ผลการ วิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาทักษะกระบวนการ ภาพรวมมีเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดี และพัฒนาการในด้านทักษะการแก้ปัญหามีพัฒนาการที่สูงขึ้น 2) ผลการศึกษาความสามารถ ในการสร้างสรรค์ผลงาน ภาพรวมมีเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดีมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นปลายเปิดในการจัด กิจกรรมชุมนุมนักประดิษฐ์น้อย พบว่า นักเรียนชอบการจัดการเรียนการสอนในเรื่องสนาม แข่งดินน้ำมันมากที่สุด ได้รับความรู้ ในด้านวิทยาศาสตร์ ด้านคนิตศาสตร์ ด้านศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างชิ้นงาน เรียนรู้สิ่งใหม่ๆเกิดความรู้และความสนุกสนาน


การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิบัติการทางการศึกษา, ชนัดดา ภูหงษ์ทอง Jul 2018

การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิบัติการทางการศึกษา, ชนัดดา ภูหงษ์ทอง

Journal of Education Studies

บทความวิชาการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่สาระสำคัญของการวิจัยปฏิบัติการ เชิงวิพากษ์แบบมีส่วนร่วม ทั้งในเรื่องความหมาย ลักษณะสำคัญ วัตถุประสงค์ และขั้นตอน ของการวิจัย ซึ่งได้รับการพัฒนาให้มีความชัดเจนมากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการวางแผน และการดำเนินการวิจัยสำหรับนักวิจัยอีกด้วย การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์แบบมีส่วนร่วมถือ เป็นการวิจัยที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงในปฏิบัติการทางการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยเน้น การเปลี่ยนแปลงด้วยตัวของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการนั้นและในพื้นที่เฉพาะนั้น ทั้งนี้ เพื่อทำให้ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์มากขึ้นผ่านการ เปลี่ยนแปลงในแบบสร้างการปฏิบัติ (การจัดการเชิงวัฒนธรรมและวาทกรรม การจัดการเชิง วัตถุและเศรษฐศาสตร์ และการจัดการเชิงสังคมและการปกครอง) และในปฏิบัติการต่างๆ ที่ มีความสมเหตุสมผลมากขึ้นในด้านการพูด มีผลิตภาพและยั่งยืนมากขึ้นในด้านการทำ มีความ ยุติธรรมและมีส่วนร่วมกันมากขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในท้ายที่สุด การเปลี่ยนแปลง สิ่งเหล่านั้นจะนำไปสู่หนทางที่ทำให้ประชาชนสามารถแสดงตน พัฒนาตน และตัดสินใจด้วย ตนเองได้ เหล่านี้คือลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งจากนิยามของการศึกษา


Usc- Service Learning Model: สู่การพัฒนานักศึกษาในยุค Thailand 4.0, ธนีนาฏ ณ สุนทร Jul 2018

Usc- Service Learning Model: สู่การพัฒนานักศึกษาในยุค Thailand 4.0, ธนีนาฏ ณ สุนทร

Journal of Education Studies

วิสัยทัศน์ Thailand 4.0 ที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย นวัตกรรมเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ภารกิจที่สำคัญของสถาบัน อุดมศึกษา คือ ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่อตอบสนองต่อนโยบายดังกล่าว ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ในสถาบันอุดมศึกษาจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงจากกระบวนทัศน์แบบ เก่ามาสู่กระบวนทัศน์ใหม่ในลักษณะของ Service Learning Model หรือSL ซึ่งเป็นรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการบริการสังคม และเป็นความร่วมมือกันทั้ง 3 ฝ่าย คือสถาบัน อุดมศึกษา นักศึกษา และชุมชนโดยมีเป้าหมายที่สำคัญเพื่อการพัฒนาบัณฑิตให้มีศักยภาพสูง กล่าวคือผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถจากการปฏิบัติจริง มีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ได้จาก การทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่เกิดจากการสัมผัสกับปัญหาของชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับการเตรียมบัณฑิตที่สังคมต้องการตามนโยบายThailand 4.0 บทความนี้ได้นำเสนอ USC- Service Learning Model หมายถึง University ? Student- Community Service Learning Model ซึ่งผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎีของการ จัดการเรียนรู้แบบ Service Learning มาสังเคราะห์ได้องค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การออกแบบหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) การมีความร่วมมือ 3 ฝ่ายคือ สถาบัน อุดมศึกษา นักศึกษา และชุมชน 3) ชุมชนเป็นเป็นผู้กำหนดความต้องการ 4) ความสัมพันธ์ที่ ดีระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน 5) การประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 6) มีการสะท้อนความ คิดกลับ และการวิเคราะห์ผล นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงไปสู่การกำหนดบทบาทหน้าที่ ความ รับผิดชอบ และแนวทางปฏิบัติร่วมกันทั้ง 3 ฝ่ายคือ สถาบันอุดมศึกษาได้ทำหน้าที่ในการบริการ วิชาการสู่สังคม และการผลิตบัณฑิต ส่วนนักศึกษาได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ จริงชุมชนได้องค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชน


มุมห้องเรียน: การพัฒนาหลักสูตรสุขศึกษานานาชาติ สำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต: รายวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ, รุ่งระวี สมะวรรธนะ Jul 2018

มุมห้องเรียน: การพัฒนาหลักสูตรสุขศึกษานานาชาติ สำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต: รายวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ, รุ่งระวี สมะวรรธนะ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรรายวิชาสุขศึกษา (นานาชาติ) ระดับ ปริญญาบัณฑิต: สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น หลักสูตรนี้ใช้ปรัชญาปฏิรูปนิยมและพัฒนาการนิยมซึ่ง มุ่งเน้นการแก้ปัญหาสังคม ส่งเสริมผู้ เรียนด้านพฤติกรรมสุขภาพและการสื่อสื่อสารสุขภาพ นอกจากนี้ยังคาดว่า หลักสูตรรายวิชานี้ ยังช่วยสนองนโยบายของอาเซียนในด้านการสื่อสารและความร่วมมือรวมทั้งการช่วยเป็นการย้ำ เตือน ให้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของโลกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอีกด้วย ในการวิจัยนี้เป็นการวิจัย แบบผสมผสานที่มีการเก็บ ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้การพรรณนาและการทดลอง แบบกลุ่มเดียว การศึกษาวิจัยในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะการพัฒนาหลักสูตร รายวิชาซึ่งมีการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นด้านข้อมูล 4 กลุ่ม 2) พัฒนาเครื่องมือ และ 3) ทดสอบประสิทธิผลของหลักสูตรรายวิชาที่พัฒนาขึ้นซึ่งเป็นการนำหลักสูตรไปการทดลองใช้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัย ตามวัตถุประสงค์การวิจัยทั้ง 2 ข้อ จากการเก็บ ข้อมูลใน 2 ภาคการศึกษา ได้แก่ในช่วง ปีการศึกษา 2557 และ ปีการศึกษา 2559 พบว่า 1) ผลการพัฒนาหลักสูตรรายวิชานี้ องค์ประกอบหลักสูตรมี 4 องค์ประกอบคือ วัตถุประสงค์ การเรียนรู้ เนื้อหาการเรียนรู้ รวม 11 บท กระบวนการเรียนรู้ และการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ 2) ผลการทดสอบประสิทธิ์ผลของหลักสูตรโดยศึกษาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน ด้านพฤติกรรมสุขภาพ (ความรู้ เจตคติและการปฏิบัติ) และความสามารถในการสื่อสารภาษา อังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในด้านเนื้อหา (สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ) นั้นพบว่ามีคะแนนหลัง การทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การใช้การเสริมต่อการเรียนรู้โดยเพื่อนในการเพิ่มการเรียนรู้ของนิสิตวิชาการประเมินจิตศึกษาขั้นนำ, จรินทร วินทะไชย์ Jul 2018

การใช้การเสริมต่อการเรียนรู้โดยเพื่อนในการเพิ่มการเรียนรู้ของนิสิตวิชาการประเมินจิตศึกษาขั้นนำ, จรินทร วินทะไชย์

Journal of Education Studies

การวิจัยในชั้นเรียนนี้ มีเป้าหมายเพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการเสริมต่อการเรียนรู้ โดยเพื่อนที่มีต่อการเกิดการเรียนรู้ของนิสิตในวิชาการประเมินจิตศึกษาขั้นนำ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2557 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 16 คน นิสิตถูกจับคู่ระหว่างคนที่มีความรู้ความสามารถมากกว่ากับคนที่มีความรู้ความสามารถ น้อยกว่า และเป็นคนที่นิสิตเลือกที่จะทำงานด้วย จำนวน 8 คู่ นิสิตทุกคนจะจัดทำรายงาน ความก้าวหน้าเพื่อวิเคราะห์เพื่อน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ โปรแกรมกิจกรรม การเสริมต่อการเรียนรู้โดยเพื่อน แบบทดสอบความรู้พื้นฐานด้านการประเมินเชิงจิตวิทยาซึ่ง ใช้ในการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการเสริม ต่อการเรียนรู้และความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตทุกคนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประเมินจิต ศึกษาขั้นนำ มากกว่าร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) คะแนนเฉลี่ยจากผลการทดสอบหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 6.84, df =15, Effect size = 2.02) 3) นิสิตมีพฤติกรรมการเสริมต่อการเรียนรู้โดยเพื่อนในระดับปานกลาง (Mean =3.25, SD=.44) และมีความพึงพอใจในวิธีเรียนในระดับปานกลาง (Mean = 3.44, SD=.89) 4) พฤติกรรมการเสริมต่อการเรียนรู้โดยเพื่อนที่นิสิตมักใช้ คือ การทำแบบฝึกหัด การเขียนโน้ต และการติว 5) นิสิตเห็นว่าควรจัดคู่ระหว่างเพื่อนที่สนิทที่สุดและเรียนวิชาเอก เดียวกันและการรายงานความก้าวหน้าควรจัดให้บ่อยครั้งขึ้น


การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของพนักงานบริษัท โดยใช้แนวคิดการเรียนการสอนรายบุคคล, นัชนันท์ วิเชียรชม, มาลินี ประพิณวงศ์, อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์ Jul 2018

การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของพนักงานบริษัท โดยใช้แนวคิดการเรียนการสอนรายบุคคล, นัชนันท์ วิเชียรชม, มาลินี ประพิณวงศ์, อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิด การเรียนการสอนรายบุคคลในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพื่อทดลอง ใช้และประเมินผลกิจกรรมการเรียนการสอนรายบุคคลกับกลุ่มเป้าหมาย คือ พนักงานบริษัท จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามรูปแบบการเรียนรู้ของ Honey and Mumford (Honey & Mumford, 2000) และแบบทดสอบความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสารก่อนเรียนและหลังเรียนตามเกณฑ์การประเมินการจัดระดับการพูดสื่อสารเทียบเคียง ของ IELTS ที่มี 9 ระดับ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า แผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียน การสอนรายบุคคลในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเป็นการออกแบบ บทเรียนจากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ความต้องการของพนักงานบริษัท จำนวน 2 คน โดยพนักงานบริษัทคนที่ 1 ประกอบด้วย แผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิด การเรียนการสอนรายบุคคล จำนวน 2 หน่วยการเรียน 10 แผนรายคาบ จำนวนรวม 30 ชั่วโมง และพนักงานบริษัทคนที่ 2 จำนวน 3 หน่วยการเรียน 10 แผนรายคาบ จำนวนรวม 30 ชั่วโมง ผลการทดลองใช้และประเมินผลกิจกรรมการเรียนการสอนรายบุคคล พบว่า กลุ่มเป้าหมาย ทั้งสองมีความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพิ่มสูงขึ้นจากก่อนเรียน โดยพนักงานบริษัทคนที่ 1 มีระดับคะแนนการพูดสื่อสารเทียบเคียงตามแนวข้อสอบ IELTS ก่อนเรียนอยู่ในระดับ 2 หลังเรียนอยู่ในระดับ 4 สำหรับพนักงานบริษัทคนที่ 2 มีระดับ คะแนนการพูดสื่อสารเทียบเคียงตามแนวข้อสอบ IELTS ก่อนเรียนอยู่ในระดับ 4 หลังเรียน อยู่ในระดับ 6


การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเองสำหรับนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา, เหมวรรณ ขันมณี Jul 2018

การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเองสำหรับนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา, เหมวรรณ ขันมณี

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเองสำหรับนิสิตนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา โดยเริ่มจาก 1) รวบรวมคะแนนทักษะและสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพกลุ่มตัวอย่างก่อนการใช้ชุดการเรียนด้วยตนเอง 2) สำรวจความต้องการ จำเป็นของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพกลุ่มตัวอย่างที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ และ 3) สำรวจความคาดหวังของนักเรียนต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ แล้วจึงจัดทำชุดการเรียนด้วยตนเองบนพื้นฐานข้อมูลดังกล่าวไปให้นักศึกษาใช้งานจริงใน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาคเรียนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสำรวจ ความต้องการจำเป็นของนักศึกษา 2) แบบสำรวจความคาดหวังของนักเรียนต่อคุณลักษณะของ นักศึกษา 3) แบบประเมินทักษะและสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อคุณลักษณะของนักศึกษา และ 5) แบบสัมภาษณ์ ผลการใช้ชุดการเรียนด้วยตนเองของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคณุ ภาพดว้ ยการวเิ คราะหเ์ นื้อหา ผลการวจิ ัย พบวา่ หลังใชช้ ุดการเรียน ด้วยตนเอง นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีทักษะและสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนภาษา อังกฤษสูงกว่าก่อนใช้ชุดการเรียน โดยมีผลประเมินครั้งสุดท้ายอยู่ในระดับสูงสุดทุกรายการ ชุดการเรียนสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของนักศึกษาทำให้นำสิ่งที่เรียนรู้ไปพัฒนาการ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้สำเร็จตามเป้าหมาย และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะ ของนักศึกษาสูงกว่าความคาดหวังที่ตั้งไว้


เปิดประเด็น: นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการนอกห้องเรียน: เปิดห้องเรียนสู่แหล่งเรียนรู้, พรรณงาม ใจรักษ์ศักดิ์ Jul 2018

เปิดประเด็น: นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการนอกห้องเรียน: เปิดห้องเรียนสู่แหล่งเรียนรู้, พรรณงาม ใจรักษ์ศักดิ์

Journal of Education Studies

เมื่อบริบทของประเทศและโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง การเตรียมคนให้ พร้อมเผชิญกับสถานการณ์ที่หลากหลาย การจัดการศึกษาต้องมีการพัฒนาและมีรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สามารถทำให้ผู้เรียนปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่า นั้นได้ การจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการนอกห้องเรียนด้วยการเปิดห้องเรียนเพื่อออกไปศึกษา โลกภายนอกผ่านการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นั้นเป็นรูปแบบวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียน ได้เรียนอย่างรอบด้านมากขึ้น แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายล้วนเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญและมี สื่อประสมมากมายที่สอดคล้องกับสาระเนื้อหาและหัวข้อเรื่องที่จะเรียนหรือโครงงานที่จะทำ การเชื่อมต่อการเรียนภายในห้องเรียนสู่แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน จึงเป็นการเปิดโลกการเรียน รู้ที่ไม่สิ้นสุดให้กับผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงและความเป็นไปของเรื่องราวรอบๆ ตัว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้การเชื่อมต่อภายในห้องเรียนสู่โลกภายนอกเป็น ไปอย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นการรวบรวมแหล่งเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย รูปแบบ การพัฒนาและสร้างแหล่งเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในโรงเรียน การบริหารจัดการ การวิเคราะห์ ลักษณะแหล่งเรียนรู้ให้เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนการจัดแหล่งเรียนรู้ให้ตรงกับเป้า หมายของการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นการเตรียมผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสัมฤทธิ์ผลและมีศักยภาพ เพียงพอพร้อมที่จะเผชิญกับโลกภายนอกได้


การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ เรื่องสุขภาวะโดยประยุกต์ใช้ระบบคู่สัญญากับแนวคิด Pdca และ Education 3.0, ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล Jul 2018

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ เรื่องสุขภาวะโดยประยุกต์ใช้ระบบคู่สัญญากับแนวคิด Pdca และ Education 3.0, ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์เรื่องสุขภาวะโดยประยุกต์ใช้ระบบคู่สัญญากับแนวคิด PDCA และ education 3.0 การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียน การสอนและการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยสังเคราะห์ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบคู่สัญญาของทิศนา แขมมณี (2545) เป็นหลัก และเพิ่มเติมแนวคิด PDCA และ Education 3.0 แล้วนำไปทดลองใช้เป็นเวลา 12 สัปดาห์ กับเป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาวิชา 2718105 กระบวนการกลุ่มและประชาธิปไตย ในระดับประถมศึกษา ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2558 จำนวน 25 คน เครื่องมือในการ เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบวัดสุขภาวะ (CUHI: T-Happiness) (สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต และคณะ, 2555) และแบบสรุปผลการดำเนินโครงการพัฒนาตนเอง ผู้วิจัยใช้แบบวัดสุขภาวะ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอน นำมาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนจากแบบ วัดสุขภาวะก่อนและหลังโดยการทดสอบค่าที (t-test dependent) และวิเคราะห์ข้อมูลจาก แบบสรุปผลการดำเนินโครงการพัฒนาตนเอง ผลการวิจัย คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย แนวคิด พื้นฐาน 5 เรื่อง และ 4 ขั้นตอน ในการจัดการเรียนการสอน 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบบ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาวะจากแบบวัดสุขภาวะก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อนำค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาวะไปแปลผลพบว่า อยู่ใน ช่วงคะแนน 126-130 แปลผลได้ว่า นิสิตมีความสุขในชีวิตในระดับปานกลาง


การประกันคุณภาพโรงเรียนยุคการศึกษาประเทศไทย 4.0 และศตวรรษที่ 21, นเรศ สถิตยพงศ์ Jul 2018

การประกันคุณภาพโรงเรียนยุคการศึกษาประเทศไทย 4.0 และศตวรรษที่ 21, นเรศ สถิตยพงศ์

Journal of Education Studies

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การศึกษาไทยในมุมมองระบบ การประกันคุณภาพของโรงเรียน และให้ข้อเสนอแนะผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาเพื่อก้าวไปสู่ ยุคการศึกษาประเทศไทย 4.0 และศตวรรษที่ 21 ต่อไป โดยจากการศึกษาสถานการณ์พบว่า ประเด็นปัญหาหลักของการประกันคุณภาพของโรงเรียนที่มีนัยสำคัญประการหนึ่ง คือ ความ ไม่สอดคล้องกันของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและระบบประเมินคุณภาพ การศึกษาภายนอก ดังนั้น รูปแบบการประกันคุณภาพโรงเรียนรูปแบบ ?STAR Standard? หรือ ?STAR Model? จะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เนื่องจากการประเมินคุณภาพ ภายนอกจะสอดคล้องหรือเป็นเกณฑ์เดียวกันกับการประกันคุณภาพภายในและที่สำคัญจะไม่ สร้างภาระงานเพิ่มกับผู้ถูกประเมิน โดยระบบการประกันคุณภาพจะมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ที่ต้องการ คือ คุณสมบัติของคนไทยที่พึงประสงค์เป็นสำคัญโดยจะต้องทำให้เกิดมาตรฐานใน 4 ด้าน ดังนี้ คือ ด้านคุณภาพของผู้เรียน (Student: S) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ (Teaching :T) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ (Administration: A) และ ด้านผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผล (Result Based: R)


การประเมินความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในการป้องกันการตั้งครรภ์และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของวัยรุ่น, จันทิรา ฐานีพานิชสกุล, รับขวัญ ภูษาแก้ว, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jul 2018

การประเมินความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในการป้องกันการตั้งครรภ์และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของวัยรุ่น, จันทิรา ฐานีพานิชสกุล, รับขวัญ ภูษาแก้ว, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และ ประเมินความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในการป้องกัน การตั้งครรภ์และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของวัยรุ่น โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบวิชาสุขศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งและรับแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ประเมินค่าความต้องการ จำเป็นด้วย PNImodified ผลการวิจัยพบว่า จำนวนแบบสอบถามที่ส่งไปจำนวน 840 ชุด ได้รับ คืน 518 ชุด (61.67%) เมื่อพิจารณาสภาพปัจจุบันพบว่า โรงเรียนมีการดำเนินงานการจัดการ เรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรเป็นอันดับแรก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์พบว่าโรงเรียน มีความต้องการการพัฒนาหลักสูตรเป็นอันดับแรก เมื่อพิจารณาถึงการประเมินความต้องการ จำเป็นพบว่ามีความต้องการจำเป็นด้านการประเมินผลสูงสุด (PNImodified 0.1645) รองลงมา เป็นด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNImodified 0.1568) สรุปความต้องการจำเป็นของการบริหาร วิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในการป้องกันการตั้งครรภ์และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของ วัยรุ่นของประเทศไทย ยังมีความต้องการจำเป็นอยู่สูง


การศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, สุรีย์พร เพ็งเลีย, พรพัฒน์ ฤทธิชัย Jul 2018

การศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, สุรีย์พร เพ็งเลีย, พรพัฒน์ ฤทธิชัย

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาการใช้การจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเรื่อง ?Problem-Based Learning: Trouble or Challenge? 2) แบบทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงครามจำนวน 50 คน ได้มาด้วยวิธี การเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของกลุ่มตัวอย่าง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านการสนทนา (English Conversation Fluency) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.60 (S.D.=2.35 ) การออกเสียง (Correct Pronunciation) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 12.93 (S.D.=1.49) และการเรียนรู้คำศัพท์ (Vocabulary Acquisition) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.67 (S.D.=2.50) สรุปได้ว่าการประยุกต์ ใช้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้ นำไปสู่ข้อเสนอ แนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไปที่ควรศึกษาการประยุกต์ใช้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สู่การพัฒนาและการส่งเสริมคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่การเรียนรู้มิได้จำกัดเฉพาะเพียง สาระการเรียนรู้ หากครอบคลุมถึงทักษะการคิดและกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้ใคร่ครวญ รวบรวม ประเมินค่าและท้ายที่สุดประยุกต์ใช้ความรู้สู่การพัฒนาที่คงทนและยั่งยืน


ประสบการณ์สุนทรียะจากนวัตกรรมสีเกล็ดมุกที่สกัดจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่ เพื่อส่งเสริมความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ Jul 2018

ประสบการณ์สุนทรียะจากนวัตกรรมสีเกล็ดมุกที่สกัดจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่ เพื่อส่งเสริมความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมพหุศาสตร์ที่ประสบการณ์สุนทรียะ จากสีเกล็ดมุกต่อความตระหนักรู้ในสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและศึกษาความพึงพอใจต่อ ประสบการณ์สุนทรียะที่เกิดจากสีเกล็ดมุก กิจกรรมแบ่งเป็น 4 ช่วงคือ 1) สภาวะโลกร้อนกับ ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป 2) ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม 3) กรณีขยะเปลือกหอยแมลงภู่ 4) บท สรุปและนิทรรศการศิลปะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 กลุ่มที่ศึกษาอยู่ใน ปีการศึกษา 2558 ประกอบด้วยนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายที่อาศัยในจังหวัด กรุงเทพมหานครจำนวน 27 คน นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเพาะเลี้ยง หอยแมลงภู่ จังหวัดสมุทรสาครจำนวน 37 คนและนิสิตระดับอุดมศึกษาที่อาศัยอยู่ในจังหวัด กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่าหลังทำกิจกรรมฯ ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยความรู้และมีทัศนคติต่อ การรักษาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและสภาวะโลกร้อน สูงกว่าก่อนทำกิจกรรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .05 รวมทั้งมีความพึงพอใจต่อประสบการณ์สุนทรียะจากสีเกล็ดมุกในระดับมาก ข้อเสนอแนะของการวิจัยนี้คือ การสร้างความตระหนักต่อคุณค่าควรประกอบด้วย 1) การให้ ความเข้าใจสิ่งที่ต้องการยกระดับคุณค่า 2) การสำรวจประสบการณ์ตรงที่บุคคลเคยเกี่ยวข้อง กับคุณค่า 3) การใช้กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับคุณค่า 4) การกระตุ้นความรู้สึกคุณค่าโดยใช้ ผลงานศิลปะที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง อาทิ ภาพจิตรกรรม ดนตรี บทกลอน 5) การสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะ เพื่อสังเคราะห์ความคิดและอารมณ์ออกมา


รายงานวิจัยการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดเสาธงหิน, เพียงตา กิจหิรัญวงศ์ Jul 2018

รายงานวิจัยการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดเสาธงหิน, เพียงตา กิจหิรัญวงศ์

Journal of Education Studies

การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดเสาธงหิน เป็นโครงการวิจัยย่อยในชุดโครงการพัฒนา คุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยมี วัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ เพื่อศึกษา 1) บริบทของโรงเรียน 2) ลักษณะของกิจกรรม สื่อ และ โปรแกรมการพัฒนาโรงเรียน 3) ผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาที่มี ต่อการพัฒนาโรงเรียนในด้านผู้บริหารและระบบการบริหาร ครูและระบบการจัดการเรียน การสอน ระบบสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมรรถนะและ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน 4) ผลกระทบของการพัฒนาโรงเรียนตามโครงการพัฒนา คุณภาพมาตรฐานการศึกษา ที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้และวิถีชีวิตของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทาง การศึกษาในโรงเรียน และผลกระทบที่มีต่อชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 1 คน ครูจำนวน 10 คน ผู้ดูแลเด็กจำนวน 2 คน นักการภารโรงจำนวน 2 คน นักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัย จำนวน 69 คน และ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 129 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) แบบบันทึก คะแนน NT และ O-NET 3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 4) แบบประเมินร่วมกันสะท้อนและเสริมสร้างความคิดต่อกิจกรรมการฝึกอบรม 5) แบบสอบถามร่วมสะท้อนคิดวันดอกนนทรีบาน 6) แบบสัมภาษณ์วันดอกนนทรีบาน 7) แบบติดตามผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน 8) แบบติดตามผลการพัฒนาการ บริหารโรงเรียน 9) แบบสังเกตและแบบบันทึกการลงภาคสนาม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงบรรยายได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) โรงเรียน วัดเสาธงหินเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก สัดส่วนครู : นักเรียน คือ 1 : 8 โดยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดี …


กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครูมีผลต่อการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนในครอบครัวซาเลเซียนในประเทศไทย, อุษณีษ์ ธีระพัชรรังษี, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ธีรภัทร กุโลภาส Jul 2018

กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครูมีผลต่อการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนในครอบครัวซาเลเซียนในประเทศไทย, อุษณีษ์ ธีระพัชรรังษี, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ธีรภัทร กุโลภาส

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดและทฤษฎี เกี่ยวกับการพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครูและการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนในครอบครัว ซาเลเซียนในประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครูกับการเสริมสร้าง คุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนครอบครัวซาเลเซียน ในประเทศไทยและ 3) เพื่อพัฒนา กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครูให้มีผลต่อการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนครอบครัวซาเลเซียนในประเทศไทย ใช้การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ประชากรจำนวน 22 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหาร และครู จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงบรรยาย และ PNImodified ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครู และการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนครอบครัวซาเลเซียนในประเทศไทย มี 3 องค์ประกอบ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาความเป็นผู้นำ (2) ความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และ (3) คุณธรรมจริยธรรมที่เป็นคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ของนักเรียนซาเลเซียน 2) สภาพ ปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครูมีผล ต่อการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนในครอบครัวซาเลเซียนในประเทศไทย มีค่าเฉลี่ยของสภาพที่พึงประสงค์ สูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้าน 3) กลยุทธ์การพัฒนาความ เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครูให้มีผลต่อการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน ในครอบครัวซาเลเซียนในประเทศไทยมี 2 กลยุทธ์ คือ (1) กลยุทธ์การปฏิรูปการฝึกอบรมนอก สภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของครู (2) กลยุทธ์การ พัฒนาการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการฝึกอบรมระหว่างการปฏิบัติงานปกติภายในองค์กรให้มี ความเข้มแข็ง โดยมีกลยุทธ์รองจำนวน 4 กลยุทธ์และ 16 วิธีดำเนินการ


การพัฒนาแบบฝึกไวยากรณ์ในบริบทเสริมการสอนภาษาอังกฤษปรับพื้นฐานสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, วนิดา อัญชลีวิทยกุล Jul 2018

การพัฒนาแบบฝึกไวยากรณ์ในบริบทเสริมการสอนภาษาอังกฤษปรับพื้นฐานสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, วนิดา อัญชลีวิทยกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาแบบฝึกไวยากรณ์ในบริบทเสริมการสอน ภาษาอังกฤษปรับพื้นฐานสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ และทัศนคติในการเรียนรู้้ไวยากรณ์ของนักศึกษา รวมทั้งความคิดเห็นของผู้สอนที่มีต่อ การใข้แบบฝึกไวยากรณ์เป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษปรับพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 28 คนจาก 5 หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการสอน ได้แก่ แบบฝึกไวยากรณ์ใน บริบทและแผนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ในการเรียนไวยากรณ์ แบบสอบถามวัดทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อแบบฝึกไวยากรณ์ในบริบท คำถามในการสัมภาษณ์และบันทีกหลังสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้ทฤษฎี Grounded theory ของ Strauss and Corbin (1999) ผลการวิจัยพบว่า คะแนน การทำแบบทดสอบหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าคะแนนการทำแบบทดสอบก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษามองเห็นข้อดีของแบบฝึกไวยากรณ์ในบริบททั้งในส่วน ที่ช่วยให้มีการเรียนรู้ไวยากรณ์และส่วนที่ช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียน นอกจากนี้ผู้สอนยัง มองเห็นประโยชน์ของการใช้แบบแกไวยากรณ์ในบริบทเสริมการสอนภาษาอังกฤษปรับพื้นฐาน เพราะช่วยให้นักศึกษามีการเรียนรู้ไวยากรณ์ทั้งในด้านรูปแบบและความหมาย สามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในการสื่อสารได้


รวมบทความ “สาระน่ารู้ของครูสาธิตจุฬาฯ”, วัชระ อินสา Jul 2018

รวมบทความ “สาระน่ารู้ของครูสาธิตจุฬาฯ”, วัชระ อินสา

Journal of Education Studies

-


การพัฒนาพลเมืองไทยให้มีความเป็นพลเมืองโลกในประเทศไทยยุค 4.0, ณธรา เหมือนปิ๋ว Jul 2018

การพัฒนาพลเมืองไทยให้มีความเป็นพลเมืองโลกในประเทศไทยยุค 4.0, ณธรา เหมือนปิ๋ว

Journal of Education Studies

บทความนี้มีความมุ่งหมายที่จะสรุปแนวคิดในการพัฒนาพลเมืองไทยให้มีความเป็น พลเมืองโลกในประเทศไทยยุค 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่า ทางเศรษฐกิจ (value-based-economy) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้ประเด็นต่อไปนี้ (1) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (2) ทักษะในศตวรรษที่ 21 (3) รายงานของ OECD และ UNESCO เรื่องการศึกษาของประเทศไทย และ (4) นโยบาย การศึกษาในประเทศไทย ได้ถูกสรุปและนำเสนอ พบว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ช่วยให้ประเทศ พัฒนาและควรแก่การให้ความสำคัญคือ ต้นทุนทางด้านประชากร (human capital) สถานศึกษาควรให้ความสำคัญต่อการบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลกควบคู่ กับกระบวนการการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนา คุณลักษณะของพลเมืองโลกใน 3 ด้าน คือ (1) ความรู้ความเข้าใจ (2) ทักษะด้านสติปัญญา และสังคม และ (3) ค่านิยมและทัศนคติที่มีต่อการเป็นพลเมืองโลก แนวทางต่อไปนี้นำเสนอ สำหรับนักเรียนไทยในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อช่วยพัฒนาความเป็นพลเมือง โลก ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องความสำคัญของความเป็นพลเมืองโลก การออกแบบกิจกรรมยึด ตามเนื้อหาของหลักสูตรและความสนใจของผู้เรียน และการประเมินผลการเรียนการสอน จะทำเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ


การวิเคราะห์ปัจจัยและความแตกต่างของการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้างเสริมความสามารถการจัดการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สู่ความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม, วิธัญญา จงพิพัฒนสุข Jul 2018

การวิเคราะห์ปัจจัยและความแตกต่างของการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้างเสริมความสามารถการจัดการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สู่ความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม, วิธัญญา จงพิพัฒนสุข

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและความแตกต่างของการเรียนรู้ของ ชุมชนเพื่อสร้างเสริมความสามารถการจัดการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สู่ความเป็นผู้ประกอบการ เพื่อสังคมโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 3 วิธี ได้แก่ 1) การศึกษาเอกสาร 2) การสังเกต 3) การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยจำแนกชุมชนเป็น 2 ลักษณะ คือ ชุมชนที่ มีสินค้าสิ่งบ่งชี้ฯในระยะการสร้างสรรค์ ระยะการคุ้มครอง และระยะการใช้ประโยชน์และ เฝ้าระวังสิทธิ์ อย่างละ 1 ชุมชน รวมเป็น 3 ชุมชน และชุมชนที่ไม่มีสินค้าสิ่งบ่งชี้ฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ ข้างเคียงที่มีบริบทคล้ายกันของพื้นที่ทั้ง 3 ระยะ รวมเป็น 6 ชุมชน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ คนใน ชุมชน เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ และอาจารย์/นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของชุมชน ได้แก่ 1.1) ผู้กระทำการ มีความแตกต่างกันในแต่ละระยะ 1.2) โครงสร้างของชุมชน อธิบายด้วยกฎระเบียบและ ทรัพยากร 1.3) ปฏิสัมพันธ์ อธิบายภายใต้มิติเวลาและมิติพื้นที่ 2) ความแตกต่างของการเรียนรู้ ของชุมชนมีความแตกต่างกันในแต่ละระยะ ได้แก่ 2.1) เนื้อหาการเรียนรู้ 2.2) วิธีการเรียนรู้ และ 2.3) แหล่งเรียนรู้


การให้ความหมาย ที่มาของความหมาย และกระบวนการเสริมสร้างภาวะผู้นำในตนเอง ของวัยรุ่นกลุ่มเจเนอเรชั่นซี: การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก, คมกริช นันทะโรจพงศ์, พิทักษ์ ศิริวงศ์ Jul 2018

การให้ความหมาย ที่มาของความหมาย และกระบวนการเสริมสร้างภาวะผู้นำในตนเอง ของวัยรุ่นกลุ่มเจเนอเรชั่นซี: การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก, คมกริช นันทะโรจพงศ์, พิทักษ์ ศิริวงศ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการให้ความหมายและที่มาของความหมาย ของภาวะผู้นำในตนเองในทัศนะของวัยรุ่นกลุ่มเจเนอเรชั่นซี 2) ศึกษากระบวนการเสริมสร้าง ภาวะผู้นำในตนเองของวัยรุ่นกลุ่มเจเนอเรชั่นซี และ 3) เพื่อสร้างทฤษฎีฐานรากของความหมาย และกระบวนการเสริมสร้างภาวะผู้นำในตนเองของวัยรุ่นกลุ่มเจเนอเรชั่นซี เป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ ศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยวิธีวิทยาการสร้างทฤษฎีฐานราก เพื่อหาคำอธิบาย สำหรับปรากฏการณ์ที่ศึกษา และได้เป็นข้อสรุปเชิงทฤษฎีที่มีลักษณะเป็นนามธรรมและ มีฐานมาจากข้อมูลโดยตรง โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นวัยรุ่นที่ อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่นซี เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป เป็นนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 17 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักโดยอาศัยการสุ่มตัวอย่าง เชิงทฤษฎี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้วิจัยและแนวคำถามในการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยแล้วประมวลผลเขื่อมโยงเพื่อสร้างมโนทัศน์และทฤษฎี จัดกลุ่มและพัฒนา หมวดหมู่ของมโนทัศน์เป็นข้อสรุปเชิงทฤษฎี และนำเสนอในรูปการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นกลุ่มเจเนอเรชั่นฃีได้ให้ความหมายและที่มาของความหมาย ของภาวะผู้นำในตนเองที่สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มความหมาย คือ การมีความตระหนักใน ตนเอง การมีความรู้ความสามารถของตนเอง การบริหารจัดการตนเอง และการมีความเชี่อมั่น ในตนเอง โดยวัยรุ่นกลุ่มเจเนอเรชั่นซีมีกระบวนการเสริมสร้างภาวะผู้นำในตนเอง คือ 1) การ ประเมินตนเองและสภาพแวดล้อม 2) การวางแผนและตั้งเป้าหมายในการเสริมสร้างภาวะผู้นำ ในตนเอง 3) การศึกษาเรียนรู้รูปแบบของผู้น่าต้นแบบที่ดี 4) การปฏิบัติการเสริมสร้างภาวะผู้น่า ในตนเอง และ 5) การประเมินผลการเสริมสร้างภาวะผู้น่าในตนเอง ซึ่งงานวิจัยนี้ได้สร้าง ข้อสรุปเชิงทฤษฎี อภิปรายผลการวิจัย และให้ข้อเสนอแนะอันเป็นแนวทางสำหรับ การเสริมสร้างและพัฒนาภาวะผู้น่าในตนเองของวัยรุ่นยุคใหม่ตลอดจนการวิจัยในอนาดต


การศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, ศิวารักข์ พรหมรักษา Jul 2018

การศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, ศิวารักข์ พรหมรักษา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อมโนทัศน์ ทางคณิตศาสตร์ และ 2) วิเคราะห์มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายเป็น นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ? 4 วิชาเอกคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบ ทดสอบคณิตศาสตร์ จำนวน 100 ข้อ ประกอบด้วย สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ สาระ ที่ 2 การวัด สาระที่ 3 เรขาคณิต สาระที่ 4 พีชคณิต สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความ น่าจะเป็น และสาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้กรอบแนวคิดนีโอเพียเจท์ของ Case ซึ่งประกอบ ด้วยระดับการคิด 4 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 Predimensional ระดับที่ 2 Unidimensional ระดับที่ 3 Bidimensional และระดับที่ 4 Integrated bidimensional ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษากลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของมโนทัศน์ทาง คณิตศาสตร์ เท่ากับ 82.90 และจำแนกตามสาระ ได้แก่ สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ สาระที่ 2 การวัด สาระที่ 3 เรขาคณิต สาระที่ 4 พีชคณิต สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความ น่าจะเป็น และสาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ …


การวิเคราะห์แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาความเป็นผู้นำทางอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บุณฑริกา บูลภักดิ์ Jul 2018

การวิเคราะห์แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาความเป็นผู้นำทางอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บุณฑริกา บูลภักดิ์

Journal of Education Studies

การวิจัย เรื่องการวิเคราะห์แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาความเป็นผู้นำทางอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาความ เป็นผู้นำทางอาชีวศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์หลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ระดับดุษฎีบัณฑิต ทางด้านอาชีวศึกษาประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา 3) เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการ พัฒนาหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาความเป็นผู้นำทางอาชีวศึกษา ประชากร คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลจำนวน 135 แห่ง กลุ่ม ตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 405 คน โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ทรงคุณวุฒิในการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร จำนวน 7 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารและครูส่วนหนึ่ง มีความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาความเป็นผู้นำทาง อาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยต้องการศึกษาต่อภาคนอกเวลา ราชการมากที่สุด ด้านการวิเคราะห์หลักสูตรครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ระดับดุษฎีบัณฑิต ทางด้านอาชีวศึกษา พบว่า หลักสูตรในประเทศไทยจะเน้นความรู้ความสามารถด้านการบริหาร การพัฒนาหลักสูตร และการเสริมสร้างทักษะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารอาชีวศึกษา ในขณะที่หลักสูตรในประเทศสหรัฐอเมริกาจะเน้นการเตรียมผู้นำที่มีความเชี่ยวชาญและ เพิ่มทักษะด้านความเป็นผู้นำในการบริหารการศึกษา รวมทั้งทักษะด้านการจัดการเรียน การสอน โดยมีการกำหนดสาขาวิชาที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกตามความ เชี่ยวชาญ ด้านแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาความเป็นผู้นำทาง อาชีวศึกษาพบว่า 1) องค์ประกอบหลักสูตร ในด้านเนื้อหาการเรียนรู้ พบว่านวัตกรรมทาง อาชีวศึกษา การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และ การพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา เป็นเนื้อหาที่ควรให้ความสำคัญ ในด้านด้านรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า ควรมีความ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา ในด้านวิธีการ เรียนรู้ ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย มีการเชิญอาจารย์พิเศษหรือวิทยากร ที่เป็นผู้มีประสบการณ์มาร่วมสอน และเน้นการฝึกปฏิบัติมากกว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในห้องเรียน 2) ด้านการจัดการศึกษา หลักสูตรควรมีการแบ่งสาขาเป็นสาขาวิชาเฉพาะ โดย เปิดสอนทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลาราชการ ในสว่ นคณุ ลกั ษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ พบวา่ หลักสูตรต้องผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะในการสื่อสาร และมนุษย์สัมพันธ์ ที่ดี …


การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลาง, อัจฉรา ไชยูปถัมภ์ Jul 2018

การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลาง, อัจฉรา ไชยูปถัมภ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เพื่อเสริมสร้างความเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายสถาบัน อุดมศึกษาเขตภาคกลาง 2) พัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นบัณฑิต ที่พึงประสงค์ฯ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเพื่อเสริมสร้าง ความเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ฯ ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ของสถาบันใน เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลาง ผู้ปฏิบัติงานในด้านการส่งเสริมและสอดแทรก คุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษาของสถาบันในเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลาง และ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นตัวแทนกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรม จริยธรรม วิธีการวิจัยใช้แบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความคิด เห็น และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็น บัณฑิตที่พึงประสงค์ มีรูปแบบการส่งเสริม/สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่นักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา 3 กลุ่ม ได้แก่ มหาวิทยาลัยทั่วไป สถาบันเฉพาะทาง และมหาวิทยาลัย ทางการแพทย์ พยาบาล จำแนกเป็น 2 แนวทาง คือ การส่งเสริมและสอดแทรกภายในหลักสูตร การศึกษา และภายนอกหลักสูตรการศึกษา 2) ตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมในการ ปลูกฝังแก่นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา 15 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความชื่อสัตย์ ความรับผิดชอบต่อ ตนเองและส่วนรวม ความมีวินัย ความเสียสละต่อส่วนรวม ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร ความกตัญญู การมีจรรยาบรรณวิชาชีพ ความสามัคคี ความประหยัดและพอเพียง การมีสติ การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความศรัทธาในหลักศาสนา และ การรู้จักกาลเทศะ 3) แนวทางในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นบัณฑิต ที่พึงประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษา 2 ระดับ ได้แก่ ระดับนโยบาย และระดับผู้ปฏิบัติ